green talk#1 “หมาป่าเปลี่ยนแม่น้ำ เสือเปลี่ยนเมือง”

Date

26 June 2014

Time

5:00 pm - 8:00 pm

Place

มูลนิธิโลกสีเขียว ซอยสุขุมวิท 43

รายละเอียดกิจกรรม

มูลนิธิโลกสีเขียว ชวนดูหนัง-เล่าเรื่อง “หมาป่าเปลี่ยนแม่น้ำ เสือเปลี่ยนเมือง”

เราทุกคนรู้ว่าหมาป่าฆ่าสัตว์หลายชนิด แต่พวกมันยังให้ชีวิตแก่ผู้อื่นเช่นกัน

เมื่อหมาป่าเปลี่ยนแม่น้ำ บทพิสูจน์ความสำคัญของสัตว์ผู้ล่าในธรรมชาติ เชิญชม หนังสั้นสารคดี How wolves change rivers ? และร่วมพูดคุยกับนักอนุรักษ์ เล่าเรื่องราวการกลับมาของเสือโคร่งในป่าแม่วงก์ ว่าจะเปลี่ยนเมืองได้อย่างไ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน 2557

17.30 น. ลงทะเบียนและรับชมภาพสัตว์ป่าหายากในเมืองไทย

18.00-18.10 น. ชมหนังสั้นสารคดี How wolves change rivers ?
18.10-20.00 น. ร่วมพูดคุยกับคุณเพชร มโนปวิตร และคุณศศิน เฉลิมลาภ

20.00-20.30 น.วงสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

=ไม่มีค่าใช้จ่าย=
=ที่นั่งมีจำกัด (30 คน ±) ขออนุญาตใช้ระบบมาก่อนได้ที่นั่งก่อน=
=เดินทางด้วยรถสาธารณะหรือจักรยานสะดวกกว่า ไม่มีที่จอดรถ (มีที่จอดจักรยาน)=


สถานที่:

มูลนิธิโลกสีเขียว (ซ.สุขุมวิท 43)

วันที่:

26 มิ.ย. 2557

สรุปผลกิจกรรม

มูลนิธิโลกสีเขียว ชวนดูหนัง-เล่าเรื่อง “หมาป่าเปลี่ยนแม่น้ำ เสือเปลี่ยนเมือง”

เราทุกคนรู้ว่าหมาป่าฆ่าสัตว์หลายชนิด แต่พวกมันยังให้ชีวิตแก่ผู้อื่นเช่นกัน

เมื่อหมาป่าเปลี่ยนแม่น้ำ บทพิสูจน์ความสำคัญของสัตว์ผู้ล่าในธรรมชาติ เชิญชม หนังสั้นสารคดี How wolves change rivers ? และร่วมพูดคุยกับนักอนุรักษ์ เล่าเรื่องราวการกลับมาของเสือโคร่งในป่าแม่วงก์ ว่าจะเปลี่ยนเมืองได้อย่างไ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน 2557


เรื่อง / ภาพ : เมธิรา เกษมสันต์

เสือ… เกี่ยวข้องอะไรกับเรา ?
ไม่มีเสือ… แล้วชีวิตกูจะเปลี่ยนไปไหม ?
นักอนุรักษ์ห่วงเสือมากกว่าห่วงคน…

นี่คือคำถามที่นักอนุรักษ์มักโดนถามเป็นประจำ
แต่วันนี้ กิจกรรมดูหนัง-เล่าเรื่อง ซึ่งจัดโดยมูลนิธิโลกสีเขียว มีคำตอบให้

จากหนังสารคดีสั้นเรื่อง How Wolves Change Rivers และการบรรยายให้ความรู้เพิ่มเติมโดย เพชร มโนปวิตร รองหัวหน้างาน IUCN ได้ให้ความรู้ว่า หมาป่าไม่ได้เป็นเพียงฆาตกรผู้ล่า แต่ยังเป็นตัวที่ค้ำจุนสรรพชีวิตอื่นนานาชนิดด้วย

เรื่องราวทั้งหมดมีอยู่ว่า …
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ อุทยานแห่งชาติ Yellowstone สหรัฐอเมริกา
ฝูงหมาป่ามากมายอาศัยอยู่อย่างมีความสุข ด้วยความที่มันเป็นสัตว์ผู้ล่าสูงสุดในระบบนิเวศแห่งนี้
แต่แล้ววันหนึ่งมีมนุษย์ผู้ใจดี ประกาศขึ้นมาด้วยความเป็นห่วงว่า
“เฮ้… พรรคพวก ไอว่าหมาป่าเยอะไปนะ เดี๋ยวมันกินสัตว์อื่นหมดป่าหรอก เพื่อการอนุรักษ์สรรพสัตว์ในป่า เรามาล่าหมาป่ากันเถอะ”
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ความคิดนั้นมีหลายคนเห็นดีเห็นงาม จนเกิดโครงการล่าหมาป่าขึ้น
เพียงแค่ไม่นาน หมาป่าผู้น่าสงสารก็หายไปจากผืนป่านั้นจนหมด

เพียง 4-5 ปี หลังหมาป่าหายไป นักวิทยาศาสตร์เริ่มสังเกตเห็นว่า กวางเอลก์เพิ่มจำนวนมหาศาล เดินเล่นในป่าอย่างสบายอารมณ์ ข้าคือเจ้าถิ่น สวาปามพืชหลายชนิดจนหลายพื้นที่โล่งเตียน พืชพันธุ์ริมน้ำหายไปเกือบหมด

ด้วยเหตุนี้ จึงเริ่มมีคนตั้งคำถามว่า “เราควรนำหมาป่ากลับคืนสู่ป่าแห่งนี้ไหม?”
ความคิดนี้ถูกถกเถียงกันอยู่นาน ถูกนำเข้าไปดีเบตในรัฐสภา เถียงกันอยู่ 20-30 ปี จนกระทั่งปี 1995 จึงได้มีโครงการ “ปล่อยหมาป่าคืนสู่ธรรมชาติ” โดยพาหมาป่ามาจากแคนาดา ปล่อยชุดแรก 14 ตัว

เพียงแค่นั้น ก็เพียงพอแล้วที่การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มขึ้น
เมื่อหมาป่ามา เจ้ากวางก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม จากเคยเดินกร่างทั่วป่า ก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ อยู่เฉพาะบางบริเวณ และนั่นเองที่ทำให้พืชพันธุ์ในพื้นที่หลายแห่งเริ่มฟื้นตัว และเมื่อพืชพันธุ์ต่างๆ กลับมา นกก็เพิ่มขึ้น บีเวอร์ก็เพิ่มขึ้น นากก็เพิ่มขึ้น
แถมเมื่อมีซากกวางตาย ก็เป็นอาหารโอชะของอีกาและแร้ง บางทีก็มีหมีมาแจม หมีเองก็เพิ่มจำนวนเพราะไม้อาหารเพิ่มขึ้นด้วย

นอกจากนั้น หมาป่ายังควบคุมปริมาณสัตว์ผู้ล่าชั้นรองอย่าง “ตัวไคโยตี้” (อืม…ไม่ใช่โคโยตี้แบบเมืองไทยนะ) และเมื่อไคโยตี้ลดน้อยลง เหยื่อของไคโยตี้อย่างกระต่าย , หนู ก็เพิ่มจำนวน และเมื่อกระต่ายกับหนูเพิ่มจำนวน ผู้ล่าอย่างเหยี่ยว , หมาจิ้งจอก , แบดเจอร์ ก็เพิ่มจำนวนขึ้นมาด้วย

และที่น่าสนใจที่สุดก็คือ หมาป่ายังทำให้แม่น้ำถูกกัดซาะน้อยลง เกิดเกาะแก่งต่างๆ ในแม่น้ำมากขึ้น นั่นเป็นเพราะพืชพันธุ์ริมน้ำที่กลับมายึดหน้าดิน ระบบห่วงโซ่อาหารก็กลับมาสมบูรณ์

และนี่เอง จึงทำให้หมาป่าได้ชื่อว่าเป็น “keystone species” หรือสายพันธุ์ที่เป็นเสาหลัก เสมือนหินก้อนกลางในประตูโค้ง ถ้าหินก้อนนี้หายไป หินทุกก้อนก็จะพังลงมา

นั่นเอง จึงเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “หมาป่าเปลี่ยนแม่น้ำ”

ส่วนที่บ้านเรา…
ถ้าถามว่า “เสือจะเปลี่ยนเมืองได้อย่างไร” คำตอบก็คงคล้ายกัน
ถ้าจะพูดถึงความสำคัญของเสือ อาจต้องเริ่มต้นจากคำถามที่ว่า “น้ำจากก็อกที่เราใช้ อากาศบนโลกที่เราหายใจ มาจากไหน”
คำตอบเมื่อโยงไปถึงต้นทางก็ต้องพบว่า “มาจากป่า”
และป่าจะสมบูรณ์ได้ ก็ต้องมีเสือ มีสัตว์ผู้ล่า มีวงจรในระบบนิเวศที่สมดุล

ถ้าขาดเสือไป…
>> ผู้ล่าชั้นรองจากเสือก็อาจเพิ่มจำนวน และอาจกินสัตว์กินพืชลำดับถัดมาจนสูญพันธุ์
>> ส่วนสัตว์กินพืชที่เป็นเหยื่อโดยตรงของเสือ เช่น เก้ง กวาง กระทิง จะเพิ่มปริมาณมหาศาล กินต้นไม้ใบหญ้าอ่อนๆ จนพืชพันธุ์ไม่ทันเติบโต สัตว์กินพืชไม่มีอาหาร ผู้กระจายพันธุ์ไม้ลดจำนวน สุดท้ายป่าก็จะเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ

เมื่อป่าหาย… มนุษย์จะเอาน้ำจากไหน? ฝนจะมาจากไหน? ออกซิเจนจะมาจากไหน?

ตอบได้หรือยังว่าเสือเกี่ยวอะไรกับเรา

อ่านเรื่องราวของธรรมชาติ สรรพสัตว์ และความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งได้เพิ่มเติมที่ http://krajibnoi.blogspot.com/