in on December 21, 2016

กู้โลกแบบไฮเทค

read |

Views

การกู้โลกแบบดั้งเดิมดูจะเป็นเรื่องที่ใช้ทรัพยากรมากมายทั้งกำลังคนและกำลังเงิน นอกจากนี้ยังต้องใช้กำลังใจขั้นสูงเพราะการเป็นพลเมืองดีอาจส่งผลต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังจะทำให้การกู้โลกเป็นเรื่องที่ง่าย รวดเร็ว และปลอดภัยอย่างไม่น่าเชื่อ

ตอนนี้คนรุ่นใหม่กำลังมุ่งมั่นแข่งกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งดูจากแนวคิดเริ่มต้นแล้วน่าสนใจอย่างยิ่ง และหากนำมาใช้ได้จริงจะเป็นการยกเครื่องหรือเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมไปเลยทีเดียว

ไม่ใช่แค่แนวคิดแต่ถูกนำไปใช้แล้ว สวนสัตว์ซานดิเอโก้ สหรัฐอเมริกาทดลองใช้แอพลิเคชั่นนี้เพื่อให้คนมาเที่ยวสวนสัตว์ตระหนักว่าไม่ว่าคุณจะไปเที่ยวที่ไหน คุณมีส่วนหยุดยั้งอาชญากรรมสัตว์ป่าได้ โดยนับตั้งแต่โปรโมทแอพเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีคนส่งข้อมูลชี้เป้ามาแล้วประมาณ 1,000 คน และเจ้าหน้าที่นำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการต่ออย่างน้อย 500 รายถ้าแอพนี้ถูกนำมาใช้ในบ้านเรา หากคุณเห็นเศรษฐีคนใดเลี้ยงนกเงือกหรืองูอนาคอนด้าก็สามารถแจ้งผ่านแอพนี้ได้นะคะ

DroneSeed  แค่ชื่อก็สุดล้ำโดรนปลูกต้นไม้เป็นหนึ่งในโครงการสตาร์ทอัพของรัฐโอเรกอนสหรัฐอเมริกาผู้พัฒนาบอกว่าแม้แนวคิดโดรนปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่โดรนตัวนี้มีความใหม่ตรงที่ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์และการระบุตำแหน่งโดยจีพีเอสเข้าไปเพาะเมล็ดและดูแลต้นไม้ต้นนั้นไปตลอดชีพเริ่มตั้งแต่หยอดเมล็ดระบุตำแหน่งและการเฝ้าระวัง

ผู้พัฒนาบอกว่าในสหรัฐอเมริกามีการปลูกป่าปีละ 1.5 พันล้านต้น ซึ่งต้องใช้กำลังคนมหาศาลและหาคนทำงานยากมาก เพราะเป็นงานที่ใช้พละกำลังมากที่สุดงานหนึ่ง  โดรนตัวนี้จะตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี โดยมีปืนอัดอากาศบรรจุเมล็ดพันธุ์แล้วยิงลงพื้นดินด้วยความเร็วระดับเดียวกับปืนบีบีกัน สามารถหยอดเมล็ดพันธุ์ได้ 800 เมล็ดต่อชั่วโมง ซึ่งหากใช้คนที่ทำงานด้วยไม้หรือเสียมเพื่อขุด หยอด และใช้เท้ากลบจะใช้เวลาทั้งวัน การใช้โดรนปลูกป่ามีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 1 ใน 10 ของงานปลูกต้นไม้ปัจจุบันเท่านั้น ที่สำคัญโดรนตัวนี้ทำงานได้ในทุกสภาพพื้นที่ ทั้งในที่ราบ ภูเขา และหุบเขา

โดรนของเราก็เหมือนแทรกเตอร์ปลูกต้นไม้นั่นเอง  ผู้พัฒนาเขาว่าไว้เห็นสรรพคุณแล้วอยากชวนโดรนตัวนี้มาช่วยปลูกต้นไม้ตามภูเขาหัวโล้นแถวบ้านเราจังเลย

เครื่องมือไฮเทคอีกชิ้นหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันการค้าปลาทะเลใกล้สูญพันธุ์ คือระบบตรวจจับความผิดปกติระหว่างเอกสารนำเข้าและสินค้าจริง ทั้งนี้แต่ละปีมีปลาใกล้สูญพันธุ์ที่ห้ามค้าขายตามอนุสัญญาไซเตสจำนวนนับสิบล้านตัวถูกส่งจากกว่า 40 ประเทศ เข้าสู่สหรัฐอเมริกาผ่านทางสนามบิน  ปลาเหล่านี้ถูกส่งมาภายใต้ระบบเอกสารที่ทำให้ถูกต้องตามกฏหมายโดยมักผ่านการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่สนามบินไปได้อย่างง่ายดายเพราะเจ้าหน้าที่ต้องทำงานกับเอกสารกองโตภายในเวลาอันจำนวนจึงไม่มีโอกาสไปตรวจตราของจริงจำนวนมหาศาลที่อยู่ในคลังสินค้า

New England Aquarium ได้พัฒนาระบบตรวจสอบใบส่งสินค้าที่สามารถประมวลผลได้แบบทันทีทันใด ตั้งแต่การเช็คชื่อที่แจ้งไว้ว่าตรงกับบัญชีรายชื่อสัตว์ห้ามค้าขายหรือไม่ และเช็คข้อมูลการจัดส่งทั้งขนาดและน้ำหนักเพื่อค้นหาสิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งที่แจ้งไว้ในใบส่งสินค้า เจ้าหน้าที่เพียงแค่ถือเครื่องมือขนาดเท่าแทบเลตส่องไปที่ใบส่งของที่แปะไว้ที่กล่องก็สามารถตัดสินใจได้เลยว่าจะเปิดกล่องดูของข้างในหรือไม่  มันคือการเข้าไปส่องดูอวาเรียมเล็กๆ นั่นเอง งานชิ้นนี้เป็น 1 ใน 4 ของผู้ได้รับรางวัลที่สร้างสรรค์และสร้างผลกระทบที่สุด Wildlife Crime Challenge จากจำนวน 300 ชิ้น จาก 52 ประเทศ

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อนำมาปกป้องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ว่าคนที่ทำหน้าที่ควบคุมและบังคับใช้กฏหมายนั้นๆ จะนำข้อมูลที่ได้ไปปฏิบัติการต่อหรือไม่ เพราะต่อให้เครื่องมือล้ำสมัยแต่คนใช้ไม่เป็นหรือติดเกียร์ว่างก็ไม่ต่างอะไรกับหัวล้านได้หวี

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อ้างอิง
  1. ภาพจาก: http://news.nationalgeographic.com/2016/09/wildlife-crime-challenge-winners/
  2. ภาพจาก: http://vrdronegeek.com/2016/07/08/droneseed-seed-bombing-startup-fight-deforestation/
  3. ภาพจาก: http://www.1millionwomen.com.au/
ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์

คุยประเด็นสิ่งแวดล้อมกับอดีตนักข่าว นักเขียน บรรณาธิการนิตยสารสิ่งแวดล้อม และนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระที่สนใจประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการศึกษา ขณะเดียวกันก็รักการเดินทางและการออกกำลังกาย นิยมการเดินป่า เล่นโยคะ ปั่นจักรยาน และทำสวน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านเกิดอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

Email

Share