in on April 27, 2015

อัลมอนด์ที่หายไป

read |

Views

อาจดูเหมือนคนไทยจะไม่อนาทรร้อนใจกับข่าวภัยแล้งที่แคลิฟอร์เนียทุกปีเพราะอยู่ไกลคนละซีกโลก แต่หากรู้ว่าภัยแล้งที่นั่นจะทำให้ถั่วอัลมอนด์ พิสตาชิโอ และวอลนัทแสนอร่อยในขนมขบเคี้ยว หาซื้อยากขึ้นและแพงขึ้น ก็คงใจหายอยู่เหมือนกัน

นักวิทยาศาสตร์หลายสำนักล้วนออกมากล่าวในทำนองเดียวกันว่า ภัยแล้งของแคลิฟอร์เนียเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ปีนี้ก่อนวันน้ำโลก (22 มีนาคม) ไม่กี่วัน นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอวกาศสหรัฐหรือนาซ่าเปิดเผยว่าชาวแคลิฟอร์เนียจะเหลือน้ำใช้อีกเพียงปีเดียวเท่านั้น เพราะหิมะที่ปกคลุมยอดเขาเซียร่าเนวาด้าซึ่งเป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำที่สำคัญมีปริมาณต่ำกว่าปกติต่อเนื่องกัน 4 ปี ทำให้ปริมาณน้ำผิวดินลดลง เมื่อน้ำผิวดินน้อยลงก็มีการขุดน้ำใต้ดินมาใช้แก้ปัญหาระยะสั้นมากขึ้น ปริมาณน้ำใต้ดินจึงลดลงอย่างรวดเร็ว จนทางการแคลิฟอร์เนียต้องออกกฎหมายควบคุมการใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว แต่การบังคับใช้ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี

ปีนี้แคลิฟอร์เนียเจอภัยแล้งรุนแรงสุดในรอบ 1,200 ปี ถึงขั้นผู้ว่าการรัฐต้องออกมาตรการลดการการใช้น้ำลง 25 เปอร์เซ็นต์ โดยปีที่แล้วแม้จะมีการรณรงค์ให้ลดการใช้น้ำโดยสมัครใจให้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดการใช้น้ำได้เพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น มาตรการล่าสุดเป็นมาตรการเชิงบังคับที่มีบทลงโทษ ผู้ที่ลดการใช้น้ำไม่ได้ตามเป้าจะถูกปรับสูงสุดถึงวันละ 500 เหรียญสหรัฐ (30,000 บาท) มาตรการนี้จะทำให้ชาวแคลิฟอร์เนียเปลี่ยนวิถีชีวิตไปอย่างสิ้นเชิง ภัตตาคารร้านอาหารถูกสั่งห้ามบริการน้ำดื่มจนกว่าลูกค้าจะร้องขอ  ความคลั่งไคล้สนามหญ้าหน้าบ้านที่เขียวขจีจะหายไป ทั้งนี้พื้นที่ที่ต้องลดการใช้น้ำสูงสุดคือเบเวอร์ลี่ฮิลล์และลอสแองเจลิสที่เต็มไปด้วยคฤหาสน์ขนาดใหญ่ประดับสนามหญ้าน้ำพุและสระว่ายน้ำ โดยต้องลดการใช้น้ำลง 36 เปอร์เซ็นต์

มาตรการนี้ไม่ได้ครอบคลุมการใช้น้ำภาคเกษตรกรรม ขณะที่แคลิฟอร์เนียเป็นพื้นที่ผลิตผักและผลไม้ที่สำคัญของอเมริกา โดยพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่บริเวณเซ็นทรัลวัลเลย์จำนวน 2  เปอร์เซนต์ของประเทศ สร้างรายได้จากผลไม้และถั่วถึงครึ่งหนึ่งของประเทศ แต่ละปีแคลิฟอร์เนียมีรายได้รวม 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐจากการเพาะปลูกพืชประมาณ 300 ชนิด

ในจำนวนพืชผักผลไม้เหล่านี้ ถั่วเมล็ดแข็งอย่างอัลมอนด์ พิสตาชิโอ และวอลนัทตกเป็นจำเลยในฐานะพืชที่ใช้น้ำมากที่สุด กล่าวคือ พิสตาชิโอ 1  เมล็ดใช้น้ำ 0.75 แกลลอน อัลมอนด์ 1 เมล็ด ใช้น้ำ 1.1 แกลลอน และวอลนัท 1 เมล็ดใช้น้ำ 5 แกลลอน ขณะที่แคลิฟอร์เนียเป็นผู้ผลิตอัลมอนด์ พิสตาชิโอ และวอลนัท 80, 43 และ 28 เปอร์เซนต์ของผลผลิตโลกตามลำดับ และปริมาณการส่งออกถั่วเมล็ดแข็งเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น ในปี 2545 สหรัฐอเมริกาส่งออกอัลมอนด์มูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในอีกสิบปีต่อมาในปี 2555 มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 4 เท่า เป็น 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ด้วยเหตุนี้ชาวเมืองแคลิฟอร์เนียจึงกล่าวหาว่าไม่ยุติธรรมและแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพราะตัวการหลักที่ทำให้น้ำหมดไปจากแคลิฟอร์เนียคือภาคเกษตรกรรมที่ใช้น้ำถึง 80 เปอร์เซนต์ของน้ำในระบบชลประทาน และแต่ละปีสวนอัลมอนด์ใช้น้ำในปริมาณที่ชาวเมืองลอสเจลิสสามารถใช้ได้ถึง 3 ปี

หากมาตรการลดใช้น้ำครอบคลุมถึงภาคเกษตร ก็เท่ากับว่าเกษตรกรและพืชผักผลไม้เหล่านั้นจะได้รับผลกระทุนอย่างหนัก เมื่อเร็วๆ นี้นิตยสารฟอร์จูน นิตยสารธุรกิจชื่อดังในสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์บทความว่า อุตสาหกรรมเกษตรในแคลิฟอร์เนียจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในบรรดาอุตสาหกรรม 6 ประเภทที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยภัยแล้งเมื่อปีที่แล้ว ภาคเกษตรกรรมเสียหายถึง 2.2 พันล้านเหรียญ กระทบแรงงาน 1.7 หมื่นคน และคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีพื้นที่เกษตรถูกทิ้งร้างประมาณ 4.3 แสนเอเคอร์ หรือประมาณ 10.8 ล้านไร่ ซึ่งย่อมรวมถึงพื้นที่ปลูกอัลมอนด์ พิสตาชิโอ และวอลนัทด้วย

ภัยแล้งแคลิฟอร์เนียที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาหลายปีทำให้ทางการมองหาทางเลือก หนึ่งในนั้นคือการผลิตน้ำดื่มจากน้ำทะเล โครงการผลิตน้ำดื่มจากน้ำทะเลมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์จะเริ่มเปิดใช้งานได้ในปี 2016 คาดว่าจะผลิตน้ำดื่มได้ราว 50 ล้านแกลลอนต่อวัน และในอนาคตอันใกล้จะมีโรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลอีก 15 โรงตั้งขึ้นตามแนวชายฝั่งตั้งแต่ลอสแองเจลิสไปจนถึงซานฟรานซิสโก อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของวิธีนี้คือต้องใช้กระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก และน้ำที่เหลือจากการผลิตจะมีระดับความเค็มสูงมากเมื่อปล่อยทิ้งไปและสูบมาใช้ใหม่จะต้องใช้น้ำดิบมากกว่าเดิมเพื่อให้ได้น้ำจืดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเรื่อยๆ

ในบ้านเราแม้จะมีปัญหาขาดแคลนน้ำและการแย่งชิงน้ำระหว่างภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมอยู่บ้างในช่วงหน้าแล้ง แต่ปัญหายังไม่รุนแรงมากนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่มีการเก็บข้อมูลเชิงตัวเลขอย่างเป็นระบบ วิกฤติที่เกิดขึ้นที่แคลิฟอร์เนียน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนหันมาพิจารณาและลงมือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพกันอย่างจริงจังเสียที ก่อนที่ปัญหาภัยแล้งจะมาถึงและเลยเถิดถึงขั้น “เข้าตาจน” แล้วค่อยแก้ไขปัญหาอย่างแคลิฟอร์เนีย

ที่มาภาพ :

อาจดูเหมือนคนไทยจะไม่อนาทรร้อนใจกับข่าวภัยแล้งที่แคลิฟอร์เนียทุกปีเพราะอยู่ไกลคนละซีกโลก แต่หากรู้ว่าภัยแล้งที่นั่นจะทำให้ถั่วอัลมอนด์ พิสตาชิโอ และวอลนัทแสนอร่อยในขนมขบเคี้ยว หาซื้อยากขึ้นและแพงขึ้น ก็คงใจหายอยู่เหมือนกัน

นักวิทยาศาสตร์หลายสำนักล้วนออกมากล่าวในทำนองเดียวกันว่า ภัยแล้งของแคลิฟอร์เนียเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ปีนี้ก่อนวันน้ำโลก (22 มีนาคม) ไม่กี่วัน นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอวกาศสหรัฐหรือนาซ่าเปิดเผยว่าชาวแคลิฟอร์เนียจะเหลือน้ำใช้อีกเพียงปีเดียวเท่านั้น เพราะหิมะที่ปกคลุมยอดเขาเซียร่าเนวาด้าซึ่งเป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำที่สำคัญมีปริมาณต่ำกว่าปกติต่อเนื่องกัน 4 ปี ทำให้ปริมาณน้ำผิวดินลดลง เมื่อน้ำผิวดินน้อยลงก็มีการขุดน้ำใต้ดินมาใช้แก้ปัญหาระยะสั้นมากขึ้น ปริมาณน้ำใต้ดินจึงลดลงอย่างรวดเร็ว จนทางการแคลิฟอร์เนียต้องออกกฎหมายควบคุมการใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว แต่การบังคับใช้ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี

ปีนี้แคลิฟอร์เนียเจอภัยแล้งรุนแรงสุดในรอบ 1,200 ปี ถึงขั้นผู้ว่าการรัฐต้องออกมาตรการลดการการใช้น้ำลง 25 เปอร์เซ็นต์ โดยปีที่แล้วแม้จะมีการรณรงค์ให้ลดการใช้น้ำโดยสมัครใจให้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดการใช้น้ำได้เพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น มาตรการล่าสุดเป็นมาตรการเชิงบังคับที่มีบทลงโทษ ผู้ที่ลดการใช้น้ำไม่ได้ตามเป้าจะถูกปรับสูงสุดถึงวันละ 500 เหรียญสหรัฐ (30,000 บาท) มาตรการนี้จะทำให้ชาวแคลิฟอร์เนียเปลี่ยนวิถีชีวิตไปอย่างสิ้นเชิง ภัตตาคารร้านอาหารถูกสั่งห้ามบริการน้ำดื่มจนกว่าลูกค้าจะร้องขอ  ความคลั่งไคล้สนามหญ้าหน้าบ้านที่เขียวขจีจะหายไป ทั้งนี้พื้นที่ที่ต้องลดการใช้น้ำสูงสุดคือเบเวอร์ลี่ฮิลล์และลอสแองเจลิสที่เต็มไปด้วยคฤหาสน์ขนาดใหญ่ประดับสนามหญ้าน้ำพุและสระว่ายน้ำ โดยต้องลดการใช้น้ำลง 36 เปอร์เซ็นต์
20150324_CA_trd.0
มาตรการนี้ไม่ได้ครอบคลุมการใช้น้ำภาคเกษตรกรรม ขณะที่แคลิฟอร์เนียเป็นพื้นที่ผลิตผักและผลไม้ที่สำคัญของอเมริกา โดยพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่บริเวณเซ็นทรัลวัลเลย์จำนวน 2  เปอร์เซนต์ของประเทศ สร้างรายได้จากผลไม้และถั่วถึงครึ่งหนึ่งของประเทศ แต่ละปีแคลิฟอร์เนียมีรายได้รวม 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐจากการเพาะปลูกพืชประมาณ 300 ชนิด

ในจำนวนพืชผักผลไม้เหล่านี้ ถั่วเมล็ดแข็งอย่างอัลมอนด์ พิสตาชิโอ และวอลนัทตกเป็นจำเลยในฐานะพืชที่ใช้น้ำมากที่สุด กล่าวคือ พิสตาชิโอ 1  เมล็ดใช้น้ำ 0.75 แกลลอน อัลมอนด์ 1 เมล็ด ใช้น้ำ 1.1 แกลลอน และวอลนัท 1 เมล็ดใช้น้ำ 5 แกลลอน ขณะที่แคลิฟอร์เนียเป็นผู้ผลิตอัลมอนด์ พิสตาชิโอ และวอลนัท 80, 43 และ 28 เปอร์เซนต์ของผลผลิตโลกตามลำดับ และปริมาณการส่งออกถั่วเมล็ดแข็งเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น ในปี 2545 สหรัฐอเมริกาส่งออกอัลมอนด์มูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในอีกสิบปีต่อมาในปี 2555 มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 4 เท่า เป็น 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ด้วยเหตุนี้ชาวเมืองแคลิฟอร์เนียจึงกล่าวหาว่าไม่ยุติธรรมและแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพราะตัวการหลักที่ทำให้น้ำหมดไปจากแคลิฟอร์เนียคือภาคเกษตรกรรมที่ใช้น้ำถึง 80 เปอร์เซนต์ของน้ำในระบบชลประทาน และแต่ละปีสวนอัลมอนด์ใช้น้ำในปริมาณที่ชาวเมืองลอสเจลิสสามารถใช้ได้ถึง 3 ปี

หากมาตรการลดใช้น้ำครอบคลุมถึงภาคเกษตร ก็เท่ากับว่าเกษตรกรและพืชผักผลไม้เหล่านั้นจะได้รับผลกระทุนอย่างหนัก เมื่อเร็วๆ นี้นิตยสารฟอร์จูน นิตยสารธุรกิจชื่อดังในสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์บทความว่า อุตสาหกรรมเกษตรในแคลิฟอร์เนียจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในบรรดาอุตสาหกรรม 6 ประเภทที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยภัยแล้งเมื่อปีที่แล้ว ภาคเกษตรกรรมเสียหายถึง 2.2 พันล้านเหรียญ กระทบแรงงาน 1.7 หมื่นคน และคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีพื้นที่เกษตรถูกทิ้งร้างประมาณ 4.3 แสนเอเคอร์ หรือประมาณ 10.8 ล้านไร่ ซึ่งย่อมรวมถึงพื้นที่ปลูกอัลมอนด์ พิสตาชิโอ และวอลนัทด้วย
19ez6ilfsu7qbjpg
ภัยแล้งแคลิฟอร์เนียที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาหลายปีทำให้ทางการมองหาทางเลือก หนึ่งในนั้นคือการผลิตน้ำดื่มจากน้ำทะเล โครงการผลิตน้ำดื่มจากน้ำทะเลมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์จะเริ่มเปิดใช้งานได้ในปี 2016 คาดว่าจะผลิตน้ำดื่มได้ราว 50 ล้านแกลลอนต่อวัน และในอนาคตอันใกล้จะมีโรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลอีก 15 โรงตั้งขึ้นตามแนวชายฝั่งตั้งแต่ลอสแองเจลิสไปจนถึงซานฟรานซิสโก อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของวิธีนี้คือต้องใช้กระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก และน้ำที่เหลือจากการผลิตจะมีระดับความเค็มสูงมากเมื่อปล่อยทิ้งไปและสูบมาใช้ใหม่จะต้องใช้น้ำดิบมากกว่าเดิมเพื่อให้ได้น้ำจืดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเรื่อยๆ

ในบ้านเราแม้จะมีปัญหาขาดแคลนน้ำและการแย่งชิงน้ำระหว่างภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมอยู่บ้างในช่วงหน้าแล้ง แต่ปัญหายังไม่รุนแรงมากนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่มีการเก็บข้อมูลเชิงตัวเลขอย่างเป็นระบบ วิกฤติที่เกิดขึ้นที่แคลิฟอร์เนียน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนหันมาพิจารณาและลงมือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพกันอย่างจริงจังเสียที ก่อนที่ปัญหาภัยแล้งจะมาถึงและเลยเถิดถึงขั้น “เข้าตาจน” แล้วค่อยแก้ไขปัญหาอย่างแคลิฟอร์เนีย

อ้างอิง
  1. ภาพจาก: Shutterstock
  2. ภาพจาก: droughtmonitor.unl.edu
  3. ภาพจาก: AP Photo
ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์

คุยประเด็นสิ่งแวดล้อมกับอดีตนักข่าว นักเขียน บรรณาธิการนิตยสารสิ่งแวดล้อม และนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระที่สนใจประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการศึกษา ขณะเดียวกันก็รักการเดินทางและการออกกำลังกาย นิยมการเดินป่า เล่นโยคะ ปั่นจักรยาน และทำสวน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านเกิดอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

Email

Share