Green Issues

Search Result for :

นิเวศในเมือง
read

ชีวะตะลุมบอน ประวัติศาสตร์ที่คุ้งบางกะเจ้า

ความสำคัญของงานนี้คือการรวมตัวของนักวิทยาศาสตร์และอาสาสมัครจากหลากหลายองค์กรและสถาบัน มีมูลนิธิโลกสีเขียวเป็นเจ๊ดันประสานงานจัดการให้เกิดขึ้น โดยใช้ทุนส่วนหนึ่งจาก สสส.ประกอบกับทุนของมูลนิธิฯ เอง แต่ทุนส่วนใหญ่มาจากบุคคลทั้งหมดที่เข้าร่วมลงแรงลงเวลา

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมืองกินได้ฉบับ Gen F

ผู้เขียนเป็นคนรุ่นเก็บพืชผักของกินริมทาง มันไม่ได้เป็นเพียงพฤติกรรมที่ติดมาจากแม่ ผู้เป็นนักพฤษศาสตร์มหาลัยป่าหลังบ้าน แต่สมัยผู้เขียนเป็นเด็กมันเป็นเรื่องปกติที่รถเมล์ต่างจังหวัดจะจอดให้แม่บ้านที่ร้องโหวกแหวกเรียกรถหยุด ได้ลงไปเก็บผักบุ้ง เก็บเห็ดโคน

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมืองดาว เทรนด์ใหม่คู่เมืองคาร์บอนต่ำ

สิ่งที่บดบังท้องฟ้าตลอดชั่วชีวิต 6-7 ปีของเด็กน้อยคือหมอกควันจากมลพิษ

แต่เด็กเมืองอเมริกันถึง 80% ก็แทบไม่เคยเห็นดาวเช่นกัน

เมื่อปี ค.ศ.1994 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในคาลิฟอร์เนียจนไฟดับทั้งแอลเอ ชาวเมืองจำนวนไม่น้อยโทรสายด่วน 911 แจ้งข่าวเห็น “เมฆยักษ์ประหลาดเรืองแสงพาดบนท้องฟ้า”

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ไบโอมิมิครี…ขุมทรัพย์ไม่มีหมด

ถ้ายังสร้างเทคโนโลยีเลียนแบบธรรมชาติไม่ได้ มนุษย์เราก็น่าจะมีปัญญาพอที่จะหยิบสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์มาใช้อย่างถูกที่ถูกเวลา ตอนข่าวน้ำมันรั่วที่ระยองกำลังดัง นักวิทยาศาสตร์พากันพูดถึงวัสดุธรรมชาติที่ดูดซับน้ำมันได้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจัดแถลงข่าวว่า ดอกธูปฤาษี 100 กรัมสามารถกักเก็บคราบน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร นอกจากจะไม่มีผลข้างเคียงจากสารเคมี ยังนำวัสดุเหล่านั้นไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกด้วย (http://www.manager.co.th/campus/viewnews.aspx?NewsID=9560000095312) นับว่าเป็นวัสดุนาโนธรรมชาติที่นำมาใช้ได้โดยทันทีและไม่ต้องกลัวสารพิษตกค้างหรือชิ้นส่วนเล็กๆ สะสมในธรรมชาติเหมือนวัสดุนาโนสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ …น่าเสียดายที่องค์ความรู้เหล่านี้เปิดเผยต่อสาธารณะหลังจากบริษัทเจ้าของน้ำมันระดมฉีดสารเคมีสลายคราบน้ำมัน จำนวนมหาศาลไปเรียบร้อยแล้ว ไบโอมิมิครี (biomimicry) หรือการเลียนแบบธรรมชาติ คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ สถาปนิก และวิศวกรทั่วโลกกำลังสนใจ ในฐานะคลังการเรียนรู้และการพัฒนาอันยิ่งใหญ่และไม่สิ้นสุด ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่นำมาใช้ได้จริงแล้ว ไมเคิล พาว์ลีน สถาปนิกที่โด่งดังจากการออกแบบสถาปัตยกรรมเลียนแบบธรรมชาติเคยพูดเรื่องนี้ใน Tedtalks เมื่อปี 2010 (http://www.ted.com/talks/michael_pawlyn_using_nature_s_genius_in_architecture.html) ว่า ไบโอมิมิครีจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในการใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง เป็นการใช้และผลิตที่เป็นไปแบบวงจรปิดจากเดิมที่เป็นเส้นตรงคือขุดขึ้นมา ผลิต ใช้ และกลายเป็นขยะ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนเศรษฐกิจโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เขายกตัวอย่างงานออกแบบโรงเรือนสำหรับปลูกต้นไม้ของเขาและทีมงานว่า เกิดจากการสังเกตโครงสร้างของวัสดุธรรมชาติหลายชนิดที่มีความเบาเหนียวและคงทน เช่น เกสรเมล็ดพันธุ์พืช พบว่ามีโครงสร้างทั้งแบบ 5 เหลี่ยมและ 6 เหลี่ยม เขาเลือกใช้พลาสติกโพลิเมอร์ ETFE ซึ่งมีโครงสร้างแบบ 6 เหลี่ยม […]

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

วางแผนให้มั่น ก่อนปั่นทางไกล

แปลกดีเหมือนกัน วิธีเดินทางแสนสะดวกสบายและรวดเร็วมีอยู่มากมาย แต่ยังมีคนเต็มใจเลือกเดินทางด้วยแรงกายที่ทั้งช้าและเหนื่อยกว่ากันหลายเท่าตัว

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

น้ำท่วมจักรยาน… ทำไงดี?

เราต่างไม่คุ้นเคยกับน้ำท่วม (แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเคยขึ้นชื่อว่าเป็นเมือเวนิสตะวันออกมาก่อนก็ตาม) ดังนั้นเมื่อน้ำหลากมา ระบบชีวิตปกติของเราเกือบทุกอย่างล้วนมีปัญหา อาหาร น้ำ ไฟ การเดินทาง โรคภัย อันตรายจากน้ำ ฯลฯ ทุกๆ อย่างดูจะเป็นอุปสรรคสำหรับการดำรงชีวิตไปเสียหมด แต่อุปสรรคคือบทเรียน วิกฤติคือโอกาส

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

จักรยานคันแรก

ประกาศ! ประกาศ! ใครที่ต้องการมีรถคันแรกเป็นของตัวเอง สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท แวบหนึ่งในห้วงความคิดของผม หลงละเมอคิดว่าราคาจักรยานคันแรกคงจะถูกลงด้วย เพราะจักรยานก็ถือเป็นรถที่ใช้ในการเดินทางเหมือนกัน แต่ดูเหมือนว่าทุกวันนี้ผมกับรัฐบาลคงจะมองโลกจากคนละมุม หรือถ้ายืนอยู่ที่เดียวกันก็คงหันมองคนละทาง แม้บังเอิญหันมามองสิ่งเดียวกัน ก็คิดกันไปคนละประเด็น ที่ผมรู้คือขณะนี้กรุงเทพฯ ประเทศไทยเรากำลังมีปัญหาการจราจรย่ำแย่ จากรถยนต์ส่วนตัวที่ควรจะมีส่วนพอดีตัวกลับเบ่งขยายจนใหญ่เกินจำเป็น ไม่เชื่อลองพิสูจน์ดูง่ายๆ ก็ได้ครับ เวลารถติดไฟแดงเราลองมองทะลุเข้าไปในบรรดารถเก๋งที่อยู่รอบตัวดูสิครับ (อ๊ะ อย่าเข้าใจผิดครับ ไม่ได้ให้มองหน้าคนขับ เดี๋ยวคุณอาจกลับไม่ถึงบ้าน ^^) แต่ผมให้ลองนับที่นั่งว่างในรถดูครับ สำนักงานสถิติแห่งชาติเก็บข้อมูลจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยในรถยนต์ส่วนตัวไว้หรือเปล่าผมไม่อาจทราบได้ แต่จากที่เห็นประจำ ผมมั่นใจว่าส่วนใหญ่มีคนนั่งประจำไม่เกิน 2 คน (รวมคนขับแล้วนะ) แล้วที่ว่างที่เหลืออยู่ล่ะ!? เอาไว้วางของ สัมภาระติดตัว ร่ม รองเท้า เน็คไท จิปาถะต่างๆ นานาครับ น้อยครั้งที่เบาะนั่งเหล่านั้นจะได้ทำหน้าที่อย่างที่มันถูกสร้างมาให้เป็นครับ พื้นที่ส่วนตัวที่เกินตัวเหล่านี้ ส่วนตัวใครๆ ก็ชอบครับ ก็แน่ล่ะมีพื้นที่เหลือรองรับการใช้งานหลายรูปแบบหรือสำรองที่ไว้สำหรับการขยับขยายครอบครัวในอนาคต ฯลฯ แต่ถ้ามองระดับภาพรวมของการจราจร ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวส่วนเกินมากขึ้น ยิ่งสร้างปัญหาต่อการจราจรครับ มันไปกินที่สาธารณะบนท้องถนนเสียจนไปกระทบการสัญจรอื่นๆ เสียหมด พอรถยิ่งติด คนที่ใช้รถเมล์ รถสาธารณะยิ่งลำบาก เพราะยิ่งติด รถยิ่งมาช้า […]

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

ปั่นจักรยานสัมผัสธรรมชาติ

ลองสมมติเล่นๆ นะครับว่า ถ้าจู่ๆ เครื่องปรับอากาศก็หายไปจากรถทุกคันบนท้องถนน คนเมืองร้อนอย่างกรุงเทพฯ จะทำอย่างไร ผมเชื่อว่าเราจะเห็นความสำคัญของการเพิ่มต้นไม้ในเมืองมากเสียกว่าการเรียกร้องให้ตัดต้นไม้เพื่อขยายถนนให้รถวิ่งเป็นแน่ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองอีกหลายๆ

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

ประสบการณ์ขี่จักรยานวันแรก

ผมขี่จักรยาน ‘เป็น’ ปีนี้เป็นปีที่ 22 แล้ว ใครก็ตาม ก่อนจะขี่จักรยานเป็น ล้วนต้องเคยล้มมาก่อน บางคนอาจล้มจนนับครั้งไม่ถ้วน ล้มจนท้อแล้วหันหลังให้จักรยานไปเลยก็มี แต่วินาทีแรกที่มือเริ่มจับแฮนด์ได้มั่นคง สองเท้าส่งแรงขับให้ล้อหมุนไปได้โดยสมดุล วินาทีนั้นคงเป็นช่วงเวลาแห่งชัยชนะ และความสำเร็จที่ภูมิใจที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตวัยเด็กของใครหลายๆ คน รวมถึงผม ผมเริ่มขี่จักรยานสามล้อตั้งแต่อายุ 2 ขวบ และเริ่มขี่สองล้อ ‘เป็น’ หลังจากเพียรพยายามฝึกฝนกว่า 1-2 ปี (หลังจากได้แผล 2-3 รอยที่ยังพอหลงเหลือให้ระลึกถึงตอนโต) บ้านผมสมัยนั้น พวกพ้องน้องพี่มักมารวมตัวกันตอนเย็นๆ โดยเฉพาะช่วงวันศุกร์ – เสาร์ พวกเรามักหาอะไรเล่นตามประสาเด็กๆ กิจกรรมหนึ่งที่นิยมเล่นกันก็คือ การตั้งแก๊งค์แข่งซิ่งจักรยาน วิธีเล่นมีตั้งแต่แข่งความเร็วทั่วไป แข่งทรงตัวบนอานจักรยานให้นานที่สุด โดยล้อแทบไม่ขยับ แข่งขี่จักรยานปล่อยมือ ที่เด็ดสุดคือ แข่งถีบบันไดจักยานเพียงครั้งเดียว ใครเคลื่อนไปได้ไดไกลที่สุดชนะ วัดแรงน่อง + ความไหลลื่นของล้อจักรยาน ฯลฯ วัยเด็ก พวกเราหลายคนเห็นจักรยานเป็นของเล่นแสนสนุก พอโตขึ้นโอกาสจับแฮนด์ขี่จักรยานกลับน้อยลง แต่จักรยานลองได้ขี่เป็นแล้ว ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ไม่มีใครต้องกลับไปหัดขี่ใหม่เลยสักคน แต่จะมีกี่คนตัดสินใจใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ผมเองพอโตขึ้นก็เริ่มถอยห่างจากจักรยานเหมือนวัยรุ่นทั่วไป มุมมองที่เคยเห็นว่าจักรยานคือของเล่น […]

Read More