Green Issues

Search Result for :

กินดีอยู่ดี
read

อย่ากินหวานและเค็ม

หัวข้อเรื่องของบทความฉบับนี้เป็นอมตะวาจาที่อายุรแพทย์มักแนะนำบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง และ/หรือเป็นเบาหวาน และ/หรือไตเสื่อม ให้ปฏิบัติเป็นประจำ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นข้อแนะนำดังกล่าวเป็นวิถีทางปฏิบัติซึ่งแม้คนที่คิดว่าตนมีสุขภาพดีก็ควรกระทำ แต่ก็มักละเลยกัน คนไทยชอบกินอาหารออกเค็มและขนมที่หวาน (มัน) มาก เพราะอาหารและขนมไทยหลายชนิดมีไขมันจากกระทิสูง พฤติกรรมดังกล่าวนี้ดูเหมือนเป็นวัฒนธรรมที่เราชื่นชอบ ดังปรากฏในรายการต่างของโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ดังนั้นสุดท้ายจึงลงเอยในปัจจุบันว่า จำนวนคนไทยที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ตลอดจนโรคหัวใจ นั้นอยู่ในระดับน่าพอใจของมัจจุราช ตัวผู้เขียนนั้นก็ไม่ได้รอดไปจาก Degenerative disease หรือ โรคแห่งความเสื่อมถอยของร่างกาย (ซึ่งพูดง่าย ๆ คือ โรคของผู้สูงอายุ) ที่กล่าวข้างต้นเช่นกัน อาการที่เป็นคือ ความดันโลหิตสูง ส่วนเบาหวานและโรคไตนั้นยังอยู่ในขั้นของความสุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นเมื่อใดก็ได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ ดังที่เคยเล่าอยู่บ่อย ๆ ว่าผู้เขียนออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำ ตามมาตรฐานที่ควรเป็นคือ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันจำนวน 3 วัน และเหงื่อออกชุ่มอย่างน้อย 30 นาทีจำนวน 2 วัน พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้ผู้เขียนซึ่งสูง 170 เซ็นติเมตร สามารถคุมน้ำหนักให้อยู่ได้ที่ 70 + 1 กิโลกรัมในช่วงเวลา […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

พลังคำเพื่อโลก

ถามจริงๆ เมื่อได้ยินคำว่า “สิ่งแวดล้อม” คุณนึกถึงอะไร? ถามนักเรียนจะได้คำตอบว่าคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตรอบตัวเรา ถามคนทั่วไป แว็บแรกก็นึกถึงอากาศ น้ำ อุณหภูมิ การจัดการของเสียและขยะ ทั้งสองคำตอบไม่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น กระตุ้นจินตนาการ มันน่าเบื่อ เช่นเดียวกับคำว่าความยั่งยืน ในหนังสือ How to Raise a Wild Child สก็อต แซมสันตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเราตกหลุมรักกับคนคนหนึ่ง ขอแต่งงานด้วย เราไม่คิดว่าเราจะมีชีวิตที่แค่ยั่งยืนไปด้วยกัน ไม่ได้จะแค่ประคองกันไป จืดๆ ชืดๆ รอดตายด้วยความรอบคอบเก็บเงินออม ปลอดภัยอย่างซังกะตาย แต่เราเต็มไปด้วยปิติและความหวัง หนึ่งบวกหนึ่งไม่ใช่แค่สอง เราจะงอกงามเบิกบานไปด้วยกัน แล้วทำไมเมื่อเรารักธรรมชาติเต็มหัวใจ ไม่ได้เห็นมันเป็นแค่ “สิ่ง” และ “ของ” แต่เรากลับบอกคนอื่นว่า “เราต้องจัดการสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน” ไร้ซึ่งแรงบันดาลใจใดๆ เราต้องหาคำที่ให้ความหวัง เร้าใจกับความเป็นไปได้ในอนาคต งานวิจัยเล็กๆ หลายชิ้นกำลังชี้ให้เห็นว่า เด็กรุ่นใหม่มีอาการจิตตกกับภาพอนาคตโลกเสื่อม จนไม่อยากจะทำอะไร นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการถูกฝึกให้ใช้ภาษาในมุมมองภววิสัย (objective) มีความหมายใช้งานตามวัตถุประสงค์ ไม่เจือปนอารมณ์หรือมุมมองส่วนตัว เพื่อลดอคติ แต่เมื่อนำมาใช้ในการสื่อสารทั่วไปนอกแวดวงวิชาการ มันขาดหัวใจ แต่มันไม่ได้แปลว่านักวิทยาศาสตร์ไม่มีหัวใจ นักธรรมชาติวิทยาที่ทำงานจริงจังล้วนรักและพิศวงในธรรมชาติและชีวิตที่เขาศึกษา […]

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

Car Free Day  แก้ปัญหารถติด !?

เมื่อหลายปีก่อน สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองรถติดอันดับ ๑ ของโลก เหตุที่รถติดอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ผังเมืองไม่ดี มีการก่อสร้างขุดเจาะพื้นถนน ผู้สัญจรขาดระเบียบวินัย มีอุบัติเหตุ สัญญาณไฟจราจรไม่สัมพันธ์กับความหนาแน่นของรถบนท้องถนน ฯลฯ  แต่ปัจจัยหลักที่ปฏิเสธไม่ได้น่าจะเป็นเพราะจำนวนรถที่เพิ่มมากขึ้นเกินกว่าถนนจะรองรับได้ เมื่อปี ๒๕๕๓ จำนวนรถจดทะเบียนกรุงเทพฯ มีทั้งสิ้น ๖.๒ ล้านคัน  โดยเฉลี่ยทุกๆ ปีมีรถจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ๒๔๐,๐๐๐ คัน  กระทั่งในปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เมื่อรัฐบาลออกนโยบายคืนภาษีรถยนต์ที่เรียกกันว่า “รถคันแรก” ทำให้มียอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์  ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ กรุงเทพฯ มีรถยนต์ทั้งสิ้น ๗.๓ ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๓ ถึง ๑.๑ ล้านคัน สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ระบุว่าปัจจุบันพื้นที่ถนนกรุงเทพฯ รองรับรถยนต์ได้เพียง ๑.๖ ล้านคัน  นั่นหมายความว่าหากจะมีถนนเพียงพอต่อรถยนต์ จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ถนนอีก ๔-๕ เท่า  แต่ความเป็นจริงทุกวันนี้กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องหนาแน่นแออัดทุกพื้นที่  อัตราการขยายถนนทำได้เพียงร้อยละ ๔ ต่อปี ไม่ทันกับการรองรับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุกปีๆ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

สู้โว้ย..เมื่อคอเรสเตอรอลในเลือดสูง

สารพฤกษเคมีกลุ่มหนึ่ง คนไทยเรียกว่า ไฟโตสเตอรอล (phytosterol ออกเสียงว่า ไฟ-โต-สะ-เตีย-รอล) ได้เริ่มเข้ามาสู่วิถีชีวิตของผู้บริโภคบางท่าน ซึ่งปรับตัวให้เป็นไปตามสภาพของคนไทยยุค ไทยแลนด์ 4.0 เเละใช้ชีวิตล่องลอยไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้แต่ละคนลดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จนเกิดโรคเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายเร็วกว่าที่ควรเป็น เช่น คอเลสเตอรอลในเลือดสูง นำไปสู่ความเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบและภาวะสมองขาดเลือด ภาพจาก : http://www.actigenomics.com/2012/06/what-are-phytosterols/ มีข้อมูลบอกกล่าวในเว็บที่โฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งมีไฟโตสเตอรอลเป็นองค์ประกอบว่า ชาวฟินแลนด์นั้นเคยมีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมาก่อน จนทำให้คนวัยทำงานเสียชีวิตด้วยโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดสูงที่สุดในโลก รัฐบาลฟินแลนด์และเอกชนจึงร่วมมือหามาตรการแก้ปัญหานี้ โดยระดมผู้เชี่ยวชาญมาคิดค้นวิจัยหาสิ่งที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ถึงปี 1972 นักวิจัยชาวฟินแลนด์ได้ประสบความสำเร็จค้นพบว่า ไฟโตสเตอรอลมีผลในการลดคอเลสเตอรอลในเลือดของชาวฟินแลนด์ ส่งผลให้ภายใน 5 ปีหลังจากนั้น อัตราการตายของชาวฟินแลนด์ในวัยทำงานเนื่องจากโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดลดลงถึงร้อยละ 70 ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้สรรเสริญโดยจัดอันดับคุณภาพชีวิตของชาวฟินแลนด์อยู่อันดับที่ 11 ของโลก กล่าวกันว่าในการศึกษาแบบทดลองสุ่มตัวอย่างที่เรียกว่า Double Blind (มีผู้แปลว่า การทดลองแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย ซึ่งหมายความว่า ผู้ทำการทดลองและอาสาสมัครไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกทดสอบเช่น ยา นั้นอาสาสมัครคนใดได้บ้าง โดยมีคนที่รู้คือ ผู้ควบคุมการทดลองเพียงไม่กี่คนที่ไม่ได้สัมผัสกับอาสาสมัครโดยตรง) เพื่อช่วยลดความแปรผันของตัวแปรต่าง ๆ เช่น งานวิจัยชื่อ Cholesterol lowering efficacy of […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

หญ้าสาบหมาและกวางผาเชียงดาว

แม้จะเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์มานานแล้ว แต่ผู้เขียนพึ่งเคยอ่านหนังสือชื่อ Rabbit-Proof Fence หรือ รั้วกันกระต่าย หนังสือที่เล่าการผจญเผ่าของเด็กลูกครึ่งระหว่างคนพื้นเมืองออสเตรเลียกับคนผิวขาวที่ถูกส่งไปอยู่โรงเรียนประจำสำหรับเด็กลูกครึ่งในพื้นที่ห่างไกล เด็กสามคนหนีจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งเพื่อกลับบ้านในเขตทะเลทราย โดยเดินตามรั้วที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อป้องกันกระต่ายข้ามจากฟากตะวันตกของประเทศไปยังอีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่เกษตร  แนวรั้วทอดยาวจากเหนือจดใต้ระยะทาง 1,834 กิโลเมตร หนังสือเรื่องนี้ทำให้นึกถึงเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว แต่เป็นพืชและสัตว์ต่างถิ่น กระต่ายเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่ชาวผิวขาวนำจากยุโรปสู่ออสเตรเลียเพื่อกีฬาล่าสัตว์ จากกีฬาแสนสนุกกลายเป็นความทุกข์ของประเทศ เมื่อกระต่ายแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วเกินควบคุม กัดกินหญ้าและพืชพรรณธัญญาหารจนทำให้บางพื้นที่กลายเป็นที่แห้งแล้งและพื้นที่เกษตรเสียหาย ทว่ารั้วอันยาวเหยียดและแข็งแรงไม่สามารถป้องกันกระต่ายได้เพราะมันแพร่พันธุ์ไปยังอีกฝั่งก่อนสร้างรั้วเสร็จเสียอีก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีมาแล้ว กลับมาที่บ้านเราในยุคปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ทำให้ฉันนึกถึงการเดินขึ้นดอยหลวงเชียงดาวเพื่อเก็บขยะในช่วงปิดฤดูกาลท่องเที่ยวเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา ฉันเดินผ่านดงหญ้าอันหนาทึบที่กำลังออกดอกสีขาวบานสะพรั่งและไหวลู่ลมดูสวยงามราวกับฉากในมิวสิกวิดีโอจนฉันอดใจไม่ไหวต้องถ่ายรูปมาโชว์ คนนำทางบอกฉันว่านั่นคือหญ้าสาบหมา พืชต่างถิ่นที่เพิ่งมาถึงดอยเชียงดาวเมื่อไม่นานมานี้ และเห็นการแพร่กระจายชัดเจนในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องด้วยเมื่อดอกสีขาวที่อัดแน่นไปด้วยเมล็ดพันธุ์แห้งลง สายลมจะพัดพาเมล็ดพันธุ์จำนวนมหาศาลฟุ้งกระจายไปทั่วสารทิศ พร้อมจะเติบโตเมื่อพบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การแพร่กระจายของหญ้าสาบหมาทั้งรุกรานและปิดกั้นโอกาสเติบโตของพืชท้องถิ่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะลำต้นของหญ้าสาบหมามีสารแอลลิโอพาธิคในระดับสูง จากการศึกษาสารแอลลิโอพาธิคกับพืช 19 ชนิด พบว่าสารแอลแอลลิโอพาธิคจากหญ้าสาบหมาเพียง 1 กรัม มีผลยับยั้งการงอกของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 19 ชนิด และส่งผลต่อการเจริญของรากและลำต้นของพืชทดสอบจำนวน 12 ชนิด จาก 19 ชนิด ด้วยเหตุนี้จึงน่าเป็นห่วงว่าหญ้าสาบหมาจะรุกรานพืชเฉพาะถิ่นไปเสียหมด มิเพียงส่งผลเสียต่อพืชเท่านั้น ที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ ฮาวาย สหรัฐอเมริกาเคยมีรายงานการระบาดของหญ้าสาบหมา และพบว่าม้าที่กินต้นหญ้าสาบหมาป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรังและล้มตายยกฟาร์มมาแล้ว  ขณะที่บนดอยหลวงเชียงดาวก็มีสัตว์กีบอย่างกวางผาอยู่อาศัย […]

Read More
Natural Solution
read

คุณค่าของต้นไม้ริมทาง

ใครที่เคยไปสิงคโปร์คงจะเคยเห็นว่าสิ่งที่เป็นจุดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ แห่งนี้คือต้นไม้ใหญ่ริมทาง ตั้งแต่ออกจากสนามบินจนเข้าเมืองเราจะได้เห็นไม้ใหญ่เรียงตัวเป็นทิวแถวแทบจะทุกถนนเส้นหลัก ลี กวน ยู นายกรัฐมนตรีผู้ก่อร่างสร้างชาติสิงคโปร์ เป็นผู้วางรากฐานสำคัญในการสร้างสิงคโปร์ให้เป็น Garden City จนมักจะได้รับเรียกว่าเป็น Gardener-in-Chief อีกตำแหน่งหนึ่ง ตอนที่ลี กวน ยู ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สิงคโปร์เพิ่งผ่านยุคอุตสาหกรรมและการขยายบ้านเมืองที่ทำให้พื้นที่จำนวนมากเสื่อมโทรม ลี กวน ยู บุกเบิกการปลูกต้นไม้ในเมืองและเริ่มการรณรงค์ให้สิงคโปร์เป็นนครแห่งสวนมาตั้งแต่ปี 1963 และผลักดันจนเกิดเป็นวันปลูกต้นไม้ประจำชาติ National Tree Planting Day ตั้งแต่ปี 1971 ทุกๆ วันอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนเพื่อรับฤดูฝนโดยตั้งเป้าปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 10,000 ต้น โดยราว 5,000 ต้นจะปลูกตามแนวถนน วงเวียน ที่จอดรถ และพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ (ต้นไม้ริมทางในสิงคโปร์ จาก Singapore National Park Service) ลี กวน ยู เชื่อว่าการปลูกต้นไม้จะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ร่มเย็นน่าอยู่ให้กับพลเมืองของเขา และสร้างภาพลักษณ์ที่น่าประทับใจให้กับผู้มาเยือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้นักลงทุนรู้สึกว่าสิงคโปร์เป็นเมืองที่น่าลงทุนตั้งแต่ก้าวแรกที่ออกจากสนามบิน ปัจจุบันเรามีงานวิจัยยืนยันผลประโยชน์จากการมีต้นไม้ในเมืองมากมาย อาทิ ไม้ใหญ่ที่สมบูรณ์ต้นหนึ่ง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ทำไมมนุษย์เป็นสัตว์แก่วัยทอง?

ความแปลกอย่างหนึ่งของมนุษย์ คือเราเป็นสัตว์ไม่กี่ชนิดที่มีอายุยืนยาวตามธรรมชาติได้นานหลังวัยเจริญพันธุ์ ไข่ของมนุษย์ผู้หญิงจะถูกปล่อยทิ้งหมดไปเมื่ออายุราว 40-50 ปี ประจำเดือน (menstruation) หมดก็เข้าสู่วัยทอง แต่พวกนางก็ยังมีเรี่ยวแรงไม่แก่ตายโดยเร็ว แม้ในยุคที่การแพทย์ยังไม่ล้ำจนสามารถยืดอายุมนุษย์ได้ยาวนาน ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยก็ยังอายุยืนหลังวัยทองไปได้อีกหลายสิบปี เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแม้ในหมู่ชนเผ่าล่าสัตว์เก็บของป่า จึงต้องสรุปว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ต่างจากสัตว์ส่วนใหญ่ หลายชนิดมีชีวิตเพียงเพื่อผสมพันธุ์วางไข่ออกลูกครั้งเดียวแล้วตาย อีกหลายชนิดออกลูกได้หลายครั้งหลายปี แต่เมื่อหมดความสามารถในการสืบพันธุ์แล้วก็ตาย ถ้าไม่นับสัตว์ที่คนเอามาเลี้ยงดูแลในสถานเพาะเลี้ยงต่างๆ สัตว์ป่าในธรรมชาติที่มีวัยทองเท่าที่เรารู้มีไม่มากนัก อาทิวาฬเพชฌฆาตประเภทไม่อพยพ วาฬนำร่องครีบสั้นหรือโลมาหัวกลม เพลี้ยอ่อนสังคมที่สร้างหูดบนพืช (gall-forming social aphid) เป็นต้น มันเป็นปรากฎการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ยังงุนงง มีทฤษฎีถกเถียงกันมากมายถึงเหตุผลการวิวัฒนาการคุณลักษณะนี้ หลายทฤษฎีฟังดูเข้าท่า แต่พอตรวจสอบข้อมูลก็ล้มพับไป จึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่มีข้อสังเกตน่าพิจารณา สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์สังคมซึ่งตัวอ่อนต้องได้รับการดูแลเป็นเวลานานเพื่ออยู่รอด วาฬเพชฌฆาตเด็กต้องการแม่ดูแลยาวนานยิ่งกว่ามนุษย์อีก มันมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายกว่าจะหากิน หลีกเลี่ยงภัยเสี่ยงในชีวิตได้ แม่และยายที่มีประสบการณ์มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะในช่วงยากแร้น เพราะต้องอาศัยความรู้ทางนิเวศท้องถิ่นเป็นอย่างดีที่จะอยู่รอดผ่านพ้นภาวะลำบากไปได้  ไหนยังต้องเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมทะเลอีก มนุษย์ก็เช่นกัน ในสังคมโบราณจวบจนไม่นานมานี้ หญิงวัยทองยันนางเฒ่ามีบทบาทสำคัญในครอบครัวและชุมชน เป็นผู้ช่วยเลี้ยงดูเด็กรุ่นใหม่ แบ่งเบาภาระให้แม่สาวๆ ออกไปทำมาหากิน นางเฒ่าหลายคนยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้และปัญญาจากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี คนในสังคมได้อาศัยปรึกษาหารือ แต่ความต้องการผู้มีประสบการณ์ช่วยเลี้ยงดูเด็กและแก้ปัญหาให้ชุมชนก็ไม่ใช่เหตุผลเด็ดที่จะฟันธงสำหรับอธิบายปรากฎการณ์วัยทอง สัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิดก็อยู่กันเป็นสังคมและช่วยกันเลี้ยงเด็ก ยกตัวอย่างช้าง ช้างเป็นสัตว์อายุยืนยาวเครือๆ มนุษย์ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

นมสดจากเต้า

ปัจจุบันมีคนไทยหลายคนนิยมกินอาหารในลักษณะที่เรียกว่า Green* คือ อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ หรือแม้ผ่านการแปรรูปก็ผ่านแต่น้อย อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่สดสะอาดไม่ผ่านกระบวนการหมักดองหรือปรุงรสใด ๆ มากจนเกินไป ซึ่งผู้เขียนไม่ได้สนใจสักเท่าไร เนื่องจากนิยมกินอะไรก็ได้เท่าที่มีอยู่ เพียงขอให้เป็นอาหารครบห้าหมู่โดยมีผักผลไม้ครึ่งหนึ่งก็เป็นพอ นอกจากนี้ผู้บริโภคหลายคน นอกจากต้องการกิน Green แล้ว ยังต้องการให้สิ่งที่กินเป็น Organic หรือ อาหารอินทรีย์* คือ อาหารที่ผลิตตามกระบวนการที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ให้มีแนวทางที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยที่เป็นสารธรรมชาติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค..บลา ๆๆๆ หนักไปกว่านั้นผู้บริโภคบางท่านเพิ่มความต้องการในการกิน Raw* คือ ลักษณะการกินอาหารพวกผักและผลไม้สด ต้นอ่อนของพืช เมล็ดพืช เนื้อสัตว์ ปลา ฯลฯ ที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง ไม่มีการเติมแป้งและน้ำตาล ไม่ใช้ความร้อนเกิน 49 องศาเซลเซียสในการปรุง โดยคิดเอาเองว่า ความร้อนสูงกว่านั้นเป็นปัจจัยทำให้คุณค่าทางโภชนาการและอะไรต่อมิอะไรที่อาหารดิบมีลดลงเมื่อสุก กรณีอาหาร Raw ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้น่าจะต่างจากพวกชอบเสี่ยงกินปลาดิบ เพราะผู้กล้า (กินของดิบ) เหล่านี้คงไม่ได้สนใจเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนการของอาหารเท่าใด แต่เป็นวัฒนธรรมหรือความชอบส่วนตัวเกี่ยวกับความสดคาวของปลาดิบ เฉกเช่นเดียวกับคนไทยและลาวบางคนที่ชอบหยิบปลาร้าจากไหแล้วฉีกส่งเข้าปากทันที ทั้งที่รู้ว่าตนเสี่ยงต่อพยาธิ์ใบไม้ตับ เกี่ยวกับการกินอาหารสด ๆ ไม่ผ่านการปรุงนั้น มีบทความเรื่อง “Raw-milk fans […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เสื้อผ้ามือสอง

สงสัยจริงๆ ว่า โดยปกติแล้วผู้อ่านมีวิธีจัดการกับเสื้อผ้าที่ใส่ไม่ได้แล้วอย่างไรบ้างทั้งของตัวเองและของคนในครอบครัวเอาเสื้อผ้าเก่าไปแลกไข่จับใส่ถุงทิ้งขยะบริจาคผ่านองค์กรต่างๆ หรือส่งต่อให้คนอื่นด้วยตัวเอง เท่าที่ผ่านมาผู้เขียนถือว่าตัวเองโชคดีที่มีโอกาสได้มอบเสื้อผ้าเหล่านั้นให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยตรง อย่างลูกหลานของแม่บ้านชาวฟิลิปปินส์ที่มาทำความสะอาดบ้านส่งให้เพื่อนที่ทำงานกับชุมชนผู้อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือส่งผ่านคุณพ่อบ้านที่ได้ทำงานกับมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่เป็นคนจากกลุ่มชนพื้นเมืองออรังอัสลี (Orang Asli) ที่ยังอาศัยอยู่ในป่า บางชิ้นที่จำต้องเป็นต้องซื้อให้เด็กๆ ใส่เวลามีงานที่โรงเรียนซึ่งได้ใส่เพียงแค่ครั้งสองครั้งเท่านั้น พอหยิบมาปัดฝุ่นจะใส่ในปีถัดไป ขนาดเอวของผู้ใส่ก็ล้นขอบกางเกงไปแล้ว เป็นอันว่าต้องส่งต่อให้ญาติผู้น้องของสองหนุ่มต่อไป เรื่องเสื้อผ้ามือสองไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้เขียนเลยสมัยเรียนมหาวิทยาลัยก็มักจะไปดุ่มๆ เดินที่จตุจักรอย่างมีลุคแบบเท่ห์ๆ ลุยๆ และด้วยความที่ไซส์ไม่อยู่ในสาระบบไซส์ไทย (มันหดหู่น่ะ เพราะไซส์ไทยจะอยู่ที่ XXL) การไปซื้อเสื้อลายสก็อตกับกางเกงยีนส์ซึ่งมีที่มาจากเมืองนอกนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายและสร้างเสริมกำลังใจได้เยอะกว่า เพราะไซส์ M ก็ใหญ่พอแล้ว แม้ว่าจะมีตำนานเล่าต่อกันมาเยอะแยะว่าเสื้อผ้าเหล่านั้นมีที่มาอย่างไร นับตั้งแต่บริจาคด้วยใจเมตตา ไปจนถึงไปถอดมาจากศพ  เอาเหอะ ขู่ยังไงก็ไม่กลัว ซื้อกลับมาแล้วต้มก่อนซักเป็นอันเท่ห์ได้ในราคาถูก พอโตเป็นผู้ใหญ่ได้มาทำงานใกล้ๆ กับซอยละลายทรัพย์ ก็จะมีเสื้อผ้ามือสองมาขายทั้งแบบกองและแบบแขวนราว แต่คราวนี้พอจะรู้เพิ่มขึ้นมาอีกหน่อย คือบางชิ้นเป็นเสื้อผ้าที่ตกค้างสต็อคอยู่ในโกดังเก็บสินค้าด้วย เป็นอันว่าแค่ซักอย่างเดียว ไม่ต้องต้ม ผู้เขียนมีโอกาสได้มารู้ว่าในมาเลเซียมีโรงงานขนาดใหญ่ที่รับรีไซเคิลเสื้อผ้าและวัสดุผ้าประเภทต่างๆ จากครัวเรือนโดยรับเสื้อผ้ามาจากองค์กรการกุศลในออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนที่มาจากญี่ปุ่นอเมริกาและภายในประเทศ ซึ่งเมื่อของเหล่านั้นเดินทางถึงโรงงาน คนงานกว่าร้อยคนก็จะทำหน้าที่เลือกของที่ยังอยู่ในสภาพดีใส่ได้แยกไปตามเกรดสินค้าและประเภทต่างๆ นับตั้งแต่เสื้อกางเกงกระโปรงกระเป๋ารองเท้าตุ๊กตาและอื่นๆ อีกมากมาย  สินค้าที่อยู่ในสภาพดีเหล่านั้นจะถูกส่งไปขายในประเทศที่ประชากรส่วนมากไม่สามารถซื้อเสื้อผ้าราคาปกติได้ เช่น ประเทศในแอฟริกา อินเดีย และปากีสถาน (ภาพจาก: FT Photo Diary) ส่วนของที่อยู่ในสภาพเสียหาย […]

Read More
Natural Solution
read

ถึงเวลาของมหาสมุทร: รู้จัก 5 นวัตกรรมใหม่ในการปกป้องทะเล

จอห์น แทนเซอร์ หนุ่มใหญ่ชาวออสเตรเลีย เคยเป็นผู้บริหารสูงสุดของ Great Barrier Reef Marine Park Authority พื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จอห์นไม่ใช่นักวิชาการที่ลุ่มลึก เขาสนใจเรื่องการสร้างความเปลี่ยนแปลงมากกว่า ปัจจุบันเขาคือหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทะเลของกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ประจำอยู่ที่เมืองบริสเบน ออสเตรเลีย ผมมีโอกาสร่วมงานกับจอห์นอยู่ระยะหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ประทับใจกับความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ของเขา เราได้มีโอกาสพบกันอีกครั้งเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในงานประชุมเรื่องการอนุรักษ์ทะเลที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก การประชุมที่จอห์นบอกว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการอนุรักษ์ทะเล (ภาพจาก: Ocean Conference) “นี่คือการประชุมเรื่องทะเลที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่สหประชาชาติ ที่นี่คือที่รวมผู้นำจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก ผมคิดว่ามันเป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนมากว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับทะเล ทะเลคือทรัพยากรพื้นฐานสำหรับการพัฒนาที่สำคัญที่สุด ถ้าเราปล่อยให้ทะเลเสื่อมโทรมไปเรื่อยๆ อย่างที่เป็นอยู่ ผมว่าไม่ต้องเสียเวลาไปพูดถึง SDG หรือ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอื่นๆ หรอก” เหตุผลที่จอห์นให้มามีน้ำหนักพอสมควร เเละอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมสหประชาชาติจึงจัดการประชุมเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 14 (Life below Water) ที่ว่าด้วยการอนุรักษ์ทะเลขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยมีสวีเดนและฟิจิร่วมกันเป็นเจ้าภาพ นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลประโยชน์ที่เราได้จากทะเลอยู่ที่ราวๆ 90,000,000,000,000,000 หรือ 9 หมื่นล้านล้านบาทต่อปี เป็นการประเมินนิเวศบริการแบบคร่าวๆ ที่เราได้จากแนวปะการัง ป่าชายเลน […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

สวนสัตว์ในสวนหลังบ้าน

เพื่อนชาวกรุงคนหนึ่งโพสต์รูปรังผึ้งเกาะบนกิ่งมะม่วงในสวนข้างบ้าน สอบถามด้วยความกังวลว่าหากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อคนอยู่อาศัยหรือไม่ ขณะที่เพื่อนชนบทอีกคนโพสต์เรื่องว่าชาวบ้านเทียวมาถามว่าจะให้เอาผึ้งรังใหญ่ลงจากต้นไม้หรือไม่ เพราะเขาอยากได้น้ำผึ้ง เพื่อนฉันเป็นเกษตรกรที่รู้คุณประโยชน์ของผึ้งเป็นอย่างดี จึงปฏิเสธไปครั้งแล้วครั้งเล่าและแสดงท่าทีปกป้องรังผึ้งสุดฤทธิ์ ฉันบอกเพื่อนชาวกรุงไปว่าจากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมา ผึ้งเล็กหรือมิ้มเป็นสัตว์รักสงบที่มาอาศัยร่มเงาเพื่อทำที่อยู่อาศัยและหาน้ำหวานมาเจือจุนครอบครัว เมื่อถึงฤดูกาลอาหารหายาก พวกเขาจะอพยพทิ้งรังน้ำผึ้งร้างไว้ และอาจมาสร้างรังใหม่ในปีต่อมา แม้ฉันจะเข้าไปทำงานสวนใต้รังผึ้งขนาดใหญ่และอยู่ห่างกันไม่ถึงหนึ่งเมตรก็ไม่เคยถูกผึ้งนับล้านตัวเหล่านี้โจมตีเลย มนุษย์เราทำร้ายสัตว์เพราะความไม่รู้เมื่อไม่รู้ก็กลัวผสมรวมกับเรื่องเล่าสยองขวัญจึงเหมารวมว่าสัตว์มีพิษทุกชนิดเป็นสัตว์อันตรายเห็นที่ใดต้องฆ่าฟันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง ฉันมีวัยเด็กที่ใกล้ชิดกับสัตว์ในสวนหลังบ้านแทบทุกชนิดเพราะบ้านอยู่ริมป่า และปัจจุบันอยู่บ้านที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ จึงว่ามักมีสัตว์สารพันเคลื่อนไหวอยู่รอบๆ บ้าน จากประสบการณ์ตรง ฉันพบว่าสัตว์เหล่านี้ล้วนกลัวและเลือกที่จะออกห่างมากกว่าจู่โจมมนุษย์ แม้จะเป็นสัตว์ร้ายอย่างงูเห่าก็ตามและธรรมชาติมักกำหนดให้พวกเขามีพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ยามเย็นวันหนึ่งหลังรดน้ำต้นไม้จนชุ่มฉ่ำ ฉันเห็นตะขาบตัวใหญ่โผล่ออกมาจากพื้นดิน ฉันอดใจไม่คว้าไม้มาตีตะขาบแม้จะเคยมีประสบการณ์ไม่ดีนัก นั่นคือเคยถูกตะขาบกัดปวดร้าวทุกข์ทรมานมาก่อน เมื่อนิ่งดูจึงเห็นภาพที่ไม่เคยเห็นและน่าตื่นตาตื่นใจ นั่นคือตะขาบกำลังเขมือบแมลงสาบ ทำให้รู้เห็นด้วยตาว่าใครคือผู้อยู่บนห่วงโซ่อาหารเหนือแมลงสาบ ด้วยความไม่อยากใช้สารเคมีอันตรายในบ้าน ฉันจึงไม่เคยซื้อยาฉีดฆ่าแมลงไว้ในบ้านเลย เมื่อเห็นแมลงสาบฉันจะคว้าถุงมือหนาใหญ่สำหรับจับของร้อนที่ไม่ใช้แล้วมาจับแมลงสาบใส่ไว้ในถังขยะเปียกและปิดฝา แล้วนำไปทิ้งที่สนามหญ้าข้างบ้าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คนร่วมบ้านลงความเห็นว่า “แปลก” และ “เดี๋ยวมันก็กลับมา” วันหนึ่งขณะที่ฉันเทถังขยะเปียก นกกางเขนเจ้าประจำก็บินโฉบมาจิกแมลงสาบติดปากไปต่อหน้าต่อตา ฉันยังมีประสบการณ์การทำความรู้จักกับสัตว์ในสวนรอบๆ บ้านอีกมากมาย ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปว่าความไม่รู้นำมาซึ่งความกลัวและเมื่อรู้ก็สนุก บางวันฉันเฝ้าดูจิ้งจกจับแมลงที่มาเล่นแสงไฟด้วยความขอบคุณที่ช่วยฉันกำจัดแมลง  และเมื่อเดินผ่านแมงมุมตัวเล็กที่ชักใยทำรังใหญ่โตขึงระหว่างกิ่งไม้เพื่อดักเหยื่ออย่างชื่นชมในความอุตสาหะเมื่อเห็นงูเขียวธรรมดาที่เกาะเกี่ยวบนกิ่งไม้ก็ทำเป็นมองไม่เห็นเสีย ฉันอยากเชิญชวนให้เปิดตาเปิดใจรับรู้การมีอยู่ของสัตว์เล็กสัตว์น้อยในสวนหลังบ้านโดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเพราะเมื่อเด็กเรียนรู้พฤติกรรมสัตว์และมองเห็นสัตว์เป็นเพื่อนเมื่อโตขึ้นเขาจะมีภูมิคุ้มกันอันตรายจากธรรมชาติมีจิตใจที่อ่อนโยนไม่ทำร้ายธรรมชาติและทำลายสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหนือสิ่งอื่นใด การเฝ้าดูสัตว์เหล่านี้เป็นกิจกรรมสันทนาการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และอาจให้ความบันเทิงใจยิ่งกว่าการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลข้ามทวีปไปดูสัตว์ป่าในแอฟริกา ซึ่งเสียเงินทริปละนับแสนเสียอีก

Read More
นิเวศในเมือง
read

สัมผัสและความทรงจำ สวน 100 ปี

เมื่อปลายเดือนที่เเล้วกลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ Big Trees จัดฉายหนังญี่ปุ่นเรื่อง Parks ที่สกาล่า เป็นหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีสวนสาธารณะอิโนะคาชิระแห่งกรุงโตเกียว สวนนี้กินพื้นที่กว้างขวางเกือบสี่แสนตารางเมตร คิดเป็น 240 ไร่ ถ้าเทียบกับสวนลุมฯ (360 ไร่) ก็เล็กกว่าบ้าง เดิมเป็นที่ดินของจักรพรรดิ มอบให้เป็นสมบัติส่วนรวมแก่โตเกียวเมื่อปี ค.ศ.1913 และเปิดออกสู่สาธารณะในปี 1917 ใจกลางสวนเป็นสระน้ำใหญ่รียาว ไหลลงสู่แม่น้ำคันดะ มีสะพานไม้ข้ามน้ำอยู่ตรงกลาง รอบริมน้ำปลูกซากุระไว้มากมายจนเมื่อมันออกดอกในต้นฤดูใบไม้ผลิ กลีบซากุระจะร่วงหล่นลอยเต็มผิวน้ำ ระบายสระเป็นสีชมพู แล้วยังไม้ใหญ่อื่นๆ อีกกว่าหมื่นต้นให้ความเขียวชอุ่มสดชื่นในหน้าร้อนผลัดใบเป็นสีต่างๆ ในฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวสวนกลายเป็นสีขาวและนกน้ำมากมายอพยพมาว่ายหากินกันเต็มสระ แต่หนังไม่ได้โฟกัสที่ธรรมชาติความงามของสวน หรือการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล หรือแม้แต่ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างคนเมืองกับสวน แม้ว่ามันจะเปิดปิดฉากด้วยการขี่จักรยานผ่านดงซากุระบานก็ตาม ภาพยนตร์เรื่อง Parks ฉลองสวนอิโนะคาชิระได้แยบยลกว่านั้น และน่าจะสะท้อนใจคนรุ่นใหม่กลุ่มใหญ่ได้ดี มันเป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ของมนุษย์สองยุคสมัยที่อาศัยในละแวกนี้และผ่านเข้ามาในสวนนี้ ในอดีตทศวรรษ 60 และในปัจจุบัน 2017 เพื่อคลายปมที่ติดขัดในชีวิตและคลี่พลังสร้างสรรค์ โดยที่ผู้คนทั้งสองรุ่นไม่ได้รู้จักกันตัวเป็นๆ กระนั้น สวนก็ไม่ได้เป็นเพียงฉากหลังให้ตัวละคร แต่ทุกชีวิตถักทอโยงใยกันเป็นเนื้อผ้าผืนเดียว เป็นลวดลายในชีวิตที่ร่ายรำและทิ้งความทรงจำไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ ด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อถีบเรือหงส์ในสระ เมื่อเดินข้ามสะพาน เมื่อได้ยินคนนั่งร้องเพลง […]

Read More