คุยข่าวสีเขียว

คุยข่าวสีเขียว
read

ดอยหลวงเชียงดาวเปลี่ยนไป

ฤดูกาลท่องเที่ยวดอยหลวงเชียงดาวมาถึงแล้ว แต่ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวกำหนดวิธีการจองและจำกัดปริมาณคนขึ้นดอยหลวงใหม่ จากเดิมสามารถขึ้นได้ทุกวัน เปลี่ยนเป็นขึ้นได้เฉพาะศุกร์-เสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน-11 กุมภาพันธ์ รวม 15 สัปดาห์ หรือประมาณ 3 เดือน เมื่อพิจารณาจากช่วงเวลาที่สั้นลงและการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งดูจากยอดการจองที่ประกาศทางเฟสบุคของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คาดว่านักท่องเที่ยวที่ขึ้นดอยหลวงในปีนี้จะลดลงกว่าครึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับฤดูกาลท่องเที่ยวปีที่แล้วที่มีผู้ลงทะเบียนขึ้นดอยหลวงระยะเวลา 4 เดือน กว่า 2 หมื่นคน ภาพจากคุณ Boss >>> http://www.trekkingthai.com/wordpress/?p=1826#prettyPhoto/0/ ฉันหวนนึกถึงบทสนทนาบนยอดดอยหลวงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่ฉันและกลุ่มอาสาสมัครขึ้นไปเก็บขยะตกค้างบนดอยหลวงในช่วงปิดฤดูกาลท่องเที่ยว ขณะรอดูพระอาทิตย์ตกดินบนยอดดอยหลวง ฉันได้คุยกับวารินทร์ วรินทรเวช เจ้าของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ดอยหลวงที่ถูกนำมาใช้ช่วงปี 2544-2547 หน้าที่การงานทำให้เขาไม่ได้ขึ้นดอยหลวงมากว่า 10 ปี เมื่อกลับมาเห็นอีกครั้งเขาบอกว่า “พูดอะไรไม่ออก” และ “อยากร้องไห้” วารินทร์ย้อนอดีตให้ฟังว่าจุดที่เรานั่งอยู่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของกวางผา เมื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกิดขึ้น โดยชุมชน ทางการ และนักวิชาการตัดสินใจร่วมกันว่าต้องกำหนดจุดพักแรมและพื้นที่ที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าถึง แทนการปล่อยให้นักท่องเที่ยวท่องไปตามใจชอบ ซึ่งเมื่อนักท่องเที่ยวอยากเห็นภาพพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินที่จุดสูงสุด คณะทำงานจึงเปิดยอดดอยหลวงเพื่อชมพระอาทิตย์ตกดินและยอดกิ่วลมเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น และกำหนดจุดพักแรมบริเวณใกล้เคียงกัน ผลคือกวางผาอพยพไปอยู่ดอยอื่นๆ และเมื่อถูกนักท่องเที่ยวรบกวนน้อยลง กวางผาก็มีที่อยู่และขยายพันธุ์ได้มากขึ้น จากสมัยเริ่มทำการท่องเที่ยวช่วงแรกๆ นานๆ จะเห็นกวางผาสักครั้ง […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ถ้ารู้จัก จะหลงรักเธอ

เพื่อนรุ่นพี่วัยห้าสิบตอนกลางเล่าให้ฟังว่าเมื่อเร็วๆ นี้เธอไปเที่ยวบ้านสวนที่อำเภอดำเนินสะดวก เมื่อก้าวเข้าไปในห้องน้ำกลางสวนแล้วปิดประตู พลันก็สบตากับตุ๊กแกที่เกาะอยู่เหนือประตู เธอกรีดเสียงร้องลั่นและโผล่พรวดออกมาจากห้องน้ำ อาการปวดฉี่หายไปเป็นปลิดทิ้ง เธอบอกว่ากลัวตุ๊กแกกระโดดเกาะแล้วไม่ปล่อย เรื่องเล่าในวัยเด็กมีอิทธิพลต่อจิตใจอาจตลอดทั้งชีวิตของคนๆ นั้น ซึ่งเหตุผลใดๆ อาจไม่สามารถฉุดรั้งสติกลับมาได้ แต่เรื่องนี้มีวิธีแก้ การเฝ้าดูความเป็นไปของสัตว์ที่เรารู้สึกกลัวหรือไม่คุ้นเคยและมองเห็นความน่ารักหรือคุณประโยชน์ของมัน อาจทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อในวัยเด็กได้ ในวัยเด็กฉันเคยเกลียดกลัวตุ๊กแก ถึงขั้นหากจะเดินผ่านต้องวิ่งแบบสุดฝีเท้า ประมาณว่าไม่ให้ตุ๊กแกทันตั้งตัวกระโดดเกาะได้ทัน  มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ฉันใช้ไม้ยาวๆ แหย่จนมันตกพื้นที่สูงหลายเมตรเเล้วก็เห็นเป็นซากศพในวันต่อมา แต่หลายปีมานี้มีตุ๊กแกตัวเล็กตัวหนึ่งมักปรากฎตัวที่ผนัง บริเวณระเบียงบ้าน เพื่อคอยดักกินแมลงที่มาเล่นไฟตอนกลางคืน ฉันลองปล่อยให้มันทำหน้าที่ เมื่อเริ่มมีขี้ตุ๊กแกเลอะเทอะตามพื้นบ้านก็ไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น แต่ช่วงกลางคืนปล่อยให้ทำหน้าที่กินแมลงต่อไป เดี๋ยวนี้ตุ๊กแกตัวนั้นเติบใหญ่ยาวประมาณครึ่งฟุตสีสันสวยงามมาก ส่วนฤดูฝนอันชุ่มฉ่ำเช่นนี้ คางคกตัวใหญ่มักซ่อนตัวอยู่ที่กระถางต้นไม้หน้าบันใดบ้าน ฉันเคยใช้ไม้เขี่ยให้พ้นทาง แต่วันต่อมามันก็ยังกลับมาอยู่ที่เดิม แน่นอนว่าที่ตรงนั้นเป็นทำเลทองของคางคก เพราะมีทั้งยุงในช่วงกลางวัน และแมลงที่มักมาเล่นไฟที่ไฟส่องบันใดในช่วงกลางคืน ฉันปล่อยให้มันอยู่ตรงนั้นตามอัธยาศัย เพราะแม้จะมีเรื่องเล่าเรื่องคางคกฉีดยางใส่มาตั้งแต่เล็กๆ แต่ในชีวิตจริงก็ไม่เคยเห็นใครบาดเจ็บจากคางคกเลยสักคน ครั้งหนึ่งฉันมีโอกาสเห็นภาพที่เคยเห็นเฉพาะในอินเตอร์เน็ตมาปรากฎตรงหน้า ที่บริเวณพื้นดินอันชุ่มฉ่ำที่ปกคลุมด้วยใบไม้แห้งที่เพิ่งถูกรดน้ำ ฉันเห็นตะขาบตัวเท่านิ้วก้อยกำลังกัดกินแมลงสาบอเมริกัน ซึ่งทำให้ฉันต้องยับยั้งชั่งใจอย่างแรงกล้าที่จะไม่คว้าไม้มาทุบตะขาบเพราะเห็นว่าเป็นสัตว์อันตราย และเลือกปล่อยให้มันมีชีวิตและทำหน้าที่รักษาสมดุลในธรรมชาติต่อไป เรื่องของสัตว์หน้าตาดีก็มีนะคะ มองออกไปจากหน้าต่างห้องทำงานที่บ้านฉันจะเห็นต้นชมพู่ใบเชียวชะอุ่มที่ฉันไม่อยากย่างกรายไปใต้ต้น เพราะเต็มไปด้วยหนอนบุ้งที่หากสัมผัสเข้าเป็นคันคะเยอะเป็นผื่นแสบร้อนและคันไปหลายวัน แล้ววันหนึ่งฉันก็เห็นความงดงามของการอยู่ร่วมกันและการปรับสร้างสมดุลในธรรมชาติ นกบั้งรอกใหญ่ตัวหนึ่งเกาะอยู่ที่กิ่งและส่งเสียงร้องเรียกเพื่อนอีกตัว แล้วนกบั้งรอกสองตัวก็กระโดดไปมาราวกับกระรอก…จึงเป็นที่มาของชื่อบั้งรอก…ไม่กี่วินาทีก็จับหนอนบุ้งด้วยจงอยปากอันแหลมคม สะบัดๆๆ ไม่กี่ทีก็กลืนกินหนอนตัวยาว แล้วกระโดดไปจับหนอนตัวใหม่ เป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน นอกจากจะได้เห็นความงามของนกบั้งรอกที่หน้านวลขอบตาแดงและหางยาวต่างจากนกทั่วไป พวกมันยังช่วยกำจัดหนอนบุ้งอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย จากประสบการณ์ตรงเหล่านี้ทำให้ฉันเชื่อว่าสัตว์ทุกชนิดเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในธรรมชาติโดยมีภาระและหน้าที่ที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์นั้นๆ และเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

หญ้าสาบหมาและกวางผาเชียงดาว

แม้จะเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์มานานแล้ว แต่ผู้เขียนพึ่งเคยอ่านหนังสือชื่อ Rabbit-Proof Fence หรือ รั้วกันกระต่าย หนังสือที่เล่าการผจญเผ่าของเด็กลูกครึ่งระหว่างคนพื้นเมืองออสเตรเลียกับคนผิวขาวที่ถูกส่งไปอยู่โรงเรียนประจำสำหรับเด็กลูกครึ่งในพื้นที่ห่างไกล เด็กสามคนหนีจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งเพื่อกลับบ้านในเขตทะเลทราย โดยเดินตามรั้วที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อป้องกันกระต่ายข้ามจากฟากตะวันตกของประเทศไปยังอีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่เกษตร  แนวรั้วทอดยาวจากเหนือจดใต้ระยะทาง 1,834 กิโลเมตร หนังสือเรื่องนี้ทำให้นึกถึงเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว แต่เป็นพืชและสัตว์ต่างถิ่น กระต่ายเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่ชาวผิวขาวนำจากยุโรปสู่ออสเตรเลียเพื่อกีฬาล่าสัตว์ จากกีฬาแสนสนุกกลายเป็นความทุกข์ของประเทศ เมื่อกระต่ายแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วเกินควบคุม กัดกินหญ้าและพืชพรรณธัญญาหารจนทำให้บางพื้นที่กลายเป็นที่แห้งแล้งและพื้นที่เกษตรเสียหาย ทว่ารั้วอันยาวเหยียดและแข็งแรงไม่สามารถป้องกันกระต่ายได้เพราะมันแพร่พันธุ์ไปยังอีกฝั่งก่อนสร้างรั้วเสร็จเสียอีก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีมาแล้ว กลับมาที่บ้านเราในยุคปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ทำให้ฉันนึกถึงการเดินขึ้นดอยหลวงเชียงดาวเพื่อเก็บขยะในช่วงปิดฤดูกาลท่องเที่ยวเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา ฉันเดินผ่านดงหญ้าอันหนาทึบที่กำลังออกดอกสีขาวบานสะพรั่งและไหวลู่ลมดูสวยงามราวกับฉากในมิวสิกวิดีโอจนฉันอดใจไม่ไหวต้องถ่ายรูปมาโชว์ คนนำทางบอกฉันว่านั่นคือหญ้าสาบหมา พืชต่างถิ่นที่เพิ่งมาถึงดอยเชียงดาวเมื่อไม่นานมานี้ และเห็นการแพร่กระจายชัดเจนในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องด้วยเมื่อดอกสีขาวที่อัดแน่นไปด้วยเมล็ดพันธุ์แห้งลง สายลมจะพัดพาเมล็ดพันธุ์จำนวนมหาศาลฟุ้งกระจายไปทั่วสารทิศ พร้อมจะเติบโตเมื่อพบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การแพร่กระจายของหญ้าสาบหมาทั้งรุกรานและปิดกั้นโอกาสเติบโตของพืชท้องถิ่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะลำต้นของหญ้าสาบหมามีสารแอลลิโอพาธิคในระดับสูง จากการศึกษาสารแอลลิโอพาธิคกับพืช 19 ชนิด พบว่าสารแอลแอลลิโอพาธิคจากหญ้าสาบหมาเพียง 1 กรัม มีผลยับยั้งการงอกของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 19 ชนิด และส่งผลต่อการเจริญของรากและลำต้นของพืชทดสอบจำนวน 12 ชนิด จาก 19 ชนิด ด้วยเหตุนี้จึงน่าเป็นห่วงว่าหญ้าสาบหมาจะรุกรานพืชเฉพาะถิ่นไปเสียหมด มิเพียงส่งผลเสียต่อพืชเท่านั้น ที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ ฮาวาย สหรัฐอเมริกาเคยมีรายงานการระบาดของหญ้าสาบหมา และพบว่าม้าที่กินต้นหญ้าสาบหมาป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรังและล้มตายยกฟาร์มมาแล้ว  ขณะที่บนดอยหลวงเชียงดาวก็มีสัตว์กีบอย่างกวางผาอยู่อาศัย […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

สวนสัตว์ในสวนหลังบ้าน

เพื่อนชาวกรุงคนหนึ่งโพสต์รูปรังผึ้งเกาะบนกิ่งมะม่วงในสวนข้างบ้าน สอบถามด้วยความกังวลว่าหากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อคนอยู่อาศัยหรือไม่ ขณะที่เพื่อนชนบทอีกคนโพสต์เรื่องว่าชาวบ้านเทียวมาถามว่าจะให้เอาผึ้งรังใหญ่ลงจากต้นไม้หรือไม่ เพราะเขาอยากได้น้ำผึ้ง เพื่อนฉันเป็นเกษตรกรที่รู้คุณประโยชน์ของผึ้งเป็นอย่างดี จึงปฏิเสธไปครั้งแล้วครั้งเล่าและแสดงท่าทีปกป้องรังผึ้งสุดฤทธิ์ ฉันบอกเพื่อนชาวกรุงไปว่าจากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมา ผึ้งเล็กหรือมิ้มเป็นสัตว์รักสงบที่มาอาศัยร่มเงาเพื่อทำที่อยู่อาศัยและหาน้ำหวานมาเจือจุนครอบครัว เมื่อถึงฤดูกาลอาหารหายาก พวกเขาจะอพยพทิ้งรังน้ำผึ้งร้างไว้ และอาจมาสร้างรังใหม่ในปีต่อมา แม้ฉันจะเข้าไปทำงานสวนใต้รังผึ้งขนาดใหญ่และอยู่ห่างกันไม่ถึงหนึ่งเมตรก็ไม่เคยถูกผึ้งนับล้านตัวเหล่านี้โจมตีเลย มนุษย์เราทำร้ายสัตว์เพราะความไม่รู้เมื่อไม่รู้ก็กลัวผสมรวมกับเรื่องเล่าสยองขวัญจึงเหมารวมว่าสัตว์มีพิษทุกชนิดเป็นสัตว์อันตรายเห็นที่ใดต้องฆ่าฟันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง ฉันมีวัยเด็กที่ใกล้ชิดกับสัตว์ในสวนหลังบ้านแทบทุกชนิดเพราะบ้านอยู่ริมป่า และปัจจุบันอยู่บ้านที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ จึงว่ามักมีสัตว์สารพันเคลื่อนไหวอยู่รอบๆ บ้าน จากประสบการณ์ตรง ฉันพบว่าสัตว์เหล่านี้ล้วนกลัวและเลือกที่จะออกห่างมากกว่าจู่โจมมนุษย์ แม้จะเป็นสัตว์ร้ายอย่างงูเห่าก็ตามและธรรมชาติมักกำหนดให้พวกเขามีพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ยามเย็นวันหนึ่งหลังรดน้ำต้นไม้จนชุ่มฉ่ำ ฉันเห็นตะขาบตัวใหญ่โผล่ออกมาจากพื้นดิน ฉันอดใจไม่คว้าไม้มาตีตะขาบแม้จะเคยมีประสบการณ์ไม่ดีนัก นั่นคือเคยถูกตะขาบกัดปวดร้าวทุกข์ทรมานมาก่อน เมื่อนิ่งดูจึงเห็นภาพที่ไม่เคยเห็นและน่าตื่นตาตื่นใจ นั่นคือตะขาบกำลังเขมือบแมลงสาบ ทำให้รู้เห็นด้วยตาว่าใครคือผู้อยู่บนห่วงโซ่อาหารเหนือแมลงสาบ ด้วยความไม่อยากใช้สารเคมีอันตรายในบ้าน ฉันจึงไม่เคยซื้อยาฉีดฆ่าแมลงไว้ในบ้านเลย เมื่อเห็นแมลงสาบฉันจะคว้าถุงมือหนาใหญ่สำหรับจับของร้อนที่ไม่ใช้แล้วมาจับแมลงสาบใส่ไว้ในถังขยะเปียกและปิดฝา แล้วนำไปทิ้งที่สนามหญ้าข้างบ้าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คนร่วมบ้านลงความเห็นว่า “แปลก” และ “เดี๋ยวมันก็กลับมา” วันหนึ่งขณะที่ฉันเทถังขยะเปียก นกกางเขนเจ้าประจำก็บินโฉบมาจิกแมลงสาบติดปากไปต่อหน้าต่อตา ฉันยังมีประสบการณ์การทำความรู้จักกับสัตว์ในสวนรอบๆ บ้านอีกมากมาย ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปว่าความไม่รู้นำมาซึ่งความกลัวและเมื่อรู้ก็สนุก บางวันฉันเฝ้าดูจิ้งจกจับแมลงที่มาเล่นแสงไฟด้วยความขอบคุณที่ช่วยฉันกำจัดแมลง  และเมื่อเดินผ่านแมงมุมตัวเล็กที่ชักใยทำรังใหญ่โตขึงระหว่างกิ่งไม้เพื่อดักเหยื่ออย่างชื่นชมในความอุตสาหะเมื่อเห็นงูเขียวธรรมดาที่เกาะเกี่ยวบนกิ่งไม้ก็ทำเป็นมองไม่เห็นเสีย ฉันอยากเชิญชวนให้เปิดตาเปิดใจรับรู้การมีอยู่ของสัตว์เล็กสัตว์น้อยในสวนหลังบ้านโดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเพราะเมื่อเด็กเรียนรู้พฤติกรรมสัตว์และมองเห็นสัตว์เป็นเพื่อนเมื่อโตขึ้นเขาจะมีภูมิคุ้มกันอันตรายจากธรรมชาติมีจิตใจที่อ่อนโยนไม่ทำร้ายธรรมชาติและทำลายสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหนือสิ่งอื่นใด การเฝ้าดูสัตว์เหล่านี้เป็นกิจกรรมสันทนาการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และอาจให้ความบันเทิงใจยิ่งกว่าการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลข้ามทวีปไปดูสัตว์ป่าในแอฟริกา ซึ่งเสียเงินทริปละนับแสนเสียอีก

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ใครฆ่าแม่น้ำ

ทุกครั้งที่มีเพื่อนมาเที่ยวบ้าน ฉันมักพาไปดูแม่น้ำน้อยบริเวณด้านหลังตลาดศาลเจ้าโรงทองหรือตลาดร้อยปีวิเศษชัยชาญของจังหวัดอ่างทองพร้อมเล่าตำนานอันรุ่งเรือง ตลาดบ้านฉันและแม่น้ำสายนี้ที่เคยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทั้งผู้คนและสินค้าจากที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างตั้งแต่สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง อยุธยา ไปสู่เมืองบางกอก

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

จากเต่าออมสินถึงกวางผาเชียงดาว

ข่าวเต่าออมสินกินเหรียญเสี่ยงทายนับพันเหรียญจนต้องเข้ารับการผ่าตัดและตายในที่สุดเป็นข่าวช็อกโลกที่มนุษย์กระทำต่อสัตว์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทว่ามีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่นนี้อีกมากมาย

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

แม่น้ำโขง “ของเรา”

แม้จะไม่ใช่ลูกแม่น้ำโขง แต่ชีวิตการงานและการเดินทางท่องเที่ยวทำให้ผู้เขียนได้สัมผัสความงามและความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขงตามจุดต่างๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

เด็กเลี้ยงปล่อย

คำว่า “เลี้ยงปล่อย” ในที่นี่ไม่ใช่หมายถึง “ทิ้งขว้าง” หากแต่การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริงอย่างต้นไม้หรือดินทรายบ้างแต่ก็ยังอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ เพราะธรรมชาติจะช่วยให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการสมวัย

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ซูเปอร์บั๊ก เชื้อดื้อยาฆ่าไม่ตาย

หากดูหนังแอคชั่นที่มีผู้ร้ายโคตรอึดฆ่าไม่ตาย นั่นแหละเปรียบเทียบได้กับซูเปอร์บั๊กที่วงการแพทย์ทั่วโลกกำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือดเพื่อกู้ชีพยาปฏิชีวนะตัวสุดท้าย และกู้ชีวิตผู้ติดเชื้อดื้อยาที่อาจเสียชีวิตได้ทุกเมื่อ แม้เป็นโรคเล็กน้อยอย่างท้องเสีย

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

กู้โลกแบบไฮเทค

การกู้โลกแบบดั้งเดิมดูจะเป็นเรื่องที่ใช้ทรัพยากรมากมายทั้งกำลังคนและกำลังเงิน นอกจากนี้ยังต้องใช้กำลังใจขั้นสูงเพราะการเป็นพลเมืองดีอาจส่งผลต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังจะทำให้การกู้โลกเป็นเรื่องที่ง่าย รวดเร็ว และปลอดภัยอย่างไม่น่าเชื่อ

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ซิก้า ค้างคาว ยุงจีเอ็มโอ

เราอาจเคยได้ยินคำพังเพย “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” แต่กรณีนี้ขอเรียกว่า “ขับเครื่องบินฆ่ายุง” ข่าวชวนช็อคเมื่อเช้าตรู่วันหนึ่งเทศบาลเมืองดอร์เชสเตอร์เคาน์ตี้ รัฐเซาท์แคโรไลนา ซึ่งพบผู้ป่วยไข้ซิกาใช้เครื่องบินเล็กฉีดพ่นยาฆ่าแมลงที่ชื่อนาเลด (Naled) เพื่อกำจัดยุง ผลก็คือแมลงตกลงมาตายเหมือนสายฝน ส่วนผึ้งพยายามกระเสือกกระสนออกมาจากรัง แต่ตายคาปากรังนั้นเอง เรียกว่าตายแบบปัจจุบันทันด่วน เฉพาะฟาร์มผึ้งฟลาวเวอร์ทาวน์ ในเมืองซัมเมอร์วิวมีผึ้งตาย 46 รัง รวม 2.5 ล้านตัว ผู้หญิงคนหนึ่งเขียนในเฟสบุคว่า “เหมือนเดินไปในสุสาน ช่างน่าเศร้าเสียจริง”

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

วิ่งเทรล…ไปให้ไกลกว่าความท้าทาย

คนทั่วไปอาจสงสัยว่าทำไมวิ่งเทรลจึงกลายเป็นการวิ่งยอดนิยม ทั้งๆ ที่เป็นการวิ่งที่ยากลำบาก เพราะต้องวิ่งในสภาพพื้นที่ที่ขรุขระและสูงชัน ระยะทางหลายสิบกิโลเมตร กินเวลาข้ามวันข้ามคืน บางสนามวิ่งกันถึง 200 ไมล์หรือ 500 กิโลเมตรหรือหลายวันหลายคืน

Read More