นิเวศในเมือง

นิเวศในเมือง
read

ถุง ตะลุ้งตุ้งแฉ่

ผู้เขียนรู้สึกดีใจเล็กน้อย ที่ขยับจากสัปดาห์ละหนึ่งวัน มาเป็นทุกวัน ด้วยหวังว่าคนที่นี่จะฉุกคิดได้ว่าควรจะเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าตั้งนานแล้ว แต่ความดีใจยังไม่ทันถึงขีดสุด ความสงสัยก็วิ่งเข้าแทรก ด้วยปริมาณของส้มแมนดารินที่พะเนินเทินทึกในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าส่วนมากจะเป็นการขายยกลัง

Read More
นิเวศในเมือง
read

นากเมืองกรุง

กรุงเทพของเรายังมีนากอาศัยอยู่ นากกรุงเทพเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อกลางปีที่แล้ว ช่วงที่สิงคโปร์โพสต์เรื่องนากกลางเมืองกันเยอะๆ เพราะนากเป็นสัตว์ผู้ล่าแห่งแหล่งน้ำ ที่ที่นากอยู่ได้จึงบ่งชี้ถึงระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์

Read More
นิเวศในเมือง
read

บ้านน้องอยู่ฝั่งทางโน้น

ข่าววงใน (วงการนักวิจัยชะนี) เมื่อหลายเดือนก่อน แพร่กระจายในวงเล็กๆ ว่ามีการพบมีชะนีเซียมังนายหนึ่งทั้งไต่ทั้งเดินดินข้ามทางหลวงไปหาสาว เล่นเอานักวิจัยที่นี่ตื่นเต้นกันมากที่พบว่าชะนียอมลงเดินบนถนน ผู้เขียนเองก็ตื่นเต้นไปด้วย แต่เป็นเพราะกลัวว่าจะถูกรถทับตายเสียก่อนมากกว่า

Read More
นิเวศในเมือง
read

อยู่อย่างเมืองท่องเที่ยว

การที่ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนรู้จักมากมายขนาดนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้เราก้าวไปถึงระดับนั้นได้ ทั้งด้านทำเลที่ตั้งอันห่างไกลจากภัยธรรมชาติหนักๆ อย่างภูเขาไฟ หรือลมไต้ฝุ่น ส่วนภูมิประเทศก็หลากหลาย สวยงามตั้งแต่ภูเขา นาข้าว เรื่อยไปจนจรดทะเล อีกทั้งศิลปะวัฒนธรรมที่หยั่งรากลึกลงไปกว่าเจ็ดร้อยปี ตระหง่านเคียงข้างกับแหล่งช้อปปิ้งตั้งแต่เช้าจนเย็นย่ำค่ำมืด จะริมถนน บนห้างสรรพสินค้า เรื่อยไปจนถึงสะพานลอย นับได้ว่าถูกใจขาเที่ยวทุกประเภท

Read More
นิเวศในเมือง
read

Wild vs เถื่อน

ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อยพูดสองภาษา ได้แก่ ไทยและอังกฤษ จนเราดึงเอาภาษาอังกฤษมาใช้ในการสื่อสารทั่วไปในสังคมแทนภาษาแขก โดยเฉพาะคำที่สื่อความคิดหรือภาวะที่เป็นนามธรรม ซึ่งเรามักจะไม่มีคำไทยโดยตรง

Read More
นิเวศในเมือง
read

ผัสสะภาวนา สัมผัสธรรมชาติ(2)

เมื่อเดือนที่แล้วเราพูดถึงแนวทางการฝึกฝนปลุกประสาทสัมผัสต่างๆ ในตัว เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยยกระดับคุณภาพประสบการณ์ตรงให้ละเอียดขึ้น โยงใยได้ดีขึ้น ด้วยเทคนิคการปฏิบัติ “ผัสสะภาวนา” (sense meditation) มีฐานมาจากแนวทางปฏิบัติของชนเผ่าอาปาเช่ในอเมริกาเหนือ

Read More
นิเวศในเมือง
read

ผัสสะภาวนา สัมผัสธรรมชาติ(1)

ลองนึกถึงชั่วขณะหนึ่งในชีวิตที่คุณสงบนิ่ง แต่ตื่นตัวทั่วพร้อม รับรู้ว่าตนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาลและธรรมชาติรอบตัว มันอาจเป็นคืนเดือนมืดเงียบสงัด ที่คุณบังเอิญตื่นมาเห็นดาวกระจายเต็มท้องฟ้า หรืออาจเป็นเหมือนเพื่อนคนหนึ่งของฉันที่จดจำภาวะนั้นในยามเย็นกลางทะเลทราย รู้สึกได้ถึงความปิติสุขไร้พรมแดน เป็นความปิติที่แผ่ซ่านกว้างใหญ่ไพศาล

Read More
นิเวศในเมือง
read

Rewilding ก้าวไปสู่ธรรมชาติในโลกยุคใหม่

เดือนที่แล้ว เราผจญกับการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่กันมากมาย หนึ่งในนั้นคือการตายหมู่ของกระเบนราหูน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกกว่า 50 ตัว พร้อมกับสัตว์น้ำอื่นๆ จำนวนมากจากการปล่อยมลพิษลงน้ำแม่กลอง

Read More
นิเวศในเมือง
read

ไม่เห็นกล่องโฟม ไม่หลั่งน้ำตา

ขณะที่มีข่าวคราวจากเมืองไทยเกี่ยวกับกล่องโฟมว่ามีคนลุกขึ้นมาเถียงแบบข้างๆ คูๆ ว่าโฟมไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเข้าใจว่าคนที่ลุกขึ้นมาเถียงพูดว่าโฟมก่อปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมเดียวไม่เป็นไรพักฟังคนเถียงชั่วคราวแล้วหันมาดูว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเขามองเรื่องนี้กันอย่างไรบ้างดีกว่า ในมาเลเซียมีระบบจัดการขยะที่ขับเคลื่อนโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการขยะคือเทศบาลเมือง วิธีการจึงออกจะเป็นไปในแนว “ทางการเขาสั่งมาว่า” ตอนแรกๆ ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดค่าที่เคยทำงานกับตาวิเศษและถนัดทำงานแบบที่ “มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” (มาอยู่ที่นี่แล้วพบว่าคำนี้เป็นของหายาก เลยขอใช้ตรงนี้หน่อยแม้ว่าจะออกเป็นทางการซักนิด) พอมาเจอแบบสั่งให้ทำอย่างเดียวก็เลยไม่เข้าทางตัวเอง ใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ แต่พออยู่มาสิบปีแล้วก็พอจะมองออกว่า เพราะความแตกต่างทางเชื้อสายและวัฒนธรรมของคนที่นี่ ทำให้กระบวนการทำงานหลายๆ อย่างไม่ค่อยจะเนียนเป็นเนื้อเดียวกันซักเท่าไหร่ ยิ่งถ้าเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชุมชนด้วยแล้ว อะไรที่สั่งตรงมาจึงได้ผลกว่ามากกว่าเชิญภาคส่วนอื่นๆ มาร่วมงาน รัฐสลังงอร์ที่ผู้เขียนใช้ชีวิตอยู่ถือเป็นรัฐที่มีประชากรพักอาศัยอยู่มากที่สุดในมาเลเซียด้วยจำนวนเกือบ 5.9 ล้านคน คิดเป็น 19 เปอร์เซนต์ ของประชากรทั้งประเทศและด้วยความที่เป็นสังคมเมืองที่กำลังโต จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐสลังงอร์ครองตำแหน่งแชมป์ผลิตขยะมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 1998 คิดเป็น 14 เปอร์เซนต์ของปริมาณขยะที่ผลิตโดย 15 รัฐทั่วประเทศ (อ้างอิงข้อมูลจากปี 2009 ประเทศมาเลเซียผลิตขยะ 27,284 ตันต่อวัน) การทำงานของรัฐในการจัดการขยะเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ปี 2013 – 2017 ที่บอกไว้ว่าจะต้องลดปริมาณขยะที่เดินทางไปยังหลุมฝังกลบและยืดอายุขัยของหลุมฝังกลบจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำอย่างจริงจัง จากข้อมูลที่มีอยู่ในงานวิจัยและการวิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ จะพบตัวเลขระบุปริมาณขยะประเภทต่างๆ เช่น เศษกระดาษหนังสือพิมพ์กล่อง UHT แก้ว พลาสติก โลหะ เศษผ้า และอื่นๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

พาไมโตคอนเดรียไปอาบป่า

เราพูดถึงนานาชีวิตที่อาศัยร่วมอยู่ในร่างกายเราไปหลายครั้งในคอลัมน์นี้ เรารู้แล้วว่าร่างกายของเราไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเรา แต่มีจุลชีพอาศัยอยู่ด้วยในจำนวนมากกว่าเซลล์ของเราเอง มีบทบาทช่วยขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ของร่างกาย จนต้องถือว่าร่างกายเราไม่ใช่แค่ “ร่างกาย” แต่เป็นระบบนิเวศประเภทหนึ่ง แต่ความสัมพันธ์ของเรากับจุลชีพบางชนิดมันซับซ้อนแน่นแฟ้นยิ่งกว่าแค่การเป็นเพื่อนร่วมงานในระบบนิเวศ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับไลเคนอยู่บ้าง ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของชีวิตสองชนิด ได้แก่ ราและสาหร่าย ประกอบร่างขึ้นมาเป็นชีวิตตัวใหม่ มันเป็นตัวอย่างคลาสสิคของความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยให้ประโยชน์กันและกัน (symbiosis) โดยราเป็นตัวสร้างบ้านห่อหุ้มสาหร่ายและสาหร่ายเป็นตัวทำอาหารมาแบ่งกัน แต่เอาเข้าจริง ชีวิตที่ประกอบไปด้วยเซลล์หลายเซลล์ทุกชนิดบนโลกใบนี้ก็วิวัฒนาการความสัมพันธ์แบบนั้นเช่นกัน รวมถึงตัวเราเองด้วย ในแง่นี้ เราก็เป็นเหมือนไลเคน หุ้นส่วนชีวิตแนบแน่นของเราคือไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ครั้งหนึ่งนานหลายๆๆ ล้านปีมาแล้ว มันเป็นชีวิตจำพวกแบคทีเรียที่เคยอาศัยอยู่โดดๆ แต่วิวัฒนาการเข้ามาอาศัยอยู่ในเซลล์ของสัตว์มีเซลล์ประเภทที่มีนิวเคลียสและผนังหุ้มเซลล์ (ซึ่งก็คือสัตว์หลายเซลล์) ปัจจุบันมันอยู่ในเซลล์ของเราเกือบทุกประเภทยกเว้นในเลือด พวกพืชก็มีวิวัฒนาการคล้ายกัน คือเอาสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงินเข้าไปอยู่ด้วย วิวัฒนาการกลายเป็นคลอโรพลาสในเซลล์มัน ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เรารู้ว่าไอ้ตัวเม็ดลายขีดยึกยือที่ดูเหมือนองค์ประกอบหนึ่งในเซลล์ของเรา แท้จริงแล้วเป็นญาติโบราณกับแบคทีเรียเพราะมันยังคงมีสารพันธุกรรมแบบเดียวกับแบคทีเรีย แตกต่างไปจากดีเอ็นเอของเราเอง มันอยู่ร่วมกับเราจนกลายมาเป็นองค์ประกอบอวัยวะเรา แต่มันยังคงมรดกดั้งเดิมของมันไว้อยู่ เช่นเดียวกับนางพจมานยืนหยัดในความเป็นพินิจนันต์ แม้จะแต่งงานร่วมหอครองบ้านทรายทองกับชายกลางสว่างวงศ์ก็ตาม ไมโตคอนเดรียมีอำนาจฤิทธิ์เดชในบ้านพอๆ กับนางพจมาน มันคือแม่หญิงตัวจริง และขอเน้นว่าการส่งต่อมรดกพันธุกรรมไมโตคอนเดรียจากรุ่นสู่รุ่นก็ส่งกันทางแม่ บ้านทรายทองจึงสืบทอดเป็นของพินิจนันต์ร่วมกับสว่างวงศ์ตลอดไป บทบาทของไมโตคอนเดรียคือเป็นเสมือนแบตเตอร์รี่พลังงานของเซลล์ มีหน้าที่แปรสสารอาหารให้เป็นพลังงานเคมีที่ร่างกายใช้ได้ โดยใช้ออกซิเจนเผาผลาญ มันจึงเป็นตัวควบคุมเมตาบอลิซั่มของเซลล์ เป็นแม่ครัวคุมเตา กระบวนการเผาผลาญมีผลข้างเคียงคือปล่อยอนุมูลอิสระออกมาด้วย อนุมูลอิสระมีประโยชน์ในการจัดการกับความเจ็บป่วยบางด้าน ซึ่งไม่สามารถอธิบายตรงนี้ได้หมด แต่สะสมมากๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อร้านยังขายของชำ

ความแตกต่างที่ปลุกให้ผู้เขียนตื่นจากวัยเด็กก็คงเป็นที่ประเภทของสินค้าที่ขายอยู่ในร้าน ถ้าเป็นร้านของชำที่เป็นร้านของคนอินเดียที่มีป้ายหน้าร้านเขียนไว้ว่า Cash & Carry (เรียกว่า “จ่ายแล้วหิ้ว” ก็คงได้) จนกลายเป็นชื่อเล่นของร้านประเภทนี้

Read More