Tag : ก้อนทอง ลุร์ดซามี

นิเวศในเมือง
read

ลอยทะเล

คิดอยู่เป็นนานกว่าจะลงมือเขียนเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าผู้อ่านจะเขี่ยนิ้วเร็วๆ ข้ามไปโดยไม่อ่าน ถ้าหากรู้ว่ากำลังจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับขยะในทะเล ที่มีทั้งเรื่องขยะที่พบในทะเล ริมหาด ในท้องสัตว์น้ำ ติดแหง็กตามร่างกายของสัตว์ทะเล แล้วก็มีหลายภาคส่วนที่ลุกขึ้นมารณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก ไม่รับหลอด เลิกใช้กล่องโฟมใส่อาหาร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ดีงามควรทำเป็นอย่างยิ่ง แต่ว่า… มีเรื่องที่ต้องคิดตามและทำความเข้าใจกับหลายประเด็น ก่อนที่จะสามารถทำให้การรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นประสบความสำเร็จ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จริง ลองตอบคำถามเหล่านี้ดูก่อนก็แล้วกัน ใช่คุณหรือเปล่า ที่เวลาดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้จากกระป๋องอะลูมิเนียมแล้วต้องใช้หลอด เพราะรู้มาว่า กระป๋องที่วางไว้ในร้านหรือห้องเก็บของก่อนที่ร้านค้าจะเอามาใส่ตู้เย็นนั้น มีหนูหรือแมลงสาบเดินป้วนเปี้ยนอยู่บนกระป๋องแน่ๆ ใช่คุณหรือเปล่า ที่ไม่กล้าดื่มน้ำอัดลมโดยตรงจากขวดแก้ว เพราะว่ากลัวว่าสนิมจากฝาขวด ที่เกาะอยู่ตามปากขวดนั้น จะไหลลงคอตามไปด้วย ใช่คุณหรือเปล่า ที่ไม่ยอมดื่มน้ำจากแก้วที่ร้านค้าเสริฟให้ เพราะเชื่อว่า ร้านค้าเหล่านั้นล้างแก้วไม่สะอาด และไม่อยากกินขี้ปากคนอื่น ใช่คุณหรือเปล่า ที่เชื่อว่าต้องเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกสามเดือนเพื่อสุขอนามัยของช่องปาก ใช่คุณหรือเปล่า ที่สามารถเตรียมของขบเคี้ยวและอาหารว่างสาระพัดเวลาไปเที่ยวที่ต่างๆ แต่ว่าไม่เตรียมน้ำดื่มหรือเตรียมไปไม่พอ (เพราะหนัก) และคิดว่าไม่เป็นไร ไปซื้อเอาดาบหน้า แถมยังได้น้ำเย็นดื่มด้วย ใช่คุณหรือเปล่า ที่เลี้ยวเข้าปั๊มเติมน้ำมันเพราะป้ายน้ำดื่มฟรี 1 ขวด เมื่อเติมครบ 500 บาท ทั้งๆ ที่ชีวิตประจำวันออกจากบ้านก็ตรงดิ่งไปทำงานหรือโรงเรียน และสถานที่เหล่านั้นก็มีตู้น้ำดื่มให้เติมใส่ภาชนะของตัวเอง ใช่คุณหรือเปล่า ที่ต้องซื้อกับข้าวถุง หรืออาหารเข้าบ้าน แต่เดินไปร้านค้าเหล่านั้นมือเปล่า […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อพระอาทิตย์ไม่ตกดิน

มีใครเป็นเหมือนกันบ้างที่ออกอาการดีใจเวลาที่เห็นพระอาทิตย์เพิ่งขึ้นหรือกำลังจะตก ตามความรู้สึกของผู้เขียน สีของท้องฟ้าในช่วงเวลาทั้งสองนั้นสวยมาก และแม้ว่ากล้องจากโทรศัพท์มือถือจะไม่สามารถถ่ายทอดได้อย่างที่ตาเรามองเห็น ก็ยังอดไม่ได้ที่จะต้องหยิบขึ้นมาถ่ายรูปเมื่อมีโอกาสทุกครั้งไป ภาพจาก: http://www.knotmirai.com/author/admin/ แล้ววันนี้เองที่เกิดสะดุดใจตอนที่ขับรถออกไปส่งลูกชายที่สนามเทนนิส ภาพพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน ลอยอ้อยอิ่งอยู่เหนือยอดไม้นั้นเป็นภาพที่หายากเหลือเกินสำหรับคนเมืองอย่างผู้เขียน ปกติแล้ว พระอาทิตย์จะหายไปทางหลังตึกสำนักงาน หรือคอนโดสูงๆ หรือไม่ก็พ้นสายตาไปเพราะป้ายโฆษณาใหญ่ยักษ์ทั้งหลายบดบัง หากไม่ได้ออกไปนอกเมือง โอกาสที่จะเห็นพระอาทิตย์ตกดินจึงยากเย็น ได้แต่ดูพระอาทิตย์ลับตึกและสิ่งก่อสร้างเป็นประจำ และก็รวมไปถึงการดูพระจันทร์โผล่จากยอดตึกด้วยเช่นกัน ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา สิ่งก่อสร้างในเมืองกัวลาลัมเปอร์และเมืองบริวารรอบๆ ที่มีทั้งอาคารพักอาศัยและสำนักงานผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก เฉพาะในรัศมีไม่เกินหนึ่งกิโลเมตรของบ้านผู้เขียน มีห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงาน 2 แห่ง อพาร์ทเมนท์อีก 6 โครงการเกิดขึ้นมาแบบที่ได้เห็นตั้งแต่ตอนลงเสาเข็มจนเสร็จเปิดทำการ จนทำให้เกิดแลนด์มาร์คใหม่ๆ ในการอ้างอิงเวลาบอกทาง ไม่ใช่สวนสาธารณะหรือที่ทำการไปรษณีย์อย่างแต่ก่อน ถ้าจะเปรียบเทียบกับตอนอยู่กรุงเทพ ก็คงเหมือนที่เคยบอกตำแหน่งบ้านว่าอยู่ใกล้ท้องฟ้าจำลอง แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ อาจจะบอกเพื่อนว่าบ้านอยู่ใกล้เมเจอร์สุขุมวิทแทน ที่น่าเป็นห่วงคืออาคารสำนักงาน เพราะเท่าที่เห็น อาคารสำนักงานที่สร้างเสร็จภายในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา มีไม่กี่แห่งที่มีคนเข้าใช้พื้นที่เกือบเต็ม ข้อมูลทางสถิติของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็ได้รายงานว่ามีแค่ราวๆ 60-70% ของอาคารสำนักงานต่างๆ ที่มีการเช่าซื้อ นอกนั้น ก็ยังว่างโหวงไร้คนเข้าใช้พื้นที่หรือเข้าอยู่อาศัย ที่เก็งไว้ว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเปิดบริษัทนานาชาติ ก็ยิ่งเป็นการเก็งที่ผิดคาด เพราะมาตรฐานอาคารสำนักงานที่สร้างในกัวลาลัมเปอร์และเมืองบริวารนี้ ยังด้อยกว่าอาคารสำนักงานในเมืองศูนย์กลางธุรกิจอื่นๆ ในเอเชียอย่างสิงคโปร์ หรือฮ่องกง ส่วนธุรกิจรุ่นใหม่ภายในประเทศ ก็ผันตัวไปเป็นธุรกิจออนไลน์กันซะส่วนมาก “การทำงาน” จึงต้องการแค่มีคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ภาพบาดตา

เปล่านะ ผู้เขียนไม่ได้จะพูดเรื่องของใครไปเห็นใครทำอะไรไม่ดีไม่งามที่ไหน แต่เป็นภาพบาดตาที่ผู้เขียนต้องเจอตามข้างถนนอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่ปลายปี 2017 ที่ผ่านมา พบว่าจากบ้านของผู้เขียนไปยังโรงเรียนของลูกชาย อันมีระยะทางราวๆ 5 กิโลเมตรนั้น มี “ภาพบาดตา” เกิดขึ้นถึง 3 แห่ง ก็เจ้าป้ายโฆษณาแบบระบบทีวีดิจิตอลใหญ่เบิ้มเหล่านั้น ออกอิทธิฤทธิ์เปล่งแสงกันสนั่นลั่นจอเหมือนดูสตาร์วอร์เลยทีเดียว ป้า เอ๊ย ผู้เขียนคงไม่บ่นอะไรมาก หากว่ามันอยู่ในที่ในทางและเปล่งพลังกันพอตัว ตอนเช้าที่ขับรถส่งเด็กๆ ไปโรงเรียน ท้องฟ้ายังคงมืดมิดอยู่ เพราะนาฬิกาที่มาเลเซียนี่เร็วกว่าท้องฟ้าจริง (ตามความเคยชินของสาวไทย) ไปหนึ่งชั่วโมง แสงที่เจิดจ้าออกมาจากป้ายโฆษณา จึงบาดตาคนขับขี่กว่าปกติ โดยเฉพาะป้ายหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เรี่ยกับพื้นและเป็นช่วงทางโค้ง เวลาที่ขับรถลงมาจากสะพานข้ามสามแยก จะเผชิญหน้ากันจังๆ กับคนขับรถพอดี ในทางการโฆษณา ป้ายนี้ถือว่าอยู่ในจุดยุทธศาสตร์แน่ๆ เห็นกันชัดๆ แต่สำหรับผู้เขียน มันกลับทำให้ต้องตกอยู่ในสภาพตาบอดไฟไปสิบวินาที ก่อนที่จะสามารถปรับสายตาเพ่งมองรถข้างหน้าและรถที่เข้ามาเทียบข้างๆ จากเลนคู่ขนานสะพาน ยิ่งถ้าเป็นช่วงที่โฆษณาสีสดๆ แบบสีเหลืองจ๋อยทั้งจอโผล่ขึ้นมาพอดีด้วยแล้ว ยิ่งทรมานเหลือเกิน เคยนึกอยู่เสมอว่า ป้าย LED น่าจะดีกว่าป้ายไวนิล เพราะในด้านของการผลัดเปลี่ยนโฆษณาแต่ละชนิดมีความถี่กี่ครั้งก็ได้แล้วแต่ราคาที่ตกลงกัน ส่วนการนำเสนอออกสู่สายตาผู้บริโภค ก็เพียงแต่ตั้งโปรแกรมให้โฆษณาขึ้นบ่อยครั้งตามที่ตกลง ภาพจาก: http://punestartups.org/forum/topics/led-display-advertising-in-pune ในขณะที่ป้ายไวนิล ทำมาจากส่วนผสมของพลาสติกกับคลอรีน มีชื่อเต็มๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

น้ำอัดลมในขวดแก้ว

วันหนึ่ง ขณะที่ร่วมวงอาหารกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน ก็มีเสียงบิดเกลียวฝาขวด กริ๊ก.. ฟู่… ก๊าซของน้ำอัดลมพวยพุ่งออกมาจากขวดพลาสติกบรรจุน้ำสีดำ คงไม่กระตุกใจผู้เขียนมากซักเท่าไหร่ หากว่าไม่ใช่เพราะเพิ่งกลับมาจากเมืองไทย ก็ตามร้านอาหารในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นร้านเหลา หรือยองๆ เหลา ต่างก็เสริฟน้ำอัดลม (ขวดเล็ก) ในขวดแก้วด้วยกันทั้งนั้น เลยถือโอกาสเล่าให้เพื่อนที่มาเลเซียฟังเกี่ยวกับเวลา…เอ๊ย..น้ำอัดลมในขวดแก้ว หลายๆ คนที่ทำงานอยู่ด้วยนั้น โตไม่ทันที่จะได้ดื่มน้ำอัดลมจากขวดแก้ว เพราะโตมาก็เจอเครื่องดื่มเหล่านั้นในกระป๋องและขวดพลาสติกแล้วเท่าที่ไต่ถามผู้อาวุโสในบ้าน เขาบอกว่า เมื่อห้าสิบกว่าปีที่แล้ว ตอนที่เขายังเป็นเด็กๆ ก็ยังได้ดื่มน้ำอัดลมจากขวดแก้วอยู่ แต่จำไม่ได้ว่ามันหายไปจากตลาดตอนไหน สำหรับน้องๆ ที่ทำงาน การที่ได้ยินว่าเมืองไทยยังคงขายในขวดแก้วอยู่ จึงทำให้เกิดคำถามพรั่งพรูตามมา “ดื่มเสร็จแล้วทิ้งขวดเลยหรือ” ถ้าเป็นคนไทยรุ่นอายุสามสิบขึ้น คงเคยได้เห็นรถบรรทุกน้ำอัดลมแบบเปิดโล่งสองข้าง มีลังน้ำสีต่างๆ ซ้อนกันอยู่ พอถึงหน้าร้านอาหารหรือร้านขายของชำที่สั่งน้ำเหล่านั้นเข้าร้าน พนักงานก็จะกระโดดลงมายกลังน้ำเหล่านั้นใส่รถเข็นสองล้อ ซ้อนกันเป็นตั้งสูงจนกลัวว่าจะหล่นลงมา (แต่ก็ไม่เคยเห็นใครทำหล่น) ยกเข้ามาวางแทนลังที่มีแต่ขวดเปล่า เป็นแบบระบบคืนขวด ส่งมากี่ลัง ก็เก็บคืนเท่านั้นลัง พอขวดเดินทางไปถึงโรงงาน ก็จะถูกส่งเข้าสู่ไลน์การล้างขวดด้วยสารละลายผสมโซดาไฟทั้งข้างนอกข้างใน มีการตรวจสอบสารตกค้าง และฆ่าเชื้อก่อนที่จะนำมาบรรจุเครื่องดื่มอีก ซึ่งผู้เขียนชอบมากที่เรายังคงมีระบบคืนขวดแบบนี้ เพราะทำให้ไม่ต้องใช้ขวดพลาสติกหรือกระป๋อง ที่แม้ว่าจะนำมารีไซเคิลได้จริง แต่ทรัพยากรและพลังงานที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเหล่านั้น มันเริ่มที่จะลดน้อยลงไป ในขณะที่ภาชนะหลังใช้ก็ยังเกลื่อนกลาดทั่วไป โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียที่การรีไซเคิลยังไม่อยู่ในนิสัยของคนส่วนมาก “คนงานยกลังเป็นคนที่มาจากไหน งานมันหนักนะ” […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

หวงและห่วง…แม่ทุเรียนของพี่

เทศกาลกินทุเรียนที่มาเลเซียเมื่อกลางปีที่ผ่านมามีความเงียบเหงาผิดไปจากเดิม เพราะทุเรียนมีราคาแพงเกินกว่าปกติ ชนิดที่เรียกว่ามูซัง คิง (Musang King) ราคาขึ้นสูงถึงกิโลละพันบาท ซึ่งเป็นราคาแบบที่ชั่งกันทั้งลูก ไม่ใช่ราคาแบบที่แกะเนื้อขาย และที่นำออกมาวางขาย ก็ใช่ว่าจะมีจำนวนเยอะ จนพ่อค้าสามารถเล่นตัว ไม่รับการต่อรองราคาใดๆ จากลูกค้าเลย รัฐเปรัคเป็นรัฐที่มีการผลิตทุเรียนรุ่นกลางปีออกมาขายมากและเป็นที่รู้จักกันดี ฤดูกาลที่ทุเรียนจากรัฐเปรัคจะให้ผลผลิตออกมาวางขายตามท้องตลาดคือ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมไปจนถึงต้นเดือนกันยายน ส่วนในช่วงเดือนธันวาคมต่อไปจนถึงมกราคม จะเป็นผลผลิตที่มาจากสวนทางพื้นที่ตอนใต้ของแหลมมลายูอย่างรัฐยะโฮร์ เหตุที่จำนวนของทุเรียนลดน้อยถอยลงไปอย่างผิดหูผิดตามในปีนี้ มีสาเหตุหลักๆ อยู่สองอย่าง โดยประการแรก เป็นเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนไป ทุเรียนในพื้นที่ตอนกลางของประเทศมาเลเซีย จะออกดอกในช่วงต้นปี แถวๆ ตรุษจีน และเมื่อดอกออกแล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์กว่าจะติดลูก ปีนี้ มีฝนตกชุกในช่วงก่อนและหลังตรุษจีนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ ทำให้ดอกทุเรียนถูกฝนชะ หล่นร่วงจากต้นไปเป็นจำนวนมาก ส่วนดอกที่ยังพอเหลืออยู่ติดต้น โดยเฉลี่ย จะโตมาเป็นผลทุเรียนได้แค่ 25 เปอร์เซนต์ จึงทำให้จำนวนทุเรียนที่ควรจะถึงมือลูกค้ายิ่งน้อยลงไปอีก ใครว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่มีจริง และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ก็ตาม ทาสทุเรียนทั้งหลายประจักษ์แก่ใจ ชัดเจนในปีนี้ ส่วนประการที่สอง ความต้องการลิ้มรสทุเรียนไม่ได้หยุดอยู่แค่ในมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่ว่าเดินทางไกลไปถึงประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อแบบเจ้าบุญทุ่มและเต็มใจซื้อในราคาที่สูงกว่าที่คนท้องถิ่นจะเต็มใจจ่ายด้วยค่าเงินที่แข็งกว่า โดยข่าวแจ้งว่า ราคาทุเรียนมูซังคิงที่ขายในเมืองจีนมีราคาสูงถึงกิโลละ 5 พันบาท ในขณะที่ในมาเลเซียวางขายที่กิโลละ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ถามรถไฟ

โครงการรถไฟเมืองจีนที่จะวางรางทั่วเอเชีย เชื่อมประเทศจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปากีสถาน เอเชียกลาง และทางเดินสมุทร ด้วยระบบขนส่งภาคพื้นดิน เพื่อเปิดเส้นทางการค้าไปยังยุโรปและตะวันออกกลางให้สะดวกง่ายขึ้น โดยถือกันว่าเป็น “เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21” เลยทีเดียว ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนขอพูดถึงเฉพาะรางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์  เพราะถือว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างประเทศมาเลเซียที่ผู้เขียนอาศัยอยู่และเมืองไทยที่ผู้อ่านอยู่อาศัย ต้นปี ค.ศ. 2020 เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น ผู้โดยสารจะสามารถใช้บริการรถไฟ Pan-Asia Railway Network ซึ่งเครือข่ายรถไฟดังกล่าว สร้างขึ้นเพื่อขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า โดยมีการเชื่อมต่อระยะทางประมาณ 4,500 – 5,500 กิโลเมตรจากประเทศจีนครอบคลุมไปทั่ว จึงทำให้เราๆ ท่านๆ สามารถเดินทางไปมาระหว่างกันโดยใช้เวลาน้อยลง เพราะจากคุนหมิงไปถึงสิงคโปร์ใช้เวลาเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น ก่อนที่จะมีสายการบินราคาแบบโลว์คอสต์วิ่งไปมาระหว่างกรุงเทพและกัวลาลัมเปอร์นั้น ผู้เขียนมีความจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานขึ้นลงอยู่สองสามครั้ง ได้อาศัยบริการรถไฟไทยซึ่งวิ่งจากปีนังเข้าไปยังกรุงเทพ โดยใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมดกว่าหนึ่งวัน เริ่มจากการนั่งรถบัสจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธที่ใช้เวลาราวๆ 5 ชั่วโมง แล้วจึงจับรถไฟขบวนบ่ายโมง วิ่งแบบนั่งๆ นอนๆ ไปถึงกรุงเทพตอนใกล้เที่ยงของวันถัดไป ถ้าหากว่าใช้รถไฟสายไหมที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ การเดินทางนั้นคงจะลดลงมาเหลือราวๆ 5-6 ชั่วโมง คำล้อเลียนเสียงรถไฟที่แล่นบนรางว่า “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” คงจะหายไป เปลี่ยนมาเป็นร้องเพลง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เสื้อผ้ามือสอง

สงสัยจริงๆ ว่า โดยปกติแล้วผู้อ่านมีวิธีจัดการกับเสื้อผ้าที่ใส่ไม่ได้แล้วอย่างไรบ้างทั้งของตัวเองและของคนในครอบครัวเอาเสื้อผ้าเก่าไปแลกไข่จับใส่ถุงทิ้งขยะบริจาคผ่านองค์กรต่างๆ หรือส่งต่อให้คนอื่นด้วยตัวเอง เท่าที่ผ่านมาผู้เขียนถือว่าตัวเองโชคดีที่มีโอกาสได้มอบเสื้อผ้าเหล่านั้นให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยตรง อย่างลูกหลานของแม่บ้านชาวฟิลิปปินส์ที่มาทำความสะอาดบ้านส่งให้เพื่อนที่ทำงานกับชุมชนผู้อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือส่งผ่านคุณพ่อบ้านที่ได้ทำงานกับมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่เป็นคนจากกลุ่มชนพื้นเมืองออรังอัสลี (Orang Asli) ที่ยังอาศัยอยู่ในป่า บางชิ้นที่จำต้องเป็นต้องซื้อให้เด็กๆ ใส่เวลามีงานที่โรงเรียนซึ่งได้ใส่เพียงแค่ครั้งสองครั้งเท่านั้น พอหยิบมาปัดฝุ่นจะใส่ในปีถัดไป ขนาดเอวของผู้ใส่ก็ล้นขอบกางเกงไปแล้ว เป็นอันว่าต้องส่งต่อให้ญาติผู้น้องของสองหนุ่มต่อไป เรื่องเสื้อผ้ามือสองไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้เขียนเลยสมัยเรียนมหาวิทยาลัยก็มักจะไปดุ่มๆ เดินที่จตุจักรอย่างมีลุคแบบเท่ห์ๆ ลุยๆ และด้วยความที่ไซส์ไม่อยู่ในสาระบบไซส์ไทย (มันหดหู่น่ะ เพราะไซส์ไทยจะอยู่ที่ XXL) การไปซื้อเสื้อลายสก็อตกับกางเกงยีนส์ซึ่งมีที่มาจากเมืองนอกนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายและสร้างเสริมกำลังใจได้เยอะกว่า เพราะไซส์ M ก็ใหญ่พอแล้ว แม้ว่าจะมีตำนานเล่าต่อกันมาเยอะแยะว่าเสื้อผ้าเหล่านั้นมีที่มาอย่างไร นับตั้งแต่บริจาคด้วยใจเมตตา ไปจนถึงไปถอดมาจากศพ  เอาเหอะ ขู่ยังไงก็ไม่กลัว ซื้อกลับมาแล้วต้มก่อนซักเป็นอันเท่ห์ได้ในราคาถูก พอโตเป็นผู้ใหญ่ได้มาทำงานใกล้ๆ กับซอยละลายทรัพย์ ก็จะมีเสื้อผ้ามือสองมาขายทั้งแบบกองและแบบแขวนราว แต่คราวนี้พอจะรู้เพิ่มขึ้นมาอีกหน่อย คือบางชิ้นเป็นเสื้อผ้าที่ตกค้างสต็อคอยู่ในโกดังเก็บสินค้าด้วย เป็นอันว่าแค่ซักอย่างเดียว ไม่ต้องต้ม ผู้เขียนมีโอกาสได้มารู้ว่าในมาเลเซียมีโรงงานขนาดใหญ่ที่รับรีไซเคิลเสื้อผ้าและวัสดุผ้าประเภทต่างๆ จากครัวเรือนโดยรับเสื้อผ้ามาจากองค์กรการกุศลในออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนที่มาจากญี่ปุ่นอเมริกาและภายในประเทศ ซึ่งเมื่อของเหล่านั้นเดินทางถึงโรงงาน คนงานกว่าร้อยคนก็จะทำหน้าที่เลือกของที่ยังอยู่ในสภาพดีใส่ได้แยกไปตามเกรดสินค้าและประเภทต่างๆ นับตั้งแต่เสื้อกางเกงกระโปรงกระเป๋ารองเท้าตุ๊กตาและอื่นๆ อีกมากมาย  สินค้าที่อยู่ในสภาพดีเหล่านั้นจะถูกส่งไปขายในประเทศที่ประชากรส่วนมากไม่สามารถซื้อเสื้อผ้าราคาปกติได้ เช่น ประเทศในแอฟริกา อินเดีย และปากีสถาน (ภาพจาก: FT Photo Diary) ส่วนของที่อยู่ในสภาพเสียหาย […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อช.ช้างไม่วิ่งหนี

ก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน ข่าวการตายของลูกช้างที่ถูกรถชนตอนเช้ามืดบนทางหลวงสาย Gerik-Jeli ห่างจากเมืองอิโปห์ไปราวๆ 130 กิโลเมตร ถือเป็นข่าวแสนเศร้า โดยเฉพาะต่อกลุ่มคนที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ช้าง ที่พยายามติดตามและทำความเข้าใจกับการเคลื่อนที่ของกลุ่มช้างป่าในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะผืนป่าเบอลุม (Royal Belum National Park) ทางตอนเหนือของรัฐเปรัค ซึ่งเป็นผืนป่าที่มีรอยเชื่อมต่อกับเทือกเขาสันกาลาคีรี และอุทยานแห่งชาติบางลางในจังหวัดยะลาของประเทศไทย สาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ไม่อาจจะโทษคนขับรถที่วิ่งเข้าชนลูกช้างอย่างเดียว แต่เบื้องลึกเบื้องหลังที่เป็นสาเหตุจริงๆ มีองค์ประกอบมากกว่านั้น  ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 2 พันตัว ที่ถูกฆ่าโดยยานพาหนะบนถนน มีทั้ง สมเสร็จ ลิง แมวดาว อีเห็น หมูป่า และที่เป็นข่าวสุดเศร้าเมื่อปีที่แล้ว ก็คือข่าวที่แม่เสือที่กำลังตั้งท้องลูกสองตัว ถูกรถชนตายข้างป่าสงวนราเซา (Rasau Forest Reserve) ในรัฐตรังกานู เหตุที่มีสัตว์ป่าจำนวนมากตายด้วยอุบัติเหตุจากรถชน ก็เนื่องมาจากการขยายเส้นทางคมนาคมในประเทศมาเลเซียที่มีเส้นทางหลักๆ มากกว่า 60 สายที่เป็นทางหลวง ส่วนพื้นที่ที่ถือว่าเป็น hotspots ก็คือทางหลวงหลัก 5 สาย (เส้นสีฟ้าๆ) ที่วิ่งข้ามผืนป่าต่างๆ ภายใต้วงกลมสีแดงนั่น ถ้านำแผนที่แสดงผืนป่าของมาเลเซียมาเทียบ จะเห็นว่าถนนเหล่านั้นตัดผ่านผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

มือปราบลูกผสม

เช้าวันก่อน ขณะกำลังยืนตากผ้าอยู่ตรงสนามหน้าบ้าน ก็มีนกกางเขนบ้านบินโฉบฉิวผ่านศีรษะพุ่งตรงไปที่ผนังบ้าน จิกเอาจิ้งจกตัวน้อยไปเป็นอาหารเช้า อ้าว…นกกินจิ้งจกด้วยเรอะ นึกว่าจะกินแต่แมลงหรือไส้เดือน แต่เอ.. จะว่าไปดูผาดๆ แล้วจิ้งจกก็ดูเหมือนลูกครึ่งไส้เดือนกับแมลงที่มีขาแค่สองคู่  แบบนี้มันน่าจับนกกางเขนมาเลี้ยงในบ้าน ให้ช่วยกินจิ้งจกในครัวซักหน่อย เพราะชอบออกมากินอาหารที่วางไว้ตรงโต๊ะในครัว จนเป็นคู่อริกับน้องเล็กของบ้านมาตั้งแต่ตอนเด็กน้อยตัวยังเล็กๆ ที่เคยร้องไห้บ้านแตกด้วยความตกใจและโมโหพร้อมฟ้องว่า “จิ้งจก stole my fruits!” (คือแม่เรียก ‘จิ้งจก’ ลูกๆ ก็เลยเรียกเป็นภาษาไทยตามไปด้วย) เท่าที่ผ่านมา มดและแมลงที่เข้ามาอยู่มาร่วมชายคาเดียวกัน มักจะถูกกำจัดด้วยทักษะและวิธีการการปราบแบบผสมผสานตามแต่ความถนัดของสมาชิกในครอบครัว เพราะด้วยความที่ไม่ชอบใช้ยาฆ่าแมลงทั้งฉีดทั้งพ่น เนื่องจากกลัวว่าจะไม่ใช่แต่มดแต่แมลงเท่านั้นที่จะลงไปนอนดาวดิ้น ลูกชายสองคนที่ชอบนอนดิ้นไปมากับพื้นจะกลายเป็นเหยื่อระยะยาวไปด้วย คุณพ่อบ้านจึงได้ตำแหน่ง “นักแม่นยิงแมลงสาบ” เพราะสามารถยิงแมลงสาบด้วยหนังยางแม่นเหมือนจับวาง เส้นเดียวอยู่…  ส่วนคุณย่า เมื่อครั้งยังมีชีวติอยู่ ก็ได้รับตำแหน่ง “มือปราบมวนข้าว” คอยสกัดตัวมวนที่แพร่พันธุ์ในถังข้าวสาร ด้วยการนำถังข้าวไปตากแดดพร้อมโยนผ้าขนหนูสีขาวผืนเล็กๆ ลงไป ตัวมวนก็จะไต่มาเกาะติดกับผ้า แต่ว่าดึงขาตัวเองออกจากผ้าขนหนูไม่ได้ คุณย่าก็จะเก็บผ้ามาซักล้าง กำจัดมวนไปกับสายน้ำ มดดำตัวทำรำคาญเป็นหน้าที่ของแม่ที่ต้องคอยเก็บกวาดเศษขนมที่หล่นตามพื้นทันทีที่ลูกกิน เจ้ามดเหล่านั้นจะเกิดสภาวะอดอยากไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ยังมีนักวิทยาศาสตร์น้อยที่คอยหลบแม่ ทำการทดสอบว่ามดจะมีวิธีหนีอย่างไร หากว่ามีนิ้วเล็กๆ แปะลงไปบนตัว… เหตุการณ์มดแมลงในบ้าน ดูจะสงบศึกราวกับพักรบชั่วคราว จนกระทั่งเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ค้นพบแขกไม่ได้รับเชิญก๊วนหนึ่ง เป็นมดสีน้ำตาลโขยงใหญ่ไต่ออกมาจากซอกหลืบต่างๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เด็กเมืองขี้เบื่อ

เด็กกับวัยรุ่นที่บ้านสองคนเติบโตในเมืองเเละมีห้วงเวลาที่แตกต่างจากผู้เขียนเหลือเกิน จนต้องมีการปรับจังหวะปรับความเข้าใจกันเป็นระยะๆ เพราะบางทีความคิดจากมุมของแม่ก็ไม่ได้ บรรยากาศไม่เอื้อ สถานการณ์ไม่ให้ หากปล่อยให้คิดจากมุมของลูกเพียงอย่างเดียวก็ไม่ไหว เลยต้องมีกติกาในบ้านมาช่วยดึงช่วยรั้งกันพอสมควร ถึงแม้ว่าลูกชายทั้งสองคนยังถือว่าอยู่ในโอวาทตามมาตรฐานของเพื่อนๆ ที่เคยมาที่บ้าน เพราะกติกาที่มีมาตั้งแต่ตอนยังตัวเล็กๆ ที่ว่าต้องขออนุญาตก่อนจะดูโทรทัศน์เเละตกลงช่วงเวลาที่สามารถอยู่หน้าจอ ซึ่งยังเป็นไปตามนั้นจนทุกวันนี้บางครั้งผู้เขียนก็ตั้งใจเป็นแม่ใจร้ายไม่ยอมให้อยู่หน้าจอเลยไล่ให้ออกไปเล่นนอกบ้านแทน นึกไปถึงตอนเป็นเด็กแม่ของผู้เขียนไม่เคยต้องมาคิดแทนว่าเวลานั้นเวลานี้ลูกทั้งสี่คนต้องทำอะไรบ้าง  การ “หาอะไรทำ” ขณะอยู่บ้านจึงถือว่าเป็นหน้าที่ของแต่ละคน เลือกเอาเองว่าจะทำการบ้าน (หากไม่ทำก็ไปโดนดุที่โรงเรียน) ช่วยงานบ้าน (หากไม่ช่วยก็ได้กินข้าวเย็นช้า) หรือจะเล่นจะดูทีวี (ถ้าเป็นวันหยุด) ก็เลือกทำแล้วแต่จังหวะ แล้วแต่โอกาส จำไม่ได้ว่าเคยพูดคำว่าเบื่อกับแม่ในบริบทเหล่านี้หรือเปล่า อาจจะมีก็ตอนที่ติดตามไปซื้อของใช้ตามตลาดแล้วเจอแบบคุยกับแม่ค้า 1 ชั่วโมง แต่ซื้อของจริงๆ 5 นาที  ส่วนเวลาที่ดื้อหรือซนเกินปกติ (ประเภทที่ขึ้นไปแอบบนหลังคาบ้านเวลาที่เล่นซ่อนหากับเด็กๆ แถวบ้าน) ก็จะถูกกักบริเวณไม่ให้ออกไปเล่นนอกบ้านอยู่หลายวัน แต่ก็นั่งทำตาละห้อยเวลาที่เห็นเพื่อนๆ เล่นอยู่นอกบ้านได้ไม่นานนัก เพราะในบ้านเองก็มีอะไรให้ทำอยู่หลายอย่าง (ใครที่คุ้นเคยกับกิจกรรมต่อไปนี้ ก็ให้รู้ว่าเรารุ่นเดียวกัน) นับตั้งแต่วาดเสื้อผ้าเพิ่มเติมให้ตุ๊กตากระดาษ สร้างบ้านจากผ้าห่มและหมอน หัดเล่นไพ่แบบต่างๆ เพื่อฝึกทักษะการคิดเลข เล่นขายของ ทำขนมครกไข่นกกระทาขาย (คุณตาผู้ให้ทุนตั้งร้าน) อ่านการ์ตูนเบบี้หนูจ๋า และอื่นๆ อีกมากมาย จนนึกไม่ออกว่ามีเวลาไหนตรงไหนให้เบื่อ แต่มาในวันนี้ เท่าที่เคยได้คุยกับบรรดาแม่ๆ ของเพื่อนลูก สิ่งหนึ่งที่พวกเราพบว่าเป็นเหมือนกันทุกบ้านก็คือการที่ลูกเดินเข้ามาหาแล้วบอกว่า […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ชีวิตแมงเม่า

อากาศของมาเลเซียตอนนี้ถือว่าอยู่ในช่วงของความเปลี่ยนแปลงก่อนที่หน้าร้อน (ตับแล่บ) จะมาเยือน ตอนเช้ามีลมเอื่อยๆ พัดมาให้ชื่นใจ พอตอนกลางวันก็จะมีแดดออกเปรี้ยงปร้าง และฝนตกกระหน่ำในตอนเย็นซึ่งทำให้นอนหลับสบาย จนอยากหยุดวันเวลาเหล่านี้เอาไว้ .. เอ่อไม่ได้จะโรแมนติกอะไรหรอกนะแต่หวั่นใจว่าความร้อนตลอดวันตลอดคืนที่กำลังจะมาเยือนมากกว่า เมื่อครั้งที่ย้ายมาอยู่ที่มาเลเซียรอบแรกเมื่อสิบห้าปีที่แล้วผู้เขียนจำได้ว่าช่วงที่ต้องเดินสายแนะนำตัวไปตามบ้านญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงของสามีภาพของพัดลมเพดานที่ใบพัดหมุนสะบัดเอื่อยๆเป็นภาพที่สะดุดตามากที่สุดเพราะตอนเด็กๆเป็นคนที่กลัวพัดลมเพดานด้วยความที่เคยมีข่าวจนลือกันว่ามีพัดลมติดเพดานหล่นลงมาขณะใบพัดยังหมุนอยู่ขอข้ามรายละเอียดของผู้ที่นั่งอยู่ข้างล่างก็แล้วกันพอมาถึงที่นี่ก็เห็นตะขอสำหรับเกี่ยวพัดลมที่ติดตั้งอย่างแน่นหนาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงสร้างบ้านจึงได้เริ่มไว้ใจพัดลมเพดานที่นี่ กว่า 80 เปอร์เซนต์ของบ้านและอพาร์ทเมนท์ของญาติมิตรที่ไปหาเมื่อสิบห้าปีที่แล้วก็ไม่ค่อยมีใครติดเครื่องปรับอากาศกันเท่าไหร่ประตูหน้าต่างเปิดกว้างแบบไม่กลัวยุงพัดลมเพดานหมุนให้ความเย็นสบายให้ความรู้สึกเหมือนบ้านเเถวต่างจังหวัดเมื่อหลายสิบปีก่อนเวลาเดินออกมาจากบ้านก็ไม่รู้สึกต่างอะไรกับอากาศนอกบ้านไม่มีลมร้อนที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศทั้งของบ้านตัวเองและบ้านข้างๆมาเป่าใส่ให้ร้อนวูบวาบ มาตอนนี้ หลายบ้านลุกขึ้นมา “ปิด” บ้านให้มิดชิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยเพราะการโจรกรรมตามบ้านเรือนมีจำนวนพุ่งสูงขึ้น แข่งกันกับจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและระดับการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงขึ้น กลายเป็นว่าปัญหาทางสังคม (การโจรกรรม) และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีมากขึ้น ผู้ป่วยมีมากขึ้น) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนผ่านกระเป๋าสตางค์ของคนเมืองที่ต้องเสียเงินติดแอร์และจ่ายค่าไฟที่สูงขึ้นตามจำนวนการใช้เครื่องปรับอากาศ บรรยากาศที่เคยพบเมื่อตอนนั้น จึงกลายเป็นของหายากขึ้นไปทุกวัน เกือบทุกหลัง ต่อเติมและขยายพื้นที่ครัวออกมาเต็มพื้นที่ว่าง อากาศภายในจึงอบอ้าวเพราะทางลมไม่สะดวกโล่งเหมือนที่เขาออกแบบมาให้ พื้นที่หลังบ้านจึงได้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สำหรับตั้งเครื่องเป่าลมร้อนจากเครื่องปรับอากาศออกจากบ้าน  แต่บ้านที่ผู้เขียนอยู่ ยังคงเป็นบ้านแบบมาตราฐาน ไม่ได้ก่ออิฐเป็นกำแพงด้านหลังเพื่อให้ “ครัวไทย” หายใจได้สะดวก ควันที่โชยขึ้นมาจากกระทะหรือพวยพุ่งออกมาจากหม้อต้มแกงต่างๆ มีทางออกได้ง่าย ไม่กลับมาคละคลุ้งอยู่ในบ้าน แต่วันไหนที่อากาศร้อนๆ และมีลมร้อนเป่าจากเครื่องปรับอากาศของเพื่อนบ้านมาช่วยเสริมกำลังก็ทำให้ยิ่งร้อนเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้เข้าซาวน่าฟรีที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง แค่ออกมาทำกับข้าวตอนเพื่อนบ้านเปิดแอร์เท่านั้นเอง เมื่อปิดหลังบ้านทึบ ก็เป็นเหตุให้ต้องเปิดไฟตลอดเวลาที่ใช้ห้องครัว รวมทั้งมีอุปกรณ์ทำครัวที่ลดควันไฟเหล่านั้นด้วย ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้า อย่าให้ต้องนับเลย ว่ามีเครื่องใช้กินไฟเพิ่มขึ้นอีกกี่ชิ้นจากครัวพื้นบ้านปกติ บางทีจึงรู้สึกว่า ชีวิตคนเมืองนี่คล้ายๆ แมงเม่า วนเวียนอยู่ตรงที่มีไฟเพื่อความจำเป็นและความสะดวกในกิจกรรมประจำวัน หากจะเลือกใช้ไฟน้อยๆ อย่างบ้านผู้เขียน […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

อยู่อย่างเมืองท่องเที่ยว

การที่ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนรู้จักมากมายขนาดนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้เราก้าวไปถึงระดับนั้นได้ ทั้งด้านทำเลที่ตั้งอันห่างไกลจากภัยธรรมชาติหนักๆ อย่างภูเขาไฟ หรือลมไต้ฝุ่น ส่วนภูมิประเทศก็หลากหลาย สวยงามตั้งแต่ภูเขา นาข้าว เรื่อยไปจนจรดทะเล อีกทั้งศิลปะวัฒนธรรมที่หยั่งรากลึกลงไปกว่าเจ็ดร้อยปี ตระหง่านเคียงข้างกับแหล่งช้อปปิ้งตั้งแต่เช้าจนเย็นย่ำค่ำมืด จะริมถนน บนห้างสรรพสินค้า เรื่อยไปจนถึงสะพานลอย นับได้ว่าถูกใจขาเที่ยวทุกประเภท

Read More
นิเวศในเมือง
read

ไม่เห็นกล่องโฟม ไม่หลั่งน้ำตา

ขณะที่มีข่าวคราวจากเมืองไทยเกี่ยวกับกล่องโฟมว่ามีคนลุกขึ้นมาเถียงแบบข้างๆ คูๆ ว่าโฟมไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเข้าใจว่าคนที่ลุกขึ้นมาเถียงพูดว่าโฟมก่อปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมเดียวไม่เป็นไรพักฟังคนเถียงชั่วคราวแล้วหันมาดูว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเขามองเรื่องนี้กันอย่างไรบ้างดีกว่า ในมาเลเซียมีระบบจัดการขยะที่ขับเคลื่อนโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการขยะคือเทศบาลเมือง วิธีการจึงออกจะเป็นไปในแนว “ทางการเขาสั่งมาว่า” ตอนแรกๆ ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดค่าที่เคยทำงานกับตาวิเศษและถนัดทำงานแบบที่ “มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” (มาอยู่ที่นี่แล้วพบว่าคำนี้เป็นของหายาก เลยขอใช้ตรงนี้หน่อยแม้ว่าจะออกเป็นทางการซักนิด) พอมาเจอแบบสั่งให้ทำอย่างเดียวก็เลยไม่เข้าทางตัวเอง ใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ แต่พออยู่มาสิบปีแล้วก็พอจะมองออกว่า เพราะความแตกต่างทางเชื้อสายและวัฒนธรรมของคนที่นี่ ทำให้กระบวนการทำงานหลายๆ อย่างไม่ค่อยจะเนียนเป็นเนื้อเดียวกันซักเท่าไหร่ ยิ่งถ้าเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชุมชนด้วยแล้ว อะไรที่สั่งตรงมาจึงได้ผลกว่ามากกว่าเชิญภาคส่วนอื่นๆ มาร่วมงาน รัฐสลังงอร์ที่ผู้เขียนใช้ชีวิตอยู่ถือเป็นรัฐที่มีประชากรพักอาศัยอยู่มากที่สุดในมาเลเซียด้วยจำนวนเกือบ 5.9 ล้านคน คิดเป็น 19 เปอร์เซนต์ ของประชากรทั้งประเทศและด้วยความที่เป็นสังคมเมืองที่กำลังโต จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐสลังงอร์ครองตำแหน่งแชมป์ผลิตขยะมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 1998 คิดเป็น 14 เปอร์เซนต์ของปริมาณขยะที่ผลิตโดย 15 รัฐทั่วประเทศ (อ้างอิงข้อมูลจากปี 2009 ประเทศมาเลเซียผลิตขยะ 27,284 ตันต่อวัน) การทำงานของรัฐในการจัดการขยะเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ปี 2013 – 2017 ที่บอกไว้ว่าจะต้องลดปริมาณขยะที่เดินทางไปยังหลุมฝังกลบและยืดอายุขัยของหลุมฝังกลบจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำอย่างจริงจัง จากข้อมูลที่มีอยู่ในงานวิจัยและการวิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ จะพบตัวเลขระบุปริมาณขยะประเภทต่างๆ เช่น เศษกระดาษหนังสือพิมพ์กล่อง UHT แก้ว พลาสติก โลหะ เศษผ้า และอื่นๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อร้านยังขายของชำ

ความแตกต่างที่ปลุกให้ผู้เขียนตื่นจากวัยเด็กก็คงเป็นที่ประเภทของสินค้าที่ขายอยู่ในร้าน ถ้าเป็นร้านของชำที่เป็นร้านของคนอินเดียที่มีป้ายหน้าร้านเขียนไว้ว่า Cash & Carry (เรียกว่า “จ่ายแล้วหิ้ว” ก็คงได้) จนกลายเป็นชื่อเล่นของร้านประเภทนี้

Read More
นิเวศในเมือง
read

ศรัทธาเหนือราคาสัตว์

เมืองหลวงและเมืองบริวารที่มาเลเซียกำลังขยับขยายตัวโดยมีการก่อสร้างทั้งอาคารสูงบ้านเรือนและถนนหนทางที่จะต้องมารองรับการขยายตัวแม้ว่าผังเมืองของหมู่บ้านใหม่ๆเหล่านี้จะถูกออกแบบมาค่อนข้างดีในสายตาของคนที่มาจากกรุงเทพที่โตแบบ “ตามใจฉัน”

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป่าในเมือง หรือ เมืองกลางป่า

ถ้าใครเคยมาเที่ยวที่มาเลเซียแล้วได้ขึ้นไปดูเมืองกัวลาลัมเปอร์จากบนตึกแฝดเปโตรนาส (Petronas Twin Tower) จะเห็นว่า กัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองหลวงที่มีภูเขาผุดอยู่ตรงโน้นตรงนี้เต็มไปหมด ยิ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ฟ้าเปิด ก็อาจจะเห็นทิวเขาติติวังศา (Titiwangsa Range) เป็นแนวตะคุ่มๆอยู่และถ้าใครมีโอกาสได้นั่งรถกินลมชมวิวรอบๆ เมืองก็จะเห็นว่าถนนจะโอบล้อมเนินเขาตรงโน้นตรงนี้มีระดับลดหลั่นไปมาอยู่ตลอดเวลา

Read More
นิเวศในเมือง
read

เสี้ยวเดียว

หลังจากที่เขียนเรื่อง “เที่ยวทิ้งทวน” ไปเมื่อเดือนที่แล้ว ครอบครัวของผู้เขียนก็ออกเดินทาง ไปทิ้งทวนทันที คราวนี้ นอกจากจะได้ไปพบครอบครัวของผู้เขียนที่กรุงเทพตามปกติแล้ว ยังโชคดี ที่มีเวลาพอได้ไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง-เขาค้อ-ภูหินร่องกล้า และจบด้วยอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

Read More
นิเวศในเมือง
read

เที่ยวทิ้งทวน

การวางแผนเที่ยวส่งท้ายปีเพื่อล้างวันลาพักร้อน จึงเป็นกิจกรรมที่หลายๆ ครอบครัว ตั้งตารอ ครอบครัวของผู้เขียน มักจะไปลงเอยตามมุมต่างๆ ของเมืองไทยตามปกติแล้ว ครอบครัวผู้เขียนเดินทางในลักษณะของนักท่องเที่ยวงบจำกัด คือไม่ถึงกับเป็นแบคแพคเกอร์ที่แบกเป้ โบกรถ และค่ำไหนนอนนั่น

Read More
นิเวศในเมือง
read

ควันหลง

นับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ควันไฟที่ถูกพัดพามาจากเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ถล่มสิงคโปร์และมาเลเซียอย่างต่อเนื่องร่วม 2 เดือนซึ่งในปีนี้ถือว่าโดนกระหน่ำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ จะว่าไป สถานการณ์ควันไฟอันแสนสาหัสปีนี้ มีเหตุผลประกอบอยู่หลายอย่าง อย่างแรกนี่ต้องถือว่าโดนลูกหลงจากอิทธิพลเอลนิโญ  เพราะการเผาถางพื้นที่โดยทั่วไปของอินโดนีเซีย แม้ว่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี แต่มาเข้มข้นขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ตรงกับช่วงหน้าแล้งที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่นำอากาศร้อนมาจากทะเลทรายของออสเตรเลียมาปกคลุมพื้นที่ที่อยู่เหนือออสเตรเลียขึ้นมา  ซึ่งมาเลเซียฝั่งตะวันตก (คาบสมุทรมลายู) ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากควันไฟที่ลอยขึ้นมาจากเกาะสุมาตรา ในขณะที่ควันไฟจากรัฐกลิมันตันของเกาะบอร์เนียว ลอยเข้าไปยังทางรัฐซาราวัคและซาบาห์ จนเป็นเหตุให้กระทรวงศึกษาธิการที่นี่ต้องประกาศหยุดโรงเรียนเป็นระยะๆ ตามความสาหัสของค่าดัชนีมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Index: API) ตอนต้นเดือนตุลาคม ในช่วงวันที่เมืองชาห์ อาลาม อันเป็นเมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ที่ผู้เขียนอยู่นี้มีค่าดัชนีพุ่งสูงถึง 308 มีประกาศจากทางการให้โรงเรียนกว่า 2,500 แห่งใน 6 รัฐต้องหยุดเรียนไป 4 วัน ทำให้นักเรียนกว่า 1.7 ล้านคนแสดงความดีใจอย่างกลั้นไม่อยู่เนื่องจากมีผลให้เลื่อนการสอบออกไปอีกหนึ่งสัปดาห์ในขณะที่ผู้ปกครองต่างพากันเครียดทั้งจากควันไฟนอกบ้านและบรรยากาศมาคุภายในบ้านเนื่องจากต้องเคี่ยวเข็ญให้ลูกๆอ่านหนังสือเตรียมตัวก่อนสอบอีกรอบหนึ่ง เหตุผลที่สอง เป็นเรื่องของสถานที่เกิดเหตุ ถ้าหากดูจากแผนที่แสดงป่าพรุบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย คาบสมุทรมลายู และเกาะบอร์เนียวแล้ว (แผนที่)  จะเห็นว่ามีป่าพรุครอบคลุมพื้นที่อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของป่าพรุคือเป็นป่าชุ่มน้ำที่มีซากพืซทับถมอยู่ในชั้นใต้ดิน ถือว่าเป็นคลังเก็บคาร์บอนของโลกที่ดีเยี่ยม เพราะเมื่อกิ่งไม้น้อยใหญ่เหล่านั้นจมอยู่ในน้ำ พวกมันไม่เปิดโอกาสให้จุลินทรีย์ต่างๆ เข้ามาย่อยสลายได้อย่างง่ายดายเหมือนอย่างซากต้นไม้ในป่าร้อนชื้นทั่วไป หากมีการขุดดินพรุขึ้นมา ดินชั้นล่างอาจมีอายุมากถึง 6-7 พันปี […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เรื่องเป็นชิ้นเป็นอันของขยะ

เชื่อว่าคนจำนวนมากที่เป็นเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ คงปฎิเสธไม่ได้ว่า ซิงเกิ้ลเพลง “อ๊ะ อ๊ะ อย่าทิ้งขยะ ตาวิเศษเห็นนะ” เป็นหนึ่งในบรรดาของสิ่งที่ทำให้เรามีความคุ้นเคยร่วมกัน

Read More
นิเวศในเมือง
read

ชีวิตทันใจ

ระบบการวางเส้นทางของรถเมล์ที่นี่ ที่ทำให้เราไม่สามารถกระโดดขึ้นรถเมล์ไปไหนมาไหนได้อย่างกรุงเทพฯ (ลองนึกดูว่าถ้าทุกครั้งที่ต้องการเดินทางจากสุขุมวิทหรือสีลมเพื่อไปวงเวียนใหญ่นั้น เราต้องนั่งรถเข้าไปยังสนามหลวงซะทุกครั้งไป ใช้เวลารอรถและต่อรถเกือบ 2 ชั่วโมง รถและมอเตอร์ไซค์บนถนนในกรุงเทพฯ คงมีมากกว่านี้อีกหลายเท่า) เด็กๆ จึงต้องใช้ชีวิตแบบให้ทันใจพ่อแม่ผู้มีหน้าที่รับส่ง การไปไหนมาไหนด้วยรถยนต์จึงเป็นเรื่องปกติ

Read More
นิเวศในเมือง
read

เพียงพอ

เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้บ้านผู้อ่าน (ส่วนมาก) แต่ไกลบ้านผู้เขียน เพราะได้ไปลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่จังหวัดกระบี่และสุราษฏร์ธานี ความน่าสนใจของสิ่งที่ได้พบเจอ ถึงกับทำให้คณะทำงานของผู้เขียนซึ่งมีชาวต่างชาติอีก 2 ท่าน ถึงกับอ้าปากค้างเมื่อได้เห็นวิธีทำการเกษตรพื้นบ้านของเรา

Read More
นิเวศในเมือง
read

แบ่งๆ กันกิน

สามสี่เดือนที่ผ่านมา มีแมววัยหนุ่มแวะเข้ามานั่งเล่นในบ้านหลายครั้งหลายครา สองหนุ่มน้อยที่บ้านจึงเริ่มหาอาหารในครัวมาให้กินตามธรรมเนียมของเจ้าบ้านที่ดี แต่ที่บ้านไม่ค่อยมีอาหารเหลือถึงแมว เพราะผู้เขียนชอบที่จะทำคราวละสองสามอย่างพอทานกันในมื้อนั้นๆ ท้ายที่สุดเด็กๆ ก็เลยมาขอให้แม่ซื้ออาหารแมวมาให้ ซึ่งได้ถูกตั้งชื่ออันแปลได้ตรงตัวว่า “พี่ตระหนก” เพราะพอมีเสียงอะไรนิดอะไรหน่อย แมวหนุ่มตัวนี้ก็มีอาการสะดุ้งหลบทุกครั้ง รวมทั้งยังเป็นแมวที่กล้าๆ กลัวๆ ขนาดที่ว่าชามใส่อาหารที่วางไว้ตรงที่หน้าประตูแต่ถ้าหากไม่มีใครเดินนำทางมาที่จาน พี่ตระหนกก็จะไม่ออกมากิน หลังจากมีอาหารเลี้ยงแมววางอยู่หน้าบ้าน ก็พอจะเข้าใจแล้วว่า “หัวบันไดบ้านไม่แห้ง” เป็นยังไง อยู่ๆ ก็มีทั้งแขกไม่ได้เชิญหลายชนิดแวะเข้ามาจิกกินอาหารแมวจากชาม ทั้งนกเอี้ยงสาริกา นกกางเขน รวมไปถึงเจ้ากระแตจมูกยาว ที่วิ่งหลบไปหลบมาลองเชิงอยู่หลายครั้ง สุดท้ายก็กล้ามานั่งกินให้เห็นต่อหน้า พ่อบ้านเล่าให้ฟังว่า วันไหนที่ชามว่างเปล่า เจ้ากระแตจะมาส่งเสียงดังที่ลูกกรงประตูเป็นพักๆ ราวๆ กับว่ามาสั่งออเดอร์ให้ต้องเอาอาหารแมวมาเติมให้ ผู้เขียนและครอบครัวไม่แน่ใจว่าทำถูกหรือเปล่าที่ปล่อยให้อาหารแมวกลายเป็นอาหารนก (โชคดีที่นกยังไม่กลายเป็นอาหารแมว แม้ว่าพี่ตระหนกจะดักซุ่มอยู่บ้าง) แต่มองไปรอบๆ แล้ว ในบรรดาบ้านเกือบ 30 หลังคาในซอยนี้ บ้านของผู้เขียนเป็นบ้านที่มีต้นไม้ที่หน้าบ้านมากกว่าบ้านอื่นๆ ที่ส่วนมากจะเปลี่ยนสนามหญ้าบริเวณอันน้อยนิดให้เป็นที่จอดรถ ดังนั้น ต้นมะม่วง ต้นไผ่ และรั้วต้นเข็มจึงกลายเป็นที่พักพิงของสัตว์ในเมืองก๊วนนี้ ชามอาหารแมวจึงกลายเป็นของสาธารณะไปด้วยอย่างช่วยไม่ได้ นั่งดูเพื่อนต่างสายพันธุ์ที่วนเวียนกันมากินอาหารจากชามเดียวกันแบบนี้นี่มันน่ารักจริงๆ เพราะว่าต่างก็มากินเพื่อความอยู่รอดแบ่งๆ กันไปทั้งสี่เท้าสองเท้า บางครั้งตอนเดินออกจากบ้านเห็นอาหารตกหล่นอยู่บนพื้น 2-3 ชิ้น พอกลับมาอีกทีก็หายไปจากพื้นแล้ว เป็นอันว่าตัวใดตัวหนึ่งในก๊วนนั้นทำหน้าที่เก็บกินทำความสะอาดให้เรียบร้อย เมื่อปลายปีที่ผ่านมา […]

Read More