Tag : สถาปัตยกรรมจากไผ่

Natural Solution
read

ขบวนการเปลี่ยนโลกด้วยกอไผ่

คงจะไม่ผิดหากจะบอกว่าไผ่คือพืชมหัศจรรย์เพราะนอกจากจะเป็นพืชที่โตเร็วที่สุดในโลกสามารถขึ้นได้ในแทบจะทุกสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศเป็นแหล่งอาหารเป็นที่พักอาศัยของทั้งสัตว์ป่าและมนุษย์มาแต่โบราณกาลไผ่ยังกลายมาเป็นทรัพยากรสำคัญในการตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนและอาจเป็นกุญแจที่ช่วยให้มนุษย์ฝ่าวิกฤติสิ่งแวดล้อมแก้ปัญหาความยากจนความมั่งคงทางอาหารและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในคราวเดียวกัน ไผ่เป็นพืชที่มีลำต้นสูง อยู่รวมกันเป็นกอขนาดใหญ่ การขึ้นอยู่รวมกันทำให้มันสามารถทรงตัวได้ดีขึ้น รูปทรงของกอไผ่จำลองมาจากกอหญ้าเล็กๆที่เราคุ้นเคย เพราะความจริงไผ่คือหญ้ายุคโบราณที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ 30-40 ล้านปีที่แล้วเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์กินพืชตั้งแต่อ้นเม่นหมูป่าไปจนถึงเก้งกวางกระทิงหรือแม้แต่ช้าง ป่าไผ่ยังเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของโลกหลายชนิดเช่น แพนด้ายักษ์ (จีน) กอริลล่า (อูกันดา/รวันดา) ลีเมอร์ป่าไผ่ (มาดากัสการ์) ค้างคาวป่าไผ่ (จีน) ในอเมซอนมีรายงานว่านกอย่างน้อย 34 ชนิดพึ่งพาอาศัยป่าไผ่โดยเฉพาะยังไม่นับเห็ดรากว่าพันชนิดที่พบขึ้นอยู่กับกอไผ่หลายชนิดมีความเฉพาะเจาะจงกับไผ่ชนิดนั้นๆ ไผ่สามารถโตได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายมาก ตั้งแต่เขตแห้งแล้งไปจนถึงพื้นที่ชื้นแฉะหรือบนภูเขาสูง เพราะโดยธรรมชาติไผ่เป็นพืชที่ปรับตัวได้ดี ทั่วโลกมีไผ่กว่า1200 ชนิด ในไทยพบได้มากกว่า 60 ชนิด แต่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายประมาณ 10-20 ชนิดเท่านั้นเราจึงยังมีโอกาสศึกษาวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากไผ่ได้อีกมากมาย ไผ่เป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่โตเร็วอย่างเหลือเชื่อและมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นมาก ไผ่บางชนิดสามารถโตได้กว่า 1 เมตรภายใน 24 ชั่วโมง ไผ่ส่วนใหญ่จึงโตเต็มที่และพร้อมเก็บเกี่ยวได้ภายในเวลา 1-3 ปีเท่านั้นในขณะที่ไม้เนื้อแข็งต้องใช้เวลานับสิบปีหรือมากกว่ากว่าจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ การปลูกไผ่ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือใช้ยาฆ่าแมลงระบบรากที่กว้างขวางและแข็งแรงของไผ่ยังช่วยตรึงไนโตรเจนปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้นและช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดินนอกจากนี้ไผ่ยังไม่ต้องปลูกใหม่ทุกครั้งที่เก็บเกี่ยวเพียงเหลือหน่อและรากเอาไว้ไผ่ก็จะฟื้นคืนกลับมาได้อีกเท่ากับว่าเราสามารถมีไม้ใช้ได้อย่างยั่งยืนภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ไม้ไผ่เป็นพืชสารพัดประโยชน์ เราสามารถนำไผ่มาแปรรูปได้แทบจะทุกส่วน หน่อเพื่อการบริโภค ขุยนำมาทำเป็นปุ๋ย ใยใช้เป็นเครื่องขัดผิว ลำสำหรับใช้ในการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย หรือใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมในครัวเรือน อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบอย่างทันสมัยไปจนถึงตะเกียบที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ความจริงไผ่สามารถแปรรูปได้หลากหลายมากและสามารถนำมาแทนที่การใช้ไม้ได้เกือบทุกประเภทตั้งแต่กระดาษแผ่นปูพื้นเฟอร์นิเจอร์ถ่านวัสดุก่อสร้างถ้าเทียบกันใยต่อใยเส้นใยของไผ่แข็งแกร่งพอๆกับเหล็กทนทานพอๆกับซีเมนต์และมีโอกาสผิดรูปบิดงอจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมน้อยกว่าไม้เนื้อแข็งอื่นๆ อุปสรรคสำคัญในอดีตของการใช้ไม้ไผ่มาเป็นวัสดุก่อสร้างคือการป้องกันแมลงกิน ไม้ไผ่ที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้อจะถูกแมลงเจาะกินและเปื่อยย่อยสลายอย่างรวดเร็ว คนจึงติดภาพว่าถ้าเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่จะมีอายุการใช้งานไม่นาน หรือนำมาใช้ได้เฉพาะกับโครงสร้างอาคารชั่วคราว […]

Read More