Tag : แคลิฟอร์เนียเจอภัยแล้ง

คุยข่าวสีเขียว
read

มลพิษที่มากับสายลม

ท่ามกลางข่าวจับกุมชาวเทพา จังหวัดสงขลาที่เดินขบวนไปยืนหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดค้านการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่เมื่อเร็วๆนี้ และต่อมานักวิชาการ 35 รายในชื่อ “นักวิชาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ร่วมกันออกแถลงการณ์ยืนยันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสายวิศวกรรมและพลังงาน และไม่มีหน้าที่ศึกษาผลกระทบเชิงสุขภาพเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่อย่างใด (https://greennews.agency/?p=16008) งานวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหินชิ้นนี้ก็ปรากฎขึ้น ภาพจาก: ผู้จัดการ Online จุดสำคัญของรายงานนี้อยู่ที่การเปรียบเทียบผลกระทบด้านสุขภาพก่อนและหลังการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน และกล่าวถึงผลกระทบที่มีต่อคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้ลม ซึ่งรับมลพิษทางอากาศอย่างก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไปเต็มๆ ผลก็คือทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และคลอดก่อนกำหนด แต่เมื่อปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพียงหนึ่งปีครึ่ง ปัญหาดังกล่าวก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โรงไฟฟ้าถ่านหินพอร์ตแลนด์ตั้งอยู่ในเขตมลรัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งติดกับมลรัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ.2549 เป็นโรงไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นอันดับ 5 ของสหรัฐอเมริกา และถูกปิดตัวลงเมื่อ มิถุนายน 2557 เนื่องจากองค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) ระบุว่าเป็นแหล่งมลพิษแหล่งเดียวที่ทำลายคุณภาพอากาศด้านใต้ลมซึ่งตั้งอยู่ในเขตนิวเจอร์ซี่ และถือเป็นโครงการแรกที่พระราชบัญญัติอากาศสะอาดมีผลบังคับใช้เหนือกฎหมายระดับมลรัฐ กลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยลีไฮ (Lehigh University) ได้ทำการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพทั้งก่อนและหลังปิดโรงไฟฟ้า และเพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Economics and Management โดยเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนและหลังปิดระยะเวลาเท่ากันคือ 1.5 ปี สรุปได้ว่าภายหลังการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีระดับเกือบเป็นศูนย์ ปัญหาน้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ ลดลง 15 % และปัญหาการคลอดก่อนกำหนดลดลง 28 % ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่บริเวณพื้นที่ใต้ลม […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

อัลมอนด์ที่หายไป

ปีนี้แคลิฟอร์เนียเจอภัยแล้งรุนแรงสุดในรอบ 1,200 ปี ถึงขั้นผู้ว่าการรัฐต้องออกมาตรการลดการการใช้น้ำลง 25 เปอร์เซ็นต์ โดยปีที่แล้วแม้จะมีการรณรงค์ให้ลดการใช้น้ำโดยสมัครใจให้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดการใช้น้ำได้เพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น มาตรการล่าสุดเป็นมาตรการเชิงบังคับที่มีบทลงโทษ ผู้ที่ลดการใช้น้ำไม่ได้ตามเป้าจะถูกปรับสูงสุดถึงวันละ 500 เหรียญสหรัฐ (30,000 บาท)

Read More