Tag : Asparagopsis taxiformis

Natural Solution
read

สาหร่ายแดงลดโลกร้อน…ความหวังของคนกินเนื้อและนม

ความนิยมในการบริโภคเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นหนึ่งความท้าทายที่สุดเรื่องหนึ่งของนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพราะรู้ทั้งรู้ว่าวัวเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาล แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะปฏิเสธเมนูเนื้อวัวที่แสนเย้ายวน ยังไม่รวมนม เนย และไอศกรีมหวานมันสุดอร่อย แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าบางทีคำตอบของการเลี้ยงวัวแบบรักษ์โลกอาจมีอยู่จริง เป็นคำตอบที่ซ่อนอยู่ในสาหร่ายสีแดงที่ชื่อ Asparagopsis taxiformis  วัวกลายเป็นผู้ร้ายในปัญหาโลกร้อนก็เพราะวัวนับเป็นตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งถ้าเทียบกันตัวต่อตัวในปริมาณเท่ากันแล้วมีอานุภาพรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ถึง 30เท่า จะว่าไปการปล่อยก๊าซมีเทนด้วยการตดหรือการเรอก็ไม่ใช่ความผิดของวัวที่แต่เป็นลักษณะทางชีววิทยาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับบรรดาสัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ที่กินหญ้าและอาหารที่มีเซลลูโลสเป็นองค์กระกอบสูงจำเป็นต้องพึ่งแบคทีเรียในกระเพาะอาหารช่วยย่อยในกระบวนการหมักที่เรียกว่า enteric fermentation ผลผลิตของกระบวนการย่อยอาหารของวัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ เพราะฉะนั้นวัวจึงต้องเรอและผายลมเพื่อระบายก๊าซออกทั้งวัน ประมาณ 90% เป็นการเรอ ที่เหลืออีก 10% เป็นตด วัวตัวหนึ่งปล่อยก๊าซมีเทนออกมาถึง 200-500 ลิตรต่อวัน คราวนี้ลองคูณกับจำนวนวัวที่มีมากกว่า 1.5 พันล้านตัวทั่วโลก ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรกรรมของสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าการทำปศุสัตว์ทั่วโลกทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่ากับการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 7 พันล้านตันต่อปี หรือคิดเป็น 14.5% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ทั้งหมด เมื่อรวมๆกันแล้วปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำปศุสัตว์จึงสูงกว่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ของรถยนต์และเครื่องบินรวมกันทั้งหมดเสียอีกนี่จึงเป็นที่มาว่าถ้าอยากจะช่วยลดโลกร้อนให้ลดการบริโภคเนื้อวัว แม้สัตว์เคี้ยงเอื้องอื่นๆ เช่นแกะ แพะ ควาย ต่างก็ผลิตก๊าซมีเทนเช่นกัน แต่วัวก็ยังนับว่าเป็นตัวการหลัก โดยปล่อยก๊าซมีเทนคิดเป็น 65% จากกิจกรรมปศุสัตว์ทั้งหมด เมื่อเร็วๆ นี้ เคน คัลไดรา นักวิจัยจากภาควิชานิเวศวิทยาโลก คณะวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันคาร์เนกี้ […]

Read More