in Wild Watch on May 19, 2017

จักจั่นเมืองกรุง

read |

Views

จักจั่น  เป็นแมลงดึกดำบรรพ์ที่กำเนิดขึ้นมาในโลกนี้เมื่อราว 200 ล้านปีก่อน ก่ากว่ายุคคลาสสิคซะอีก  ปัจจุบันโลกเรามีจักจั่นอยู่มากกว่า 2,500 สายพันธุ์ เเละนี่อาจยังไม่รวมชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ค้นพบอีกมากมาย

ทุกคนคงเคยได้ยินเสียงร้องของจักจั่น โดยเฉพาะเวลาที่เราไปพักผ่อนต่างจังหวัดในบริเวณที่เป็นป่าสักหน่อย  ความเงียบของสถานที่มักจะถูกขัดจังหวะด้วยเสียงร้องดังไปทั่วบริเวณ  แต่แทนที่จะรู้สึกรำคาญหลายคนกลับมองว่าเป็นเสียงที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย  จักจั่นมีอายุที่ยาวนานแต่มันจะโผล่ออกมาขับขานเสียงเพลง แค่ช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น  เพราะชีวิตส่วนให้ซึ่งเป็นตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ใต้ดินชื้นๆ หรือใต้รากไม้ใหญ่ๆ เเละอาศัยดูดนำจากรากไม้เป็นอาหาร พอโตขึ้นมาก็ลอกคราบ บินได้ ส่งเสียงร้อง “จั่น จั่น จั่น จั่น” เเบบนี้นานๆ ไม่มีทีท่าว่าจะเหนื่อยกัน ในช่วงนี้พวกมันมีอายุไม่มากเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์เเละก็ตาย

เสียงที่เราได้ยินเป็นเสียงของจักจั่นหนุ่ม ส่วนสาวๆ ทำเสียงไม่ได้ เเล้วก็ไม่ใช่เสียงที่ร้องออกมาจากปากของมัน แต่การสั่นตัวของกล้ามเนื้อภายในช่องท้องนั่นเอง  ซึ่งการทำเสียงก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น  เตือนภัย  ร้องเรียกความสนใจจากจักจั่นสาว  คนสมัยก่อนใช้พวกมันเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่า “ฤดูร้อน” ได้เริ่มขึ้นแล้ว

นอกจากต่างจังหวัดเเล้วยังพบว่าในถิ่นเมืองหลวงมหานครที่มีเเต่ตึกรามบ้านช่องใหญ่โตใครจะรู้ว่าจริงๆ เเล้วก็มีจักจั่นอาศัยอยู่เช่นกัน

รู้ได้อย่างไรว่ามีจักจั่นในกรุง?

ก็รู้ได้จากตำเเหน่งตามจุดต่างๆ ที่สมาชิกของมูลนิธิโลกสีเขียวช่วยกันส่งเข้ามาผ่าน line app ในสมาร์ทโฟนที่เราๆ ต่างก็ใช้กันเกลื่อน ซึ่งในสัปดาห์เเรกมีจำนวนมากถึง 42 จุด ในกรุงเทพเเละปริมณฑล

เเผนที่เเสดงตำแหน่งของจักจั่นจากการได้ยินเสียงของพวกมันร้องก็ดี เห็นตัวของพวกมันก็ดี มีการกระจายตัวอยู่ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งบริเวณดังกล่าวก็เป็นพื้นที่สีเขียวของต้นไม้น้อยใหญ่ให้เป็นที่สำหรับมาประชันขันเเข่งของจักจั่นหนุ่มส่งเสียงร้องอวดจักจั่นสาวกัน หรือไม่ก็ในบริเวณนั้นอาจเป็นพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เเละอาจเป็นดินที่ไม่มีสารค้างพิษค้างอยู่ เพราะบริเวณใต้ดินนี้จะเป็นเเหล่งอนุบาลชั้นดีของตัวอ่อนจักจั่น

จักจั่นในกรุง

ในประเทศไทยมีจักจั่นอยู่หลายชนิด เเต่เสียงที่หลายคนเคยได้ยินกันในกรุงเทพจะเป็นเสียงของ จักจั่น ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dundubia nagarasingna ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีผู้ตั้งชื่อภาษาไทยไว้ก็เลยเรียกรวมๆ กันว่า “จักจั่น” นั่นเอง

Green world Foundation

ข่าว และ บทความจากทีมงานมูลนิธิโลกสีเขียว เพื่อความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมไทย

Email

Share