in Wild Watch on December 21, 2016

แผนที่ “มังกรกรุงเทพ”

read |

Views

เดือนตุลาคมนี้ เป็นการสำรวจสัตว์ชนิดหนึ่งหน้าตาดูไม่หล่อเหลาเเละน่ารักมากนัก หลายคนเห็นเข้าถึงกับต้องตกใจเเละวิ่งหลบไปทันทีที่เจอเพราะกลัวว่ามันจะทำอันตราย มันมีชื่อเท่ๆ ตามเเบบฉบับของนักวิทยาศาสตร์ว่า “Varanus salvator” มีชื่อที่ฝรั่งเรียกกันว่า “Water monitor” ส่วนพี่ไทยเรียกว่า “เหี้ย” เเละก็มีชื่อเก๋ๆ อีกชื่อว่า “มังกรกรุงเทพ” ที่เรียกมังกรก็เพราะว่ามีญาติเป็นถึงฝรั่งมังค่าคือ มังกรโคโมโด (Komodo dragon) ขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลส่วนมังกรกรุงเทพมีขนาดรองมา

เรามองว่าตัวเหี้ยน่าเกลียดน่ากลัวเเต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นมีนิสัยที่ไม่ดีเเละดุร้าย สัตว์หลายชนิดมีบทบาทในระบบนิเวศและมีบทบาทในการรักษาสมดุลให้กับธรรมชาติตัวเหี้ยก็เป็นหนึ่งในนั้น มันเป็นผู้รักษาสมดุลของระบบนิเวศ อาชีพหลักของมันคือกำจัดซากสัตว์เน่าเปื่อยกินเป็นอาหารหรือเรียกได้ว่ามันเป็นเหมือนเทศบาลที่คอยมาเก็บกวาดขยะ เน่าเปื่อย ที่สำคัญมันช่วยป้องกันโรคระบาดของสัตว์ที่ตามมากับซากเน่าเปื่อยนี้ได้อีกทาง

คลิ๊กเพื่อดูภาพขยาย

สัปดาห์ที่สี่ของเดือนนี้มีรายงาน location 28 จุด รวมทั้งหมดของเดือนตุลาคมนี้มีรายงาน 88 จุด กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพเเละปริมณฑลบางส่วน

กรุงเทพซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีเเม่น้ำ คลอง เเละมีพื้นดินเเละเเน่นอนว่าต้องมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความเหมาะสมให้เหี้ยอยู่ได้  ซึ่งตำเเหน่งส่วนใหญ่บนเเผนที่ google map จะเป็นพื้นที่ที่มีเเหล่งน้ำ เช่น บ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ ริมเเม่น้ำ เเละเป็นพื้นที่สีเขียวอยู่บ้าง เช่น สวนสาธารณะ สวนส่วนตัว เเสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ที่ยังมีความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่จะเป็นเเหล่งอาศัยเเละหาอาหารของตัวเหี้ยได้  เเละมันก็ถูกจัดเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศมันที่จะบอกถึงระบบของธรรมชาติที่ดี

Green world Foundation

ข่าว และ บทความจากทีมงานมูลนิธิโลกสีเขียว เพื่อความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมไทย

Email

Share