เคล็ด (ไม่) ลับกับบันทึกธรรมชาติ

Date

10 October 2015

Time

8:30 am - 4:00 pm

Place

สวนหลวง ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ

รายละเอียดกิจกรรม

มาหัดบันทึกธรรมชาติด้วยสมุดทำมือของตัวเองกันเถอะ

การบันทึกธรรมชาติเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงเราเข้ากับธรรมชาติ

เพราะทุกครั้งที่เราบันทึก เราต้องสังเกต จดจำรายละเอียด จึงถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร ลายเส้นและสีสันอันงดงามได้

ยิ่งได้เก็บความประทับใจของธรรมชาติลงในสมุดที่เราทำเองกับมือ ยิ่งภูมิใจฝุดๆ ว่าเป็นฝีมือของตัวเองล้วนๆ

มูลนิธิโลกสีเขียวชวนครอบครัวมาหัดบันทึกธรรมชาติรอบตัวด้วยสมุดบันทึกที่ทำเองกับมือ กับเจ้าของเพจบันทึกสีไม้ by ครูกุ้ง”  ใน…….

กิจกรรม Green Training ครั้งที่ 4 ตอน “เคล็ด(ไม่) ลับกับบันทึกธรรมชาติ”

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา ­­­8.30-16.00 น.

ณ สวนหลวง ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ

กรอกใบสมัครได้ที่  http://goo.gl/forms/Yup5szGGat


กำหนดการ

ช่วงเช้า

8.30 น. ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง ณ ศาลามะหาด

  • แนะนำตัว
  • กิจกรรม “สนุกกับการทำสมุดบันทึกธรรมชาติ” โดย คุณปรีชา การะเกตุ       ฝึกตั้งแต่เย็บเล่ม ตลอดจนตกแต่งหน้าปกสมุดบันทึกของตนเอง

เที่ยง

ปิกนิกในสวน (นำอาหารและเครื่องดื่มมารับประทานร่วมกัน หลีกเลี่ยงภาชนะใส่อาหารที่เป็นกล่องโฟม)

ช่วงบ่าย    

  • ฝึกหัดการใช้ประสาทสัมผัสในการวาดภาพที่แสดงให้เห็นว่าใครๆ ก็วาดภาพได้
  • กิจกรรม “เทคนิคและเคล็ดลับการบันทึกธรรมชาติ โดย ครูกุ้ง”

เรียนรู้แนวคิดและวิธีการบันทึกธรรมชาติ รวมทั้งเทคนิคการใช้สีไม้เบื้องต้นในการวาดพืชพรรณไม้ ดอกไม้ นก และอื่นๆ

  • ฝึกบันทึกธรรมชาติผ่านเกมส์สนุกๆ ที่ช่วยสร้างความมั่นใจในการวาดและบันทึกธรรมชาติ
  • ลองบันทึกธรรมชาติด้วยตัวเอง โดยออกเดินสำรวจและบันทึกธรรมชาติภายในสวนหลวง ร.9 ซึ่งมีแง่มุมที่หลากหลายให้บันทึกได้ตามต้องการ
  • โชว์ผลงาน สมุดบันทึกธรรมชาติทำมือที่ผ่านการบันทึกอย่างสวยงาม ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันก่อนแยกย้ายกลับบ้าน
  • (กิจกรรมเสร็จสิ้น เวลาประมาณ 16.00 น.)

หมายเหตุ : เวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมจะปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของสถานที่และผู้เข้าร่วม

1.วิทยากร

  • คุณธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์ (ครูกุ้ง) : นักบันทึกธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญภาพวาดสีไม้,นักวาดภาพประกอบรายการ Nature Spy (ช่อง ThaiPBS) และคู่มือศึกษาธรรมชาติ
  • คุณปรีชา การะเกตุ : แอดมินเพจบันทึกสีไม้ by ครูกุ้ง

2. จุดนัดหมาย ศาลามะหาด ข้ามสะพานวิมลสาคร ศาลาจะอยู่ขวามือ

(เข้าทางประตูที่ 5 (มณฑารพ) ฝั่งเสรีเซ็นเตอร์ ถนนศรีนครินทร์)

3. สิ่งที่ต้องเตรียม เสื่อหรือผ้ายางปูนั่ง (ถ้ามี)

4. อาหารกลางวัน นำมารับประทานร่วมกัน (โปรดใส่ในภาชนะที่นำกลับไปใช้ใหม่       ได้ เช่น ปิ่นโต กล่องข้าว เป็นต้น)

5. กระติกส่วนตัวสำหรับใส่น้ำดื่ม (มีน้ำดื่มสำหรับเติม)

6. อุปกรณ์กันแดด/ฝน เช่น หมวก ร่ม ครีมกันแดด ฯลฯ

7. กระดาษห่อปกสมุดบันทึก ลายที่ชอบ ชนาด A4 จำนวน 2 แผ่น


ลงทะเบียน: กิจกรรมเหมาะสำหรับเด็ก (ประถมฯ 4 หรืออายุ 10 ปีขึ้นไป) และครอบครัว

สอบถาม: คุณอนงค์รัตน์ เพชรสัมฤทธิ์    ฝ่ายกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา

โทรศัพท์ 02 662 5766-7 มือถือ 08 9793 8233

สรุปผลกิจกรรม

เคล็ด(ไม่) ลับ กับบันทึกธรรมชาติ ตอนที่ 1: บันทึกทำมือเชื่อว่าสมัยเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านน่าจะเคยจดสมุดบันทึกกัน ช่วงที่เรายังเด็กนั้น เราไม่รู้หรอกว่ามันจะมีคุณค่าอย่างไร แต่พอโตขึ้นแล้วกลับไปเปิดอ่านอีกครั้ง ความทรงจำในวัยเด็กที่เคยหายไปก็กลับมาอีก และความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้นๆ ก็กลับมาด้วย สมุดบันทึกจึงเหมือนกับเครื่องย้อนเวลาให้กลับคืนไปสู่อดีต เหมือนได้นั่งไทม์แมชชีนของโดเรมอนกลับไปอีกครั้ง

เช้าวันหยุดช่วงปิดเทอม เราพ่อแม่ลูกมาเข้ากิจกรรม Green Training ครั้งที่ 4 ตอนเคล็ด(ไม่)ลับ กับบันทึกธรรมชาติ จัดโดยมูลนิธิโลกสีเขียว ณ สวนหลวง ร.9 นำการบันทึกโดย ครูกุ้ง (ธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์) เจ้าของเพจ ‘บันทึกสีไม้ by ครูกุ้ง’ นักบันทึกธรรมชาติผู้เชี่ยวชาญภาพวาดสีไม้  ผู้วาดภาพประกอบรายการ Nature Spy (ช่อง ThaiPBS) ร่วมด้วยครูปรีชา การะเกตุ  ซึ่งเป็นครูผู้สอนเรื่องการทำสมุดทำมือในครั้งนี้

ครูปรีชาเล่าว่า สมุดกับหนังสือทำมือมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ คัมภีร์ไบเบิ้ลก็เย็บด้วยมือเช่นกัน กระบวนการทำสมุดเริ่มจากการเตรียมปกโดยใช้กระดาษแข็งขนาด A5 ส่วนกระดาษห่อปกเป็นขนาด A4 ถ้าใครชอบแนวธรรมชาติ แนะนำให้ใช้กระดาษสาเพราะจะทำให้สมุดดูดีทีเดียว แต่สำหรับเด็กๆ อาจเป็นกระดาษห่อของขวัญ หรือกระดาษลายการ์ตูนที่ตัวเองชอบก็ได้ นอกจากนั้นก็ต้องเตรียมกระดาษรองปก หมายถึงกระดาษที่ใช้ปิดด้านหลังปกด้านในของสมุดนั่นเอง เป็นกระดาษแบบบาง ปกติจะเป็นกระดาษสีขาวธรรมดาขนาดเท่ากระดาษปก

กระบวนการห่อปกเป็นช่วงที่สนุกสำหรับเด็กๆ เพราะอุปกรณ์ที่คุณครูใช้ทากาวคือแปรงลูกกลิ้งกาว คล้ายๆ แปรงทาสีขนาดเล็ก เริ่มจากทากาวให้ทั่วกระดาษปก วางลงบนกระดาษห่อปก ติดหุ้มขอบทั้งสี่ด้านเข้ามา จากนั้นนำกระดาษรองปกมาปิดทับเพื่อความสวยงามของปกด้านใน

สมุดทำมือแบบดั้งเดิมใช้เทคนิค Double Needle Coptic Stitch สำหรับการเย็บกระดาษในเล่ม กระดาษ 1 ยกเท่ากับ 6 คู่  เจาะรูด้านสันพับและที่ขอบปก 4 รู ห่างกัน 2 นิ้ว แล้วเย็บโดยใช้ด้ายสีขาวเส้นใหญ่ เทคนิคนี้เหมาะกับเด็กประถมปลายขึ้นไป หากเล็กกว่านั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องช่วยเย็บด้วย ทางพิพิธภัณฑ์เด็ก ศูนย์การเรียนรู้สำหรับครอบครัว ทุ่งครุ แนะนำสมุดโน้ตทำมือแบบรีไซเคิล คือนำกระดาษที่ใช้แล้วด้านเดียวมาทำเป็นกระดาษจดบันทึก โดยการพับครึ่งด้านที่ยังไม่ได้ใช้ขึ้นด้านหน้า หันด้านที่เป็นสันออก และเย็บด้านที่เป็นขอบกระดาษแทน การทำสมุดทำมือนั้นดูเหมือนง่าย จริงๆ แล้วความยากอยู่ที่เทคนิคการเย็บ เพื่อให้ออกมาเป็นลวดลายที่สันปกสวยงามไม่เหมือนใครต่างหาก

ที่มา: http://www.travelwithkids.in.th/