Bangkok Wild Watch 2016: at Lumpini Park
Date
23 December 2016
Time
7:00 am - 12:00 am
Place
ศาลาพิศพิรุณ (เกาะลอย) สวนลุมพินี เขตปทุมวัน
รายละเอียดกิจกรรม
ถึงเวลาตรวจสุขภาพเมืองประจำปีในงาน Bangkok Wild Watch 2016: at Lumpini Park สำรวจชีวิตป่าเมืองกรุง ตรวจสุขภาพกรุงเทพฯ กับมูลนิธิโลกสีเขียว ร่วมสำรวจสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสวนลุมพินี ครั้งนี้แบ่งกลุ่มสำรวจสิ่งมีชีวิตออกเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วยกลุ่มสำรวจนก กลุ่มสำรวจพรรณไม้ กลุ่มสำรวจไลเคน กลุ่มสำรวจแพลงก์ตอน กลุ่มสำรวจสัตว์หมวด ก. (กิ้งก่า, กระรอก, กบ) กลุ่มสำรวจปลาเเละสัตว์น้ำ กลุ่มสำรวจสัตว์หน้าดิน (ไส้เดือน, กิ้งกือ, หอย) กลุ่มสำรวจผีเสื้อ เเมง เเมลงอื่นๆ เเละกลุ่มสำรวจเหี้ย
เราอยู่ได้ เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ได้” เป็นเหตุผลที่เราสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพกันครั้งนี้ เพราะสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหลายเผ่าพันธุ์ ย่อมหมายถึงมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ มีห่วงโซ่อาหาร มีความสมดุลที่เกิดขึ้นในสิ่งเเวดล้อม
ในปีนี้มูลนิธิโลกสีเขียวจึงชวนผู้สนใจร่วมสำรวจชีวิตป่าเมืองกรุง ตรวจสุขภาพกรุงเทพฯ ร่วมกันในวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2559 เวลา 7.00 น. – 12.00 น. ณ ศาลาพิศพิรุณ (เกาะลอย) สวนลุมพินี เขตปทุมวัน
สามารถลงชื่อกลุ่มสำรวจต่างๆ ได้ที่ ด้านล่าง
- นก —> http://bit.ly/2gEDjla
- พรรณไม้ —> http://bit.ly/2gEEcu5
- สัตว์หมวด ก. (กระรอก กิ้งก่า กบและเพื่อน) —> http://bit.ly/2gvLUUq
- ผีเสื้อ แมง และแมลงต่างๆ —> http://bit.ly/2gUa4LX
- ไลเคน & เครือญาติ —> http://bit.ly/2g4M6cI
- ปลาเเละสัตว์น้ำ —> http://bit.ly/2fKbGmA
- สาหร่าย & แพลงก์ตอน —> http://bit.ly/2gEzk8x
- เหี้ย —> http://bit.ly/2fPkdrr
- สัตว์หน้าดิน—> http://bit.ly/2g4Jrjb
สรุปผลกิจกรรม
เรื่อง/ภาพ: กองบรรณาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว
ถึงวันหยุดทีไรหลายคนจัดกระเป๋าเตรียมออกไปหาธรรมชาติกัน จนบางทีอาจลืมว่ายังมีสิ่งมีชีวิตมากมายซ่อนตัวหายใจอยู่ใกล้ๆ เรา เมื่อชุมชนใหญ่ทั่วประเทศกำลังเปลี่ยนเป็นเมือง การหายไปของสิ่งชีวิตอันหลากหลายใกล้ตัวอาจหมายถึงชีพจรเมืองที่เต้นช้าลง
เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา มูลนิธิโลกสีเขียว สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุภาพ (สสส.) เเละองค์กรเครือข่าย กว่า 10 องค์กร ได้เเก่ สวนสาธารณะสวนลุมพินี, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เเห่งชาติ (อพวช.), สำนักอนุรักษ์เเละวิจัยองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, สำหอพรรณไม้ กรมอุทยานเเห่งชาติสัตว์ป่าเเละพันธุ์พืช, มูลนิธิสวนหลวง ร.9, หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยรามคำเเหง, สมาคมอนุรักษ์นกเเละธรรมชาติเเห่งประเทศไทย, กลุ่ม Ecoliteracy & ConservationinAction (ECA) ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเเละสิ่งเเวดล้อม (Siamensis’org), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เเละชมรมรักษ์ผีเสื้อ พร้อมกับเหล่าอาสาสมัครกว่า 200 ชีวิต ร่วมสำรวจชีวิตป่าในเมืองหลวงเพื่อตรวจสุขภาพกรุงเทพฯ ร่วมกันจัดงาน “Bangkok wild watch 2016 @ Limpini – สำรวจชีวิตป่าในเมืองหลวง” ซึ่งปีนี้จัดชึ้นเป็นปีที่ 5 แล้ว โดยมีเจ้าภาพคือ มูลนิธิโลกสีเขียว นำโดยแม่งาน ดร.อ้อย–สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ชูธงนำคนเมืองออกมาสำรวจสิ่งมีชีวิตใจกลางกรุงเทพ
การสำรวจครั้งนี้เเบ่งกลุ่มสำรวจออกเป็น 9 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสำรวจนก กลุ่มสำรวจพรรณไม้ กลุ่มสำรวจเเพลงก์ตอน กลุ่มสำรวจสัตว์น้ำจืด สัตว์เลื้อยคลานเเละสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก กลุ่มสำรวจสัตว์หมวด ก. (กระรอก กระเเต) กลุ่มสำรวจไลเคน และกลุ่มสำรวจผีเสื้อ แมงเเละเเมลงอื่นๆ เเละมีกลุ่มสำรวจสัตว์หน้าดินเพิ่มเข้ามา โดยผลการสำรวจสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 2 ชั่วโมง พบ 155 ชนิด เเบ่งเป็น
กลุ่มสำรวจนก พบนก 27 ชนิด เเบ่งเป็นนกประจำถิ่น 18 ชนิด เเละนกอพยพฤดูหนาว 9 ชนิด นกส่วนใหญ่พบได้ทั่วไป เช่น นกเอี้ยงสาริกา นกเอี้ยงด่าง นกเขใหญ่ นกตีทอง เป็นต้น เเละสามารถจัดเป็นกลุ่มได้โดยเเบ่งตามอาหารที่กิน คือ กินพืช กินเเมลง หากินตามพื้น หากินบนต้นไม้ รวมถึงหากินบนฟ้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์และมีอาหารเพียงพอสำหรับเป็นแหล่งอาศัย พักพิงของนกหลากหลายประเภท ทั้งนกท้องถิ่นและนกอพยพ
กลุ่มสำรวจพรรณพืช ครั้งนี้สำรวจพันธุ์พืชบนเกาะลอยซึ่งมีต้นไม้ที่มาน่าสนใจกว่าบริ
กลุ่มสำรวจสัตว์หมวด ก. (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม) พบ 4 ชนิด ได้เเก่ สุนัข เเมว กระรอก บทบาทของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระรอกเป็นสัตว์เมืองที่ปรับตัวได้ดีมาก กินอาหารได้หลากหลาย จึงเจอกระรอกได้ทั่วไป บทบาทก็คือเป็นตัวกระจายเมล็ดพันธุ์ และเป็นผู้ล่าเมล็ดด้วย เช่น หูกวาง มะขาม หางนกยูงฝรั่ง ส่วนสุนัข แมว ก็มีบทบาทในการจำกัดสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น หนู
กลุ่มสำรวจผีเสื้อ เเมลง เเมง พบทั้งหมด 30 ชนิด กลุ่มเเมลงเเละเเมงเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ดังนั้นจะสามารถพบได้ทั่วไป เช่น ผีเสื้อ เพลี้ย มด ผึ้น ต่อ เเตน เเมลงปอ ด้วง เเมงมุม เป็นต้น การสำรวจครั้งนี้เจอเเมลงในกลุ่มที่ไม่ชอบอยู่ในบริเวณที่ใช้สารเคมีนั่นก็คือ เพลี้ยกระโดดเเละเพลี้ยจั๊กจั่น นอกจากนั้นในบิเวณสวนลุ่มยังพบสัตว์พวกมดเป็นจำนวนมากได้เเก่ มดกระโดดบ้าน มดปุยฝ้ายขาเเดง มดเเดง มดก้นหัวใจ มดตะนอยอกส้ม มดหนามคู่สีเทา มดรำคาญขายาว เป็นกลุ่มของผู้ย่อยสลายเป็นลำดับต้นๆ ที่ช่วยย่อยซากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยให้มีขนาดเล็กลง
กลุ่มสำรวจไลเคน จากการสำรวจบริเวณใจกลางสวนลุมพบไลเคน 11 ชนิด เเบ่งเป็นไลเคน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทนทานมลพิษสูง พบ 5 ชนิด ได้เเก่ ไฝพระอินทร์ ใบมอมเเมม ร้อยรู หัตถ์ทศกัณฐ์กุมน้ำเเข็ง เเละสิวหัวช้าง ส่วนอีกคือ กลุ่มทนทานมลพิษ พบ 6 ชนิด ได้เเก่ ริ้วเเพร ลายเส้น ร้อยเหรียญ ธิดามะกอกดำ หลังตุ๊กเเก เเละไหทองโรยขมิ้น ผลปรากฏว่าบริเวณเเยกราชดำริ – ถนนสารสิน เเละ ร.ร.ลุมพินี – ถนนวิทยุ เเละบริเวณด้านถนนพระราม 4 พบไลเคนกลุ่มทนทานมลพิษปานกลางมากกว่ากลุ่มทนทานมลพิษสูง เเละบริเวณด้านลานพระบรมรูป ร.6 พบไลเคนกลุ่มทนทานมลพิษสูงมากกว่ากลุ่มทนทานมลพิษปานกลางเเสดงให้เห็นว่าคุณภาพอากาศบริเวณดังกล่าวอยู่ในระดับ “เเย่ถึงเเย่มาก” เนื่องจากอยู่ใกล้กับถนนใหญ่ ส่วนบริเวณพื้นที่กลางสวนลุมพบไลเคนกลุ่มทนทานมลพิษปานกลางมากกว่าไลเคนกลุ่มทนทานมลพิษสูงคุณภาพอากาศจึงอยู่ในระดับ “พอใช้” หาเปรียบเทียบกับผลการสำรวจไลเคนในสวนลุมเมื่อปี 2558 ผลอยู่ในเกณฑ์ที่เเย่ลง
การจัดการพื้นที่ เช่น การสร้างเต้นท์ถาวรใกล้กับต้นไม้ที่มีไลเคนอยู่ทำให้เเสงไม่สามารถส่องมาถึงไลเคนเพื่อให้สร้างอาหารได้จึงทำให้ไลเคนบางบริเวณที่มีเต้นท์ตาย นอกจากนั้นการสร้างหรือปรับเปลียนทัศนีย์ภาพของสวนฯ ก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของไลเคนได้ อย่างการนำเครื่องจักรมาช่วยในการขุดดินหรือขนส่งต้นไม้ควันพิษหรือสารเคมีต่างๆ ที่เกิดจากเครื่องจักร เช่น น้ำมันเครื่อง ก็อาจมีผลด้วยเช่นเดียวกัน
กลุ่มสำรวจสัตว์น้ำ พบสัตว์น้ำ 19 ชนิด พบความหลากหลายค่อนข้างมาก โดยสำรวจพบชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลากินยุง ปลาคาร์ฟ ปลาซัคเกอร์ ปลาดุกยักษ์ ปลาหมอฟลามิงโก้ เป็นต้น จากการสำรวจพบปลาขนาดเล็กอย่างพวกปลาบู่ใส ปลาเข็ม ซึ่งอยู่ในเเหล่งน้ำคุณภาพปานกลาง เเละพบปลากินยุง ที่อยู่รวมเป็นฝูงกินลูกน้ำยุงเป็นอาหารอยู่ในน้ำเสีย จึงพอสรุปได้ว่าคุณภาพน้ำอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างเเย่
กลุ่มสำรวจเเพลงก์ตอน พบทั้งหมด 16 ชนิด เเบ่งเป็นเเพลงก์ตอนพืช 7 ชนิด เเละเเพลงก์ตอนสัตว์ 9 ชนิด เเพลงก์ตอนพืชบางชนิดพบว่ามีจำนวนมากซึ่งชี้ให้เห็นว่าน้ำในบ่อน้ำในสวนลุมมีสารอาหารมาเกินไป เช่น Phacus sp. นอกจากนั้นพบ Ceratium sp. มีจำนวนมากเป็นพิเศษ ทำน้ำบริเวณที่พบเเพลงก์ดังกล่าวมีความเป็นพิษสูงเเละอาจทำให้สัตว์น้ำบางชนิด เช่น ปลา อยู่ไม่ได้ ส่วนเเพลงก์ตอนสัตว์ที่พบในปริมาณมาก ได้เเก่ Keratella sp. จึงอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงพบเเพลงก์ตอนพืชจำนวนน้อย ดังนั้นจึงพอสรุปได้คร่าวๆ ถึงคุณภาพของน้ำในบ่อน้ำปานกลางจนถึงเเย่
กลุ่มสำรวจสัตว์เลื้อยคลาน พบ 7 ชนิด ได้เเก่ เหี้ย จิ้งจกดิน เต่านา เต่าบัว ตุ๊กเเก งูเขียวพระอินทร์ เเละพบชนิดพันธุ์ต่าวถิ่น คือ เต่าเเก้มเเดง ในปีนี้มีการสำรวจจำนวนเหี้ยเป็นพิเศษพบทั้งหมด 21 ตัว สามารถเเบ่งได้ 2 ช่วง คือ ตัวเต็มวัย 11 ตัว เเละวัยเด็ก 11 ตัว เหี้ยช่วยกำจัดของเน่าเสียอย่างพวกปลาและสัตว์อื่นที่ตายในบริเวณสวนสาธารณะ นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันการระบาดของโรคที่มาจากสัตว์ที่ตายอีกด้วย
กลุ่มสำรวจสัตว์หน้าดิน พบสัตว์หน้าดินพวกหอย ไส้เดือน ตะขาบเเละกิ้งกือ 12 ชนิด เช่น หอยข้าวสาร ไส้เดือนเเดงเล็ก ตะขาบตาบอด กิ้งกือกระบอกเล็ก เป็นต้น การสำรวจนี้พบชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คือ หอยทากยักษ์แอฟริกันเเละไส้เดือนบราซิล การพบสัตว์หน้าดินเหล่านี้เป็นการบอกสุขภาพของดินที่อยู่ในบริเวณนั้นด้วย เนื่องพวกมันช่วยย่อยสลายซากพืชเเละสัตว์ให้เปื่อยจนเป็นอาหารให้กับต้นไม้ทั้งยังทำให้ดินมีความร่วนเหมาะสมกันการเจริญเติบโตของต้นพืช
การสำรวจครั้งนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก นอกจากจะทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งมีชีวิตอะไรอาศัยอยู่รอบๆ ตัวเราบ้างเเล้ว ยังเป็นการตรวจสุขภาพของป่าที่อยู่ในเมืองอย่างสวนสาธารณะที่เป็นเเหล่งอาศัยเเละหากินของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด ถ้าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากก็อาจหมายถึงว่าสิ่งเเวดล้อมรอบๆ ดี ถ้าสิ่งมีชีวิตต่างๆ อยู่ได้ ชีวิตเราก็อยู่ได้เช่นกัน
ร่วมสมัครกิจกรรม
ขออภัย กิจกรรมนี้ปิดรับสมัครแล้ว