Tag : ก้อนทอง ลุดซาร์มี

นิเวศในเมือง
read

ถุง ตะลุ้งตุ้งแฉ่

ผู้เขียนรู้สึกดีใจเล็กน้อย ที่ขยับจากสัปดาห์ละหนึ่งวัน มาเป็นทุกวัน ด้วยหวังว่าคนที่นี่จะฉุกคิดได้ว่าควรจะเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าตั้งนานแล้ว แต่ความดีใจยังไม่ทันถึงขีดสุด ความสงสัยก็วิ่งเข้าแทรก ด้วยปริมาณของส้มแมนดารินที่พะเนินเทินทึกในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าส่วนมากจะเป็นการขายยกลัง

Read More
นิเวศในเมือง
read

บ้านน้องอยู่ฝั่งทางโน้น

ข่าววงใน (วงการนักวิจัยชะนี) เมื่อหลายเดือนก่อน แพร่กระจายในวงเล็กๆ ว่ามีการพบมีชะนีเซียมังนายหนึ่งทั้งไต่ทั้งเดินดินข้ามทางหลวงไปหาสาว เล่นเอานักวิจัยที่นี่ตื่นเต้นกันมากที่พบว่าชะนียอมลงเดินบนถนน ผู้เขียนเองก็ตื่นเต้นไปด้วย แต่เป็นเพราะกลัวว่าจะถูกรถทับตายเสียก่อนมากกว่า

Read More
นิเวศในเมือง
read

ช.ช้างวิ่งหนี

ผู้เขียนบังเอิญได้มีโอกาสช่วยแปลข่าวเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ที่ประกาศบังคับใช้ไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา คนอยู่เมืองไทยอาจจะได้ผ่านหูผ่านตาไปบ้าง เลยถือโอกาสชวนกันมาทำความเข้าใจเบื้องหน้าเบื้องหลังอีกหน่อยดีกว่า ใครที่เป็นผู้ค้าขายงาช้างบ้าน ซึ่งมาจากช้างไทยในบ้านเราเอง ต้องมาขอใบอนุญาตก่อนดำเนินการ หากฝ่าฝืนมีโทษหนัก จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วน “งาช้างแอฟริกา” ถือว่าเป็นของผิดกฎหมาย ห้ามมีไว้ในครอบครองและค้าขายเด็ดขาด ทำไมงาช้างแอฟริกากลายเป็นเป้าหมายหลักของการกำจัดออกจากระบบการค้างาช้างน่ะหรือ ก็บ้านเราถือเป็น ประเทศปลายทาง หรือศูนย์กลางการค้างาช้างจากแอฟริกาใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน ข่าวการจับกุมงาช้างที่ลักลอบขนผ่านเข้ามาทางสนามบินสุวรรณภูมินั้นมีมาให้เห็นเป็นระยะๆ จนอดเป็นกังวลไม่ได้ว่าเจ้าวิสเปอร์จากเรื่อง Whisper The Elephant Tale จะเป็นหนึ่งในนั้นด้วยหรือเปล่า เพราะคงจะยิ่งเศร้าหนักขึ้นหากว่าต้องซ้ำรอยการจบชีวิตของแม่ที่ตายด้วยน้ำมือของนักล่า พระราชบัญญัติงาช้างนี้มีกฎหมายรองรวม 17 ฉบับออกมา เพื่อทำให้การควบคุมการค้างาช้างบ้าน และการปราบปรามการลักลอกค้างาช้างแอฟริกามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควบคุมได้ทั้งระบบ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยไม่ถูกคว่ำบาตรทางการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าตามสนธิสัญญาไซเตส ซึ่งไทยได้ลงนามเข้าร่วมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ หากใครมีงาช้างบ้านหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้างบ้านไว้ในครอบครอง ที่อาจเป็นมรดกตกทอดมาจากเจ้าคุณปู่หรือจะเป็นของขวัญที่ได้รับในโอกาสใดๆ ก็ตาม ต้องแจ้งการครอบครองนี้ ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 1-16 และสาขา หากท่านอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด กำหนดการแจ้งไว้ภายใน 90 วัน […]

Read More