Tag : สารเคมี

คุยข่าวสีเขียว
read

ป่าต้นน้ำปิง ไร่กระเทียม พาราควอต

ปลายมกราคมที่ผ่านมา ฉันเดินเข้าป่ากับคณะธรรมยาตราต้นน้ำปิง—กลุ่มฆราวาสและพระประมาณ 60 ชีวิตที่มีภารกิจเดินป่าเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ—เริ่มต้นที่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ บ้านเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่นั่นฉันเห็นสวนกระเทียมสีเขียวสดลดหลั่นตามระดับพื้นดินกว้างไกลสุดสายตา แนวต้นไม้ใหญ่หนาทึบอยู่ลิบๆ นั่นคือเส้นแบ่งเขตประเทศไทยกับเมียนมาร์ “ปลูกกระเทียมหนึ่งรอบใช้เวลา 4 เดือน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าแมลงแบบผสมไปกับการให้น้ำทุก 4 วัน” ชาวสวนกระเทียมที่กำลัง “ให้ยา” ผสมไประบบน้ำฉีดพรมลงไปในแปลงกระเทียมให้ข้อมูล ผู้ร่วมทางของฉันซึ่งทำงานอยู่ในแวดวงสารเคมีเกษตรบอกว่าสารเคมีที่ใช้ในสวนกระเทียมเป็นสารเคมีชนิดดูดซึม ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “พาราควอต” และ “ไกลโฟเซต” 3 วันที่เดินลัดเลาะและลุยไปตามแม่น้ำปิง จากสวนกระเทียมสู่แนวป่า จากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่ง จากบริเวณต้นน้ำที่เป็นลำธารน้ำใสสายเล็กๆ บางช่วงสามารถกระโดดข้ามได้ ค่อยๆ ขยายกว้างขึ้น ช่วงต้นน้ำแม้น้ำใสสะอาดแต่ไม่มีสัตว์น้ำอย่างกุ้งหอยปูปลาหรือแมลงปอซึ่งเป็นสัตว์ที่บ่งบอกว่าน้ำมีคุณภาพดีปรากฎให้เห็น บางช่วงน้ำจากสวนกระเทียมไหลผ่านหญ้าที่เหี่ยวเฉาและไหม้เกรียม จนเมื่อเดินลึกเข้ามาในเขตป่าในวันที่สอง จึงเริ่มเห็นชาวบ้านขุดดินกลางแม่น้ำเพื่อวางเครื่องมือหาปลา ยามค่ำคืน คณะของพวกเราหยุดพักค้างคืนริมแม่น้ำปิง ล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พบเห็นช่วงที่เดินผ่านมา กลุ่มคนกรุงเทพและต่างถิ่นบอกเล่าถึงความประทับใจในธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำปิง ทว่า “ตุ๊ลุง” พระวัยเจ็ดสิบที่ทำงานรณรงค์รักษาป่าและแม่น้ำปิงมากว่า 20 ปีกลับบอกว่าสลดใจ เพราะเห็นความเสื่อมโทรมของแม่น้ำและป่าไม้เพิ่มขึ้นทุกปี ตุ๊ลุงเคยเห็นป่าสมบูรณ์ที่บริเวณชายแดนที่ค่อยๆ ผันเปลี่ยนเป็นชุมชน เริ่มจากชาวบ้าน 5 ครอบครัวแรก ขยายพื้นที่กลายเป็นวัดบ้านและสวนกระเทียมดังที่เห็น ส่วนป่าไม้ริมแม่น้ำปิงก็มีไร่สวนรุกคืบเข้ามาจนเกือบถึงแนวแม่น้ำ “เราล็อคคอชาวบ้านเป็นตัวประกัน ๆ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ทำใจเมื่อต้องกินสารพิษ (ตอนที่ 2)

เมื่อเดือนที่เเล้วผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสารพิษตกค้างที่เราบริโภคกันเข้าไปในเเง่จุดเริ่มต้นของสารเคมีเเละผลกระทบที่เกิดกับระบบต่างๆ ในร่างกายของเรา ครั้งนี้เป็นเรื่องราวของผลที่เกิดกับด้านอื่นๆ ของผู้ที่มีการสัมผัสสารเคมีโดยตรง-อ้อม พร้อมบทสรุปของต้นตอของการเกิดปัญหาของสารพิษ ผลต่อสุขภาพในด้านอื่นเนื่องจากสารกำจัดสัตว์รังควาน  ผลร้ายแบบเฉียบพลันมักเกิดกับเกษตรกรผู้ใช้สารพิษโดยตรงเมื่อได้รับสารพิษในปริมาณสูง คือ ความผิดปรกติอย่างรุนแรงต่อระบบประสาท เช่น ปวดและเวียนหัว ตาลาย เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง จมูก ตา และหนักกว่าก็หมดบุญพ้นกรรมไปจากดาวดวงนี้ ส่วนความเป็นพิษเพิ่มเติมต่อเกษตรกรสตรี คือ อาจออกมาในรูปของการมีลูกที่เกิดความผิดปรกติทางร่างกายและฮอร์โมน (ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเกิดลูกวิรูป หรือ Teratogenicity) ความอวดรู้ ความไม่รู้จริง ความมักง่าย นั้นเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มักไม่มีการกล่าวในรายงานเกี่ยวปัญหาของสารพิษที่ใช้กำจัดสัตว์รังควาน ตัวอย่างเมื่อนานมาแล้วผู้เขียนเคยจ้างผู้ที่ทำงานดูแลเกี่ยวกับป่าไม้ให้มาช่วยจัดการกับปลวกที่ขึ้นบ้านหลังเก่าในซอยเสนานิคม สิ่งที่พบ คือ ทั้งผู้คุมงานและคนงานต่างไม่กลัวการสัมผัสกับสารฆ่าปลวก (ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นกลุ่มเดียวกับดีดีที) ด้วยมือเปล่า บางจังหวะของการผสมสารเข้มข้นกับน้ำมีการใช้มือเปล่าในการคนสารให้เข้ากันด้วยซ้ำ เมื่อผู้เขียนถามว่าไม่กลัวอันตรายของสารเคมีหรือ วลีที่เป็นคำตอบประจำของคนไทยคือ “มันชินแล้ว” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรในภูมิภาคใด ถ้าขาดการศึกษาที่ดีพอ คำตอบนี้ก็ยังเป็นอมตะนิรันกาล เหมือนเมื่อพี่วินมอเตอร์ไซต์ให้เหตุผลในการขับรถย้อนศรหรือขับรถขึ้นบนทางเดินเท้านั่นเอง ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 2007 มีรายงานการศึกษาของสถาบันสาธารณสุข (Public Health Institute) ของรัฐแคลิฟอร์เนียร่วมกับคณะสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเมืองเบอร์คเลย์ว่า เด็กที่เป็นลูกของสตรีที่สัมผัสกับสารกำจัดสัตว์รังควานชนิดออร์กาโนคลอรีน มีความเสี่ยงต่ออาการออติซึมสูงกว่าเด็กที่เป็นลูกของสตรีที่ไม่สัมผัสสารพิษถึง 6 เท่า (autism คือ […]

Read More