Lastest on Green Issues

See All
นิเวศในเมือง
read

อ่านไม่ออกก็รู้ความได้

ไม่กี่วันมานี้มีคนรุ่นใหม่ขอให้ฉันอธิบายความหมายของ “การรู้ภาษาสิ่งแวดล้อม” ในมุมมองของตัวเอง หลายคนคงจำได้ว่า eco-literacy หรือ environmental literacy เคยเป็นคำยอดฮิตในวงการสิ่งแวดล้อมเมื่อ 20-25 ปีก่อน และก็เหมือนกับคำหลายๆ คำที่ใช้จนเฝือ เบื่อ และเฟดหายไป ทั้งๆ ที่การปฎิบัติจริงยังไปกันไม่ถึงไหน ถ้ากูเกิ้ลดูก็จะได้นิยามประมาณว่า คือความเข้าใจในหลักการทำงานและความเชื่อมโยงของระบบนิเวศ และการกระทำที่ส่งผลกระทบ เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจได้เหมาะสม แต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อนฉันจำได้ว่าฉันสนุกกับคำศัพท์ ‘literacy’ และเมื่อถูกถาม ฉันก็จะขยายความมันตามประสาคนที่เติบโตมากับเทพนิยายและนิทานผจญภัยก่อนนอน ตอนนั้นฉันเพิ่งจะเริ่มพัฒนากระบวนการสำรวจธรรมชาติภาคประชาชน เรียกว่า “นักสืบสายน้ำ” ให้เด็กๆ และคนทั่วไปสามารถตรวจสอบสถานภาพและความเป็นไปของแม่น้ำลำธารได้เอง ดังนั้น ฉันก็จะบอกว่างานที่ทำคือการฝึกให้คนอ่านสภาพแวดล้อมได้เหมือนอ่านหนังสือ การทำความรู้จักสัตว์ชนิดต่างๆ ก็เปรียบเสมือนรู้จักตัวอักษรพยัญชนะ และพอรู้จักชีวิตมัน รู้จักนิสัย รู้ว่ามันชอบอยู่บ้านแบบไหน ชอบกินอะไร มีความสามารถอย่างไร ชอบคบกับใคร ทนอะไรได้แค่ไหน ก็เปรียบเสมือนเรารู้ไวยกรณ์ ผสมคำกันแล้วก็เริ่มอ่านออก รู้ความหมาย รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้น เบื้องต้นก็อาจแค่รู้ว่าน้ำสะอาดสกปรกแค่ไหน โดยตัดสินจากชนิดสัตว์น้ำที่พบ เทียบเท่ากับอ่านนิทานเต่ากับกระต่ายง่ายๆ แต่ยิ่งฝึกสังเกต คลังคำและไวยกรณ์ก็ยิ่งแตกฉาน ยิ่งอ่านได้มาก […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป่าของคนเมือง

การใช้ชีวิตอยู่ที่มาเลเซียในช่วงสิบสามปีที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกว่าคงจะคิดถึงมากที่สุดเมื่อย้ายกลับเมืองไทย คือการที่มีพื้นที่ป่าของคนเมืองให้ได้ใช้เป็นที่ออกกำลังกาย เข้าถึงธรรมชาติได้อย่างไม่ยากเย็น ทั้งคนที่พักอาศัยอยู่ในเมืองอย่างกัวลาลัมเปอร์และรัฐสลังงอร์ และคนที่อยู่ในรัฐต่างๆ ในรัศมี 50 กิโลเมตรของกรุงกัวลาลัมเปอร์และรัฐสลังงอร์ มีผืนป่าและภูเขาลูกย่อมๆ สำหรับให้คนไปเดินออกกำลังกายหรือปีนเขาไม่ต่ำกว่าสิบแห่ง โดยเป็นพื้นที่ป่าแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนสาธารณะ สวนป่า ซึ่งได้เปลี่ยนสถานภาพจากการใช้ประโยชน์มาเป็น “ป่าของคนเมือง” ไปโดยปริยาย เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของเมือง ก็สามารถเดินทางไปยังผืนป่าเหล่านี้ได้ภายใน 1 ชั่วโมง ในวันหยุดหรือวันที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ผู้เขียนเองก็ชอบที่จะไปเดินออกกำลังกายในป่าเหล่านี้ เปลี่ยนบรรยากาศจากลู่วิ่งมาเป็นเส้นทางลาดชันของเนินเขา เรียกเหงื่อได้ดี แถมมีเสียงนกให้ได้ยินเป็นระยะๆ แม้ว่าจะมีหลายคนรู้สึกตะขิดตะขวงใจว่า ทำไมเอาผืนป่ามาให้คนเดินออกกำลังกายกันอย่างพลุกพล่าน กิจกรรมต่างๆ อาจจะทำให้สัตว์ป่ากลัวหรือหายไป ความจริงแล้ว ป่าคนเมืองเหล่านี้มีลักษณะเป็นเหมือนเกาะกลางทะเลที่ถูกตัดขาดจากป่าผืนอื่นๆ ด้วยถนนหลายสายและบ้านเรือนหลายแห่ง สัตว์ใหญ่ๆ ที่เคยอยู่ในป่า ก็คงล้มหายตายจากไปด้วยเหตุผลนานัปการในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ที่เหลืออยู่ก็มีแต่ลิง กระรอก กระแต งู แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กตัวน้อยที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ ส่วนนกที่สามารถบินไปไหนมาไหนได้ ก็คงไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ ตราบใดที่ยังมีต้นไม้ให้ทำรัง และอาหารให้กิน ที่น่าสนใจกว่าการเก็บป่าไว้เฉยๆ คือการทำให้คนเข้าถึงป่าและธรรมชาติได้ ลำพังการสอนตามหน้าหนังสือหรือหน้าจอเครื่องมือสื่อสารที่บอกให้รักธรรมชาติและป่าไม้อยู่ปาวๆ นั้น คงจะเป็นเรื่องยากหากว่าคนเหล่านั้นไม่เคยได้เดินในป่า หรือเคยได้รับประโยชน์โดยตรงจากป่า ไม่เหมือนกับคนที่มาออกกำลังกาย […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ช่างตัดผมและความหลากหลายทางชีวภาพ

สมัยสาวๆ ฉันไว้ผมยาวมาเกือบตลอด จึงไม่ค่อยจะได้นึกถึงช่างตัดผม ยิ่งช่วงเป็นนักศึกษาเรียนมหาลัยที่อังกฤษ อยู่กินอย่างประหยัดสุดๆ ไม่เคยเหยียบเข้าร้านตัดผมเลย ถ้าผมแตกปลายต้องการเล็มก็แค่ส่งกรรไกรให้เพื่อน ตัดไม่ตรงนักก็ไม่เป็นปัญหา เพราะรวบผมถักเปียเป็นประจำ แต่พอถึงวัยทองผมร่วงง่ายก็เข้าสูตรนางเฒ่าตัดผมสั้น ตัดไปตัดมาก็ติดใจสบายหัว ไม่คิดถึงผมยาวอีกเลย ทรงที่ตัดคือสั้นเต่อไม่ต้องหวี ประมาณทรงเจมี ลี เคอร์ติส หรือจูดี้ เดนช์ ดังนั้น ในช่วงปิดล็อคดาวน์ใหม่ๆ ได้ 1-2 อาทิตย์เมื่อเพื่อนผู้ชายเริ่มบ่นอยากตัดผม ฉันก็ยังไม่รู้สึกอะไร คิดว่ายังไงเสียช่วงนี้ปล่อยยาวเป็นบ๊อบก็ได้ ส่วนทางสามีขอให้ตัดผมให้ฉันก็ตัด ฉันอาจจะโอเคกับการเป็นฝ่ายเปิดยูทูปเรียนวิธีตัดผมคุณสามี แต่ไม่มีวันให้คุณสามีทดลองตัดผมตัวเองแน่นอน แก่เยินแค่ไหนก็ยังรักสวยรักงามเท่าที่พอทำได้ ผ่านไปสองเดือนผมที่งอกออกมาก็ยังอีกไกลกว่าจะยาวเป็นบ๊อบ แต่กำลังกะรุงกะรังได้ที่ ระต้นคอและข่มขู่จะแยงตา เริ่มจะรำคาญแต่ก็กะว่าเดี๋ยวใช้ผ้าคาดผมก็ได้ แต่แล้วเพื่อนก็ไลน์มาบอกว่ามีช่างตัดผมตัดให้ได้ รับนัดลูกค้าทีละคนเพื่อรักษาระยะห่างในสังคม เช้าวันรุ่งขึ้นฉันก็เลยไปตัดผม สายตาของพนักงานหน้าร้านที่เปิดประตูออกมาขานชื่อที่นัดไว้แสดงความดีใจล้นปรี่อย่างเห็นได้ชัดแม้เธอจะใส่มาส์ค เธอเชิญให้นั่งและให้ยื่นเท้าออกมาเพื่อให้เธอฉีดแอลกอฮอลบนพื้นรองเท้าและฝ่ามือ ก่อนจะพาขึ้นไปที่ห้องตัดผมข้างบน มีช่างนั่งรออยู่ ยิ้มหลังมาส์คล้นตาออกมาเช่นกัน มันดีใจเหมือนพบญาติมิตรที่ไม่ได้เจอกันมาแสนนาน ทั้งๆ ที่เพิ่งจะรู้จักกันเป็นครั้งแรก เราไม่ใช่แค่ลูกค้ามาจ่ายเงินประคองธุรกิจที่ชะงักงันไป แต่เราต่างเป็นมนุษย์ที่ได้ปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกัน เธอได้ใช้ทักษะพิเศษบริการตัดผมให้เรา ทำให้เรารู้สึกสบาย กลับบ้านมาทำงานอะไรอย่างอื่นของเราได้ดีขึ้น ในนาทีนั้น ฉันรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นดอกเข็มหลอดกลีบยาว และเธอเป็นมอธมีงวงดูดน้ำหวานยาว สามารถยืดงวงมาดูดน้ำหวานและผสมเกสรฉันได้ ในขณะที่สามีฉันทำไม่ได้ เพราะเขาเป็นด้วง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ต้นไม้พูดได้

ตอนเราเป็นเด็ก นิทานต่างๆ ในทุกวัฒนธรรมจะเต็มไปด้วยสัตว์และต้นไม้พูดได้ พวกมันเป็นชีวิตริมทางทั่วไป ไม่ใช่สัตว์วิเศษแห่งดินแดนมหัศจรรย์ในโพรงกระต่ายที่อลิศตกลงไป บางเรื่องถึงกับเริ่มต้นด้วย “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในยุคสมัยที่คนยังคุยกับสัตว์ได้..” พวกเราที่เติบโตมาในสังคมสมัยใหม่เห็นมันเป็นเพียงนิทานเรื่องแต่งสนุกๆ ให้เด็ก แต่แล้วเราก็พบว่า ณ วันนี้ ยังคงมีชนเผ่าล่าสัตว์หาของป่าดั้งเดิมบางแห่งที่พูดคุยกับสัตว์และต้นไม้ได้จริงๆ ชนเผ่าเอสกิโมหรืออินูอิทในอลาสก้ามีวัฒนธรรมที่ผูกพันแน่นแฟ้นกับวาฬ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวาฬลึกซึ้งกว่าการเป็นผู้ล่าและเหยื่อ พวกเขาสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เมื่อปี ค.ศ.1986 แฮรี่ บราว์เวอร์ เอสกิโมวัย 61 ได้รับสารจากลูกวาฬหัวคันศรที่อยู่แถวบ้านของเขาห่างออกไป 1,000 ไมล์ บอกเรื่องราวของแม่มันที่ถูกกลุ่มผู้ชายบนเรือแคนูฆ่าตายด้วยฉมวก เขาเห็นหน้าคนฆ่าทั้งหมด ซึ่งรวมถึงลูกชายของเขาเอง เมื่อตรวจสอบข้อมูลก็พบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง นักวิทยาศาสตร์จึงเข้าไปหาความรู้เกี่ยวกับชีวิตวาฬจากคนเผ่านี้เพื่อพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์วาฬให้ดีขึ้น ต้นไม้ก็เช่นกัน จากการสอบถามหมอยาในชนเผ่าโบราณทั่วโลก นักมนุษย์วิทยาพบว่าความรู้เรื่องคุณสมบัติของสมุนไพรต่างๆ ไม่ได้มาจากการลองถูกลองผิดอย่างที่พวกเราคนสมัยใหม่โมเมเข้าใจกัน แต่เป็นสารที่ได้รับมาจากตัวต้นไม้เอง พจนา จันทรสันติ เขียนไว้ในหนังสือ แด่ชายหนุ่มและหญิงสาว (2554) ว่า “ผมมีความเชื่อว่าการสื่อสารของมนุษย์โบราณก่อนที่จะเกิดภาษาขึ้นนั้น ใช้การส่งและรับคลื่นความรู้สึกนึกคิดโดยตรง ซึ่งปัจจุบันเราเรียกกันว่า ‘โทรจิต’ อันเป็นวิชาที่สาบสูญ การสื่อสารของมนุษย์ในครั้งกระนั้นจึงตรงเต็มและปราศจากการบิดเบือนเฉไฉ และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นไปได้ว่า การสื่อสารนี้มิได้จำกัดอยู่ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงการสื่อสารกับสัตว์ พืช ก้อนหิน และธาตุมูลต่างๆ ในโลกธรรมชาติด้วย ด้วยเหตุที่การสื่อสารนั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยเสียง ถ้อยคำ […]

Read More

What We Do

นักสืบสิ่งแวดล้อม

มูลนิธิโลกสีเขียวได้เริ่มคิดอ่านทำกระบวนการ “นักสืบสิ่งแวดล้อม” มากว่า 20 ปีแล้ว ด้วยความตั้งใจจะให้คนธรรมดาทั่วไปสามารถ “อ่านธรรมชาติ” เองได้ โดยไม่ต้อง พึ่งพา ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนหรืออุปกรณ์ราคาแพง แต่อาศัยการสำรวจสิ่ง มีชีวิตที่อย ด้วยกันเป็นสังคมในสภาพธรรมชาตินั้นๆ เพื่อที่ทุกคนจะได้รู้จักดูแลและ เฝ้าระวังสิ่งแวดลัอมและธรรมชาติในละแวกบ้าน ชุมชน หรือท้องถิ่นด้วยตัวเองจริงๆ

Read More

จักรยานกลางเมือง

มูลนิธิฯ พัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานเป็นพาหนะสัญจรกลางเมือง เพราะจักรยานเป็นมากกว่าพาหนะเดินทาง มันเป็นทางออกง่ายๆ ของปัญหาใหญ่ซับซ้อนเรื้อรังในเมืองหลายประการ ตั้งแต่คุณภาพอากาศและสุขภาพของคนเมือง การจราจรติดขัด ความปลอดภัยบนท้องถนน ความเหลื่อมล้ำในการแบ่งปันพื้นที่สาธารณะในสังคม ปัญหาโลกร้อน ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ จักรยานจึงเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Read More

พลเมืองเปลี่ยนกรุง

มูลนิธิฯ พัฒนาโครงการ “พลเมืองเปลี่ยนกรุง” โดยมุ่งสนับสนุนคนกรุงเทพให้สร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ของตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรง ผ่านปฏิบัติการจริง และจากการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เพื่อให้เอื้อต่อการมีวิถีชีวิตสุขภาวะที่ดี โดยเน้นพัฒนาความสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบตัวขึ้นมาใหม่ เชื้อชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง และส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยศักยภาพของตนเอง

Read More

WILD WATCH

กิจกรรมตรวจสุขภาพกรุงเทพฯ จากความหลากหลายของชีวิตป่ากลางกรุง เปิดโอกาสให้คนเมืองได้เข้าไปสัมผัส และร่วมสำรวจ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสวนกลางเมือง โดยคาดหวังว่าจะเป็นการปลุกกระแสให้คนเมืองหันกลับมาสนใจและให้คุณค่ากับความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง ซึ่งจะนำไปสู่หลักคิดในการพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการดูแลเฝ้าระวังเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต

Read More

Upcoming Events

See All

Featured products

See All