การโกหก การคิดเอาเองแล้วบอกว่าใช่ และการจับแพะชนแกะ เพื่อขายอาหารหรืออุปกรณ์ที่อุปโหลกเอาเองว่า ทำให้คนมีสุขภาพดีโดยเฉพาะเกี่ยวกับการลดน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั้งในโทรทัศน์ดิจิตอลไปถึงอินเตอร์เน็ท ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีวิธีอะไรที่ทำให้น้ำหนักตัวลดได้ง่าย ส่วนใหญ่ที่ออกมาพูดกันนั้นอาจได้ผลเฉพาะกับตัวผู้พูด แต่ไม่ได้ผลกับคนอื่นซึ่งมีความแตกต่างตั้งแต่พันธุกรรมไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความยากได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อคำนึงถึงเศรษฐานะ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรที่ทำให้การลดน้ำหนักของแต่ละคนกลายเป็นเรื่องยากอย่างไม่น่าเชื่อ Alexandra Sifferlin ได้เขียนบทความเรื่อง “9 Myth About Weight Loss” เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2017 ในวารสารออนไลน์ TIME Health ซึ่งบรรยายถึงความอึมครึม (Myth) เกี่ยวกับความเชื่อบางประการในการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและอื่น ๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันได้พยายามหาคำอธิบายถึงความเชื่อนั้น ๆ ว่า จริงหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนขอเลือกประเด็นที่น่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ซึ่งกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่มาเล่าให้ฟัง ภาพจาก: https://www.organicbook.com/food ความอึมครึมเรื่องแรกคือ เป็นไปไม่ได้ที่จะลดน้ำหนักตัว (เพราะผู้กล่าวนั้นทำไม่ได้ผลมาแล้ว) สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าไปคุยกับผู้ที่เคยพยายามลดน้ำหนักแล้วไม่สำเร็จจะได้ยินคำสารภาพว่า การลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็น ดั่งเข็นครกขึ้นภูเขา ทั้งที่ความจริงแล้วการศึกษาทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสามารถทำได้จริง องค์กรเอกชนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาคือ National Weight Control Registry ซึ่งก่อตั้งในปี 1994 โดย ดร. Rena Wing […]
สิ่งที่เราต้องการฟื้นฟูคือระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์เอื้อประโยชน์ให้กับคนทุกกลุ่ม คนอาจจะสร้างป่าไม่ได้แต่เราสร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมและสังคมที่เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของป่าได้
ไม่กี่วันมานี้มีคนรุ่นใหม่ขอให้ฉันอธิบายความหมายของ “การรู้ภาษาสิ่งแวดล้อม” ในมุมมองของตัวเอง หลายคนคงจำได้ว่า eco-literacy หรือ environmental literacy เคยเป็นคำยอดฮิตในวงการสิ่งแวดล้อมเมื่อ 20-25 ปีก่อน และก็เหมือนกับคำหลายๆ คำที่ใช้จนเฝือ เบื่อ และเฟดหายไป ทั้งๆ ที่การปฎิบัติจริงยังไปกันไม่ถึงไหน ถ้ากูเกิ้ลดูก็จะได้นิยามประมาณว่า คือความเข้าใจในหลักการทำงานและความเชื่อมโยงของระบบนิเวศ และการกระทำที่ส่งผลกระทบ เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจได้เหมาะสม แต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อนฉันจำได้ว่าฉันสนุกกับคำศัพท์ ‘literacy’ และเมื่อถูกถาม ฉันก็จะขยายความมันตามประสาคนที่เติบโตมากับเทพนิยายและนิทานผจญภัยก่อนนอน ตอนนั้นฉันเพิ่งจะเริ่มพัฒนากระบวนการสำรวจธรรมชาติภาคประชาชน เรียกว่า “นักสืบสายน้ำ” ให้เด็กๆ และคนทั่วไปสามารถตรวจสอบสถานภาพและความเป็นไปของแม่น้ำลำธารได้เอง ดังนั้น ฉันก็จะบอกว่างานที่ทำคือการฝึกให้คนอ่านสภาพแวดล้อมได้เหมือนอ่านหนังสือ การทำความรู้จักสัตว์ชนิดต่างๆ ก็เปรียบเสมือนรู้จักตัวอักษรพยัญชนะ และพอรู้จักชีวิตมัน รู้จักนิสัย รู้ว่ามันชอบอยู่บ้านแบบไหน ชอบกินอะไร มีความสามารถอย่างไร ชอบคบกับใคร ทนอะไรได้แค่ไหน ก็เปรียบเสมือนเรารู้ไวยกรณ์ ผสมคำกันแล้วก็เริ่มอ่านออก รู้ความหมาย รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้น เบื้องต้นก็อาจแค่รู้ว่าน้ำสะอาดสกปรกแค่ไหน โดยตัดสินจากชนิดสัตว์น้ำที่พบ เทียบเท่ากับอ่านนิทานเต่ากับกระต่ายง่ายๆ แต่ยิ่งฝึกสังเกต คลังคำและไวยกรณ์ก็ยิ่งแตกฉาน ยิ่งอ่านได้มาก […]
การใช้ชีวิตอยู่ที่มาเลเซียในช่วงสิบสามปีที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกว่าคงจะคิดถึงมากที่สุดเมื่อย้ายกลับเมืองไทย คือการที่มีพื้นที่ป่าของคนเมืองให้ได้ใช้เป็นที่ออกกำลังกาย เข้าถึงธรรมชาติได้อย่างไม่ยากเย็น ทั้งคนที่พักอาศัยอยู่ในเมืองอย่างกัวลาลัมเปอร์และรัฐสลังงอร์ และคนที่อยู่ในรัฐต่างๆ ในรัศมี 50 กิโลเมตรของกรุงกัวลาลัมเปอร์และรัฐสลังงอร์ มีผืนป่าและภูเขาลูกย่อมๆ สำหรับให้คนไปเดินออกกำลังกายหรือปีนเขาไม่ต่ำกว่าสิบแห่ง โดยเป็นพื้นที่ป่าแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนสาธารณะ สวนป่า ซึ่งได้เปลี่ยนสถานภาพจากการใช้ประโยชน์มาเป็น “ป่าของคนเมือง” ไปโดยปริยาย เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของเมือง ก็สามารถเดินทางไปยังผืนป่าเหล่านี้ได้ภายใน 1 ชั่วโมง ในวันหยุดหรือวันที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ผู้เขียนเองก็ชอบที่จะไปเดินออกกำลังกายในป่าเหล่านี้ เปลี่ยนบรรยากาศจากลู่วิ่งมาเป็นเส้นทางลาดชันของเนินเขา เรียกเหงื่อได้ดี แถมมีเสียงนกให้ได้ยินเป็นระยะๆ แม้ว่าจะมีหลายคนรู้สึกตะขิดตะขวงใจว่า ทำไมเอาผืนป่ามาให้คนเดินออกกำลังกายกันอย่างพลุกพล่าน กิจกรรมต่างๆ อาจจะทำให้สัตว์ป่ากลัวหรือหายไป ความจริงแล้ว ป่าคนเมืองเหล่านี้มีลักษณะเป็นเหมือนเกาะกลางทะเลที่ถูกตัดขาดจากป่าผืนอื่นๆ ด้วยถนนหลายสายและบ้านเรือนหลายแห่ง สัตว์ใหญ่ๆ ที่เคยอยู่ในป่า ก็คงล้มหายตายจากไปด้วยเหตุผลนานัปการในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ที่เหลืออยู่ก็มีแต่ลิง กระรอก กระแต งู แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กตัวน้อยที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ ส่วนนกที่สามารถบินไปไหนมาไหนได้ ก็คงไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ ตราบใดที่ยังมีต้นไม้ให้ทำรัง และอาหารให้กิน ที่น่าสนใจกว่าการเก็บป่าไว้เฉยๆ คือการทำให้คนเข้าถึงป่าและธรรมชาติได้ ลำพังการสอนตามหน้าหนังสือหรือหน้าจอเครื่องมือสื่อสารที่บอกให้รักธรรมชาติและป่าไม้อยู่ปาวๆ นั้น คงจะเป็นเรื่องยากหากว่าคนเหล่านั้นไม่เคยได้เดินในป่า หรือเคยได้รับประโยชน์โดยตรงจากป่า ไม่เหมือนกับคนที่มาออกกำลังกาย […]
สมัยสาวๆ ฉันไว้ผมยาวมาเกือบตลอด จึงไม่ค่อยจะได้นึกถึงช่างตัดผม ยิ่งช่วงเป็นนักศึกษาเรียนมหาลัยที่อังกฤษ อยู่กินอย่างประหยัดสุดๆ ไม่เคยเหยียบเข้าร้านตัดผมเลย ถ้าผมแตกปลายต้องการเล็มก็แค่ส่งกรรไกรให้เพื่อน ตัดไม่ตรงนักก็ไม่เป็นปัญหา เพราะรวบผมถักเปียเป็นประจำ แต่พอถึงวัยทองผมร่วงง่ายก็เข้าสูตรนางเฒ่าตัดผมสั้น ตัดไปตัดมาก็ติดใจสบายหัว ไม่คิดถึงผมยาวอีกเลย ทรงที่ตัดคือสั้นเต่อไม่ต้องหวี ประมาณทรงเจมี ลี เคอร์ติส หรือจูดี้ เดนช์ ดังนั้น ในช่วงปิดล็อคดาวน์ใหม่ๆ ได้ 1-2 อาทิตย์เมื่อเพื่อนผู้ชายเริ่มบ่นอยากตัดผม ฉันก็ยังไม่รู้สึกอะไร คิดว่ายังไงเสียช่วงนี้ปล่อยยาวเป็นบ๊อบก็ได้ ส่วนทางสามีขอให้ตัดผมให้ฉันก็ตัด ฉันอาจจะโอเคกับการเป็นฝ่ายเปิดยูทูปเรียนวิธีตัดผมคุณสามี แต่ไม่มีวันให้คุณสามีทดลองตัดผมตัวเองแน่นอน แก่เยินแค่ไหนก็ยังรักสวยรักงามเท่าที่พอทำได้ ผ่านไปสองเดือนผมที่งอกออกมาก็ยังอีกไกลกว่าจะยาวเป็นบ๊อบ แต่กำลังกะรุงกะรังได้ที่ ระต้นคอและข่มขู่จะแยงตา เริ่มจะรำคาญแต่ก็กะว่าเดี๋ยวใช้ผ้าคาดผมก็ได้ แต่แล้วเพื่อนก็ไลน์มาบอกว่ามีช่างตัดผมตัดให้ได้ รับนัดลูกค้าทีละคนเพื่อรักษาระยะห่างในสังคม เช้าวันรุ่งขึ้นฉันก็เลยไปตัดผม สายตาของพนักงานหน้าร้านที่เปิดประตูออกมาขานชื่อที่นัดไว้แสดงความดีใจล้นปรี่อย่างเห็นได้ชัดแม้เธอจะใส่มาส์ค เธอเชิญให้นั่งและให้ยื่นเท้าออกมาเพื่อให้เธอฉีดแอลกอฮอลบนพื้นรองเท้าและฝ่ามือ ก่อนจะพาขึ้นไปที่ห้องตัดผมข้างบน มีช่างนั่งรออยู่ ยิ้มหลังมาส์คล้นตาออกมาเช่นกัน มันดีใจเหมือนพบญาติมิตรที่ไม่ได้เจอกันมาแสนนาน ทั้งๆ ที่เพิ่งจะรู้จักกันเป็นครั้งแรก เราไม่ใช่แค่ลูกค้ามาจ่ายเงินประคองธุรกิจที่ชะงักงันไป แต่เราต่างเป็นมนุษย์ที่ได้ปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกัน เธอได้ใช้ทักษะพิเศษบริการตัดผมให้เรา ทำให้เรารู้สึกสบาย กลับบ้านมาทำงานอะไรอย่างอื่นของเราได้ดีขึ้น ในนาทีนั้น ฉันรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นดอกเข็มหลอดกลีบยาว และเธอเป็นมอธมีงวงดูดน้ำหวานยาว สามารถยืดงวงมาดูดน้ำหวานและผสมเกสรฉันได้ ในขณะที่สามีฉันทำไม่ได้ เพราะเขาเป็นด้วง […]
ตอนเราเป็นเด็ก นิทานต่างๆ ในทุกวัฒนธรรมจะเต็มไปด้วยสัตว์และต้นไม้พูดได้ พวกมันเป็นชีวิตริมทางทั่วไป ไม่ใช่สัตว์วิเศษแห่งดินแดนมหัศจรรย์ในโพรงกระต่ายที่อลิศตกลงไป บางเรื่องถึงกับเริ่มต้นด้วย “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในยุคสมัยที่คนยังคุยกับสัตว์ได้..” พวกเราที่เติบโตมาในสังคมสมัยใหม่เห็นมันเป็นเพียงนิทานเรื่องแต่งสนุกๆ ให้เด็ก แต่แล้วเราก็พบว่า ณ วันนี้ ยังคงมีชนเผ่าล่าสัตว์หาของป่าดั้งเดิมบางแห่งที่พูดคุยกับสัตว์และต้นไม้ได้จริงๆ ชนเผ่าเอสกิโมหรืออินูอิทในอลาสก้ามีวัฒนธรรมที่ผูกพันแน่นแฟ้นกับวาฬ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวาฬลึกซึ้งกว่าการเป็นผู้ล่าและเหยื่อ พวกเขาสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เมื่อปี ค.ศ.1986 แฮรี่ บราว์เวอร์ เอสกิโมวัย 61 ได้รับสารจากลูกวาฬหัวคันศรที่อยู่แถวบ้านของเขาห่างออกไป 1,000 ไมล์ บอกเรื่องราวของแม่มันที่ถูกกลุ่มผู้ชายบนเรือแคนูฆ่าตายด้วยฉมวก เขาเห็นหน้าคนฆ่าทั้งหมด ซึ่งรวมถึงลูกชายของเขาเอง เมื่อตรวจสอบข้อมูลก็พบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง นักวิทยาศาสตร์จึงเข้าไปหาความรู้เกี่ยวกับชีวิตวาฬจากคนเผ่านี้เพื่อพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์วาฬให้ดีขึ้น ต้นไม้ก็เช่นกัน จากการสอบถามหมอยาในชนเผ่าโบราณทั่วโลก นักมนุษย์วิทยาพบว่าความรู้เรื่องคุณสมบัติของสมุนไพรต่างๆ ไม่ได้มาจากการลองถูกลองผิดอย่างที่พวกเราคนสมัยใหม่โมเมเข้าใจกัน แต่เป็นสารที่ได้รับมาจากตัวต้นไม้เอง พจนา จันทรสันติ เขียนไว้ในหนังสือ แด่ชายหนุ่มและหญิงสาว (2554) ว่า “ผมมีความเชื่อว่าการสื่อสารของมนุษย์โบราณก่อนที่จะเกิดภาษาขึ้นนั้น ใช้การส่งและรับคลื่นความรู้สึกนึกคิดโดยตรง ซึ่งปัจจุบันเราเรียกกันว่า ‘โทรจิต’ อันเป็นวิชาที่สาบสูญ การสื่อสารของมนุษย์ในครั้งกระนั้นจึงตรงเต็มและปราศจากการบิดเบือนเฉไฉ และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นไปได้ว่า การสื่อสารนี้มิได้จำกัดอยู่ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงการสื่อสารกับสัตว์ พืช ก้อนหิน และธาตุมูลต่างๆ ในโลกธรรมชาติด้วย ด้วยเหตุที่การสื่อสารนั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยเสียง ถ้อยคำ […]
เมื่อการคืนดีกับธรรมชาติเป็นวาระสำคัญของสังคมโลก ฉันจึงเริ่มจัดคอร์ส Nature Connection 101 เป็นคอร์สพื้นฐานสั้นๆ สองวันครึ่งของมูลนิธิโลกสีเขียวให้ผู้คนได้พัฒนาแนวทางที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับธรรมชาติและสรรพชีวิตร่วมโลกรอบตัว ครั้งล่าสุดที่จัดไปคือเมื่อสองอาทิตย์ก่อนช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่เชียงดาว ไม่ได้จะเล่าเรื่องคอร์สทั้งหมดเพราะมันมีรายละเอียดมากมาย แต่อยากจะเล่าเรื่องน้องเพชร (นามสมมุติ) เธอเป็นเด็กสาวหน้าใสอายุ 15 ที่บอกว่าตลอดชีวิตของเธอ เธอเห็นแต่สัตว์หนีเรา พวกมันตีห่างจากมนุษย์เสมอ เด็กรุ่นเธอเติบโตมาในภาวะที่มนุษย์เป็นตัวน่ากลัวน่ารังเกียจแก่ปวงสัตว์มันเป็นภาวะที่ทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยวโดยไม่รู้ตัว เพชรไม่ได้บอกว่าเธอเหงาหรือเศร้า แต่มันน่าสนใจว่าเธอสังเกตและพูดถึงปรากฎการณ์นี้ขึ้นมาเอง อย่างไรก็ตาม ฉันออกจะดีใจที่เพชรพูดเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะกิจกรรมสุดท้ายในคอร์สเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอดี สัตว์ไม่เหมือนกับต้นไม้ที่เราปฏิสัมพันธ์กันในวันแรกของคอร์ส มันวิ่ง มันบินหนีเราได้ ถ้าเราอยากจะเข้าใกล้สัตว์ เราต้องทำให้มันรู้สึกสบายใจกับเรา ถ้าถามช่างภาพสัตว์ป่าอย่างคุณเต สมิทธิ์ สุติบุตร์ เขาจะบอกว่าเราต้องทำตัว “ต่ำช้า”คือย่อตัวเรี่ยเตี้ยติดดินและเคลื่อนไหวให้ช้าที่สุด ค่อยๆ คืบค่อยๆ เถิบ บางทีช่างภาพสัตว์ป่าเหล่านี้ใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อคืบเพียง 10 เมตร แต่ไม่ว่าเราจะขยับช้าอย่างไร เมื่อสัตว์เห็นเราแล้ว เราจะต้องสังเกตว่ามันสบายใจกับเราในระยะไหน และเราต้องเคารพมัน ไม่พยายามล้ำเกินเส้นนั้น อินเดียนแดงเรียกว่า“ระยะที่ให้เกียรติกัน” พี่เชน ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ เรียกว่า “ระยะที่ได้รับอนุญาต”เป็นคำเรียกที่กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ตรงสุดๆ เมื่อพี่เชนประจันหน้ากับเสือ มันครางคำราญเตือน แต่พี่เชนก็ค่อยๆ ก้าวเข้าไปอีกหนึ่งก้าวพร้อมกล้องในมือ มันเป็นก้าวที่ยังไม่ได้รับอนุญาต เสือจึงกระโจนเข้าใส่ […]
สารจากประธานมูลนิธิโลกสีเขียว สามเดือนหลังจากการถือกำเนิดของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิเล็กๆ ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปลายปี 2533 ซึ่งถือว่าเป็นยุคกรีน ของประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้น ชาวเจนเอ็กซ์ (รุ่นราวคราวเดียวกับผม) คงเคยได้เห็นและอ่าน ‘วารสารโลกสีเขียว’ กันมาบ้าง หลายๆ คนทั้งเจนเอ็กซ์และวายคงได้เคยทำกิจกรรม ‘นักสืบสิ่งแวดล้อม’ ไม่ว่าจะ ‘นักสืบสายน้ำ’ ‘นักสืบสายลม’ ‘นักสืบชายหาด’ และอาจเคยได้ร่วมโครงการตรวจสุขภาพสวนสาธารณะในกรุงเทพ ในงาน Bangkok Wild Watch หรือ BioBliZ ที่มูลนิธิร่วมกับเครือข่ายได้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นให้ครอบครัวและเยาวชนในเมืองได้หวนกลับมาใช้เวลากับต้นไม้ พื้นที่สีเขียว และธรรมชาติในเมืองกันมากขึ้น การรณรงค์ให้คนขี่หรือปั่นจักรยานเป็นทางเลือกในการเดินทางแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน การผลักดันให้มีไบค์เลนบนถนนในกรุงเทพรวมถึงเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัย เป็นส่วนหนึ่งของงานที่มูลนิธิโลกสีเขียวได้ดำเนินการเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้คนเมืองได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติขึ้นอีกนิด สามทศวรรษแห่งการร่วมสร้างสังคมคนไทยหัวใจสีเขียวที่เข้าใจและรักธรรมชาติ ปัจจุบันมูลนิธิยังพยายามดำเนินกิจกรรมที่ขับเคลื่อนให้เกิดพลังของสาธารณะในด้านวิทยาศาสตร์พลเมือง (Citizen science) ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารชุดใหม่นี้ ถือเป็นรุ่นที่ 3 ของมูลนิธิโลกสีเขียว ผมต้องขอขอบพระคุณ มรว. นริศรา จักรพงษ์ ประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิโลกสีเขียว และ ดร. อ้อย สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ ประธานมูลนิธิในรุ่นที่สอง ที่ดำเนินงานมูลนิธิมาเกือบ […]
ใบตอง จรีรัตน์ เพชรโสม มูลนิธิโลกสีเขียวมีความยินดีแนะนำทูตสิ่งแวดล้อมคนแรกของมูลนิธิ คุณใบตอง ‘จรีรัตน์ เพชรโสม’ ที่จะเข้ามาร่วมกันสื่อสารเรื่องธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ใบตอง สาวสายกรีนตัวจริงจากดีเอ็นเอ ที่มีความแอคทีฟมากๆ มาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เริ่มจากชีวิตเด็กนักเรียนหญิงตัวเล็กๆ จากจังหวัดชุมพรผู้ภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนในหลักสูตร ‘นักสืบสายน้ำ’ รุ่นแรก และเป็นสมาชิกชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตั้งเเต่มัธยมต้น (ม.1) เป็นขาประจำที่ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพรทำให้เธอมีความรักธรรมชาติ สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์มาจนปัจจุบัน ใบตองเคยได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ในปี 2553 และเหรียญพระราชทานเยาวสตรี ในปี 2554 เนื่องจากเป็นคนชอบเดินทาง ชอบสื่อสาร เรียนสายนิเทศศิลป์ จึงสนใจงานพิธีกร เคยนักจัดรายการวิทยุ เป็นพิธีกรรายการเดินทางท่องเที่ยว สารคดี ผ่านการร่วมทำหนังสั้นพรปีใหม่ ก่อนมองเห็นโอกาสในการก้าวเข้าสู่วงการ นางแบบ นางงาม เพื่อสื่อสารเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่สังคมในวงกว้าง ใบตองเข้าร่วมประกวดเวที Miss Universe Thailand (MUT) 2 ครั้ง โดยมีผลงาน Top 10 จาก MUT 2017 และ Top 20 […]
ตั้งแต่ย้ายมาทำงานด้านการท่องเที่ยว ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจวิถีการเที่ยวและวิธีการจัดสถานที่เพื่อต้อนรับผู้มาเยือนทั้งไทยและต่างชาติของพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น อย่างเช่นพื้นที่ทำงานของผู้เขียน นับเป็นจุดเล็กๆ ที่กว่า 99% เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาพักและเที่ยวกึ่งผจญภัยกับป่าเขาลำเนาไพรรอบๆ พื้นที่ ภาพจาก: http://www.liekr.com/post_136022.html ทำให้นึกถึงตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย เป็นช่วงที่ได้เดินทางแบบลุยๆ บ่อยที่สุด ที่จำได้มากที่สุดก็คือการไปเที่ยวเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย ที่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อนและรุ่นพี่ราวๆ สิบคน ไปเที่ยวตามที่ “เขาเล่าให้ฟัง” พวกเราไปซื้อตั๋วที่สถานีรถไฟล่วงหน้าสองสามวัน นั่งรถไฟชั้นสามที่คลับคล้ายคลับคลาว่าเป็นการนอนมากกว่า โดยเอากระดาษหนังสือพิมพ์ปูลงไปที่พื้นคู่กันกับเพื่อนอีกคน เปิดพื้นที่บนเก้าอี้ให้อีกสองคนได้นอนบนเก้าอี้ฝั่งละคน รถไฟไปถึงพิษณุโลกตอนก่อนรุ่งสาง ลงจากรถไฟแล้วก็ถามทางไปตลาดเพื่อหาซื้อเสบียงสำหรับหุงหากินตอนอยู่บนเขา จนได้เรียนรู้ว่าคนที่นั่นเขาบอกทางกันเป็นทิศ เช่น ไปทางทิศใต้ 300 เมตร แล้วเลี้ยวไปทางทิศตะวันออก พวกเราที่มาจากที่อื่น ยังไม่มีหลักว่าอะไรอยู่ทิศไหน แถมพระอาทิตย์ก็ยังไม่ขึ้น จึงต้องถามทางไปตลอดจนถึงตลาดนั่นเลย พอซื้อของเสร็จ ก็ถามหารถที่จะไปส่งที่เขาหลวง และได้รถสองแถวแบบที่มีหลังคาสูง นั่งปุเลงๆ กันไปถึงเขาหลวงตอนสายๆ ทริปนั้น ผู้เขียนจำเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงไม่ได้มากนัก เพราะรายละเอียดของการตั้งเต๊นท์นอนอาจถูกทับด้วยการไปตั้งเต๊นท์ที่อื่นๆ จำได้แค่ว่า พวกเราต้องตื่นแต่เช้ามืด เพราะนัดกันไว้ว่าจะต้องเดินไปดูพระอาทิตย์ขึ้นตามที่เขาบอกกันมาว่ามันสุดยอด แบบไม่รู้รายละเอียดเส้นทางการเดินมากนัก แต่จำตอนหนึ่งได้แม่นยำว่า คนนำทางบอกว่าให้เก็บมะขามป้อมที่หล่นอยู่ใต้ต้นที่พบระหว่างทางไว้เป็นเสบียง ช่วยให้สดชื่นและดับกระหายได้ดี และคงเป็นเพราะว่าหน้าตาของพวกเราดูสะโหลสะเหลและเหม็นขี้ฟันเอาการ มาตรฐานในการถ่ายรูปกลุ่มสมัยก่อน มักจะขาดใครคนใดคนหนึ่งในกลุ่มที่เสียสละไปยืนอยู่หลังกล้อง ก็อาจเก็บรูปได้ครบ ถ้ามีก๊วนอื่นอยู่ที่นั่นด้วย […]
ในภาวะวิกฤติสิ่งเเวดล้อม ทางรอดของมนุษย์อยู่ที่การฟื้นฟูธรรมชาติเเละค้นหาปัญญาจากธรรมชาติ ในวันนี้เรารู้กันเเล้วว่าทั้งสุขภาพจิต เเละสุขภาพกายเรายึดโยงอยู่กับธรรมชาติ เพราะตลอดเวลา 99.99% ของกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์อิงกับการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับ สรรพชีวิตอื่นๆ ทั้งที่มองเห็นเเละมองไม่เห็น เเต่วิถีชีวิตสมัยใหม่เเยกเราออกไปจากธรรมชาติ จนเราไม่รู้จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ขึ้นมาอีกครั้ง ได้อย่างไร เพื่อจะเปิดประตูสู่การเยียวยาฟื้นฟูสุขภาพเเละเข้าถึงความรู้มหาศาลที่ซ่อนเร้นอยู่ในธรมชาติ ที่จะช่วยให้เราค้นพบเเละพัฒนา นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เอื้อให้เราดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนเเละเป็นมิตรกับชีวิตร่วมโลก หลักสูตรโรงเรียนธรรมชาติทีี่มูลนิธิโลกสีเขียวจัดขึ้นมา มุ่งหวังจะพัฒนาความสัมพันธ์และเข้าถึงปัญญาในธรรมชาติ โดยแบ่งออกเป็น คอร์สสั้นๆ หลายคอร์ส ตั้งแต่คอร์สพื้นฐานที่สุดฟื้นฟูความสัมพันธ์เบื้องต้น แล้วแตกออกเป็นคอร์สอื่นๆ อีกหลายสายเพื่อพัฒนาทักษะ และสนองความสนใจในด้านต่างๆ กัน ตลอดจนถึงการฝึกเป็นโค้ชเปิดโลกธรรมชาติให้ผู้อื่น หลายคอร์สเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาโดยกลุ่มบุคคลในสถาบันต่างๆ มานานร่วม 20 กว่าปีแล้ว ได้พิสูจน์คุณภาพด้วยกาลเวลาว่า เป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ นําไปต่อยอดและใช้ได้จริง 15-16 ก.พ. 63 — Q.U.E.S.T. หาคำตอบ — วิทยากร: ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ เเละทีม สถานที่: อาศรมวงศ์สนิท คลอง 15 อ.องครักษ์ จ.นครนายก คอร์สที่นำไปสู่การค้นพบ “นักวิทยาศาสตร์” ในตัวคุณ เเละไขปริศนาธรรมชาติด้วยตัวเอง […]
ท่านสามารถร่วมบริจาคทุนสนับสนุนการดำเนินงานมูลนิธิฯ โดยการ
ชื่อบัญชี มูลนิธิโลกสีเขียว
(กรุณาแนบหลักฐานการ ฝาก/โอนเงิน ชื่อสกุล และที่อยู่ ส่งมาที่ gwf@greenworld.or.th หรือส่งกลับมาที่ "มูลโลกสีเขียว” เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท43 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 หรือส่งโทรสาร: 02-662-5767 หรือ ID Line: gwfthailnd)