การโกหก การคิดเอาเองแล้วบอกว่าใช่ และการจับแพะชนแกะ เพื่อขายอาหารหรืออุปกรณ์ที่อุปโหลกเอาเองว่า ทำให้คนมีสุขภาพดีโดยเฉพาะเกี่ยวกับการลดน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั้งในโทรทัศน์ดิจิตอลไปถึงอินเตอร์เน็ท ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีวิธีอะไรที่ทำให้น้ำหนักตัวลดได้ง่าย ส่วนใหญ่ที่ออกมาพูดกันนั้นอาจได้ผลเฉพาะกับตัวผู้พูด แต่ไม่ได้ผลกับคนอื่นซึ่งมีความแตกต่างตั้งแต่พันธุกรรมไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความยากได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อคำนึงถึงเศรษฐานะ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรที่ทำให้การลดน้ำหนักของแต่ละคนกลายเป็นเรื่องยากอย่างไม่น่าเชื่อ Alexandra Sifferlin ได้เขียนบทความเรื่อง “9 Myth About Weight Loss” เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2017 ในวารสารออนไลน์ TIME Health ซึ่งบรรยายถึงความอึมครึม (Myth) เกี่ยวกับความเชื่อบางประการในการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและอื่น ๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันได้พยายามหาคำอธิบายถึงความเชื่อนั้น ๆ ว่า จริงหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนขอเลือกประเด็นที่น่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ซึ่งกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่มาเล่าให้ฟัง ภาพจาก: https://www.organicbook.com/food ความอึมครึมเรื่องแรกคือ เป็นไปไม่ได้ที่จะลดน้ำหนักตัว (เพราะผู้กล่าวนั้นทำไม่ได้ผลมาแล้ว) สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าไปคุยกับผู้ที่เคยพยายามลดน้ำหนักแล้วไม่สำเร็จจะได้ยินคำสารภาพว่า การลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็น ดั่งเข็นครกขึ้นภูเขา ทั้งที่ความจริงแล้วการศึกษาทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสามารถทำได้จริง องค์กรเอกชนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาคือ National Weight Control Registry ซึ่งก่อตั้งในปี 1994 โดย ดร. Rena Wing […]
สิ่งที่เราต้องการฟื้นฟูคือระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์เอื้อประโยชน์ให้กับคนทุกกลุ่ม คนอาจจะสร้างป่าไม่ได้แต่เราสร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมและสังคมที่เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของป่าได้
ไม่กี่วันมานี้มีคนรุ่นใหม่ขอให้ฉันอธิบายความหมายของ “การรู้ภาษาสิ่งแวดล้อม” ในมุมมองของตัวเอง หลายคนคงจำได้ว่า eco-literacy หรือ environmental literacy เคยเป็นคำยอดฮิตในวงการสิ่งแวดล้อมเมื่อ 20-25 ปีก่อน และก็เหมือนกับคำหลายๆ คำที่ใช้จนเฝือ เบื่อ และเฟดหายไป ทั้งๆ ที่การปฎิบัติจริงยังไปกันไม่ถึงไหน ถ้ากูเกิ้ลดูก็จะได้นิยามประมาณว่า คือความเข้าใจในหลักการทำงานและความเชื่อมโยงของระบบนิเวศ และการกระทำที่ส่งผลกระทบ เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจได้เหมาะสม แต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อนฉันจำได้ว่าฉันสนุกกับคำศัพท์ ‘literacy’ และเมื่อถูกถาม ฉันก็จะขยายความมันตามประสาคนที่เติบโตมากับเทพนิยายและนิทานผจญภัยก่อนนอน ตอนนั้นฉันเพิ่งจะเริ่มพัฒนากระบวนการสำรวจธรรมชาติภาคประชาชน เรียกว่า “นักสืบสายน้ำ” ให้เด็กๆ และคนทั่วไปสามารถตรวจสอบสถานภาพและความเป็นไปของแม่น้ำลำธารได้เอง ดังนั้น ฉันก็จะบอกว่างานที่ทำคือการฝึกให้คนอ่านสภาพแวดล้อมได้เหมือนอ่านหนังสือ การทำความรู้จักสัตว์ชนิดต่างๆ ก็เปรียบเสมือนรู้จักตัวอักษรพยัญชนะ และพอรู้จักชีวิตมัน รู้จักนิสัย รู้ว่ามันชอบอยู่บ้านแบบไหน ชอบกินอะไร มีความสามารถอย่างไร ชอบคบกับใคร ทนอะไรได้แค่ไหน ก็เปรียบเสมือนเรารู้ไวยกรณ์ ผสมคำกันแล้วก็เริ่มอ่านออก รู้ความหมาย รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้น เบื้องต้นก็อาจแค่รู้ว่าน้ำสะอาดสกปรกแค่ไหน โดยตัดสินจากชนิดสัตว์น้ำที่พบ เทียบเท่ากับอ่านนิทานเต่ากับกระต่ายง่ายๆ แต่ยิ่งฝึกสังเกต คลังคำและไวยกรณ์ก็ยิ่งแตกฉาน ยิ่งอ่านได้มาก […]
มูลนิธิโลกสีเขียวได้เริ่มคิดอ่านทำกระบวนการ “นักสืบสิ่งแวดล้อม” มากว่า 20 ปีแล้ว ด้วยความตั้งใจจะให้คนธรรมดาทั่วไปสามารถ “อ่านธรรมชาติ” เองได้ โดยไม่ต้อง พึ่งพา ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนหรืออุปกรณ์ราคาแพง แต่อาศัยการสำรวจสิ่ง มีชีวิตที่อย ด้วยกันเป็นสังคมในสภาพธรรมชาตินั้นๆ เพื่อที่ทุกคนจะได้รู้จักดูแลและ เฝ้าระวังสิ่งแวดลัอมและธรรมชาติในละแวกบ้าน ชุมชน หรือท้องถิ่นด้วยตัวเองจริงๆ
Read Moreมูลนิธิฯ พัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานเป็นพาหนะสัญจรกลางเมือง เพราะจักรยานเป็นมากกว่าพาหนะเดินทาง มันเป็นทางออกง่ายๆ ของปัญหาใหญ่ซับซ้อนเรื้อรังในเมืองหลายประการ ตั้งแต่คุณภาพอากาศและสุขภาพของคนเมือง การจราจรติดขัด ความปลอดภัยบนท้องถนน ความเหลื่อมล้ำในการแบ่งปันพื้นที่สาธารณะในสังคม ปัญหาโลกร้อน ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ จักรยานจึงเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Read Moreมูลนิธิฯ พัฒนาโครงการ “พลเมืองเปลี่ยนกรุง” โดยมุ่งสนับสนุนคนกรุงเทพให้สร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ของตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรง ผ่านปฏิบัติการจริง และจากการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เพื่อให้เอื้อต่อการมีวิถีชีวิตสุขภาวะที่ดี โดยเน้นพัฒนาความสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบตัวขึ้นมาใหม่ เชื้อชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง และส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยศักยภาพของตนเอง
Read Moreกิจกรรมตรวจสุขภาพกรุงเทพฯ จากความหลากหลายของชีวิตป่ากลางกรุง เปิดโอกาสให้คนเมืองได้เข้าไปสัมผัส และร่วมสำรวจ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสวนกลางเมือง โดยคาดหวังว่าจะเป็นการปลุกกระแสให้คนเมืองหันกลับมาสนใจและให้คุณค่ากับความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง ซึ่งจะนำไปสู่หลักคิดในการพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการดูแลเฝ้าระวังเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต
Read Moreท่านสามารถร่วมบริจาคทุนสนับสนุนการดำเนินงานมูลนิธิฯ โดยการ
ชื่อบัญชี มูลนิธิโลกสีเขียว
(กรุณาแนบหลักฐานการ ฝาก/โอนเงิน ชื่อสกุล และที่อยู่ ส่งมาที่ gwf@greenworld.or.th หรือส่งกลับมาที่ "มูลโลกสีเขียว” เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท43 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 หรือส่งโทรสาร: 02-662-5767 หรือ ID Line: gwfthailnd)