in on June 28, 2016

ร่วมเป็นพลังเปลี่ยนเมืองกับ แอปพลิเคชัน “ปั่นเมือง”

read |

Views

ร่วมเป็นพลังเปลี่ยนเมืองกับ แอปพลิเคชัน “ปั่นเมือง” เครื่องมือสร้างเมืองจักรยานภาคประชาชน เบื่อรถมหาติด สุดเซ็งกับระบบขนส่งฯ ระยะทางเพียง  3 – 4 กิโลเมตรใน กทม. แต่ใช้เวลาเหมือนนั่งรถข้ามจังหวัด เดินบนฟุตบาธก็ต้องระวังทุกย่างก้าว หลุมบ่อ ฝาท่อ เสา ป้าย ร้าน สารพัดความยุ่งเหยิง แถมเผลอเมื่อไหร่ อาจเจอมอเตอร์ไซค์เฉี่ยว  อยากปั่นจักรยาน ตัดปัญหารถติดให้รู้แล้วรู้รอด แต่กลัวตาย ทางปั่นได้จริงมีไหม จะจอดตรงไหน แล้วถ้าเกิดยางแบนจะทำอย่างไร…ฯลฯ

“ปั่นเมือง” แอปพลิเคชันน้องใหม่ในสมาร์ทโฟน อาจช่วยคุณได้ เปลี่ยนทุกคำบ่นให้มีความหมาย และแบ่งบันข้อมูลเพื่อพัฒนาการสัญจรไปด้วยกัน  อย่ารอช้า  เมืองของเรา เราเปลี่ยนได้ด้วยตัวเราเอง

13710438_1143440012345294_7897615535520090305_o

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา มูลนิธิโลกสีเขียวร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ปั่นเมือง : เครื่องมือสร้างเมืองจักรยานภาคประชาชน” ซึ่งจัดขึ้นที่ Once Again Hostel ซอยสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร4

โดยแอปพลิเคชัน ”ปั่นเมือง” ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรก คือเป็นเครื่องมือช่วยเหลือให้ผู้ที่สนใจใช้จักรยานสัญจรในเมือง สามารถปั่นได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะ “ปั่นเมือง” ได้รวบรวมข้อมูล เส้นทางปั่นสะดวก ร้านซ่อมบำรุงจักรยาน จุดจอดจักรยาน  จุดเช่ายืมจักรยานและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ล้วนเอื้อให้การปั่นสัญจรในเมือง เป็นจริงได้ง่ายขึ้น

เปิดเวทีเสวนา “Crowdsourcing กับกระแสการพัฒนาเมืองจักรยาน”

37ออกปั่นทดลองใช้แอปฯ ปั่นเมือง

แต่อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานคร ยังคงมีอุปสรรค และสิ่งไม่สะดวกต่อการสัญจรขั้นพื้นฐานอย่างการเดินเท้า รถเข็น และจักรยานอยู่มาก เนื่องจากที่ผ่านมา เมืองเราให้ความสำคัญกับการสัญจรโดยรถยนต์ส่วนตัวเป็นหลัก เบียดบังทางเท้าและระบบการสัญจรรูปแบบอื่นจนแทบใช้การไม่ได้ในหลายแห่ง

222ปั่นเมือง เครื่องมือสร้างเมืองจักรยานภาคประชาชน111

 

ประการที่สอง แอปพลิเคชัน ”ปั่นเมือง” จึงออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนเสียงบ่นให้กลายเป็นข้อมูลฐานเพื่อการพัฒนาการสัญจรเมืองต่อไป  โดยขั้นต้น จะเลือกเก็บข้อมูลอุปสรรค 4 ประเภท ดังนี้ 1.สิ่งกีดขวางทางจักรยาน,ทางเท้า  2.พื้นผิวทาง 3.การจัดการจราจร 4.ร่มเงา & แสงสว่าง ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลจะเป็นลักษณะ Crowdsourcing (ปัญญาจากฝูงชน) กล่าวคือแอปฯ จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ ร่วมกันเพิ่มเติมข้อมูลฐานทั้งด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและรายงานอุปสรรคการสัญจรต่างๆ ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอแนวทางแก้ไขด้วย    ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะเผยแพร่ในแอปฯ ให้เห็นโดยทั่วกัน และถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยิ่งมีผู้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลมาก ยิ่งทำให้ฐานข้อมูลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ฐานข้อมูลที่ดีเปรียบเหมือนแสงสว่างในทางมืดมิด  ทำให้เรามองเห็นสภาพของปัญหา  และข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะ จะทำให้เราเห็นมิติใหม่ๆ ในการแก้ไข ที่อาจไม่ต้องพึ่งแต่งบประมาณภาครัฐแบบเดิมๆ ต้องการเปลี่ยนเสียงบ่นให้เป็นข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา หรือจะปั่นสัญจรเพื่อร่วมเป็นพลังเปลี่ยนเมือง

Picture1

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ปั่นเมือง” (Punmuang)ได้แล้ววันนี้ที่ App Store และ Play Store  ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์

"ชีวิตการเดินทางในชีวิตประจำวันบนถนนเเสนจะยุ่งยาก เเถมต้องเจอกันคนอัดเเน่นบนรถเมล์เรามีจักรยานอยู่ที่บ้านทำไมไม่ลองเอามาขี่ดู" ชายหนุ่มผู้คร่ำหวอดอยู่กับวงการจักรยาน นักรณรงค์ฝ่ายรณรงค์มูลนิธิโลกสีเขียวและเป็นผู้พัฒนาเเผนที่จักรยานในกรุงเทพจนกลายมาเป็นเเอปพลิเคชัน "ปั่นเมือง" ในที่สุด เพื่อมีเป้าหมายสูงสุดคือการทำให้กรุงเทพเป็นเมืองจักรยาน

Email

Share