กลูตาไธโอนดีต่อสาวผิวคล้ำ…จริงหรือ
เซลล์ในหลายอวัยวะของมนุษย์สร้างกลูตาไธโอนซึ่งเป็นไตรเป็บไตด์ (tripeptide) ซึ่งมีกรดอะมิโนสามชนิดคือ ซิสเทอีน (cysteine) กลูตาเมต (glutamate) และ กลัยซีน (glycine) เป็นองค์ประกอบขึ้นได้เอง ดังนั้นในทางโภชนาการจึงไม่ถือว่า กลูตาไธโอนเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์ เราสามารถพบกลูตาไธโอนได้ในผลไม้ (เช่น แตงโม จนครั้งหนึ่งคิดกันว่า การกินแตงโมหลาย ๆ ผลแล้วจะขาวขึ้น) ผักที่มีกลิ่นแรงหลายชนิด และเนื้อสัตว์ เหตุผลว่าทำไมกลูตาไธโอนถึงมีทั้งในพืชและสัตว์นั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วกลูตาไธโอนถูกใช้ในกระบวนการยับยั้งการก่อพิษ หรือใช้ในการขับสารพิษออกจากสิ่งมีชีวิต และถ้าคิดว่านี่คือ การล้างพิษ ก็คงเชื่อได้ว่า นี่คือตัวจริงเสียงจริง ความรู้ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนยังไม่เคยพบว่า มีการอภิปรายทั้งในบทความของไทยและเทศคือ ในการตอบคำถามว่า กลูตาไธโอนนั้นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายหรือไม่นั้นคือ การศึกษาทาง pharmacokinetics หรือที่คนไทยบัญญัติคำ ๆ นี้ว่า เภสัชจลนศาสตร์ (ซึ่งคงต้องอธิบายความง่าย ๆ ว่า มันคือ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของยาในเลือดเมื่อเวลาผ่านไป ผลที่ได้นั้นทำให้สามารถคำนวณอัตราการดูดซึม (absorption rate) ขับออก (elimination rate) และค่าครึ่งชีวิต (half life) ของยา) เมื่อผู้เขียนเข้าใช้บริการของ […]