Tag : ควันพิษ

นิเวศในเมือง
read

ควันหลง

นับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ควันไฟที่ถูกพัดพามาจากเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ถล่มสิงคโปร์และมาเลเซียอย่างต่อเนื่องร่วม 2 เดือนซึ่งในปีนี้ถือว่าโดนกระหน่ำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ จะว่าไป สถานการณ์ควันไฟอันแสนสาหัสปีนี้ มีเหตุผลประกอบอยู่หลายอย่าง อย่างแรกนี่ต้องถือว่าโดนลูกหลงจากอิทธิพลเอลนิโญ  เพราะการเผาถางพื้นที่โดยทั่วไปของอินโดนีเซีย แม้ว่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี แต่มาเข้มข้นขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ตรงกับช่วงหน้าแล้งที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่นำอากาศร้อนมาจากทะเลทรายของออสเตรเลียมาปกคลุมพื้นที่ที่อยู่เหนือออสเตรเลียขึ้นมา  ซึ่งมาเลเซียฝั่งตะวันตก (คาบสมุทรมลายู) ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากควันไฟที่ลอยขึ้นมาจากเกาะสุมาตรา ในขณะที่ควันไฟจากรัฐกลิมันตันของเกาะบอร์เนียว ลอยเข้าไปยังทางรัฐซาราวัคและซาบาห์ จนเป็นเหตุให้กระทรวงศึกษาธิการที่นี่ต้องประกาศหยุดโรงเรียนเป็นระยะๆ ตามความสาหัสของค่าดัชนีมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Index: API) ตอนต้นเดือนตุลาคม ในช่วงวันที่เมืองชาห์ อาลาม อันเป็นเมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ที่ผู้เขียนอยู่นี้มีค่าดัชนีพุ่งสูงถึง 308 มีประกาศจากทางการให้โรงเรียนกว่า 2,500 แห่งใน 6 รัฐต้องหยุดเรียนไป 4 วัน ทำให้นักเรียนกว่า 1.7 ล้านคนแสดงความดีใจอย่างกลั้นไม่อยู่เนื่องจากมีผลให้เลื่อนการสอบออกไปอีกหนึ่งสัปดาห์ในขณะที่ผู้ปกครองต่างพากันเครียดทั้งจากควันไฟนอกบ้านและบรรยากาศมาคุภายในบ้านเนื่องจากต้องเคี่ยวเข็ญให้ลูกๆอ่านหนังสือเตรียมตัวก่อนสอบอีกรอบหนึ่ง เหตุผลที่สอง เป็นเรื่องของสถานที่เกิดเหตุ ถ้าหากดูจากแผนที่แสดงป่าพรุบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย คาบสมุทรมลายู และเกาะบอร์เนียวแล้ว (แผนที่)  จะเห็นว่ามีป่าพรุครอบคลุมพื้นที่อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของป่าพรุคือเป็นป่าชุ่มน้ำที่มีซากพืซทับถมอยู่ในชั้นใต้ดิน ถือว่าเป็นคลังเก็บคาร์บอนของโลกที่ดีเยี่ยม เพราะเมื่อกิ่งไม้น้อยใหญ่เหล่านั้นจมอยู่ในน้ำ พวกมันไม่เปิดโอกาสให้จุลินทรีย์ต่างๆ เข้ามาย่อยสลายได้อย่างง่ายดายเหมือนอย่างซากต้นไม้ในป่าร้อนชื้นทั่วไป หากมีการขุดดินพรุขึ้นมา ดินชั้นล่างอาจมีอายุมากถึง 6-7 พันปี […]

Read More