Tag : ดร.อ้อย

นิเวศในเมือง
read

ทำไมมนุษย์เป็นสัตว์แก่วัยทอง?

ความแปลกอย่างหนึ่งของมนุษย์ คือเราเป็นสัตว์ไม่กี่ชนิดที่มีอายุยืนยาวตามธรรมชาติได้นานหลังวัยเจริญพันธุ์ ไข่ของมนุษย์ผู้หญิงจะถูกปล่อยทิ้งหมดไปเมื่ออายุราว 40-50 ปี ประจำเดือน (menstruation) หมดก็เข้าสู่วัยทอง แต่พวกนางก็ยังมีเรี่ยวแรงไม่แก่ตายโดยเร็ว แม้ในยุคที่การแพทย์ยังไม่ล้ำจนสามารถยืดอายุมนุษย์ได้ยาวนาน ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยก็ยังอายุยืนหลังวัยทองไปได้อีกหลายสิบปี เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแม้ในหมู่ชนเผ่าล่าสัตว์เก็บของป่า จึงต้องสรุปว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ต่างจากสัตว์ส่วนใหญ่ หลายชนิดมีชีวิตเพียงเพื่อผสมพันธุ์วางไข่ออกลูกครั้งเดียวแล้วตาย อีกหลายชนิดออกลูกได้หลายครั้งหลายปี แต่เมื่อหมดความสามารถในการสืบพันธุ์แล้วก็ตาย ถ้าไม่นับสัตว์ที่คนเอามาเลี้ยงดูแลในสถานเพาะเลี้ยงต่างๆ สัตว์ป่าในธรรมชาติที่มีวัยทองเท่าที่เรารู้มีไม่มากนัก อาทิวาฬเพชฌฆาตประเภทไม่อพยพ วาฬนำร่องครีบสั้นหรือโลมาหัวกลม เพลี้ยอ่อนสังคมที่สร้างหูดบนพืช (gall-forming social aphid) เป็นต้น มันเป็นปรากฎการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ยังงุนงง มีทฤษฎีถกเถียงกันมากมายถึงเหตุผลการวิวัฒนาการคุณลักษณะนี้ หลายทฤษฎีฟังดูเข้าท่า แต่พอตรวจสอบข้อมูลก็ล้มพับไป จึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่มีข้อสังเกตน่าพิจารณา สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์สังคมซึ่งตัวอ่อนต้องได้รับการดูแลเป็นเวลานานเพื่ออยู่รอด วาฬเพชฌฆาตเด็กต้องการแม่ดูแลยาวนานยิ่งกว่ามนุษย์อีก มันมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายกว่าจะหากิน หลีกเลี่ยงภัยเสี่ยงในชีวิตได้ แม่และยายที่มีประสบการณ์มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะในช่วงยากแร้น เพราะต้องอาศัยความรู้ทางนิเวศท้องถิ่นเป็นอย่างดีที่จะอยู่รอดผ่านพ้นภาวะลำบากไปได้  ไหนยังต้องเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมทะเลอีก มนุษย์ก็เช่นกัน ในสังคมโบราณจวบจนไม่นานมานี้ หญิงวัยทองยันนางเฒ่ามีบทบาทสำคัญในครอบครัวและชุมชน เป็นผู้ช่วยเลี้ยงดูเด็กรุ่นใหม่ แบ่งเบาภาระให้แม่สาวๆ ออกไปทำมาหากิน นางเฒ่าหลายคนยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้และปัญญาจากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี คนในสังคมได้อาศัยปรึกษาหารือ แต่ความต้องการผู้มีประสบการณ์ช่วยเลี้ยงดูเด็กและแก้ปัญหาให้ชุมชนก็ไม่ใช่เหตุผลเด็ดที่จะฟันธงสำหรับอธิบายปรากฎการณ์วัยทอง สัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิดก็อยู่กันเป็นสังคมและช่วยกันเลี้ยงเด็ก ยกตัวอย่างช้าง ช้างเป็นสัตว์อายุยืนยาวเครือๆ มนุษย์ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เอกลักษณ์ความเป็นมนุษย์

ได้ดูเรื่อง Ghost in the Shell ที่เอามังงะญี่ปุ่นมาทำเป็นหนัง นางเอกเป็นมนุษย์ถูกผ่าตัดทดลอง มีร่างเป็นหุ่นยนต์ไฮเทค แต่จิตวิญญานเธอยังอยู่ในนั้น เธอ–เมเจอร์มิรา–ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ก็อึดอัดสับสนกับอัตลักษณ์ของตัวเอง หมอที่ผ่าตัดเธอจึงบอกเธอด้วยความเมตตาว่า “เมื่อเรายอมรับความเป็นเอกลักษณ์ของเราได้ เราจะพบความสงบในจิตใจ” เอกลักษณ์ไม่ได้แปลว่าดีกว่า พิเศษกว่าผู้อื่น หรือห่วยกว่า ด้อยกว่าผู้อื่น มันหมายถึงลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร ที่เรารับรู้ ยอมรับ โอเคกับมัน และรู้จักใช้มัน ในหน่วยของปัจเจกเราแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ถอยออกมาในหน่วยใหญ่ขึ้น ชีวิตแต่ละสายพันธุ์ก็มีเอกลักษณ์ร่วมของมัน แตกต่างจากสายพันธุ์ร่วมโลกอื่นๆ แล้วอะไรที่ทำให้มนุษย์ต่างไปจากสัตว์อื่นๆ สมัยที่เป็นนักศึกษาโบราณคดีนานนมเนในยุค 80 เราต้องว่ายวนอยู่กับคำถามนี้ ในทางกายภาพสรีระ ตอบไม่ยากนัก เห็นกันอยู่ชัดๆ ว่าเราเป็นลิงขนอ่อนบางจนแลเหมือนไม่มีขน เคลื่อนที่ด้วยสองขา ปลดปล่อยแขนและมือให้เป็นอิสระ มีนิ้วโป้งที่ประกบกับนิ้วอื่นๆ ได้ทุกนิ้ว ทำให้เราจับโน่นนี่ได้ถนัด ประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ ได้ดี สุดแท้แต่สมองใหญ่แสนฉลาดจะคิดค้น เราภูมิใจกับสมองและมือของเรามาก จนเกิดการตีความเอกลักษณ์ของมนุษย์ในแง่มุมว่าเหนือกว่าสัตว์อื่นๆ เช่น ตั้งสมญานามมนุษย์ว่า “มนุษย์ผู้สร้างเครื่องมือ” “มนุษย์ผู้พูดภาษา” หรือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดอะไรทำนองนี้ และมีทฤษฎีถกเถียงกันมากมายถึงเหตุที่มาของวิวัฒนาการสมองใหญ่เดินสองขา ซึ่งมักจะได้รับอิทธิพลจากกระแสความคิดทางสังคมการเมืองในแต่ละยุค จากยุคชายเป็นใหญ่ เชื่อว่าเป็นแรงขับเคลื่อนจากการล่าสัตว์ของผู้ชาย ถึงยุคสิทธิสตรีเถียงว่าเป็นการเก็บของป่าของผู้หญิงต่างหาก […]

Read More