กรุงเทพฯ ไม่ได้มีแต่แหล่งชอปปิ้ง ตึกรามอาคาร สถานบันเทิง ผู้คน และรถยนต์เท่านั้น แต่ยังมีสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติอีกหลากหลายที่อาศัยอยู่ร่วมกันในเมืองใหญ่แห่งนี้
เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิโลกสีเขียวร่วมกับกลุ่มองค์เครือข่ายเเละนักวิทยาศาสตร์เเนวหน้าของประเทศหลายด้าน ได้เเก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.), สำนักอนุรักษ์และวิจัย องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สมาคมอนุรักษ์นกและ ธรรมชาติแห่งประเทศไทย, กลุ่ม Ecoliteracy & Conservation in Action (ECA) ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม (Siamensis.org), กลุ่ม Nature Play and Learn Club พร้อมกับเหล่าอาสาสมัครเกือบ 300 ชีวิต จับมือกัน สำรวจความหลากหลาย ทางชีวภาพในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ในงาน Bangkok Wild Watch 2018 @Rot Fai Park เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างความตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ การสำรวจครั้งนี้พบสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 167 ชนิด ซึ่งเเบ่งตามกลุ่มสำรวจดังนี้
กลุ่มนกเเละพรรณพืช นำทีมโดย คุณอุเทน ภุมรินทร์ จากกลุ่ม Nature Play and Learn Club เเละคุณวัทธิกร โสภณรัตน์ จากสมาคมอนุรักษ์นกเเละธรรมชาติเเห่งประเทศไทย เดินสำรวจนกเเละพรรณพืช บริเวณรอบๆ สวนรถไฟ เจอนกทั้งหมด 40 ชนิด เช่น นกตะขาบทุ่ง อีกา นกกางเขนบ้าน นกตีทอง เป็นต้น ครั้งนี้นกที่สำรวจพบว่าเป็นนกอพยพส่วนใหญ่ เช่น นกจับเเมลงหัวเทา นกจับเเมลง นกจับเเมลงจุกดำ เป็นต้น สวนรถไฟเป็นเเหล่งศึกษาธรรมชาติใจกลางเมืองกรุงเเละเป็นแหล่งที่แนะนำ 1 ใน 5 สถานที่ดูนกในเมืองของ โลก นอกจากนี้กลุ่มได้สำรวจพรรณพืชพบไม่น้อยกว่า 30 ชนิด พืชที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่มเเละไม้ผล เเบ่งเป็นพืชท้องถิ่น เช่น ต้นสำโรง ต้นเเก้ว ต้นมะกอกน้ำ เป็นต้น เเละพืชต่างถิ่น เช่น มะขาม มะขามเทศ จามจุรี เป็นต้น จากการสำรวจพบว่ามีนกที่หลากหลาย ทั้งที่กินพืช กินแมลง หากินตามพื้น หากินบนต้นไม้หรือหากินอยู่บนท้องฟ้า รวมทั้งมีพรรณไม้ที่หลากหลาย ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ต้นหญ้า สำหรับ ที่เป็นอาศัยของเเมลงต่างๆ ที่เป็นอาหารของนกซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่สวนรถไฟค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
กลุ่มสำรวจสัตว์หมวด ก. (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม) นำทีมสำรวจโดยคุณบุตดา โชติมานวิจิต จากกลุ่ม Ecoliteracy & Conservation in Action (ECA) ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจสัตว์หมวด ก. พบเพียง 2 ชนิด ได้เเก่ กระรอกหลากสี 14 ตัว เเละกระเเตพันธุ์เหนือ 7 ตัว สัตว์กลุ่มนี้โดยเฉพาะกระรอก ซึ่งกินอาหารได้หลากหลายมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเมืองได้ดีจึงเจอได้ทั่วไปทุกที่ กระรอกมี บทบาทในธรรมชาติคือเป็นผู้ล่าเมล็ด เป็นตัวช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ได้ดี เช่น หูกวาง มะขามเทศ หางนกยูงฝรั่ง ส่วนกระเเตมีบทบาทในการกำจัดสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น เเมลงเเละสัตว์หน้าดิน เป็นต้น
กลุ่มเเมลงเเละเเมง นำทีมสำรวจโดยคุณทัศนัย จีนทอง จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เเห่งชาติ เเละคุณอธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ จากมูลนิธิโลกสีเขียว การสำรวจครั้งนี้พบเเมลงเเละเเมงทั้งหมด 40 ชนิด เเยกได้ เเมลง 33 ชนิด เเละเเมง 7 ชนิด โดยเจอกลุ่มผีเสื้อกลางวันมากที่สุดเช่น ผีเสื้อปีกไข่ใหญ่ ผีเสื้อหนอนใบรัก ธรรมดา ผีเสื้อหนอนมะนาว เป็นต้น นอกจากนั้นได้เดินสำรวจตามขอนไม้ กิ่งไม้ ใบหญ้า ดอกหญ้า พบ มด ด้วง มวน ผึ้ง ชันโรง เป็นจำนวนมาก สำหรับกลุ่มเเมงเจอเเมงมุมตามพุ่มไม้ส่วนใหญ่ เช่น เเมงมุมกระโดดพิน- เทลล่า เเมงมุมเขี้ยวใหญ่ (วัยอ่อน) เป็นต้น นอกจากนั้นเจอเเมงมุมที่เป็นตัวบ่งชี้สภาพสิ่งเเวดล้อมที่ต้นไม้สูงๆ โปร่งๆ ได้เเก่ เเมงมุมพาราวิคเซีย ในการสำรวจครั้งนี้พบสัตว์กลุ่มนี้จำนวนพอสมควร ซึ่งเเสดงให้เห็นถึง ความสมบูรณ์ของอาหารที่มีปริมาณที่พอเหมาะกับการดำรงชีวิต เเละสัตว์ในกลุ่มนี้มีบทบาทที่สำคัญในการ ผสมเกสรให้กับต้นไม้และช่วยควบคุมแมลงศัตรูของสัตว์และต้นพืชที่อยู่ในสวนด้วย
กลุ่มไลเคน นำทีมสำรวจโดยมูลนิธิโลกสีเขียว สำรวจตามต้นไม้ต่างๆ ในบางจุดของสวนรถไฟ ได้เเก่ ต้นกะพี้จั่น ต้นหมาก ต้นงิ้วป่า ต้นประดู่ เป็นต้น เจอไลเคนทั้งหมด 9 ชนิด เช่น กลุ่มโดรายากิ ไฝพระอินทร์ สิวหัวช้างจิ๋ว หัตถ์ทศกัณฐ์กุมน้ำเเข็ง เป็นต้น ซึ่งจากการสำรวจสามารถประเมินคุณภาพอากาศได้เบื้องต้น ได้ว่าอากาศในบริเวณสวนรถไฟอยู่ในเกณฑ์พอใช้ซึ่งดีกว่าการสำรวจเมื่อปีที่ผ่านมาคือ ปี 2560 เเละ ปี 2553
กลุ่มเเพลงก์ตอน นำทีมสำรวจโดยอาจารย์เวชศาสตร์ พลเยี่ยม จากภาควิชาชีวิทยา มหาวิทยาลัย รามคำเเหง สำรวจเจอเเพลงก์ตอนทั้งหมด 13 ชนิด เเยกเป็นเเพลงก์ตอนพืช 9 ชนิด เเละเเพลงก์ตอนสัตว์
3 ชนิด จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าคุณภาพของเเหล่งน้ำในสวนรถไฟค่อนข้างดี เนื่องจากเจอเเพลงก์ตอน ในกลุ่มที่อยู่ในน้ำดีปานกลาง เเละเมื่อเทียบกันสวนสาธารณะบางเเห่งที่มีการใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้ในปริมาณที่มาก ทำให้เเพลงก์ตอนกลุ่มที่อยู่ในน้ำเสียมีจำนวนมาก เช่น เเพลงก์ตอนในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวเเกมน้ำเงินที่จะ พบมากในเเหล่งน้ำเสีย เป็นต้น เเละที่น่าสนใจในการสำรวจครั้งนี้ทีมสำรวจพบผำน้ำหรือไข่น้ำ ซึ่งเจอในน้ำ ที่สะอาดเเละบ่งบอกชี้คุณภาพน้ำที่ดีในสวนรถไฟได้อย่างชัดเจน
กลุ่มปลาเเละสัตว์น้ำ นำทีมสำรวจโดย ดร.นณณ์ ผานิตวงศ์ จากกลุ่ม siamensis.org สำรวจบริเวณ บ่อน้ำส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเเหล่งน้ำนิ่งทำให้พบปลาไม่เยอะมาก ทีมสำรวจใช้วิธีการมองหาด้วยตาเปล่าหากเป็น ปลาที่มีขนาดใหญ่ เเละใช้สวิงจับสำหรับปลาที่มีตัวขนาดเล็กๆ ซึ่งสำรวจพบปลาทั้งหมด 9 ชนิด เช่น ปลาบู่ใส ปลาบู่หมาจูเเคระ ปลากินยุง ปลาช่อน เป็นต้น เเละสัตว์น้ำชนิดอื่นจำนวน 8 ชนิด ได้เเก่ กุ้งฝอย กุ้งเข็บ ปูลำห้วย มวนกรรเชียง จิงโจ้น้ำ ตัวอ่อนเเมลงปอเข็ม หอยขม เเละหอยเชอรี่ จากการสำรวจนี้พบว่าเเหล่ง น้ำนิ่งในสวนรถไฟมีคุณภาพค่อนข้างดี จากการพบปลาบู่ใส ปลาบู่หมาจูเเคระ เพราะปลากลุ่มนี้ต้องการอาศัย ในน้ำค่อนข้างดีพอสมควร ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินเบื้องต้นของกลุ่มสำรวจเเพลงก์ตอน
สัตว์เลื้อยคลานเเละสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นำทีมสำรวจโดยคุณรุจิระ มหาพรหม จากองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบทั้งหมด 4 ชนิด โดยพบเหี้ย 11 ตัว สามารถเเบ่งได้ 2 ช่วงอายุ คือ ตัวเต็มวัย 9 ตัว เเละวัยเด็ก 2 ตัว เหี้ยมีบทบาทช่วยกำจัดของเน่าเสียอย่างพวกปลาและสัตว์อื่นที่ตายใน บริเวณสวนสาธารณะ นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันการระบาดของโรคที่มาจากสัตว์ที่ตายอีกด้วย เหี้ยเป็นผู้ ควบคุมสัตว์ในกลุ่มอื่นๆ อีก เช่น สัตว์หน้าดิน กระรอก ลูกนก เป็นต้น เพื่อไม่ให้มีจำนวนเพ่ิมมากจนเกินไป นอกจากนี้ยังพบเต่า 2 ชนิด ได้เเก่ เต่าเเก้มเเดง เต่าบัว เเละที่น่าสนใจที่สุดซึ่งไม่ค่อยเจอในเมืองมากนักคือ “อึ่งหลังขีด” ซึ่งบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของดินเเละพืชพรรณที่ต่างๆ ที่เป็นที่อยู่เเละเเหล่งอาหารให้กับ สัตว์กลุ่มนี้
กลุ่มสัตว์หน้าดิน นำทีมสำรวจโดย ดร.สมศักดิ์ ปัญหา จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพ (ศคช.) สำรวจบริเวณรอบๆ ตามพื้นดินกองใบไม้ขอนไม้พุๆ พบสัตว์หน้าดิน 10 ชนิด เช่น กิ้งกือเเดง ตะขาบดิน หอยทากสยาม ทากเปลือย เป็นต้น สัตว์หน้าดินส่วนใหญ่ที่พบเรามักพบได้ทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ย่อยสลายซากพืชเเละสัตว์ต่างๆ ได้ดี นอกจากนั้นยังทำให้เกิดระบบหมุนเวียนของธาตุ อาหารต่างๆ ในระบบนิเวศไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือนอกเมืองก็ตาม
ด้วยเหตุผลที่เรามาตรวจสุขภาพเมืองผ่านสิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นประจำทุกปีหมุนเวียนกันไปตาม สวนสาธารณะอื่นๆ ซึ่งก็เหมือนกับที่คนเราไปตรวจสุขภาพประจำทุกปี จะทำให้มองเห็นสัญญาณต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งเเวดล้อมรอบๆ ตัวเราซึ่งเป็นการเตือนภัยล่วงหน้า เเละเราก็จะสามารถเเก้ปัญหาได้อย่างทัน ท่วงทีในเเง่ของบทบาทหน้าที่ของสัตว์ที่ทำให้เราได้รับรู้ อีกประการที่สำคัญคือเพื่อให้เด็กๆ ผู้ปกครอง รวมทั้งคนในเมืองได้เปิดโลกมหัศจรรย์มากมายในธรรมชาติ เพราะในอนาคต องค์ความรู้ทั้งหมด ทางออก ทั้งหมด จะถูกซ่อนไว้ในธรรมชาติมากมาย สวนสาธารณะจึงถือเป็นปอดใจกลาง เมืองและเป็นที่หลบภัยของ สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด การได้มาเป็นหมอเมืองเพื่อตรวจสุขภาพเมืองจะทำให้เรา เริ่มต้นตระหนักเห็นความ สำคัญของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสังคม เพราะตัวชี้วัดเมืองที่ยั่งยืนก็ คือ “ถ้าสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ได้ เราก็อยู่ได้เช่นกัน”
สามารถเข้าไปดูผลการสำรวจสิ่งมีชีวิตจากกิจกรรม Bangkok Wild Watch 2018 @Rot Fai Park ได้ที่ >>> https://bit.ly/2smn7cV