จักจั่นเมืองกรุง
จักจั่น เป็นแมลงดึกดำบรรพ์ที่กำเนิดขึ้นมาในโลกนี้เมื่อราว 200 ล้านปีก่อน เก่ากว่ายุคยุลาสสิคซะอีก ปัจจุบันโลกเรามีจักจั่นอยู่กว่า 2,500 สายพันธุ์
จักจั่น เป็นแมลงดึกดำบรรพ์ที่กำเนิดขึ้นมาในโลกนี้เมื่อราว 200 ล้านปีก่อน เก่ากว่ายุคยุลาสสิคซะอีก ปัจจุบันโลกเรามีจักจั่นอยู่กว่า 2,500 สายพันธุ์
เมษาที่ผ่านมา เล่นหนักเล่นใหญ่ ชวนคนกรุงตามหานักย่อยซาก ทำงานกันเป็นเเก๊งค์ ชื่อว่า “เเก๊งค์เเมลงสาบ” สิ่งมีชีวิตที่มีประวัติอันยาวนานกว่า 250 ล้านปี รู้หรือเปล่าว่าในกรุงเเก๊งค์เเมลงสาบที่เห็นเดินเพ่นพ่านไปมาไม่ได้มีเเค่ชนิดเดียวเเต่มีถึง 5 ชนิด เเละในเเก๊งค์ก็มีเเมลงสาบสัญชาติไทยอยู่ชนิดเดียวนอกนั้นเป็นสัญชาติฝรั่งหมด…มาดูกันว่าเป็นตัวไหนบ้าง นอกจาก 5 ชนิด ที่เห็นในภาพเเล้วพบว่ามีเเมลงสาบอีกชนิดซึ่งตกสำรวจไปนั่นคือ “เเมลงสาบผี” มีสีสันเเละลวดลายสะดุดตา แมลงสาบผีตัวนี้เเสบสุดๆ ในบรรดาพรรคพวกในเเก๊งค์ เพราะเเมลงสาบโดยปกติเเล้วก็ขึ้นชื่อเรื่องกลิ่นอยู่เเล้ว เเต่ตัวนี้กลิ่นเเรงที่สุด จากโลเคชันของสมาชิกที่ส่งกันเข้ามาทั้งสี่สัปดาห์มีเเมลงสาบทั้งหมด 77 จุด เเละพบว่ามีการกระจายอยู่ทั่วไปในเมืองกรุงเเห่งนี้ เเสดงให้เห็นว่าเเมลงสาบตั้งเเต่ในอดีตจนปัจจุบันพวกมันมีการปรับตัวให้อยู่รอดในสิ่งเเวดล้อมรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเเละดีที่สุด – แมลงสาบต้องการอะไรจากเรา? – ทำไมพวกมันจึงมาเยี่ยมในบ้านเราบ่อยนัก? เเมลงสาบต้องการอาหาร น้ำ ความอบอุ่น และที่พัก (โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศหนาวจัดหรือร้อนจัด) พวกมันจะถูกดึงดูดด้วยอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง หรือไขมัน เเละพวกมันก็กินอาหารได้ทุกๆ อย่าง ดังนั้นการจัดเก็บบ้านให้ดูสะอาดอยู่เสมอ ไม่นำขยะหรือสิ่งหมักหมมไว้ในบ้าน เท่านี้เเมลงสาบก็จะไม่เข้ามารบกวนคุณอีก นอกจากนั้นเเถบชนบท ชาวบ้านนิยมนำกิ่ง “ยี่โถ” มาวางไว้ในบ้านเพื่อไล่เเมลงสาบเเละหนูไม่ให้มากินข้าวที่เก็บไว้ในยุ้งฉางเเละในบ้าน เนื่องจากที่เปลือกยี่โถมีสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ในการไล่เเละกำจัดเเมลงสาบรวมทั้งเเมลงอื่นๆ เเต่ไม่ควรนำมาวางใกล้กับอาหารเพราะน้ำยางของมันเป็นพิษ หากโดนผิวอาจผิวระคายเคือง หรือกินเข้าไปอาจถึงตายได้ถ้ามีอาการเเพ้อย่างรุนเเรง ถึงเเม้พวกเเมลงสาบจะดูน่าเกลียดน่ากลัวขนาดไหน […]
แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนี้ นักเเมลงศึกษาและตั้งชื่อให้พวกมันแล้วกว่าล้านชนิด แต่มีแมลงอีกมากกว่า 2 ใน 3
ผีเสื้อตัวนี้หลายคนเห็นมันบินไปบินมาตามพุ่มไม้ไม่สูงมากนัก มันเป็น “หนอนกาฝากธรรมดา” สัปดาห์เเรกในเดือนธันวาคมมีรายงาน location 28 จุด กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพเเละปริมณฑลบางส่วน
มูลนิธิโลกสีเขียวชวนคนเมืองกรุงสังเกตชีวิตป่าในเมือง เดือนละชนิด แล้วรายงานตำแหน่งที่พบเข้ามาทางแอพพลิเคชั่นไลน์ เป็นการตรวจสอบสุขภาวะเมือง เพราะเมืองที่ดีต้องมีชีวิตต่างๆ อยู่ร่วมกับเราได้
เดือนตุลาคมนี้ เป็นการสำรวจสัตว์ชนิดหนึ่งหน้าตาดูไม่หล่อเหลาเเละน่ารักมากนัก หลายคนเห็นเข้าถึงกับต้องตกใจเเละวิ่งหลบไปทันทีที่เจอเพราะกลัวว่ามันจะทำอันตราย มันมีชื่อเท่ๆ ตามเเบบฉบับของนักวิทยาศาสตร์ว่า “Varanus salvator” มีชื่อที่ฝรั่งเรียกกันว่า “Water monitor”
หลายคนคงจำได้สมัยเด็กๆ เคยอ่านหนังสือที่มีหมูชื่อ “วิลเบอร์” กับแมงมุม “ชาร์ลอตต์” นั่นคือ “เพื่อนรัก” แต่ถึงแม้พวกเราจะรู้จักเรื่องนี้มานานกว่าหลายปี แต่ทัศนคติของเราที่มีต่อแมง 8 ขากลับไม่เปลี่ยนแปลงไปสักเท่าไร ยิ่งมีข่าวร้ายๆ ที่แมงมุมตกเป็นจำเลย สัตว์ตัวน้อยที่รักสงบจึงกลายเป็น “สัตว์ร้าย”
งูเขียวพระอินทร์ (Chrysopelea ornata) ความพิเศษของงูชนิดนี้ที่หลายคนคงไม่เคยรู้มาก่อน คือความสามารถในการ “ร่อน” ได้ การร่อนของมันไม่ใช่การกางปีกบินและไม่ได้ไปได้ไกลเหมือนกับนกหรือแมลงอย่างใด แต่ก็มากพอที่จะส่งตัวของให้มันข้ามยอดไม้ไปมาได้
มูลนิธิโลกสีเขียวชวนคนเมืองกรุงสังเกตชีวิตป่าในเมือง เดือนละชนิด แล้วรายงานตำแหน่งที่พบเข้ามาทางแอพพลิเคชั่นไลน์ เป็นการตรวจสอบสุขภาวะเมือง เพราะเมืองที่ดีต้องมีชีวิตต่างๆ อยู่ร่วมกับเราได้ สัปดาห์สุดท้ายนี้ มีผู้สนใจ share location ของตุ๊กเเกทั้งหมด 21 จุด ในกรุงเทพเเละปริมณฑล รวมทั้งหมดทมีรายงานเจอตุ๊กเเก 231 จุด ในเดือนนี้ เจ้าพวกนี้อาศัยหลับนอนตามซอกตามหลืบของต้นไม้เเละหินตามธรรมชาติ เเต่เมื่อเจริญของเมืองเริ่มลุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติก็น่าจะทำให้ ตุ๊กเเกนี้ต้องย้ายที่อยู่ใหม่ มาอาศัยรวมกับมนุษย์ พวกมันเป็นสัตว์ที่ใครหลายคนต้องผวาเมื่อได้ยินเสียงร้อง “ต๋กเเก้ ต๋กเเก้ ต๋กแก้ เเก้ เเก้ ” พวกมันก็คือ “ตุ๊กเเกบ้าน” เพราะด้วยลักษณะหน้าตาประกอบกับมีตุ่มๆ จุดๆ บนผิวหนังลายๆ สีต่างกันออกไปตามสภาพเเวดล้อมที่มันอยู่ ทำให้คนที่พบเห็นมันต่างต้องกลัว ถึงกับต้องลงไม้ลงมือทุบตีขับไล่มันออกไปให้ไกลจากบ้าน ทั้งๆ ที่หลายคนไม่เคยรู้เลยว่า พวกมันได้ฉายาว่า “ไอ้ตีนกาว” เพราะที่ตีนของมันถูกออกเเบบมาเพื่อเกาะติดบนผนังทุกพื้นผิว ที่เป็นอย่างนั้นเพราะที่นิ้วตีนของมันมีลักษณะเป็นซี่ตะขอเล็กๆ จำนวนมากสำหรับเกี่ยวกับพื้นผนัง ตุ๊กเเกถือว่าเป็นนักล่าเเมลงในยามรัตติกาลควบคุมไม่ให้เเมลงน้อยใหญ่ ลูกหนูเเละงูบางชนิดไม่ให้มีมากจนทำลายระบบนิเวศอื่นๆ เมื่อรู้อย่างนี้เเล้วว่า ประโยชน์ของเจ้า “ต๋กแก” มีมากมายในระบบนิเวศ ก็ไม่ต้องกลัวอะไรอีกเเล้วเพราะมีผู้ช่วยกำจัดเเมลงให้เราโดยที่เราไม่ต้องใช้สารเคมีด้วยซ้ำ คราวหลังถามเห็นมันก็อย่าตกใจกลัวจนต้องขับไล่ ตีมันจนตายเลยนะครับผม ออกอากาศเมื่อวันที่ 8 […]
มูลนิธิโลกสีเขียวชวนคนเมืองกรุงสังเกตชีวิตป่าในเมือง เดือนละชนิด แล้วรายงานตำแหน่งที่พบเข้ามาทางแอพพลิเคชั่นไลน์ เป็นการตรวจสอบสุขภาวะเมือง เพราะเมืองที่ดีต้องมีชีวิตต่างๆ อยู่ร่วมกับเราได้ สัปดาห์ที่สี่ของการส่ง share location นกตีทอง 36 จุด รวมทั้งหมดสามสัปดาห์มีผู้รายงานเจอนกตีทอง 188 จุด ในกรุงเทพเเละปริมณฑล มีคนสนใจเข้าร่วมสำรวจ 155 คน เมื่อพบนกตีทองที่ใด ที่นั่นมีมักมีต้นไม้ใหญ่และความอุดมสมบูรณ์เเละเเสดงถึงร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่พอสมควรในกรุง จากข้อมูลที่รวบรวมได้ จะเห็นว่าในเมืองกรุงยังมีหลายพื้นที่ที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอให้นกตีทองอาศัยอยู่ได้ แผนที่ของนกตีทองจะเเสดงจำนวนเเละความอุดมสมบูรณ์มากแค่ไหนเเละวิเคราะห์ในเบื้องต้นได้ดีที่สุดหากมีข้อมูลมากเพียงพอ จากการสังเกตในเเผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมใน Google ได้เเบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่สาธารณะ 2) พื้นที่ส่วนบุคคล มีรายงานในบริเวณที่เจอนกตีทองในพื้นที่สาธารณะ 72 จุด เเละพื้นที่ส่วนบุคคล 116 จุด ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เจอ พื้นที่ส่วนบุคคลส่วนใหญ่ที่เจอนกตีทองจะมีต้นไม้พอเป็นที่อาศัยเเละหาอาหารได้ระดับหนึ่ง ทำให้นกตีทองอยู่อาศัยอยู่ได้เเละน่าจะรวมถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นด้วยเช่นกัน การ share location ยังไม่จบเพียงเท่านี้ยังเหลือโค้งสุดท้ายในสัปดาห์นี้ที่จะได้ตรวจสุขภาพต้นไม้ใหญ่ในกรุงกับนกตีทอง ชาวกรุงสามารถส่งจุดที่เจอนกตีทองได้ตลอดเดือนมิถุนายนนี้ง ทาง line app ข้อมูลจากทุกคนจะรวมเป็นเเผนที่นกตีทองในเมืองให้ได้ติดตามกันทุกๆ วันอาทิตย์ วิธีการรายงานง่ายมาก คลิ๊กเข้าไปดูแนวทางที่ link […]
มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากว่า 20 ปี โดยทำงานร่วมกับคุณครู เยาวชนและชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มูลนิธิฯ ได้พัฒนากระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยการสร้างเครื่องมือให้ประชาชนทั่วไปสามารถตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้เอง ได้แก่ “โครงการนักสืบสายน้ำ” ที่ให้เครือข่ายโรงเรียนและประชาชนทั่วไปตรวจสอบคุณภาพน้ำแม่ปิงด้วยการสังเกตสัตว์เล็กน้ำจืด ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับอ่านสุขภาพลำน้ำ ก่อให้เกิดการอนุรักษ์สายน้ำในท้องถิ่น “โครงการนักสืบชายหาด” โดยการสำรวจความหลากหลายของสัตว์และพืชชายหาด เพื่อดูแลเฝ้าระวังชายหาดในท้องถิ่น และ จากกิจกรรมของโครงการดังกล่าว ส่งผลให้คุณครู เยาวชน และชุมชนท้องถิ่นนำกระบวนการไปใช้และขยายผลทั่วประเทศ
จากนั้นในปี 2551 มูลนิธิฯ ได้พัฒนา “โครงการนักสืบสายลม” โดยเริ่มต้นจากการสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของอากาศ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่สุขภาวะของตน ผ่านการเรียนรู้จากการใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพคือ “ไลเคน” ในการประเมินคุณภาพอากาศได้ด้วยตนเอง และได้จัดกิจกรรม “รวมพลังนักสืบสายลม” สำรวจไลเคน ณ สวนลุมพินี ในปี 2553-2557 เพื่อประเมินคุณภาพอากาศในสวนลุมพินีแบบละเอียด และจัดกิจกรรม BANGKOK WILD WATCH 2012-2014 เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่สวนลุมพินี และกิจกรรม BANGKOK WILD WATCH 2015 จัดที่ สวนหลวง ร.9 จากผลของกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการนักสืบสิ่งแวดล้อมของมูลนิธิฯ ได้สร้างฐานความรู้ให้เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้รู้จักการใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพมาเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบสุขภาพของสิ่งแวดล้อม นับเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างความตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันของคนเมืองกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ท่านสามารถร่วมบริจาคทุนสนับสนุนการดำเนินงานมูลนิธิฯ โดยการ
ชื่อบัญชี มูลนิธิโลกสีเขียว
(กรุณาแนบหลักฐานการ ฝาก/โอนเงิน ชื่อสกุล และที่อยู่ ส่งมาที่ gwf@greenworld.or.th หรือส่งกลับมาที่ "มูลโลกสีเขียว” เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท43 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 หรือส่งโทรสาร: 02-662-5767 หรือ ID Line: gwfthailnd)