in on December 22, 2015

เมื่อข้าวสีทองไม่ผ่องอำ

read |

Views

เกือบ 20 ปีแล้วที่นิตยสารไทม์ขึ้นปกเรื่องข้าวสีทองจีเอ็มโอว่าจะช่วยชีวิตเด็กได้นับล้านคนจนบัดนี้พืชที่อุตสาหกรรมจีเอ็มโอตั้งใจใช้เป็นหัวหอกเปิดประตูโลกสู่จีเอ็มโอกลับไปไม่ถึงไหน ตรงกันข้ามนับวันยิ่งมีข่าวคราวฉาวๆ ไม่เว้นแต่ละปี เผยให้เห็นว่าวงการนี้เต็มไปด้วยการเมืองลับลวงพราง และข้าวสีทองจีเอ็มโอก็ไม่ใช่ความหวังของชาวโลกดังที่วาดภาพไว้ ปี พ..2528 นักวิทยาศาสตร์เริ่มพัฒนาข้าวสีทองโดยยิงยีนเบต้าแคโรทีนเข้าไปในยีนข้าว แล้วตั้งชื่อว่าข้าวสีทองตามสีเหลืองของเมล็ดข้าวและหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง

ข้าวสีทองปรากฏโฉมในวารสารทางวิชาการครั้งแรกเมื่อปีพ.. 2543 โดยผู้พัฒนาอ้างว่าจะช่วยแก้ปัญหาโรคขาดวิตามินเอที่ทำให้คนทั่วโลกตาบอดปีละ 5 แสนคน และเสียชีวิตอีกปีละ 2 ล้านคนเมื่อพืชจีเอ็มโอถูกโจมตีเรื่องสิทธิบัตร กลยุทธแรกๆ ที่อุตสาหกรรมจีเอ็มโอนำมาใช้เพื่อแสดงความเป็นนักบุญคือการประกาศให้เกษตรกรไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิบัตรในเมล็ดพันธุ์ข้าวสีทอง แต่ถึงกระนั้นข้าวสีทองก็ยังไม่สามารถซื้อใจชาวโลกได้ เนื่องด้วยเหตุผลที่ยกมาอ้างเรื่องการให้คนกินข้าวเพื่อเพิ่มวิตามินเอนั้นฟังไม่ขึ้น โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนที่เต็มไปด้วยพืชผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอซึ่งหาได้ง่ายดายและราคาถูก มิหนำซ้ำยังมีข้อที่น่าห่วงใยว่าการนำข้าวจีเอ็มโอเข้าสู่สิ่งแวดล้อมเพียงเพื่อให้ได้วิตามินเอนั้นเสี่ยงเกินกว่าจะยอมรับได้ เพราะหากยีนจีเอ็มโอในข้าวสีทองไปปนเปื้อนกับข้าวปกติ จะกลายเป็นหายนะทั้งในเชิงสุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเลยทีเดียว


เมื่อใช้กลยุทธนักบุญมากว่า 20 ปี แต่ยังไม่ได้ผล สิ่งที่อุตสาหกรรมจีเอ็มโอใช้คือการหาช่องทางทำให้ข้าวสีทองถูกต้องตามกฏหมาย ดังที่ในเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ข้าวสีทอง www.goldenrice.org บอกไว้ว่าขั้นแรกคือทำให้กฎหมายอนุญาตสำหรับการบริโภคและขั้นต่อไปคือการอนุญาตให้เพาะปลูก ส่วนวิธีการก็คือการล็อบบี้และใช้ประโยชน์ทั้งจากบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้คนพฤศจิกายน 2556 ในงานประชุมเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับสมองที่สำนักวาติกัน มีภาพข่าวสันตปาปาฟรานซิสทรงรับเอกสารเกี่ยวกับข้าวสีทองจากอินโก้ ปอทรีคุส นักวิทยาศาสตร์ผู้พัฒนาข้าวสีทองและเป็นสมาชิกของสำนักวิทยาศาสตร์แห่งสันตปาปา (Pontifical Academy of Sciences) ในเว็บไซต์ goldenrice.org 

อินโก้บอกว่าสันตปาปาอวยพรให้ข้าวสีทองซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวและสิ่งที่สันตปาปาห่วงใยคือข้าวสีทองจะเอื้อต่อธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่าคนจนเป็นวิธีการแสวงหาการยอมรับในข้าวสีทองแบบโต้งๆ ไม่มีนัยยะใดแอบแฝงอินโก้บอกว่าความเข้าใจผิดของผู้คนทำให้ข้าวสีทองไม่ได้ออกสู่ท้องตลาดเสียทีขณะที่ฟิลิปปินส์มีคนเป็นโรคขาดวิตามินเอจำนวนมากและเป็นประเทศที่การทดลองข้าวสีทองใกล้จะเสร็จสิ้นเขาหวังจะใช้ฟิลิปปินส์เป็นต้นแบบการบริโภคและปลูกข้าวจีเอ็มโอสำหรับประเทศเพื่อนบ้านและเมื่อคนฟิลิปปินส์80 % เป็นชาวแคทอลิก หากสันตปาปาออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนจะเป็นสารทางการเมืองที่ทรงพลังมากความพยายามครั้งนี้ล้มเหลว เพราะสำนักวาติกันไม่ได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการใดๆ เพื่อสนับสนุนข้าวสีทอง ขณะที่คนฟิลิปปินส์เองก็ตั้งข้อสงสัยถึงความปลอดภัยของข้าวสีทองและออกมาประท้วง ส่วนกรีนพีซฟิลิปปินส์บอกว่าหลังจากพัฒนามา 20 ปีแล้ว ข้าวสีทองก็ยังไม่พร้อมสำหรับการบริโภคและอาจจะเป็นอันตราย

มันยังอยู่ในห้องทดลอง ยังไม่พร้อมสำหรับการค้า และการบอกว่าจะแก้ปัญหาโรคขาดวิตามินเองก็เป็นการชักนำสาธารณะไปในทางที่ผิดพฤษภาคม 2558 กลยุทธต่อมาของอุตสาหกรรมจีเอ็มโอคือการนำแพทริก มัวร์ นักนิเวศวิทยาชาวแคนาดามาเปิดตัวแคมเปญ อนุญาตให้ปลูกข้าวสีทองเดี๋ยวนี้ (Allow Golden Rice Now) โดยบอกว่าข้าวสีทองสามารถรักษาโรคขาดวิตามินเอได้และพร้อมจะออกสู่ท้องตลาดแล้ว ทำไมเราต้องปล่อยให้เด็กสองล้านคนตายเพราะโรคขาดวิตามินเอ นัยทางการเมืองคือแพทริกเคยเป็นสมาชิกของกรีนพีซสากลในยุคแรกๆ เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว และกรีนพีซเป็นองค์กรที่มีจุดยืนต่อต้านจีเอ็มโออย่างชัดเจน แต่ระหว่างการเปิดตัวแคมเปญและอยู่ในการแถลงข่าวผู้ชายคนนี้กลับทำเรื่องน่าขัน โดยอ้างว่าเราสามารถดื่มยาฆ่าหญ้าราวด์อัพได้ 1 ควอท (ปริมาณ 1 ลิตร) อย่างปลอดภัย แต่เมื่อนักข่าวท้าให้เขาดื่มให้ดู เขากลับปฏิเสธข่าวล่าสุดเกี่ยวกับสีทองในปีนี้ เมื่อ 29 กรกฎาคม 2558 วารสารโภชนาการคลีนิกอเมริกัน (American Journal of Clinical Nutrition) ถอนบทความเรื่องข้าวสีทองสามารถลดการขาดวิตามินเอในเด็ก ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2555 โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟท์ (Tufts) ทดลองให้เด็กอายุ 6-8 ปี จำนวน 68 คนในมณฑลหูหนาน ประเทศจีนกินข้าวสีทอง เปรียบเทียบกับผักโขม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินเอเพื่อเปรียบเทียบกันและสรุปว่าเด็กที่กินข้าวสีทอง 100-150 กรัมต่อวันจะได้รับวิตามินเอ 60 % ของปริมาณที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสถาบันวิจัยข้าวสากลที่ฟิลิปปินส์ (IRRI) มักนำไปอ้างอิง เมื่องานวิจัยชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ กรีนพีซสากลโจมตีว่าใช้เด็กเป็นหนูทดลอง ส่วนสื่อมวลชนในจีนก็โจมตีอย่างเผ็ดร้อน มหาวิทยาลัยทัฟท์จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนและพบว่ามีความผิดปกติในกระบวนการวิจัย เช่น ได้รับใบยินยอมจากผู้เข้าร่วมการทดลองหลังจากการวิจัยเริ่มต้นไปแล้ว และมหาวิทยาลัยประกาศห้ามนักวิจัยคนดังกล่าวทำการทดลองในมนุษย์เป็นเวลา 2ปี แม้ต่อมานักวิจัยจะยื่นคำร้องให้ศาลสั่งห้ามไม่ให้วารสารโภชนาการคลีนิกอเมริกันถอนบทความโดยอ้างเรื่องการทำให้สถาบันเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่ไม่เป็นผล

ต่อกรณีนี้เลขานุการคณะกรรมการข้าวสีทองเพื่อมนุษยชาติที่สวิทเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนการวิจัยข้าวสีทองบอกว่ามันเร็วเกินไปที่จะประเมินว่าการถอนบทความจะส่งผลต่อการสนับสนุนทางการเมืองแก่ข้าวสีทองหรือไม่ผมว่าเรื่องแบบนี้สามารถกู้คืนได้ นักวิจัยสามารถนำบทความไปตีพิมพ์ที่วารสารฉบับอื่นได้ และผมคิดว่าเขาก็จะทำแบบนั้นแหละการเดินทางของพืชจีเอ็มโอตัวแรกๆที่เป็นความหวังของอุตสาหกรรมจีเอ็มโอช่างยาวนานและเต็มไปด้วยขวากหนามมีการใช้ทรัพยากรต่างๆทั้งในการวิจัยและการวิ่งเต้นผลักดันให้เกิดการยอมรับจำนวนมหาศาลแต่ดูเหมือนว่าเมื่อเหตุที่ใช้กล่าวอ้างฟังไม่ขึ้นแต่แรกเสียแล้วก็ยากที่จะลบล้างความคิดหรือล้างสมองชาวโลกได้ถามจริง คุณคิดว่าการกินข้าวสีทองเพื่อให้ได้วิตามินเอกับการกินพืชผักผลไม้ที่มีวิตามินเอในตัว หรือการนำข้าวธรรมดาไปหุงแล้วใส่พืชผักที่อุดมไปด้วยวิตามินเอเหมือนที่คนรักสุขภาพทำอยู่ตอนนี้ แบบไหนง่ายและปลอดภัยกว่ากัน และถ้าเป็นคุณ คุณจะเลือกแบบไหน

อ้างอิง
  1. ภาพจาก: https://www.pexels.com/photo/rice-grain-164504/
  2. ภาพจาก: http://www.thetrippacker.com/en/place/http://www.clickandgrow.com/blogs/news/tagged/cool-stuff
  3. ภาพจาก: http://www.takepart.com/article/2015/07/27/rice-greenhouse-gas-emissions
ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์

คุยประเด็นสิ่งแวดล้อมกับอดีตนักข่าว นักเขียน บรรณาธิการนิตยสารสิ่งแวดล้อม และนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระที่สนใจประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการศึกษา ขณะเดียวกันก็รักการเดินทางและการออกกำลังกาย นิยมการเดินป่า เล่นโยคะ ปั่นจักรยาน และทำสวน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านเกิดอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

Email

Share