Natural Solution

Natural Solution
read

สาหร่ายแดงลดโลกร้อน…ความหวังของคนกินเนื้อและนม

ความนิยมในการบริโภคเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นหนึ่งความท้าทายที่สุดเรื่องหนึ่งของนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพราะรู้ทั้งรู้ว่าวัวเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาล แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะปฏิเสธเมนูเนื้อวัวที่แสนเย้ายวน ยังไม่รวมนม เนย และไอศกรีมหวานมันสุดอร่อย แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าบางทีคำตอบของการเลี้ยงวัวแบบรักษ์โลกอาจมีอยู่จริง เป็นคำตอบที่ซ่อนอยู่ในสาหร่ายสีแดงที่ชื่อ Asparagopsis taxiformis  วัวกลายเป็นผู้ร้ายในปัญหาโลกร้อนก็เพราะวัวนับเป็นตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งถ้าเทียบกันตัวต่อตัวในปริมาณเท่ากันแล้วมีอานุภาพรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ถึง 30เท่า จะว่าไปการปล่อยก๊าซมีเทนด้วยการตดหรือการเรอก็ไม่ใช่ความผิดของวัวที่แต่เป็นลักษณะทางชีววิทยาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับบรรดาสัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ที่กินหญ้าและอาหารที่มีเซลลูโลสเป็นองค์กระกอบสูงจำเป็นต้องพึ่งแบคทีเรียในกระเพาะอาหารช่วยย่อยในกระบวนการหมักที่เรียกว่า enteric fermentation ผลผลิตของกระบวนการย่อยอาหารของวัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ เพราะฉะนั้นวัวจึงต้องเรอและผายลมเพื่อระบายก๊าซออกทั้งวัน ประมาณ 90% เป็นการเรอ ที่เหลืออีก 10% เป็นตด วัวตัวหนึ่งปล่อยก๊าซมีเทนออกมาถึง 200-500 ลิตรต่อวัน คราวนี้ลองคูณกับจำนวนวัวที่มีมากกว่า 1.5 พันล้านตัวทั่วโลก ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรกรรมของสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าการทำปศุสัตว์ทั่วโลกทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่ากับการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 7 พันล้านตันต่อปี หรือคิดเป็น 14.5% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ทั้งหมด เมื่อรวมๆกันแล้วปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำปศุสัตว์จึงสูงกว่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ของรถยนต์และเครื่องบินรวมกันทั้งหมดเสียอีกนี่จึงเป็นที่มาว่าถ้าอยากจะช่วยลดโลกร้อนให้ลดการบริโภคเนื้อวัว แม้สัตว์เคี้ยงเอื้องอื่นๆ เช่นแกะ แพะ ควาย ต่างก็ผลิตก๊าซมีเทนเช่นกัน แต่วัวก็ยังนับว่าเป็นตัวการหลัก โดยปล่อยก๊าซมีเทนคิดเป็น 65% จากกิจกรรมปศุสัตว์ทั้งหมด เมื่อเร็วๆ นี้ เคน คัลไดรา นักวิจัยจากภาควิชานิเวศวิทยาโลก คณะวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันคาร์เนกี้ […]

Read More
Natural Solution
read

คุณค่าของต้นไม้ริมทาง

ใครที่เคยไปสิงคโปร์คงจะเคยเห็นว่าสิ่งที่เป็นจุดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ แห่งนี้คือต้นไม้ใหญ่ริมทาง ตั้งแต่ออกจากสนามบินจนเข้าเมืองเราจะได้เห็นไม้ใหญ่เรียงตัวเป็นทิวแถวแทบจะทุกถนนเส้นหลัก ลี กวน ยู นายกรัฐมนตรีผู้ก่อร่างสร้างชาติสิงคโปร์ เป็นผู้วางรากฐานสำคัญในการสร้างสิงคโปร์ให้เป็น Garden City จนมักจะได้รับเรียกว่าเป็น Gardener-in-Chief อีกตำแหน่งหนึ่ง ตอนที่ลี กวน ยู ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สิงคโปร์เพิ่งผ่านยุคอุตสาหกรรมและการขยายบ้านเมืองที่ทำให้พื้นที่จำนวนมากเสื่อมโทรม ลี กวน ยู บุกเบิกการปลูกต้นไม้ในเมืองและเริ่มการรณรงค์ให้สิงคโปร์เป็นนครแห่งสวนมาตั้งแต่ปี 1963 และผลักดันจนเกิดเป็นวันปลูกต้นไม้ประจำชาติ National Tree Planting Day ตั้งแต่ปี 1971 ทุกๆ วันอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนเพื่อรับฤดูฝนโดยตั้งเป้าปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 10,000 ต้น โดยราว 5,000 ต้นจะปลูกตามแนวถนน วงเวียน ที่จอดรถ และพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ (ต้นไม้ริมทางในสิงคโปร์ จาก Singapore National Park Service) ลี กวน ยู เชื่อว่าการปลูกต้นไม้จะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ร่มเย็นน่าอยู่ให้กับพลเมืองของเขา และสร้างภาพลักษณ์ที่น่าประทับใจให้กับผู้มาเยือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้นักลงทุนรู้สึกว่าสิงคโปร์เป็นเมืองที่น่าลงทุนตั้งแต่ก้าวแรกที่ออกจากสนามบิน ปัจจุบันเรามีงานวิจัยยืนยันผลประโยชน์จากการมีต้นไม้ในเมืองมากมาย อาทิ ไม้ใหญ่ที่สมบูรณ์ต้นหนึ่ง […]

Read More
Natural Solution
read

ถึงเวลาของมหาสมุทร: รู้จัก 5 นวัตกรรมใหม่ในการปกป้องทะเล

จอห์น แทนเซอร์ หนุ่มใหญ่ชาวออสเตรเลีย เคยเป็นผู้บริหารสูงสุดของ Great Barrier Reef Marine Park Authority พื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จอห์นไม่ใช่นักวิชาการที่ลุ่มลึก เขาสนใจเรื่องการสร้างความเปลี่ยนแปลงมากกว่า ปัจจุบันเขาคือหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทะเลของกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ประจำอยู่ที่เมืองบริสเบน ออสเตรเลีย ผมมีโอกาสร่วมงานกับจอห์นอยู่ระยะหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ประทับใจกับความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ของเขา เราได้มีโอกาสพบกันอีกครั้งเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในงานประชุมเรื่องการอนุรักษ์ทะเลที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก การประชุมที่จอห์นบอกว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการอนุรักษ์ทะเล (ภาพจาก: Ocean Conference) “นี่คือการประชุมเรื่องทะเลที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่สหประชาชาติ ที่นี่คือที่รวมผู้นำจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก ผมคิดว่ามันเป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนมากว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับทะเล ทะเลคือทรัพยากรพื้นฐานสำหรับการพัฒนาที่สำคัญที่สุด ถ้าเราปล่อยให้ทะเลเสื่อมโทรมไปเรื่อยๆ อย่างที่เป็นอยู่ ผมว่าไม่ต้องเสียเวลาไปพูดถึง SDG หรือ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอื่นๆ หรอก” เหตุผลที่จอห์นให้มามีน้ำหนักพอสมควร เเละอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมสหประชาชาติจึงจัดการประชุมเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 14 (Life below Water) ที่ว่าด้วยการอนุรักษ์ทะเลขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยมีสวีเดนและฟิจิร่วมกันเป็นเจ้าภาพ นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลประโยชน์ที่เราได้จากทะเลอยู่ที่ราวๆ 90,000,000,000,000,000 หรือ 9 หมื่นล้านล้านบาทต่อปี เป็นการประเมินนิเวศบริการแบบคร่าวๆ ที่เราได้จากแนวปะการัง ป่าชายเลน […]

Read More
Natural Solution
read

พลาสติก 6 อย่างที่ชีวิตนี้ควรบอกลา

นอกจากระบบจัดเก็บขยะระบบคัดแยกและการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพแล้ว เราทุกคนสามารถช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอได้ด้วยการลดการสร้างขยะที่ไม่จำเป็น ถ้ายังไม่คิดว่าขยะพลาสติกเป็นวิกฤติสำคัญของโลกให้ลองพิจารณาตัวเลขต่อไปนี้ อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกเติบโตขึ้นถึง 20 เท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีปริมาณอยู่ที่ 311 ล้านตันต่อปี และคาดว่าจะสูงถึง 600 ล้านตันภายใน 20 ปีข้างหน้า พลาสติกเหล่านี้แทบไม่เคยหายไปไหน เป็นภาระในการจัดเก็บ และพลาสติกจำนวนมากแตกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยกลายเป็นไมโครพลาสติกหมุนวนกลับมาอยู่ในห่วงโซ่อาหาร เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เอง  มีพลาสติกเพียง 5% เท่านั้นที่ถูกนำมารีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ราว 10% ถูกนำมาเผากำจัด อีก 40% ถูกฝังกลบ ในขณะที่อีกกว่า 30% หรือหนึ่งในสามไม่ได้รับการจัดการ ถูกทิ้งอยู่ในระบบนิเวศโดยเฉพาะในทะเลและมหาสมุทร ทุกปีมีขยะพลาสติกราว 8 ล้านตันไม่ได้รับการจัดเก็บและถูกพัดลงสู่ทะเล เท่ากับว่ามีรถขนขยะเทขยะพลาสติกลงสู่ทะเลวันละ 1,440 คัน เดือนละ 43,200 คัน หรือกว่า 5 แสนคันรถต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 1 ล้านคันรถต่อปีในอีก 15 ปีข้างหน้า ปัจจุบันพบว่ามีพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยลอยอยู่ในมหาสมุทรมากกว่า 5.25 ล้านล้านชิ้น รวมน้ำหนักราว 269,000 ตัน […]

Read More
Natural Solution
read

แก้ปัญหาถุงพลาสติกล้นโลกด้วยเงิน 2 บาท

งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อปีแล้วระบุว่าทุกปีมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นราว 275 ล้านตันและไหลลงสู่ทะเลมากถึง 8 ล้านตัน ขยะเหล่านี้ย่อยสลายยากและหมุนเวียนอยู่ในทะเลหลายร้อยปี นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีนกทะเลกว่าร้อยชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลกว่า 30 ชนิดกินพลาสติกจนเป็นอันตรายถึงชีวิต โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) ประเมินว่าแต่ละปี ขยะพลาสติกสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกถึงปีละ 2.8 แสนล้านบาท การแก้ปัญหาขยะพลาสติกจึงกลายเป็นวาระระดับโลก UNEP เองก็เพิ่งเปิดตัวการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติก #CleanSeas ที่งาน World Ocean Summit ซึ่งจัดขึ้นที่บาหลีเมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าไปที่การกำจัดถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวและไมโครพลาสติกในเครื่องสำอางค์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของขยะพลาสติกในทะเลภายในปี 2022 วิธีลดปริมาณถุงพลาสติกที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลที่สุดคือการบังคับเก็บเงินค่าถุงพลาสติก ซึ่งสามารถนำเงินมาตั้งเป็นกองทุนสนับสนุนงานอนุรักษ์ได้อีกด้วย อังกฤษเป็นประเทศล่าสุดที่นำเอาระบบเก็บภาษีถุงพลาสติกมาใช้ โดยกำหนดให้มีการเก็บเงิน 5 เพนนีหรือประมาณ 2 บาทต่อถุง เพียง 6 เดือนหลังจากที่นำระบบนี้มาบังคับใช้ในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ผลปรากฎว่าจำนวนการใช้ถุงพลาสติกลดลงถึง 83% โดยสถิติระบุว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ 7 แห่งมีการใช้ถุงพลาสติกไปทั้งสิ้น 640 ล้านถุงในระยะเวลา6เดือน เมื่อเทียบกับสถิติเดิมที่มีการใช้มากถึง 7.64 พันล้านถุงตลอดทั้งปี แนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักรที่ออกกฎหมายบังคับให้มีการเก็บภาษีถุงพลาสติกก่อนหน้านี้แล้ว โดยเวลส์เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 […]

Read More
Natural Solution
read

ได้เวลากลับไปหาธรรมชาติ l Nature-based solution for all

ในยุคดิจิตอลที่ผู้คนใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในโลกเสมือน การได้ออกไปเผชิญหน้ากับสัตว์ป่าในธรรมชาติเป็นเครื่องย้ำเตือนสำคัญว่าโลกนี้ไม่ได้เป็นเพียงที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ธรรมชาติยังคงมีอยู่รอบๆ ตัวเรา และแท้จริงแล้วระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ต่างหากที่จะเป็นทางออกให้กับปัญหาต่างๆ มากมายที่กำลังรุมเร้ามนุษย์ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาวะทั้งในระดับมหภาคและระดับปัจเจก

Read More
Natural Solution
read

ครีมกันแดดแบบไหนไม่ฆ่าปะการัง

ข่าวใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้วในแวดวงปะการังคือ งานวิจัยใหม่ที่ยืนยันว่าสารเคมีหลายชนิดที่พบในครีมกันแดดมีส่วนทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลง เพราะสารเคมีเหล่านั้นฆ่าปะการังวัยอ่อน ทำลาย DNA จนปะการังไม่ขยายพันธุ์ และยังทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวอีกด้วย นั่นหมายความว่า เราทุกคนที่ใช้ครีมกันแดดยามเที่ยวทะเลมีส่วนทำร้ายปะการัง

Read More
Natural Solution
read

ปลูกอย่างไรให้เป็นป่า

สิ่งที่เราต้องการฟื้นฟูคือระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์เอื้อประโยชน์ให้กับคนทุกกลุ่ม คนอาจจะสร้างป่าไม่ได้แต่เราสร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมและสังคมที่เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของป่าได้

Read More
Natural Solution
read

ความหวังที่ขอบฟ้า: การกอบกู้ประชากรนกหายากจากการสูญพันธุ์

ถ้าคุณคิดว่าการพบนกเพียงไม่กี่ตัวคงจะไม่มีความหวังอะไรเหลืออีกแล้ว ขอให้ลองหลับตาแล้วลืมปัญหาอันยุ่งเหยิงในอดีตไว้ชั่วคราว ลองมองไปไกลๆ มองไปที่ขอบฟ้าถึงเกาะเซเชลส์ ในแอฟริกา และแกะแชตนัมในนิวซีแลนด์ ที่นั่นมีนกอีกสองชนิดที่มีชะตากรรมคล้ายคลึงกับนกแต้วแล้วท้องดำ… แต่ด้วยความช่วยเหลือของมนุษย์ทำให้นกหายากทั้งสองชนิดรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ได้อย่างเหลือเชื่อ

Read More
Natural Solution
read

บทเรียนจากบราซิล เมื่อการฟื้นป่าคือการพัฒนาเศรษฐกิจ

เปโดรเป็นนักวิชาการด้านการฟื้นฟูป่าไม้รุ่นใหม่ซึ่งกำลังมาแรงที่สุดคนหนึ่งความกระตือรือร้นด้วยพลังอันเหลือเฟือฉายออกมาในแววตาและการพูดเขาอธิบายวิวัฒนาการการทำลายป่าและการฟื้นฟูป่าในบราซิลได้อย่างแจ่มแจ้ง

Read More
Natural Solution
read

ขบวนการเปลี่ยนโลกด้วยกอไผ่

คงจะไม่ผิดหากจะบอกว่าไผ่คือพืชมหัศจรรย์เพราะนอกจากจะเป็นพืชที่โตเร็วที่สุดในโลกสามารถขึ้นได้ในแทบจะทุกสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศเป็นแหล่งอาหารเป็นที่พักอาศัยของทั้งสัตว์ป่าและมนุษย์มาแต่โบราณกาลไผ่ยังกลายมาเป็นทรัพยากรสำคัญในการตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนและอาจเป็นกุญแจที่ช่วยให้มนุษย์ฝ่าวิกฤติสิ่งแวดล้อมแก้ปัญหาความยากจนความมั่งคงทางอาหารและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในคราวเดียวกัน ไผ่เป็นพืชที่มีลำต้นสูง อยู่รวมกันเป็นกอขนาดใหญ่ การขึ้นอยู่รวมกันทำให้มันสามารถทรงตัวได้ดีขึ้น รูปทรงของกอไผ่จำลองมาจากกอหญ้าเล็กๆที่เราคุ้นเคย เพราะความจริงไผ่คือหญ้ายุคโบราณที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ 30-40 ล้านปีที่แล้วเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์กินพืชตั้งแต่อ้นเม่นหมูป่าไปจนถึงเก้งกวางกระทิงหรือแม้แต่ช้าง ป่าไผ่ยังเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของโลกหลายชนิดเช่น แพนด้ายักษ์ (จีน) กอริลล่า (อูกันดา/รวันดา) ลีเมอร์ป่าไผ่ (มาดากัสการ์) ค้างคาวป่าไผ่ (จีน) ในอเมซอนมีรายงานว่านกอย่างน้อย 34 ชนิดพึ่งพาอาศัยป่าไผ่โดยเฉพาะยังไม่นับเห็ดรากว่าพันชนิดที่พบขึ้นอยู่กับกอไผ่หลายชนิดมีความเฉพาะเจาะจงกับไผ่ชนิดนั้นๆ ไผ่สามารถโตได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายมาก ตั้งแต่เขตแห้งแล้งไปจนถึงพื้นที่ชื้นแฉะหรือบนภูเขาสูง เพราะโดยธรรมชาติไผ่เป็นพืชที่ปรับตัวได้ดี ทั่วโลกมีไผ่กว่า1200 ชนิด ในไทยพบได้มากกว่า 60 ชนิด แต่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายประมาณ 10-20 ชนิดเท่านั้นเราจึงยังมีโอกาสศึกษาวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากไผ่ได้อีกมากมาย ไผ่เป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่โตเร็วอย่างเหลือเชื่อและมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นมาก ไผ่บางชนิดสามารถโตได้กว่า 1 เมตรภายใน 24 ชั่วโมง ไผ่ส่วนใหญ่จึงโตเต็มที่และพร้อมเก็บเกี่ยวได้ภายในเวลา 1-3 ปีเท่านั้นในขณะที่ไม้เนื้อแข็งต้องใช้เวลานับสิบปีหรือมากกว่ากว่าจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ การปลูกไผ่ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือใช้ยาฆ่าแมลงระบบรากที่กว้างขวางและแข็งแรงของไผ่ยังช่วยตรึงไนโตรเจนปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้นและช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดินนอกจากนี้ไผ่ยังไม่ต้องปลูกใหม่ทุกครั้งที่เก็บเกี่ยวเพียงเหลือหน่อและรากเอาไว้ไผ่ก็จะฟื้นคืนกลับมาได้อีกเท่ากับว่าเราสามารถมีไม้ใช้ได้อย่างยั่งยืนภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ไม้ไผ่เป็นพืชสารพัดประโยชน์ เราสามารถนำไผ่มาแปรรูปได้แทบจะทุกส่วน หน่อเพื่อการบริโภค ขุยนำมาทำเป็นปุ๋ย ใยใช้เป็นเครื่องขัดผิว ลำสำหรับใช้ในการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย หรือใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมในครัวเรือน อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบอย่างทันสมัยไปจนถึงตะเกียบที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ความจริงไผ่สามารถแปรรูปได้หลากหลายมากและสามารถนำมาแทนที่การใช้ไม้ได้เกือบทุกประเภทตั้งแต่กระดาษแผ่นปูพื้นเฟอร์นิเจอร์ถ่านวัสดุก่อสร้างถ้าเทียบกันใยต่อใยเส้นใยของไผ่แข็งแกร่งพอๆกับเหล็กทนทานพอๆกับซีเมนต์และมีโอกาสผิดรูปบิดงอจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมน้อยกว่าไม้เนื้อแข็งอื่นๆ อุปสรรคสำคัญในอดีตของการใช้ไม้ไผ่มาเป็นวัสดุก่อสร้างคือการป้องกันแมลงกิน ไม้ไผ่ที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้อจะถูกแมลงเจาะกินและเปื่อยย่อยสลายอย่างรวดเร็ว คนจึงติดภาพว่าถ้าเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่จะมีอายุการใช้งานไม่นาน หรือนำมาใช้ได้เฉพาะกับโครงสร้างอาคารชั่วคราว […]

Read More