Green Issues

Search Result for :

จักรยานกลางเมือง
read

แอปฯ ปั่นเมือง กับภารกิจเปลี่ยนเมืองของประชาชน

จักรยานจะพลิกฟื้นวิกฤตเมืองได้ก็ต่อเมื่อมันได้ทำหน้าที่เป็นพาหนะส่วนตัวทดแทนรถยนต์ ด้วยขนาดที่เล็ก แต่เปิดกว้างทุกสัมผัสและการรับรู้ เหนื่อยแรงแต่เงียบไร้มลพิษและดีต่อสุขภาพ ช้าแต่คล่องตัวลัดเลาะสะดวกรวดเร็ว

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

ไบโอฟิลเลีย สันดานไฝ่หาชีวภาพ

หลายอาชีพที่เราคุ้นเคยกำลังหายไปในโลกยุคใหม่หมุนเร็วติ้ว อย่าว่าแต่คนอายุ 50 ที่ตกงานเพราะโลกไม่ต้องการความถนัดเขาแล้ว รุ่นน้องอายุเพียง 30 ต้นๆ ก็เริ่มผวากลัวตกยุค ทั้งๆ ที่เขาโตมากับไอทีและใช้ได้คล่องแคล่ว แต่อาชีพที่กำลังสูญพันธ์เร็วที่สุดและผู้เขียนเสียดายมากที่สุด ได้แก่ อาชีพนักอนุกรมวิทาน คือนักจำแนกพันธ์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ความสามารถในการจำแนกสารพัดสายพันธ์ชีวิต เคยเป็นความรู้สำคัญของมนุษย์ที่ต้องฝึกฝนเพื่อความอยู่รอดในยุคสมัยที่เราเก็บหาอาหารและพึ่งหยูกยาจากธรรมชาติ แม้ในสังคมเกษตรสมัยก่อนเราก็ยังอาศัยทักษะเหล่านี้อยู่ คนที่เก่งทางนี้เป็นพิเศษก็มักได้รับการยกย่อง เป็นพ่อหมอแม่หมอ บางทีก็ว่าเป็นแม่มด งานด้านนี้ถูกพัฒนาเป็นอาชีพจริงจังในยุคอาณานิคมสำรวจครอบครองทรัพยากร มีการอุดหนุนทุนทรัพย์สร้างสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ออกสำรวจ บุกป่าฝ่าดง เก็บตัวอย่าง จำแนกสายพันธุ์ชีวิตกลุ่มต่างๆ เป็นระบบวิทยาศาสตร์ ขยายความสนใจข้ามพรมแดนของกินของใช้ สร้างองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสารบบตำรา อังกฤษยิ่งโดดเด่นมาก นอกจากอาณานิคมพี่แกจะเยอะแยะกว้างไกลจนพระอาทิตย์ไม่เคยตกหายในดินแดนบริแตนแล้ว อังกฤษยังมีวัฒนธรรมนิยมธรรมชาติเป็นทุนเดิม จุดประกายมาจากการทำลายแหล่งธรรมชาติและพื้นที่ชนบทในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันบุคลากรด้านนี้เริ่มขาดหาย คนรุ่นก่อนตายไป ก็ไม่มีรุ่นใหม่ความสามารถเทียบเท่ามาทดแทน คนเรียนเฉพาะทางด้านนี้ก็หายไป คอร์สเรียนก็หาย งานประจำด้านนี้แทบไม่มีเปิดรับ แม้จะมีคนเรียนทางนิเวศวิทยาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในการจำแนกสายพันธุ์ อย่างผู้เขียนเป็นต้น ทั้งๆ ที่เรายังรู้จักนานาชีวิตในระบบนิเวศเขตร้อนเพียงน้อยนิด และแม้แต่นักนิเวศวิทยาเอง ก็ใช่จะหางานทำได้ง่าย ถ้าไม่ได้สังกัดสถาบันการศึกษา หรือองค์กรอนุรักษ์ทุนใหญ่ไม่กี่แห่ง มันเป็นปรากฎการณ์ที่สะท้อนความต้องการของสังคมปัจจุบัน วิถีชีวิตคนยุคใหม่ไม่ได้พึ่งพาองค์ความรู้ธรรมชาติโดยตรงในชีวิตประจำวัน อยากกินเห็ดก็ไปซื้อที่ซูเปอร์ ไม่ต้องหัดจำแนกเห็ดมีพิษเห็ดกินได้ เรารู้จักโลโก้แบรนด์สินค้าต่างๆ ดีกว่าพืชและสัตว์รอบตัว แม้แต่นกกระจอกบ้านธรรมดา […]

Read More
วิเคราะห์สถานการณ์
read

รถยนต์ไฟฟ้าในไทย จะรุ่งไวจริงหรือ ???

กระแสโหมกระพือเรื่องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีการเปิดให้บริการชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ในปั๊มน้ำมัน ปตท.ขึ้นแล้ว

Read More
นิเวศในเมือง
read

ไม่เห็นกล่องโฟม ไม่หลั่งน้ำตา

ขณะที่มีข่าวคราวจากเมืองไทยเกี่ยวกับกล่องโฟมว่ามีคนลุกขึ้นมาเถียงแบบข้างๆ คูๆ ว่าโฟมไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเข้าใจว่าคนที่ลุกขึ้นมาเถียงพูดว่าโฟมก่อปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมเดียวไม่เป็นไรพักฟังคนเถียงชั่วคราวแล้วหันมาดูว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเขามองเรื่องนี้กันอย่างไรบ้างดีกว่า ในมาเลเซียมีระบบจัดการขยะที่ขับเคลื่อนโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการขยะคือเทศบาลเมือง วิธีการจึงออกจะเป็นไปในแนว “ทางการเขาสั่งมาว่า” ตอนแรกๆ ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดค่าที่เคยทำงานกับตาวิเศษและถนัดทำงานแบบที่ “มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” (มาอยู่ที่นี่แล้วพบว่าคำนี้เป็นของหายาก เลยขอใช้ตรงนี้หน่อยแม้ว่าจะออกเป็นทางการซักนิด) พอมาเจอแบบสั่งให้ทำอย่างเดียวก็เลยไม่เข้าทางตัวเอง ใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ แต่พออยู่มาสิบปีแล้วก็พอจะมองออกว่า เพราะความแตกต่างทางเชื้อสายและวัฒนธรรมของคนที่นี่ ทำให้กระบวนการทำงานหลายๆ อย่างไม่ค่อยจะเนียนเป็นเนื้อเดียวกันซักเท่าไหร่ ยิ่งถ้าเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชุมชนด้วยแล้ว อะไรที่สั่งตรงมาจึงได้ผลกว่ามากกว่าเชิญภาคส่วนอื่นๆ มาร่วมงาน รัฐสลังงอร์ที่ผู้เขียนใช้ชีวิตอยู่ถือเป็นรัฐที่มีประชากรพักอาศัยอยู่มากที่สุดในมาเลเซียด้วยจำนวนเกือบ 5.9 ล้านคน คิดเป็น 19 เปอร์เซนต์ ของประชากรทั้งประเทศและด้วยความที่เป็นสังคมเมืองที่กำลังโต จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐสลังงอร์ครองตำแหน่งแชมป์ผลิตขยะมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 1998 คิดเป็น 14 เปอร์เซนต์ของปริมาณขยะที่ผลิตโดย 15 รัฐทั่วประเทศ (อ้างอิงข้อมูลจากปี 2009 ประเทศมาเลเซียผลิตขยะ 27,284 ตันต่อวัน) การทำงานของรัฐในการจัดการขยะเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ปี 2013 – 2017 ที่บอกไว้ว่าจะต้องลดปริมาณขยะที่เดินทางไปยังหลุมฝังกลบและยืดอายุขัยของหลุมฝังกลบจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำอย่างจริงจัง จากข้อมูลที่มีอยู่ในงานวิจัยและการวิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ จะพบตัวเลขระบุปริมาณขยะประเภทต่างๆ เช่น เศษกระดาษหนังสือพิมพ์กล่อง UHT แก้ว พลาสติก โลหะ เศษผ้า และอื่นๆ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

หนทางเลี่ยงมะเร็ง ตอน 1

สิ่งที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภคระหว่างการเปลี่ยนแป้งส่วนเกินความจำเป็นของร่างกายไปเป็นไขมันนั้น สามารถอธิบายได้ว่า ในร่างกายเรานั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแป้งไปเป็นไขมันโดยตรงแต่มีความซับซ้อนดังนี้

Read More
วิเคราะห์สถานการณ์
read

ทวงคืนผืนป่า หรือจะกลายเป็นขี่ช้างจับตั๊กแตน?

มาตรการทวงคืนผืนป่า เกิดขึ้นแบบต่างฝ่ายต่างถือข้อเท็จจริงที่ยืนกันคนละด้าน ฝ่ายรัฐก็ถือข้อเท็จจริงว่า ป่าต้นน้ำน่านถูกบุกรุกทำลายลงจำนวนมากในระยะเพียง 20 ปีที่ผ่านมาจนหลายแห่งเป็นเขาหัวโล้นประกอบกับความเป็นภูเขาสูงชันเมื่อเกิดฝนตกหนักก็จะมีปัญหาน้ำบ่าท่วมอย่างรวดเร็วและดินโคลนถล่มขณะที่ฤดูแล้งความสามารถในการดักจับเมฆฝนและให้น้ำของผืนป่าต้นน้ำก็ลดน้อยลง

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

อะไรอยู่ในแซลมอน

เมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งเก็บตัวอย่างเนื้อปลาแซลมอนในร้านอาหารญี่ปุ่นที่เห็นว่ามีสีแดงชมพูสดผิดปกติไปตรวจในห้องแลบด้วยการแช่น้ำไม่กี่นาทีพบว่าเนื้อปลากลายเป็นสีซีดขาวจึงสรุปว่าเนื้อปลาถูกย้อมสี ขณะที่นักวิทยาศาสตร์นักพิสูจน์อีกท่านโพสต์ข้อความว่าสีแดงที่ละลายออกมาไม่น่าจะใช่สีย้อม แต่เป็นสารโปรตีนธรรมชาติในเนื้อปลาที่เรียกว่ามายโอโกลบิน

Read More
นิเวศในเมือง
read

พาไมโตคอนเดรียไปอาบป่า

เราพูดถึงนานาชีวิตที่อาศัยร่วมอยู่ในร่างกายเราไปหลายครั้งในคอลัมน์นี้ เรารู้แล้วว่าร่างกายของเราไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเรา แต่มีจุลชีพอาศัยอยู่ด้วยในจำนวนมากกว่าเซลล์ของเราเอง มีบทบาทช่วยขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ของร่างกาย จนต้องถือว่าร่างกายเราไม่ใช่แค่ “ร่างกาย” แต่เป็นระบบนิเวศประเภทหนึ่ง แต่ความสัมพันธ์ของเรากับจุลชีพบางชนิดมันซับซ้อนแน่นแฟ้นยิ่งกว่าแค่การเป็นเพื่อนร่วมงานในระบบนิเวศ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับไลเคนอยู่บ้าง ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของชีวิตสองชนิด ได้แก่ ราและสาหร่าย ประกอบร่างขึ้นมาเป็นชีวิตตัวใหม่ มันเป็นตัวอย่างคลาสสิคของความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยให้ประโยชน์กันและกัน (symbiosis) โดยราเป็นตัวสร้างบ้านห่อหุ้มสาหร่ายและสาหร่ายเป็นตัวทำอาหารมาแบ่งกัน แต่เอาเข้าจริง ชีวิตที่ประกอบไปด้วยเซลล์หลายเซลล์ทุกชนิดบนโลกใบนี้ก็วิวัฒนาการความสัมพันธ์แบบนั้นเช่นกัน รวมถึงตัวเราเองด้วย   ในแง่นี้ เราก็เป็นเหมือนไลเคน หุ้นส่วนชีวิตแนบแน่นของเราคือไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ครั้งหนึ่งนานหลายๆๆ ล้านปีมาแล้ว มันเป็นชีวิตจำพวกแบคทีเรียที่เคยอาศัยอยู่โดดๆ แต่วิวัฒนาการเข้ามาอาศัยอยู่ในเซลล์ของสัตว์มีเซลล์ประเภทที่มีนิวเคลียสและผนังหุ้มเซลล์ (ซึ่งก็คือสัตว์หลายเซลล์) ปัจจุบันมันอยู่ในเซลล์ของเราเกือบทุกประเภทยกเว้นในเลือด พวกพืชก็มีวิวัฒนาการคล้ายกัน คือเอาสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงินเข้าไปอยู่ด้วย วิวัฒนาการกลายเป็นคลอโรพลาสในเซลล์มัน ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เรารู้ว่าไอ้ตัวเม็ดลายขีดยึกยือที่ดูเหมือนองค์ประกอบหนึ่งในเซลล์ของเรา แท้จริงแล้วเป็นญาติโบราณกับแบคทีเรียเพราะมันยังคงมีสารพันธุกรรมแบบเดียวกับแบคทีเรีย แตกต่างไปจากดีเอ็นเอของเราเอง มันอยู่ร่วมกับเราจนกลายมาเป็นองค์ประกอบอวัยวะเรา แต่มันยังคงมรดกดั้งเดิมของมันไว้อยู่ เช่นเดียวกับนางพจมานยืนหยัดในความเป็นพินิจนันต์ แม้จะแต่งงานร่วมหอครองบ้านทรายทองกับชายกลางสว่างวงศ์ก็ตาม ไมโตคอนเดรียมีอำนาจฤิทธิ์เดชในบ้านพอๆ กับนางพจมาน มันคือแม่หญิงตัวจริง และขอเน้นว่าการส่งต่อมรดกพันธุกรรมไมโตคอนเดรียจากรุ่นสู่รุ่นก็ส่งกันทางแม่ บ้านทรายทองจึงสืบทอดเป็นของพินิจนันต์ร่วมกับสว่างวงศ์ตลอดไป บทบาทของไมโตคอนเดรียคือเป็นเสมือนแบตเตอร์รี่พลังงานของเซลล์ มีหน้าที่แปรสสารอาหารให้เป็นพลังงานเคมีที่ร่างกายใช้ได้ โดยใช้ออกซิเจนเผาผลาญ มันจึงเป็นตัวควบคุมเมตาบอลิซั่มของเซลล์ เป็นแม่ครัวคุมเตา กระบวนการเผาผลาญมีผลข้างเคียงคือปล่อยอนุมูลอิสระออกมาด้วย อนุมูลอิสระมีประโยชน์ในการจัดการกับความเจ็บป่วยบางด้าน ซึ่งไม่สามารถอธิบายตรงนี้ได้หมด […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ดรามาปลาดิบ

เพื่อให้ชีวิตมันอยู่ง่ายขึ้นบ้าง เดือนนี้จึงขอเล่าข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อสงสัยในความไม่ปลอดภัยของอาหารสักประเด็นหนึ่ง ซึ่งหวังว่าบางท่านอาจได้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อช่วยตัดสินใจในการดำรงชีวิตด้วยอาหารนอกบ้าน ด้วยเรื่องที่เขียนนี้ค่อนข้างดรามาบนโลกออนไลน์ของเดือนพฤษภาคม 2559 คือปลาดิบที่กินเป็นอาหารนั้นอาจมีสีฉาบไว้หรือไม่

Read More
Natural Solution
read

ครีมกันแดดแบบไหนไม่ฆ่าปะการัง

ข่าวใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้วในแวดวงปะการังคือ งานวิจัยใหม่ที่ยืนยันว่าสารเคมีหลายชนิดที่พบในครีมกันแดดมีส่วนทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลง เพราะสารเคมีเหล่านั้นฆ่าปะการังวัยอ่อน ทำลาย DNA จนปะการังไม่ขยายพันธุ์ และยังทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวอีกด้วย นั่นหมายความว่า เราทุกคนที่ใช้ครีมกันแดดยามเที่ยวทะเลมีส่วนทำร้ายปะการัง

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อร้านยังขายของชำ

ความแตกต่างที่ปลุกให้ผู้เขียนตื่นจากวัยเด็กก็คงเป็นที่ประเภทของสินค้าที่ขายอยู่ในร้าน ถ้าเป็นร้านของชำที่เป็นร้านของคนอินเดียที่มีป้ายหน้าร้านเขียนไว้ว่า Cash & Carry (เรียกว่า “จ่ายแล้วหิ้ว” ก็คงได้) จนกลายเป็นชื่อเล่นของร้านประเภทนี้

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

ร่วมเป็นพลังเปลี่ยนเมืองกับ แอปพลิเคชัน “ปั่นเมือง”

ร่วมเป็นพลังเปลี่ยนเมืองกับ แอปพลิเคชัน “ปั่นเมือง” เครื่องมือสร้างเมืองจักรยานภาคประชาชน เบื่อรถมหาติด สุดเซ็งกับระบบขนส่งฯ ระยะทางเพียง  3 – 4 กิโลเมตรใน กทม. แต่ใช้เวลาเหมือนนั่งรถข้ามจังหวัด เดินบนฟุตบาธก็ต้องระวังทุกย่างก้าว หลุมบ่อ ฝาท่อ เสา ป้าย ร้าน สารพัดความยุ่งเหยิง แถมเผลอเมื่อไหร่ อาจเจอมอเตอร์ไซค์เฉี่ยว  อยากปั่นจักรยาน ตัดปัญหารถติดให้รู้แล้วรู้รอด แต่กลัวตาย ทางปั่นได้จริงมีไหม จะจอดตรงไหน แล้วถ้าเกิดยางแบนจะทำอย่างไร…ฯลฯ “ปั่นเมือง” แอปพลิเคชันน้องใหม่ในสมาร์ทโฟน อาจช่วยคุณได้ เปลี่ยนทุกคำบ่นให้มีความหมาย และแบ่งบันข้อมูลเพื่อพัฒนาการสัญจรไปด้วยกัน  อย่ารอช้า  เมืองของเรา เราเปลี่ยนได้ด้วยตัวเราเอง เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา มูลนิธิโลกสีเขียวร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ปั่นเมือง : เครื่องมือสร้างเมืองจักรยานภาคประชาชน” ซึ่งจัดขึ้นที่ Once Again Hostel ซอยสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยแอปพลิเคชัน […]

Read More