Green Issues

Search Result for :

นิเวศในเมือง
read

น้ำอัดลมในขวดแก้ว

วันหนึ่ง ขณะที่ร่วมวงอาหารกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน ก็มีเสียงบิดเกลียวฝาขวด กริ๊ก.. ฟู่… ก๊าซของน้ำอัดลมพวยพุ่งออกมาจากขวดพลาสติกบรรจุน้ำสีดำ คงไม่กระตุกใจผู้เขียนมากซักเท่าไหร่ หากว่าไม่ใช่เพราะเพิ่งกลับมาจากเมืองไทย ก็ตามร้านอาหารในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นร้านเหลา หรือยองๆ เหลา ต่างก็เสริฟน้ำอัดลม (ขวดเล็ก) ในขวดแก้วด้วยกันทั้งนั้น เลยถือโอกาสเล่าให้เพื่อนที่มาเลเซียฟังเกี่ยวกับเวลา…เอ๊ย..น้ำอัดลมในขวดแก้ว   หลายๆ คนที่ทำงานอยู่ด้วยนั้น โตไม่ทันที่จะได้ดื่มน้ำอัดลมจากขวดแก้ว เพราะโตมาก็เจอเครื่องดื่มเหล่านั้นในกระป๋องและขวดพลาสติกแล้วเท่าที่ไต่ถามผู้อาวุโสในบ้าน เขาบอกว่า เมื่อห้าสิบกว่าปีที่แล้ว ตอนที่เขายังเป็นเด็กๆ ก็ยังได้ดื่มน้ำอัดลมจากขวดแก้วอยู่ แต่จำไม่ได้ว่ามันหายไปจากตลาดตอนไหน สำหรับน้องๆ ที่ทำงาน การที่ได้ยินว่าเมืองไทยยังคงขายในขวดแก้วอยู่ จึงทำให้เกิดคำถามพรั่งพรูตามมา “ดื่มเสร็จแล้วทิ้งขวดเลยหรือ” ถ้าเป็นคนไทยรุ่นอายุสามสิบขึ้น คงเคยได้เห็นรถบรรทุกน้ำอัดลมแบบเปิดโล่งสองข้าง มีลังน้ำสีต่างๆ ซ้อนกันอยู่ พอถึงหน้าร้านอาหารหรือร้านขายของชำที่สั่งน้ำเหล่านั้นเข้าร้าน พนักงานก็จะกระโดดลงมายกลังน้ำเหล่านั้นใส่รถเข็นสองล้อ ซ้อนกันเป็นตั้งสูงจนกลัวว่าจะหล่นลงมา (แต่ก็ไม่เคยเห็นใครทำหล่น) ยกเข้ามาวางแทนลังที่มีแต่ขวดเปล่า เป็นแบบระบบคืนขวด ส่งมากี่ลัง ก็เก็บคืนเท่านั้นลัง พอขวดเดินทางไปถึงโรงงาน ก็จะถูกส่งเข้าสู่ไลน์การล้างขวดด้วยสารละลายผสมโซดาไฟทั้งข้างนอกข้างใน มีการตรวจสอบสารตกค้าง และฆ่าเชื้อก่อนที่จะนำมาบรรจุเครื่องดื่มอีก ซึ่งผู้เขียนชอบมากที่เรายังคงมีระบบคืนขวดแบบนี้ เพราะทำให้ไม่ต้องใช้ขวดพลาสติกหรือกระป๋อง ที่แม้ว่าจะนำมารีไซเคิลได้จริง แต่ทรัพยากรและพลังงานที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเหล่านั้น มันเริ่มที่จะลดน้อยลงไป ในขณะที่ภาชนะหลังใช้ก็ยังเกลื่อนกลาดทั่วไป โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียที่การรีไซเคิลยังไม่อยู่ในนิสัยของคนส่วนมาก   […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

คิดหน้าคิดหลังก่อนกินโคคิวเท็น

ผู้เขียนมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่น่องค่อนข้างบ่อย จึงได้พยายามหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ถึงสาเหตุของความน่ารำคาญนี้ แต่ก็หาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะผู้ที่น่าจะรู้ส่วนใหญ่มักอธิบายกว้างครอบจักรวาฬ ตรงกับอาการบ้างไม่ตรงบ้าง จึงเข้าใจเอาเองในขั้นต้นว่า คงเป็นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ชิ้นส่วนของร่างกายย่อมเสื่อมสภาพไปบ้าง แต่ปรากฏว่ามีเด็กหนุ่มสาวอายุราว 20 ปี บ่นว่ามีอาการเช่นกันในเว็บ pantip ดังนั้นจึงพอคลายกังวลได้บ้างว่า ไม่ใช่เฉพาะ สว. อย่างผู้เขียนเท่านั้นที่เป็น ที่น่าสนใจคือ อาการปวดนี้มักหายไประหว่างการออกกำลังกาย แล้วกลับมาใหม่หนักเบาไม่เท่ากันไร้ความแน่นอน อาการปวดกล้ามเนื้อนี้ผู้เขียนสังเกตว่า เกิดขึ้นหลังเริ่มกินยาเพื่อปรับความดันโลหิต ดังนั้นจึงเข้าใจและยอมรับว่า อาการดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาปรับความดันชนิดที่มีผลต่อการทำงานของแคลเซียมที่กล้ามเนื้อ จึงเพิ่มการกินอาหารที่มีแร่ธาตุมากขึ้น อีกทั้งระยะหลังนี้ได้ลองกินแร่ธาตุเสริมคือ แคลเซียมและแมกนีเซียมในลักษณะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ที่ได้รับแจกฟรีในการประชุมวิชาการ) ซึ่งก็ดีขึ้นบ้างเป็นพัก ๆ ยังสรุปไม่ได้นัก   นอกจากแร่ธาตุแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้แนะนำและหยิบยื่นให้ลองกินฟรีดู โดยใช้พื้นความรู้ว่า ตะคริวนั้นอาจเกิดเนื่องจากการออกกำลังกายของผู้เขียนที่อาจมากเกินวัย จนกล้ามเนื้อขาดพลังงานได้ สินค้านั้นคือ โคคิวเท็น (coenzyme Q10) โคคิวเท็นเป็นสารชีวเคมีที่ผู้เขียนไม่ค่อยศรัทธาว่ากินแล้วจะก่อผลอะไรต่อร่างกาย เพราะเมื่อลองค้นข้อมูลงานวิจัยและจากตำราที่เคยเรียนได้ก่อให้เกิดความสงสัยมากว่า โคคิวเท็นที่กินเข้าไปนั้นสามารถเข้าไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำงานได้จริงหรือไม่ โคคิวเท็นนั้นเป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาใช้ได้เองจากองค์ประกอบต่าง ๆ ในอาหารที่ร่างกายดูดซึมเข้าไป จึงไม่น่าเรียกว่า วิตามิน (แต่ถ้าอ้างว่าวิตามินดีนั้นร่างกายมนุษย์ก็สร้างได้เอง หลายคนจึงพยายามจัดให้โคคิวเท็นเป็นวิตามิน ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ขัดใจ ว่ากันไปตามสะดวกก็แล้วกัน) […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

บทเรียนจากดัตช์และเดน

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาฉันไปเยี่ยมเพื่อนที่เนเธอร์แลนด์ เดบบี้เป็นเพื่อนสนิทคนแรกเมื่อฉันไปเรียนที่อังกฤษนานนมเนมาแล้ว เธอเป็นเชื้อชาติอังกฤษสัญชาติสวิส และย้ายไปอยู่เมืองฮาเล็มใกล้ๆ อัมสเตอร์ดัมเมื่อสองปีก่อน หลังจากพบว่าตัวเองเป็นมะเร็ง เธอบอกว่าเธออยากอยู่ที่ที่เธอทำงานหาเงินได้ มีสังคมที่อยู่ได้อย่างสบายใจ มีคุณภาพชีวิต เมืองสวย ปั่นจักรยานเข้าถึงธรรมชาติได้ง่ายๆ แล้วเธอก็พบว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ดีเกินคาด เพราะชาวดัตช์ได้สอนให้เธอเรียนรู้ที่จะรักตัวเองอย่างแท้จริง เดบบี้เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งในกลุ่มสนทนาที่เธอต้องจัดเป็นประจำ คุยถึงกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน แทบทุกคนเห็นพ้องกับไอเดียหนึ่ง แต่ผู้หญิงคนหนึ่งยืนยันไม่เอา ยังไงๆ ก็ไม่เอา ไม่ชอบ จึงปรับไอเดียกันจนหาฉันทามติได้ในที่สุด เป็นกิจกรรมที่คล้ายกับไอเดียแรก แต่เปลี่ยนมุม ซึ่งทุกคนแฮปปี้ เดบบี้รู้สึกทึ่งมาก เธอเป็นคนอังกฤษ ขี้เกรงใจ เธอถูกสอนให้คล้อยตามเสียงส่วนใหญ่ แทนยืนยันความต้องการของตัวเอง ทำเช่นนั้นมานานตั้งแต่เด็ก จนบ่อยครั้งไม่รู้ความต้องการของตัวเอง ถ้ายกมือโหวตกันแล้วได้เสียงส่วนมาก ก็ยอมรับไปแต่โดยดี ไม่คิดจะพินิจว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร แต่คนดัตช์สอนให้รู้ใจตัวเองกันแต่เด็ก ถ้าถามความเห็น ไม่มีตอบว่าอะไรก็ได้ ยังไงก็ได้ ไม่เป็นไร แล้วแต่คุณ เขาพูดจากันตรงๆ จนบางครั้งคนจากวัฒนธรรมอื่นจะรู้สึกว่าไม่รักษามารยาท รู้ความต้องการของตัวเอง แต่ก็ฟังความต้องการของผู้อื่น เรื่องของเดบบี้ทำให้ฉันคิดถึงความประทับใจต่อชาวเดนมาร์กเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นมูลนิธิโลกสีเขียวเขียนโครงการนักสืบสายน้ำขอทุนรัฐบาลเดนมาร์ก ทางแหล่งทุนสนใจจึงอยากให้ไปพบปะกับกลุ่มต่างๆ ที่เดนมาร์กเผื่อจะหาความร่วมมือ ช่วงนั้นเดนมาร์กกำลังเริ่มฟื้นฟูกายภาพแหล่งน้ำ แม่น้ำที่เคยถูกขุดให้ตรงเพื่อระบายน้ำเร็วๆ ก็ขุดให้คดเคี้ยวใหม่ตามเดิม ฟื้นฟูแก่ง […]

Read More
Natural Solution
read

สาหร่ายแดงลดโลกร้อน…ความหวังของคนกินเนื้อและนม

ความนิยมในการบริโภคเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นหนึ่งความท้าทายที่สุดเรื่องหนึ่งของนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพราะรู้ทั้งรู้ว่าวัวเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาล แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะปฏิเสธเมนูเนื้อวัวที่แสนเย้ายวน ยังไม่รวมนม เนย และไอศกรีมหวานมันสุดอร่อย แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าบางทีคำตอบของการเลี้ยงวัวแบบรักษ์โลกอาจมีอยู่จริง เป็นคำตอบที่ซ่อนอยู่ในสาหร่ายสีแดงที่ชื่อ Asparagopsis taxiformis  วัวกลายเป็นผู้ร้ายในปัญหาโลกร้อนก็เพราะวัวนับเป็นตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งถ้าเทียบกันตัวต่อตัวในปริมาณเท่ากันแล้วมีอานุภาพรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ถึง 30เท่า จะว่าไปการปล่อยก๊าซมีเทนด้วยการตดหรือการเรอก็ไม่ใช่ความผิดของวัวที่แต่เป็นลักษณะทางชีววิทยาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับบรรดาสัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ที่กินหญ้าและอาหารที่มีเซลลูโลสเป็นองค์กระกอบสูงจำเป็นต้องพึ่งแบคทีเรียในกระเพาะอาหารช่วยย่อยในกระบวนการหมักที่เรียกว่า enteric fermentation ผลผลิตของกระบวนการย่อยอาหารของวัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ เพราะฉะนั้นวัวจึงต้องเรอและผายลมเพื่อระบายก๊าซออกทั้งวัน ประมาณ 90% เป็นการเรอ ที่เหลืออีก 10% เป็นตด วัวตัวหนึ่งปล่อยก๊าซมีเทนออกมาถึง 200-500 ลิตรต่อวัน คราวนี้ลองคูณกับจำนวนวัวที่มีมากกว่า 1.5 พันล้านตัวทั่วโลก ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรกรรมของสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าการทำปศุสัตว์ทั่วโลกทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่ากับการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 7 พันล้านตันต่อปี หรือคิดเป็น 14.5% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ทั้งหมด เมื่อรวมๆกันแล้วปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำปศุสัตว์จึงสูงกว่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ของรถยนต์และเครื่องบินรวมกันทั้งหมดเสียอีกนี่จึงเป็นที่มาว่าถ้าอยากจะช่วยลดโลกร้อนให้ลดการบริโภคเนื้อวัว แม้สัตว์เคี้ยงเอื้องอื่นๆ เช่นแกะ แพะ ควาย ต่างก็ผลิตก๊าซมีเทนเช่นกัน แต่วัวก็ยังนับว่าเป็นตัวการหลัก โดยปล่อยก๊าซมีเทนคิดเป็น 65% จากกิจกรรมปศุสัตว์ทั้งหมด เมื่อเร็วๆ นี้ เคน คัลไดรา นักวิจัยจากภาควิชานิเวศวิทยาโลก คณะวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันคาร์เนกี้ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ดอยหลวงเชียงดาวเปลี่ยนไป

ฤดูกาลท่องเที่ยวดอยหลวงเชียงดาวมาถึงแล้ว แต่ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวกำหนดวิธีการจองและจำกัดปริมาณคนขึ้นดอยหลวงใหม่ จากเดิมสามารถขึ้นได้ทุกวัน เปลี่ยนเป็นขึ้นได้เฉพาะศุกร์-เสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน-11 กุมภาพันธ์ รวม 15 สัปดาห์ หรือประมาณ 3 เดือน เมื่อพิจารณาจากช่วงเวลาที่สั้นลงและการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งดูจากยอดการจองที่ประกาศทางเฟสบุคของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คาดว่านักท่องเที่ยวที่ขึ้นดอยหลวงในปีนี้จะลดลงกว่าครึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับฤดูกาลท่องเที่ยวปีที่แล้วที่มีผู้ลงทะเบียนขึ้นดอยหลวงระยะเวลา 4 เดือน กว่า 2 หมื่นคน ภาพจากคุณ Boss >>> http://www.trekkingthai.com/wordpress/?p=1826#prettyPhoto/0/ ฉันหวนนึกถึงบทสนทนาบนยอดดอยหลวงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่ฉันและกลุ่มอาสาสมัครขึ้นไปเก็บขยะตกค้างบนดอยหลวงในช่วงปิดฤดูกาลท่องเที่ยว ขณะรอดูพระอาทิตย์ตกดินบนยอดดอยหลวง ฉันได้คุยกับวารินทร์ วรินทรเวช เจ้าของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ดอยหลวงที่ถูกนำมาใช้ช่วงปี 2544-2547 หน้าที่การงานทำให้เขาไม่ได้ขึ้นดอยหลวงมากว่า 10 ปี เมื่อกลับมาเห็นอีกครั้งเขาบอกว่า “พูดอะไรไม่ออก” และ “อยากร้องไห้” วารินทร์ย้อนอดีตให้ฟังว่าจุดที่เรานั่งอยู่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของกวางผา เมื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกิดขึ้น โดยชุมชน ทางการ และนักวิชาการตัดสินใจร่วมกันว่าต้องกำหนดจุดพักแรมและพื้นที่ที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าถึง แทนการปล่อยให้นักท่องเที่ยวท่องไปตามใจชอบ ซึ่งเมื่อนักท่องเที่ยวอยากเห็นภาพพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินที่จุดสูงสุด คณะทำงานจึงเปิดยอดดอยหลวงเพื่อชมพระอาทิตย์ตกดินและยอดกิ่วลมเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น และกำหนดจุดพักแรมบริเวณใกล้เคียงกัน ผลคือกวางผาอพยพไปอยู่ดอยอื่นๆ และเมื่อถูกนักท่องเที่ยวรบกวนน้อยลง กวางผาก็มีที่อยู่และขยายพันธุ์ได้มากขึ้น จากสมัยเริ่มทำการท่องเที่ยวช่วงแรกๆ นานๆ จะเห็นกวางผาสักครั้ง […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อย่ากินหวานและอย่ากินเค็ม (ต่อ)

เดือนที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึงปัญหาการกินหวานที่ส่งผลลบต่อการควบคุมน้ำหนักตัว และได้สรุปสุดท้ายว่า ไม่ควรกินหวาน ซึ่งความจริงแล้วการไม่กินหวานนั้นมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานไปด้วยในตัว สำหรับบทความของเดือนนี้จึงขอกล่าวในประเด็นการลดการกินอาหารเค็ม เพื่อหวังว่าเมื่อเราลดทั้งความหวานและความเค็มในอาหารแล้ว เราจะมีอายุอยู่ได้นานขึ้น เพื่อจะได้เห็นว่าประเทศไทยหลังจากนี้ไปจะเจริญขึ้นดังจรวด ตามคำทำนายของหมอดูในอินเตอร์เน็ททั้งหลายหรือไม่ ในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับอาหารการกินในประเด็นไม่กินเค็มนั้น เราควรใส่ใจทั้งวัตถุดิบ ส่วนประกอบต่าง ๆ ในการปรุงอาหาร ตลอดจนเครื่องปรุง โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสเค็มที่มีผลต่อสุขภาพโดยรวม และต่อน้ำหนักตัวที่อาจเพิ่มขึ้นโดยไม่เจตนา คนไทยในเมืองใหญ่ที่ต้องกินอาหารนอกบ้านมักถูกบังคับอยู่กลาย ๆ ให้กินอาหารที่มีรสเค็มมากขึ้น (โดยเฉพาะอาหารจาก Street food ซึ่ง CNN ยกย่องว่าดีที่สุดในโลก) ผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า ผู้ค้าอาหารนั้นหวังดีต้องการให้เรากินข้าวได้มากขึ้น ในขณะที่กับข้าวที่ตักให้มีปริมาณน้อยลง มีรายงานจากการสำรวจของหน่วยราชการพบว่า คนไทยกินเกลือเฉลี่ยต่อคนประมาณวันละ 4,000 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่าค่าที่กำหนดปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันคือ 2,000 มิลลิกรัม ปรากฏการณ์การได้รับโซเดียมมากกว่าปริมาณที่แนะนำนั้นก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพของผู้บริโภคตามมา   อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านดูเหมือนจะมีความเห็นตรงกันว่า พฤติกรรมการกินเค็มจนเป็นนิสัยของคนไทยนั้น นำไปสู่การเพิ่มปริมาณคนไข้นอกที่มีความดันโลหิตสูงและไตเสื่อม จากการศึกษาความชุกของโรคทั้งสองพบว่า หนึ่งในสี่ของผู้ใหญ่ที่เดินตามท้องถนนหรือกว่า 10 ล้านคนของคนไทยนั้นมีความดันโลหิตสูง อีกทั้งพบคนไทยเป็นโรคไตเรื้อรังราว 7 ล้านคน ซึ่งถ้าความดันโลหิตสูงไม่ได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง โรคแทรกซ้อน เช่น หัวใจวาย อัมพาต และความเสื่อมจากการทำงานของไตนำไปสู่ภาวะไตวายจะตามมา หลักสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเหล่านี้คือ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

หวงและห่วง…แม่ทุเรียนของพี่

เทศกาลกินทุเรียนที่มาเลเซียเมื่อกลางปีที่ผ่านมามีความเงียบเหงาผิดไปจากเดิม เพราะทุเรียนมีราคาแพงเกินกว่าปกติ ชนิดที่เรียกว่ามูซัง คิง (Musang King) ราคาขึ้นสูงถึงกิโลละพันบาท ซึ่งเป็นราคาแบบที่ชั่งกันทั้งลูก ไม่ใช่ราคาแบบที่แกะเนื้อขาย และที่นำออกมาวางขาย ก็ใช่ว่าจะมีจำนวนเยอะ จนพ่อค้าสามารถเล่นตัว ไม่รับการต่อรองราคาใดๆ จากลูกค้าเลย รัฐเปรัคเป็นรัฐที่มีการผลิตทุเรียนรุ่นกลางปีออกมาขายมากและเป็นที่รู้จักกันดี ฤดูกาลที่ทุเรียนจากรัฐเปรัคจะให้ผลผลิตออกมาวางขายตามท้องตลาดคือ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมไปจนถึงต้นเดือนกันยายน ส่วนในช่วงเดือนธันวาคมต่อไปจนถึงมกราคม จะเป็นผลผลิตที่มาจากสวนทางพื้นที่ตอนใต้ของแหลมมลายูอย่างรัฐยะโฮร์   เหตุที่จำนวนของทุเรียนลดน้อยถอยลงไปอย่างผิดหูผิดตามในปีนี้ มีสาเหตุหลักๆ อยู่สองอย่าง โดยประการแรก เป็นเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนไป ทุเรียนในพื้นที่ตอนกลางของประเทศมาเลเซีย จะออกดอกในช่วงต้นปี แถวๆ ตรุษจีน และเมื่อดอกออกแล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์กว่าจะติดลูก ปีนี้ มีฝนตกชุกในช่วงก่อนและหลังตรุษจีนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ ทำให้ดอกทุเรียนถูกฝนชะ หล่นร่วงจากต้นไปเป็นจำนวนมาก ส่วนดอกที่ยังพอเหลืออยู่ติดต้น โดยเฉลี่ย จะโตมาเป็นผลทุเรียนได้แค่ 25 เปอร์เซนต์ จึงทำให้จำนวนทุเรียนที่ควรจะถึงมือลูกค้ายิ่งน้อยลงไปอีก ใครว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่มีจริง และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ก็ตาม ทาสทุเรียนทั้งหลายประจักษ์แก่ใจ ชัดเจนในปีนี้ ส่วนประการที่สอง ความต้องการลิ้มรสทุเรียนไม่ได้หยุดอยู่แค่ในมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่ว่าเดินทางไกลไปถึงประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อแบบเจ้าบุญทุ่มและเต็มใจซื้อในราคาที่สูงกว่าที่คนท้องถิ่นจะเต็มใจจ่ายด้วยค่าเงินที่แข็งกว่า โดยข่าวแจ้งว่า ราคาทุเรียนมูซังคิงที่ขายในเมืองจีนมีราคาสูงถึงกิโลละ 5 พันบาท […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

คอนโดเลี่ยงบาลีกันอย่างไร?

คนกรุงเทพที่อาศัยอยู่ในซอยเล็กย่านกลางเมืองจำนวนไม่น้อย ต้องประสบปัญหาจากการก่อสร้างคอนโดขนาดใหญ่ในซอยแคบๆ เคยสงสัยไหมว่าทำไมจึงสร้างกันได้ ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ว่าพื้นที่มันรองรับจำนวนคนจำนวนรถขนาดนั้นไม่ไหว? กฎหมายไม่ดูแลคนบ้านเดี่ยวที่อาศัยอยู่มาชั่วนานตาปีกันบ้างเลยเชียวหรือ? มาทำความรู้จักกฎหมายและวิธีบิดเบือนเลี่ยงบาลีของคอนโดหลายๆ โครงการกันดีกว่า   สมมุตินะคะ..สมมุติ สมมุติว่ามีซอยตันถนนแค่สองเลนพอรถแล่นสวนกันอยู่ในย่านกลางเมืองใกล้ศูนย์การค้าใหญ่อยู่สองซอยขนานกัน ขอเรียกว่าซอย 1 และซอย 2 ทั้งสองซอยมีคอนโดสร้างเสร็จแล้วและกำลังสร้างอยู่หลายหลัง ทั้งขนาดใหญ่ 30 ชั้นหน้าปากซอยติดถนนใหญ่ และขนาดกลาง 20 ชั้นอยู่กลางซอย สร้างปัญหาการจราจรคับคั่งในซอยอยู่แล้ว ขนาดที่ชั่วโมงเร่งด่วนรถจะติดกันในซอยยาวเกือบครึ่งซอย นานนับ 20-30 นาที แล้วก็มีโครงการคอนโดขนาดใหญ่จะมาขึ้นอีกหลังหนึ่งกลางซอย โครงการนี้กวาดซื้อที่ดินระหว่างซอย 1 และซอย 2 ไปกว่าสองไร่ ตัดต้นไม้ใหญ่อายุร่วม 40-50 ปีที่ขึ้นคลุมเต็มพื้นที่ออกไปหมดทุกต้นก่อนโอนที่ดิน เวลาจะทำ EIA หรือรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ก็ไม่จำเป็นต้องเทียบกับสภาพแวดล้อมที่มีต้นไม้ใหญ่ เพราะที่ที่เขาได้มามันเป็นที่โล่งเปล่า แค่นี้ก็ไม่ต้องบรรเทาผลกระทบจากการตัดต้นไม้แล้ว คอนโดใหม่นี้มีแผนจะสร้างถึง 30 ชั้น สูงราว 120 เมตร มีจำนวนห้องกว่า 250 ห้องและที่จอดรถเกือบ 200 คัน แม้ไม่ได้ขับออกมาพร้อมกัน สามัญสำนึกของชาวกรุงกลางเมืองย่านห้างใหญ่ก็จินตนาการได้ไม่ยากว่ารถในซอยจะติดแค่ไหน […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ถ้ารู้จัก จะหลงรักเธอ

เพื่อนรุ่นพี่วัยห้าสิบตอนกลางเล่าให้ฟังว่าเมื่อเร็วๆ นี้เธอไปเที่ยวบ้านสวนที่อำเภอดำเนินสะดวก เมื่อก้าวเข้าไปในห้องน้ำกลางสวนแล้วปิดประตู พลันก็สบตากับตุ๊กแกที่เกาะอยู่เหนือประตู เธอกรีดเสียงร้องลั่นและโผล่พรวดออกมาจากห้องน้ำ อาการปวดฉี่หายไปเป็นปลิดทิ้ง เธอบอกว่ากลัวตุ๊กแกกระโดดเกาะแล้วไม่ปล่อย เรื่องเล่าในวัยเด็กมีอิทธิพลต่อจิตใจอาจตลอดทั้งชีวิตของคนๆ นั้น ซึ่งเหตุผลใดๆ อาจไม่สามารถฉุดรั้งสติกลับมาได้ แต่เรื่องนี้มีวิธีแก้ การเฝ้าดูความเป็นไปของสัตว์ที่เรารู้สึกกลัวหรือไม่คุ้นเคยและมองเห็นความน่ารักหรือคุณประโยชน์ของมัน อาจทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อในวัยเด็กได้ ในวัยเด็กฉันเคยเกลียดกลัวตุ๊กแก ถึงขั้นหากจะเดินผ่านต้องวิ่งแบบสุดฝีเท้า ประมาณว่าไม่ให้ตุ๊กแกทันตั้งตัวกระโดดเกาะได้ทัน  มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ฉันใช้ไม้ยาวๆ แหย่จนมันตกพื้นที่สูงหลายเมตรเเล้วก็เห็นเป็นซากศพในวันต่อมา แต่หลายปีมานี้มีตุ๊กแกตัวเล็กตัวหนึ่งมักปรากฎตัวที่ผนัง บริเวณระเบียงบ้าน เพื่อคอยดักกินแมลงที่มาเล่นไฟตอนกลางคืน ฉันลองปล่อยให้มันทำหน้าที่ เมื่อเริ่มมีขี้ตุ๊กแกเลอะเทอะตามพื้นบ้านก็ไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น แต่ช่วงกลางคืนปล่อยให้ทำหน้าที่กินแมลงต่อไป เดี๋ยวนี้ตุ๊กแกตัวนั้นเติบใหญ่ยาวประมาณครึ่งฟุตสีสันสวยงามมาก ส่วนฤดูฝนอันชุ่มฉ่ำเช่นนี้ คางคกตัวใหญ่มักซ่อนตัวอยู่ที่กระถางต้นไม้หน้าบันใดบ้าน ฉันเคยใช้ไม้เขี่ยให้พ้นทาง แต่วันต่อมามันก็ยังกลับมาอยู่ที่เดิม แน่นอนว่าที่ตรงนั้นเป็นทำเลทองของคางคก เพราะมีทั้งยุงในช่วงกลางวัน และแมลงที่มักมาเล่นไฟที่ไฟส่องบันใดในช่วงกลางคืน ฉันปล่อยให้มันอยู่ตรงนั้นตามอัธยาศัย เพราะแม้จะมีเรื่องเล่าเรื่องคางคกฉีดยางใส่มาตั้งแต่เล็กๆ แต่ในชีวิตจริงก็ไม่เคยเห็นใครบาดเจ็บจากคางคกเลยสักคน ครั้งหนึ่งฉันมีโอกาสเห็นภาพที่เคยเห็นเฉพาะในอินเตอร์เน็ตมาปรากฎตรงหน้า ที่บริเวณพื้นดินอันชุ่มฉ่ำที่ปกคลุมด้วยใบไม้แห้งที่เพิ่งถูกรดน้ำ ฉันเห็นตะขาบตัวเท่านิ้วก้อยกำลังกัดกินแมลงสาบอเมริกัน ซึ่งทำให้ฉันต้องยับยั้งชั่งใจอย่างแรงกล้าที่จะไม่คว้าไม้มาทุบตะขาบเพราะเห็นว่าเป็นสัตว์อันตราย และเลือกปล่อยให้มันมีชีวิตและทำหน้าที่รักษาสมดุลในธรรมชาติต่อไป เรื่องของสัตว์หน้าตาดีก็มีนะคะ มองออกไปจากหน้าต่างห้องทำงานที่บ้านฉันจะเห็นต้นชมพู่ใบเชียวชะอุ่มที่ฉันไม่อยากย่างกรายไปใต้ต้น เพราะเต็มไปด้วยหนอนบุ้งที่หากสัมผัสเข้าเป็นคันคะเยอะเป็นผื่นแสบร้อนและคันไปหลายวัน แล้ววันหนึ่งฉันก็เห็นความงดงามของการอยู่ร่วมกันและการปรับสร้างสมดุลในธรรมชาติ นกบั้งรอกใหญ่ตัวหนึ่งเกาะอยู่ที่กิ่งและส่งเสียงร้องเรียกเพื่อนอีกตัว แล้วนกบั้งรอกสองตัวก็กระโดดไปมาราวกับกระรอก…จึงเป็นที่มาของชื่อบั้งรอก…ไม่กี่วินาทีก็จับหนอนบุ้งด้วยจงอยปากอันแหลมคม สะบัดๆๆ ไม่กี่ทีก็กลืนกินหนอนตัวยาว แล้วกระโดดไปจับหนอนตัวใหม่ เป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน นอกจากจะได้เห็นความงามของนกบั้งรอกที่หน้านวลขอบตาแดงและหางยาวต่างจากนกทั่วไป พวกมันยังช่วยกำจัดหนอนบุ้งอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย จากประสบการณ์ตรงเหล่านี้ทำให้ฉันเชื่อว่าสัตว์ทุกชนิดเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในธรรมชาติโดยมีภาระและหน้าที่ที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์นั้นๆ และเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อย่ากินหวานและเค็ม

หัวข้อเรื่องของบทความฉบับนี้เป็นอมตะวาจาที่อายุรแพทย์มักแนะนำบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง และ/หรือเป็นเบาหวาน และ/หรือไตเสื่อม ให้ปฏิบัติเป็นประจำ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นข้อแนะนำดังกล่าวเป็นวิถีทางปฏิบัติซึ่งแม้คนที่คิดว่าตนมีสุขภาพดีก็ควรกระทำ แต่ก็มักละเลยกัน คนไทยชอบกินอาหารออกเค็มและขนมที่หวาน (มัน) มาก เพราะอาหารและขนมไทยหลายชนิดมีไขมันจากกระทิสูง พฤติกรรมดังกล่าวนี้ดูเหมือนเป็นวัฒนธรรมที่เราชื่นชอบ ดังปรากฏในรายการต่างของโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ดังนั้นสุดท้ายจึงลงเอยในปัจจุบันว่า จำนวนคนไทยที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ตลอดจนโรคหัวใจ นั้นอยู่ในระดับน่าพอใจของมัจจุราช   ตัวผู้เขียนนั้นก็ไม่ได้รอดไปจาก Degenerative disease หรือ โรคแห่งความเสื่อมถอยของร่างกาย  (ซึ่งพูดง่าย ๆ คือ โรคของผู้สูงอายุ) ที่กล่าวข้างต้นเช่นกัน อาการที่เป็นคือ ความดันโลหิตสูง ส่วนเบาหวานและโรคไตนั้นยังอยู่ในขั้นของความสุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นเมื่อใดก็ได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ ดังที่เคยเล่าอยู่บ่อย ๆ ว่าผู้เขียนออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำ ตามมาตรฐานที่ควรเป็นคือ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันจำนวน 3 วัน และเหงื่อออกชุ่มอย่างน้อย 30 นาทีจำนวน 2 วัน พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้ผู้เขียนซึ่งสูง 170 เซ็นติเมตร สามารถคุมน้ำหนักให้อยู่ได้ที่ 70 + 1 กิโลกรัมในช่วงเวลา […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ประกวดเขียน “เรื่องเล่าสัตว์ป่าคนไม่รัก”

เรื่องเล่าพฤติกรรมของสัตว์ป่าหลายชนิดที่อยู่รอบตัวเรา มักจะถูกเล่าต่อๆ กันไปในทางลบ จนสร้างความหวาดกลัวน่ารังเกียจต่อสัตว์เหล่านั้น ทำให้พาลทุบตีพวกมันจนตายหมดสิ้นทุกครั้งที่พบตัว

ความหวาดกลัวนี้เป็นสัญชาตญาณธรรมดาของมนุษย์ แต่ความหวั่นวิตกจนเกินไปมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น อาจนำไปสู่การทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นฟูสมดุลของธรรมชาติให้สมบูรณ์ได้

ดังนั้น เพื่อร่วมกันสร้างความเข้าใจเเละทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมเเละนิเวศวิทยาของสัตว์ในธรรมชาติและช่วยกันกระตุ้นสังคมให้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับสัตว์อย่างไม่เบียดเบียนหรือรังแกซึ่งกันและกัน  ทั้งยังเป็นการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจเเละเห็นอกเห็นใจ ควบคู่ไปกับการนำเสนอข้อมูลชีวิตของสัตว์ ก่อให้เกิดทัศนคติที่เป็นมิตรต่อเพื่อนร่วมโลกต่างสายพันธุ์ให้กับเด็กๆ และครอบครัวได้ในอนาคต

มูลนิธิโลกสีเขียว และองค์กรเครือข่าย จึงขอเชิญชวนผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด “เรื่องเล่าสัตว์ป่าคนไม่รัก” ชิงเงินรางวัล และประกาศนียบัตร

Read More
นิเวศในเมือง
read

ถามรถไฟ

โครงการรถไฟเมืองจีนที่จะวางรางทั่วเอเชีย เชื่อมประเทศจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปากีสถาน เอเชียกลาง และทางเดินสมุทร ด้วยระบบขนส่งภาคพื้นดิน เพื่อเปิดเส้นทางการค้าไปยังยุโรปและตะวันออกกลางให้สะดวกง่ายขึ้น โดยถือกันว่าเป็น “เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21” เลยทีเดียว ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนขอพูดถึงเฉพาะรางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์  เพราะถือว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างประเทศมาเลเซียที่ผู้เขียนอาศัยอยู่และเมืองไทยที่ผู้อ่านอยู่อาศัย ต้นปี ค.ศ. 2020 เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น ผู้โดยสารจะสามารถใช้บริการรถไฟ Pan-Asia Railway Network ซึ่งเครือข่ายรถไฟดังกล่าว สร้างขึ้นเพื่อขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า โดยมีการเชื่อมต่อระยะทางประมาณ 4,500 – 5,500 กิโลเมตรจากประเทศจีนครอบคลุมไปทั่ว จึงทำให้เราๆ ท่านๆ สามารถเดินทางไปมาระหว่างกันโดยใช้เวลาน้อยลง เพราะจากคุนหมิงไปถึงสิงคโปร์ใช้เวลาเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น ก่อนที่จะมีสายการบินราคาแบบโลว์คอสต์วิ่งไปมาระหว่างกรุงเทพและกัวลาลัมเปอร์นั้น ผู้เขียนมีความจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานขึ้นลงอยู่สองสามครั้ง ได้อาศัยบริการรถไฟไทยซึ่งวิ่งจากปีนังเข้าไปยังกรุงเทพ โดยใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมดกว่าหนึ่งวัน เริ่มจากการนั่งรถบัสจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธที่ใช้เวลาราวๆ 5 ชั่วโมง แล้วจึงจับรถไฟขบวนบ่ายโมง วิ่งแบบนั่งๆ นอนๆ ไปถึงกรุงเทพตอนใกล้เที่ยงของวันถัดไป ถ้าหากว่าใช้รถไฟสายไหมที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ การเดินทางนั้นคงจะลดลงมาเหลือราวๆ 5-6 ชั่วโมง คำล้อเลียนเสียงรถไฟที่แล่นบนรางว่า “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” คงจะหายไป เปลี่ยนมาเป็นร้องเพลง […]

Read More