Green Issues

Search Result for :

นิเวศในเมือง
read

สัมผัสและความทรงจำ สวน 100 ปี

เมื่อปลายเดือนที่เเล้วกลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ Big Trees จัดฉายหนังญี่ปุ่นเรื่อง Parks ที่สกาล่า เป็นหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีสวนสาธารณะอิโนะคาชิระแห่งกรุงโตเกียว สวนนี้กินพื้นที่กว้างขวางเกือบสี่แสนตารางเมตร คิดเป็น 240 ไร่ ถ้าเทียบกับสวนลุมฯ (360 ไร่) ก็เล็กกว่าบ้าง เดิมเป็นที่ดินของจักรพรรดิ มอบให้เป็นสมบัติส่วนรวมแก่โตเกียวเมื่อปี ค.ศ.1913 และเปิดออกสู่สาธารณะในปี 1917 ใจกลางสวนเป็นสระน้ำใหญ่รียาว ไหลลงสู่แม่น้ำคันดะ มีสะพานไม้ข้ามน้ำอยู่ตรงกลาง รอบริมน้ำปลูกซากุระไว้มากมายจนเมื่อมันออกดอกในต้นฤดูใบไม้ผลิ กลีบซากุระจะร่วงหล่นลอยเต็มผิวน้ำ ระบายสระเป็นสีชมพู แล้วยังไม้ใหญ่อื่นๆ อีกกว่าหมื่นต้นให้ความเขียวชอุ่มสดชื่นในหน้าร้อนผลัดใบเป็นสีต่างๆ ในฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวสวนกลายเป็นสีขาวและนกน้ำมากมายอพยพมาว่ายหากินกันเต็มสระ แต่หนังไม่ได้โฟกัสที่ธรรมชาติความงามของสวน หรือการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล หรือแม้แต่ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างคนเมืองกับสวน แม้ว่ามันจะเปิดปิดฉากด้วยการขี่จักรยานผ่านดงซากุระบานก็ตาม ภาพยนตร์เรื่อง Parks ฉลองสวนอิโนะคาชิระได้แยบยลกว่านั้น และน่าจะสะท้อนใจคนรุ่นใหม่กลุ่มใหญ่ได้ดี มันเป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ของมนุษย์สองยุคสมัยที่อาศัยในละแวกนี้และผ่านเข้ามาในสวนนี้ ในอดีตทศวรรษ 60 และในปัจจุบัน 2017 เพื่อคลายปมที่ติดขัดในชีวิตและคลี่พลังสร้างสรรค์ โดยที่ผู้คนทั้งสองรุ่นไม่ได้รู้จักกันตัวเป็นๆ กระนั้น สวนก็ไม่ได้เป็นเพียงฉากหลังให้ตัวละคร แต่ทุกชีวิตถักทอโยงใยกันเป็นเนื้อผ้าผืนเดียว เป็นลวดลายในชีวิตที่ร่ายรำและทิ้งความทรงจำไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ ด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อถีบเรือหงส์ในสระ เมื่อเดินข้ามสะพาน เมื่อได้ยินคนนั่งร้องเพลง […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ผักผลไม้พอเพียง พอต้านโรค

รายงานสถานการณ์ภาวะโรคของโลก (The Global Burden of Disease) จัดทำโดยองค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2013 แนะนำว่า การกินผักและผลไม้เป็นหลักสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชากรโลก โดยเฉพาะในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและมะเร็ง โรคทั้งสองนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการตายก่อนวัยอันควรของพลโลก (25.5 ล้านคน) จากคำแนะนำข้างต้นนั้นจึงทำให้มีคำถามว่า “ปริมาณของผักและผลไม้ที่ควรกินเข้าไปในแต่ละวันควรเป็นเท่าใด เพื่อที่จะให้การลดความเสี่ยงดังกล่าวเเละประชาชนปฏิบัติได้” เพราะหลายหน่วยงานของหลายประเทศต่างก็มีคำแนะนำที่ต่างกัน เช่น The World Cancer Research Fund แนะนำให้กินอย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน ในขณะที่องค์การอนามัยโลกและหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรแนะนำให้กินที่ 500 กรัมต่อวัน ซึ่งต่างกับปริมาณแนะนำที่ 600 กรัมต่อวัน 650-750 กรัมต่อวัน และ 640-800 กรัมต่อวัน ของสวีเดน เดนมาร์ค และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ในกรณีขององค์การอนามัยโลก หากผู้อ่านต้องการเห็นความแตกต่างในคำแนะนำของแต่ละประเทศในโลกนี้ที่มีความหลากหลายแบบของใครของมัน ผู้เขียนขอแนะนำให้ไปอ่านข้อมูลที่แสดงใน >>> www.who.int/dietphysicalactivity/publications/f&v_intake_measurement.pdf สถานศึกษาในบางประเทศเช่น Imperial College London นั้นให้ข้อมูลว่า การกินผักและผลไม้ 5 ส่วน (portion) […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อช.ช้างไม่วิ่งหนี

ก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน ข่าวการตายของลูกช้างที่ถูกรถชนตอนเช้ามืดบนทางหลวงสาย Gerik-Jeli ห่างจากเมืองอิโปห์ไปราวๆ 130 กิโลเมตร ถือเป็นข่าวแสนเศร้า โดยเฉพาะต่อกลุ่มคนที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ช้าง ที่พยายามติดตามและทำความเข้าใจกับการเคลื่อนที่ของกลุ่มช้างป่าในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะผืนป่าเบอลุม (Royal Belum National Park) ทางตอนเหนือของรัฐเปรัค ซึ่งเป็นผืนป่าที่มีรอยเชื่อมต่อกับเทือกเขาสันกาลาคีรี และอุทยานแห่งชาติบางลางในจังหวัดยะลาของประเทศไทย สาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ไม่อาจจะโทษคนขับรถที่วิ่งเข้าชนลูกช้างอย่างเดียว แต่เบื้องลึกเบื้องหลังที่เป็นสาเหตุจริงๆ มีองค์ประกอบมากกว่านั้น  ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 2 พันตัว ที่ถูกฆ่าโดยยานพาหนะบนถนน มีทั้ง สมเสร็จ ลิง แมวดาว อีเห็น หมูป่า และที่เป็นข่าวสุดเศร้าเมื่อปีที่แล้ว ก็คือข่าวที่แม่เสือที่กำลังตั้งท้องลูกสองตัว ถูกรถชนตายข้างป่าสงวนราเซา (Rasau Forest Reserve) ในรัฐตรังกานู เหตุที่มีสัตว์ป่าจำนวนมากตายด้วยอุบัติเหตุจากรถชน ก็เนื่องมาจากการขยายเส้นทางคมนาคมในประเทศมาเลเซียที่มีเส้นทางหลักๆ มากกว่า 60 สายที่เป็นทางหลวง ส่วนพื้นที่ที่ถือว่าเป็น hotspots ก็คือทางหลวงหลัก 5 สาย (เส้นสีฟ้าๆ) ที่วิ่งข้ามผืนป่าต่างๆ ภายใต้วงกลมสีแดงนั่น ถ้านำแผนที่แสดงผืนป่าของมาเลเซียมาเทียบ จะเห็นว่าถนนเหล่านั้นตัดผ่านผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ […]

Read More
งามริมทาง
read

ไปอาบป่า-หาปู่-ดูเห็ดกับเด็กๆๆๆ

สุดสัปดาห์ไม่นานมานี้ ฉันไปเขาใหญ่ชนิดขอติดสอยห้อยตามการไปเยี่ยมเยียนต้นไม้มรดกชาติอย่างต้นมะม่วงในตำนานกับต้นสมพงยักษ์ ที่เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว เด็กๆ กับคุณครูเกรียงไกร สุวรรณภักดิ์ มา “ขึ้นทะเบียน” เอาไว้ด้วยกัน เป็นบรรดาต้นไม้ใหญ่ๆ ที่ครูเกรียงฯ กับเด็กๆ เห็นร่วมกันว่าควรดูแลไว้ไม่ให้ใครมาตัดเพราะเป็นมรดกของชาติ เป็นของที่สมควรรักษาไว้ให้ลูกหลานของชาติ นี่มันเป็นโอกาสดีของการได้ไปเดิน “อาบป่า” ชัดๆ จะได้ไปหาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ สูดไอน้ำมันระเหยจากต้นไม้ที่ขึ้นในธรรมชาติ และรับประจุลบเพิ่มพลังให้ร่างกายจิตใจที่ขาดวิตามินป่ามาหลายปีแล้ว  ฉันฝันถึงขบวนแถวของเด็กๆ ที่เดินอย่างสงบเพื่อไปคารวะคุณปู่สมพง ดูเห็ดราไลเคน ฟังเสียงนกอย่างรื่นรมย์ และอยากให้สุดสัปดาห์นั้นมาถึงโดยเร็ว แต่เมื่อต้องมาเดินป่าบนเส้นทางเดินยาวราว 2.7 กม. ในป่าเขาใหญ่ ตามหลังเด็กวัยอนุบาล-ประถมต้น-ประถมปลายเป็นสิบๆ ที่ข้างหน้า ยังไม่นับอีกหลายสิบที่ตามหลังมาติดๆ พร้อมพ่อแม่เอาจริงๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ  ยังไม่ทันถึง 50 เมตรแรก เด็กหญิงข้างหน้าฉันร้องงอแงบ่นเบื่อ กลัวทาก เรามาทำอะไรกันที่นี่ ป่าไม่เห็นมีอะไร สกปรก มีแต่ความน่าขยะแขยง / หลายคนมัวแต่หยุดก้มหน้าหาทากที่อาจเกาะตามขาและร่างกายทุกครั้งที่รู้สึกคันขึ้นมา / ตามมาด้วย รถเราจอดอยู่ไหน หนูจะกลับบ้าน ฯลฯ 50 เมตรแรก มีเห็ดต้นสีขาวหมวกสีแดงสวยงามน่ารักมากขึ้นอยู่ตามสองข้างทางทั่วไป มีเถาวัลย์พันเกลียวกันห้อยลงมาจากเรือนยอดไม้ดิ่งลงมาจนถึงพื้นจนเหมือนใครเอามาผูกไว้ และถ้าฟังให้ดี […]

Read More
จักรยานกลางเมือง
read

สะพานเเซนเเญป

ถึงเวลาที่พวกเราชาวกรุงเทพ ต้องมาแสดงพลังกันแล้ว!! กับภารกิจซ่อมสะพานข้ามท่อสูบน้ำพร้อมศรี 2 บนทางเดินริมคลองแสนแสบ ที่ผุพังมาเนิ่นนาน ย้อนไปเมื่อ 4-5 ปีก่อน (2555) กทม.มีโครงการขยายทางเดินริมคลองแสนแสบให้กว้างขึ้นเพื่อทำเป็นทางเดินและทางจักรยานยาวตลอดแนวคลองจากสะพานอโศกถึงซอยทองหล่องบประมาณกว่าร้อยล้านบาท แต่งบประมาณมากมายนั้นก็ไม่ได้ครอบคลุมถึงสะพานข้ามท่อระบายน้ำ แม้จะมีการทักท้วงจากผู้แทนผู้ใช้จักรยานแล้วก็ตาม ผลก็คือ เมื่อขยายทางเสร็จ สะพานก็ยังคงผุพังเช่นเดิม นอกจากจะเดินไม่สะดวกแล้วยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้จักรยานอีกด้วย เพราะความแคบ เอียง ลื่น ชัน และพื้นผิวที่ผุพังทะลุเป็นรูจนเคยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว ปลายปี 2559 แอปปั่นเมือง โดยมูลนิธิโลกสีเขียว พยายามแจ้งให้ กทม. ปรับปรุงซ่อมแซมอีกครั้ง แต่ก็ได้รับคำตอบมาว่ายังไม่มีงบประมาณ ในขณะที่วิศวกรอาสาของเราเข้าตรวจสอบและลงความเห็นว่า จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมเร่งด่วน เพราะเสี่ยงต่ออันตราย เราจึงรวมกลุ่มเครือข่ายชาวบ้าน ชาวจักรยาน และองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อขอระดมทุนซ่อมซ่อมสะพานนี้ด้วยงบประมาณของประชาชน โดยเรียกชื่อโครงการว่า “สะพานแซนแญป” ซึ่งเป็นภาษาพื้นถิ่น แปลว่า “เงียบสงบ” และเป็นที่มาของชื่อคลองแสนแสบในปัจจุบัน แอปพลิเคชันปั่นเมือง มูลนิธิโลกสีเขียว มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และชาวชุมชนสุเหร่าบ้านดอนจึงขอเชิญชวนชาวกรุงเทพผู้ใจบุญร่วมกันบริจาคเงินสนับสนุนการซ่อมปรับปรุงสะพานครั้งนี้เพื่อแสดงพลังให้เห็นว่า พลังเล็กๆ ของเราก็เปลี่ยนแปลงเมืองได้เช่นกัน ร่วมบริจาคได้ที่ บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนรัชดาภิเษก 2 ชื่อบัญชี กองทุนมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป่าทรงพลังของเทพชิชิ

หลายคนชอบเดินทางไปทำบุญตามวัดต่างๆ ไปแล้วอิ่มเอิบใจ ฉันก็เช่นเดียวกัน แต่วัดของฉันมักเป็นสถานที่ธรรมชาติ เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ฉันโชคดีได้ไปสักการะและอาบป่าโบราณแห่งเกาะยากูชิมา ทางตอนใต้ประเทศญี่ปุ่น ใครเป็นแฟนคลับการ์ตูนสตูดิโอจิบลี คงทราบดีว่าป่ายากูชิมาเป็นแหล่งบันดาลใจของอนิเมชั่นธีมอนุรักษ์ธรรมชาติ “เจ้าหญิงโมโนโนเกะ” ของมายาซากิ หนังมันเก่ามากแล้วจึงขอสปอยล์ มันเป็นเรื่องการเดินทางของเจ้าชายอาชิทากะ แห่งชนเผ่าอีมิชิในญี่ปุ่นยุคกลาง เพื่อล้างคำสาปจากเทพอสูรหมูป่าทาทาริ ซึ่งออกจากป่ามาอาละวาด และอาชิทากะต้องฆ่ามันเพื่อปกป้องหมู่บ้าน แต่โดนคำสาปที่แขนขวาระหว่างการต่อสู้ นางเฒ่าในหมู่บ้านหยั่งญานทำนายบอกเขาว่าคำสาปจะค่อยๆ ลุกลามไปทั่วตัวจนเขาตายอย่างทรมาน ทางแก้เดียวคือเขาจะต้องเดินทางไปหาเทพชิชิในทิศตะวันตกเพื่อขอให้ล้างคำสาป โดยเขาจะต้องมองทุกสิ่งด้วยตาที่เป็นธรรม อาชิทากะเดินทางไปถึงเมืองโลหะ เป็นนิคมหลอมตีเหล็กผลิตปืน มีนางเอโบชิเป็นผู้ดูแลคุ้มครองหมู่คนที่สังคมรังเกียจ ทั้งหญิงงามเมืองและคนไข้โรคเรื้อน เอโบชิมุ่งตัดป่าเพื่อขุดดินเอาแร่ และเป็นคนยิงหมูป่านาโกะ พลังความโกรธเกลียดทำให้มันกลายร่างเป็นอสูรทาทาริมุ่งทำร้ายมนุษย์ ป่าแห่งนั้นเป็นแหล่งสถิตของเทพชิชิ ผู้ให้ทั้งชีวิตและความตาย เมื่อจุติลงมาบนโลก ณ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์กลางป่า จะกลายร่างเป็นกวางตีนไดโนเสาร์หน้าลิงแมนดารินหางหมาจิ้งจอก มีครอบครัวหมาป่าที่เลี้ยงดูเด็กหญิงกำพร้าชื่อซัน คอยปกป้องพิทักษ์ป่าวิเศษที่เต็มไปด้วยพรายน้อยโคดามะตัวเล็กๆ สีขาว ซันต้องการฆ่าเอโบชิ ฝูงหมูป่าต้องการขจัดเผ่าพันธุ์มนุษย์ ฝูงลิงต้องการกินเนื้อมนุษย์เพื่อได้พลังอำนาจเช่นคน  เอโบชิต้องการเด็ดหัวเทพชิชิเเล้วส่งมอบให้จักรพรรดิ์ ส่วนอาชิทากะพยายามหยุดยั้งความโกรธเกลียดของทุกฝ่าย ให้หาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เขาต้องต่อสู้กับความโกรธแม้แต่จากแขนขวาต้องคำสาปของเขาเอง เมื่อเอโบชิเด็ดหัวเทพชิชิได้สำเร็จ พลังความเสื่อมก็ระเบิดออก ไหลบ่าออกทำลายทุกชีวิตรวมทั้งพรายน้อยโคดามะ ในขณะที่เทพชิชิพยายามหาหัวของตัวเอง อาชิทากะกับซันและหมาป่าก็ช่วยกันตามเอาหัวเทพชิชิมาคืนได้สำเร็จในเวลารุ่งสาง เทพชิชิสลายตัวไปแต่พืชพันธุ์ฟื้นตัวขึ้นมาทุกหนแห่ง มิยาซากิเริ่มมีไอเดียพล็อตเรื่องแนวการต่อกรระหว่างโลกธรรมชาติกับโลกอุตสาหกรรมมนุษย์มาตั้งแต่ยุค 70 แต่มาได้แรงบันดาลใจพัฒนาอนิเมชั่นจากป่ายากูชิมา เมื่อเขาเดินทางมาที่เกาะนี้ในปี […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

มือปราบลูกผสม

เช้าวันก่อน ขณะกำลังยืนตากผ้าอยู่ตรงสนามหน้าบ้าน ก็มีนกกางเขนบ้านบินโฉบฉิวผ่านศีรษะพุ่งตรงไปที่ผนังบ้าน จิกเอาจิ้งจกตัวน้อยไปเป็นอาหารเช้า อ้าว…นกกินจิ้งจกด้วยเรอะ นึกว่าจะกินแต่แมลงหรือไส้เดือน แต่เอ.. จะว่าไปดูผาดๆ แล้วจิ้งจกก็ดูเหมือนลูกครึ่งไส้เดือนกับแมลงที่มีขาแค่สองคู่  แบบนี้มันน่าจับนกกางเขนมาเลี้ยงในบ้าน ให้ช่วยกินจิ้งจกในครัวซักหน่อย เพราะชอบออกมากินอาหารที่วางไว้ตรงโต๊ะในครัว จนเป็นคู่อริกับน้องเล็กของบ้านมาตั้งแต่ตอนเด็กน้อยตัวยังเล็กๆ ที่เคยร้องไห้บ้านแตกด้วยความตกใจและโมโหพร้อมฟ้องว่า “จิ้งจก stole my fruits!” (คือแม่เรียก ‘จิ้งจก’ ลูกๆ ก็เลยเรียกเป็นภาษาไทยตามไปด้วย) เท่าที่ผ่านมา มดและแมลงที่เข้ามาอยู่มาร่วมชายคาเดียวกัน มักจะถูกกำจัดด้วยทักษะและวิธีการการปราบแบบผสมผสานตามแต่ความถนัดของสมาชิกในครอบครัว เพราะด้วยความที่ไม่ชอบใช้ยาฆ่าแมลงทั้งฉีดทั้งพ่น เนื่องจากกลัวว่าจะไม่ใช่แต่มดแต่แมลงเท่านั้นที่จะลงไปนอนดาวดิ้น ลูกชายสองคนที่ชอบนอนดิ้นไปมากับพื้นจะกลายเป็นเหยื่อระยะยาวไปด้วย คุณพ่อบ้านจึงได้ตำแหน่ง “นักแม่นยิงแมลงสาบ” เพราะสามารถยิงแมลงสาบด้วยหนังยางแม่นเหมือนจับวาง เส้นเดียวอยู่…  ส่วนคุณย่า เมื่อครั้งยังมีชีวติอยู่ ก็ได้รับตำแหน่ง “มือปราบมวนข้าว” คอยสกัดตัวมวนที่แพร่พันธุ์ในถังข้าวสาร ด้วยการนำถังข้าวไปตากแดดพร้อมโยนผ้าขนหนูสีขาวผืนเล็กๆ ลงไป ตัวมวนก็จะไต่มาเกาะติดกับผ้า แต่ว่าดึงขาตัวเองออกจากผ้าขนหนูไม่ได้ คุณย่าก็จะเก็บผ้ามาซักล้าง กำจัดมวนไปกับสายน้ำ มดดำตัวทำรำคาญเป็นหน้าที่ของแม่ที่ต้องคอยเก็บกวาดเศษขนมที่หล่นตามพื้นทันทีที่ลูกกิน เจ้ามดเหล่านั้นจะเกิดสภาวะอดอยากไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ยังมีนักวิทยาศาสตร์น้อยที่คอยหลบแม่ ทำการทดสอบว่ามดจะมีวิธีหนีอย่างไร หากว่ามีนิ้วเล็กๆ แปะลงไปบนตัว… เหตุการณ์มดแมลงในบ้าน ดูจะสงบศึกราวกับพักรบชั่วคราว จนกระทั่งเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ค้นพบแขกไม่ได้รับเชิญก๊วนหนึ่ง เป็นมดสีน้ำตาลโขยงใหญ่ไต่ออกมาจากซอกหลืบต่างๆ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ใครฆ่าแม่น้ำ

ทุกครั้งที่มีเพื่อนมาเที่ยวบ้าน ฉันมักพาไปดูแม่น้ำน้อยบริเวณด้านหลังตลาดศาลเจ้าโรงทองหรือตลาดร้อยปีวิเศษชัยชาญของจังหวัดอ่างทองพร้อมเล่าตำนานอันรุ่งเรือง ตลาดบ้านฉันและแม่น้ำสายนี้ที่เคยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทั้งผู้คนและสินค้าจากที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างตั้งแต่สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง อยุธยา ไปสู่เมืองบางกอก

Read More
Natural Solution
read

พลาสติก 6 อย่างที่ชีวิตนี้ควรบอกลา

นอกจากระบบจัดเก็บขยะระบบคัดแยกและการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพแล้ว เราทุกคนสามารถช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอได้ด้วยการลดการสร้างขยะที่ไม่จำเป็น ถ้ายังไม่คิดว่าขยะพลาสติกเป็นวิกฤติสำคัญของโลกให้ลองพิจารณาตัวเลขต่อไปนี้ อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกเติบโตขึ้นถึง 20 เท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีปริมาณอยู่ที่ 311 ล้านตันต่อปี และคาดว่าจะสูงถึง 600 ล้านตันภายใน 20 ปีข้างหน้า พลาสติกเหล่านี้แทบไม่เคยหายไปไหน เป็นภาระในการจัดเก็บ และพลาสติกจำนวนมากแตกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยกลายเป็นไมโครพลาสติกหมุนวนกลับมาอยู่ในห่วงโซ่อาหาร เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เอง  มีพลาสติกเพียง 5% เท่านั้นที่ถูกนำมารีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ราว 10% ถูกนำมาเผากำจัด อีก 40% ถูกฝังกลบ ในขณะที่อีกกว่า 30% หรือหนึ่งในสามไม่ได้รับการจัดการ ถูกทิ้งอยู่ในระบบนิเวศโดยเฉพาะในทะเลและมหาสมุทร ทุกปีมีขยะพลาสติกราว 8 ล้านตันไม่ได้รับการจัดเก็บและถูกพัดลงสู่ทะเล เท่ากับว่ามีรถขนขยะเทขยะพลาสติกลงสู่ทะเลวันละ 1,440 คัน เดือนละ 43,200 คัน หรือกว่า 5 แสนคันรถต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 1 ล้านคันรถต่อปีในอีก 15 ปีข้างหน้า ปัจจุบันพบว่ามีพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยลอยอยู่ในมหาสมุทรมากกว่า 5.25 ล้านล้านชิ้น รวมน้ำหนักราว 269,000 ตัน […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ทำใจเมื่อต้องกินสารพิษ (ตอนที่ 2)

เมื่อเดือนที่เเล้วผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสารพิษตกค้างที่เราบริโภคกันเข้าไปในเเง่จุดเริ่มต้นของสารเคมีเเละผลกระทบที่เกิดกับระบบต่างๆ ในร่างกายของเรา ครั้งนี้เป็นเรื่องราวของผลที่เกิดกับด้านอื่นๆ ของผู้ที่มีการสัมผัสสารเคมีโดยตรง-อ้อม พร้อมบทสรุปของต้นตอของการเกิดปัญหาของสารพิษ ผลต่อสุขภาพในด้านอื่นเนื่องจากสารกำจัดสัตว์รังควาน  ผลร้ายแบบเฉียบพลันมักเกิดกับเกษตรกรผู้ใช้สารพิษโดยตรงเมื่อได้รับสารพิษในปริมาณสูง คือ ความผิดปรกติอย่างรุนแรงต่อระบบประสาท เช่น ปวดและเวียนหัว ตาลาย เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง จมูก ตา และหนักกว่าก็หมดบุญพ้นกรรมไปจากดาวดวงนี้ ส่วนความเป็นพิษเพิ่มเติมต่อเกษตรกรสตรี คือ อาจออกมาในรูปของการมีลูกที่เกิดความผิดปรกติทางร่างกายและฮอร์โมน (ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเกิดลูกวิรูป หรือ Teratogenicity) ความอวดรู้ ความไม่รู้จริง ความมักง่าย นั้นเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มักไม่มีการกล่าวในรายงานเกี่ยวปัญหาของสารพิษที่ใช้กำจัดสัตว์รังควาน ตัวอย่างเมื่อนานมาแล้วผู้เขียนเคยจ้างผู้ที่ทำงานดูแลเกี่ยวกับป่าไม้ให้มาช่วยจัดการกับปลวกที่ขึ้นบ้านหลังเก่าในซอยเสนานิคม สิ่งที่พบ คือ ทั้งผู้คุมงานและคนงานต่างไม่กลัวการสัมผัสกับสารฆ่าปลวก (ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นกลุ่มเดียวกับดีดีที) ด้วยมือเปล่า บางจังหวะของการผสมสารเข้มข้นกับน้ำมีการใช้มือเปล่าในการคนสารให้เข้ากันด้วยซ้ำ เมื่อผู้เขียนถามว่าไม่กลัวอันตรายของสารเคมีหรือ วลีที่เป็นคำตอบประจำของคนไทยคือ “มันชินแล้ว” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรในภูมิภาคใด ถ้าขาดการศึกษาที่ดีพอ คำตอบนี้ก็ยังเป็นอมตะนิรันกาล เหมือนเมื่อพี่วินมอเตอร์ไซต์ให้เหตุผลในการขับรถย้อนศรหรือขับรถขึ้นบนทางเดินเท้านั่นเอง ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 2007 มีรายงานการศึกษาของสถาบันสาธารณสุข (Public Health Institute) ของรัฐแคลิฟอร์เนียร่วมกับคณะสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเมืองเบอร์คเลย์ว่า เด็กที่เป็นลูกของสตรีที่สัมผัสกับสารกำจัดสัตว์รังควานชนิดออร์กาโนคลอรีน มีความเสี่ยงต่ออาการออติซึมสูงกว่าเด็กที่เป็นลูกของสตรีที่ไม่สัมผัสสารพิษถึง 6 เท่า (autism คือ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เอกลักษณ์ความเป็นมนุษย์

ได้ดูเรื่อง Ghost in the Shell ที่เอามังงะญี่ปุ่นมาทำเป็นหนัง นางเอกเป็นมนุษย์ถูกผ่าตัดทดลอง มีร่างเป็นหุ่นยนต์ไฮเทค แต่จิตวิญญานเธอยังอยู่ในนั้น เธอ–เมเจอร์มิรา–ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ก็อึดอัดสับสนกับอัตลักษณ์ของตัวเอง หมอที่ผ่าตัดเธอจึงบอกเธอด้วยความเมตตาว่า “เมื่อเรายอมรับความเป็นเอกลักษณ์ของเราได้ เราจะพบความสงบในจิตใจ” เอกลักษณ์ไม่ได้แปลว่าดีกว่า พิเศษกว่าผู้อื่น หรือห่วยกว่า ด้อยกว่าผู้อื่น มันหมายถึงลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร ที่เรารับรู้ ยอมรับ โอเคกับมัน และรู้จักใช้มัน ในหน่วยของปัจเจกเราแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ถอยออกมาในหน่วยใหญ่ขึ้น ชีวิตแต่ละสายพันธุ์ก็มีเอกลักษณ์ร่วมของมัน แตกต่างจากสายพันธุ์ร่วมโลกอื่นๆ แล้วอะไรที่ทำให้มนุษย์ต่างไปจากสัตว์อื่นๆ สมัยที่เป็นนักศึกษาโบราณคดีนานนมเนในยุค 80 เราต้องว่ายวนอยู่กับคำถามนี้ ในทางกายภาพสรีระ ตอบไม่ยากนัก เห็นกันอยู่ชัดๆ ว่าเราเป็นลิงขนอ่อนบางจนแลเหมือนไม่มีขน เคลื่อนที่ด้วยสองขา ปลดปล่อยแขนและมือให้เป็นอิสระ มีนิ้วโป้งที่ประกบกับนิ้วอื่นๆ ได้ทุกนิ้ว ทำให้เราจับโน่นนี่ได้ถนัด ประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ ได้ดี สุดแท้แต่สมองใหญ่แสนฉลาดจะคิดค้น เราภูมิใจกับสมองและมือของเรามาก จนเกิดการตีความเอกลักษณ์ของมนุษย์ในแง่มุมว่าเหนือกว่าสัตว์อื่นๆ เช่น ตั้งสมญานามมนุษย์ว่า “มนุษย์ผู้สร้างเครื่องมือ” “มนุษย์ผู้พูดภาษา” หรือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดอะไรทำนองนี้ และมีทฤษฎีถกเถียงกันมากมายถึงเหตุที่มาของวิวัฒนาการสมองใหญ่เดินสองขา ซึ่งมักจะได้รับอิทธิพลจากกระแสความคิดทางสังคมการเมืองในแต่ละยุค จากยุคชายเป็นใหญ่ เชื่อว่าเป็นแรงขับเคลื่อนจากการล่าสัตว์ของผู้ชาย ถึงยุคสิทธิสตรีเถียงว่าเป็นการเก็บของป่าของผู้หญิงต่างหาก […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เด็กเมืองขี้เบื่อ

เด็กกับวัยรุ่นที่บ้านสองคนเติบโตในเมืองเเละมีห้วงเวลาที่แตกต่างจากผู้เขียนเหลือเกิน จนต้องมีการปรับจังหวะปรับความเข้าใจกันเป็นระยะๆ เพราะบางทีความคิดจากมุมของแม่ก็ไม่ได้ บรรยากาศไม่เอื้อ สถานการณ์ไม่ให้ หากปล่อยให้คิดจากมุมของลูกเพียงอย่างเดียวก็ไม่ไหว เลยต้องมีกติกาในบ้านมาช่วยดึงช่วยรั้งกันพอสมควร ถึงแม้ว่าลูกชายทั้งสองคนยังถือว่าอยู่ในโอวาทตามมาตรฐานของเพื่อนๆ ที่เคยมาที่บ้าน เพราะกติกาที่มีมาตั้งแต่ตอนยังตัวเล็กๆ ที่ว่าต้องขออนุญาตก่อนจะดูโทรทัศน์เเละตกลงช่วงเวลาที่สามารถอยู่หน้าจอ ซึ่งยังเป็นไปตามนั้นจนทุกวันนี้บางครั้งผู้เขียนก็ตั้งใจเป็นแม่ใจร้ายไม่ยอมให้อยู่หน้าจอเลยไล่ให้ออกไปเล่นนอกบ้านแทน นึกไปถึงตอนเป็นเด็กแม่ของผู้เขียนไม่เคยต้องมาคิดแทนว่าเวลานั้นเวลานี้ลูกทั้งสี่คนต้องทำอะไรบ้าง  การ “หาอะไรทำ” ขณะอยู่บ้านจึงถือว่าเป็นหน้าที่ของแต่ละคน เลือกเอาเองว่าจะทำการบ้าน (หากไม่ทำก็ไปโดนดุที่โรงเรียน) ช่วยงานบ้าน (หากไม่ช่วยก็ได้กินข้าวเย็นช้า) หรือจะเล่นจะดูทีวี (ถ้าเป็นวันหยุด) ก็เลือกทำแล้วแต่จังหวะ แล้วแต่โอกาส จำไม่ได้ว่าเคยพูดคำว่าเบื่อกับแม่ในบริบทเหล่านี้หรือเปล่า อาจจะมีก็ตอนที่ติดตามไปซื้อของใช้ตามตลาดแล้วเจอแบบคุยกับแม่ค้า 1 ชั่วโมง แต่ซื้อของจริงๆ 5 นาที  ส่วนเวลาที่ดื้อหรือซนเกินปกติ (ประเภทที่ขึ้นไปแอบบนหลังคาบ้านเวลาที่เล่นซ่อนหากับเด็กๆ แถวบ้าน) ก็จะถูกกักบริเวณไม่ให้ออกไปเล่นนอกบ้านอยู่หลายวัน แต่ก็นั่งทำตาละห้อยเวลาที่เห็นเพื่อนๆ เล่นอยู่นอกบ้านได้ไม่นานนัก เพราะในบ้านเองก็มีอะไรให้ทำอยู่หลายอย่าง (ใครที่คุ้นเคยกับกิจกรรมต่อไปนี้ ก็ให้รู้ว่าเรารุ่นเดียวกัน) นับตั้งแต่วาดเสื้อผ้าเพิ่มเติมให้ตุ๊กตากระดาษ สร้างบ้านจากผ้าห่มและหมอน หัดเล่นไพ่แบบต่างๆ เพื่อฝึกทักษะการคิดเลข เล่นขายของ ทำขนมครกไข่นกกระทาขาย (คุณตาผู้ให้ทุนตั้งร้าน) อ่านการ์ตูนเบบี้หนูจ๋า และอื่นๆ อีกมากมาย จนนึกไม่ออกว่ามีเวลาไหนตรงไหนให้เบื่อ แต่มาในวันนี้ เท่าที่เคยได้คุยกับบรรดาแม่ๆ ของเพื่อนลูก สิ่งหนึ่งที่พวกเราพบว่าเป็นเหมือนกันทุกบ้านก็คือการที่ลูกเดินเข้ามาหาแล้วบอกว่า […]

Read More