Green Issues

Search Result for :

คุยข่าวสีเขียว
read

“กาแฟสัญญาใจ”…สัญญานะว่าจะไม่ทิ้งขยะ

ฤดูหนาวมาถึงแล้ว เป็นสัญญาณว่าเทศกาลเดินป่ามาถึงแล้วเช่นกัน ฉันเชื่อว่าฤดูกาลท่องเที่ยวป่าเขาในปีนี้จะมีความเปลี่ยนแปลง ที่พูดเช่นนี้เพราะฉันได้พบสัญญาณเชิงบวกจากการท่องเที่ยวครั้งล่าสุดที่น้ำตกปิตุ๊โกลและดอยมะม่วงสามหมื่น อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เช้าตรู่ขณะที่กำลังเตรียมตัวออกเดินทางจากจุดกางเต้นท์ไปยังดอยมะม่วงสามหมื่น ฉันเห็นคนกลุ่มเล็กๆ 3-4 คนจัดแจงปูผ้าใบริมทางเดินแล้วนำเครื่องชงกาแฟขนาดใหญ่พร้อมเครื่องบดและอุปกรณ์อื่นๆ ออกมาตั้ง คนหนึ่งทำหน้าที่บดกาแฟ อีกคนทำหน้าที่ชง พลางร้องเรียกผู้คนที่เดินผ่านให้แวะชิมฟรี ฉันสาวเท้าไปตามกลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟและคำเชื้อเชิญ สั่งคาปูชิโน่ร้อน และถามไถ่ที่มาของพวกเขา “โอ๊ค” ชายหนุ่มที่ทำหน้าที่ชงกาแฟเล่าว่าพวกเขามาจากกลุ่ม “อาสาเที่ยว” กลุ่มท่องเที่ยวที่อยากให้คนไปเที่ยวได้อะไรมากกว่าไปเที่ยว ในฐานะคนรักกาแฟ เขาและกลุ่มจึงเลือกทำสิ่งที่รักและถนัดด้วยการซื้อเครื่องชงกาแฟร็อกซ์เอสเปรสโซ่มูลค่าเกือบหมื่นที่มีคุณสมบัติพิเศษคือเป็นเครื่องชงกาแฟแรงดันสูงที่ให้รสชาติและกลิ่นหอมกรุ่นราวกับเครื่องชงกาแฟชั้นดีโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า พวกเขาหอบหิ้วเครื่องทำกาแฟและอุปกรณ์ไปทุกที่ที่ไปเที่ยว เพื่อทำกาแฟสดและเครื่องดื่มร้อนอื่นๆ แจกนักท่องเที่ยวโดยไม่เลือกว่าเป็นพวกเขาพวกใคร สิ่งเดียวที่พวกเขาต้องการตอบแทนคือคำมั่นสัญญาจากผู้ดื่มว่าจะนำขยะจากการกินใช้ของตัวเองทุกชิ้นติดตัวกลับไปด้วย เป็นที่มาของ “กาแฟสัญญาใจ” “สัญญาแล้วนะ” เขาร้องบอกขณะที่ฉันจิบคาปูชิโน่ร้อนๆ หอมกรุ่น “ชัวร์อยู่แล้ว” ฉันตอบน้ำเสียงหนักแน่น ทุกครั้งที่เดินป่าฉันคงนึกถึง “สัญญาใจ” ที่มีต่อกัน เป็นคำขอที่ไม่มากเกินไปเลย หากนักท่องเที่ยวทุกคนทำตามคำมั่นสัญญาก็จะส่งผลกระทบอันยิ่งใหญ่ต่อธรรมชาติ เพราะขยะในเขตอุทยานแห่งชาติเกือบร้อยทั้งร้อยก็มาจากนักท่องเที่ยวนั่นเอง โอ๊คและคณะไม่ได้มาที่นี่เป็นครั้งแรก หลายปีก่อนเขาเคยมาเที่ยวน้ำตกปิตุ๊โกลก่อนที่น้ำตกนี้จะเป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินป่า เมื่อนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น วันหยุดยาวบางช่วงมีนักท่องเที่ยวนับพันคน ขยะก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ครั้งหนึ่งเด็กๆ ในหมู่บ้านเคยตั้งคำถามกระทบใจเขาว่า “พวกพี่มาบ้านผมเพื่อทิ้งขยะหรือ” ไม่มีใครอยากให้บ้านตัวเองเป็นที่ทิ้งขยะ ช่วงปิดเทศกาลท่องเที่ยวปีที่แล้ว กลุ่มชาวบ้านและเยาวชนจาก 8 หมู่บ้านรอบๆ น้ำตกปิตุ๊โกลจึงรวมกลุ่มกันเก็บขยะจากน้ำตกปิตุ๊โกลและดอยมะม่วงสามหมื่นลงสู่พื้นราบ ปริมาณขยะมากถึงเกือบ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อดอกไม้รักเรา

อุทยานแห่งชาติหุบเขาแห่งดอกไม้ (Valley of Flowers) ซุกตัวอยู่ในร่องซอกหลืบหิมาลัยตะวันตกบริเวณต้นน้ำคงคา รัฐอุตตราขัณฑ์ของอินเดีย ไม่ใช่ที่ที่จะไปถึงได้ง่ายนัก แต่ผู้คนก็บากบั่นเดินทางมาเยือนกันมากมาย แม้ต้องนั่งรถสองวัน แล้วเดินต่ออีกหนึ่งวันเพื่อปักหลักวางกระเป๋าพักแรมในหมู่บ้านแกงกาเรียที่อยู่ใกล้อุทยานที่สุด ยึดตรงนี้ไว้เป็นฐานที่มั่น เพราะเขาห้ามค้างในอุทยาน ดังนั้นหากจะเข้าถึงตัวหุบเขาดอกไม้ เรายังจะต้องเดินขึ้นเขาต่อไปถึงด่านทางเข้าอุทยาน ลงชื่อไว้ แล้วเดินข้ามน้ำและเขาอีกลูกหนึ่งกว่าจะถึงหุบเขาอันเลื่องลือแห่งนี้ ถ้าโชคไม่ดีฝนตกหนักเมฆหมอกหนาก็อาจไม่เห็นอะไรมากนัก หรือดูดอกไม้ยังไม่ถึงไหน ถึงเวลาบ่ายก็ต้องรีบเดินข้ามเขากลับ จะแอบไม่กลับก็ไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่อุทยานจะไล่เดินตามเทรล ต้อนให้ออกมา เดินกลับไปนอนที่หมู่บ้านเพื่อตื่นแต่เช้ากลับมาปีนเขาลูกเดิมเข้าไปใหม่ในวันรุ่งขึ้น หวังว่าเมฆหมอกจะเคลียร์ ฟ้าจะเปิดให้เห็นเขาหิมะรอบหุบได้บ้าง ถ้าโชคดี (เหมือนพวกเรา) จะเห็นถึงยอดนันทาเทวี จริงๆ ก็มีหุบเขาที่เต็มไปด้วยดอกไม้อีกหลายแห่งในหิมาลัยแถบนั้น แต่คนก็มาที่นี่กันมากที่สุด เพราะมันดังที่สุด มันดังเพราะสมญานาม “หุบเขาแห่งดอกไม้” ที่กลุ่มนักสำรวจปีนเขาชาวอังกฤษนำโดยแฟรงค์ สมิธ ผู้บังเอิญค้นพบหุบเขานี้ในปี ค.ศ.1931 ได้ตั้งให้ นอกจากนี้มันยังมีการจัดการที่ทำให้ชีวิตค่อนข้างสะดวกแม้ไม่อู้ฟู่ ทั้งที่พัก อาหาร การเดินทาง เมื่อเทียบกับความพยายามไปรอนแรมชมหุบเขาอื่นๆ นักท่องเที่ยวจึงเยอะพอๆ กับดอยอินทนนท์ โดยเฉพาะในช่วงต้นทาง แต่ความรู้สึกไม่ยักเหมือนกัน คนส่วนใหญ่ 90% ที่ดั้นด้นมาที่นี่เป็นชาวอินเดียจากทั่วทุกสารทิศ หลายคนมาจากพื้นราบกลางประเทศ ไม่เคยเห็นภูเขามาทั้งชีวิต ทุกคนล้วนมีจุดประสงค์เดียวกัน คือเพื่อดูดอกไม้ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

โลกในมือเด็กเมื่อวานซืน

“สิ่งที่ผมแปลกใจมากคือใจกลางมหาสมุทรที่มนุษย์ไม่เคยไปเยือนกลับมีพลาสติกมากกว่าแพลงก์ตอนถึง   6 เท่า ทุกปีึสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนับแสนตัวและนกทะเลอีกนับล้านตัวตายเพราะพลาสติก ผมช็อคมากที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้กำลังจะสูญพันธุ์ และช็อคยิ่งกว่าที่คนในแวดวงนี้บอกว่าการเก็บขยะเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้” โบยัน สแลต เด็กหนุ่มชาวดัชน์บอกเล่า ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว เขาเป็นนักเรียนมัธยมวัย 17 ปีที่ฮ็อตที่สุดในแวดวงนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังการพูดที่เวที TedTalk ว่าเขามีวิธีกำจัดขยะกองมหึมาขนาดใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศส 3 เท่า หรือน้ำหนักประมาณ 80,000 เมตริกตัน “ชาลร์ส มัวร์ นักวิจัยที่ค้นพบแผ่นขยะในมหาสมุทรแปซิฟิคประมาณการว่าต้องใช้เวลา 79,000 ปีเพื่อจัดการขยะในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ผมเชื่อว่ามหาสมุทรสามารถทำความสะอาดตัวเองในแค่ 5 ปีเท่านั้น” ขณะที่คนส่วนใหญ่คิดว่าการกำจัดขยะในทะเลทำได้ด้วยการนำเรือและตาข่ายไปดักจับขยะและนำขึ้นมาจัดการบนบก แต่เด็กหนุ่มผู้หลงไหลการดำน้ำอย่างโบยันใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมปลายมาประยุกต์  เขาคิดว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ และกระแสน้ำสามารถขับเคลื่อนขยะในท้องทะเลไปยังชายฝั่งได้ “ถ้าเราอยากจะทำสิ่งที่แตกต่างออกไป ก็ต้องคิดให้แตกต่าง ทำไมต้องลงไปในมหาสมุทร ในเมื่อมหาสมุทรเข้ามาหาคุณได้ ทำไมต้องเอาเรือไปลอยลำแล้วกวาดขยะ  แทนที่จะวิ่งตามเก็บพลาสติก คุณก็แค่รอให้พลาสติกลอยเข้ามาหาคุณ โดยไม่ต้องเสียพลังงานอะไรเลย” แนวคิดนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลการออกแบบเชิงเทคนิคยอดเยี่ยม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ เนเธอร์แลนด์ รางวัล 20 นักธุรกิจรุ่นเยาว์ที่มีอนาคตไกล และรางวัลแชมป์ออฟดิเอิร์ธ ขององค์การสหประชาชาติ จากนักเรียนมัธยมเมื่อหกปีที่แล้ว วันนี้โบยันกลายเป็นนักศึกษาด้านวิศวกรรมการบิน เขาระดมทุนทางสาธารณะผ่านระบบคลาวด์ได้เงินประมาณ 2.2 […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ลอยทะเล

คิดอยู่เป็นนานกว่าจะลงมือเขียนเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าผู้อ่านจะเขี่ยนิ้วเร็วๆ ข้ามไปโดยไม่อ่าน ถ้าหากรู้ว่ากำลังจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับขยะในทะเล ที่มีทั้งเรื่องขยะที่พบในทะเล ริมหาด ในท้องสัตว์น้ำ ติดแหง็กตามร่างกายของสัตว์ทะเล แล้วก็มีหลายภาคส่วนที่ลุกขึ้นมารณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก ไม่รับหลอด เลิกใช้กล่องโฟมใส่อาหาร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ดีงามควรทำเป็นอย่างยิ่ง แต่ว่า… มีเรื่องที่ต้องคิดตามและทำความเข้าใจกับหลายประเด็น ก่อนที่จะสามารถทำให้การรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นประสบความสำเร็จ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จริง ลองตอบคำถามเหล่านี้ดูก่อนก็แล้วกัน ใช่คุณหรือเปล่า ที่เวลาดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้จากกระป๋องอะลูมิเนียมแล้วต้องใช้หลอด เพราะรู้มาว่า กระป๋องที่วางไว้ในร้านหรือห้องเก็บของก่อนที่ร้านค้าจะเอามาใส่ตู้เย็นนั้น มีหนูหรือแมลงสาบเดินป้วนเปี้ยนอยู่บนกระป๋องแน่ๆ ใช่คุณหรือเปล่า ที่ไม่กล้าดื่มน้ำอัดลมโดยตรงจากขวดแก้ว เพราะว่ากลัวว่าสนิมจากฝาขวด ที่เกาะอยู่ตามปากขวดนั้น จะไหลลงคอตามไปด้วย ใช่คุณหรือเปล่า ที่ไม่ยอมดื่มน้ำจากแก้วที่ร้านค้าเสริฟให้ เพราะเชื่อว่า ร้านค้าเหล่านั้นล้างแก้วไม่สะอาด และไม่อยากกินขี้ปากคนอื่น ใช่คุณหรือเปล่า ที่เชื่อว่าต้องเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกสามเดือนเพื่อสุขอนามัยของช่องปาก ใช่คุณหรือเปล่า ที่สามารถเตรียมของขบเคี้ยวและอาหารว่างสาระพัดเวลาไปเที่ยวที่ต่างๆ แต่ว่าไม่เตรียมน้ำดื่มหรือเตรียมไปไม่พอ (เพราะหนัก) และคิดว่าไม่เป็นไร ไปซื้อเอาดาบหน้า แถมยังได้น้ำเย็นดื่มด้วย ใช่คุณหรือเปล่า ที่เลี้ยวเข้าปั๊มเติมน้ำมันเพราะป้ายน้ำดื่มฟรี 1 ขวด เมื่อเติมครบ 500 บาท ทั้งๆ ที่ชีวิตประจำวันออกจากบ้านก็ตรงดิ่งไปทำงานหรือโรงเรียน และสถานที่เหล่านั้นก็มีตู้น้ำดื่มให้เติมใส่ภาชนะของตัวเอง ใช่คุณหรือเปล่า ที่ต้องซื้อกับข้าวถุง หรืออาหารเข้าบ้าน แต่เดินไปร้านค้าเหล่านั้นมือเปล่า […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ยาฆ่าหญ้าทำลายชีวิตผม

“ผมเจ็บปวดทรมานมาก มันกำลังพรากทุกอย่างไปจากผม ผมจะไม่มีวันดีขึ้น…ยาฆ่าหญ้าทำลายชีวิตผม ถ้าผมรู้ว่ามันอันตราย ผมจะไม่มีวันฉีดพ่นมันบนสนามของโรงเรียน…มันผิดจริยธรรม” ดีเวน จอห์นสันอดีตคนงานในโรงเรียนแห่งหนึ่งแถลงต่อศาลซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา จอห์นสันเข้ามาทำงานที่โรงเรียนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 เขามีหน้าที่ฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าที่สนามโรงเรียน เขาบอกว่าแม้จะสวมเครื่องป้องกันอย่างแน่นหนา แต่ก็มักจะสัมผัสกับราวด์อัพและแรงเยอร์โปรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลิตภัณฑ์ไกลโฟเสตทั้งคู่เป็นของมอนซานโต้ เขาถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเมื่อปีพ.ศ.2557 และเชื่อว่าการสัมผัสกับยาฆ่าหญ้าทำให้เขาป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว…ผิวหนังผุพองเป็นแผลไปทั่วร่างกาย “มันแย่มากทุกจุด” แพทย์บอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่กี่เดือน   ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยเพิ่งอนุญาตให้มีการนำเข้ายาฆ่าหญ้า 3 ชนิดคือพาราควอต และไกลโฟเสตต่อไป เมื่อพฤษภาคมนี้ และบริษัทเบเยอร์เข้าซื้อกิจการมอนซานโต้ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ไกลโฟเสตรายใหญ่ของโลกเมื่อมิถุนายน ก็มีข่าวใหญ่ระดับ “ปรากฎการณ์” ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อผู้พิพากษาแห่งศาลกลางซานฟรานซิสโกรับฟ้องคดีของดีเวน จอห์นสัน ซึ่งถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผู้พิพากษาอนุญาติให้มีการนำสืบประเด็นความเชื่อมโยงของราวด์อัพกับมะเร็ง และกรณีมอนซานโต้ปกปิดข้อมูลอันตรายและความเสี่ยงต่อสุขภาพของไกลโฟเสต คดีของจอห์นสันได้รับความสนใจจากทั่วโลกเมื่อผู้พิพากษาอนุญาตให้มีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวหลายร้อยรายและญาติของผู้ป่วยมะเร็งที่เสียชีวิตไปแล้วสามารถเสนอข้อมูลเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีนี้ได้ และอนุญาตให้นำเสนอเอกสารทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับไกลโฟเสต ซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าที่ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดทั่วโลก  โดยในศาลมีการเผยแพร่อีเมลภายในของมอนซานโต้ว่าบริษัทเพิกเฉยคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญ และเสาะหา “นักวิทยาศาสตร์ผี” มาวิเคราะห์และเขียนรายงานข้อดีของไกลโฟเสต การต่อสู้ครั้งนี้ที่มิใช่ต่อสู้ระหว่างภาคประชาชน แต่ยังเป็นการต่อสู้ระหว่างหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานด้านสุขภาพของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 คณะทำงานว่าด้วยการวิจัยเรื่องมะเร็ง (IARC) ขององค์การอนามัยโลกจัดให้ไกลโฟเสตเป็นสารที่ “อาจก่อมะเร็งในมนุษย์” และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค 22 ชนิด เช่น เบาหวาน ความดันสูง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

Beginner’s Mind อัศจรรย์ของการเห็นครั้งแรก

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วฉันไปเปิดหลักสูตรใหม่ของมูลนิธิโลกสีเขียวที่เชียงดาว เป็นการอบรม Nature Mentor สร้างผู้ทำหน้าที่เปิดประตูสู่ความมหัศจรรย์ของโลกธรรมชาติคนใหม่ๆ ขึ้นมาในสังคมไทย เป็นที่น่าประหลาดใจและสะพรึงใจไปพร้อมๆ กัน เมื่อเปิดรับสมัครแล้วพบว่ามีผู้สมัครเข้าคอร์สกันอย่างท่วมท้น จนต้องปิดรับสมัครก่อนกำหนด เพื่อคัดเลือกผู้ร่วมหลักสูตรมาเพียง 37 คน ไม่เคยนึกเลยว่าคนจะสนใจกันถึงเพียงนี้ มันน่าจะแสดงถึงปรากฎการณ์เล็กๆ อะไรบางอย่างที่เริ่มผุดขึ้นมาในสังคมไทย เป็นการมองเห็นปัญหาร่วมกัน เห็นความต้องการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมกับธรรมชาติ ท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมและการสูญพันธ์ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งที่ 6 ของโลกใบนี้ ผู้สมัครแต่ละคนที่เราได้มีโอกาสช้อนเข้ามาจึงล้วนแล้วแต่เป็นคนมี “ของ” และไม่ใช่ของธรรมดา หลายคนเป็นขั้นเซียนในสายงานตนเอง มีตั้งแต่นักสัตววิทยาระดับแนวหน้า แอบกรอกใบสมัครมาว่าเป็นแม่บ้าน นักเขียนเบส์ทเซลเลอร์มือทองขวัญใจวัยโจ๋ นักวิทยาศาสตร์ ครูศิลปะธรรมชาติลือชื่อในวงการ นักการศึกษาหลายแนวทั้งในและนอกระบบ ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมหาลัย หมอสมุนไพรผู้มีสัมผัสละเอียดอ่อนต่อความสมดุลของธาตุ นักอนุรักษ์ นักสิทธิมนุษยชน ไปจนถึงนางผู้มีญาณทัศนะ เรียกง่ายๆ ว่ามีความเป็นแม่มด ทีมวิทยากรของเรา ซึ่งรวบรวมมาจากหลายองค์กร เห็นชื่อผู้เข้าอบรมก็หนาว ใจสั่น ไม่รู้จะเอาอะไรไปสอนคนเก่งๆ เหล่านี้ แต่ฉันมั่นใจว่าคนเก่งที่สมัครมาเรียนกับเรา ล้วนเป็นคนน้ำไม่ล้นแก้ว เขาต้องรู้สึกว่าหลักสูตรเรามีอะไรให้เขาที่เขายังขาดและอยากเติมเต็ม อย่างน้อยก็เพื่อได้เจอได้แลกเปลี่ยนกับผู้คนที่มีความสนใจคล้ายกันจากพื้นเพที่ต่างกัน ที่สำคัญ เราต้องการคนเก่งหลายๆ ด้านเข้ามาร่วมทำงานฟื้นฟูความสัมพันธ์ธรรมชาติกับเรา ช่วยให้งานที่เราพยายามทำมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต สนองความต้องการของคนในสังคมวงกว้างขึ้นกว่าที่เรารู้จัก เราไม่กลัวคนเก่งเพราะเราถือหลักแบ่งปันความรู้ ผลัดกันเรียนผลัดกันสอน […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ตื่นเถิดชาวไทย…ขยะอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวการตรวจจับโรงงานลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่องเมื่อเร็วๆนี้ เป็นการปลุกให้สังคมไทยตื่นมารับรู้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลกจำนวนมหาศาลซ่อนอยู่ในบ้านเรานี้เอง เมื่อไม่นานมานี้องค์กรสิ่งแวดล้อมสากลเผยแพร่สารคดีชาวจีนและชาวอินเดียยากจนนั่งคัดแยกวัสดุมีค่าท่ามกลางกองขยะอิเลคทรอกนิกส์ที่สูงท่วมหัว ซึ่งเป็นภาพที่น่าอนาจใจ ทว่าเมื่อปีที่แล้วประเทศจีนตื่นตัวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงยุติการอนุญาตนำเข้าขยะอิเลกทรอนิกส์และขยะอันตรายจากทั่วโลก ดังนั้นขยะอิเลกทรอนิกส์ที่รอเคลื่อนย้ายจึงเปลี่ยนทิศทางมายังประเทศไทย และคนที่นั่งอยู่ท่ามกลางกองขยะดังกล่าวกลายเป็นคนไทยและแรงงานต่างชาติ   การคัดแยกของมีค่าจากขยะอิเลกทรอนิกส์เป็นธุรกิจที่หอมหวาน สหพันธ์การสื่อสารโทรคมนาคมสากล (ITU) คาดการณ์ว่า ในปีพ.ศ. 2559 การคัดแยกวัสดุมีค่าในขยะอิเลกทรอนิกส์ทั่วโลกมีมูลค่า 55,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท ทองคำแม้จะมีปริมาณน้อยสุดคือ 500 เมตริกตันแต่มีมูลค่าสูงสุดประมาณ 6.93 แสนล้านบาท พลาสติกปริมาณมากสุดคือ 12.2 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 5.77 แสนล้านบาท ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าในปีพ.ศ. 2559 ตลาดรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีมูลค่า 4,770 ล้านบาท และคาดว่าปี 2560 จะมีมูลค่าประมาณ 4,920-5,000 ล้านบาท โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ 1 ตันสร้างมูลค่าได้ 67,100 บาท อาจมีคำถามว่าหากเป็นธุรกิจที่หอมหวานจริง ทำไมประเทศต่างๆ จึงพยายามผลักดันขยะอิเลกทรอนิกส์ไปให้พ้นเขตแดนของตัวเอง คำตอบคือในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีมาตรฐานความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมและค่าแรงงานสูง การคัดแยก รีไซเคิล และการกำจัดขยะดังกล่าวมีต้นทุนสูงกว่าผลักภาระไปยังประเทศอื่นหลายเท่า  และต่อให้กำจัดดีอย่างไรก็ยังคงมีสารเคมีอันตรายตกค้างอยู่ในดินน้ำและอากาศอยู่นั่นเอง […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เด็กของเรากินอะไรหน้าโรงเรียน

บทความนี้ผู้เขียนจะให้ข้อมูลเพื่อขอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาว่า อะไรคือสิ่งที่เหมาะสมกับสังคมไทยในประเด็นเกี่ยวกับการที่นักเรียนเล็ก ๆ ได้ซื้อไส้กรอกฝรั่งที่ขายหน้าโรงเรียนกินแล้ว เสี่ยงอันตรายในการได้รับสารประกอบไนไตรท์หรือการได้รับสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนนั้น สมควรที่จะทำอย่างไรดี ก่อนอื่นนั้นผู้เขียนขอให้ข้อมูลพื้นฐานแก่ผู้ที่ไม่ค่อยคุ้นชินกับเรื่องของไส้กรอกฝรั่ง ซึ่งต่อไปขอเรียกว่าไส้กรอก (ซึ่งไม่รวมไส้กรอกอีสานหรือผลิตภัณฑ์อาหารอื่นใดที่อาจมีหน้าตาคล้ายไส้กรอกฝรั่ง) ว่า ไส้กรอกทั้งหมูและไก่นั้นไม่ใช่อาหารไทยมาแต่เดิม วิกิพีเดียไทยให้ความรู้ว่า “ไส้กรอก มีความเป็นมานานถึง 3,500 ปีแล้ว ในยุคบาบิโลเนีย ลักษณะเป็นเนื้อหมักเครื่องเทศ ยัดไว้ในไส้สัตว์ ในยุคกลางเมืองต่าง ๆ ในยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างของไส้กรอกของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมืองที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น” ผู้เขียนจึงขอเข้าใจเอาเองว่า ไส้กรอกนั้นคงเข้ามาพร้อมกับชาวยุโรปตั้งแต่สมัยพี่หมื่นและแม่การะเกดได้พบกันตามบุพเพสันนิวาสที่มีมา เพราะช่วงเวลานั้นฝรั่งหลายชาติเหลือเกินเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา คงต้องมีบ้างละที่อยากกินไส้กรอกเหมือนตอนอยู่บ้านเขา แต่ไส้กรอกนั้นคงยังไม่แพร่หลายเท่าใดเพราะดูไม่ต้องกับวัฒนธรรมการกินแบบไทยโบราณนัก และที่สำคัญคือ ราคามันแพง   สมัยผู้เขียนยังเด็ก ครั้งแรกที่ได้กินไส้กรอกนั้นเป็นชนิดแท่งเล็ก ๆ เท่านิ้วมือผู้ใหญ่ซึ่งป้าพาไปซื้อที่ตลาดนัดสนามหลวง (ซึ่งภายหลังถูกย้ายไปเจริญรุ่งเรืองที่สวนจตุจักร) คำแรกที่ได้เคี้ยวในปากมีความรู้สึกว่า ทำไมกลิ่นถึงเหมือนน้ำยาดองอาจารย์ใหญ่ที่เพิ่งข้ามเรือไปดูที่คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลก็ไม่รู้ ดังนั้นไส้กรอกจึงไม่ใช่อาหารที่ผู้เขียนต้องในอารมณ์สักเท่าไร (ทำเหมือนกับรู้มาแต่ชาติปางก่อนว่า มันคงมีไนไตรท์และไนโตรซามีนปนอย่างไรก็ไม่รู้) เมื่อผู้เขียนได้เข้าเรียนในหลักสูตรพิษวิทยาของ Utah State University (USU) ที่เมือง Logan รัฐ Utah […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

พลาสติก…ในตัวเรา

สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าปัญหาขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาสากลและยิ่งใหญ่มากคือวันคุ้มครองโลกปีนี้เมื่อ 22 เมษายนที่ผ่านมามุ่งรณรงค์เรื่องขยะพลาสติก ส่วนวันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ วันที่ 5 มิถุนายนก็เน้นรณรงค์เรื่องมลพิษจากพลาสติกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีข่าวคราวเกี่ยวกับขยะพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย เช่น แพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิคมีขนาดเท่าประเทศฝรั่งเศสแล้ว ซึ่งใหญ่กว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ และประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่คิดว่าขยะเป็นเรื่องไกลตัว ทะเลและมหาสมุทรนั้นอยู่ห่างไกล ไม่อาจส่งผลกระทบกับการกินอยู่ของเราได้ นับว่าเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ขยะที่เราใช้และทิ้งไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่แปรรูปออกมาเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ สอดแทรกอยู่ในสิ่งแวดล้อม และย้อนกลับมาหาเราผ่านอาหารการกินของเรานั่นเอง ช่วง 2-3 ปีมานี้มีข่าวการวิจัยการปนเปื้อนพลาสติกในอาหารหลักของมนุษย์ออกมาเป็นระยะ ทั้งน้ำประปา เบียร์ เกลือ และสัตว์ทะเลล้วนมีพลาสติกจิ๋วหรือไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ทั้งสิ้น ต้นเมษายนที่ผ่านมา นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำประปา 159 ตัวอย่าง ใน 14 ประเทศ โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอย่างละครึ่ง พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 81 % ปนเปื้อนฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่ (98.3 %) เป็นเส้นใยพลาสติกขนาด 0.1-5 มิลลิเมตร เกินกว่าครึ่งของน้ำดื่มบรรจุขวดใช้น้ำประปาเป็นวัตถุดิบ จึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่าน้ำดื่มบรรจุขวดส่วนใหญ่ปนเปื้อนชิ้นส่วนจิ๋วจากพลาสติก โดยล่าสุดขององค์กรสื่อที่ไม่แสวงผลกำไรชื่อ Orb Media นำน้ำดื่มบรรจุขวดจากทั่วโลกจำนวน 11 ยี่ห้อ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

สำหรับมังสวิรัติมือใหม่

ผู้เขียนไม่ได้กินอาหารแบบมังสวิรัติ เนื่องจากความไม่พร้อมในการปรุงอาหารประเภทนี้ให้อร่อยเท่าที่ควร แต่ก็พยายามเปลี่ยนตนเองไปกินอาหารแบบที่มีพืชเป็นหลัก (plant based diet) ทั้งนี้เพื่อการรักษาน้ำหนักตัวและปรับองค์ประกอบของเลือดให้ดูดีเวลาไปตรวจสุขภาพประจำปี อย่างไรก็ดีการหาความรู้เกี่ยวกับอาหารมังสวิรัตินั้นเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะเก็บไว้ เผื่อเมื่อต้องการเปลี่ยนไปกินมังสวิรัติหรือมีเพื่อนต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นใน กินดีอยู่ดี ฉบับนี้จึงขอนำข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เผยแพร่ให้ผู้สนใจทราบว่า การกินมังสวิรัตินั้นถึงมีข้อมูลว่าก่อประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย แต่โอกาสเกิดปัญหาบางประการนั้นมีได้ถ้ามีความรู้ไม่ครบ   ทำไมถึงเป็นมังสวิรัติ ผู้ที่ผันตนเองไปกินอาหารแบบมังสวิรัตินั้นต่างมีเหตุผลที่หลากหลาย เช่น คิดถึงสุขภาพที่ (น่าจะ) ดีขึ้น มีศรัทธาตามความเชื่อมั่นในบางศาสนา มีความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ต้องการเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่มักมีการใช้ยาปฏิชีวนะและฮอร์โมน เจตนากินอาหารในลักษณะที่หลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมากเกินไป บางคนรู้ตัวว่าไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้เพราะเคยพบภาพการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น อย่างไรก็ดีการเป็นมังสวิรัติในสมัยนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เนื่องจากความพร้อมของพืชผัก ผลไม้ ถั่วและอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหารมังสวิรัตินั้นมีขายตามสถานที่ขายอาหารสดต่าง ๆ ในอดีตที่ผ่านไปนั้น งานวิจัยที่เกี่ยวกับการกินมังสวิรัติได้มุ่งเน้นในการยืนยันประโยชน์ต่อสุขภาพเนื่องจากการไม่กินเนื้อสัตว์ ตามที่สมาคมนักกำหนดอาหารอเมริกันกล่าวว่า การกินอาหารมังสวิรัตินั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านโภชนาการและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อบางชนิดได้ แต่การศึกษาถึงโอกาสขาดสารอาหารที่อาจเกิดขึ้นนั้นก็มิได้ถูกมองข้ามไปแต่อย่างใด ดังจะกล่าวถึงในบทความนี้ ข้อควรคำนึงในการเป็นมังสวิรัติ ผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติจำต้องรู้วิธีปฏิบัติตนตามคำแนะนำด้านโภชนาการ ซึ่งรวมถึงการกินไขมันให้พอเหมาะและการควบคุมน้ำหนักตัว สิ่งที่ควรคำนึงคือ แม้ว่าน้ำอัดลม พิซซ่าหน้าเนยแข็ง และขนมหวานต่าง ๆ ดูมีลักษณะเข้าอยู่ในเกณฑ์ “มังสวิรัติ” ก็ตาม แต่อาหารเหล่านี้ก็ยังเข้าเกณฑ์ต้องหลีกเลี่ยงเพราะทำให้อ้วนง่าย จึงควรหันไปกินผัก […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ความภูมิใจใน “เรา”

กาลครั้งหนึ่งไม่กี่ปีมานี้ เมื่อพิธีกรเปิดคำถามจากฟลอร์ในงานเสวนา วัยรุ่นคนหนึ่งก็ยกมือขึ้นถามด้วยความสุภาพแต่สงสัยจริงจังว่า ทำไมคุณวิทยากร x จึงภูมิใจในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมดีงามของบรรพบุรุษ หวงแหนมากมาย แม้ว่าตัวเองไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเลย บางคนฟังแล้วอาจคันอวัยวะส่วนล่าง ช่างอหังการไร้สำนึกถึงรากเหง้าอะไรเช่นนั้น แต่ฉันทึ่งกับคำถามนี้มาก มันแสดงถึงสติปัญญาที่ฉันไม่เคยมีในวัยเดียวกัน มันเป็นปรากฎการณ์ที่เราทุกคนน่าจะถามตัวเอง เพราะเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยมีอาการเช่นนี้ อย่างน้อยก็ในบริบทต่างๆ กันไป ลองพิจารณาดู ทำไมเราจึงมีความภูมิใจกับกลุ่มหมู่อะไรที่เราถือว่าเป็น “พวกเรา” ปลื้มเปรมยกย่องกับความสำเร็จของใครก็ตามที่โยงใยกับพวกของเรา ภูมิใจเสมือนเป็นความสำเร็จของตัวเราเอง ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ลงขันทำอะไรให้มันเกิดขึ้นมา อย่างต่ำเลยก็เป็นกับทีมฟุตบอล ไม่ได้รู้จักมักจี่เขาเลย แต่เขาชนะแล้วเราฟินเว่อร์ บางคนกับบรรพบุรุษ ปู่ทวดฉันเคยสร้างโน่นนี่ เป็นนั่นนู่น ภูมิใจมาก ใครอย่าแตะอย่าว่า ทั้งๆ ที่เราก็เกิดไม่ทัน ไม่เคยรู้จักปู่ทวดคนเป็นๆ บางคนกับสถาบันที่เคยเรียนมา คนจากโรงเรียนฉันเก่ง ฉันเลยเก่งไปด้วย บางคนกับคนร่วมภูมิลำเนา บางคนกับคนร่วมชาติ บางคนกับเชื้อชาติพันธุกรรม แค่มีเลือดไทยผสมแต่เป็นพลเมืองอเมริกา คนไทยก็ภูมิใจมาก บางคนกับชีวิตร่วมสายพันธุ์ มองว่ามนุษย์ช่างฉลาดเก่งกาจกว่าสัตว์อื่น ทั้งๆ ที่ความเก่งทั้งหลายของมนุษย์ที่หยิบยกมาภาคภูมิใจกัน ล้วนเป็นสิ่งที่เราในฐานะปัจเจกทำเองไม่เป็น ไม่ได้มีความสามารถของมนุษย์ที่เราชื่นชม ถามจริง เรากี่คนสร้างรถยนต์ได้เอง สร้างคอมพิวเตอร์ได้เอง สักกี่คนประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ส่วนใหญ่เราเป็นผู้บริโภค แถมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อพระอาทิตย์ไม่ตกดิน

มีใครเป็นเหมือนกันบ้างที่ออกอาการดีใจเวลาที่เห็นพระอาทิตย์เพิ่งขึ้นหรือกำลังจะตก ตามความรู้สึกของผู้เขียน สีของท้องฟ้าในช่วงเวลาทั้งสองนั้นสวยมาก และแม้ว่ากล้องจากโทรศัพท์มือถือจะไม่สามารถถ่ายทอดได้อย่างที่ตาเรามองเห็น ก็ยังอดไม่ได้ที่จะต้องหยิบขึ้นมาถ่ายรูปเมื่อมีโอกาสทุกครั้งไป ภาพจาก: http://www.knotmirai.com/author/admin/ แล้ววันนี้เองที่เกิดสะดุดใจตอนที่ขับรถออกไปส่งลูกชายที่สนามเทนนิส ภาพพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน ลอยอ้อยอิ่งอยู่เหนือยอดไม้นั้นเป็นภาพที่หายากเหลือเกินสำหรับคนเมืองอย่างผู้เขียน ปกติแล้ว พระอาทิตย์จะหายไปทางหลังตึกสำนักงาน หรือคอนโดสูงๆ หรือไม่ก็พ้นสายตาไปเพราะป้ายโฆษณาใหญ่ยักษ์ทั้งหลายบดบัง หากไม่ได้ออกไปนอกเมือง โอกาสที่จะเห็นพระอาทิตย์ตกดินจึงยากเย็น ได้แต่ดูพระอาทิตย์ลับตึกและสิ่งก่อสร้างเป็นประจำ และก็รวมไปถึงการดูพระจันทร์โผล่จากยอดตึกด้วยเช่นกัน ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา สิ่งก่อสร้างในเมืองกัวลาลัมเปอร์และเมืองบริวารรอบๆ ที่มีทั้งอาคารพักอาศัยและสำนักงานผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก เฉพาะในรัศมีไม่เกินหนึ่งกิโลเมตรของบ้านผู้เขียน มีห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงาน 2 แห่ง อพาร์ทเมนท์อีก 6 โครงการเกิดขึ้นมาแบบที่ได้เห็นตั้งแต่ตอนลงเสาเข็มจนเสร็จเปิดทำการ จนทำให้เกิดแลนด์มาร์คใหม่ๆ ในการอ้างอิงเวลาบอกทาง ไม่ใช่สวนสาธารณะหรือที่ทำการไปรษณีย์อย่างแต่ก่อน ถ้าจะเปรียบเทียบกับตอนอยู่กรุงเทพ ก็คงเหมือนที่เคยบอกตำแหน่งบ้านว่าอยู่ใกล้ท้องฟ้าจำลอง แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ อาจจะบอกเพื่อนว่าบ้านอยู่ใกล้เมเจอร์สุขุมวิทแทน ที่น่าเป็นห่วงคืออาคารสำนักงาน เพราะเท่าที่เห็น อาคารสำนักงานที่สร้างเสร็จภายในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา มีไม่กี่แห่งที่มีคนเข้าใช้พื้นที่เกือบเต็ม ข้อมูลทางสถิติของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็ได้รายงานว่ามีแค่ราวๆ 60-70% ของอาคารสำนักงานต่างๆ ที่มีการเช่าซื้อ นอกนั้น ก็ยังว่างโหวงไร้คนเข้าใช้พื้นที่หรือเข้าอยู่อาศัย ที่เก็งไว้ว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเปิดบริษัทนานาชาติ ก็ยิ่งเป็นการเก็งที่ผิดคาด เพราะมาตรฐานอาคารสำนักงานที่สร้างในกัวลาลัมเปอร์และเมืองบริวารนี้ ยังด้อยกว่าอาคารสำนักงานในเมืองศูนย์กลางธุรกิจอื่นๆ ในเอเชียอย่างสิงคโปร์ หรือฮ่องกง ส่วนธุรกิจรุ่นใหม่ภายในประเทศ ก็ผันตัวไปเป็นธุรกิจออนไลน์กันซะส่วนมาก “การทำงาน” จึงต้องการแค่มีคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต […]

Read More