นิเวศในเมือง

นิเวศในเมือง
read

ลอยทะเล

คิดอยู่เป็นนานกว่าจะลงมือเขียนเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าผู้อ่านจะเขี่ยนิ้วเร็วๆ ข้ามไปโดยไม่อ่าน ถ้าหากรู้ว่ากำลังจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับขยะในทะเล ที่มีทั้งเรื่องขยะที่พบในทะเล ริมหาด ในท้องสัตว์น้ำ ติดแหง็กตามร่างกายของสัตว์ทะเล แล้วก็มีหลายภาคส่วนที่ลุกขึ้นมารณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก ไม่รับหลอด เลิกใช้กล่องโฟมใส่อาหาร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ดีงามควรทำเป็นอย่างยิ่ง แต่ว่า… มีเรื่องที่ต้องคิดตามและทำความเข้าใจกับหลายประเด็น ก่อนที่จะสามารถทำให้การรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นประสบความสำเร็จ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จริง ลองตอบคำถามเหล่านี้ดูก่อนก็แล้วกัน ใช่คุณหรือเปล่า ที่เวลาดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้จากกระป๋องอะลูมิเนียมแล้วต้องใช้หลอด เพราะรู้มาว่า กระป๋องที่วางไว้ในร้านหรือห้องเก็บของก่อนที่ร้านค้าจะเอามาใส่ตู้เย็นนั้น มีหนูหรือแมลงสาบเดินป้วนเปี้ยนอยู่บนกระป๋องแน่ๆ ใช่คุณหรือเปล่า ที่ไม่กล้าดื่มน้ำอัดลมโดยตรงจากขวดแก้ว เพราะว่ากลัวว่าสนิมจากฝาขวด ที่เกาะอยู่ตามปากขวดนั้น จะไหลลงคอตามไปด้วย ใช่คุณหรือเปล่า ที่ไม่ยอมดื่มน้ำจากแก้วที่ร้านค้าเสริฟให้ เพราะเชื่อว่า ร้านค้าเหล่านั้นล้างแก้วไม่สะอาด และไม่อยากกินขี้ปากคนอื่น ใช่คุณหรือเปล่า ที่เชื่อว่าต้องเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกสามเดือนเพื่อสุขอนามัยของช่องปาก ใช่คุณหรือเปล่า ที่สามารถเตรียมของขบเคี้ยวและอาหารว่างสาระพัดเวลาไปเที่ยวที่ต่างๆ แต่ว่าไม่เตรียมน้ำดื่มหรือเตรียมไปไม่พอ (เพราะหนัก) และคิดว่าไม่เป็นไร ไปซื้อเอาดาบหน้า แถมยังได้น้ำเย็นดื่มด้วย ใช่คุณหรือเปล่า ที่เลี้ยวเข้าปั๊มเติมน้ำมันเพราะป้ายน้ำดื่มฟรี 1 ขวด เมื่อเติมครบ 500 บาท ทั้งๆ ที่ชีวิตประจำวันออกจากบ้านก็ตรงดิ่งไปทำงานหรือโรงเรียน และสถานที่เหล่านั้นก็มีตู้น้ำดื่มให้เติมใส่ภาชนะของตัวเอง ใช่คุณหรือเปล่า ที่ต้องซื้อกับข้าวถุง หรืออาหารเข้าบ้าน แต่เดินไปร้านค้าเหล่านั้นมือเปล่า […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

Beginner’s Mind อัศจรรย์ของการเห็นครั้งแรก

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วฉันไปเปิดหลักสูตรใหม่ของมูลนิธิโลกสีเขียวที่เชียงดาว เป็นการอบรม Nature Mentor สร้างผู้ทำหน้าที่เปิดประตูสู่ความมหัศจรรย์ของโลกธรรมชาติคนใหม่ๆ ขึ้นมาในสังคมไทย เป็นที่น่าประหลาดใจและสะพรึงใจไปพร้อมๆ กัน เมื่อเปิดรับสมัครแล้วพบว่ามีผู้สมัครเข้าคอร์สกันอย่างท่วมท้น จนต้องปิดรับสมัครก่อนกำหนด เพื่อคัดเลือกผู้ร่วมหลักสูตรมาเพียง 37 คน ไม่เคยนึกเลยว่าคนจะสนใจกันถึงเพียงนี้ มันน่าจะแสดงถึงปรากฎการณ์เล็กๆ อะไรบางอย่างที่เริ่มผุดขึ้นมาในสังคมไทย เป็นการมองเห็นปัญหาร่วมกัน เห็นความต้องการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมกับธรรมชาติ ท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมและการสูญพันธ์ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งที่ 6 ของโลกใบนี้ ผู้สมัครแต่ละคนที่เราได้มีโอกาสช้อนเข้ามาจึงล้วนแล้วแต่เป็นคนมี “ของ” และไม่ใช่ของธรรมดา หลายคนเป็นขั้นเซียนในสายงานตนเอง มีตั้งแต่นักสัตววิทยาระดับแนวหน้า แอบกรอกใบสมัครมาว่าเป็นแม่บ้าน นักเขียนเบส์ทเซลเลอร์มือทองขวัญใจวัยโจ๋ นักวิทยาศาสตร์ ครูศิลปะธรรมชาติลือชื่อในวงการ นักการศึกษาหลายแนวทั้งในและนอกระบบ ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมหาลัย หมอสมุนไพรผู้มีสัมผัสละเอียดอ่อนต่อความสมดุลของธาตุ นักอนุรักษ์ นักสิทธิมนุษยชน ไปจนถึงนางผู้มีญาณทัศนะ เรียกง่ายๆ ว่ามีความเป็นแม่มด ทีมวิทยากรของเรา ซึ่งรวบรวมมาจากหลายองค์กร เห็นชื่อผู้เข้าอบรมก็หนาว ใจสั่น ไม่รู้จะเอาอะไรไปสอนคนเก่งๆ เหล่านี้ แต่ฉันมั่นใจว่าคนเก่งที่สมัครมาเรียนกับเรา ล้วนเป็นคนน้ำไม่ล้นแก้ว เขาต้องรู้สึกว่าหลักสูตรเรามีอะไรให้เขาที่เขายังขาดและอยากเติมเต็ม อย่างน้อยก็เพื่อได้เจอได้แลกเปลี่ยนกับผู้คนที่มีความสนใจคล้ายกันจากพื้นเพที่ต่างกัน ที่สำคัญ เราต้องการคนเก่งหลายๆ ด้านเข้ามาร่วมทำงานฟื้นฟูความสัมพันธ์ธรรมชาติกับเรา ช่วยให้งานที่เราพยายามทำมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต สนองความต้องการของคนในสังคมวงกว้างขึ้นกว่าที่เรารู้จัก เราไม่กลัวคนเก่งเพราะเราถือหลักแบ่งปันความรู้ ผลัดกันเรียนผลัดกันสอน […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ความภูมิใจใน “เรา”

กาลครั้งหนึ่งไม่กี่ปีมานี้ เมื่อพิธีกรเปิดคำถามจากฟลอร์ในงานเสวนา วัยรุ่นคนหนึ่งก็ยกมือขึ้นถามด้วยความสุภาพแต่สงสัยจริงจังว่า ทำไมคุณวิทยากร x จึงภูมิใจในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมดีงามของบรรพบุรุษ หวงแหนมากมาย แม้ว่าตัวเองไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเลย บางคนฟังแล้วอาจคันอวัยวะส่วนล่าง ช่างอหังการไร้สำนึกถึงรากเหง้าอะไรเช่นนั้น แต่ฉันทึ่งกับคำถามนี้มาก มันแสดงถึงสติปัญญาที่ฉันไม่เคยมีในวัยเดียวกัน มันเป็นปรากฎการณ์ที่เราทุกคนน่าจะถามตัวเอง เพราะเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยมีอาการเช่นนี้ อย่างน้อยก็ในบริบทต่างๆ กันไป ลองพิจารณาดู ทำไมเราจึงมีความภูมิใจกับกลุ่มหมู่อะไรที่เราถือว่าเป็น “พวกเรา” ปลื้มเปรมยกย่องกับความสำเร็จของใครก็ตามที่โยงใยกับพวกของเรา ภูมิใจเสมือนเป็นความสำเร็จของตัวเราเอง ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ลงขันทำอะไรให้มันเกิดขึ้นมา อย่างต่ำเลยก็เป็นกับทีมฟุตบอล ไม่ได้รู้จักมักจี่เขาเลย แต่เขาชนะแล้วเราฟินเว่อร์ บางคนกับบรรพบุรุษ ปู่ทวดฉันเคยสร้างโน่นนี่ เป็นนั่นนู่น ภูมิใจมาก ใครอย่าแตะอย่าว่า ทั้งๆ ที่เราก็เกิดไม่ทัน ไม่เคยรู้จักปู่ทวดคนเป็นๆ บางคนกับสถาบันที่เคยเรียนมา คนจากโรงเรียนฉันเก่ง ฉันเลยเก่งไปด้วย บางคนกับคนร่วมภูมิลำเนา บางคนกับคนร่วมชาติ บางคนกับเชื้อชาติพันธุกรรม แค่มีเลือดไทยผสมแต่เป็นพลเมืองอเมริกา คนไทยก็ภูมิใจมาก บางคนกับชีวิตร่วมสายพันธุ์ มองว่ามนุษย์ช่างฉลาดเก่งกาจกว่าสัตว์อื่น ทั้งๆ ที่ความเก่งทั้งหลายของมนุษย์ที่หยิบยกมาภาคภูมิใจกัน ล้วนเป็นสิ่งที่เราในฐานะปัจเจกทำเองไม่เป็น ไม่ได้มีความสามารถของมนุษย์ที่เราชื่นชม ถามจริง เรากี่คนสร้างรถยนต์ได้เอง สร้างคอมพิวเตอร์ได้เอง สักกี่คนประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ส่วนใหญ่เราเป็นผู้บริโภค แถมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อพระอาทิตย์ไม่ตกดิน

มีใครเป็นเหมือนกันบ้างที่ออกอาการดีใจเวลาที่เห็นพระอาทิตย์เพิ่งขึ้นหรือกำลังจะตก ตามความรู้สึกของผู้เขียน สีของท้องฟ้าในช่วงเวลาทั้งสองนั้นสวยมาก และแม้ว่ากล้องจากโทรศัพท์มือถือจะไม่สามารถถ่ายทอดได้อย่างที่ตาเรามองเห็น ก็ยังอดไม่ได้ที่จะต้องหยิบขึ้นมาถ่ายรูปเมื่อมีโอกาสทุกครั้งไป ภาพจาก: http://www.knotmirai.com/author/admin/ แล้ววันนี้เองที่เกิดสะดุดใจตอนที่ขับรถออกไปส่งลูกชายที่สนามเทนนิส ภาพพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน ลอยอ้อยอิ่งอยู่เหนือยอดไม้นั้นเป็นภาพที่หายากเหลือเกินสำหรับคนเมืองอย่างผู้เขียน ปกติแล้ว พระอาทิตย์จะหายไปทางหลังตึกสำนักงาน หรือคอนโดสูงๆ หรือไม่ก็พ้นสายตาไปเพราะป้ายโฆษณาใหญ่ยักษ์ทั้งหลายบดบัง หากไม่ได้ออกไปนอกเมือง โอกาสที่จะเห็นพระอาทิตย์ตกดินจึงยากเย็น ได้แต่ดูพระอาทิตย์ลับตึกและสิ่งก่อสร้างเป็นประจำ และก็รวมไปถึงการดูพระจันทร์โผล่จากยอดตึกด้วยเช่นกัน ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา สิ่งก่อสร้างในเมืองกัวลาลัมเปอร์และเมืองบริวารรอบๆ ที่มีทั้งอาคารพักอาศัยและสำนักงานผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก เฉพาะในรัศมีไม่เกินหนึ่งกิโลเมตรของบ้านผู้เขียน มีห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงาน 2 แห่ง อพาร์ทเมนท์อีก 6 โครงการเกิดขึ้นมาแบบที่ได้เห็นตั้งแต่ตอนลงเสาเข็มจนเสร็จเปิดทำการ จนทำให้เกิดแลนด์มาร์คใหม่ๆ ในการอ้างอิงเวลาบอกทาง ไม่ใช่สวนสาธารณะหรือที่ทำการไปรษณีย์อย่างแต่ก่อน ถ้าจะเปรียบเทียบกับตอนอยู่กรุงเทพ ก็คงเหมือนที่เคยบอกตำแหน่งบ้านว่าอยู่ใกล้ท้องฟ้าจำลอง แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ อาจจะบอกเพื่อนว่าบ้านอยู่ใกล้เมเจอร์สุขุมวิทแทน ที่น่าเป็นห่วงคืออาคารสำนักงาน เพราะเท่าที่เห็น อาคารสำนักงานที่สร้างเสร็จภายในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา มีไม่กี่แห่งที่มีคนเข้าใช้พื้นที่เกือบเต็ม ข้อมูลทางสถิติของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็ได้รายงานว่ามีแค่ราวๆ 60-70% ของอาคารสำนักงานต่างๆ ที่มีการเช่าซื้อ นอกนั้น ก็ยังว่างโหวงไร้คนเข้าใช้พื้นที่หรือเข้าอยู่อาศัย ที่เก็งไว้ว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเปิดบริษัทนานาชาติ ก็ยิ่งเป็นการเก็งที่ผิดคาด เพราะมาตรฐานอาคารสำนักงานที่สร้างในกัวลาลัมเปอร์และเมืองบริวารนี้ ยังด้อยกว่าอาคารสำนักงานในเมืองศูนย์กลางธุรกิจอื่นๆ ในเอเชียอย่างสิงคโปร์ หรือฮ่องกง ส่วนธุรกิจรุ่นใหม่ภายในประเทศ ก็ผันตัวไปเป็นธุรกิจออนไลน์กันซะส่วนมาก “การทำงาน” จึงต้องการแค่มีคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

From Russia with Love

จั่วหัวชื่อบทความนี้ คงมีแต่คนยุคสงครามเย็นจะเข้าใจ มันเป็นชื่อหนังเจมส์บอนด์ยุค ฌอน คอนเนอรี่ คนรุ่นแฟนฌอน คอนเนอรี่มีความทรงจำที่ไม่ค่อยจะดีนักต่อรัสเซีย จำได้ว่าครั้งแรกที่เดินทางไปเยี่ยมญาติที่อังกฤษ แม่พาขึ้นเรือบินแอโรฟลอตของรัสเซีย เพราะมันราคาถูกที่สุดในยุค 70s แอร์ดุมาก เสริฟอาหารตี 2 ใช้ถาดที่ถือมาเคาะหัวผู้โดยสารปลุกให้ตื่นขึ้นมากิน โขกถาดลงตรงหน้า สั่งคำเดียวว่า “Eat!” เราต้องรอ 24 ชั่วโมงเพื่อเปลี่ยนเครื่องที่รัสเซีย เขาบริการพาเราไปกักไว้ในโรงแรม ห้ามออกจากห้องนอน มีคนเฝ้าดุๆ หน้าลิฟท์แต่ละชั้น คอยตะโกน “Back!” ถ้าเราโผล่หัวออกมาจากห้อง ถึงเวลาอาหารจึงมาเคาะประตู “Eat!” จัดผู้โดยสารเดินเรียงแถวไปห้องอาหารในชั้นนั้น เสริฟซุปจืดๆ พร้อมขนมปังแข็งกัดไม่เข้า กินเสร็จก็เดินเรียงแถวกลับเข้าห้องนอนจนถึงเวลาบิน ความเกร็งต่ออำนาจหลังม่านเหล็กและขนมปังแข็งมันฝังใจ หลายสิบปีต่อมา เมื่อคิดจะไปเยือนรัสเซียต้นเดือนธันวากลางฤดูหนาวเหน็บ ให้มันรู้ไปว่านโบเลียนแพ้หิมะรัสเซียอย่างไร เราจึงออกจะเกร็ง แม้ว่าปัจจุบันนักท่องเที่ยวไทยจะเข้ารัสเซียได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า แต่ชาวพันทิปก็เตือนกันไว้ว่าอย่าได้วางใจ จงเตรียมเอกสารสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศภาษารัสเซียไปด้วย พร้อมกับใบโน่นนี่จากโรงแรมที่พัก แต่เมื่อไปถึงจริงๆ แล้ว อคติดั้งเดิมทั้งหมดก็ลบเลือนไป รัสเซียในวันนี้เปลี่ยนไปมาก อาหารอร่อยและถูก โดยเฉพาะซุปบ้านๆ (ซึ่งไม่เข้าใจว่าทำไมโรงแรมของแอโรฟลอตไม่ให้เรากิน) เบียร์ท้องถิ่นและไวน์จากจอร์เจียดีงามสามภพ พิพิธภัณฑ์เลิศระดับโลก ผู้คนอัธยาศัยดี โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ยินดีช่วยเหลือบริการ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ภาพบาดตา

เปล่านะ ผู้เขียนไม่ได้จะพูดเรื่องของใครไปเห็นใครทำอะไรไม่ดีไม่งามที่ไหน แต่เป็นภาพบาดตาที่ผู้เขียนต้องเจอตามข้างถนนอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่ปลายปี 2017 ที่ผ่านมา พบว่าจากบ้านของผู้เขียนไปยังโรงเรียนของลูกชาย อันมีระยะทางราวๆ 5 กิโลเมตรนั้น มี “ภาพบาดตา” เกิดขึ้นถึง 3 แห่ง ก็เจ้าป้ายโฆษณาแบบระบบทีวีดิจิตอลใหญ่เบิ้มเหล่านั้น ออกอิทธิฤทธิ์เปล่งแสงกันสนั่นลั่นจอเหมือนดูสตาร์วอร์เลยทีเดียว ป้า เอ๊ย ผู้เขียนคงไม่บ่นอะไรมาก หากว่ามันอยู่ในที่ในทางและเปล่งพลังกันพอตัว ตอนเช้าที่ขับรถส่งเด็กๆ ไปโรงเรียน ท้องฟ้ายังคงมืดมิดอยู่ เพราะนาฬิกาที่มาเลเซียนี่เร็วกว่าท้องฟ้าจริง (ตามความเคยชินของสาวไทย) ไปหนึ่งชั่วโมง แสงที่เจิดจ้าออกมาจากป้ายโฆษณา จึงบาดตาคนขับขี่กว่าปกติ โดยเฉพาะป้ายหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เรี่ยกับพื้นและเป็นช่วงทางโค้ง เวลาที่ขับรถลงมาจากสะพานข้ามสามแยก จะเผชิญหน้ากันจังๆ กับคนขับรถพอดี ในทางการโฆษณา ป้ายนี้ถือว่าอยู่ในจุดยุทธศาสตร์แน่ๆ เห็นกันชัดๆ แต่สำหรับผู้เขียน มันกลับทำให้ต้องตกอยู่ในสภาพตาบอดไฟไปสิบวินาที ก่อนที่จะสามารถปรับสายตาเพ่งมองรถข้างหน้าและรถที่เข้ามาเทียบข้างๆ จากเลนคู่ขนานสะพาน ยิ่งถ้าเป็นช่วงที่โฆษณาสีสดๆ แบบสีเหลืองจ๋อยทั้งจอโผล่ขึ้นมาพอดีด้วยแล้ว ยิ่งทรมานเหลือเกิน เคยนึกอยู่เสมอว่า ป้าย LED น่าจะดีกว่าป้ายไวนิล เพราะในด้านของการผลัดเปลี่ยนโฆษณาแต่ละชนิดมีความถี่กี่ครั้งก็ได้แล้วแต่ราคาที่ตกลงกัน ส่วนการนำเสนอออกสู่สายตาผู้บริโภค ก็เพียงแต่ตั้งโปรแกรมให้โฆษณาขึ้นบ่อยครั้งตามที่ตกลง ภาพจาก: http://punestartups.org/forum/topics/led-display-advertising-in-pune ในขณะที่ป้ายไวนิล ทำมาจากส่วนผสมของพลาสติกกับคลอรีน มีชื่อเต็มๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ประชาชนนั้นโดดเดี่ยว

เมื่อวันพุธ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปร่วมออกรายการสถานีประชาชนของไทยพีบีเอส กับเครือข่ายชุมชนซอยย่านพญาไทผู้ประสบปัญหาผลกระทบจากคอนโดจำนวนมากกว่า 20 หลัง โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานรัฐร่วมรายการ ปัญหาที่ชุมชนเขตพญาไทเจอนับเป็นปัญหาคลาสสิคที่ทุกชุมชนซอยเจอ และออกจะเข้มข้นเป็นพิเศษเพราะซอยขนาดเล็กเชื่อมต่อกันเยอะ จำนวนคอนโดหนาแน่น กระทบบ้านเดิมหลายร้อยหลังคาเรือน ตั้งแต่บ้านพังถึงขั้นต้องรื้อทิ้ง ไหนจะรถติดวินาศสันตะโร น้ำท่วมผิดปกติเมื่อคอนโดสูงพากันระบายน้ำออกมา ไหนจะความร้อนระอุที่เพิ่มขึ้นจากมวลคอนกรีต ฯลฯ หลายคอนโดขนาดใหญ่โตเทียบกับขนาดถนนเล็กแคบ จนสงสัยว่าทำไมจึงอนุญาตให้สร้างได้ มันเป็นปัญหาทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้นกลางกรุงทั่วไปหมด สมควรหยิบยกมาเป็นวาระปัญหาแห่งเมือง ทางชุมชนพญาไท ภายใต้นาม “กลุ่มอนุรักษ์พญาไท” จึงได้ทำเรื่องร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อตรวจสอบปรากฎการณ์นี้อย่างจริงจัง ดิฉันไปร่วมรายการในฐานะตัวแทนชุมชนสุขุมวิท 28-30 ผู้รับผลกระทบจากคอนโดเช่นกัน ทั้งย่านพญาไทและย่านสุขุมวิทอยู่ในโซนผังเมืองสีน้ำตาล คือโซนที่กำหนดให้เป็นเขตอยู่อาศัยหนาแน่น ดิฉันก็บอกว่าเราเข้าใจเจตนาของโซนสีน้ำตาล ว่าต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองกระชับ (compact city) ใช้พื้นที่และทรัพยากรจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในความกระชับจะต้องไม่อึดอัดอุดตัน โครงสร้างเมืองและสาธารณูปโภครองรับได้ ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ทั้งชาวบ้านผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมและชาวคอนโดผู้มาใหม่ นั้นหมายความว่าอาคารใหญ่และคอนโดทั้งหลายต้องไม่โยนปัญหาออกมาข้างนอก แต่ความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้นเลย เราพยายามพึ่งพากฎหมาย แต่ก็พบข้อจำกัดหลายประการ เป็นต้นว่า นิยามกฎหมายไม่ชัดเจน กฎหมายระบุความกว้างของ “เขตทาง” แทนพื้นผิวจราจร ซอยที่มีพื้นถนนแค่สองเลนรวม 4.5 เมตร แต่มีพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้ใหญ่ริมทางอย่างซอยบ้านเรา ก็ถูกตีความว่า “เขตทาง” […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

น้ำอัดลมในขวดแก้ว

วันหนึ่ง ขณะที่ร่วมวงอาหารกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน ก็มีเสียงบิดเกลียวฝาขวด กริ๊ก.. ฟู่… ก๊าซของน้ำอัดลมพวยพุ่งออกมาจากขวดพลาสติกบรรจุน้ำสีดำ คงไม่กระตุกใจผู้เขียนมากซักเท่าไหร่ หากว่าไม่ใช่เพราะเพิ่งกลับมาจากเมืองไทย ก็ตามร้านอาหารในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นร้านเหลา หรือยองๆ เหลา ต่างก็เสริฟน้ำอัดลม (ขวดเล็ก) ในขวดแก้วด้วยกันทั้งนั้น เลยถือโอกาสเล่าให้เพื่อนที่มาเลเซียฟังเกี่ยวกับเวลา…เอ๊ย..น้ำอัดลมในขวดแก้ว หลายๆ คนที่ทำงานอยู่ด้วยนั้น โตไม่ทันที่จะได้ดื่มน้ำอัดลมจากขวดแก้ว เพราะโตมาก็เจอเครื่องดื่มเหล่านั้นในกระป๋องและขวดพลาสติกแล้วเท่าที่ไต่ถามผู้อาวุโสในบ้าน เขาบอกว่า เมื่อห้าสิบกว่าปีที่แล้ว ตอนที่เขายังเป็นเด็กๆ ก็ยังได้ดื่มน้ำอัดลมจากขวดแก้วอยู่ แต่จำไม่ได้ว่ามันหายไปจากตลาดตอนไหน สำหรับน้องๆ ที่ทำงาน การที่ได้ยินว่าเมืองไทยยังคงขายในขวดแก้วอยู่ จึงทำให้เกิดคำถามพรั่งพรูตามมา “ดื่มเสร็จแล้วทิ้งขวดเลยหรือ” ถ้าเป็นคนไทยรุ่นอายุสามสิบขึ้น คงเคยได้เห็นรถบรรทุกน้ำอัดลมแบบเปิดโล่งสองข้าง มีลังน้ำสีต่างๆ ซ้อนกันอยู่ พอถึงหน้าร้านอาหารหรือร้านขายของชำที่สั่งน้ำเหล่านั้นเข้าร้าน พนักงานก็จะกระโดดลงมายกลังน้ำเหล่านั้นใส่รถเข็นสองล้อ ซ้อนกันเป็นตั้งสูงจนกลัวว่าจะหล่นลงมา (แต่ก็ไม่เคยเห็นใครทำหล่น) ยกเข้ามาวางแทนลังที่มีแต่ขวดเปล่า เป็นแบบระบบคืนขวด ส่งมากี่ลัง ก็เก็บคืนเท่านั้นลัง พอขวดเดินทางไปถึงโรงงาน ก็จะถูกส่งเข้าสู่ไลน์การล้างขวดด้วยสารละลายผสมโซดาไฟทั้งข้างนอกข้างใน มีการตรวจสอบสารตกค้าง และฆ่าเชื้อก่อนที่จะนำมาบรรจุเครื่องดื่มอีก ซึ่งผู้เขียนชอบมากที่เรายังคงมีระบบคืนขวดแบบนี้ เพราะทำให้ไม่ต้องใช้ขวดพลาสติกหรือกระป๋อง ที่แม้ว่าจะนำมารีไซเคิลได้จริง แต่ทรัพยากรและพลังงานที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเหล่านั้น มันเริ่มที่จะลดน้อยลงไป ในขณะที่ภาชนะหลังใช้ก็ยังเกลื่อนกลาดทั่วไป โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียที่การรีไซเคิลยังไม่อยู่ในนิสัยของคนส่วนมาก “คนงานยกลังเป็นคนที่มาจากไหน งานมันหนักนะ” […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

บทเรียนจากดัตช์และเดน

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาฉันไปเยี่ยมเพื่อนที่เนเธอร์แลนด์ เดบบี้เป็นเพื่อนสนิทคนแรกเมื่อฉันไปเรียนที่อังกฤษนานนมเนมาแล้ว เธอเป็นเชื้อชาติอังกฤษสัญชาติสวิส และย้ายไปอยู่เมืองฮาเล็มใกล้ๆ อัมสเตอร์ดัมเมื่อสองปีก่อน หลังจากพบว่าตัวเองเป็นมะเร็ง เธอบอกว่าเธออยากอยู่ที่ที่เธอทำงานหาเงินได้ มีสังคมที่อยู่ได้อย่างสบายใจ มีคุณภาพชีวิต เมืองสวย ปั่นจักรยานเข้าถึงธรรมชาติได้ง่ายๆ แล้วเธอก็พบว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ดีเกินคาด เพราะชาวดัตช์ได้สอนให้เธอเรียนรู้ที่จะรักตัวเองอย่างแท้จริง เดบบี้เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งในกลุ่มสนทนาที่เธอต้องจัดเป็นประจำ คุยถึงกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน แทบทุกคนเห็นพ้องกับไอเดียหนึ่ง แต่ผู้หญิงคนหนึ่งยืนยันไม่เอา ยังไงๆ ก็ไม่เอา ไม่ชอบ จึงปรับไอเดียกันจนหาฉันทามติได้ในที่สุด เป็นกิจกรรมที่คล้ายกับไอเดียแรก แต่เปลี่ยนมุม ซึ่งทุกคนแฮปปี้ เดบบี้รู้สึกทึ่งมาก เธอเป็นคนอังกฤษ ขี้เกรงใจ เธอถูกสอนให้คล้อยตามเสียงส่วนใหญ่ แทนยืนยันความต้องการของตัวเอง ทำเช่นนั้นมานานตั้งแต่เด็ก จนบ่อยครั้งไม่รู้ความต้องการของตัวเอง ถ้ายกมือโหวตกันแล้วได้เสียงส่วนมาก ก็ยอมรับไปแต่โดยดี ไม่คิดจะพินิจว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร แต่คนดัตช์สอนให้รู้ใจตัวเองกันแต่เด็ก ถ้าถามความเห็น ไม่มีตอบว่าอะไรก็ได้ ยังไงก็ได้ ไม่เป็นไร แล้วแต่คุณ เขาพูดจากันตรงๆ จนบางครั้งคนจากวัฒนธรรมอื่นจะรู้สึกว่าไม่รักษามารยาท รู้ความต้องการของตัวเอง แต่ก็ฟังความต้องการของผู้อื่น เรื่องของเดบบี้ทำให้ฉันคิดถึงความประทับใจต่อชาวเดนมาร์กเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นมูลนิธิโลกสีเขียวเขียนโครงการนักสืบสายน้ำขอทุนรัฐบาลเดนมาร์ก ทางแหล่งทุนสนใจจึงอยากให้ไปพบปะกับกลุ่มต่างๆ ที่เดนมาร์กเผื่อจะหาความร่วมมือ ช่วงนั้นเดนมาร์กกำลังเริ่มฟื้นฟูกายภาพแหล่งน้ำ แม่น้ำที่เคยถูกขุดให้ตรงเพื่อระบายน้ำเร็วๆ ก็ขุดให้คดเคี้ยวใหม่ตามเดิม ฟื้นฟูแก่ง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

หวงและห่วง…แม่ทุเรียนของพี่

เทศกาลกินทุเรียนที่มาเลเซียเมื่อกลางปีที่ผ่านมามีความเงียบเหงาผิดไปจากเดิม เพราะทุเรียนมีราคาแพงเกินกว่าปกติ ชนิดที่เรียกว่ามูซัง คิง (Musang King) ราคาขึ้นสูงถึงกิโลละพันบาท ซึ่งเป็นราคาแบบที่ชั่งกันทั้งลูก ไม่ใช่ราคาแบบที่แกะเนื้อขาย และที่นำออกมาวางขาย ก็ใช่ว่าจะมีจำนวนเยอะ จนพ่อค้าสามารถเล่นตัว ไม่รับการต่อรองราคาใดๆ จากลูกค้าเลย รัฐเปรัคเป็นรัฐที่มีการผลิตทุเรียนรุ่นกลางปีออกมาขายมากและเป็นที่รู้จักกันดี ฤดูกาลที่ทุเรียนจากรัฐเปรัคจะให้ผลผลิตออกมาวางขายตามท้องตลาดคือ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมไปจนถึงต้นเดือนกันยายน ส่วนในช่วงเดือนธันวาคมต่อไปจนถึงมกราคม จะเป็นผลผลิตที่มาจากสวนทางพื้นที่ตอนใต้ของแหลมมลายูอย่างรัฐยะโฮร์ เหตุที่จำนวนของทุเรียนลดน้อยถอยลงไปอย่างผิดหูผิดตามในปีนี้ มีสาเหตุหลักๆ อยู่สองอย่าง โดยประการแรก เป็นเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนไป ทุเรียนในพื้นที่ตอนกลางของประเทศมาเลเซีย จะออกดอกในช่วงต้นปี แถวๆ ตรุษจีน และเมื่อดอกออกแล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์กว่าจะติดลูก ปีนี้ มีฝนตกชุกในช่วงก่อนและหลังตรุษจีนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ ทำให้ดอกทุเรียนถูกฝนชะ หล่นร่วงจากต้นไปเป็นจำนวนมาก ส่วนดอกที่ยังพอเหลืออยู่ติดต้น โดยเฉลี่ย จะโตมาเป็นผลทุเรียนได้แค่ 25 เปอร์เซนต์ จึงทำให้จำนวนทุเรียนที่ควรจะถึงมือลูกค้ายิ่งน้อยลงไปอีก ใครว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่มีจริง และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ก็ตาม ทาสทุเรียนทั้งหลายประจักษ์แก่ใจ ชัดเจนในปีนี้ ส่วนประการที่สอง ความต้องการลิ้มรสทุเรียนไม่ได้หยุดอยู่แค่ในมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่ว่าเดินทางไกลไปถึงประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อแบบเจ้าบุญทุ่มและเต็มใจซื้อในราคาที่สูงกว่าที่คนท้องถิ่นจะเต็มใจจ่ายด้วยค่าเงินที่แข็งกว่า โดยข่าวแจ้งว่า ราคาทุเรียนมูซังคิงที่ขายในเมืองจีนมีราคาสูงถึงกิโลละ 5 พันบาท ในขณะที่ในมาเลเซียวางขายที่กิโลละ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

คอนโดเลี่ยงบาลีกันอย่างไร?

คนกรุงเทพที่อาศัยอยู่ในซอยเล็กย่านกลางเมืองจำนวนไม่น้อย ต้องประสบปัญหาจากการก่อสร้างคอนโดขนาดใหญ่ในซอยแคบๆ เคยสงสัยไหมว่าทำไมจึงสร้างกันได้ ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ว่าพื้นที่มันรองรับจำนวนคนจำนวนรถขนาดนั้นไม่ไหว? กฎหมายไม่ดูแลคนบ้านเดี่ยวที่อาศัยอยู่มาชั่วนานตาปีกันบ้างเลยเชียวหรือ? มาทำความรู้จักกฎหมายและวิธีบิดเบือนเลี่ยงบาลีของคอนโดหลายๆ โครงการกันดีกว่า สมมุตินะคะ..สมมุติ สมมุติว่ามีซอยตันถนนแค่สองเลนพอรถแล่นสวนกันอยู่ในย่านกลางเมืองใกล้ศูนย์การค้าใหญ่อยู่สองซอยขนานกัน ขอเรียกว่าซอย 1 และซอย 2 ทั้งสองซอยมีคอนโดสร้างเสร็จแล้วและกำลังสร้างอยู่หลายหลัง ทั้งขนาดใหญ่ 30 ชั้นหน้าปากซอยติดถนนใหญ่ และขนาดกลาง 20 ชั้นอยู่กลางซอย สร้างปัญหาการจราจรคับคั่งในซอยอยู่แล้ว ขนาดที่ชั่วโมงเร่งด่วนรถจะติดกันในซอยยาวเกือบครึ่งซอย นานนับ 20-30 นาที แล้วก็มีโครงการคอนโดขนาดใหญ่จะมาขึ้นอีกหลังหนึ่งกลางซอย โครงการนี้กวาดซื้อที่ดินระหว่างซอย 1 และซอย 2 ไปกว่าสองไร่ ตัดต้นไม้ใหญ่อายุร่วม 40-50 ปีที่ขึ้นคลุมเต็มพื้นที่ออกไปหมดทุกต้นก่อนโอนที่ดิน เวลาจะทำ EIA หรือรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ก็ไม่จำเป็นต้องเทียบกับสภาพแวดล้อมที่มีต้นไม้ใหญ่ เพราะที่ที่เขาได้มามันเป็นที่โล่งเปล่า แค่นี้ก็ไม่ต้องบรรเทาผลกระทบจากการตัดต้นไม้แล้ว คอนโดใหม่นี้มีแผนจะสร้างถึง 30 ชั้น สูงราว 120 เมตร มีจำนวนห้องกว่า 250 ห้องและที่จอดรถเกือบ 200 คัน แม้ไม่ได้ขับออกมาพร้อมกัน สามัญสำนึกของชาวกรุงกลางเมืองย่านห้างใหญ่ก็จินตนาการได้ไม่ยากว่ารถในซอยจะติดแค่ไหน คนท้ายซอยคงไม่ต้องออกจากบ้าน […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ถามรถไฟ

โครงการรถไฟเมืองจีนที่จะวางรางทั่วเอเชีย เชื่อมประเทศจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปากีสถาน เอเชียกลาง และทางเดินสมุทร ด้วยระบบขนส่งภาคพื้นดิน เพื่อเปิดเส้นทางการค้าไปยังยุโรปและตะวันออกกลางให้สะดวกง่ายขึ้น โดยถือกันว่าเป็น “เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21” เลยทีเดียว ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนขอพูดถึงเฉพาะรางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์  เพราะถือว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างประเทศมาเลเซียที่ผู้เขียนอาศัยอยู่และเมืองไทยที่ผู้อ่านอยู่อาศัย ต้นปี ค.ศ. 2020 เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น ผู้โดยสารจะสามารถใช้บริการรถไฟ Pan-Asia Railway Network ซึ่งเครือข่ายรถไฟดังกล่าว สร้างขึ้นเพื่อขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า โดยมีการเชื่อมต่อระยะทางประมาณ 4,500 – 5,500 กิโลเมตรจากประเทศจีนครอบคลุมไปทั่ว จึงทำให้เราๆ ท่านๆ สามารถเดินทางไปมาระหว่างกันโดยใช้เวลาน้อยลง เพราะจากคุนหมิงไปถึงสิงคโปร์ใช้เวลาเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น ก่อนที่จะมีสายการบินราคาแบบโลว์คอสต์วิ่งไปมาระหว่างกรุงเทพและกัวลาลัมเปอร์นั้น ผู้เขียนมีความจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานขึ้นลงอยู่สองสามครั้ง ได้อาศัยบริการรถไฟไทยซึ่งวิ่งจากปีนังเข้าไปยังกรุงเทพ โดยใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมดกว่าหนึ่งวัน เริ่มจากการนั่งรถบัสจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธที่ใช้เวลาราวๆ 5 ชั่วโมง แล้วจึงจับรถไฟขบวนบ่ายโมง วิ่งแบบนั่งๆ นอนๆ ไปถึงกรุงเทพตอนใกล้เที่ยงของวันถัดไป ถ้าหากว่าใช้รถไฟสายไหมที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ การเดินทางนั้นคงจะลดลงมาเหลือราวๆ 5-6 ชั่วโมง คำล้อเลียนเสียงรถไฟที่แล่นบนรางว่า “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” คงจะหายไป เปลี่ยนมาเป็นร้องเพลง […]

Read More