ศัพท์สิ่งแวดล้อม : อังกฤษ

Gaia

กายา หรือ Gaia หมายถึงแนวคิดในการอธิบายและมองว่า “โลกเป็นสิ่งมีชีวิตอันหนึ่ง”ใน ที่สุดเจมส์ก็ชี้ขาดลงไปว่า คุณสมบัติส่วนใหญ่ของเจ้าสิ่งมีชีวิตก็คือ พวกที่สามารถรับเอาพลังงานและสสารเข้าไป และขับถ่ายกากของเสียออกมา โดยใช้บรรยากาศของโลกเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เช่นมนุษย์สูดเอาออกซิเจนเข้าไป และหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เพื่อทดสอบความคิดดังกล่าว เจมส์และเดียน ฮิทซ์ค็อค (Dean Hitchcock) จึงเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีบรรยากาศของดาวอังคารเปรียบ เทียบกับโลก ผลที่ได้แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน เพราะบรรยากาศดาวอังคารถูกยึดครองโดยคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ มีออกซิเจนเบาบาง และปราศจากมีเทน ในขณะที่บรรยากาศของโลกมีส่วนผสมของไนโตรเจน 77 เปอร์เซ็นต์ ออกซิเจน 21 เปอร์เซ็นต์ และมีเทนจำนวนมหาศาลกล่าว อีกนัยหนึ่ง อาการมีชีวิตของโลกที่ปรากฏอยู่ในบรรยากาศเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตจำนวนสุด ประมาณร่วมกันสร้างเคมีห่อหุ้มขึ้น และกิจกรรมที่สิ่งมีชีวิตกระทำก็เป็นตัวคอยควบคุมอาการมีชีวิตดังกล่าวแต่ ไม่ว่าแนวคิดนี้จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยก็กระทบวิธีการมองสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ของมนุษย์ นั่นคือ มนุษย์เป็นเพียงส่วนกระจ้อยร่อยในระบบอันไพศาล ซึ่งสิ่งที่ทำ มีผลต่อระบบ และระบบก็คือความอยู่รอดของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

แนวคิดเรื่องกายานี้สั่นสะเทือนวงการวิทยาศาสตร์ และเรียกความสนใจได้อย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะจากกลุ่มศึกษาสิ่งมีชีวิตที่นิยมแนวทางการคัดเลือกตามธรรมชาติของ ดาร์วิน ซึ่งกลุ่มนี้ก็ตั้งคำถามว่า ถ้าโลกมีชีวิตอยู่ แล้วตรงไหนคือยีน หรือจะสืบพันธุ์ได้อย่างไร

ดังนั้นเจมส์จึงได้ข้อสรุปว่า บรรยากาศบนดาวอังคารประกอบขึ้นด้วยสารเคมีที่ไร้ชีวิต ไม่มีการปรับเปลี่ยนสภาวะ ทุกปฏิกิริยาเคมีได้เกิดขึ้นและจบลงแล้วอย่างสมบูรณ์ ขณะที่ปฏิกริยาเคมีในบรรยากาศโลกยังคงพลุ่งพล่าน ตัวอย่างคือ มีเทนและออกซิเจนที่มีอยู่มากมายในบรรยากาศไวมากต่อการมีปฏิกิริยาซึ่งกัน และกัน ชนิดและลักษณะของก๊าซดังกล่าววิวัฒนาการเรื่อยมาจากปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิต กับโลก ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อราวสามพันล้านปีก่อน เลิฟล็อคจึงชี้ว่า การเคลื่อนไหวของวัฏจักรก๊าซนี่เอง คือสัญญาณการมีชีวิต

แนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นในต้นทศวรรษที่ 1960 เมื่อ เจมส์  เลิฟล็อค (James Lovelock) ในขณะนั้นที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรยากาศ ได้รับเชิญจากองค์การนาซาให้เป็นหนึ่งในทีมวิจัยเพื่อหาหลักฐานของสิ่งมี ชีวิตบนดาวอังคาร ดังนั้นสิ่งแรกที่เจมส์ลงมือทำ คือการหาว่าอะไรที่เรียกว่าสิ่งมีชีวิต

GDP

GDP (Gross Domestic Product) จีดีพี หรือ ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ  หมายถึงผลรวมสุดท้ายทั้งหมดของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ โดยปัจจุบันใช้เป็นตัวชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องของจีดีพีในการนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศ พอสรุปได้ในเบื้องต้นดังนี้

จีดีพีไม่รวมมูลค่าสินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด แม้ว่าสินค้าและบริการดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นการดื่มน้ำจากลำธารธรรมชาติ ก็ไม่ช่วยให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ แตกต่างจากการดื่มน้ำบรรจุขวดขาย แม้ว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้เช่นกันก็ตาม ในแง่ของบริการอย่างเช่นงานอาสาสมัคร ก็ไม่มีมูลค่าภายใต้จีดีพี เพราะผลของแรงงานไม่สามารถแสดงเป็นตัวเงินได้ ทั้งที่จิตอาสาและการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อ สังคมอย่างมหาศาล เช่นเดียวกับการทำงานบ้าน การดูแลเด็กและผู้สูงอายุในครอบครัว ก็ล้วนเป็นงานบริการที่ไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะอยู่นอกเหนือการค้าขายกันในระบบตลาด

จีดีพีไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบภายนอกที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผลกระทบที่ว่านี้ได้แก่ ผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวคือจีดีพีไม่สนใจว่าเงินที่ได้มานั้น มาจากอุตสาหกรรมที่สกปรก กิจการอาบอบนวด เหล้าและบุหรี่หรือไม่ รวมทั้งในอนาคตหากมีการเปิดบ่อนการพนันถูกกฎหมาย ทำนองเดียวกันจีดีพีก็มิได้สนใจว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นจะนำไปสู่ปัญหามล ภาวะและการเจ็บป่วยของคนงานในโรงงานหรือไม่ ในทางตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบบำบัดมลพิษกลับถูก นำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจตามการวัดแบบจีดีพี ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวควรเป็นต้นทุนทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่น่าจะนำ มาหักลบจากจีดีพี

จีดีพีเพิกเฉยต่อการหมดสิ้นไปของทรัพยากร เนื่องจากจีดีพีใช้เม็ดเงินเป็นมาตรวัดความมั่งคั่งของชาติ จึงไปได้ดีกับกลไกการผลิตและการบริโภคภายใต้ระบบตลาด ดังนั้นจึงไม่สนใจทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างในแง่ที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ไว้ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ยิ่งไปกว่านั้น การวัดของจีดีพีเป็นการวัดมูลค่าของสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นภายในปีนั้นๆ ด้วยเหตุนี้จีดีพีจึงไม่ใส่ใจความยั่งยืนของทรัพยากรในระยะยาว

จีดีพีประเมินเพียงมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยต่อหัว ซึ่งค่าเฉลี่ยดังกล่าวไม่ได้สะท้อนภาพสวัสดิการทางเศรษฐกิจที่แท้จริง หรือความกินดีอยู่ดีของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสังคมนั้นหรือประเทศนั้นมีความแตกต่างในการกระจายราย ได้สูง หรืออีกนัยหนึ่งคือคนส่วนน้อยถือครองทรัพย์สินหรือรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศ

GNH

Gross National Happiness หรือ ดัชนี ชี้วัดความสุขมวลรวมประชาชาติ  เรียกย่อๆ ว่า GNH เป็นตัวชี้วัดด้านการพัฒนาประเทศที่มีต้นกำเนิดจากประเทศภูฏาน โดยมองว่าความผาสุขของประชาชนมากกว่าสนใจความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ เพียงถ่ายเดียว ขณะเดียวกันก็ถือเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่พิจารณาการพัฒนาในลักษณะที่เป็นองค์ รวม เนื่องจากคำนึงถึงต้นทุนหลายๆ ด้าน ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนทุนมนุษย์

ทั้งนี้ความสุขมวลรวมประชาชาติในแบบฉบับของประเทศภูฏาน ตั้งมั่นอยู่บนเสาหลัก 4 ประการด้วยกัน คือ

1) การส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนและเท่าเทียม
2) การส่งเสริมและสงวนรักษาค่านิยมทางวัฒนธรรม
3) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
4) การพัฒนาธรรมาภิบาล

แนวทางการบริหารประเทศของภูฏานที่ว่านี้ นับว่ากำลังได้รับความสนใจอย่างมากในหมู่นักวิชาการและหน่วยงานในรัฐบาลหลายประเทศ

Green Building

Green Building หรือ อาคารเขียว หมายถึงอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงอาคารที่ปลูกต้นไม้หรือมีพื้นที่สีเขียวเท่านั้น แต่หมายถึงอาคารที่ใช้ทรัพยากรในการออกแบบและการก่อสร้างอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ช่วยลดการใช้พลังงานในอาคาร ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเมื่อใช้อาคารนั้น

การจัดการในอาคารเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีหลายอย่าง เช่น ออกแบบให้เปิดรับแสงธรรมชาติ ระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติ ระบบการนำน้าที่ใช้แล้วมาบำบัดและใช้ประโยชน์อีก ระบบคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นในอาคาร หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุภายในอาคารที่ก่อให้เกิดสารอินทรีย์ไอระเหยที่เป็น อันตรายต่อร่างกาย

หลายประเทศให้ความสนใจกับแนวคิดนี้และต่างพัฒนาเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นระบบ การวัดอาคารเขียว เช่น สหรัฐอเมริกามีเกณฑ์ Leadership in Energy and Environmental design (LEED) อังกฤษใช้เกณฑ์ Building Research Establishment Environmental Assessment (BREEAM) ญี่ปุ่นใช้ระบบวัด Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency (CASBEE) ออสเตรเลียใช้ระบบ Green Star แคนาดาใช้เกณฑ์ Building Environment Performance (BEPAC) ส่วนในประเทศไทยใช้ระบบวัดของสถาบันอาคารเขียวของไทย Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability(TREES) เป็นเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ผลสำรวจจาก world green building council สำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างอาคารใน 62 ประเทศ พบว่า อาคารเขียวเติบโตขึ้นเป็น 2 เท่าในทุกๆ 3 ปี นอกจากนี้ สัดส่วนของมูลค่าการก่อสร้างอาคารเขียวในสหรัฐอเมริกา เมื่อเปรียบเทียบกับอาคารทั้งหมด เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 12เปอร์เซ็นต์ในปี 2548 เป็น 45 เปอร์เซ็นต์ในปี 2556 ซึ่งหมายถึงมีการยอมรับประสิทธิภาพของอาคารเขียวมากขึ้น

เหตุที่เจ้าของโครงการเริ่มมาให้ความสนใจกับอาคารเขียวมากขึ้นนั้น เนื่องจากอาคารเขียวมีผลประโยชน์มากมายตามมา เช่น ประหยัดรายจ่ายในระยะยาว ผู้อยู่อาศัย หรือผู้ใช้อาคารมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง ขาดงานน้อยลง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งดีทั้งต่อองค์กรและตัวพนักงานเอง

Green GDP

กรีนจีดีพี ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Eco Domestic Product หรือ EDP เป็นดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่นำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งในการคิดคำนวณต้นทุน ทางเศรษฐกิจด้วย

แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมานานกว่า 3 ทศวรรษแล้วในกลุ่มประเทศนอร์ดิก อันประกอบไปด้วยสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก และฟินแลนด์ ด้วยมุมมองที่ว่าดัชนีชี้ความเจริญที่ใช้กันอยู่มิได้สะท้อนภาพการเจริญเติบ โตที่แท้จริง จึงมีการนำแนวคิดเรื่องต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมมาคิดคำนวณ โดยต่อมาพัฒนาเป็นระบบการจัดบัญชีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environment and Natural Resources Account: ENRA) อันประกอบไปด้วยบัญชีทรัพยากรป่าไม้ บัญชีทรัพยากรประมง บัญชีทรัพยากรน้ำ บัญชีทรัพยากรดิน บัญชีทรัพยากรแร่ธาตุ บัญชีทรัพยากรพลังงาน ซึ่งจัดอยู่ในส่วนของบัญชีทรัพยากรธรรมชาติ ขณะที่บัญชีมลพิษทางอากาศ บัญชีมลพิษทางน้ำ บัญชีมลพิษทางดิน บัญชีมลพิษทางนิเวศวิทยา จัดอยู่ในส่วนของบัญชีสิ่งแวดล้อม แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เชื่อมโยงกับต้นทุนพื้นฐานทางเศรษฐกิจตัวอื่นๆ อย่างเช่นค่าที่ดิน เงินทุน เครื่องจักร และค่าแรงงาน เป็นต้น

แนวคิดเรื่องกรีนจีดีพีแพร่หลายมากขึ้นหลังจากการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อม โลก (Earth Summit) เมื่อปี 2535 ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล หลังจากนั้นก็มีหลายประเทศนำการจัดทำระบบบัญชีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติไปใช้ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา กลุ่มประเทศนอร์ดิก เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น สำหรับประเทศไทยมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งและข้าราชการบางคนที่ให้ความสนใจใน การจัดทำบัญชีประเภทนี้ แต่ในระดับรัฐบาลและหน่วยงานราชการยังไม่มีแนวความคิดที่จะนำกรีนจีดีพีมา ใช้แม้แต่น้อย Greenhouse Gas

Greenhouse Gas

ก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gas หมายถึงก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศแล้วก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ตามพิธีสารเกียวโตได้กำหนดก๊าซที่เป็นตัวการสำคัญไว้ 6 ชนิด คือ

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วน หนึ่งมาจากกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อาทิ การหายใจของคนและสัตว์ ไฟป่า หรือการระเบิดของภูเขาไฟ แต่ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมการพัฒนาของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการเผาไหม้เชื้อ เพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหรือ เกษตรกรรม ทั้งนี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อน สะสมในบรรยากาศของโลกมากที่สุด อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าก๊าซชนิดอื่น

ก๊าซมีเทน มากกว่าครึ่งหนึ่งของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศมาจากนาข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ หลุมฝังกลบขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และโรงงานอุตสาหกรรม แม้ก๊าซมีเทนจะมีศักยภาพทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หลายเท่า แต่ก๊าซมีเทนก็มีอายุสะสมเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศสั้นกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หลายเท่า อย่างไรก็ดี ก๊าซมีเทนก็มีผลกระทบเป็นอันดับสองรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ก๊าซไนตรัสออกไซด์ แหล่งกำเนิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ส่วนหนึ่งมาจากธรรมชาติ แต่อีกส่วนหนึ่งที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไน ตริกในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด เป็นต้น

ก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ได้แก่ ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน สารกลุ่มนี้มาจากกิจกรรมของมนุษย์โดยตรง เพราะไม่มีอยู่ในธรรมชาติ มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ประเด็นที่สำคัญคือ ก๊าซกลุ่มนี้มีความสามารถในการดูดซับพลังงานความร้อนสูง ทั้งยังสามารถรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซน จึงทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง หรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน อันเป็นสาเหตุให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ส่องผ่านมายังพื้นโลกได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ผิวโลกและชั้นบรรยากาศร้อนขึ้นโดยอ้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย

ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ มีแหล่งที่มาจากอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า แม้จะมีความสามารถในการดูดซับพลังงานความร้อนสูงมาก แต่ก็มีสัดส่วนอยู่ในชั้นบรรยากาศน้อยมาก

HPI

HPI หรือ Happy Planet Index หรือในภาษาไทยเรียกว่า ดัชนีชี้วัดความสุขโลก คือ  ดัชนีชี้วัดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่ (New Economics Foundation) ซึ่งตั้งอยู่บนแนวคิดที่คนจะมีความสุข ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรโลกมากมายอย่างที่ใช้กัน และการพัฒนาที่สมดุล ไม่เพียงเป็นการสร้างสุขในวันนี้ แต่ยังมีเหลือให้ลูกหลานใช้ในวันข้างหน้า

ดังนั้นสูตรในการคำนวณความสุขของสำนักนี้จึงเท่ากับ

ความสุข = ความพึงพอใจในชีวิต * อายุยืน / การใช้ทรัพยากร

มูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่ได้เปิดเผยผลการวัดความสุขโลกแห่งปี 2549 จำนวน 178 ประเทศ พบว่า ประเทศหมู่เกาะเล็กๆ อย่างวานูอาตูเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก ขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับหางแถว คืออันดับที่ 150 ทั้งที่เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่าประเทศอันดับหนึ่งมาก และเมื่อวัดความพึงพอใจในชีวิตก็อยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับประเทศวานูอาตู ส่วนอายุขัยเฉลี่ยของคนอเมริกันก็อยู่ที่ 77.4 ปี สูงกว่าคนวานูอาตูซึ่งอยู่ 68.6 ปี ซึ่งนั่นเพราะคนอเมริกันใช้ทรัพยากรเกินขีดจำกัดหรือมากกว่าที่ควรจะใช้ถึง 9.5 เท่า

สำหรับผลการวัดความสุขของประเทศอื่นๆ พบว่า เวียดนามติดอันดับที่ 12 ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในเอเชีย ส่วนไทยติดอันดับที่ 32 สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้อันดับที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น อังกฤษอยู่ในอันดับที่ 108 สวีเดนอยู่ในอันดับที่ 119 ฟินแลนด์อยู่ในอับดับที่ 123 ฝรั่งเศสอยู่ในอันดับที่ 129 เป็นต้น ส่วนประเทศสองอันดับสุดท้ายอยู่ในทวีปแอฟริกา คือสวาซีแลนด์และซิมบับเวนั้น เป็นประเทศยากจน มีรายได้ต่อหัวประชากรต่ำมาก และกำลังเผชิญปัญหาภาวะโรคเอดส์อย่างหนัก

Human Development Index

Human Development Index
เมื่อปี 2533 องค์กรการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดทำตัวชี้วัดที่เรียกว่า Human Development Index: HDI หรือดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์ เนื่องจากมองว่าประชาชนคือพื้นฐานของการพัฒนา ทั้งในฐานะผู้ก่อให้เกิดการพัฒนาและผู้ที่ได้รับผลจากการพัฒนา และคาดหวังว่า HDI จะเป็นเครื่องมือในการกำกับให้ประเทศต่างๆ ส่งผ่านผลประโยชน์ในรูปสวัสดิการทางสังคมไปสู่ประชาชนที่ยากจนเพิ่มมากขึ้น และกระจายผลประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านนโยบายของรัฐเพื่อส่งผ่าน ไปยังคนยากจน ทั้งนี้ HDI ให้ความสำคัญกับการวัดความสำเร็จใน 3 ด้านหลัก คือ 1)ความยืนยาวของชีวิตและมีสุขภาพดี 2)ความรู้ ซึ่งวัดจากจำนวนผู้อ่านออกเขียนได้ และอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับต่างๆ 3)รายได้ที่แท้จริง ซึ่งวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากร (GDP per capita) และความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity) อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดนี้ถูกวิจารณ์ว่า ไม่ได้สะท้อนความกินดีอยู่ดี ความสุข และความพึงพอใจในชีวิตของประชาชน รวมทั้งไม่ได้คำนึงผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Hydroponics

ไฮโดรพอนิกส์ (hydroponics)  การปลูก พืชโดยไม่ใช้ดิน ผ่านการปลูกพืชในน้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ หรือปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร พืชจะเจริญเติบโตโดยได้รับธาตุอาหารจากสาร ละลายดังกล่าว  เป็นวิธีการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ที่ไม่มีที่ดินเพื่อ ทำเกษตร รวมไปถึงมีที่ดินขาดสารอาหาร

ไฮโดรพอนิกส์เป็นวิธีการปลูกที่ ได้รับความนิยมจากทั้งประเทศซึ่งมีพื้นที่เป็นเกาะ มีที่ราบจำกัด และเต็มไปด้วยภูเขาสูงชัน อย่างญี่ปุ่นและไต้หวัน ประเทศที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายอย่างประเทศในตะวันออกกลาง รวมไปถึงประเทศอุตสาหกรรมที่ที่ดินมีราคาแพงอย่างสหรัฐอเมริกาและประเทศใน ยุโรปตะวันตก  ส่วนประเทศไทยการปลูกในลักษณะนี้ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากปัญหาขาดแคลนพื้นที่ทำการเกษตรยังมีไม่มาก  และพื้นที่ที่มีอยู่ยังสามารถปลูกพืชด้วยวิธีปกติได้เพียงพอกับความต้องการ   นอกจากนี้ไฮโดรพอนิกส์ยังเป็นวิธีที่มีต้นทุนสูง ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีขั้นตอนในการปลูกที่ซับซ้อน

ข้อดี
1. สามารถปลูกพืชในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ เช่น พื้นที่ที่เป็นหิน ภูเขาสูงชัน หรือทะเลทราย  รวมไปถึงพื้นที่ที่มีดินมีปัญหา เช่น ดินเค็มจัด เปรี้ยวจัด หรือเป็นที่สะสมของโรคพืชต่างๆ  ทำให้การปลูกพืช

2. ใช้น้ำและปุ๋ยในการปลูกน้อยกว่าการปลูกพืชด้วยดิน เพราะเป็นการปลูกที่ไม่สูญเสียน้ำและปุ๋ยไปจากการไหลทิ้ง การซึมลึกและจากการแย่งของวัชพืช  อีกทั้งยังสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมของราก เช่น อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารได้ดีกว่าปลูกด้วยดิน  พืชสามารถดูดกินธาตุอาหารในรูปไอออนหรือโมเลกุลเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้พืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

3. การปลูกแบบไฮโดรพอนิกส์จะปลูกพืชได้หนาแน่นกว่าการปลูกด้วยดิน เพราะผู้ปลูกสามารถให้สารละลายธาตุอาหารอย่างเพียงพอ พืชไม่ต้องแย่งน้ำและธาตุอาหารกัน  สามารถปลูกได้ทันทีหลังเก็บเกี่ยว โดยไม่จำเป็นต้องเตรียมแปลงและตากดิน  และยังใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกด้วยดิน ทั้งจากขั้นตอนการเพาะเมล็ด การเก็บเกี่ยว การกำจัดวัชพืช การเตรียมแปลงปลูก

ข้อเสีย
1. ตอนเริ่มต้นจะใช้เงินในการลงทุนสูงกว่าการปลูกด้วยดิน  เนื่องจากเป็นการใช้เทคโนโลยีสูง ต้องใช้น้ำสะอาด  และถ้าจะให้ได้ผลดี จะต้องมีโรงเรือนที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ โดยเฉพาะการปลูกพืชปลอดสารพิษ

2. แม้จะใช้แรงงานในการปลูกน้อยกว่า แต่การปลูกแบบไฮโดรพอนิกส์จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและเอาใจใส่มากกว่า การปลูกด้วยดิน  ผู้ปลูกจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องธาตุอาหารพืช น้ำ สรีรวิทยาของพืช สารละลาย และเครื่องมือควบคุมระบบต่างๆ อีกด้วย  รวมถึงความเข้าใจในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ เพราะถ้าเกิดเหตุขัดข้อง จะกระทบการเจริญเติบโตและอาจทำให้พืชที่ปลูกตายได้

3. มีความเสี่ยงต่อโรคค่อนข้างมาก โดยเฉพาะถ้าเกิดโรคที่รากของพืช อาการจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและยากต่อการรักษา เพราะเป็นพืชที่ปลูกในสารละลายในแหล่งเดียวกัน ทำให้เชื้อจะระบาดไปทั่วระบบในเวลาอันสั้น