กินดีอยู่ดี

กินดีอยู่ดี
read

อย่ากินหวานและเค็ม

หัวข้อเรื่องของบทความฉบับนี้เป็นอมตะวาจาที่อายุรแพทย์มักแนะนำบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง และ/หรือเป็นเบาหวาน และ/หรือไตเสื่อม ให้ปฏิบัติเป็นประจำ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นข้อแนะนำดังกล่าวเป็นวิถีทางปฏิบัติซึ่งแม้คนที่คิดว่าตนมีสุขภาพดีก็ควรกระทำ แต่ก็มักละเลยกัน คนไทยชอบกินอาหารออกเค็มและขนมที่หวาน (มัน) มาก เพราะอาหารและขนมไทยหลายชนิดมีไขมันจากกระทิสูง พฤติกรรมดังกล่าวนี้ดูเหมือนเป็นวัฒนธรรมที่เราชื่นชอบ ดังปรากฏในรายการต่างของโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ดังนั้นสุดท้ายจึงลงเอยในปัจจุบันว่า จำนวนคนไทยที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ตลอดจนโรคหัวใจ นั้นอยู่ในระดับน่าพอใจของมัจจุราช ตัวผู้เขียนนั้นก็ไม่ได้รอดไปจาก Degenerative disease หรือ โรคแห่งความเสื่อมถอยของร่างกาย  (ซึ่งพูดง่าย ๆ คือ โรคของผู้สูงอายุ) ที่กล่าวข้างต้นเช่นกัน อาการที่เป็นคือ ความดันโลหิตสูง ส่วนเบาหวานและโรคไตนั้นยังอยู่ในขั้นของความสุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นเมื่อใดก็ได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ ดังที่เคยเล่าอยู่บ่อย ๆ ว่าผู้เขียนออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำ ตามมาตรฐานที่ควรเป็นคือ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันจำนวน 3 วัน และเหงื่อออกชุ่มอย่างน้อย 30 นาทีจำนวน 2 วัน พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้ผู้เขียนซึ่งสูง 170 เซ็นติเมตร สามารถคุมน้ำหนักให้อยู่ได้ที่ 70 + 1 กิโลกรัมในช่วงเวลา 10 […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อย่ากินหวานและเค็ม

หัวข้อเรื่องของบทความฉบับนี้เป็นอมตะวาจาที่อายุรแพทย์มักแนะนำบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง และ/หรือเป็นเบาหวาน และ/หรือไตเสื่อม ให้ปฏิบัติเป็นประจำ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นข้อแนะนำดังกล่าวเป็นวิถีทางปฏิบัติซึ่งแม้คนที่คิดว่าตนมีสุขภาพดีก็ควรกระทำ แต่ก็มักละเลยกัน คนไทยชอบกินอาหารออกเค็มและขนมที่หวาน (มัน) มาก เพราะอาหารและขนมไทยหลายชนิดมีไขมันจากกระทิสูง พฤติกรรมดังกล่าวนี้ดูเหมือนเป็นวัฒนธรรมที่เราชื่นชอบ ดังปรากฏในรายการต่างของโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ดังนั้นสุดท้ายจึงลงเอยในปัจจุบันว่า จำนวนคนไทยที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ตลอดจนโรคหัวใจ นั้นอยู่ในระดับน่าพอใจของมัจจุราช ตัวผู้เขียนนั้นก็ไม่ได้รอดไปจาก Degenerative disease หรือ โรคแห่งความเสื่อมถอยของร่างกาย (ซึ่งพูดง่าย ๆ คือ โรคของผู้สูงอายุ) ที่กล่าวข้างต้นเช่นกัน อาการที่เป็นคือ ความดันโลหิตสูง ส่วนเบาหวานและโรคไตนั้นยังอยู่ในขั้นของความสุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นเมื่อใดก็ได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ ดังที่เคยเล่าอยู่บ่อย ๆ ว่าผู้เขียนออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำ ตามมาตรฐานที่ควรเป็นคือ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันจำนวน 3 วัน และเหงื่อออกชุ่มอย่างน้อย 30 นาทีจำนวน 2 วัน พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้ผู้เขียนซึ่งสูง 170 เซ็นติเมตร สามารถคุมน้ำหนักให้อยู่ได้ที่ 70 + 1 กิโลกรัมในช่วงเวลา […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

สู้โว้ย..เมื่อคอเรสเตอรอลในเลือดสูง

สารพฤกษเคมีกลุ่มหนึ่ง คนไทยเรียกว่า ไฟโตสเตอรอล (phytosterol ออกเสียงว่า ไฟ-โต-สะ-เตีย-รอล) ได้เริ่มเข้ามาสู่วิถีชีวิตของผู้บริโภคบางท่าน ซึ่งปรับตัวให้เป็นไปตามสภาพของคนไทยยุค ไทยแลนด์ 4.0 เเละใช้ชีวิตล่องลอยไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้แต่ละคนลดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จนเกิดโรคเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายเร็วกว่าที่ควรเป็น เช่น คอเลสเตอรอลในเลือดสูง นำไปสู่ความเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบและภาวะสมองขาดเลือด ภาพจาก : http://www.actigenomics.com/2012/06/what-are-phytosterols/ มีข้อมูลบอกกล่าวในเว็บที่โฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งมีไฟโตสเตอรอลเป็นองค์ประกอบว่า ชาวฟินแลนด์นั้นเคยมีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมาก่อน จนทำให้คนวัยทำงานเสียชีวิตด้วยโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดสูงที่สุดในโลก รัฐบาลฟินแลนด์และเอกชนจึงร่วมมือหามาตรการแก้ปัญหานี้ โดยระดมผู้เชี่ยวชาญมาคิดค้นวิจัยหาสิ่งที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ถึงปี 1972 นักวิจัยชาวฟินแลนด์ได้ประสบความสำเร็จค้นพบว่า ไฟโตสเตอรอลมีผลในการลดคอเลสเตอรอลในเลือดของชาวฟินแลนด์ ส่งผลให้ภายใน 5 ปีหลังจากนั้น อัตราการตายของชาวฟินแลนด์ในวัยทำงานเนื่องจากโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดลดลงถึงร้อยละ 70 ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้สรรเสริญโดยจัดอันดับคุณภาพชีวิตของชาวฟินแลนด์อยู่อันดับที่ 11 ของโลก กล่าวกันว่าในการศึกษาแบบทดลองสุ่มตัวอย่างที่เรียกว่า Double Blind (มีผู้แปลว่า การทดลองแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย ซึ่งหมายความว่า ผู้ทำการทดลองและอาสาสมัครไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกทดสอบเช่น ยา นั้นอาสาสมัครคนใดได้บ้าง โดยมีคนที่รู้คือ ผู้ควบคุมการทดลองเพียงไม่กี่คนที่ไม่ได้สัมผัสกับอาสาสมัครโดยตรง) เพื่อช่วยลดความแปรผันของตัวแปรต่าง ๆ เช่น งานวิจัยชื่อ Cholesterol lowering efficacy of […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

นมสดจากเต้า

ปัจจุบันมีคนไทยหลายคนนิยมกินอาหารในลักษณะที่เรียกว่า Green* คือ อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ หรือแม้ผ่านการแปรรูปก็ผ่านแต่น้อย อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่สดสะอาดไม่ผ่านกระบวนการหมักดองหรือปรุงรสใด ๆ มากจนเกินไป ซึ่งผู้เขียนไม่ได้สนใจสักเท่าไร เนื่องจากนิยมกินอะไรก็ได้เท่าที่มีอยู่ เพียงขอให้เป็นอาหารครบห้าหมู่โดยมีผักผลไม้ครึ่งหนึ่งก็เป็นพอ นอกจากนี้ผู้บริโภคหลายคน นอกจากต้องการกิน Green แล้ว ยังต้องการให้สิ่งที่กินเป็น Organic หรือ อาหารอินทรีย์* คือ อาหารที่ผลิตตามกระบวนการที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ให้มีแนวทางที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยที่เป็นสารธรรมชาติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค..บลา ๆๆๆ หนักไปกว่านั้นผู้บริโภคบางท่านเพิ่มความต้องการในการกิน Raw* คือ ลักษณะการกินอาหารพวกผักและผลไม้สด ต้นอ่อนของพืช เมล็ดพืช เนื้อสัตว์ ปลา ฯลฯ ที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง ไม่มีการเติมแป้งและน้ำตาล ไม่ใช้ความร้อนเกิน 49 องศาเซลเซียสในการปรุง โดยคิดเอาเองว่า ความร้อนสูงกว่านั้นเป็นปัจจัยทำให้คุณค่าทางโภชนาการและอะไรต่อมิอะไรที่อาหารดิบมีลดลงเมื่อสุก กรณีอาหาร Raw ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้น่าจะต่างจากพวกชอบเสี่ยงกินปลาดิบ เพราะผู้กล้า (กินของดิบ) เหล่านี้คงไม่ได้สนใจเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนการของอาหารเท่าใด แต่เป็นวัฒนธรรมหรือความชอบส่วนตัวเกี่ยวกับความสดคาวของปลาดิบ เฉกเช่นเดียวกับคนไทยและลาวบางคนที่ชอบหยิบปลาร้าจากไหแล้วฉีกส่งเข้าปากทันที ทั้งที่รู้ว่าตนเสี่ยงต่อพยาธิ์ใบไม้ตับ เกี่ยวกับการกินอาหารสด ๆ ไม่ผ่านการปรุงนั้น มีบทความเรื่อง “Raw-milk fans […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ผักผลไม้พอเพียง พอต้านโรค

รายงานสถานการณ์ภาวะโรคของโลก (The Global Burden of Disease) จัดทำโดยองค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2013 แนะนำว่า การกินผักและผลไม้เป็นหลักสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชากรโลก โดยเฉพาะในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและมะเร็ง โรคทั้งสองนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการตายก่อนวัยอันควรของพลโลก (25.5 ล้านคน) จากคำแนะนำข้างต้นนั้นจึงทำให้มีคำถามว่า “ปริมาณของผักและผลไม้ที่ควรกินเข้าไปในแต่ละวันควรเป็นเท่าใด เพื่อที่จะให้การลดความเสี่ยงดังกล่าวเเละประชาชนปฏิบัติได้” เพราะหลายหน่วยงานของหลายประเทศต่างก็มีคำแนะนำที่ต่างกัน เช่น The World Cancer Research Fund แนะนำให้กินอย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน ในขณะที่องค์การอนามัยโลกและหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรแนะนำให้กินที่ 500 กรัมต่อวัน ซึ่งต่างกับปริมาณแนะนำที่ 600 กรัมต่อวัน 650-750 กรัมต่อวัน และ 640-800 กรัมต่อวัน ของสวีเดน เดนมาร์ค และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ในกรณีขององค์การอนามัยโลก หากผู้อ่านต้องการเห็นความแตกต่างในคำแนะนำของแต่ละประเทศในโลกนี้ที่มีความหลากหลายแบบของใครของมัน ผู้เขียนขอแนะนำให้ไปอ่านข้อมูลที่แสดงใน >>> www.who.int/dietphysicalactivity/publications/f&v_intake_measurement.pdf สถานศึกษาในบางประเทศเช่น Imperial College London นั้นให้ข้อมูลว่า การกินผักและผลไม้ 5 ส่วน (portion) […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ทำใจเมื่อต้องกินสารพิษ (ตอนที่ 2)

เมื่อเดือนที่เเล้วผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสารพิษตกค้างที่เราบริโภคกันเข้าไปในเเง่จุดเริ่มต้นของสารเคมีเเละผลกระทบที่เกิดกับระบบต่างๆ ในร่างกายของเรา ครั้งนี้เป็นเรื่องราวของผลที่เกิดกับด้านอื่นๆ ของผู้ที่มีการสัมผัสสารเคมีโดยตรง-อ้อม พร้อมบทสรุปของต้นตอของการเกิดปัญหาของสารพิษ ผลต่อสุขภาพในด้านอื่นเนื่องจากสารกำจัดสัตว์รังควาน  ผลร้ายแบบเฉียบพลันมักเกิดกับเกษตรกรผู้ใช้สารพิษโดยตรงเมื่อได้รับสารพิษในปริมาณสูง คือ ความผิดปรกติอย่างรุนแรงต่อระบบประสาท เช่น ปวดและเวียนหัว ตาลาย เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง จมูก ตา และหนักกว่าก็หมดบุญพ้นกรรมไปจากดาวดวงนี้ ส่วนความเป็นพิษเพิ่มเติมต่อเกษตรกรสตรี คือ อาจออกมาในรูปของการมีลูกที่เกิดความผิดปรกติทางร่างกายและฮอร์โมน (ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเกิดลูกวิรูป หรือ Teratogenicity) ความอวดรู้ ความไม่รู้จริง ความมักง่าย นั้นเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มักไม่มีการกล่าวในรายงานเกี่ยวปัญหาของสารพิษที่ใช้กำจัดสัตว์รังควาน ตัวอย่างเมื่อนานมาแล้วผู้เขียนเคยจ้างผู้ที่ทำงานดูแลเกี่ยวกับป่าไม้ให้มาช่วยจัดการกับปลวกที่ขึ้นบ้านหลังเก่าในซอยเสนานิคม สิ่งที่พบ คือ ทั้งผู้คุมงานและคนงานต่างไม่กลัวการสัมผัสกับสารฆ่าปลวก (ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นกลุ่มเดียวกับดีดีที) ด้วยมือเปล่า บางจังหวะของการผสมสารเข้มข้นกับน้ำมีการใช้มือเปล่าในการคนสารให้เข้ากันด้วยซ้ำ เมื่อผู้เขียนถามว่าไม่กลัวอันตรายของสารเคมีหรือ วลีที่เป็นคำตอบประจำของคนไทยคือ “มันชินแล้ว” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรในภูมิภาคใด ถ้าขาดการศึกษาที่ดีพอ คำตอบนี้ก็ยังเป็นอมตะนิรันกาล เหมือนเมื่อพี่วินมอเตอร์ไซต์ให้เหตุผลในการขับรถย้อนศรหรือขับรถขึ้นบนทางเดินเท้านั่นเอง ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 2007 มีรายงานการศึกษาของสถาบันสาธารณสุข (Public Health Institute) ของรัฐแคลิฟอร์เนียร่วมกับคณะสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเมืองเบอร์คเลย์ว่า เด็กที่เป็นลูกของสตรีที่สัมผัสกับสารกำจัดสัตว์รังควานชนิดออร์กาโนคลอรีน มีความเสี่ยงต่ออาการออติซึมสูงกว่าเด็กที่เป็นลูกของสตรีที่ไม่สัมผัสสารพิษถึง 6 เท่า (autism คือ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ทำใจเมื่อต้องกินสารพิษ (ตอนที่ 1)

ข่าวของการตรวจพบสารพิษ (กลุ่มที่เรียกว่า pesticides) ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีอยู่เป็นประจำบนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกประเทศซึ่งประกาศว่า มีการพัฒนากระบวนการผลิตทางการเกษตรทันสมัยแล้ว

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เหล้าเบียร์ละเหี่ยใจ (ต่อ)

มีเกล็ดความรู้หนึ่ง จากการศึกษาครั้งนั้นซึ่งผู้เขียนจำได้คือ การหาระดับเเอลกอฮอล์ในเลือดที่ทำให้คนไทยเมานั้นพบว่า กรรมกรที่ใช้แรงงานมักคอแข็งกว่าไก่อ่อนเช่นนักศึกษามหาวิทยาลัย ทั้งนี้ก็เป็นไปตามหลักการชีวเคมีประมาณว่า เเอลกอฮอล์นั้นถูกจัดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังงานที่ตับ คนที่มีตับซึ่งมีประสบการณ์สัมผัสกับอัลกอฮอลบ่อยย่อมจัดการเเอลกอฮอล์ได้ดีกว่า เพราะมีการการผลิตเอ็นซัมเพื่อใช้เปลี่ยนแปลงเเอลกอฮอล์ให้เป็นพลังงานอย่างรวดเร็วกว่า จึงมีสภาพที่คนทั่วไปเรียกว่า “คอแข็งเมายาก”

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เหล้าเบียร์ละเหี่ยใจ

ความจริงหนึ่งเรื่องที่ผู้เขียนพยายามไม่นึกถึงคือ คนไทยดื่มเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์แล้วตายกันจัง ที่น่าประหลาดใจคือ คนไทยทุกคนเมื่อยังเด็กได้เรียนหนังสือ ครู (ส่วนใหญ่) มักสอนและอบรมว่า ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ทุกชนิด แล้วเหตุใดเมื่อนักเรียนเหล่านั้นโตขึ้น หลายส่วนกลับตั้งใจดื่มทุกครั้งที่มีโอกาส

Read More
กินดีอยู่ดี
read

น้ำตาลตัวแสบ

ในความเป็นจริง… น้ำตาลทรายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วไปมักนึกไม่ถึง เพราะเราถูกสอนให้คิดว่า “ไขมันและคอเลสเตอรอลเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ” ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงมักมองข้ามน้ำตาลในอาหารและขนมไป โดยเน้นเฉพาะไขมันและคอเลสเตอรอล

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ฉลากฉ้อฉล

ผู้เขียนเคยซื้อเสื้อเชิ้ตยี่ห้อหนึ่งที่มีฉลากติดบนปกเสื้อเป็นภาษาอังกฤษแปลง่าย ๆ ว่า ไม่ยับแน่ ซึ่งน่าจะหมายความว่า ไม่ยับ (นัก) ถ้าซักอย่างระมัดระวัง แต่สิ่งที่ประสบในความเป็นจริงคือ เสื้อนั้นมันยับอย่างถาวรตลอดชีวิตการถูกใช้งานของเสื้อตัวนั้น

Read More
กินดีอยู่ดี
read

หนทางเลี่ยงมะเร็ง ตอน 3

ในสองตอนที่ผ่านไป ผู้เขียนได้บรรยายถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมะเร็งพร้อมทั้งให้สมมุติฐานที่น่าจะเป็นกระบวนการของการก่อปัญหา ปัจจัยดังกล่าวนั้นได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกิน อาหารหมักเกลือ สารหนู เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ และเบต้าแคโรทีนที่ขายในรูปของอาหารเสริม เครื่องดื่มมาเต ปลาเค็มหมักแบบกวางตุ้ง อาหารเนื้อหมัก อาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอะฟลาทอกซิน ส่วนในตอนที่ 3 นี้จะเป็นการกล่าวถึงปัจจัยอีก 2 ปัจจัยซึ่งได้แก่ ความสูงและน้ำหนักแรกเกิดมากเกินไป เเละจะกล่าวถึงปัจจัยที่ World Cancer Research Fund เชื่อว่าช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งได้แก่ ผักมีแป้งต่ำ ผลไม้ต่างๆ การขยับเขยื้อนร่างกาย และใยอาหาร พร้อมทั้งสมมุติฐานที่น่าจะเป็นของปัจจัยต่างๆ โดยในรายละเอียดนั้นเป็นดังนี้ ความสูง (Height) ข้อมูลทางระบาดวิทยาระบุว่าคนที่สูงมากกว่าคนอื่นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทางเดินอาหารส่วนล่างเต้านมไตรังไข่ตับอ่อนและต่อมลูกหมากมากกว่าคนที่เตี้ยกว่า ปัจจัยเรื่องความสูงนี้ยังต้องการงานวิจัยเพิ่มเติมอีกมาก เพื่อใช้อธิบายกระบวนการและหนทางลดความเสี่ยงต่อมะเร็งที่อาจเกี่ยวข้อง ดังนั้นคนไทยจึงไม่ควรกังวลในเรื่องนี้จนไปบั่นทอนการที่สมาคมกีฬาต่าง ๆ พยายามค้นหานักกีฬาไทยที่มีความสูงเกิน 190 เซนติเมตรเพื่อสนับสนุนให้เล่นวอลเลย์บอล บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ฯลฯ เนื่องจากการแข่งขันกีฬาระดับสากลนั้น ถ้าสูงใหญ่และสุขภาพดีโอกาสชนะย่อมสูงขึ้นด้วย ดีกว่านักกีฬาเตี้ย ผอมบาง แรงปะทะต่ำ เล่นอย่างไรก็มีแนวโน้มจะแพ้วันยังค่ำ น้ำหนักแรกเกิดมากเกินไป (Greater birth weight) เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมเมื่อเด็กหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ […]

Read More