กินดีอยู่ดี

กินดีอยู่ดี
read

อยู่กับไมเกรน โดยไม่ต้องกินยาอันตราย

ช่วงวันที่ 7-8 สิงหาคม 2562 ปรากฏมีข่าวที่เป็นอุทาหรณ์แก่คนทั่วไป ถึงอันตรายในการใช้ยาเกินจำเป็น เนื้อข่าวมีประมาณว่า สตรีนางหนึ่งมีอาการปวดหัว (ซึ่งเดาเองว่าเป็นไมเกรน) แล้วไม่ไปหาหมอแต่เลือกซื้อยากินเองนานเป็นปี ระหว่างนั้นก็บ่นปวดหัวและปวดตามร่างกายเป็นระยะ ๆ พร้อมเป็นผื่นในลักษณะของการแพ้ สุดท้ายทนไม่ไหวจำต้องไปหาหมอเมื่ออาการทรุดหนัก ซึ่งหมอก็พยายามยื้อชีวิตได้นานถึง 12 ชั่วโมง แล้วเธอก็เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายโดยหมอระบุว่า เธออาจได้รับยาแก้ปวดในปริมาณสูงมากจนหัวใจรับไม่ไหว ประเด็นที่น่าสนใจในข่าวนี้คือ หนึ่งอาการปวดหัวของเธอเป็นไมเกรนหรือไม่ เพราะการปวดหัวนั้นมีหลายลักษณะ (ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลจากเว็บด้านการแพทย์ได้ไม่ยากนัก) และสองอาการที่เธอแพ้เกิดผื่นนั้นเป็นลักษณะผลข้างเคียงของยาที่ผู้ป่วยไมเกรนมักกินเพื่อแก้อาการปวดคือ NSAIDs (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) หรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้สังเกตเห็นจากคำสัมภาษณ์ของญาติผู้เสียชีวิตคือ ผู้เสียชีวิตนั้นเมื่อไม่ไปพบแพทย์เมื่อปวดหัวแล้ว ก็ได้ทำในสิ่งที่คนไทยทั่วไปทำกันคือ ซื้อยากินเองจากร้านขายยาซึ่งผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า เป็นร้านที่มีเภสัชกรมาช่วยคุมร้านตามช่วงเวลาที่ตกลงกัน คงไม่ใช่ร้านที่มีเภสัชกรเป็นเจ้าของ เนื่องจากชนิดของยาแก้ปวดที่หนังสือพิมพ์ออนไลน์บางฉบับนำภาพยา (ที่ญาติผู้ตายวางให้ดูบนเสื่อพลาสติก) มาเสนอประกอบข่าวนั้นปรากฏว่า มีความซ้ำซ้อนในชนิดของยากลุ่มเดียวกันที่เป็น NSAIDs ซึ่งยาเหล่านั้นต่างมีผลข้างเคียงคล้าย ๆ กัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ทำให้หัวใจวาย (ข่าวกล่าวว่า หมอที่ดูแลผู้ป่วยรายนี้ได้สันนิษฐานไว้ เพียงแต่ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิในการปฏิเสธการผ่าศพพิสูจน์) ดังนั้นการกินยากลุ่มเดียวกันมากกว่าหนึ่งชนิดในครั้งเดียวกันจึงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่เภสัชกรควรถามคนไข้ทุกครั้ง (นอกจากเรื่องการแพ้ยา) ว่า กินยาอะไรอยู่หรือไม่ ภาพจาก: http://www.phyathai-sriracha.com สำหรับผู้เขียนซึ่ง (น่าจะเรียกได้ว่า) […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

กลูตาไธโอนดีต่อสาวผิวคล้ำ…จริงหรือ

เซลล์ในหลายอวัยวะของมนุษย์สร้างกลูตาไธโอนซึ่งเป็นไตรเป็บไตด์ (tripeptide) ซึ่งมีกรดอะมิโนสามชนิดคือ ซิสเทอีน (cysteine) กลูตาเมต (glutamate) และ กลัยซีน (glycine) เป็นองค์ประกอบขึ้นได้เอง ดังนั้นในทางโภชนาการจึงไม่ถือว่า กลูตาไธโอนเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์ เราสามารถพบกลูตาไธโอนได้ในผลไม้ (เช่น แตงโม จนครั้งหนึ่งคิดกันว่า การกินแตงโมหลาย ๆ ผลแล้วจะขาวขึ้น) ผักที่มีกลิ่นแรงหลายชนิด และเนื้อสัตว์ เหตุผลว่าทำไมกลูตาไธโอนถึงมีทั้งในพืชและสัตว์นั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วกลูตาไธโอนถูกใช้ในกระบวนการยับยั้งการก่อพิษ หรือใช้ในการขับสารพิษออกจากสิ่งมีชีวิต และถ้าคิดว่านี่คือ การล้างพิษ ก็คงเชื่อได้ว่า นี่คือตัวจริงเสียงจริง ความรู้ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนยังไม่เคยพบว่า มีการอภิปรายทั้งในบทความของไทยและเทศคือ ในการตอบคำถามว่า กลูตาไธโอนนั้นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายหรือไม่นั้นคือ การศึกษาทาง pharmacokinetics หรือที่คนไทยบัญญัติคำ ๆ นี้ว่า เภสัชจลนศาสตร์ (ซึ่งคงต้องอธิบายความง่าย ๆ ว่า มันคือ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของยาในเลือดเมื่อเวลาผ่านไป ผลที่ได้นั้นทำให้สามารถคำนวณอัตราการดูดซึม (absorption rate) ขับออก (elimination rate) และค่าครึ่งชีวิต (half life) ของยา) เมื่อผู้เขียนเข้าใช้บริการของ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

สินค้าชะลอความแก่…มีไหม

ความแก่นั้นไม่เข้าใครออกใคร เพียงแต่อัตราแก่มันเร็วไม่เท่ากัน แบบว่าตัวใครตัวมัน เพราะปรากฏการณ์นี้ขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมและปัจจัยภายในร่างกายของแต่ละคนเอง ท่านผู้อ่านคงเคยพบคนที่อายุไม่ถึงหกสิบปีแต่มีผมขาวทั้งหัว ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากพันธุกรรมภายในร่างกายโดยแท้ที่ระบบสร้างเม็ดสีในเส้นผมหยุดการทำงานก่อนคนอื่น ทั้งที่จริง ๆ แล้วยังทำอะไร ๆ ได้เหมือนหนุ่มสาว ส่วนปัจจัยภายนอกที่ทำให้แก่ได้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของการครองชีวิต เช่น การทำงานนั้นต้องสัมผัสแสงแดดที่แรงกล้าซึ่งมีแสงอัลตราไวโอเล็ทหรือ UV ชนิดที่เป็นอันตรายต่อผิวคือ UVC และอีกประการซึ่งสำคัญมากคือ อาหารและโภชนาการ ทั้งนี้เพราะจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพนั้นกล่าวว่า เทโลเมียร์ ของโครโมโซมนั้นไวต่อการถูกทำร้ายโดยอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ดังนั้นคนที่กินอาหารมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ก็ควรแก่ช้าเพราะเทโลเมียร์ได้รับการปกป้อง ผู้เขียนขอยกตัวอย่างสินค้าหนึ่งที่มีการขายกันใน อินเตอร์เน็ทคือ เอ็นซัม SOD (superoxide dismutase) ซึ่งอ้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าช่วยชะลอความแก่ได้ในการโฆษณา แต่ความจริงนั้นใครจะตอบได้ว่าสินค้านั้นได้ผลจริงหรือไม่ ชื่อ SOD นั้นคนที่อยู่ในแวดวงพิษวิทยา ชีวเคมี และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่ศึกษาระดับโมเลกุลนั้นมักรู้จักดี เพราะ SOD เป็นปัจจัยหนึ่งที่ปกป้องให้เซลล์ของร่างกายอยู่รอดจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในเซลล์ ดังนั้นพอมีการนำมาใส่ขวดขายผู้บริโภคจึงควรหาความรู้ก่อนว่า เอ็นซัมนี้เมื่อถูกสกัดมาใส่ขวดแล้วยังมีฤทธิ์ทำงานได้เหมือนเดิมหรือไม่ ส่วนประเด็นที่สองที่สำคัญมากคือ เอ็นซัมนี้สามารถหลุดผ่านระบบการย่อยโปรตีนในกระเพาะและลำไส้เล็กไปออกฤทธิ์ในร่างกายผู้บริโภคได้หรือไม่ เพราะเอ็นซัมนั้นมีธรรมชาติเป็นโปรตีนกลุ่มหนึ่งซึ่งควรถูกย่อยเพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้งานทั่วไปในร่างกาย กล่าวกันว่า SOD ระดับอุตสาหกรรมนั้นสามารถสกัดได้จากแพลงตอนในกลุ่มไฟโตแพลงตอน (phytoplankton) ตับวัว หัวฮอร์สแรดิช (Horseradish) ผลแคนตาลูป และแบคทีเรียบางชนิด […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ก่อน-หลังออกกำลังกาย กินอะไรดี

ผู้เขียนเข้าใจว่า ประเด็นการกินอะไรก่อนหรือหลังออกกำลังกายนี้มักไม่อยู่ในความคิดของคนทั่วไปที่สนใจการออกกำลังกาย เพราะแค่พาตัวไปออกกำลังกายด้วยวิธีอะไรก็ได้นั้น มันก็ยากแสนยากเย็นแล้ว “เรื่องกินอะไรดี” มักเป็นเรื่องที่คิดกันทีหลัง ส่วนคนที่หวังออกกำลังกายเพื่อคุมน้ำหนักตัว โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่เป็นเกมส์นั้น ประเด็นนี้ค่อนข้างสำคัญมาก เนื่องจากการเล่นกีฬาที่เป็นเกมส์จำต้องเล่นต่อเนื่องไม่สามารถหยุดได้จนกว่าจบเกมส์หรือมีจังหวะที่ต้องหยุดตามกติกา การที่จะเล่นอะไรต่อเนื่องได้จึงจำเป็นต้องมีพลังงานที่เค้นออกมาจากเซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปตามเกมส์ตามต้องการ คำว่าการออกกำลังกายถ้าเป็นภาษาอังกฤษร้อยทั้งร้อยคนไทยมักบอกว่า คือ exercise ทั้งที่ความจริงแล้ว คำว่า excercise นี้มีความหมายหลายประการตั้งแต่ แบบฝึกหัด การออกกำลังกาย การทำงาน การใช้แรงกายทำกิจกรรม แต่ในเว็บของฝรั่งที่บรรยายเรื่องเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีนั้นมักใช้คำว่า workout น่าจะหมายถึงการทำอะไรก็ได้ที่มีการออกแรงได้เหงื่อซึ่งส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงและควรมีสุขภาพดี ผู้เขียนเริ่มเล่นกีฬาโดยหวังมีสุขภาพที่ดีอย่างจริงจัง เมื่อย่างเข้าสู่ตอนปลายของวัยกลางคนคือ อายุ 40 กว่าปีแล้ว ทั้งนี้เพราะในช่วงต้นของการทำงานสอนหนังสือนั้นมีความรู้สึกว่า การออกกำลังกายนั้นเสียเวลาและเปลืองเงิน เพราะอุปกรณ์กีฬาที่ใช้ในการเล่นตลอดจนเครื่องแต่งกายที่ช่วยทำให้ปลอดภัยระหว่างออกกำลังกายนั้นเช่น รองเท้า สนับเข่า และอื่น ๆ มีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นจึงเลือกทำงานบ้านที่ทำให้ได้เหงื่อเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็สรุปได้เองว่า คิดผิด เพราะทำงานบ้านนั้นมันเป็นความจำเป็นที่บางครั้งก็เบื่อบ้าง ในขณะที่การเล่นกีฬานั้นเป็นความสมัครใจที่มักได้ผลตอบแทนคือ ความสนุกและได้เหงื่อเร็ว ดังนั้นในเริ่มแรกจึงขาดความรู้ในเรื่องว่า ควรกินอะไรก่อนและหลังการไปเล่นเกมส์ แต่ประสบการณ์หลังการออกกำลังกายไปสักช่วงหนึ่งทำให้พอเริ่มจับได้ว่า ควรกินอะไร อย่างไร ที่ทำให้เล่นกีฬาได้ด้วยความทนในระดับที่เราพอใจ ผู้รักการออกกำลังกายทุกคนต้องมีพลังงานที่ได้จากอาหารที่เหมาะสมครบห้าหมู่ โดยหลักการแล้วสารอาหารที่สำคัญในประเด็นนี้คือ แป้งและไขมัน แต่เนื้อสัตว์ก็สำคัญเพราะเป็นแหล่งของโปรตีนที่ต้องถูกนำไปสร้างเป็นเอ็นซัมสำหรับการย่อยแป้งไปเป็นพลังงาน […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เด็กของเรากินอะไรหน้าโรงเรียน

บทความนี้ผู้เขียนจะให้ข้อมูลเพื่อขอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาว่า อะไรคือสิ่งที่เหมาะสมกับสังคมไทยในประเด็นเกี่ยวกับการที่นักเรียนเล็ก ๆ ได้ซื้อไส้กรอกฝรั่งที่ขายหน้าโรงเรียนกินแล้ว เสี่ยงอันตรายในการได้รับสารประกอบไนไตรท์หรือการได้รับสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนนั้น สมควรที่จะทำอย่างไรดี ก่อนอื่นนั้นผู้เขียนขอให้ข้อมูลพื้นฐานแก่ผู้ที่ไม่ค่อยคุ้นชินกับเรื่องของไส้กรอกฝรั่ง ซึ่งต่อไปขอเรียกว่าไส้กรอก (ซึ่งไม่รวมไส้กรอกอีสานหรือผลิตภัณฑ์อาหารอื่นใดที่อาจมีหน้าตาคล้ายไส้กรอกฝรั่ง) ว่า ไส้กรอกทั้งหมูและไก่นั้นไม่ใช่อาหารไทยมาแต่เดิม วิกิพีเดียไทยให้ความรู้ว่า “ไส้กรอก มีความเป็นมานานถึง 3,500 ปีแล้ว ในยุคบาบิโลเนีย ลักษณะเป็นเนื้อหมักเครื่องเทศ ยัดไว้ในไส้สัตว์ ในยุคกลางเมืองต่าง ๆ ในยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างของไส้กรอกของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมืองที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น” ผู้เขียนจึงขอเข้าใจเอาเองว่า ไส้กรอกนั้นคงเข้ามาพร้อมกับชาวยุโรปตั้งแต่สมัยพี่หมื่นและแม่การะเกดได้พบกันตามบุพเพสันนิวาสที่มีมา เพราะช่วงเวลานั้นฝรั่งหลายชาติเหลือเกินเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา คงต้องมีบ้างละที่อยากกินไส้กรอกเหมือนตอนอยู่บ้านเขา แต่ไส้กรอกนั้นคงยังไม่แพร่หลายเท่าใดเพราะดูไม่ต้องกับวัฒนธรรมการกินแบบไทยโบราณนัก และที่สำคัญคือ ราคามันแพง สมัยผู้เขียนยังเด็ก ครั้งแรกที่ได้กินไส้กรอกนั้นเป็นชนิดแท่งเล็ก ๆ เท่านิ้วมือผู้ใหญ่ซึ่งป้าพาไปซื้อที่ตลาดนัดสนามหลวง (ซึ่งภายหลังถูกย้ายไปเจริญรุ่งเรืองที่สวนจตุจักร) คำแรกที่ได้เคี้ยวในปากมีความรู้สึกว่า ทำไมกลิ่นถึงเหมือนน้ำยาดองอาจารย์ใหญ่ที่เพิ่งข้ามเรือไปดูที่คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลก็ไม่รู้ ดังนั้นไส้กรอกจึงไม่ใช่อาหารที่ผู้เขียนต้องในอารมณ์สักเท่าไร (ทำเหมือนกับรู้มาแต่ชาติปางก่อนว่า มันคงมีไนไตรท์และไนโตรซามีนปนอย่างไรก็ไม่รู้) เมื่อผู้เขียนได้เข้าเรียนในหลักสูตรพิษวิทยาของ Utah State University (USU) ที่เมือง Logan รัฐ Utah นั้น […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

สำหรับมังสวิรัติมือใหม่

ผู้เขียนไม่ได้กินอาหารแบบมังสวิรัติ เนื่องจากความไม่พร้อมในการปรุงอาหารประเภทนี้ให้อร่อยเท่าที่ควร แต่ก็พยายามเปลี่ยนตนเองไปกินอาหารแบบที่มีพืชเป็นหลัก (plant based diet) ทั้งนี้เพื่อการรักษาน้ำหนักตัวและปรับองค์ประกอบของเลือดให้ดูดีเวลาไปตรวจสุขภาพประจำปี อย่างไรก็ดีการหาความรู้เกี่ยวกับอาหารมังสวิรัตินั้นเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะเก็บไว้ เผื่อเมื่อต้องการเปลี่ยนไปกินมังสวิรัติหรือมีเพื่อนต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นใน กินดีอยู่ดี ฉบับนี้จึงขอนำข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เผยแพร่ให้ผู้สนใจทราบว่า การกินมังสวิรัตินั้นถึงมีข้อมูลว่าก่อประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย แต่โอกาสเกิดปัญหาบางประการนั้นมีได้ถ้ามีความรู้ไม่ครบ ทำไมถึงเป็นมังสวิรัติ ผู้ที่ผันตนเองไปกินอาหารแบบมังสวิรัตินั้นต่างมีเหตุผลที่หลากหลาย เช่น คิดถึงสุขภาพที่ (น่าจะ) ดีขึ้น มีศรัทธาตามความเชื่อมั่นในบางศาสนา มีความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ต้องการเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่มักมีการใช้ยาปฏิชีวนะและฮอร์โมน เจตนากินอาหารในลักษณะที่หลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมากเกินไป บางคนรู้ตัวว่าไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้เพราะเคยพบภาพการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น อย่างไรก็ดีการเป็นมังสวิรัติในสมัยนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เนื่องจากความพร้อมของพืชผัก ผลไม้ ถั่วและอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหารมังสวิรัตินั้นมีขายตามสถานที่ขายอาหารสดต่าง ๆ ในอดีตที่ผ่านไปนั้น งานวิจัยที่เกี่ยวกับการกินมังสวิรัติได้มุ่งเน้นในการยืนยันประโยชน์ต่อสุขภาพเนื่องจากการไม่กินเนื้อสัตว์ ตามที่สมาคมนักกำหนดอาหารอเมริกันกล่าวว่า การกินอาหารมังสวิรัตินั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านโภชนาการและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อบางชนิดได้ แต่การศึกษาถึงโอกาสขาดสารอาหารที่อาจเกิดขึ้นนั้นก็มิได้ถูกมองข้ามไปแต่อย่างใด ดังจะกล่าวถึงในบทความนี้ ข้อควรคำนึงในการเป็นมังสวิรัติ ผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติจำต้องรู้วิธีปฏิบัติตนตามคำแนะนำด้านโภชนาการ ซึ่งรวมถึงการกินไขมันให้พอเหมาะและการควบคุมน้ำหนักตัว สิ่งที่ควรคำนึงคือ แม้ว่าน้ำอัดลม พิซซ่าหน้าเนยแข็ง และขนมหวานต่าง ๆ ดูมีลักษณะเข้าอยู่ในเกณฑ์ “มังสวิรัติ” ก็ตาม แต่อาหารเหล่านี้ก็ยังเข้าเกณฑ์ต้องหลีกเลี่ยงเพราะทำให้อ้วนง่าย จึงควรหันไปกินผัก ผลไม้และธัญพืชซึ่งมีรสชาติอร่อยเมื่อปรุงเป็นขนมอบกรอบเช่น […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ความเชื่อโบราณ VS วิทยาศาสตร์

อยู่ ๆ ก็มีผู้ติดตามบทความของผู้เขียนมาตลอดตั้งคำถามว่า ข้อมูลจากบทความหนึ่งชื่อ “เกือบเอาชีวิตไม่รอด ห้ามกินคู่กันเด็ดขาด มีพิษร้ายแรงเทียบเท่าสารหนู” ซึ่งลงไว้ในเว็บไทยเว็บหนึ่งในอินเตอร์เน็ทเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2018 (โดยมีคำบรรยายต่อว่า “ยังดีที่มา รพ. ทัน ไม่งั้นอาจถึงแก่ชีวิตได้? แพทย์เผยสาเหตุ..ของหญิงวัย 30 ที่ป่วยอยู่..แล้วกินกล้วยกับของเหล่านี้เข้าไปคู่กันโดยคาดไม่ถึงว่ามันจะอันตรายขนาดนี้?”) เป็นบทความที่น่าเชื่อหรือไม่ เพราะดูค่อนข้างแปลก รายละเอียดต่อจากหัวข้อข่าวกล่าวว่า “….หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากล้วยหอมห้ามกินกับอะไรบ้าง เหมือนกับผู้ป่วยรายนี้ที่รับประทานกล้วยกับโยเกิร์ตเข้าไปพร้อมกัน พอเวลาผ่านไปสักพัก เขาเริ่มเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงจนทนไม่ไหว ทางบ้านจึงรีบพาส่ง รพ. แพทย์รีบเช็คดูอาการแล้วจึงรีบล้างท้องโดยด่วน พร้อมเผยว่าหญิงวัย 30 รายนี้ได้รับประทานอะไรเข้าไปหรือป่าว หญิงรายนี้เลยบอกแค่ว่าเขา รับประทานแค่กล้วยกับโยเกิร์ตเข้าไป แต่ไม่คิดว่าจะปวดท้องมากขนาดนี้…” ท่านผู้อ่านบางคนอาจเคยพบบทความในลักษณะข้างต้นนี้มาบ้างพอควร ซึ่งเมื่ออ่านแล้วหลายคนก็คงผ่านไป แต่บางคนอาจคิดต่อว่า ทำไมมันถึงเป็นเช่นที่กล่าวในบทความ โดยเฉพาะเมื่อมีข้อความเหมือนหวังดีเพิ่มเติมว่า “….กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับโยเกิร์ตเพราะการรับประทานพร้อมกันจะผลิตสารก่อมะเร็งได้ง่าย กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับมันฝรั่งเพราะถ้ากินด้วยกันจะเกิดกระและผื่นแดงที่ข้างจมูก (ผื่นปีกผีเสื้อ) กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับเผือกเพราะกินด้วยกันจะทำให้ท้องอืด กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับเนื้อวัวเพราะกินด้วยกันจะทำให้ปวดท้อง กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับมันเทศเพราะกินด้วยกันจะเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ไม่พึงประสงค์ทำให้ร่างกายไม่สบาย เป็นต้น…..” ลักษณะข้อมูลดังกล่าวนั้นดูน่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของของกล้วยหอมและเรื่องของโยเกิร์ต ซึ่งบางคนกินแยกกันและบางคนกินผสมกัน (โดยเฉพาะฝรั่งหลายชาติอาจปั่นเป็น smoothie ดังปรากฏเป็นสูตรอาหารเช้าในเน็ทเมื่อใช้คำว่า banana and […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

มุสาผู้บริโภคต้องเจอดี

สหรัฐอเมริกานั้นเป็นประเทศที่มีระบบการให้สิทธิและอำนวยเสรีภาพแก่ผู้บริโภคอย่างเต็มที่ ใครที่คิดจะหากินด้วยการหลอกลวงขายสินค้าไร้สาระนั้น ประเทศนี้ยินดีเชิญชวนให้เข้าทำกิจการ เพียงแต่อย่างให้มีผู้บริโภคหรือนักร้อง (เรียน) คนใดทนไม่ไหวนำเรื่องส่งถึงศาลว่า มีการโฆษณาโดยไม่มีหลักฐานว่าเป็นจริง เมื่อนั้นผู้ทำการค้าแบบไม่สุจริตจะพบความจริงว่า การลงโทษนั้นมีจริงบนโลกนี้ บทความนี้จะยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในประเทศที่มีการบริหารเสรีภาพอย่างสุด ๆ และมีการบังคับใช้กฏหมายแบบไม่มีการยกเว้น (ต่างจากบางประเทศที่พัฒนาแล้วได้เท่าที่เป็น เพราะพัฒนาต่อไปไม่ไหวแล้ว) โดยเรื่องราวต่อไปนี้สอนให้รู้ว่า จะโฆษณาขายสินค้าแบบมั่ว ๆ ในสหรัฐอเมริกาไม่ได้นะ เพราะประเทศนี้ก็มีนักร้อง (เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคและบริโภค) ระดับชาติเหมือนบางประเทศทางเอเชีย (ที่คอยร้องเรียนพฤติกรรมมั่วซั่วทางการเมือง) และศาลอเมริกันนั้นเอาจริงเสมอถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับละเมิดผลประโยชน์ของผู้บริโภค โฆษณารองเท้าวิเศษ เรื่องแรกที่ขอนำมาบอกเล่าเพื่อเปรียบเทียบว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นในบ้านเราหรือไม่คือ มีบริษัทหนึ่งขายรองเท้าโดยโฆษณาว่าเป็น “รองเท้าที่ใส่แล้วเหมือนวิ่งด้วยเท้าเปล่า” โดยรองเท้านี้ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณเท้าและขาช่วงล่าง ปรับปรุงการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสมดุลและความว่องไว ช่วยให้เท้าและลำตัวเคลื่อนที่ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษของรองเท้านี้คือ มันต่างจากรองเท้ายี่ห้ออื่นที่โด่งดังในวงการวิ่งทั้งหลายตรงที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างเหมือนมีนิ้วเท้าห้านิ้วและส้นค่อนข้างบางมาก (FiveFingers shoes) นัยว่าเมื่อใส่แล้วเหมือนไม่ได้ใส่ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นและอินเทรนด์มาเมื่อหลายปีมาแล้วในสหรัฐอเมริกา มีการประเมินว่าอาจมีลูกค้าถึง 70 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงินซื้อในราคาคู่ละเกือบ 100 เหรียญดอลลาห์สหรัฐ แต่สุดท้ายก็มีนักร้อง (เรียน) ชาวอเมริกันคนหนึ่งเอาเรื่องถึงศาลว่า บริษัทเหมือนทำโฆษณาแบบไม่ได้ใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาประกอบในการโฆษณามั่วซั่วเกี่ยวกับสุขภาพเท้าของประชาชน อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์สุขภาพบางคนกล่าวว่า รองเท้าประหลาดนี้อาจทำให้สุขภาพเท้าเสื่อมได้เมื่อใส่วิ่ง สุดท้ายในปี 2012 บริษัทจึงถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าปรับให้กับทางการคือ กระทรวงพาณิชย์ (Federal Trade Commission) ราว […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เมื่อคิดลดน้ำหนัก

การโกหก การคิดเอาเองแล้วบอกว่าใช่ และการจับแพะชนแกะ เพื่อขายอาหารหรืออุปกรณ์ที่อุปโหลกเอาเองว่า ทำให้คนมีสุขภาพดีโดยเฉพาะเกี่ยวกับการลดน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั้งในโทรทัศน์ดิจิตอลไปถึงอินเตอร์เน็ท ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีวิธีอะไรที่ทำให้น้ำหนักตัวลดได้ง่าย ส่วนใหญ่ที่ออกมาพูดกันนั้นอาจได้ผลเฉพาะกับตัวผู้พูด แต่ไม่ได้ผลกับคนอื่นซึ่งมีความแตกต่างตั้งแต่พันธุกรรมไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความยากได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อคำนึงถึงเศรษฐานะ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรที่ทำให้การลดน้ำหนักของแต่ละคนกลายเป็นเรื่องยากอย่างไม่น่าเชื่อ Alexandra Sifferlin ได้เขียนบทความเรื่อง “9 Myth About Weight Loss” เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2017 ในวารสารออนไลน์ TIME Health ซึ่งบรรยายถึงความอึมครึม (Myth) เกี่ยวกับความเชื่อบางประการในการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและอื่น ๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันได้พยายามหาคำอธิบายถึงความเชื่อนั้น ๆ ว่า จริงหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนขอเลือกประเด็นที่น่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ซึ่งกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่มาเล่าให้ฟัง ภาพจาก: https://www.organicbook.com/food ความอึมครึมเรื่องแรกคือ เป็นไปไม่ได้ที่จะลดน้ำหนักตัว (เพราะผู้กล่าวนั้นทำไม่ได้ผลมาแล้ว) สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าไปคุยกับผู้ที่เคยพยายามลดน้ำหนักแล้วไม่สำเร็จจะได้ยินคำสารภาพว่า การลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็น ดั่งเข็นครกขึ้นภูเขา ทั้งที่ความจริงแล้วการศึกษาทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสามารถทำได้จริง องค์กรเอกชนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาคือ National Weight Control Registry ซึ่งก่อตั้งในปี 1994 โดย ดร. Rena Wing […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ปวดหัวเรื่องเข่าปวด

ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาเกี่ยวกับเข่าเมื่อต้องนั่งทำงานนาน ๆ โดยต้องตั้งหลักให้มั่นคงขณะยืนขึ้นก่อนออกเดิน อาการนี้มีผู้แนะนำว่าทุเลาได้โดยการเล่นกีฬาที่ใช้ขาซึ่งรวมถึงการถีบจักรยาน ซึ่งผลตอบแทนที่ได้นั้นดูน่าพอใจในระหว่างเวลานั้น ๆ แต่เมื่อใดที่ต้องสอนหนังสือ เขียนบทความ หรือนั่งดูโทรทัศน์ ก็ยังปรากฏว่ามีอาการติดขัดบ้างพอสมควร ผู้เขียนจึงได้พยายามหาทางบรรเทาอาการดังกล่าวด้วยการนวดน่องและเข่าเมื่อรู้สึกเมื่อย นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำให้กินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดหนึ่งคือ กลูโคซามีน ซึ่งผู้เขียนไม่ใคร่เต็มใจเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างแพงและเบิกในส่วนค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ ตำราชีวเคมีกล่าวว่า กลูโคซามีน เป็นสารชีวเคมีธรรมชาติที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกสัตว์ตระกูลหอย กระดูกสัตว์ ไขกระดูก และราบางชนิด (ซึ่งมนุษย์ใช้ให้สังเคราะห์กลูโคซามีนจากข้าวโพดเพื่อขายแก่ผู้บริโภคที่เป็นมังสะวิรัติ) ในร่างกายมนุษย์สารชีวเคมีนี้ปรากฏอยู่ในรูปของกลูโคซามีน-6-ฟอสเฟต โดยทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารชีวเคมีอื่นในกลุ่มที่เป็นน้ำตาลชนิดที่มีอะตอมไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของโมเลกุล (nitrogen-containing sugars) ร่างกายใช้กลูโคซามีนในการสังเคราะห์ ไกลโคอะมิโนไกลแคน (มีลักษณะเป็นมูกที่อุ้มน้ำได้ดี ทำหน้าที่หล่อลื่นข้อต่อในร่างกาย) โปรตีนโอไกลแคน (โมเลกุลขนาดใหญ่ของสารประกอบโปรตีนที่ต่อเชื่อมกับสายของน้ำตาลที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ทำหน้าที่เป็นสารชีวเคมีที่เติมช่องว่างเสมือนกาวยึดระหว่างเซลล์) และไกลโคลิปิด (เป็นสารชีวเคมีโมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากการต่อเชื่อมระหว่างน้ำตาลและไขมัน มีบทบาทด้านการคงความเสถียรของผนังเซลล์และการจดจำกันได้ของกลุ่มเซลล์ร่างกายเพื่อก่อให้เกิดเนื้อเยื่อขึ้นมา) นอกจากนี้ Wikipedia ยังกล่าวว่า กลูโคซามีนนั้นเป็นสารชีวเคมีที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เอ็นยึด (ligaments) กระดูกอ่อน (cartilage) เป็นต้น อีกทั้งในวงการเครื่องสำอางปัจจุบันมีการใช้กลูโคซามีนสังเคราะห์ในการฉีดให้ผิวเต่งตึงที่เรียกว่า ฉีดฟิลเลอร์ สมมุติฐานเกี่ยวกับประโยชน์ของกลูโคซามีนที่ถูกขายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกล่าวว่า ตัวโมเลกุลกลูโคซามีนนั้นถูกนำไปใช้สร้างน้ำหล่อลื่นข้อต่อต่าง ๆ ในขณะที่กลุ่มซัลเฟตที่ได้จากกลูโคซามีนซัลเฟตนั้นน่าจะมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์กระดูกอ่อนด้วย ซึ่งสมมุติฐานนี้ไปสนับสนุนผลของบางการศึกษาที่พบว่า กลูโคซามีนที่ได้ผลในการบำบัดอาการปวดข้อนั้นต้องอยู่ในรูปกลูโคซามีนซัลเฟตเท่านั้น ส่วนกลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์หรือเอ็นอะเซ็ตติลกลูโคซามีนซึ่งมีวางขายในท้องตลาดด้วยนั้น เมื่อผู้บริโภคกินเข้าไปอาจเปล่าประโยชน์ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

คิดหน้าคิดหลังก่อนกินโคคิวเท็น

ผู้เขียนมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่น่องค่อนข้างบ่อย จึงได้พยายามหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ถึงสาเหตุของความน่ารำคาญนี้ แต่ก็หาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะผู้ที่น่าจะรู้ส่วนใหญ่มักอธิบายกว้างครอบจักรวาฬ ตรงกับอาการบ้างไม่ตรงบ้าง จึงเข้าใจเอาเองในขั้นต้นว่า คงเป็นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ชิ้นส่วนของร่างกายย่อมเสื่อมสภาพไปบ้าง แต่ปรากฏว่ามีเด็กหนุ่มสาวอายุราว 20 ปี บ่นว่ามีอาการเช่นกันในเว็บ pantip ดังนั้นจึงพอคลายกังวลได้บ้างว่า ไม่ใช่เฉพาะ สว. อย่างผู้เขียนเท่านั้นที่เป็น ที่น่าสนใจคือ อาการปวดนี้มักหายไประหว่างการออกกำลังกาย แล้วกลับมาใหม่หนักเบาไม่เท่ากันไร้ความแน่นอน อาการปวดกล้ามเนื้อนี้ผู้เขียนสังเกตว่า เกิดขึ้นหลังเริ่มกินยาเพื่อปรับความดันโลหิต ดังนั้นจึงเข้าใจและยอมรับว่า อาการดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาปรับความดันชนิดที่มีผลต่อการทำงานของแคลเซียมที่กล้ามเนื้อ จึงเพิ่มการกินอาหารที่มีแร่ธาตุมากขึ้น อีกทั้งระยะหลังนี้ได้ลองกินแร่ธาตุเสริมคือ แคลเซียมและแมกนีเซียมในลักษณะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ที่ได้รับแจกฟรีในการประชุมวิชาการ) ซึ่งก็ดีขึ้นบ้างเป็นพัก ๆ ยังสรุปไม่ได้นัก นอกจากแร่ธาตุแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้แนะนำและหยิบยื่นให้ลองกินฟรีดู โดยใช้พื้นความรู้ว่า ตะคริวนั้นอาจเกิดเนื่องจากการออกกำลังกายของผู้เขียนที่อาจมากเกินวัย จนกล้ามเนื้อขาดพลังงานได้ สินค้านั้นคือ โคคิวเท็น (coenzyme Q10) โคคิวเท็นเป็นสารชีวเคมีที่ผู้เขียนไม่ค่อยศรัทธาว่ากินแล้วจะก่อผลอะไรต่อร่างกาย เพราะเมื่อลองค้นข้อมูลงานวิจัยและจากตำราที่เคยเรียนได้ก่อให้เกิดความสงสัยมากว่า โคคิวเท็นที่กินเข้าไปนั้นสามารถเข้าไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำงานได้จริงหรือไม่ โคคิวเท็นนั้นเป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาใช้ได้เองจากองค์ประกอบต่าง ๆ ในอาหารที่ร่างกายดูดซึมเข้าไป จึงไม่น่าเรียกว่า วิตามิน (แต่ถ้าอ้างว่าวิตามินดีนั้นร่างกายมนุษย์ก็สร้างได้เอง หลายคนจึงพยายามจัดให้โคคิวเท็นเป็นวิตามิน ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ขัดใจ ว่ากันไปตามสะดวกก็แล้วกัน) โดยหน้าที่หลักของโคคิวเท็นคือ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อย่ากินหวานและอย่ากินเค็ม (ต่อ)

เดือนที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึงปัญหาการกินหวานที่ส่งผลลบต่อการควบคุมน้ำหนักตัว และได้สรุปสุดท้ายว่า ไม่ควรกินหวาน ซึ่งความจริงแล้วการไม่กินหวานนั้นมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานไปด้วยในตัว สำหรับบทความของเดือนนี้จึงขอกล่าวในประเด็นการลดการกินอาหารเค็ม เพื่อหวังว่าเมื่อเราลดทั้งความหวานและความเค็มในอาหารแล้ว เราจะมีอายุอยู่ได้นานขึ้น เพื่อจะได้เห็นว่าประเทศไทยหลังจากนี้ไปจะเจริญขึ้นดังจรวด ตามคำทำนายของหมอดูในอินเตอร์เน็ททั้งหลายหรือไม่ ในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับอาหารการกินในประเด็นไม่กินเค็มนั้น เราควรใส่ใจทั้งวัตถุดิบ ส่วนประกอบต่าง ๆ ในการปรุงอาหาร ตลอดจนเครื่องปรุง โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสเค็มที่มีผลต่อสุขภาพโดยรวม และต่อน้ำหนักตัวที่อาจเพิ่มขึ้นโดยไม่เจตนา คนไทยในเมืองใหญ่ที่ต้องกินอาหารนอกบ้านมักถูกบังคับอยู่กลาย ๆ ให้กินอาหารที่มีรสเค็มมากขึ้น (โดยเฉพาะอาหารจาก Street food ซึ่ง CNN ยกย่องว่าดีที่สุดในโลก) ผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า ผู้ค้าอาหารนั้นหวังดีต้องการให้เรากินข้าวได้มากขึ้น ในขณะที่กับข้าวที่ตักให้มีปริมาณน้อยลง มีรายงานจากการสำรวจของหน่วยราชการพบว่า คนไทยกินเกลือเฉลี่ยต่อคนประมาณวันละ 4,000 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่าค่าที่กำหนดปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันคือ 2,000 มิลลิกรัม ปรากฏการณ์การได้รับโซเดียมมากกว่าปริมาณที่แนะนำนั้นก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพของผู้บริโภคตามมา อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านดูเหมือนจะมีความเห็นตรงกันว่า พฤติกรรมการกินเค็มจนเป็นนิสัยของคนไทยนั้น นำไปสู่การเพิ่มปริมาณคนไข้นอกที่มีความดันโลหิตสูงและไตเสื่อม จากการศึกษาความชุกของโรคทั้งสองพบว่า หนึ่งในสี่ของผู้ใหญ่ที่เดินตามท้องถนนหรือกว่า 10 ล้านคนของคนไทยนั้นมีความดันโลหิตสูง อีกทั้งพบคนไทยเป็นโรคไตเรื้อรังราว 7 ล้านคน ซึ่งถ้าความดันโลหิตสูงไม่ได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง โรคแทรกซ้อน เช่น หัวใจวาย อัมพาต และความเสื่อมจากการทำงานของไตนำไปสู่ภาวะไตวายจะตามมา หลักสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเหล่านี้คือ ควบคุมความดันโลหิตโดยลดปริมาณเกลือต่างในอาหารที่กินให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้พร้อมกับการได้รับยาที่เหมาะสม […]

Read More