คุยข่าวสีเขียว

คุยข่าวสีเขียว
read

คนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนโลก

ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมามีสัญญาณบวกที่บ่งบอกว่าโลกในกำมือของเด็กรุ่นใหม่จะใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและใช้ทรัพยากรลดน้อยลง ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย บ้างอยากฟื้นฟูและปกป้องโลกเพื่อคนรุ่นตัวเองและรุ่นลูกรุ่นหลานที่ยังต้องมีชีวิตต่อไปอีกยาวนาน บ้างอยากหวนคืนสู่ความทรงจำวัยเด็ก บ้างเพื่อสร้างการรับรู้และยอมรับในโซเชียลมีเดีย ภาพจาก: https://mgronline.com/ เหตุการณ์แรกคือข่าวการฟื้นคืนชีพของอาชีพคนส่งนมในอังกฤษ บริษัทส่งนมในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเปิดเผยว่าหนุ่มสาวเจนวายและมิลเลเนียลอายุประมาณ 20-40 ปี (เกิดปีค.ศ. 1980-2000) หันมาสั่งนมจากขวดแก้วมากขึ้นเพราะต้องการลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยเมื่อปีที่แล้วยอดสั่งนมจากขวดแก้วเติบโตขึ้นถึง 25 % จากปริมาณการสั่งนมทั้งหมด 5 แสนลิตรต่อวัน ซึ่งบริษัทส่งนมบอกว่าเหมือนเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติเลยทีเดียว นอกเหนือจากเหตุผลเรื่องสิ่งแวดล้อม คนกลุ่มนี้หันกลับมาสั่งนมจากขวดแก้วแม้ต้องจ่ายแพงกว่าเพราะการโหยหาอดีต  พวกเขาเติบโตมาในยุคที่เด็กส่งนมยังมีบทบาทสำคัญก่อนที่นมบรรจุในขวดพลาสติที่วางขายในซูเปอร์มาเก็ตจะเข้ามาแทนที่ ที่สำคัญการใช้บริการสั่งนมจากขวดแก้วยังเป็นกิจกรรมเก๋ไก๋ที่คนเจนวายมาสามารถโฟสต์บอกเพื่อน ๆ ในโซเชียลมีเดียได้อีกด้วย ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ล้วนดีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ภาพจาก: https://www.countrylife.co.uk/food-drink อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในบ้านเราคือกรณีที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 มีมติยกเลิกการใช้สารเคมีเกษตร 3 ชนิด คือพาราควอต ครอร์ไฟริฟอส และไกลโฟเซต และยกระดับจากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งมีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงทั้งคุณสมบัติของตัวสารหรือลักษณะการใช้ กฎหมายจึงห้ามไม่ให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธันวาคมนี้ ถือเป็นเรื่องเกินความคาดหมายและเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้านการเกษตรที่สวยงาม  แม้ว่าจะต้องไปต่อสู่กันต่อในเชิงกฎหมายและการเมืองระหว่างประเทศ เนื่องจากในวันเดียวกันที่คณะกรรมการฯ มีมติ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

“ไฟกำลังไหม้บ้านเรา”…เด็กๆร่ำไห้ เมื่อผู้ใหญ่ดูดาย

“ไฟกำลังไหม้บ้านเรา ฉันไม่อยากให้คุณรู้สึกมีความหวัง ฉันอยากให้คุณตื่นตระหนก ฉันอยากให้คุณรู้สึกถึงความกลัวที่ฉันรู้สึกทุกๆ วัน และดังนั้นฉันจึงขอให้คุณลงมือทำเสียที” เกรธา ทุนเบิร์ก (Greta Thunberg) เยาวชนวัย 16 ปีพูดในการประชุมเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอสเมื่อต้นมกราคม 2562 เกรธาเป็นที่เป็นที่รู้จักของชาวโลกมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เมื่อเธอตัดสินใจหยุดโรงเรียนทุกวันศุกร์เพื่อไปประท้วงเรื่องโลกร้อนที่หน้ารัฐสภาสวีเดนติดต่อกันหลายสัปดาห์เพื่อเรียกร้องให้พวกผู้ใหญ่หันมาแก้ปัญหาแทนการพูดคำสวยๆ และโยนความรับผิดชอบไปอยู่ในมือเด็กๆ อย่างพวกเธอ ภายใต้คำพูดดูดีว่า “เมื่อเด็กๆ โตขึ้น พวกเขาจะช่วยกู้โลก” ซึ่งเธอบอกว่า กว่าเด็กๆ อย่างพวกเธอจะเติบโตมาเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือคนวางนโยบายแก้ปัญหาโลกร้อน โลกก็ถึงจุดที่ย้อนกลับคืนไม่ได้แล้ว (Coppyright 2019 from – https://www.theguardian.com/) “การพูดสิ่งที่ฟังดูดี แต่ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย คุณไม่สามารถนั่งรอให้ความหวังมาหา ดังนั้นคุณก็ทำเหมือนเด็กถูกตามใจที่ไร้ความรับผิดชอบ ถ้าจะบอกว่าเราเสียเวลาเรียน ก็ขอบอกว่าผู้นำทางการเมืองของเราเสียมาหลายทศวรรษที่จะยอมรับเรื่องโลกร้อนและลงมือทำอะไรสักอย่าง และเมื่อเวลากำลังจะหมดลงเรื่อยๆ เราจึงลงมือทำกิจกรรม เราเก็บกวาดขยะที่พวกคุณสร้างไว้ และเราจะไม่หยุดจนกว่าเราจะทำสำเร็จ” เธอกล่าวในงานสังคมพลเมืองเพื่อฟื้นฟูยุโรป (Civil Society for Eunaissance)  เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมา หลังจากหยุดเรียนมาประท้วงหน้ารัฐสภาสวีเดนติดต่อกันหลายสัปดาห์ เธอลุกขึ้นมาเรียกร้องให้เยาวชนทั้วโลกหันมากดดันพวกผู้ใหญ่ที่ดูดายให้หันมาลงมือแก้ปัญหาโลกร้อน โดยเขียนจดหมายผ่านสื่อเดอะการ์เดี้ยน ส่งถึงเยาวชนทั่วโลกเรียกร้องให้พวกเขาออกมาแสดงเจตนารมณ์ปกป้องโลก ด้วยการประท้วงครั้งใหญ่พร้อมกันเพื่อแสดงให้พวกผู้ใหญ่เห็นว่าเด็กๆ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ฝุ่นจิ๋วกับการป้องกันที่ปลายจมูก

ฉันนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ในวันที่สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในกรุงเทพเริ่มคลี่คลาย ผู้ว่ากรุงเทพมหานครแถลงข่าวว่า “ผมเชื่อว่าธรรมชาติเข้าข้างผม” เพราะมีลมช่วยพัดพาฝุ่นจิ๋วไป ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ขอนแก่นและโคราชมีปริมาณฝุ่นจิ๋วติดอันดับสูงสุดของประเทศ และถูกแทนที่โดยจังหวัดแพร่ ลำปาง และเชียงใหม่ในวันต่อๆ มา ระหว่างนั้นเพื่อนๆ ของฉันต่างประกาศหาซื้อหน้ากากกันฝุ่นจิ๋วและเครื่องฟอกอากาศกันจ้าละหวั่น บรรยากาศตื่นตระหนกมิต่างกับที่คนกรุงเทพประสบตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เพื่อนชาวกรุงของฉันลงทุนซื้อเครื่องฟอกอากาศมูลค่ากว่าหมื่นบาทและเครื่องวัดฝุ่นจิ๋วแบบพกพาราคาประมาณสองพันบาท  ซึ่งท่ามกลางความตื่นตระหนกและตื่นตัว เงินไม่สามารถซื้อได้ทุกสิ่งเพราะสินค้าขาดตลาด ในห้วงเวลาเดียวกัน องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาหรือนาซ่าเผยแพร่แบบจำลองการเคลื่อนไหวของฝุ่นจิ๋วจากจุดกำเนิดมุมหนึ่งของโลกเคลื่อนไปยังจุดต่างๆ ทั่วโลก เป็นการตอกย้ำว่าฝุ่นจิ๋วเคลื่อนที่แบบไร้พรมแดนและเป็นปัญหาสากล ดูแล้วตื่นเต้นและน่ากลัวไปพร้อมกัน ภาพจาก: https://board.postjung.com/934650 วิกฤติฝุ่นจิ๋วที่ปกคลุมกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ในปีนี้ทำให้คนไทยทั้งตระหนกและตระหนักถึงภัยอันตรายกันถ้วนหน้า และเนื่องจากเป็นปีแรกที่ประเทศไทยถูกจู่โจมจากฝุ่นจิ๋วเป็นวงกว้าง จากปกติวิกฤติฝุ่นจิ๋วครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ จึงเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองที่มาตรการรับมือส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการเฉพาะหน้าแบบนักผจญเพลิง อะไรที่ฉวยได้ก็หยิบมาใช้ เข้าทำนองดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นการทำฝนเทียมหรือการฉีดน้ำ หากวงจรธรรมชาติและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง ดูเหมือนปีหน้าเราจะเผชิญหน้ากับวิกฤติฝุ่นจิ๋วอีกครั้ง และหากภาครัฐไทยรู้จักใช้โอกาสในวิกฤติแทนการเชื่อโชคลางหรือรอธรรมชาติเข้าข้าง  เราควรมีมาตรการเชิงรุกที่วัดผลได้เพื่อป้องกันการก่อมลพิษฝุ่นจิ๋วที่จุดกำเนิดแทนการป้องกันที่ปลายจมูกซึ่งทำให้คนไทยเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการซื้อเครื่องป้องกันที่ปลายจมูกและการรักษาความเจ็บป่วยจากฝุ่น เช่นเดียวกับที่ประเทศแห่งมลพิษอย่างจีนเคยทำให้เห็นมาแล้ว ย้อนกลับไปเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ช่วงฤดูหนาวของทุกปี โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ชาวจีนนับพันล้านคนควรมีโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ในที่โล่งแจ้ง เด็กเล็กและคนชราในเมืองหลวงปักกิ่งกลับต้องเก็บตัวอยู่ในบ้านเรือน เพราะปริมาณฝุ่นจิ๋วเกินมาตรฐานความปลอดภัยทางสุขภาพ ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสุขภาพของทุกผู้ทุกคน หากไม่มีการจัดการอาจบานปลายกลายเป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศได้ นายกรัฐมนตรีหลี่ เคอเฉียง จึงประกาศทำสงครามกับมลพิษต่อหน้าสมาชิกพรรคสภาประชาชนแห่งชาติจำนวนสามพันคน โดยบอกว่า “หมอกควันเป็นเหมือนสัญญาณไฟแดงของธรรมชาติที่เตือนให้เห็นถึงการพัฒนาที่มืดบอดและไร้ประสิทธิภาพ” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

“กาแฟสัญญาใจ”…สัญญานะว่าจะไม่ทิ้งขยะ

ฤดูหนาวมาถึงแล้ว เป็นสัญญาณว่าเทศกาลเดินป่ามาถึงแล้วเช่นกัน ฉันเชื่อว่าฤดูกาลท่องเที่ยวป่าเขาในปีนี้จะมีความเปลี่ยนแปลง ที่พูดเช่นนี้เพราะฉันได้พบสัญญาณเชิงบวกจากการท่องเที่ยวครั้งล่าสุดที่น้ำตกปิตุ๊โกลและดอยมะม่วงสามหมื่น อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เช้าตรู่ขณะที่กำลังเตรียมตัวออกเดินทางจากจุดกางเต้นท์ไปยังดอยมะม่วงสามหมื่น ฉันเห็นคนกลุ่มเล็กๆ 3-4 คนจัดแจงปูผ้าใบริมทางเดินแล้วนำเครื่องชงกาแฟขนาดใหญ่พร้อมเครื่องบดและอุปกรณ์อื่นๆ ออกมาตั้ง คนหนึ่งทำหน้าที่บดกาแฟ อีกคนทำหน้าที่ชง พลางร้องเรียกผู้คนที่เดินผ่านให้แวะชิมฟรี ฉันสาวเท้าไปตามกลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟและคำเชื้อเชิญ สั่งคาปูชิโน่ร้อน และถามไถ่ที่มาของพวกเขา “โอ๊ค” ชายหนุ่มที่ทำหน้าที่ชงกาแฟเล่าว่าพวกเขามาจากกลุ่ม “อาสาเที่ยว” กลุ่มท่องเที่ยวที่อยากให้คนไปเที่ยวได้อะไรมากกว่าไปเที่ยว ในฐานะคนรักกาแฟ เขาและกลุ่มจึงเลือกทำสิ่งที่รักและถนัดด้วยการซื้อเครื่องชงกาแฟร็อกซ์เอสเปรสโซ่มูลค่าเกือบหมื่นที่มีคุณสมบัติพิเศษคือเป็นเครื่องชงกาแฟแรงดันสูงที่ให้รสชาติและกลิ่นหอมกรุ่นราวกับเครื่องชงกาแฟชั้นดีโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า พวกเขาหอบหิ้วเครื่องทำกาแฟและอุปกรณ์ไปทุกที่ที่ไปเที่ยว เพื่อทำกาแฟสดและเครื่องดื่มร้อนอื่นๆ แจกนักท่องเที่ยวโดยไม่เลือกว่าเป็นพวกเขาพวกใคร สิ่งเดียวที่พวกเขาต้องการตอบแทนคือคำมั่นสัญญาจากผู้ดื่มว่าจะนำขยะจากการกินใช้ของตัวเองทุกชิ้นติดตัวกลับไปด้วย เป็นที่มาของ “กาแฟสัญญาใจ” “สัญญาแล้วนะ” เขาร้องบอกขณะที่ฉันจิบคาปูชิโน่ร้อนๆ หอมกรุ่น “ชัวร์อยู่แล้ว” ฉันตอบน้ำเสียงหนักแน่น ทุกครั้งที่เดินป่าฉันคงนึกถึง “สัญญาใจ” ที่มีต่อกัน เป็นคำขอที่ไม่มากเกินไปเลย หากนักท่องเที่ยวทุกคนทำตามคำมั่นสัญญาก็จะส่งผลกระทบอันยิ่งใหญ่ต่อธรรมชาติ เพราะขยะในเขตอุทยานแห่งชาติเกือบร้อยทั้งร้อยก็มาจากนักท่องเที่ยวนั่นเอง โอ๊คและคณะไม่ได้มาที่นี่เป็นครั้งแรก หลายปีก่อนเขาเคยมาเที่ยวน้ำตกปิตุ๊โกลก่อนที่น้ำตกนี้จะเป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินป่า เมื่อนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น วันหยุดยาวบางช่วงมีนักท่องเที่ยวนับพันคน ขยะก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ครั้งหนึ่งเด็กๆ ในหมู่บ้านเคยตั้งคำถามกระทบใจเขาว่า “พวกพี่มาบ้านผมเพื่อทิ้งขยะหรือ” ไม่มีใครอยากให้บ้านตัวเองเป็นที่ทิ้งขยะ ช่วงปิดเทศกาลท่องเที่ยวปีที่แล้ว กลุ่มชาวบ้านและเยาวชนจาก 8 หมู่บ้านรอบๆ น้ำตกปิตุ๊โกลจึงรวมกลุ่มกันเก็บขยะจากน้ำตกปิตุ๊โกลและดอยมะม่วงสามหมื่นลงสู่พื้นราบ ปริมาณขยะมากถึงเกือบ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

โลกในมือเด็กเมื่อวานซืน

“สิ่งที่ผมแปลกใจมากคือใจกลางมหาสมุทรที่มนุษย์ไม่เคยไปเยือนกลับมีพลาสติกมากกว่าแพลงก์ตอนถึง   6 เท่า ทุกปีึสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนับแสนตัวและนกทะเลอีกนับล้านตัวตายเพราะพลาสติก ผมช็อคมากที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้กำลังจะสูญพันธุ์ และช็อคยิ่งกว่าที่คนในแวดวงนี้บอกว่าการเก็บขยะเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้” โบยัน สแลต เด็กหนุ่มชาวดัชน์บอกเล่า ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว เขาเป็นนักเรียนมัธยมวัย 17 ปีที่ฮ็อตที่สุดในแวดวงนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังการพูดที่เวที TedTalk ว่าเขามีวิธีกำจัดขยะกองมหึมาขนาดใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศส 3 เท่า หรือน้ำหนักประมาณ 80,000 เมตริกตัน “ชาลร์ส มัวร์ นักวิจัยที่ค้นพบแผ่นขยะในมหาสมุทรแปซิฟิคประมาณการว่าต้องใช้เวลา 79,000 ปีเพื่อจัดการขยะในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ผมเชื่อว่ามหาสมุทรสามารถทำความสะอาดตัวเองในแค่ 5 ปีเท่านั้น” ขณะที่คนส่วนใหญ่คิดว่าการกำจัดขยะในทะเลทำได้ด้วยการนำเรือและตาข่ายไปดักจับขยะและนำขึ้นมาจัดการบนบก แต่เด็กหนุ่มผู้หลงไหลการดำน้ำอย่างโบยันใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมปลายมาประยุกต์  เขาคิดว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ และกระแสน้ำสามารถขับเคลื่อนขยะในท้องทะเลไปยังชายฝั่งได้ “ถ้าเราอยากจะทำสิ่งที่แตกต่างออกไป ก็ต้องคิดให้แตกต่าง ทำไมต้องลงไปในมหาสมุทร ในเมื่อมหาสมุทรเข้ามาหาคุณได้ ทำไมต้องเอาเรือไปลอยลำแล้วกวาดขยะ  แทนที่จะวิ่งตามเก็บพลาสติก คุณก็แค่รอให้พลาสติกลอยเข้ามาหาคุณ โดยไม่ต้องเสียพลังงานอะไรเลย” แนวคิดนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลการออกแบบเชิงเทคนิคยอดเยี่ยม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ เนเธอร์แลนด์ รางวัล 20 นักธุรกิจรุ่นเยาว์ที่มีอนาคตไกล และรางวัลแชมป์ออฟดิเอิร์ธ ขององค์การสหประชาชาติ จากนักเรียนมัธยมเมื่อหกปีที่แล้ว วันนี้โบยันกลายเป็นนักศึกษาด้านวิศวกรรมการบิน เขาระดมทุนทางสาธารณะผ่านระบบคลาวด์ได้เงินประมาณ 2.2 […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ยาฆ่าหญ้าทำลายชีวิตผม

“ผมเจ็บปวดทรมานมาก มันกำลังพรากทุกอย่างไปจากผม ผมจะไม่มีวันดีขึ้น…ยาฆ่าหญ้าทำลายชีวิตผม ถ้าผมรู้ว่ามันอันตราย ผมจะไม่มีวันฉีดพ่นมันบนสนามของโรงเรียน…มันผิดจริยธรรม” ดีเวน จอห์นสันอดีตคนงานในโรงเรียนแห่งหนึ่งแถลงต่อศาลซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา จอห์นสันเข้ามาทำงานที่โรงเรียนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 เขามีหน้าที่ฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าที่สนามโรงเรียน เขาบอกว่าแม้จะสวมเครื่องป้องกันอย่างแน่นหนา แต่ก็มักจะสัมผัสกับราวด์อัพและแรงเยอร์โปรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลิตภัณฑ์ไกลโฟเสตทั้งคู่เป็นของมอนซานโต้ เขาถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเมื่อปีพ.ศ.2557 และเชื่อว่าการสัมผัสกับยาฆ่าหญ้าทำให้เขาป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว…ผิวหนังผุพองเป็นแผลไปทั่วร่างกาย “มันแย่มากทุกจุด” แพทย์บอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่กี่เดือน   ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยเพิ่งอนุญาตให้มีการนำเข้ายาฆ่าหญ้า 3 ชนิดคือพาราควอต และไกลโฟเสตต่อไป เมื่อพฤษภาคมนี้ และบริษัทเบเยอร์เข้าซื้อกิจการมอนซานโต้ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ไกลโฟเสตรายใหญ่ของโลกเมื่อมิถุนายน ก็มีข่าวใหญ่ระดับ “ปรากฎการณ์” ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อผู้พิพากษาแห่งศาลกลางซานฟรานซิสโกรับฟ้องคดีของดีเวน จอห์นสัน ซึ่งถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผู้พิพากษาอนุญาติให้มีการนำสืบประเด็นความเชื่อมโยงของราวด์อัพกับมะเร็ง และกรณีมอนซานโต้ปกปิดข้อมูลอันตรายและความเสี่ยงต่อสุขภาพของไกลโฟเสต คดีของจอห์นสันได้รับความสนใจจากทั่วโลกเมื่อผู้พิพากษาอนุญาตให้มีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวหลายร้อยรายและญาติของผู้ป่วยมะเร็งที่เสียชีวิตไปแล้วสามารถเสนอข้อมูลเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีนี้ได้ และอนุญาตให้นำเสนอเอกสารทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับไกลโฟเสต ซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าที่ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดทั่วโลก  โดยในศาลมีการเผยแพร่อีเมลภายในของมอนซานโต้ว่าบริษัทเพิกเฉยคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญ และเสาะหา “นักวิทยาศาสตร์ผี” มาวิเคราะห์และเขียนรายงานข้อดีของไกลโฟเสต การต่อสู้ครั้งนี้ที่มิใช่ต่อสู้ระหว่างภาคประชาชน แต่ยังเป็นการต่อสู้ระหว่างหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานด้านสุขภาพของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 คณะทำงานว่าด้วยการวิจัยเรื่องมะเร็ง (IARC) ขององค์การอนามัยโลกจัดให้ไกลโฟเสตเป็นสารที่ “อาจก่อมะเร็งในมนุษย์” และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค 22 ชนิด เช่น เบาหวาน ความดันสูง […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ตื่นเถิดชาวไทย…ขยะอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวการตรวจจับโรงงานลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่องเมื่อเร็วๆนี้ เป็นการปลุกให้สังคมไทยตื่นมารับรู้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลกจำนวนมหาศาลซ่อนอยู่ในบ้านเรานี้เอง เมื่อไม่นานมานี้องค์กรสิ่งแวดล้อมสากลเผยแพร่สารคดีชาวจีนและชาวอินเดียยากจนนั่งคัดแยกวัสดุมีค่าท่ามกลางกองขยะอิเลคทรอกนิกส์ที่สูงท่วมหัว ซึ่งเป็นภาพที่น่าอนาจใจ ทว่าเมื่อปีที่แล้วประเทศจีนตื่นตัวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงยุติการอนุญาตนำเข้าขยะอิเลกทรอนิกส์และขยะอันตรายจากทั่วโลก ดังนั้นขยะอิเลกทรอนิกส์ที่รอเคลื่อนย้ายจึงเปลี่ยนทิศทางมายังประเทศไทย และคนที่นั่งอยู่ท่ามกลางกองขยะดังกล่าวกลายเป็นคนไทยและแรงงานต่างชาติ   การคัดแยกของมีค่าจากขยะอิเลกทรอนิกส์เป็นธุรกิจที่หอมหวาน สหพันธ์การสื่อสารโทรคมนาคมสากล (ITU) คาดการณ์ว่า ในปีพ.ศ. 2559 การคัดแยกวัสดุมีค่าในขยะอิเลกทรอนิกส์ทั่วโลกมีมูลค่า 55,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท ทองคำแม้จะมีปริมาณน้อยสุดคือ 500 เมตริกตันแต่มีมูลค่าสูงสุดประมาณ 6.93 แสนล้านบาท พลาสติกปริมาณมากสุดคือ 12.2 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 5.77 แสนล้านบาท ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าในปีพ.ศ. 2559 ตลาดรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีมูลค่า 4,770 ล้านบาท และคาดว่าปี 2560 จะมีมูลค่าประมาณ 4,920-5,000 ล้านบาท โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ 1 ตันสร้างมูลค่าได้ 67,100 บาท อาจมีคำถามว่าหากเป็นธุรกิจที่หอมหวานจริง ทำไมประเทศต่างๆ จึงพยายามผลักดันขยะอิเลกทรอนิกส์ไปให้พ้นเขตแดนของตัวเอง คำตอบคือในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีมาตรฐานความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมและค่าแรงงานสูง การคัดแยก รีไซเคิล และการกำจัดขยะดังกล่าวมีต้นทุนสูงกว่าผลักภาระไปยังประเทศอื่นหลายเท่า  และต่อให้กำจัดดีอย่างไรก็ยังคงมีสารเคมีอันตรายตกค้างอยู่ในดินน้ำและอากาศอยู่นั่นเอง […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

พลาสติก…ในตัวเรา

สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าปัญหาขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาสากลและยิ่งใหญ่มากคือวันคุ้มครองโลกปีนี้เมื่อ 22 เมษายนที่ผ่านมามุ่งรณรงค์เรื่องขยะพลาสติก ส่วนวันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ วันที่ 5 มิถุนายนก็เน้นรณรงค์เรื่องมลพิษจากพลาสติกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีข่าวคราวเกี่ยวกับขยะพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย เช่น แพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิคมีขนาดเท่าประเทศฝรั่งเศสแล้ว ซึ่งใหญ่กว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ และประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่คิดว่าขยะเป็นเรื่องไกลตัว ทะเลและมหาสมุทรนั้นอยู่ห่างไกล ไม่อาจส่งผลกระทบกับการกินอยู่ของเราได้ นับว่าเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ขยะที่เราใช้และทิ้งไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่แปรรูปออกมาเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ สอดแทรกอยู่ในสิ่งแวดล้อม และย้อนกลับมาหาเราผ่านอาหารการกินของเรานั่นเอง ช่วง 2-3 ปีมานี้มีข่าวการวิจัยการปนเปื้อนพลาสติกในอาหารหลักของมนุษย์ออกมาเป็นระยะ ทั้งน้ำประปา เบียร์ เกลือ และสัตว์ทะเลล้วนมีพลาสติกจิ๋วหรือไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ทั้งสิ้น ต้นเมษายนที่ผ่านมา นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำประปา 159 ตัวอย่าง ใน 14 ประเทศ โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอย่างละครึ่ง พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 81 % ปนเปื้อนฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่ (98.3 %) เป็นเส้นใยพลาสติกขนาด 0.1-5 มิลลิเมตร เกินกว่าครึ่งของน้ำดื่มบรรจุขวดใช้น้ำประปาเป็นวัตถุดิบ จึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่าน้ำดื่มบรรจุขวดส่วนใหญ่ปนเปื้อนชิ้นส่วนจิ๋วจากพลาสติก โดยล่าสุดขององค์กรสื่อที่ไม่แสวงผลกำไรชื่อ Orb Media นำน้ำดื่มบรรจุขวดจากทั่วโลกจำนวน 11 ยี่ห้อ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

มหัศจรรย์…ต้นไม้พยากรณ์อากาศ

ต้นยางนา เหียง พะยอม และตะเคียนทองบอกว่าวันที่ 7, 21 เมษายน และ 18,28 พฤษภาคมนี้จะมีพายุฝนในภาคอีสาน ส่วนกรมอุตินิยมวิทยาบอกว่าหลังวันที่ 6 เมษายนนี้ กรุงเทพฯ และภาคกลาง และภาคอีสานจะมีพายุฤดูร้อนรุนแรง   ตรงกันโดยมิได้นัดหมาย!!!   ย้อนกลับไปเมื่อ  29 มีนาคม 2548 ขณะที่อาจารย์นพพร นนทภา นักวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนเเก่น ยืนอยู่ใต้ต้นยางนาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดอกยางนาก็หล่นลงมาบนศีรษะของเขา ในปีต่อมาดอกยางนาต้นเดิมหล่นในวันที่ 15 มีนาคม 2549 “ผมเอะใจว่าทำไมดอกไม้จากต้นไม้ต้นเดียวกันร่วงไม่ตรงกันในแต่ละปี ทำไมทุกครั้งที่ลูกยางนาร่วงจึงมีพายุฝน และตอนเรียนวิชาป่าไม้รู้ว่าไม้วงศ์ยางนากระจายพันธุ์ด้วยลม เลยตั้งคำถามว่าต้นไม้รู้จักวันฝนตกมั้ย จึงเริ่มเก็บข้อมูล” อาจารย์นพพรกล่าว จากการเก็บข้อมูลกว่า 10 ปีนำมาสู่ข้อสรุปว่า ต้นไม้สามารถรับรู้มวลอากาศล่วงหน้าได้ แล้ววางแผนออกดอกเพื่อให้ผลแก่จัดและร่วงจากต้นพอดิบพอดีกับวันฝนตก น้ำหลาก หรือพายุลมแรง ดังนั้นหากอยากรู้ว่าฝนจะตกมากหรือน้อย หรือมีพายุฝนเมื่อใด ก็สามารถดูจากได้ช่วงออกดอกจนถึงผลแก่จัดของต้นไม้ หากต้นไม้รู้ในโอกาสต่อมาว่าฝนจะไม่ตก ต้นไม้จะไม่ทิ้งดอกหรือผลไปโดยไม่ให้มีผลแก่บนต้น การออกดอกและการแก่ของผลและเมล็ดต้นไม้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นการวางแผนการดำรงเผ่าพันธุ์ล่วงหน้าของต้นไม้ต้นนั้นๆ !! […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ป่าต้นน้ำปิง ไร่กระเทียม พาราควอต

ปลายมกราคมที่ผ่านมา ฉันเดินเข้าป่ากับคณะธรรมยาตราต้นน้ำปิง—กลุ่มฆราวาสและพระประมาณ 60 ชีวิตที่มีภารกิจเดินป่าเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ—เริ่มต้นที่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ บ้านเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่นั่นฉันเห็นสวนกระเทียมสีเขียวสดลดหลั่นตามระดับพื้นดินกว้างไกลสุดสายตา แนวต้นไม้ใหญ่หนาทึบอยู่ลิบๆ นั่นคือเส้นแบ่งเขตประเทศไทยกับเมียนมาร์ “ปลูกกระเทียมหนึ่งรอบใช้เวลา 4 เดือน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าแมลงแบบผสมไปกับการให้น้ำทุก 4 วัน” ชาวสวนกระเทียมที่กำลัง “ให้ยา” ผสมไประบบน้ำฉีดพรมลงไปในแปลงกระเทียมให้ข้อมูล ผู้ร่วมทางของฉันซึ่งทำงานอยู่ในแวดวงสารเคมีเกษตรบอกว่าสารเคมีที่ใช้ในสวนกระเทียมเป็นสารเคมีชนิดดูดซึม ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “พาราควอต” และ “ไกลโฟเซต” 3 วันที่เดินลัดเลาะและลุยไปตามแม่น้ำปิง จากสวนกระเทียมสู่แนวป่า จากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่ง จากบริเวณต้นน้ำที่เป็นลำธารน้ำใสสายเล็กๆ บางช่วงสามารถกระโดดข้ามได้ ค่อยๆ ขยายกว้างขึ้น ช่วงต้นน้ำแม้น้ำใสสะอาดแต่ไม่มีสัตว์น้ำอย่างกุ้งหอยปูปลาหรือแมลงปอซึ่งเป็นสัตว์ที่บ่งบอกว่าน้ำมีคุณภาพดีปรากฎให้เห็น บางช่วงน้ำจากสวนกระเทียมไหลผ่านหญ้าที่เหี่ยวเฉาและไหม้เกรียม จนเมื่อเดินลึกเข้ามาในเขตป่าในวันที่สอง จึงเริ่มเห็นชาวบ้านขุดดินกลางแม่น้ำเพื่อวางเครื่องมือหาปลา ยามค่ำคืน คณะของพวกเราหยุดพักค้างคืนริมแม่น้ำปิง ล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พบเห็นช่วงที่เดินผ่านมา กลุ่มคนกรุงเทพและต่างถิ่นบอกเล่าถึงความประทับใจในธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำปิง ทว่า “ตุ๊ลุง” พระวัยเจ็ดสิบที่ทำงานรณรงค์รักษาป่าและแม่น้ำปิงมากว่า 20 ปีกลับบอกว่าสลดใจ เพราะเห็นความเสื่อมโทรมของแม่น้ำและป่าไม้เพิ่มขึ้นทุกปี ตุ๊ลุงเคยเห็นป่าสมบูรณ์ที่บริเวณชายแดนที่ค่อยๆ ผันเปลี่ยนเป็นชุมชน เริ่มจากชาวบ้าน 5 ครอบครัวแรก ขยายพื้นที่กลายเป็นวัดบ้านและสวนกระเทียมดังที่เห็น ส่วนป่าไม้ริมแม่น้ำปิงก็มีไร่สวนรุกคืบเข้ามาจนเกือบถึงแนวแม่น้ำ “เราล็อคคอชาวบ้านเป็นตัวประกัน ๆ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

โรงไฟฟ้าถ่านหิน ความเชื่อเก่าที่กำลังล่มสลาย

เมื่อไม่นานมานี้ฉันได้ฟังผู้บริหารระดับสูงของโรงไฟฟ้าหลายแห่งคุยกัน พวกเขาล้วนพูดตรงกันราวกับออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันว่าโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนนั้น “ดีแต่แพง” ซึ่งเป็นชุดข้อมูลเดียวกับที่หน่วยงานด้านพลังงานบอกกับสาธารณะ ปลายมกราคมเป็นช่วงที่บริษัททั่วโลกประกาศผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายและสรุปผลประกอบการของปีที่ผ่านมา ผลลัพธ์ที่แตะต้องได้ในรูปของผลประกอบของบริษัทพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้กลับตรงกันข้ามกับสิ่งที่คนในแวดวงพลังงานดั้งเดิมในบ้านเรากล่าวอ้าง ข้อมูลจากทั่วโลกล้วนเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันว่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนถูกลงเรื่อยๆ และในอีกไม่กี่ปีจะถูกกว่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าดั้งเดิมและสกปรกอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 30 มกราคม นิตยสารฟอร์บรายงานว่ายุคสมัยอันรุ่งโรจน์ของถ่านหินในอินเดียกำลังจะล่มสลายในไม่ช้า   2 ใน 3 ของโรงไฟฟ้าถ่านหินมีต้นทุนสูงกว่าโรงไฟฟ้ายุคใหม่อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงาน และสัดส่วนการใช้ถ่านหินในประเทศที่ในปี พ.ศ.2559-2560 มีสัดส่วนสูงถึง 80 % กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากต้นทุนไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนถูกลงครึ่งหนึ่งภายใน 2 ปี และจะยังคงต่ำลงเรื่อยๆ ปัจจุบันราคาขายส่งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมถูกกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเฉลี่ย 20 % และในการประมูลไฟฟ้าล่าสุดพบว่า 65 % ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขายไฟในอัตราที่สูงกว่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ภาพจาก: http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59851/ จุดสำคัญอยู่ที่เมื่อปีที่แล้ว (2016-2017) เป็นครั้งแรกที่การติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนล้ำหน้ากำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 2 เท่า และโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศอินเดียเกือบทุกโรงละเมิดกฎหมายมาตรฐานคุณภาพอากาศ โดยภายในปีพ.ศ. 2570 หรืออีก 10 ข้างหน้า หน่วยงานควบคุมกลางด้านการผลิตไฟฟ้าของอินเดียเสนอให้ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 50 กิกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 275 กิกะวัตต์ ซึ่งจะชดเชยด้วยพลังงานหมุนเวียน โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ที่ “แพงและสกปรก” เลย […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

มลพิษที่มากับสายลม

ท่ามกลางข่าวจับกุมชาวเทพา จังหวัดสงขลาที่เดินขบวนไปยืนหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดค้านการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่เมื่อเร็วๆนี้ และต่อมานักวิชาการ 35 รายในชื่อ “นักวิชาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ร่วมกันออกแถลงการณ์ยืนยันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสายวิศวกรรมและพลังงาน และไม่มีหน้าที่ศึกษาผลกระทบเชิงสุขภาพเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่อย่างใด (https://greennews.agency/?p=16008) งานวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหินชิ้นนี้ก็ปรากฎขึ้น ภาพจาก: ผู้จัดการ Online จุดสำคัญของรายงานนี้อยู่ที่การเปรียบเทียบผลกระทบด้านสุขภาพก่อนและหลังการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน และกล่าวถึงผลกระทบที่มีต่อคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้ลม ซึ่งรับมลพิษทางอากาศอย่างก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไปเต็มๆ ผลก็คือทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และคลอดก่อนกำหนด แต่เมื่อปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพียงหนึ่งปีครึ่ง ปัญหาดังกล่าวก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โรงไฟฟ้าถ่านหินพอร์ตแลนด์ตั้งอยู่ในเขตมลรัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งติดกับมลรัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ.2549 เป็นโรงไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นอันดับ 5 ของสหรัฐอเมริกา และถูกปิดตัวลงเมื่อ มิถุนายน 2557 เนื่องจากองค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) ระบุว่าเป็นแหล่งมลพิษแหล่งเดียวที่ทำลายคุณภาพอากาศด้านใต้ลมซึ่งตั้งอยู่ในเขตนิวเจอร์ซี่ และถือเป็นโครงการแรกที่พระราชบัญญัติอากาศสะอาดมีผลบังคับใช้เหนือกฎหมายระดับมลรัฐ กลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยลีไฮ (Lehigh University) ได้ทำการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพทั้งก่อนและหลังปิดโรงไฟฟ้า และเพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Economics and Management โดยเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนและหลังปิดระยะเวลาเท่ากันคือ 1.5 ปี สรุปได้ว่าภายหลังการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีระดับเกือบเป็นศูนย์ ปัญหาน้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ ลดลง 15 % และปัญหาการคลอดก่อนกำหนดลดลง 28 % ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่บริเวณพื้นที่ใต้ลม […]

Read More