Green Issues

Search Result for :

กินดีอยู่ดี
read

ความเชื่อโบราณ VS วิทยาศาสตร์

อยู่ ๆ ก็มีผู้ติดตามบทความของผู้เขียนมาตลอดตั้งคำถามว่า ข้อมูลจากบทความหนึ่งชื่อ “เกือบเอาชีวิตไม่รอด ห้ามกินคู่กันเด็ดขาด มีพิษร้ายแรงเทียบเท่าสารหนู” ซึ่งลงไว้ในเว็บไทยเว็บหนึ่งในอินเตอร์เน็ทเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2018 (โดยมีคำบรรยายต่อว่า “ยังดีที่มา รพ. ทัน ไม่งั้นอาจถึงแก่ชีวิตได้? แพทย์เผยสาเหตุ..ของหญิงวัย 30 ที่ป่วยอยู่..แล้วกินกล้วยกับของเหล่านี้เข้าไปคู่กันโดยคาดไม่ถึงว่ามันจะอันตรายขนาดนี้?”) เป็นบทความที่น่าเชื่อหรือไม่ เพราะดูค่อนข้างแปลก รายละเอียดต่อจากหัวข้อข่าวกล่าวว่า “….หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากล้วยหอมห้ามกินกับอะไรบ้าง เหมือนกับผู้ป่วยรายนี้ที่รับประทานกล้วยกับโยเกิร์ตเข้าไปพร้อมกัน พอเวลาผ่านไปสักพัก เขาเริ่มเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงจนทนไม่ไหว ทางบ้านจึงรีบพาส่ง รพ. แพทย์รีบเช็คดูอาการแล้วจึงรีบล้างท้องโดยด่วน พร้อมเผยว่าหญิงวัย 30 รายนี้ได้รับประทานอะไรเข้าไปหรือป่าว หญิงรายนี้เลยบอกแค่ว่าเขา รับประทานแค่กล้วยกับโยเกิร์ตเข้าไป แต่ไม่คิดว่าจะปวดท้องมากขนาดนี้…”   ท่านผู้อ่านบางคนอาจเคยพบบทความในลักษณะข้างต้นนี้มาบ้างพอควร ซึ่งเมื่ออ่านแล้วหลายคนก็คงผ่านไป แต่บางคนอาจคิดต่อว่า ทำไมมันถึงเป็นเช่นที่กล่าวในบทความ โดยเฉพาะเมื่อมีข้อความเหมือนหวังดีเพิ่มเติมว่า “….กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับโยเกิร์ตเพราะการรับประทานพร้อมกันจะผลิตสารก่อมะเร็งได้ง่าย กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับมันฝรั่งเพราะถ้ากินด้วยกันจะเกิดกระและผื่นแดงที่ข้างจมูก (ผื่นปีกผีเสื้อ) กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับเผือกเพราะกินด้วยกันจะทำให้ท้องอืด กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับเนื้อวัวเพราะกินด้วยกันจะทำให้ปวดท้อง กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับมันเทศเพราะกินด้วยกันจะเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ไม่พึงประสงค์ทำให้ร่างกายไม่สบาย เป็นต้น…..” ลักษณะข้อมูลดังกล่าวนั้นดูน่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของของกล้วยหอมและเรื่องของโยเกิร์ต ซึ่งบางคนกินแยกกันและบางคนกินผสมกัน (โดยเฉพาะฝรั่งหลายชาติอาจปั่นเป็น smoothie ดังปรากฏเป็นสูตรอาหารเช้าในเน็ทเมื่อใช้คำว่า banana […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

มหัศจรรย์…ต้นไม้พยากรณ์อากาศ

ต้นยางนา เหียง พะยอม และตะเคียนทองบอกว่าวันที่ 7, 21 เมษายน และ 18,28 พฤษภาคมนี้จะมีพายุฝนในภาคอีสาน ส่วนกรมอุตินิยมวิทยาบอกว่าหลังวันที่ 6 เมษายนนี้ กรุงเทพฯ และภาคกลาง และภาคอีสานจะมีพายุฤดูร้อนรุนแรง   ตรงกันโดยมิได้นัดหมาย!!!   ย้อนกลับไปเมื่อ  29 มีนาคม 2548 ขณะที่อาจารย์นพพร นนทภา นักวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนเเก่น ยืนอยู่ใต้ต้นยางนาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดอกยางนาก็หล่นลงมาบนศีรษะของเขา ในปีต่อมาดอกยางนาต้นเดิมหล่นในวันที่ 15 มีนาคม 2549 “ผมเอะใจว่าทำไมดอกไม้จากต้นไม้ต้นเดียวกันร่วงไม่ตรงกันในแต่ละปี ทำไมทุกครั้งที่ลูกยางนาร่วงจึงมีพายุฝน และตอนเรียนวิชาป่าไม้รู้ว่าไม้วงศ์ยางนากระจายพันธุ์ด้วยลม เลยตั้งคำถามว่าต้นไม้รู้จักวันฝนตกมั้ย จึงเริ่มเก็บข้อมูล” อาจารย์นพพรกล่าว จากการเก็บข้อมูลกว่า 10 ปีนำมาสู่ข้อสรุปว่า ต้นไม้สามารถรับรู้มวลอากาศล่วงหน้าได้ แล้ววางแผนออกดอกเพื่อให้ผลแก่จัดและร่วงจากต้นพอดิบพอดีกับวันฝนตก น้ำหลาก หรือพายุลมแรง ดังนั้นหากอยากรู้ว่าฝนจะตกมากหรือน้อย หรือมีพายุฝนเมื่อใด ก็สามารถดูจากได้ช่วงออกดอกจนถึงผลแก่จัดของต้นไม้ หากต้นไม้รู้ในโอกาสต่อมาว่าฝนจะไม่ตก ต้นไม้จะไม่ทิ้งดอกหรือผลไปโดยไม่ให้มีผลแก่บนต้น การออกดอกและการแก่ของผลและเมล็ดต้นไม้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นการวางแผนการดำรงเผ่าพันธุ์ล่วงหน้าของต้นไม้ต้นนั้นๆ !! […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ทราบแล้วเปลี่ยน! ดอยอินทนนท์

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี นักดูนกและนักนิยมธรรมชาติแขนงต่างๆ มีนัดกันที่ดอยอินทนนท์ในงาน Inthanond Census จัดโดยชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ด้วยพลังความร่วมมือจากจิตอาสาที่มีความรู้และทักษะจำนวนหลักร้อยคนทั่วประเทศ จุดประสงค์คือร่วมลงแขกแยกย้ายกันสำรวจข้อมูลนกและความหลากหลายทางชีวภาพด้านอื่นๆ ที่ถนัด เพื่อติดตามเฝ้าระวังตรวจสุขภาพธรรมชาติดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย แหล่งระบบนิเวศไม่ธรรมดา บ้านของพืชและสัตว์หายาก หลายชนิดเป็นพันธุ์เฉพาะถิ่น ไม่พบที่อื่นใดในโลก ปีนี้ ทีมนักสืบสายน้ำจากมูลนิธิโลกสีเขียวได้ขึ้นไปสำรวจสุขภาพของสายน้ำในย่านบ้านขุนวาง บ้านขุนวางตั้งอยู่ใกล้ๆ กับที่ทำการอุทยานฯ ในระดับความสูงราว 1,400 เมตรเหนือน้ำทะเล เดิมเป็นไร่ฝิ่นชาวม้ง แต่เมื่อปี 2525 ได้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางขึ้นมาตามพระราชดำริ เป็นสถานีทดลองและขยายพันธุ์พืชเกษตรบนที่สูง ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจแทนฝิ่น ตั้งแต่พืชผัก ไม้ดอก ไม้ผลเมืองหนาว จนถึงปัจจุบันมีการเลี้ยงปลาเมืองหนาวราคาดีอย่างปลาทร้าวท์และปลาสเตอร์เจียนตัวผลิตไข่ปลาคาเวียร์ โครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เมื่อ 36 ปีก่อน แต่ถึงวันนี้แล้ว เราควรจะดูด้วยไหมว่ากิจกรรมเหล่านั้นส่งผลกระทบอะไรต่อธรรมชาติแวดล้อม เริ่มด้วยสำรวจคุณภาพน้ำ เราลงสำรวจทั้งหมดสามจุด ได้แก่ 1) บริเวณใต้น้ำตกสิริภูมิ ก่อนไหลลงสู่พื้นที่แปลงเกษตร จุดนี้จะใช้เป็นจุดอ้างอิงของคุณภาพน้ำตามธรรมชาติในบริเวณนั้น 2) บริเวณใต้น้ำที่ไหลผ่านแปลงเพาะปลูก ก่อนจะไหลลงสู่โซนบ่อเลี้ยงปลาทร้าวท์ และ 3) บริเวณท้ายน้ำใต้บ่อเลี้ยงปลาทร้าวท์ ผลสำรวจจุดที่ 2 และ 3 เปรียบเทียบกับจุดเหนือน้ำจะแสดงถึงผลกระทบจากกิจกรรมนั้น […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

มุสาผู้บริโภคต้องเจอดี

สหรัฐอเมริกานั้นเป็นประเทศที่มีระบบการให้สิทธิและอำนวยเสรีภาพแก่ผู้บริโภคอย่างเต็มที่ ใครที่คิดจะหากินด้วยการหลอกลวงขายสินค้าไร้สาระนั้น ประเทศนี้ยินดีเชิญชวนให้เข้าทำกิจการ เพียงแต่อย่างให้มีผู้บริโภคหรือนักร้อง (เรียน) คนใดทนไม่ไหวนำเรื่องส่งถึงศาลว่า มีการโฆษณาโดยไม่มีหลักฐานว่าเป็นจริง เมื่อนั้นผู้ทำการค้าแบบไม่สุจริตจะพบความจริงว่า การลงโทษนั้นมีจริงบนโลกนี้ บทความนี้จะยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในประเทศที่มีการบริหารเสรีภาพอย่างสุด ๆ และมีการบังคับใช้กฏหมายแบบไม่มีการยกเว้น (ต่างจากบางประเทศที่พัฒนาแล้วได้เท่าที่เป็น เพราะพัฒนาต่อไปไม่ไหวแล้ว) โดยเรื่องราวต่อไปนี้สอนให้รู้ว่า จะโฆษณาขายสินค้าแบบมั่ว ๆ ในสหรัฐอเมริกาไม่ได้นะ เพราะประเทศนี้ก็มีนักร้อง (เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคและบริโภค) ระดับชาติเหมือนบางประเทศทางเอเชีย (ที่คอยร้องเรียนพฤติกรรมมั่วซั่วทางการเมือง) และศาลอเมริกันนั้นเอาจริงเสมอถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับละเมิดผลประโยชน์ของผู้บริโภค โฆษณารองเท้าวิเศษ เรื่องแรกที่ขอนำมาบอกเล่าเพื่อเปรียบเทียบว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นในบ้านเราหรือไม่คือ มีบริษัทหนึ่งขายรองเท้าโดยโฆษณาว่าเป็น “รองเท้าที่ใส่แล้วเหมือนวิ่งด้วยเท้าเปล่า” โดยรองเท้านี้ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณเท้าและขาช่วงล่าง ปรับปรุงการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสมดุลและความว่องไว ช่วยให้เท้าและลำตัวเคลื่อนที่ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษของรองเท้านี้คือ มันต่างจากรองเท้ายี่ห้ออื่นที่โด่งดังในวงการวิ่งทั้งหลายตรงที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างเหมือนมีนิ้วเท้าห้านิ้วและส้นค่อนข้างบางมาก (FiveFingers shoes) นัยว่าเมื่อใส่แล้วเหมือนไม่ได้ใส่   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นและอินเทรนด์มาเมื่อหลายปีมาแล้วในสหรัฐอเมริกา มีการประเมินว่าอาจมีลูกค้าถึง 70 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงินซื้อในราคาคู่ละเกือบ 100 เหรียญดอลลาห์สหรัฐ แต่สุดท้ายก็มีนักร้อง (เรียน) ชาวอเมริกันคนหนึ่งเอาเรื่องถึงศาลว่า บริษัทเหมือนทำโฆษณาแบบไม่ได้ใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาประกอบในการโฆษณามั่วซั่วเกี่ยวกับสุขภาพเท้าของประชาชน อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์สุขภาพบางคนกล่าวว่า รองเท้าประหลาดนี้อาจทำให้สุขภาพเท้าเสื่อมได้เมื่อใส่วิ่ง สุดท้ายในปี 2012 บริษัทจึงถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าปรับให้กับทางการคือ กระทรวงพาณิชย์ (Federal Trade Commission) […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

From Russia with Love

จั่วหัวชื่อบทความนี้ คงมีแต่คนยุคสงครามเย็นจะเข้าใจ มันเป็นชื่อหนังเจมส์บอนด์ยุค ฌอน คอนเนอรี่ คนรุ่นแฟนฌอน คอนเนอรี่มีความทรงจำที่ไม่ค่อยจะดีนักต่อรัสเซีย จำได้ว่าครั้งแรกที่เดินทางไปเยี่ยมญาติที่อังกฤษ แม่พาขึ้นเรือบินแอโรฟลอตของรัสเซีย เพราะมันราคาถูกที่สุดในยุค 70s แอร์ดุมาก เสริฟอาหารตี 2 ใช้ถาดที่ถือมาเคาะหัวผู้โดยสารปลุกให้ตื่นขึ้นมากิน โขกถาดลงตรงหน้า สั่งคำเดียวว่า “Eat!” เราต้องรอ 24 ชั่วโมงเพื่อเปลี่ยนเครื่องที่รัสเซีย เขาบริการพาเราไปกักไว้ในโรงแรม ห้ามออกจากห้องนอน มีคนเฝ้าดุๆ หน้าลิฟท์แต่ละชั้น คอยตะโกน “Back!” ถ้าเราโผล่หัวออกมาจากห้อง ถึงเวลาอาหารจึงมาเคาะประตู “Eat!” จัดผู้โดยสารเดินเรียงแถวไปห้องอาหารในชั้นนั้น เสริฟซุปจืดๆ พร้อมขนมปังแข็งกัดไม่เข้า กินเสร็จก็เดินเรียงแถวกลับเข้าห้องนอนจนถึงเวลาบิน ความเกร็งต่ออำนาจหลังม่านเหล็กและขนมปังแข็งมันฝังใจ หลายสิบปีต่อมา เมื่อคิดจะไปเยือนรัสเซียต้นเดือนธันวากลางฤดูหนาวเหน็บ ให้มันรู้ไปว่านโบเลียนแพ้หิมะรัสเซียอย่างไร เราจึงออกจะเกร็ง แม้ว่าปัจจุบันนักท่องเที่ยวไทยจะเข้ารัสเซียได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า แต่ชาวพันทิปก็เตือนกันไว้ว่าอย่าได้วางใจ จงเตรียมเอกสารสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศภาษารัสเซียไปด้วย พร้อมกับใบโน่นนี่จากโรงแรมที่พัก แต่เมื่อไปถึงจริงๆ แล้ว อคติดั้งเดิมทั้งหมดก็ลบเลือนไป รัสเซียในวันนี้เปลี่ยนไปมาก อาหารอร่อยและถูก โดยเฉพาะซุปบ้านๆ (ซึ่งไม่เข้าใจว่าทำไมโรงแรมของแอโรฟลอตไม่ให้เรากิน) เบียร์ท้องถิ่นและไวน์จากจอร์เจียดีงามสามภพ พิพิธภัณฑ์เลิศระดับโลก ผู้คนอัธยาศัยดี โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ยินดีช่วยเหลือบริการ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ป่าต้นน้ำปิง ไร่กระเทียม พาราควอต

ปลายมกราคมที่ผ่านมา ฉันเดินเข้าป่ากับคณะธรรมยาตราต้นน้ำปิง—กลุ่มฆราวาสและพระประมาณ 60 ชีวิตที่มีภารกิจเดินป่าเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ—เริ่มต้นที่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ บ้านเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่นั่นฉันเห็นสวนกระเทียมสีเขียวสดลดหลั่นตามระดับพื้นดินกว้างไกลสุดสายตา แนวต้นไม้ใหญ่หนาทึบอยู่ลิบๆ นั่นคือเส้นแบ่งเขตประเทศไทยกับเมียนมาร์ “ปลูกกระเทียมหนึ่งรอบใช้เวลา 4 เดือน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าแมลงแบบผสมไปกับการให้น้ำทุก 4 วัน” ชาวสวนกระเทียมที่กำลัง “ให้ยา” ผสมไประบบน้ำฉีดพรมลงไปในแปลงกระเทียมให้ข้อมูล ผู้ร่วมทางของฉันซึ่งทำงานอยู่ในแวดวงสารเคมีเกษตรบอกว่าสารเคมีที่ใช้ในสวนกระเทียมเป็นสารเคมีชนิดดูดซึม ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “พาราควอต” และ “ไกลโฟเซต” 3 วันที่เดินลัดเลาะและลุยไปตามแม่น้ำปิง จากสวนกระเทียมสู่แนวป่า จากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่ง จากบริเวณต้นน้ำที่เป็นลำธารน้ำใสสายเล็กๆ บางช่วงสามารถกระโดดข้ามได้ ค่อยๆ ขยายกว้างขึ้น ช่วงต้นน้ำแม้น้ำใสสะอาดแต่ไม่มีสัตว์น้ำอย่างกุ้งหอยปูปลาหรือแมลงปอซึ่งเป็นสัตว์ที่บ่งบอกว่าน้ำมีคุณภาพดีปรากฎให้เห็น บางช่วงน้ำจากสวนกระเทียมไหลผ่านหญ้าที่เหี่ยวเฉาและไหม้เกรียม จนเมื่อเดินลึกเข้ามาในเขตป่าในวันที่สอง จึงเริ่มเห็นชาวบ้านขุดดินกลางแม่น้ำเพื่อวางเครื่องมือหาปลา ยามค่ำคืน คณะของพวกเราหยุดพักค้างคืนริมแม่น้ำปิง ล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พบเห็นช่วงที่เดินผ่านมา กลุ่มคนกรุงเทพและต่างถิ่นบอกเล่าถึงความประทับใจในธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำปิง ทว่า “ตุ๊ลุง” พระวัยเจ็ดสิบที่ทำงานรณรงค์รักษาป่าและแม่น้ำปิงมากว่า 20 ปีกลับบอกว่าสลดใจ เพราะเห็นความเสื่อมโทรมของแม่น้ำและป่าไม้เพิ่มขึ้นทุกปี ตุ๊ลุงเคยเห็นป่าสมบูรณ์ที่บริเวณชายแดนที่ค่อยๆ ผันเปลี่ยนเป็นชุมชน เริ่มจากชาวบ้าน 5 ครอบครัวแรก ขยายพื้นที่กลายเป็นวัดบ้านและสวนกระเทียมดังที่เห็น ส่วนป่าไม้ริมแม่น้ำปิงก็มีไร่สวนรุกคืบเข้ามาจนเกือบถึงแนวแม่น้ำ “เราล็อคคอชาวบ้านเป็นตัวประกัน ๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ภาพบาดตา

เปล่านะ ผู้เขียนไม่ได้จะพูดเรื่องของใครไปเห็นใครทำอะไรไม่ดีไม่งามที่ไหน แต่เป็นภาพบาดตาที่ผู้เขียนต้องเจอตามข้างถนนอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่ปลายปี 2017 ที่ผ่านมา พบว่าจากบ้านของผู้เขียนไปยังโรงเรียนของลูกชาย อันมีระยะทางราวๆ 5 กิโลเมตรนั้น มี “ภาพบาดตา” เกิดขึ้นถึง 3 แห่ง ก็เจ้าป้ายโฆษณาแบบระบบทีวีดิจิตอลใหญ่เบิ้มเหล่านั้น ออกอิทธิฤทธิ์เปล่งแสงกันสนั่นลั่นจอเหมือนดูสตาร์วอร์เลยทีเดียว ป้า เอ๊ย ผู้เขียนคงไม่บ่นอะไรมาก หากว่ามันอยู่ในที่ในทางและเปล่งพลังกันพอตัว ตอนเช้าที่ขับรถส่งเด็กๆ ไปโรงเรียน ท้องฟ้ายังคงมืดมิดอยู่ เพราะนาฬิกาที่มาเลเซียนี่เร็วกว่าท้องฟ้าจริง (ตามความเคยชินของสาวไทย) ไปหนึ่งชั่วโมง แสงที่เจิดจ้าออกมาจากป้ายโฆษณา จึงบาดตาคนขับขี่กว่าปกติ โดยเฉพาะป้ายหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เรี่ยกับพื้นและเป็นช่วงทางโค้ง เวลาที่ขับรถลงมาจากสะพานข้ามสามแยก จะเผชิญหน้ากันจังๆ กับคนขับรถพอดี ในทางการโฆษณา ป้ายนี้ถือว่าอยู่ในจุดยุทธศาสตร์แน่ๆ เห็นกันชัดๆ แต่สำหรับผู้เขียน มันกลับทำให้ต้องตกอยู่ในสภาพตาบอดไฟไปสิบวินาที ก่อนที่จะสามารถปรับสายตาเพ่งมองรถข้างหน้าและรถที่เข้ามาเทียบข้างๆ จากเลนคู่ขนานสะพาน ยิ่งถ้าเป็นช่วงที่โฆษณาสีสดๆ แบบสีเหลืองจ๋อยทั้งจอโผล่ขึ้นมาพอดีด้วยแล้ว ยิ่งทรมานเหลือเกิน เคยนึกอยู่เสมอว่า ป้าย LED น่าจะดีกว่าป้ายไวนิล เพราะในด้านของการผลัดเปลี่ยนโฆษณาแต่ละชนิดมีความถี่กี่ครั้งก็ได้แล้วแต่ราคาที่ตกลงกัน ส่วนการนำเสนอออกสู่สายตาผู้บริโภค ก็เพียงแต่ตั้งโปรแกรมให้โฆษณาขึ้นบ่อยครั้งตามที่ตกลง ภาพจาก: http://punestartups.org/forum/topics/led-display-advertising-in-pune ในขณะที่ป้ายไวนิล ทำมาจากส่วนผสมของพลาสติกกับคลอรีน มีชื่อเต็มๆ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

โรงไฟฟ้าถ่านหิน ความเชื่อเก่าที่กำลังล่มสลาย

เมื่อไม่นานมานี้ฉันได้ฟังผู้บริหารระดับสูงของโรงไฟฟ้าหลายแห่งคุยกัน พวกเขาล้วนพูดตรงกันราวกับออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันว่าโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนนั้น “ดีแต่แพง” ซึ่งเป็นชุดข้อมูลเดียวกับที่หน่วยงานด้านพลังงานบอกกับสาธารณะ ปลายมกราคมเป็นช่วงที่บริษัททั่วโลกประกาศผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายและสรุปผลประกอบการของปีที่ผ่านมา ผลลัพธ์ที่แตะต้องได้ในรูปของผลประกอบของบริษัทพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้กลับตรงกันข้ามกับสิ่งที่คนในแวดวงพลังงานดั้งเดิมในบ้านเรากล่าวอ้าง ข้อมูลจากทั่วโลกล้วนเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันว่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนถูกลงเรื่อยๆ และในอีกไม่กี่ปีจะถูกกว่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าดั้งเดิมและสกปรกอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 30 มกราคม นิตยสารฟอร์บรายงานว่ายุคสมัยอันรุ่งโรจน์ของถ่านหินในอินเดียกำลังจะล่มสลายในไม่ช้า   2 ใน 3 ของโรงไฟฟ้าถ่านหินมีต้นทุนสูงกว่าโรงไฟฟ้ายุคใหม่อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงาน และสัดส่วนการใช้ถ่านหินในประเทศที่ในปี พ.ศ.2559-2560 มีสัดส่วนสูงถึง 80 % กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากต้นทุนไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนถูกลงครึ่งหนึ่งภายใน 2 ปี และจะยังคงต่ำลงเรื่อยๆ ปัจจุบันราคาขายส่งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมถูกกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเฉลี่ย 20 % และในการประมูลไฟฟ้าล่าสุดพบว่า 65 % ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขายไฟในอัตราที่สูงกว่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ภาพจาก: http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59851/ จุดสำคัญอยู่ที่เมื่อปีที่แล้ว (2016-2017) เป็นครั้งแรกที่การติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนล้ำหน้ากำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 2 เท่า และโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศอินเดียเกือบทุกโรงละเมิดกฎหมายมาตรฐานคุณภาพอากาศ โดยภายในปีพ.ศ. 2570 หรืออีก 10 ข้างหน้า หน่วยงานควบคุมกลางด้านการผลิตไฟฟ้าของอินเดียเสนอให้ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 50 กิกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 275 กิกะวัตต์ ซึ่งจะชดเชยด้วยพลังงานหมุนเวียน โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ที่ “แพงและสกปรก” เลย […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เมื่อคิดลดน้ำหนัก

การโกหก การคิดเอาเองแล้วบอกว่าใช่ และการจับแพะชนแกะ เพื่อขายอาหารหรืออุปกรณ์ที่อุปโหลกเอาเองว่า ทำให้คนมีสุขภาพดีโดยเฉพาะเกี่ยวกับการลดน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั้งในโทรทัศน์ดิจิตอลไปถึงอินเตอร์เน็ท ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีวิธีอะไรที่ทำให้น้ำหนักตัวลดได้ง่าย ส่วนใหญ่ที่ออกมาพูดกันนั้นอาจได้ผลเฉพาะกับตัวผู้พูด แต่ไม่ได้ผลกับคนอื่นซึ่งมีความแตกต่างตั้งแต่พันธุกรรมไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความยากได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อคำนึงถึงเศรษฐานะ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรที่ทำให้การลดน้ำหนักของแต่ละคนกลายเป็นเรื่องยากอย่างไม่น่าเชื่อ Alexandra Sifferlin ได้เขียนบทความเรื่อง “9 Myth About Weight Loss” เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2017 ในวารสารออนไลน์ TIME Health ซึ่งบรรยายถึงความอึมครึม (Myth) เกี่ยวกับความเชื่อบางประการในการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและอื่น ๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันได้พยายามหาคำอธิบายถึงความเชื่อนั้น ๆ ว่า จริงหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนขอเลือกประเด็นที่น่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ซึ่งกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่มาเล่าให้ฟัง ภาพจาก: https://www.organicbook.com/food ความอึมครึมเรื่องแรกคือ เป็นไปไม่ได้ที่จะลดน้ำหนักตัว (เพราะผู้กล่าวนั้นทำไม่ได้ผลมาแล้ว) สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าไปคุยกับผู้ที่เคยพยายามลดน้ำหนักแล้วไม่สำเร็จจะได้ยินคำสารภาพว่า การลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็น ดั่งเข็นครกขึ้นภูเขา ทั้งที่ความจริงแล้วการศึกษาทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสามารถทำได้จริง องค์กรเอกชนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาคือ National Weight Control Registry ซึ่งก่อตั้งในปี 1994 โดย ดร. Rena Wing […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ประชาชนนั้นโดดเดี่ยว

เมื่อวันพุธ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปร่วมออกรายการสถานีประชาชนของไทยพีบีเอส กับเครือข่ายชุมชนซอยย่านพญาไทผู้ประสบปัญหาผลกระทบจากคอนโดจำนวนมากกว่า 20 หลัง โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานรัฐร่วมรายการ ปัญหาที่ชุมชนเขตพญาไทเจอนับเป็นปัญหาคลาสสิคที่ทุกชุมชนซอยเจอ และออกจะเข้มข้นเป็นพิเศษเพราะซอยขนาดเล็กเชื่อมต่อกันเยอะ จำนวนคอนโดหนาแน่น กระทบบ้านเดิมหลายร้อยหลังคาเรือน ตั้งแต่บ้านพังถึงขั้นต้องรื้อทิ้ง ไหนจะรถติดวินาศสันตะโร น้ำท่วมผิดปกติเมื่อคอนโดสูงพากันระบายน้ำออกมา ไหนจะความร้อนระอุที่เพิ่มขึ้นจากมวลคอนกรีต ฯลฯ หลายคอนโดขนาดใหญ่โตเทียบกับขนาดถนนเล็กแคบ จนสงสัยว่าทำไมจึงอนุญาตให้สร้างได้ มันเป็นปัญหาทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้นกลางกรุงทั่วไปหมด สมควรหยิบยกมาเป็นวาระปัญหาแห่งเมือง ทางชุมชนพญาไท ภายใต้นาม “กลุ่มอนุรักษ์พญาไท” จึงได้ทำเรื่องร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อตรวจสอบปรากฎการณ์นี้อย่างจริงจัง ดิฉันไปร่วมรายการในฐานะตัวแทนชุมชนสุขุมวิท 28-30 ผู้รับผลกระทบจากคอนโดเช่นกัน ทั้งย่านพญาไทและย่านสุขุมวิทอยู่ในโซนผังเมืองสีน้ำตาล คือโซนที่กำหนดให้เป็นเขตอยู่อาศัยหนาแน่น ดิฉันก็บอกว่าเราเข้าใจเจตนาของโซนสีน้ำตาล ว่าต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองกระชับ (compact city) ใช้พื้นที่และทรัพยากรจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในความกระชับจะต้องไม่อึดอัดอุดตัน โครงสร้างเมืองและสาธารณูปโภครองรับได้ ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ทั้งชาวบ้านผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมและชาวคอนโดผู้มาใหม่ นั้นหมายความว่าอาคารใหญ่และคอนโดทั้งหลายต้องไม่โยนปัญหาออกมาข้างนอก แต่ความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้นเลย เราพยายามพึ่งพากฎหมาย แต่ก็พบข้อจำกัดหลายประการ เป็นต้นว่า นิยามกฎหมายไม่ชัดเจน กฎหมายระบุความกว้างของ “เขตทาง” แทนพื้นผิวจราจร ซอยที่มีพื้นถนนแค่สองเลนรวม 4.5 เมตร แต่มีพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้ใหญ่ริมทางอย่างซอยบ้านเรา ก็ถูกตีความว่า “เขตทาง” […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ปวดหัวเรื่องเข่าปวด

ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาเกี่ยวกับเข่าเมื่อต้องนั่งทำงานนาน ๆ โดยต้องตั้งหลักให้มั่นคงขณะยืนขึ้นก่อนออกเดิน อาการนี้มีผู้แนะนำว่าทุเลาได้โดยการเล่นกีฬาที่ใช้ขาซึ่งรวมถึงการถีบจักรยาน ซึ่งผลตอบแทนที่ได้นั้นดูน่าพอใจในระหว่างเวลานั้น ๆ แต่เมื่อใดที่ต้องสอนหนังสือ เขียนบทความ หรือนั่งดูโทรทัศน์ ก็ยังปรากฏว่ามีอาการติดขัดบ้างพอสมควร ผู้เขียนจึงได้พยายามหาทางบรรเทาอาการดังกล่าวด้วยการนวดน่องและเข่าเมื่อรู้สึกเมื่อย นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำให้กินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดหนึ่งคือ กลูโคซามีน ซึ่งผู้เขียนไม่ใคร่เต็มใจเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างแพงและเบิกในส่วนค่ารักษาพยาบาลไม่ได้   ตำราชีวเคมีกล่าวว่า กลูโคซามีน เป็นสารชีวเคมีธรรมชาติที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกสัตว์ตระกูลหอย กระดูกสัตว์ ไขกระดูก และราบางชนิด (ซึ่งมนุษย์ใช้ให้สังเคราะห์กลูโคซามีนจากข้าวโพดเพื่อขายแก่ผู้บริโภคที่เป็นมังสะวิรัติ) ในร่างกายมนุษย์สารชีวเคมีนี้ปรากฏอยู่ในรูปของกลูโคซามีน-6-ฟอสเฟต โดยทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารชีวเคมีอื่นในกลุ่มที่เป็นน้ำตาลชนิดที่มีอะตอมไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของโมเลกุล (nitrogen-containing sugars) ร่างกายใช้กลูโคซามีนในการสังเคราะห์ ไกลโคอะมิโนไกลแคน (มีลักษณะเป็นมูกที่อุ้มน้ำได้ดี ทำหน้าที่หล่อลื่นข้อต่อในร่างกาย) โปรตีนโอไกลแคน (โมเลกุลขนาดใหญ่ของสารประกอบโปรตีนที่ต่อเชื่อมกับสายของน้ำตาลที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ทำหน้าที่เป็นสารชีวเคมีที่เติมช่องว่างเสมือนกาวยึดระหว่างเซลล์) และไกลโคลิปิด (เป็นสารชีวเคมีโมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากการต่อเชื่อมระหว่างน้ำตาลและไขมัน มีบทบาทด้านการคงความเสถียรของผนังเซลล์และการจดจำกันได้ของกลุ่มเซลล์ร่างกายเพื่อก่อให้เกิดเนื้อเยื่อขึ้นมา) นอกจากนี้ Wikipedia ยังกล่าวว่า กลูโคซามีนนั้นเป็นสารชีวเคมีที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เอ็นยึด (ligaments) กระดูกอ่อน (cartilage) เป็นต้น อีกทั้งในวงการเครื่องสำอางปัจจุบันมีการใช้กลูโคซามีนสังเคราะห์ในการฉีดให้ผิวเต่งตึงที่เรียกว่า ฉีดฟิลเลอร์ สมมุติฐานเกี่ยวกับประโยชน์ของกลูโคซามีนที่ถูกขายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกล่าวว่า ตัวโมเลกุลกลูโคซามีนนั้นถูกนำไปใช้สร้างน้ำหล่อลื่นข้อต่อต่าง ๆ ในขณะที่กลุ่มซัลเฟตที่ได้จากกลูโคซามีนซัลเฟตนั้นน่าจะมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์กระดูกอ่อนด้วย ซึ่งสมมุติฐานนี้ไปสนับสนุนผลของบางการศึกษาที่พบว่า กลูโคซามีนที่ได้ผลในการบำบัดอาการปวดข้อนั้นต้องอยู่ในรูปกลูโคซามีนซัลเฟตเท่านั้น ส่วนกลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์หรือเอ็นอะเซ็ตติลกลูโคซามีนซึ่งมีวางขายในท้องตลาดด้วยนั้น […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

มลพิษที่มากับสายลม

ท่ามกลางข่าวจับกุมชาวเทพา จังหวัดสงขลาที่เดินขบวนไปยืนหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดค้านการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่เมื่อเร็วๆนี้ และต่อมานักวิชาการ 35 รายในชื่อ “นักวิชาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ร่วมกันออกแถลงการณ์ยืนยันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสายวิศวกรรมและพลังงาน และไม่มีหน้าที่ศึกษาผลกระทบเชิงสุขภาพเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่อย่างใด (https://greennews.agency/?p=16008) งานวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหินชิ้นนี้ก็ปรากฎขึ้น ภาพจาก: ผู้จัดการ Online จุดสำคัญของรายงานนี้อยู่ที่การเปรียบเทียบผลกระทบด้านสุขภาพก่อนและหลังการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน และกล่าวถึงผลกระทบที่มีต่อคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้ลม ซึ่งรับมลพิษทางอากาศอย่างก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไปเต็มๆ ผลก็คือทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และคลอดก่อนกำหนด แต่เมื่อปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพียงหนึ่งปีครึ่ง ปัญหาดังกล่าวก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โรงไฟฟ้าถ่านหินพอร์ตแลนด์ตั้งอยู่ในเขตมลรัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งติดกับมลรัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ.2549 เป็นโรงไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นอันดับ 5 ของสหรัฐอเมริกา และถูกปิดตัวลงเมื่อ มิถุนายน 2557 เนื่องจากองค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) ระบุว่าเป็นแหล่งมลพิษแหล่งเดียวที่ทำลายคุณภาพอากาศด้านใต้ลมซึ่งตั้งอยู่ในเขตนิวเจอร์ซี่ และถือเป็นโครงการแรกที่พระราชบัญญัติอากาศสะอาดมีผลบังคับใช้เหนือกฎหมายระดับมลรัฐ กลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยลีไฮ (Lehigh University) ได้ทำการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพทั้งก่อนและหลังปิดโรงไฟฟ้า และเพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Economics and Management โดยเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนและหลังปิดระยะเวลาเท่ากันคือ 1.5 ปี สรุปได้ว่าภายหลังการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีระดับเกือบเป็นศูนย์ ปัญหาน้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ ลดลง 15 % และปัญหาการคลอดก่อนกำหนดลดลง 28 % ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่บริเวณพื้นที่ใต้ลม […]

Read More