Tag : ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์

คุยข่าวสีเขียว
read

“ไฟกำลังไหม้บ้านเรา”…เด็กๆร่ำไห้ เมื่อผู้ใหญ่ดูดาย

“ไฟกำลังไหม้บ้านเรา ฉันไม่อยากให้คุณรู้สึกมีความหวัง ฉันอยากให้คุณตื่นตระหนก ฉันอยากให้คุณรู้สึกถึงความกลัวที่ฉันรู้สึกทุกๆ วัน และดังนั้นฉันจึงขอให้คุณลงมือทำเสียที” เกรธา ทุนเบิร์ก (Greta Thunberg) เยาวชนวัย 16 ปีพูดในการประชุมเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอสเมื่อต้นมกราคม 2562 เกรธาเป็นที่เป็นที่รู้จักของชาวโลกมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เมื่อเธอตัดสินใจหยุดโรงเรียนทุกวันศุกร์เพื่อไปประท้วงเรื่องโลกร้อนที่หน้ารัฐสภาสวีเดนติดต่อกันหลายสัปดาห์เพื่อเรียกร้องให้พวกผู้ใหญ่หันมาแก้ปัญหาแทนการพูดคำสวยๆ และโยนความรับผิดชอบไปอยู่ในมือเด็กๆ อย่างพวกเธอ ภายใต้คำพูดดูดีว่า “เมื่อเด็กๆ โตขึ้น พวกเขาจะช่วยกู้โลก” ซึ่งเธอบอกว่า กว่าเด็กๆ อย่างพวกเธอจะเติบโตมาเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือคนวางนโยบายแก้ปัญหาโลกร้อน โลกก็ถึงจุดที่ย้อนกลับคืนไม่ได้แล้ว (Coppyright 2019 from – https://www.theguardian.com/) “การพูดสิ่งที่ฟังดูดี แต่ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย คุณไม่สามารถนั่งรอให้ความหวังมาหา ดังนั้นคุณก็ทำเหมือนเด็กถูกตามใจที่ไร้ความรับผิดชอบ ถ้าจะบอกว่าเราเสียเวลาเรียน ก็ขอบอกว่าผู้นำทางการเมืองของเราเสียมาหลายทศวรรษที่จะยอมรับเรื่องโลกร้อนและลงมือทำอะไรสักอย่าง และเมื่อเวลากำลังจะหมดลงเรื่อยๆ เราจึงลงมือทำกิจกรรม เราเก็บกวาดขยะที่พวกคุณสร้างไว้ และเราจะไม่หยุดจนกว่าเราจะทำสำเร็จ” เธอกล่าวในงานสังคมพลเมืองเพื่อฟื้นฟูยุโรป (Civil Society for Eunaissance)  เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมา หลังจากหยุดเรียนมาประท้วงหน้ารัฐสภาสวีเดนติดต่อกันหลายสัปดาห์ เธอลุกขึ้นมาเรียกร้องให้เยาวชนทั้วโลกหันมากดดันพวกผู้ใหญ่ที่ดูดายให้หันมาลงมือแก้ปัญหาโลกร้อน โดยเขียนจดหมายผ่านสื่อเดอะการ์เดี้ยน ส่งถึงเยาวชนทั่วโลกเรียกร้องให้พวกเขาออกมาแสดงเจตนารมณ์ปกป้องโลก ด้วยการประท้วงครั้งใหญ่พร้อมกันเพื่อแสดงให้พวกผู้ใหญ่เห็นว่าเด็กๆ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ฝุ่นจิ๋วกับการป้องกันที่ปลายจมูก

ฉันนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ในวันที่สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในกรุงเทพเริ่มคลี่คลาย ผู้ว่ากรุงเทพมหานครแถลงข่าวว่า “ผมเชื่อว่าธรรมชาติเข้าข้างผม” เพราะมีลมช่วยพัดพาฝุ่นจิ๋วไป ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ขอนแก่นและโคราชมีปริมาณฝุ่นจิ๋วติดอันดับสูงสุดของประเทศ และถูกแทนที่โดยจังหวัดแพร่ ลำปาง และเชียงใหม่ในวันต่อๆ มา ระหว่างนั้นเพื่อนๆ ของฉันต่างประกาศหาซื้อหน้ากากกันฝุ่นจิ๋วและเครื่องฟอกอากาศกันจ้าละหวั่น บรรยากาศตื่นตระหนกมิต่างกับที่คนกรุงเทพประสบตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เพื่อนชาวกรุงของฉันลงทุนซื้อเครื่องฟอกอากาศมูลค่ากว่าหมื่นบาทและเครื่องวัดฝุ่นจิ๋วแบบพกพาราคาประมาณสองพันบาท  ซึ่งท่ามกลางความตื่นตระหนกและตื่นตัว เงินไม่สามารถซื้อได้ทุกสิ่งเพราะสินค้าขาดตลาด ในห้วงเวลาเดียวกัน องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาหรือนาซ่าเผยแพร่แบบจำลองการเคลื่อนไหวของฝุ่นจิ๋วจากจุดกำเนิดมุมหนึ่งของโลกเคลื่อนไปยังจุดต่างๆ ทั่วโลก เป็นการตอกย้ำว่าฝุ่นจิ๋วเคลื่อนที่แบบไร้พรมแดนและเป็นปัญหาสากล ดูแล้วตื่นเต้นและน่ากลัวไปพร้อมกัน ภาพจาก: https://board.postjung.com/934650 วิกฤติฝุ่นจิ๋วที่ปกคลุมกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ในปีนี้ทำให้คนไทยทั้งตระหนกและตระหนักถึงภัยอันตรายกันถ้วนหน้า และเนื่องจากเป็นปีแรกที่ประเทศไทยถูกจู่โจมจากฝุ่นจิ๋วเป็นวงกว้าง จากปกติวิกฤติฝุ่นจิ๋วครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ จึงเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองที่มาตรการรับมือส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการเฉพาะหน้าแบบนักผจญเพลิง อะไรที่ฉวยได้ก็หยิบมาใช้ เข้าทำนองดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นการทำฝนเทียมหรือการฉีดน้ำ หากวงจรธรรมชาติและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง ดูเหมือนปีหน้าเราจะเผชิญหน้ากับวิกฤติฝุ่นจิ๋วอีกครั้ง และหากภาครัฐไทยรู้จักใช้โอกาสในวิกฤติแทนการเชื่อโชคลางหรือรอธรรมชาติเข้าข้าง  เราควรมีมาตรการเชิงรุกที่วัดผลได้เพื่อป้องกันการก่อมลพิษฝุ่นจิ๋วที่จุดกำเนิดแทนการป้องกันที่ปลายจมูกซึ่งทำให้คนไทยเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการซื้อเครื่องป้องกันที่ปลายจมูกและการรักษาความเจ็บป่วยจากฝุ่น เช่นเดียวกับที่ประเทศแห่งมลพิษอย่างจีนเคยทำให้เห็นมาแล้ว ย้อนกลับไปเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ช่วงฤดูหนาวของทุกปี โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ชาวจีนนับพันล้านคนควรมีโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ในที่โล่งแจ้ง เด็กเล็กและคนชราในเมืองหลวงปักกิ่งกลับต้องเก็บตัวอยู่ในบ้านเรือน เพราะปริมาณฝุ่นจิ๋วเกินมาตรฐานความปลอดภัยทางสุขภาพ ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสุขภาพของทุกผู้ทุกคน หากไม่มีการจัดการอาจบานปลายกลายเป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศได้ นายกรัฐมนตรีหลี่ เคอเฉียง จึงประกาศทำสงครามกับมลพิษต่อหน้าสมาชิกพรรคสภาประชาชนแห่งชาติจำนวนสามพันคน โดยบอกว่า “หมอกควันเป็นเหมือนสัญญาณไฟแดงของธรรมชาติที่เตือนให้เห็นถึงการพัฒนาที่มืดบอดและไร้ประสิทธิภาพ” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ยาฆ่าหญ้าทำลายชีวิตผม

“ผมเจ็บปวดทรมานมาก มันกำลังพรากทุกอย่างไปจากผม ผมจะไม่มีวันดีขึ้น…ยาฆ่าหญ้าทำลายชีวิตผม ถ้าผมรู้ว่ามันอันตราย ผมจะไม่มีวันฉีดพ่นมันบนสนามของโรงเรียน…มันผิดจริยธรรม” ดีเวน จอห์นสันอดีตคนงานในโรงเรียนแห่งหนึ่งแถลงต่อศาลซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา จอห์นสันเข้ามาทำงานที่โรงเรียนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 เขามีหน้าที่ฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าที่สนามโรงเรียน เขาบอกว่าแม้จะสวมเครื่องป้องกันอย่างแน่นหนา แต่ก็มักจะสัมผัสกับราวด์อัพและแรงเยอร์โปรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลิตภัณฑ์ไกลโฟเสตทั้งคู่เป็นของมอนซานโต้ เขาถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเมื่อปีพ.ศ.2557 และเชื่อว่าการสัมผัสกับยาฆ่าหญ้าทำให้เขาป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว…ผิวหนังผุพองเป็นแผลไปทั่วร่างกาย “มันแย่มากทุกจุด” แพทย์บอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่กี่เดือน   ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยเพิ่งอนุญาตให้มีการนำเข้ายาฆ่าหญ้า 3 ชนิดคือพาราควอต และไกลโฟเสตต่อไป เมื่อพฤษภาคมนี้ และบริษัทเบเยอร์เข้าซื้อกิจการมอนซานโต้ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ไกลโฟเสตรายใหญ่ของโลกเมื่อมิถุนายน ก็มีข่าวใหญ่ระดับ “ปรากฎการณ์” ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อผู้พิพากษาแห่งศาลกลางซานฟรานซิสโกรับฟ้องคดีของดีเวน จอห์นสัน ซึ่งถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผู้พิพากษาอนุญาติให้มีการนำสืบประเด็นความเชื่อมโยงของราวด์อัพกับมะเร็ง และกรณีมอนซานโต้ปกปิดข้อมูลอันตรายและความเสี่ยงต่อสุขภาพของไกลโฟเสต คดีของจอห์นสันได้รับความสนใจจากทั่วโลกเมื่อผู้พิพากษาอนุญาตให้มีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวหลายร้อยรายและญาติของผู้ป่วยมะเร็งที่เสียชีวิตไปแล้วสามารถเสนอข้อมูลเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีนี้ได้ และอนุญาตให้นำเสนอเอกสารทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับไกลโฟเสต ซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าที่ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดทั่วโลก  โดยในศาลมีการเผยแพร่อีเมลภายในของมอนซานโต้ว่าบริษัทเพิกเฉยคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญ และเสาะหา “นักวิทยาศาสตร์ผี” มาวิเคราะห์และเขียนรายงานข้อดีของไกลโฟเสต การต่อสู้ครั้งนี้ที่มิใช่ต่อสู้ระหว่างภาคประชาชน แต่ยังเป็นการต่อสู้ระหว่างหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานด้านสุขภาพของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 คณะทำงานว่าด้วยการวิจัยเรื่องมะเร็ง (IARC) ขององค์การอนามัยโลกจัดให้ไกลโฟเสตเป็นสารที่ “อาจก่อมะเร็งในมนุษย์” และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค 22 ชนิด เช่น เบาหวาน ความดันสูง […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ตื่นเถิดชาวไทย…ขยะอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวการตรวจจับโรงงานลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่องเมื่อเร็วๆนี้ เป็นการปลุกให้สังคมไทยตื่นมารับรู้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลกจำนวนมหาศาลซ่อนอยู่ในบ้านเรานี้เอง เมื่อไม่นานมานี้องค์กรสิ่งแวดล้อมสากลเผยแพร่สารคดีชาวจีนและชาวอินเดียยากจนนั่งคัดแยกวัสดุมีค่าท่ามกลางกองขยะอิเลคทรอกนิกส์ที่สูงท่วมหัว ซึ่งเป็นภาพที่น่าอนาจใจ ทว่าเมื่อปีที่แล้วประเทศจีนตื่นตัวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงยุติการอนุญาตนำเข้าขยะอิเลกทรอนิกส์และขยะอันตรายจากทั่วโลก ดังนั้นขยะอิเลกทรอนิกส์ที่รอเคลื่อนย้ายจึงเปลี่ยนทิศทางมายังประเทศไทย และคนที่นั่งอยู่ท่ามกลางกองขยะดังกล่าวกลายเป็นคนไทยและแรงงานต่างชาติ   การคัดแยกของมีค่าจากขยะอิเลกทรอนิกส์เป็นธุรกิจที่หอมหวาน สหพันธ์การสื่อสารโทรคมนาคมสากล (ITU) คาดการณ์ว่า ในปีพ.ศ. 2559 การคัดแยกวัสดุมีค่าในขยะอิเลกทรอนิกส์ทั่วโลกมีมูลค่า 55,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท ทองคำแม้จะมีปริมาณน้อยสุดคือ 500 เมตริกตันแต่มีมูลค่าสูงสุดประมาณ 6.93 แสนล้านบาท พลาสติกปริมาณมากสุดคือ 12.2 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 5.77 แสนล้านบาท ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าในปีพ.ศ. 2559 ตลาดรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีมูลค่า 4,770 ล้านบาท และคาดว่าปี 2560 จะมีมูลค่าประมาณ 4,920-5,000 ล้านบาท โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ 1 ตันสร้างมูลค่าได้ 67,100 บาท อาจมีคำถามว่าหากเป็นธุรกิจที่หอมหวานจริง ทำไมประเทศต่างๆ จึงพยายามผลักดันขยะอิเลกทรอนิกส์ไปให้พ้นเขตแดนของตัวเอง คำตอบคือในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีมาตรฐานความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมและค่าแรงงานสูง การคัดแยก รีไซเคิล และการกำจัดขยะดังกล่าวมีต้นทุนสูงกว่าผลักภาระไปยังประเทศอื่นหลายเท่า  และต่อให้กำจัดดีอย่างไรก็ยังคงมีสารเคมีอันตรายตกค้างอยู่ในดินน้ำและอากาศอยู่นั่นเอง […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

พลาสติก…ในตัวเรา

สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าปัญหาขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาสากลและยิ่งใหญ่มากคือวันคุ้มครองโลกปีนี้เมื่อ 22 เมษายนที่ผ่านมามุ่งรณรงค์เรื่องขยะพลาสติก ส่วนวันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ วันที่ 5 มิถุนายนก็เน้นรณรงค์เรื่องมลพิษจากพลาสติกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีข่าวคราวเกี่ยวกับขยะพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย เช่น แพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิคมีขนาดเท่าประเทศฝรั่งเศสแล้ว ซึ่งใหญ่กว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ และประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่คิดว่าขยะเป็นเรื่องไกลตัว ทะเลและมหาสมุทรนั้นอยู่ห่างไกล ไม่อาจส่งผลกระทบกับการกินอยู่ของเราได้ นับว่าเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ขยะที่เราใช้และทิ้งไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่แปรรูปออกมาเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ สอดแทรกอยู่ในสิ่งแวดล้อม และย้อนกลับมาหาเราผ่านอาหารการกินของเรานั่นเอง ช่วง 2-3 ปีมานี้มีข่าวการวิจัยการปนเปื้อนพลาสติกในอาหารหลักของมนุษย์ออกมาเป็นระยะ ทั้งน้ำประปา เบียร์ เกลือ และสัตว์ทะเลล้วนมีพลาสติกจิ๋วหรือไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ทั้งสิ้น ต้นเมษายนที่ผ่านมา นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำประปา 159 ตัวอย่าง ใน 14 ประเทศ โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอย่างละครึ่ง พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 81 % ปนเปื้อนฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่ (98.3 %) เป็นเส้นใยพลาสติกขนาด 0.1-5 มิลลิเมตร เกินกว่าครึ่งของน้ำดื่มบรรจุขวดใช้น้ำประปาเป็นวัตถุดิบ จึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่าน้ำดื่มบรรจุขวดส่วนใหญ่ปนเปื้อนชิ้นส่วนจิ๋วจากพลาสติก โดยล่าสุดขององค์กรสื่อที่ไม่แสวงผลกำไรชื่อ Orb Media นำน้ำดื่มบรรจุขวดจากทั่วโลกจำนวน 11 ยี่ห้อ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

มหัศจรรย์…ต้นไม้พยากรณ์อากาศ

ต้นยางนา เหียง พะยอม และตะเคียนทองบอกว่าวันที่ 7, 21 เมษายน และ 18,28 พฤษภาคมนี้จะมีพายุฝนในภาคอีสาน ส่วนกรมอุตินิยมวิทยาบอกว่าหลังวันที่ 6 เมษายนนี้ กรุงเทพฯ และภาคกลาง และภาคอีสานจะมีพายุฤดูร้อนรุนแรง   ตรงกันโดยมิได้นัดหมาย!!!   ย้อนกลับไปเมื่อ  29 มีนาคม 2548 ขณะที่อาจารย์นพพร นนทภา นักวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนเเก่น ยืนอยู่ใต้ต้นยางนาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดอกยางนาก็หล่นลงมาบนศีรษะของเขา ในปีต่อมาดอกยางนาต้นเดิมหล่นในวันที่ 15 มีนาคม 2549 “ผมเอะใจว่าทำไมดอกไม้จากต้นไม้ต้นเดียวกันร่วงไม่ตรงกันในแต่ละปี ทำไมทุกครั้งที่ลูกยางนาร่วงจึงมีพายุฝน และตอนเรียนวิชาป่าไม้รู้ว่าไม้วงศ์ยางนากระจายพันธุ์ด้วยลม เลยตั้งคำถามว่าต้นไม้รู้จักวันฝนตกมั้ย จึงเริ่มเก็บข้อมูล” อาจารย์นพพรกล่าว จากการเก็บข้อมูลกว่า 10 ปีนำมาสู่ข้อสรุปว่า ต้นไม้สามารถรับรู้มวลอากาศล่วงหน้าได้ แล้ววางแผนออกดอกเพื่อให้ผลแก่จัดและร่วงจากต้นพอดิบพอดีกับวันฝนตก น้ำหลาก หรือพายุลมแรง ดังนั้นหากอยากรู้ว่าฝนจะตกมากหรือน้อย หรือมีพายุฝนเมื่อใด ก็สามารถดูจากได้ช่วงออกดอกจนถึงผลแก่จัดของต้นไม้ หากต้นไม้รู้ในโอกาสต่อมาว่าฝนจะไม่ตก ต้นไม้จะไม่ทิ้งดอกหรือผลไปโดยไม่ให้มีผลแก่บนต้น การออกดอกและการแก่ของผลและเมล็ดต้นไม้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นการวางแผนการดำรงเผ่าพันธุ์ล่วงหน้าของต้นไม้ต้นนั้นๆ !! […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ป่าต้นน้ำปิง ไร่กระเทียม พาราควอต

ปลายมกราคมที่ผ่านมา ฉันเดินเข้าป่ากับคณะธรรมยาตราต้นน้ำปิง—กลุ่มฆราวาสและพระประมาณ 60 ชีวิตที่มีภารกิจเดินป่าเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ—เริ่มต้นที่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ บ้านเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่นั่นฉันเห็นสวนกระเทียมสีเขียวสดลดหลั่นตามระดับพื้นดินกว้างไกลสุดสายตา แนวต้นไม้ใหญ่หนาทึบอยู่ลิบๆ นั่นคือเส้นแบ่งเขตประเทศไทยกับเมียนมาร์ “ปลูกกระเทียมหนึ่งรอบใช้เวลา 4 เดือน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าแมลงแบบผสมไปกับการให้น้ำทุก 4 วัน” ชาวสวนกระเทียมที่กำลัง “ให้ยา” ผสมไประบบน้ำฉีดพรมลงไปในแปลงกระเทียมให้ข้อมูล ผู้ร่วมทางของฉันซึ่งทำงานอยู่ในแวดวงสารเคมีเกษตรบอกว่าสารเคมีที่ใช้ในสวนกระเทียมเป็นสารเคมีชนิดดูดซึม ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “พาราควอต” และ “ไกลโฟเซต” 3 วันที่เดินลัดเลาะและลุยไปตามแม่น้ำปิง จากสวนกระเทียมสู่แนวป่า จากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่ง จากบริเวณต้นน้ำที่เป็นลำธารน้ำใสสายเล็กๆ บางช่วงสามารถกระโดดข้ามได้ ค่อยๆ ขยายกว้างขึ้น ช่วงต้นน้ำแม้น้ำใสสะอาดแต่ไม่มีสัตว์น้ำอย่างกุ้งหอยปูปลาหรือแมลงปอซึ่งเป็นสัตว์ที่บ่งบอกว่าน้ำมีคุณภาพดีปรากฎให้เห็น บางช่วงน้ำจากสวนกระเทียมไหลผ่านหญ้าที่เหี่ยวเฉาและไหม้เกรียม จนเมื่อเดินลึกเข้ามาในเขตป่าในวันที่สอง จึงเริ่มเห็นชาวบ้านขุดดินกลางแม่น้ำเพื่อวางเครื่องมือหาปลา ยามค่ำคืน คณะของพวกเราหยุดพักค้างคืนริมแม่น้ำปิง ล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พบเห็นช่วงที่เดินผ่านมา กลุ่มคนกรุงเทพและต่างถิ่นบอกเล่าถึงความประทับใจในธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำปิง ทว่า “ตุ๊ลุง” พระวัยเจ็ดสิบที่ทำงานรณรงค์รักษาป่าและแม่น้ำปิงมากว่า 20 ปีกลับบอกว่าสลดใจ เพราะเห็นความเสื่อมโทรมของแม่น้ำและป่าไม้เพิ่มขึ้นทุกปี ตุ๊ลุงเคยเห็นป่าสมบูรณ์ที่บริเวณชายแดนที่ค่อยๆ ผันเปลี่ยนเป็นชุมชน เริ่มจากชาวบ้าน 5 ครอบครัวแรก ขยายพื้นที่กลายเป็นวัดบ้านและสวนกระเทียมดังที่เห็น ส่วนป่าไม้ริมแม่น้ำปิงก็มีไร่สวนรุกคืบเข้ามาจนเกือบถึงแนวแม่น้ำ “เราล็อคคอชาวบ้านเป็นตัวประกัน ๆ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

โรงไฟฟ้าถ่านหิน ความเชื่อเก่าที่กำลังล่มสลาย

เมื่อไม่นานมานี้ฉันได้ฟังผู้บริหารระดับสูงของโรงไฟฟ้าหลายแห่งคุยกัน พวกเขาล้วนพูดตรงกันราวกับออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันว่าโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนนั้น “ดีแต่แพง” ซึ่งเป็นชุดข้อมูลเดียวกับที่หน่วยงานด้านพลังงานบอกกับสาธารณะ ปลายมกราคมเป็นช่วงที่บริษัททั่วโลกประกาศผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายและสรุปผลประกอบการของปีที่ผ่านมา ผลลัพธ์ที่แตะต้องได้ในรูปของผลประกอบของบริษัทพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้กลับตรงกันข้ามกับสิ่งที่คนในแวดวงพลังงานดั้งเดิมในบ้านเรากล่าวอ้าง ข้อมูลจากทั่วโลกล้วนเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันว่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนถูกลงเรื่อยๆ และในอีกไม่กี่ปีจะถูกกว่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าดั้งเดิมและสกปรกอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 30 มกราคม นิตยสารฟอร์บรายงานว่ายุคสมัยอันรุ่งโรจน์ของถ่านหินในอินเดียกำลังจะล่มสลายในไม่ช้า   2 ใน 3 ของโรงไฟฟ้าถ่านหินมีต้นทุนสูงกว่าโรงไฟฟ้ายุคใหม่อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงาน และสัดส่วนการใช้ถ่านหินในประเทศที่ในปี พ.ศ.2559-2560 มีสัดส่วนสูงถึง 80 % กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากต้นทุนไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนถูกลงครึ่งหนึ่งภายใน 2 ปี และจะยังคงต่ำลงเรื่อยๆ ปัจจุบันราคาขายส่งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมถูกกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเฉลี่ย 20 % และในการประมูลไฟฟ้าล่าสุดพบว่า 65 % ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขายไฟในอัตราที่สูงกว่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ภาพจาก: http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59851/ จุดสำคัญอยู่ที่เมื่อปีที่แล้ว (2016-2017) เป็นครั้งแรกที่การติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนล้ำหน้ากำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 2 เท่า และโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศอินเดียเกือบทุกโรงละเมิดกฎหมายมาตรฐานคุณภาพอากาศ โดยภายในปีพ.ศ. 2570 หรืออีก 10 ข้างหน้า หน่วยงานควบคุมกลางด้านการผลิตไฟฟ้าของอินเดียเสนอให้ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 50 กิกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 275 กิกะวัตต์ ซึ่งจะชดเชยด้วยพลังงานหมุนเวียน โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ที่ “แพงและสกปรก” เลย […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

มลพิษที่มากับสายลม

ท่ามกลางข่าวจับกุมชาวเทพา จังหวัดสงขลาที่เดินขบวนไปยืนหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดค้านการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่เมื่อเร็วๆนี้ และต่อมานักวิชาการ 35 รายในชื่อ “นักวิชาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ร่วมกันออกแถลงการณ์ยืนยันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสายวิศวกรรมและพลังงาน และไม่มีหน้าที่ศึกษาผลกระทบเชิงสุขภาพเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่อย่างใด (https://greennews.agency/?p=16008) งานวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหินชิ้นนี้ก็ปรากฎขึ้น ภาพจาก: ผู้จัดการ Online จุดสำคัญของรายงานนี้อยู่ที่การเปรียบเทียบผลกระทบด้านสุขภาพก่อนและหลังการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน และกล่าวถึงผลกระทบที่มีต่อคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้ลม ซึ่งรับมลพิษทางอากาศอย่างก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไปเต็มๆ ผลก็คือทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และคลอดก่อนกำหนด แต่เมื่อปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพียงหนึ่งปีครึ่ง ปัญหาดังกล่าวก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โรงไฟฟ้าถ่านหินพอร์ตแลนด์ตั้งอยู่ในเขตมลรัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งติดกับมลรัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ.2549 เป็นโรงไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นอันดับ 5 ของสหรัฐอเมริกา และถูกปิดตัวลงเมื่อ มิถุนายน 2557 เนื่องจากองค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) ระบุว่าเป็นแหล่งมลพิษแหล่งเดียวที่ทำลายคุณภาพอากาศด้านใต้ลมซึ่งตั้งอยู่ในเขตนิวเจอร์ซี่ และถือเป็นโครงการแรกที่พระราชบัญญัติอากาศสะอาดมีผลบังคับใช้เหนือกฎหมายระดับมลรัฐ กลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยลีไฮ (Lehigh University) ได้ทำการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพทั้งก่อนและหลังปิดโรงไฟฟ้า และเพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Economics and Management โดยเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนและหลังปิดระยะเวลาเท่ากันคือ 1.5 ปี สรุปได้ว่าภายหลังการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีระดับเกือบเป็นศูนย์ ปัญหาน้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ ลดลง 15 % และปัญหาการคลอดก่อนกำหนดลดลง 28 % ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่บริเวณพื้นที่ใต้ลม […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ดอยหลวงเชียงดาวเปลี่ยนไป

ฤดูกาลท่องเที่ยวดอยหลวงเชียงดาวมาถึงแล้ว แต่ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวกำหนดวิธีการจองและจำกัดปริมาณคนขึ้นดอยหลวงใหม่ จากเดิมสามารถขึ้นได้ทุกวัน เปลี่ยนเป็นขึ้นได้เฉพาะศุกร์-เสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน-11 กุมภาพันธ์ รวม 15 สัปดาห์ หรือประมาณ 3 เดือน เมื่อพิจารณาจากช่วงเวลาที่สั้นลงและการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งดูจากยอดการจองที่ประกาศทางเฟสบุคของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คาดว่านักท่องเที่ยวที่ขึ้นดอยหลวงในปีนี้จะลดลงกว่าครึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับฤดูกาลท่องเที่ยวปีที่แล้วที่มีผู้ลงทะเบียนขึ้นดอยหลวงระยะเวลา 4 เดือน กว่า 2 หมื่นคน ภาพจากคุณ Boss >>> http://www.trekkingthai.com/wordpress/?p=1826#prettyPhoto/0/ ฉันหวนนึกถึงบทสนทนาบนยอดดอยหลวงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่ฉันและกลุ่มอาสาสมัครขึ้นไปเก็บขยะตกค้างบนดอยหลวงในช่วงปิดฤดูกาลท่องเที่ยว ขณะรอดูพระอาทิตย์ตกดินบนยอดดอยหลวง ฉันได้คุยกับวารินทร์ วรินทรเวช เจ้าของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ดอยหลวงที่ถูกนำมาใช้ช่วงปี 2544-2547 หน้าที่การงานทำให้เขาไม่ได้ขึ้นดอยหลวงมากว่า 10 ปี เมื่อกลับมาเห็นอีกครั้งเขาบอกว่า “พูดอะไรไม่ออก” และ “อยากร้องไห้” วารินทร์ย้อนอดีตให้ฟังว่าจุดที่เรานั่งอยู่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของกวางผา เมื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกิดขึ้น โดยชุมชน ทางการ และนักวิชาการตัดสินใจร่วมกันว่าต้องกำหนดจุดพักแรมและพื้นที่ที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าถึง แทนการปล่อยให้นักท่องเที่ยวท่องไปตามใจชอบ ซึ่งเมื่อนักท่องเที่ยวอยากเห็นภาพพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินที่จุดสูงสุด คณะทำงานจึงเปิดยอดดอยหลวงเพื่อชมพระอาทิตย์ตกดินและยอดกิ่วลมเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น และกำหนดจุดพักแรมบริเวณใกล้เคียงกัน ผลคือกวางผาอพยพไปอยู่ดอยอื่นๆ และเมื่อถูกนักท่องเที่ยวรบกวนน้อยลง กวางผาก็มีที่อยู่และขยายพันธุ์ได้มากขึ้น จากสมัยเริ่มทำการท่องเที่ยวช่วงแรกๆ นานๆ จะเห็นกวางผาสักครั้ง […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ถ้ารู้จัก จะหลงรักเธอ

เพื่อนรุ่นพี่วัยห้าสิบตอนกลางเล่าให้ฟังว่าเมื่อเร็วๆ นี้เธอไปเที่ยวบ้านสวนที่อำเภอดำเนินสะดวก เมื่อก้าวเข้าไปในห้องน้ำกลางสวนแล้วปิดประตู พลันก็สบตากับตุ๊กแกที่เกาะอยู่เหนือประตู เธอกรีดเสียงร้องลั่นและโผล่พรวดออกมาจากห้องน้ำ อาการปวดฉี่หายไปเป็นปลิดทิ้ง เธอบอกว่ากลัวตุ๊กแกกระโดดเกาะแล้วไม่ปล่อย เรื่องเล่าในวัยเด็กมีอิทธิพลต่อจิตใจอาจตลอดทั้งชีวิตของคนๆ นั้น ซึ่งเหตุผลใดๆ อาจไม่สามารถฉุดรั้งสติกลับมาได้ แต่เรื่องนี้มีวิธีแก้ การเฝ้าดูความเป็นไปของสัตว์ที่เรารู้สึกกลัวหรือไม่คุ้นเคยและมองเห็นความน่ารักหรือคุณประโยชน์ของมัน อาจทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อในวัยเด็กได้ ในวัยเด็กฉันเคยเกลียดกลัวตุ๊กแก ถึงขั้นหากจะเดินผ่านต้องวิ่งแบบสุดฝีเท้า ประมาณว่าไม่ให้ตุ๊กแกทันตั้งตัวกระโดดเกาะได้ทัน  มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ฉันใช้ไม้ยาวๆ แหย่จนมันตกพื้นที่สูงหลายเมตรเเล้วก็เห็นเป็นซากศพในวันต่อมา แต่หลายปีมานี้มีตุ๊กแกตัวเล็กตัวหนึ่งมักปรากฎตัวที่ผนัง บริเวณระเบียงบ้าน เพื่อคอยดักกินแมลงที่มาเล่นไฟตอนกลางคืน ฉันลองปล่อยให้มันทำหน้าที่ เมื่อเริ่มมีขี้ตุ๊กแกเลอะเทอะตามพื้นบ้านก็ไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น แต่ช่วงกลางคืนปล่อยให้ทำหน้าที่กินแมลงต่อไป เดี๋ยวนี้ตุ๊กแกตัวนั้นเติบใหญ่ยาวประมาณครึ่งฟุตสีสันสวยงามมาก ส่วนฤดูฝนอันชุ่มฉ่ำเช่นนี้ คางคกตัวใหญ่มักซ่อนตัวอยู่ที่กระถางต้นไม้หน้าบันใดบ้าน ฉันเคยใช้ไม้เขี่ยให้พ้นทาง แต่วันต่อมามันก็ยังกลับมาอยู่ที่เดิม แน่นอนว่าที่ตรงนั้นเป็นทำเลทองของคางคก เพราะมีทั้งยุงในช่วงกลางวัน และแมลงที่มักมาเล่นไฟที่ไฟส่องบันใดในช่วงกลางคืน ฉันปล่อยให้มันอยู่ตรงนั้นตามอัธยาศัย เพราะแม้จะมีเรื่องเล่าเรื่องคางคกฉีดยางใส่มาตั้งแต่เล็กๆ แต่ในชีวิตจริงก็ไม่เคยเห็นใครบาดเจ็บจากคางคกเลยสักคน ครั้งหนึ่งฉันมีโอกาสเห็นภาพที่เคยเห็นเฉพาะในอินเตอร์เน็ตมาปรากฎตรงหน้า ที่บริเวณพื้นดินอันชุ่มฉ่ำที่ปกคลุมด้วยใบไม้แห้งที่เพิ่งถูกรดน้ำ ฉันเห็นตะขาบตัวเท่านิ้วก้อยกำลังกัดกินแมลงสาบอเมริกัน ซึ่งทำให้ฉันต้องยับยั้งชั่งใจอย่างแรงกล้าที่จะไม่คว้าไม้มาทุบตะขาบเพราะเห็นว่าเป็นสัตว์อันตราย และเลือกปล่อยให้มันมีชีวิตและทำหน้าที่รักษาสมดุลในธรรมชาติต่อไป เรื่องของสัตว์หน้าตาดีก็มีนะคะ มองออกไปจากหน้าต่างห้องทำงานที่บ้านฉันจะเห็นต้นชมพู่ใบเชียวชะอุ่มที่ฉันไม่อยากย่างกรายไปใต้ต้น เพราะเต็มไปด้วยหนอนบุ้งที่หากสัมผัสเข้าเป็นคันคะเยอะเป็นผื่นแสบร้อนและคันไปหลายวัน แล้ววันหนึ่งฉันก็เห็นความงดงามของการอยู่ร่วมกันและการปรับสร้างสมดุลในธรรมชาติ นกบั้งรอกใหญ่ตัวหนึ่งเกาะอยู่ที่กิ่งและส่งเสียงร้องเรียกเพื่อนอีกตัว แล้วนกบั้งรอกสองตัวก็กระโดดไปมาราวกับกระรอก…จึงเป็นที่มาของชื่อบั้งรอก…ไม่กี่วินาทีก็จับหนอนบุ้งด้วยจงอยปากอันแหลมคม สะบัดๆๆ ไม่กี่ทีก็กลืนกินหนอนตัวยาว แล้วกระโดดไปจับหนอนตัวใหม่ เป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน นอกจากจะได้เห็นความงามของนกบั้งรอกที่หน้านวลขอบตาแดงและหางยาวต่างจากนกทั่วไป พวกมันยังช่วยกำจัดหนอนบุ้งอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย จากประสบการณ์ตรงเหล่านี้ทำให้ฉันเชื่อว่าสัตว์ทุกชนิดเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในธรรมชาติโดยมีภาระและหน้าที่ที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์นั้นๆ และเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

หญ้าสาบหมาและกวางผาเชียงดาว

แม้จะเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์มานานแล้ว แต่ผู้เขียนพึ่งเคยอ่านหนังสือชื่อ Rabbit-Proof Fence หรือ รั้วกันกระต่าย หนังสือที่เล่าการผจญเผ่าของเด็กลูกครึ่งระหว่างคนพื้นเมืองออสเตรเลียกับคนผิวขาวที่ถูกส่งไปอยู่โรงเรียนประจำสำหรับเด็กลูกครึ่งในพื้นที่ห่างไกล เด็กสามคนหนีจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งเพื่อกลับบ้านในเขตทะเลทราย โดยเดินตามรั้วที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อป้องกันกระต่ายข้ามจากฟากตะวันตกของประเทศไปยังอีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่เกษตร  แนวรั้วทอดยาวจากเหนือจดใต้ระยะทาง 1,834 กิโลเมตร หนังสือเรื่องนี้ทำให้นึกถึงเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว แต่เป็นพืชและสัตว์ต่างถิ่น กระต่ายเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่ชาวผิวขาวนำจากยุโรปสู่ออสเตรเลียเพื่อกีฬาล่าสัตว์ จากกีฬาแสนสนุกกลายเป็นความทุกข์ของประเทศ เมื่อกระต่ายแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วเกินควบคุม กัดกินหญ้าและพืชพรรณธัญญาหารจนทำให้บางพื้นที่กลายเป็นที่แห้งแล้งและพื้นที่เกษตรเสียหาย ทว่ารั้วอันยาวเหยียดและแข็งแรงไม่สามารถป้องกันกระต่ายได้เพราะมันแพร่พันธุ์ไปยังอีกฝั่งก่อนสร้างรั้วเสร็จเสียอีก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีมาแล้ว กลับมาที่บ้านเราในยุคปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ทำให้ฉันนึกถึงการเดินขึ้นดอยหลวงเชียงดาวเพื่อเก็บขยะในช่วงปิดฤดูกาลท่องเที่ยวเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา ฉันเดินผ่านดงหญ้าอันหนาทึบที่กำลังออกดอกสีขาวบานสะพรั่งและไหวลู่ลมดูสวยงามราวกับฉากในมิวสิกวิดีโอจนฉันอดใจไม่ไหวต้องถ่ายรูปมาโชว์ คนนำทางบอกฉันว่านั่นคือหญ้าสาบหมา พืชต่างถิ่นที่เพิ่งมาถึงดอยเชียงดาวเมื่อไม่นานมานี้ และเห็นการแพร่กระจายชัดเจนในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องด้วยเมื่อดอกสีขาวที่อัดแน่นไปด้วยเมล็ดพันธุ์แห้งลง สายลมจะพัดพาเมล็ดพันธุ์จำนวนมหาศาลฟุ้งกระจายไปทั่วสารทิศ พร้อมจะเติบโตเมื่อพบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การแพร่กระจายของหญ้าสาบหมาทั้งรุกรานและปิดกั้นโอกาสเติบโตของพืชท้องถิ่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะลำต้นของหญ้าสาบหมามีสารแอลลิโอพาธิคในระดับสูง จากการศึกษาสารแอลลิโอพาธิคกับพืช 19 ชนิด พบว่าสารแอลแอลลิโอพาธิคจากหญ้าสาบหมาเพียง 1 กรัม มีผลยับยั้งการงอกของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 19 ชนิด และส่งผลต่อการเจริญของรากและลำต้นของพืชทดสอบจำนวน 12 ชนิด จาก 19 ชนิด ด้วยเหตุนี้จึงน่าเป็นห่วงว่าหญ้าสาบหมาจะรุกรานพืชเฉพาะถิ่นไปเสียหมด มิเพียงส่งผลเสียต่อพืชเท่านั้น ที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ ฮาวาย สหรัฐอเมริกาเคยมีรายงานการระบาดของหญ้าสาบหมา และพบว่าม้าที่กินต้นหญ้าสาบหมาป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรังและล้มตายยกฟาร์มมาแล้ว  ขณะที่บนดอยหลวงเชียงดาวก็มีสัตว์กีบอย่างกวางผาอยู่อาศัย […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

สวนสัตว์ในสวนหลังบ้าน

เพื่อนชาวกรุงคนหนึ่งโพสต์รูปรังผึ้งเกาะบนกิ่งมะม่วงในสวนข้างบ้าน สอบถามด้วยความกังวลว่าหากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อคนอยู่อาศัยหรือไม่ ขณะที่เพื่อนชนบทอีกคนโพสต์เรื่องว่าชาวบ้านเทียวมาถามว่าจะให้เอาผึ้งรังใหญ่ลงจากต้นไม้หรือไม่ เพราะเขาอยากได้น้ำผึ้ง เพื่อนฉันเป็นเกษตรกรที่รู้คุณประโยชน์ของผึ้งเป็นอย่างดี จึงปฏิเสธไปครั้งแล้วครั้งเล่าและแสดงท่าทีปกป้องรังผึ้งสุดฤทธิ์ ฉันบอกเพื่อนชาวกรุงไปว่าจากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมา ผึ้งเล็กหรือมิ้มเป็นสัตว์รักสงบที่มาอาศัยร่มเงาเพื่อทำที่อยู่อาศัยและหาน้ำหวานมาเจือจุนครอบครัว เมื่อถึงฤดูกาลอาหารหายาก พวกเขาจะอพยพทิ้งรังน้ำผึ้งร้างไว้ และอาจมาสร้างรังใหม่ในปีต่อมา แม้ฉันจะเข้าไปทำงานสวนใต้รังผึ้งขนาดใหญ่และอยู่ห่างกันไม่ถึงหนึ่งเมตรก็ไม่เคยถูกผึ้งนับล้านตัวเหล่านี้โจมตีเลย มนุษย์เราทำร้ายสัตว์เพราะความไม่รู้เมื่อไม่รู้ก็กลัวผสมรวมกับเรื่องเล่าสยองขวัญจึงเหมารวมว่าสัตว์มีพิษทุกชนิดเป็นสัตว์อันตรายเห็นที่ใดต้องฆ่าฟันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง ฉันมีวัยเด็กที่ใกล้ชิดกับสัตว์ในสวนหลังบ้านแทบทุกชนิดเพราะบ้านอยู่ริมป่า และปัจจุบันอยู่บ้านที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ จึงว่ามักมีสัตว์สารพันเคลื่อนไหวอยู่รอบๆ บ้าน จากประสบการณ์ตรง ฉันพบว่าสัตว์เหล่านี้ล้วนกลัวและเลือกที่จะออกห่างมากกว่าจู่โจมมนุษย์ แม้จะเป็นสัตว์ร้ายอย่างงูเห่าก็ตามและธรรมชาติมักกำหนดให้พวกเขามีพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ยามเย็นวันหนึ่งหลังรดน้ำต้นไม้จนชุ่มฉ่ำ ฉันเห็นตะขาบตัวใหญ่โผล่ออกมาจากพื้นดิน ฉันอดใจไม่คว้าไม้มาตีตะขาบแม้จะเคยมีประสบการณ์ไม่ดีนัก นั่นคือเคยถูกตะขาบกัดปวดร้าวทุกข์ทรมานมาก่อน เมื่อนิ่งดูจึงเห็นภาพที่ไม่เคยเห็นและน่าตื่นตาตื่นใจ นั่นคือตะขาบกำลังเขมือบแมลงสาบ ทำให้รู้เห็นด้วยตาว่าใครคือผู้อยู่บนห่วงโซ่อาหารเหนือแมลงสาบ ด้วยความไม่อยากใช้สารเคมีอันตรายในบ้าน ฉันจึงไม่เคยซื้อยาฉีดฆ่าแมลงไว้ในบ้านเลย เมื่อเห็นแมลงสาบฉันจะคว้าถุงมือหนาใหญ่สำหรับจับของร้อนที่ไม่ใช้แล้วมาจับแมลงสาบใส่ไว้ในถังขยะเปียกและปิดฝา แล้วนำไปทิ้งที่สนามหญ้าข้างบ้าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คนร่วมบ้านลงความเห็นว่า “แปลก” และ “เดี๋ยวมันก็กลับมา” วันหนึ่งขณะที่ฉันเทถังขยะเปียก นกกางเขนเจ้าประจำก็บินโฉบมาจิกแมลงสาบติดปากไปต่อหน้าต่อตา ฉันยังมีประสบการณ์การทำความรู้จักกับสัตว์ในสวนรอบๆ บ้านอีกมากมาย ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปว่าความไม่รู้นำมาซึ่งความกลัวและเมื่อรู้ก็สนุก บางวันฉันเฝ้าดูจิ้งจกจับแมลงที่มาเล่นแสงไฟด้วยความขอบคุณที่ช่วยฉันกำจัดแมลง  และเมื่อเดินผ่านแมงมุมตัวเล็กที่ชักใยทำรังใหญ่โตขึงระหว่างกิ่งไม้เพื่อดักเหยื่ออย่างชื่นชมในความอุตสาหะเมื่อเห็นงูเขียวธรรมดาที่เกาะเกี่ยวบนกิ่งไม้ก็ทำเป็นมองไม่เห็นเสีย ฉันอยากเชิญชวนให้เปิดตาเปิดใจรับรู้การมีอยู่ของสัตว์เล็กสัตว์น้อยในสวนหลังบ้านโดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเพราะเมื่อเด็กเรียนรู้พฤติกรรมสัตว์และมองเห็นสัตว์เป็นเพื่อนเมื่อโตขึ้นเขาจะมีภูมิคุ้มกันอันตรายจากธรรมชาติมีจิตใจที่อ่อนโยนไม่ทำร้ายธรรมชาติและทำลายสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหนือสิ่งอื่นใด การเฝ้าดูสัตว์เหล่านี้เป็นกิจกรรมสันทนาการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และอาจให้ความบันเทิงใจยิ่งกว่าการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลข้ามทวีปไปดูสัตว์ป่าในแอฟริกา ซึ่งเสียเงินทริปละนับแสนเสียอีก

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ใครฆ่าแม่น้ำ

ทุกครั้งที่มีเพื่อนมาเที่ยวบ้าน ฉันมักพาไปดูแม่น้ำน้อยบริเวณด้านหลังตลาดศาลเจ้าโรงทองหรือตลาดร้อยปีวิเศษชัยชาญของจังหวัดอ่างทองพร้อมเล่าตำนานอันรุ่งเรือง ตลาดบ้านฉันและแม่น้ำสายนี้ที่เคยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทั้งผู้คนและสินค้าจากที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างตั้งแต่สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง อยุธยา ไปสู่เมืองบางกอก

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

จากเต่าออมสินถึงกวางผาเชียงดาว

ข่าวเต่าออมสินกินเหรียญเสี่ยงทายนับพันเหรียญจนต้องเข้ารับการผ่าตัดและตายในที่สุดเป็นข่าวช็อกโลกที่มนุษย์กระทำต่อสัตว์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทว่ามีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่นนี้อีกมากมาย

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

แม่น้ำโขง “ของเรา”

แม้จะไม่ใช่ลูกแม่น้ำโขง แต่ชีวิตการงานและการเดินทางท่องเที่ยวทำให้ผู้เขียนได้สัมผัสความงามและความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขงตามจุดต่างๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

เด็กเลี้ยงปล่อย

คำว่า “เลี้ยงปล่อย” ในที่นี่ไม่ใช่หมายถึง “ทิ้งขว้าง” หากแต่การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริงอย่างต้นไม้หรือดินทรายบ้างแต่ก็ยังอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ เพราะธรรมชาติจะช่วยให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการสมวัย

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ซูเปอร์บั๊ก เชื้อดื้อยาฆ่าไม่ตาย

หากดูหนังแอคชั่นที่มีผู้ร้ายโคตรอึดฆ่าไม่ตาย นั่นแหละเปรียบเทียบได้กับซูเปอร์บั๊กที่วงการแพทย์ทั่วโลกกำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือดเพื่อกู้ชีพยาปฏิชีวนะตัวสุดท้าย และกู้ชีวิตผู้ติดเชื้อดื้อยาที่อาจเสียชีวิตได้ทุกเมื่อ แม้เป็นโรคเล็กน้อยอย่างท้องเสีย

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

กู้โลกแบบไฮเทค

การกู้โลกแบบดั้งเดิมดูจะเป็นเรื่องที่ใช้ทรัพยากรมากมายทั้งกำลังคนและกำลังเงิน นอกจากนี้ยังต้องใช้กำลังใจขั้นสูงเพราะการเป็นพลเมืองดีอาจส่งผลต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังจะทำให้การกู้โลกเป็นเรื่องที่ง่าย รวดเร็ว และปลอดภัยอย่างไม่น่าเชื่อ

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ซิก้า ค้างคาว ยุงจีเอ็มโอ

เราอาจเคยได้ยินคำพังเพย “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” แต่กรณีนี้ขอเรียกว่า “ขับเครื่องบินฆ่ายุง” ข่าวชวนช็อคเมื่อเช้าตรู่วันหนึ่งเทศบาลเมืองดอร์เชสเตอร์เคาน์ตี้ รัฐเซาท์แคโรไลนา ซึ่งพบผู้ป่วยไข้ซิกาใช้เครื่องบินเล็กฉีดพ่นยาฆ่าแมลงที่ชื่อนาเลด (Naled) เพื่อกำจัดยุง ผลก็คือแมลงตกลงมาตายเหมือนสายฝน ส่วนผึ้งพยายามกระเสือกกระสนออกมาจากรัง แต่ตายคาปากรังนั้นเอง เรียกว่าตายแบบปัจจุบันทันด่วน เฉพาะฟาร์มผึ้งฟลาวเวอร์ทาวน์ ในเมืองซัมเมอร์วิวมีผึ้งตาย 46 รัง รวม 2.5 ล้านตัว ผู้หญิงคนหนึ่งเขียนในเฟสบุคว่า “เหมือนเดินไปในสุสาน ช่างน่าเศร้าเสียจริง”

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

วิ่งเทรล…ไปให้ไกลกว่าความท้าทาย

คนทั่วไปอาจสงสัยว่าทำไมวิ่งเทรลจึงกลายเป็นการวิ่งยอดนิยม ทั้งๆ ที่เป็นการวิ่งที่ยากลำบาก เพราะต้องวิ่งในสภาพพื้นที่ที่ขรุขระและสูงชัน ระยะทางหลายสิบกิโลเมตร กินเวลาข้ามวันข้ามคืน บางสนามวิ่งกันถึง 200 ไมล์หรือ 500 กิโลเมตรหรือหลายวันหลายคืน

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

อะไรอยู่ในแซลมอน

เมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งเก็บตัวอย่างเนื้อปลาแซลมอนในร้านอาหารญี่ปุ่นที่เห็นว่ามีสีแดงชมพูสดผิดปกติไปตรวจในห้องแลบด้วยการแช่น้ำไม่กี่นาทีพบว่าเนื้อปลากลายเป็นสีซีดขาวจึงสรุปว่าเนื้อปลาถูกย้อมสี ขณะที่นักวิทยาศาสตร์นักพิสูจน์อีกท่านโพสต์ข้อความว่าสีแดงที่ละลายออกมาไม่น่าจะใช่สีย้อม แต่เป็นสารโปรตีนธรรมชาติในเนื้อปลาที่เรียกว่ามายโอโกลบิน

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

เราได้อะไรจากดราม่าปลูกป่า

ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เรื่องราวการปลูกป่าดุเดือดเข้มข้นราวกับละครหลังข่าวจนบางคนเรียกว่า “ดราม่าปลูกป่า” หากตัดอารมณ์และอคติที่ปรากฎอยู่ในเรื่องราวออกไป จะพบว่าทั้งฝ่าย “อยากปลูก” และฝ่าย “อย่าปลูก” ต่างขุดค้นเหตุผลและข้อมูลที่ล้วนมีประโยชน์และทรงคุณค่าอย่างยิ่งมาชี้แจง ซึ่งหากไม่เกิดเหตุการณ์นี้ ชุดข้อมูลเหล่านี้จะถูกวางนิ่งอยู่ในชั้นหนังสือในห้องสมุดหรือ “หอคอยงาช้าง” ต่อไป

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

อวสานของปลาเล็กปลาน้อย

เรื่องใหญ่เกี่ยวการประมงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้าคือกรณีสหภาพยุโรปให้ใบเหลือง เพื่อให้ไทยกำหนดมาตรการป้องกันและขจัดการประมงผิดกฎหมายแต่ผู้เขียนอยากเริ่มจากเรื่องเล็กๆระดับผู้บริโภคเพื่อนำไปสู่ภาพใหญ่ของการประมงและสถานการณ์ท้องทะเลไทยในปัจจุบัน

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

เขาหลวงยิ่งใหญ่ ใจคนเดินป่าต้องใหญ่กว่า

สิ่งที่นักเดินป่าควรฝึกฝนก่อนไปเดินเขาหลวงก็คือการฝึกขนาดหัวใจให้ใหญ่ขึ้น ทั้งในเชิงรูปธรรมคือการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อมัดต่างๆ รวมถึงปอดและกล้ามเนื้อหัวใจ และในเชิงนามธรรมคือการหมั่นตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์ จากนั้นก็ตั้งปณิธานว่าเราจะเดินป่าเพื่อชื่นชม เชื่อมโยง และเรียนรู้จากธรรมชาติ มิใช่ไปเพื่อทำลาย เมื่อขนาดหัวใจใหญ่พอแล้วก็ออกเดินทางไปเยือนเขาหลวงได้

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

คนเล็กที่ถูกลืม

เมื่อเร็วๆ นี้ผู้เขียนไปเดินป่าที่ผาหินกูบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จันทบุรี ได้พบ “ลุงหลิม”เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่นำขบวนนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ ขึ้นสู่ยอดเขาในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ก่อนหน้านี้เคยอ่านเรื่องราวของเขาผ่านกระทู้พันทิพย์เเละจำได้แค่เพียงว่าเขาเป็นชายฟันหลอที่บอกนักท่องเที่ยวเจ้าของกระทู้ว่าโดนเมียตบ

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

เมืองแสนเพลิน เนินมะปราง

ในที่ที่เราไม่เคยไป ต่อให้สวยงามน่าอัศจรรย์มากแค่ไหนก็ย่อมนึกภาพไม่ออก และหากจะเกิดหายนะภัยบางอย่างขึ้นที่นั่น เราย่อมไม่มีความรู้สึกร่วมหรือเสียดาย ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใดในประเทศไทยหรือในโลกใบนี้ย่อมเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ถ่านหินไม่อะเมซิ่ง

การโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับประโยชน์และความสะอาดของถ่านหินจะเข้มข้นในช่วงเวลาที่มีการผลักดันให้มี การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือทำเหมืองถ่านหิน ในบ้านเราขณะนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กำลังผลักดันสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่ง เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพา ดังนั้นจึงมักเห็นโฆษณาว่า ถ่านหินเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าราคาถูกกว่าพลังงานชนิดอื่น และการเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าจะช่วยสร้าง ความมั่นคงด้านพลังงานปรากฏตามหน้าสื่อกระแสหลักอยู่เนืองๆ

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

เมื่อข้าวสีทองไม่ผ่องอำ

เกือบ 20 ปีแล้วที่นิตยสารไทม์ขึ้นปกเรื่องข้าวสีทองจีเอ็มโอว่า “จะช่วยชีวิตเด็กได้นับล้านคน” จนบัดนี้พืชที่อุตสาหกรรมจีเอ็มโอตั้งใจใช้เป็นหัวหอกเปิดประตูโลกสู่จีเอ็มโอกลับไปไม่ถึงไหน ตรงกันข้ามนับวันยิ่งมีข่าวคราวฉาวๆ ไม่เว้นแต่ละปี เผยให้เห็นว่าวงการนี้เต็มไปด้วยการเมืองลับลวงพราง และข้าวสีทองจีเอ็มโอก็ไม่ใช่ความหวังของชาวโลกดังที่วาดภาพไว้ ปี พ.ศ.2528

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

สินบนเหมืองทอง

ข่าวสินบนเหมืองทองในบ้านเราดูจะกลายเป็นเรื่องใหญ่เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งอนุกรรมการไต่สวนกรณีทุจริตในการทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณพื้นที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ โดยมีพยานเบื้องต้นคือข้อมูลที่ส่งมาจากคณะกรรมการหลักทรัพย์และการลงทุนของประเทศออสเตรเลีย (ASIC)

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

กลโกงโฟล์คสวาเกน

ในที่สุดโฟล์คสวาเกนก็ออกมายอมรับว่าติดตั้งซอฟต์แวร์ดังกล่าวในรถเครื่องยนต์ดีเซล 11 ล้านคันทั่วโลก เฉพาะในสหรัฐอเมริกาจำนวน 5 แสนคัน ซึ่งคาดว่าจะต้องเสียค่าปรับและชดเชยค่าเสียหายสูงกว่า 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ปลุกจีเอ็มโอรอบใหม่

หลังจากข่าวคราวเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอห่างหายไปจากหน้าสื่อระยะหนึ่ง ปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวจีเอ็มโอทั้งระดับสากลและระดับประเทศที่น่าติดตามความเคลื่อนไหวเป็นอย่างยิ่ง

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

โป๊บกับโลกร้อน…ไม่ใช่กิจของสงฆ์?

ล่าสุดกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกเมื่อสันตปาปาฟรานซิสออกจดหมายเวียน (encyclical letter) แสดงจุดยืนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ซึ่งบ่งบอกว่าศาสนจักรภายใต้การนำของพระองค์ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งยวด เนื่องจากตามธรรมเนียมปฏิบัติ สันตปาปาจะออกจดหมายเวียนในประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเท่านั้น โดยนับตั้งแต่เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อต้นปี 2556

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ค่าเก็บขยะ…เพิ่มเงินเพิ่มประสิทธิภาพ?

เรื่องขยะจะไม่ใช่เรื่องเล็กและไร้สาระเหมือนชื่ออีกต่อไป เมื่อภาพใหญ่เชิงนโยบายรัฐบาลประกาศให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งพ่วงมาพร้อมกับการออกกฎหมาย และส่งเสริมการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าขยะจนทำให้หุ้นของบริษัทกำจัดขยะในตลาดหลักทรัพย์พุ่งพรวดพราด

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ตัดวงจร “ฆ่าช้างเอางา”

ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 2 ของประเทศผู้ค้างาช้างผิดกฏหมายของโลก เป็นรองจากประเทศจีน ขณะที่งาช้างที่ค้าขายกันอยู่ในตลาดโลกส่วนใหญ่มักถูกลักลอบนำเข้ามาจากประเทศในแถบทวีปแอฟริกา ดังนั้นทั้งไทยและจีนถึงมักถูกสังคมโลกกล่าวหาและกดดันว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้ช้างแอฟริกาถูกฆ่าเอางาจนใกล้สูญพันธุ์

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

อัลมอนด์ที่หายไป

ปีนี้แคลิฟอร์เนียเจอภัยแล้งรุนแรงสุดในรอบ 1,200 ปี ถึงขั้นผู้ว่าการรัฐต้องออกมาตรการลดการการใช้น้ำลง 25 เปอร์เซ็นต์ โดยปีที่แล้วแม้จะมีการรณรงค์ให้ลดการใช้น้ำโดยสมัครใจให้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดการใช้น้ำได้เพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น มาตรการล่าสุดเป็นมาตรการเชิงบังคับที่มีบทลงโทษ ผู้ที่ลดการใช้น้ำไม่ได้ตามเป้าจะถูกปรับสูงสุดถึงวันละ 500 เหรียญสหรัฐ (30,000 บาท)

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ดราม่ารุกป่ากับกรณีโบนันซ่า

ปี 2556 นายเด่น คำแหล้ อายุ 62 ปี และนางสุภาพ คำแหล้ อายุ 58 ปี สามีภรรยาจำเลยในคดีบุกรุกสวนป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ถูกศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ความหมายของต้นไม้ใหญ่

ข่าวการตัดต้นมะหาดอายุกว่า 143 ปีเพื่อให้ศิลปินชาวญี่ปุ่นทำงานประติมากรรมและจัดวางไว้กลางเมืองกระบี่ เจ้าของต้นไม้บอกว่ามะหาดไม่ใช่ต้นไม้พรรณหวงห้ามและเป็นต้นไม้ที่อยู่ที่ในที่ดินของเอกชน

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

คืนที่ฟ้าไร้ดาว

ทุกวันนี้เมืองใหญ่ในเมืองจีนมีวันที่สภาพอากาศเลวร้ายเกินกว่าจะพาเด็กๆ ออกไปเดินเล่นนอกบ้านได้เกินกว่าครึ่ง จากการเก็บสถิติในปี 2557 พบว่าปักกิ่งมีวันที่สภาพอากาศเลวร้าย 175 วัน เทียนจิน 197 วัน ฉีเจียฉวง 264 วัน เสิ่นหยาง 154 วัน เฉิงตู 125 วัน และหลานโจว 112

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

เปลี่ยนอึเป็นขุมทรัพย์

ดื่มน้ำจากอุจจาระคือการกระตุ้นเตือนให้ตระหนักว่าหากไม่ช่วยกันประหยัดน้ำ สักวันหนึ่งเราอาจไม่มีทางเลือกและต้องดื่มน้ำจากแหล่งเดียวกันกับบิล เกตต์นั่นเอง

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ดอกเตอร์จีเอ็มโอ…อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ

หลายสิบปีมาแล้วประเทศไทยมีโครงการเลือกเฟ้นเด็กเก่งด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ทุนการศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศ บางคนได้ทุนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกรวมเวลานับสิบปีและใช้งบ ประมาณของประเทศชาติไปนับสิบล้านบาท แม้พวกเขาจะไม่ได้ลงทุนเป็นตัวเงิน

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ไบโอมิมิครี…ขุมทรัพย์ไม่มีหมด

ถ้ายังสร้างเทคโนโลยีเลียนแบบธรรมชาติไม่ได้ มนุษย์เราก็น่าจะมีปัญญาพอที่จะหยิบสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์มาใช้อย่างถูกที่ถูกเวลา ตอนข่าวน้ำมันรั่วที่ระยองกำลังดัง นักวิทยาศาสตร์พากันพูดถึงวัสดุธรรมชาติที่ดูดซับน้ำมันได้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจัดแถลงข่าวว่า ดอกธูปฤาษี 100 กรัมสามารถกักเก็บคราบน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร นอกจากจะไม่มีผลข้างเคียงจากสารเคมี ยังนำวัสดุเหล่านั้นไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกด้วย (http://www.manager.co.th/campus/viewnews.aspx?NewsID=9560000095312) นับว่าเป็นวัสดุนาโนธรรมชาติที่นำมาใช้ได้โดยทันทีและไม่ต้องกลัวสารพิษตกค้างหรือชิ้นส่วนเล็กๆ สะสมในธรรมชาติเหมือนวัสดุนาโนสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ …น่าเสียดายที่องค์ความรู้เหล่านี้เปิดเผยต่อสาธารณะหลังจากบริษัทเจ้าของน้ำมันระดมฉีดสารเคมีสลายคราบน้ำมัน จำนวนมหาศาลไปเรียบร้อยแล้ว ไบโอมิมิครี (biomimicry) หรือการเลียนแบบธรรมชาติ คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ สถาปนิก และวิศวกรทั่วโลกกำลังสนใจ ในฐานะคลังการเรียนรู้และการพัฒนาอันยิ่งใหญ่และไม่สิ้นสุด ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่นำมาใช้ได้จริงแล้ว ไมเคิล พาว์ลีน สถาปนิกที่โด่งดังจากการออกแบบสถาปัตยกรรมเลียนแบบธรรมชาติเคยพูดเรื่องนี้ใน Tedtalks เมื่อปี 2010 (http://www.ted.com/talks/michael_pawlyn_using_nature_s_genius_in_architecture.html) ว่า ไบโอมิมิครีจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในการใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง เป็นการใช้และผลิตที่เป็นไปแบบวงจรปิดจากเดิมที่เป็นเส้นตรงคือขุดขึ้นมา ผลิต ใช้ และกลายเป็นขยะ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนเศรษฐกิจโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เขายกตัวอย่างงานออกแบบโรงเรือนสำหรับปลูกต้นไม้ของเขาและทีมงานว่า เกิดจากการสังเกตโครงสร้างของวัสดุธรรมชาติหลายชนิดที่มีความเบาเหนียวและคงทน เช่น เกสรเมล็ดพันธุ์พืช พบว่ามีโครงสร้างทั้งแบบ 5 เหลี่ยมและ 6 เหลี่ยม เขาเลือกใช้พลาสติกโพลิเมอร์ ETFE ซึ่งมีโครงสร้างแบบ 6 เหลี่ยม […]

Read More