กินดีอยู่ดี

กินดีอยู่ดี
read

หนทางเลี่ยงมะเร็ง ตอน 2

ในตอนเเรกของหนทางเลี่ยงมะเร็งนั้น ผู้เขียนได้กล่าวถึง 5 ปัจจัยแรกที่ World Cancer Research Fund กล่าวถึงอาหารที่ทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งซึ่งได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกิน อาหารหมักเกลือ (ซึ่งไม่รวมถึงปลาเค็มที่ถูกแยกออกเป็นอีกปัจจัย) สารหนู เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ และเบต้าแคโรทีนที่ขายในรูปของอาหารเสริม สำหรับในเดือนนี้ผู้เขียนจะกล่าวต่อถึงปัจจัยเสี่ยงอีก 5 ชนิดซึ่งมนุษย์ได้จากการกินเป็นอาหาร

Read More
กินดีอยู่ดี
read

หนทางเลี่ยงมะเร็ง ตอน 1

สิ่งที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภคระหว่างการเปลี่ยนแป้งส่วนเกินความจำเป็นของร่างกายไปเป็นไขมันนั้น สามารถอธิบายได้ว่า ในร่างกายเรานั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแป้งไปเป็นไขมันโดยตรงแต่มีความซับซ้อนดังนี้

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ดรามาปลาดิบ

เพื่อให้ชีวิตมันอยู่ง่ายขึ้นบ้าง เดือนนี้จึงขอเล่าข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อสงสัยในความไม่ปลอดภัยของอาหารสักประเด็นหนึ่ง ซึ่งหวังว่าบางท่านอาจได้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อช่วยตัดสินใจในการดำรงชีวิตด้วยอาหารนอกบ้าน ด้วยเรื่องที่เขียนนี้ค่อนข้างดรามาบนโลกออนไลน์ของเดือนพฤษภาคม 2559 คือปลาดิบที่กินเป็นอาหารนั้นอาจมีสีฉาบไว้หรือไม่

Read More
กินดีอยู่ดี
read

โฟเลตเพื่อลูก ตอน2

โฟเลตสำคัญต่อการสร้างประชากรของชาติที่มีร่างกายครบสามสิบสอง ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสำคัญอย่างสูง สำหรับประเทศไทยนั้นความจริงเรื่องนี้ก็เป็นที่ทราบกันมานานพอควรแล้ว จนสุดท้ายเมื่อต้นปีนี้จึงได้มีการกล่าวถึงโฟเลตในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ

Read More
กินดีอยู่ดี
read

โฟเลตเพื่อลูก

ประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องของไวตามินดีคือ มีข่าวปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยขึ้นว่า คนไทยซึ่งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่ไม่ขาดแดดนี้กำลังเริ่มมีการขาดไวตามินดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะหลายคนพยายามเลี่ยงการโดนแดดในตอนเช้าและเย็น ด้วยเหตุที่ต้องการให้ผิวกายมีความขาวซีด

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ไขมันสุขภาพ ตอน 2

คลอเรสเตอรอลเป็นไขมันที่ถูกสาปให้หลายคนกลัว โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในในรูป LDL ซึ่งมาจากคำว่า low density lipoprotein ไขมันนี้ถูกประนามว่าเป็น ไขมันเลว (หรือคอเลสเตอรอลเลว) ในขณะที่ HDL ซึ่งมาจากคำว่า high density lipoprotein ถูกยกย่องว่าเป็น ไขมันดี (หรือคอเลสเตอรอลดี) โดยในทางชีวเคมีแล้วความแตกต่างของไขมันชนิด lipoprotein

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ไขมันกับสุขภาพ ตอนที่ 1

สิ่งหนึ่งที่นักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการมักมองข้ามความสำคัญของไขมันคือ ไขมันนั้นเป็นองค์ประกอบหลักของผนังเซลล์ (cell membrane) ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนดาวดวงนี้ ซึ่งถ้าการปรากฏตัวในผนังเซลล์ของไขมันเป็นชนิดที่เหมาะสม ผนังเซลล์นั้นจะช่วยให้เซลล์ทำหน้าที่ได้เหมาะสมตามที่มันควรเป็น

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อาหารแบบมนุษย์ยุคหิน

การกินอาหารแบบมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปนานแล้วนี้ เน้นการกินที่เป็นธรรมชาติตามสัญชาตญาณของคนยุคหินเช่น กินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ถั่ว และผลไม้ เหมือนที่หาได้ในป่าสมัยโบราณ อาหารนั้นไม่ต้องปรุงแต่ง (แต่ควรทำสุก) แบบว่าหาได้แบบไหนก็แทนจะกินแบบนั้น เพราะในยุคหินนั้นแค่วิ่งหนีไดโนเสาร์ก็เหนื่อยแล้วจะหาเวลาที่ไหนมานั่งปลูกข้าวแล้วนำมาสีเพื่อนำไปหุงกิน

Read More
กินดีอยู่ดี
read

แสงสว่าง…..ของผู้ป่วยมะเร็ง ????

วันหนึ่งไม่นานมานี้เองผู้เขียนก็ได้อ่านบทความในวารสารออนไลน์ Nature เกี่ยวกับวิวัฒนาการในการบำบัดมะเร็งด้วยไวรัส ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เขียนไม่เคยทราบมาก่อน และคิดว่ามันเป็นประเด็นที่เข้ามาใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นทุกที น่าจะนำมาคุยให้ท่านผู้อ่านที่ไม่คุ้นชินต่อการหาข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพรู้ไว้พอสังเขป เผื่อจำเป็นต้องตัดสินใจในประเด็นดังกล่าว

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ระแวง ระวัง แต่อย่ากังวลนัก ตอน 2

ดังที่ได้กล่าวในเดือนที่แล้วว่า สาเหตุการตายที่สำคัญประการหนึ่งของมนุษย์คือ มะเร็ง ซึ่งเกิดเนื่องจากปัจจัยที่พอทราบบ้างแล้ว ดังนั้นประเด็นในบทความมูลนิธิโลกสีเขียวเดือนนี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงปัจจัยเรื่องอาหารซึ่งอาจจะหรือไม่เกี่ยวกับการเกิดมะเร็งแต่มักมีการพูดถึงในโลกอินเทอร์เน็ต ต่ออีกหนึ่งตอนดังนี้ ปลาเเซลมอนเลี้ยง (Farmed Salmon) เเซลมอนเป็นปลาที่มีคนกินกันมาก ถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิศาสตร์ประเทศแถบหนาวเช่น แคนาดา เรื่อยไปถึงยุโรปตอนเหนือ แต่เนื่องจากการที่ความต้องการกินปลาชนิดนี้มากขึ้น แต่แหล่งของปลาธรรมชาติกลับลดน้อยลงบวกกับอิทธิพลของกระบวนการทางธุรกิจ จึงส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มคิดผลิตปลาเเซลมอนเลี้ยงขึ้นมา เรื่องนี้ไม่ต่างจากการเลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ ที่มีทั้งเลี้ยงในกระชังในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือในระบบปิดแยกออกจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ นักธรรมชาติวิทยาส่วนใหญ่มักนิยมสิ่งที่เป็นธรรมชาติ กรณีของแซลมอนเลี้ยงนั้นเป็นตัวอย่างที่สามารถถอดบทเรียนไปสู่สัตว์น้ำเลี้ยงอื่น ๆ ซึ่งความจริงคนไทยก็รู้เรื่องนี้ดีไม่แพ้ฝรั่ง ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยคุยกับอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลซึ่งไม่ได้ศึกษาแต่ปลาทะเล เพราะสิ่งที่อาจารย์ท่านนั้นคุยให้ฟัง เป็นเรื่องของปลาบู่เลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก (ชนิดเดียวกับที่เรานำมาใส่เสื้อผ้า สิ่งของ และอื่น ๆ) ซึ่งโดยสรุปแล้วอาจารย์ท่านนั้นเล่าว่า มันเป็นวิธีเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถควบคุมได้ทั้งต้นทุน ความสะอาดและจังหวะการผลิตเพื่อความเหมาะสมทางการตลาด โดยต้องเลิกคำนึงถึงจิตวิญญานในการดำรงชีวิตของสัตว์นั้น สำหรับนักธรรมชาติวิทยากลับมองการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มโดยเฉพาะสัตว์น้ำไปในมุมอื่น ท่านที่สนใจรายละเอียดของประเด็นนี้สามารถลองเข้าไปดูใน YouTube โดยใช้คำว่า farmed salmon ในการค้นหาคลิปก็จะได้ดูคลิปที่น่าสนใจหลายคลิป ประเด็นที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจคือ การกล่าวถึงเรื่องของความแข็งแรงของสัตว์ที่เลี้ยงในบริเวณปิดจะต่างจากสัตว์ที่หากินเองตามธรรมชาติ เรื่องของเชื้อโรคต่าง ๆ สารพิษต่าง ๆ (ซึ่งมีระดับความเสี่ยงต่างกันไปเช่น ในการเลี้ยงสัตว์น้ำเลี้ยงในกระชังนั้น ถ้ามีโรงงานบริเวณเหนือแหล่งน้ำสร้างปัญหาทิ้งน้ำเสียออกมา สัตว์น้ำในกระชังจะมีปัญหาทั้งหมดเพราะว่ายหนีไม่ได้ อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าสัตว์น้ำธรรมชาติจะปลอดจากสารพิษถ้ามันเป็นสัตว์ที่มีถิ่นหากินใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารพิษเป็นขยะตัวอย่างที่น่าสนใจคือกรณีสัตว์น้ำมีการปนเปื้อนจากน้ำมันดิบที่รั่วไหลจากบ่อน้ำมันสู่สิ่งแวดล้อมในอ่าวเม็กซิโกเมื่อหลายปีมาแล้วซึ่งปัจจุบันยังตามหลอกหลอนผู้บริโภคแถบนั้นอยู่ อีกประเด็นหนึ่งที่ควรสนใจคือสัตว์น้ำธรรมชาตินั้นมีความหลากหลายในโอกาสคัดเลือกพันธุ์เองโดยไม่ต้องถูกบังคับให้มีการสืบสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดแบบสัตว์เลี้ยงและมีอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจกล่าวถึงปัญหาทางโภชนาการของอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม เช่นเป็นที่รู้กันว่าแซลมอนนั้นกินปลาที่เล็กกว่าในธรรมชาติเป็นอาหารหลักแต่เมื่อมาอยู่ในกระชังหรือบ่อเลี้ยงอาหารจะถูกเปลี่ยนไปเช่นกรณีการใช้น้ำมันพืชผสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตและอาจรวมถึงการใช้สารเคมีสังเคราะห์อื่นๆที่ช่วยทำให้ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์แบบไม่ธรรมชาตินี้สร้างกำไรให้เจ้าของกิจการมากขึ้นทำให้เนื้อเเซลมอนเลี้ยงมีคุณค่าทางโภชนาการต่างจากเเซลมอนธรรมชาติความด้อยเด่นนั้นผู้เขียนขอไม่กล่าวถึงในที่นี้ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ระแวง ระวัง แต่อย่ากังวลนัก ตอน 1

ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งมักมีการพูดถึงในโลกอินเตอร์เน็ท (ซึ่งถูกบ้าง มั่วบ้าง หลุดโลกไปเลยก็มี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงจะใช้ตัวอย่างตัวอย่างข้อมูลที่ sv160.lolwot.com ได้ลงบทความเกี่ยวกับชนิดของอาหารที่ผู้บริโภคควรเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเรื่อง 16 Cancer Causing Foods You Probably Eat Every Day เป็นแนวทางเพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกโลกสีเขียวเท่านั้น

Read More