Tag : เเก้ว กังสดาลอำไพ

กินดีอยู่ดี
read

เมื่อคิดลดน้ำหนัก

การโกหก การคิดเอาเองแล้วบอกว่าใช่ และการจับแพะชนแกะ เพื่อขายอาหารหรืออุปกรณ์ที่อุปโหลกเอาเองว่า ทำให้คนมีสุขภาพดีโดยเฉพาะเกี่ยวกับการลดน้ำหนักนั้น เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั้งในโทรทัศน์ดิจิตอลไปถึงอินเตอร์เน็ท ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีวิธีอะไรที่ทำให้น้ำหนักตัวลดได้ง่าย ส่วนใหญ่ที่ออกมาพูดกันนั้นอาจได้ผลเฉพาะกับตัวผู้พูด แต่ไม่ได้ผลกับคนอื่นซึ่งมีความแตกต่างตั้งแต่พันธุกรรมไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความยากได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อคำนึงถึงเศรษฐานะ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรที่ทำให้การลดน้ำหนักของแต่ละคนกลายเป็นเรื่องยากอย่างไม่น่าเชื่อ Alexandra Sifferlin ได้เขียนบทความเรื่อง “9 Myth About Weight Loss” เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2017 ในวารสารออนไลน์ TIME Health ซึ่งบรรยายถึงความอึมครึม (Myth) เกี่ยวกับความเชื่อบางประการในการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและอื่น ๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันได้พยายามหาคำอธิบายถึงความเชื่อนั้น ๆ ว่า จริงหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนขอเลือกประเด็นที่น่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ซึ่งกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่มาเล่าให้ฟัง ภาพจาก: https://www.organicbook.com/food ความอึมครึมเรื่องแรกคือ เป็นไปไม่ได้ที่จะลดน้ำหนักตัว (เพราะผู้กล่าวนั้นทำไม่ได้ผลมาแล้ว) สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าไปคุยกับผู้ที่เคยพยายามลดน้ำหนักแล้วไม่สำเร็จจะได้ยินคำสารภาพว่า การลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็น ดั่งเข็นครกขึ้นภูเขา ทั้งที่ความจริงแล้วการศึกษาทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสามารถทำได้จริง องค์กรเอกชนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาคือ National Weight Control Registry ซึ่งก่อตั้งในปี 1994 โดย ดร. Rena Wing […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อยู่กับไมเกรน โดยไม่ต้องกินยาอันตราย

ช่วงวันที่ 7-8 สิงหาคม 2562 ปรากฏมีข่าวที่เป็นอุทาหรณ์แก่คนทั่วไป ถึงอันตรายในการใช้ยาเกินจำเป็น เนื้อข่าวมีประมาณว่า สตรีนางหนึ่งมีอาการปวดหัว (ซึ่งเดาเองว่าเป็นไมเกรน) แล้วไม่ไปหาหมอแต่เลือกซื้อยากินเองนานเป็นปี ระหว่างนั้นก็บ่นปวดหัวและปวดตามร่างกายเป็นระยะ ๆ พร้อมเป็นผื่นในลักษณะของการแพ้ สุดท้ายทนไม่ไหวจำต้องไปหาหมอเมื่ออาการทรุดหนัก ซึ่งหมอก็พยายามยื้อชีวิตได้นานถึง 12 ชั่วโมง แล้วเธอก็เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายโดยหมอระบุว่า เธออาจได้รับยาแก้ปวดในปริมาณสูงมากจนหัวใจรับไม่ไหว ประเด็นที่น่าสนใจในข่าวนี้คือ หนึ่งอาการปวดหัวของเธอเป็นไมเกรนหรือไม่ เพราะการปวดหัวนั้นมีหลายลักษณะ (ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลจากเว็บด้านการแพทย์ได้ไม่ยากนัก) และสองอาการที่เธอแพ้เกิดผื่นนั้นเป็นลักษณะผลข้างเคียงของยาที่ผู้ป่วยไมเกรนมักกินเพื่อแก้อาการปวดคือ NSAIDs (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) หรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้สังเกตเห็นจากคำสัมภาษณ์ของญาติผู้เสียชีวิตคือ ผู้เสียชีวิตนั้นเมื่อไม่ไปพบแพทย์เมื่อปวดหัวแล้ว ก็ได้ทำในสิ่งที่คนไทยทั่วไปทำกันคือ ซื้อยากินเองจากร้านขายยาซึ่งผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า เป็นร้านที่มีเภสัชกรมาช่วยคุมร้านตามช่วงเวลาที่ตกลงกัน คงไม่ใช่ร้านที่มีเภสัชกรเป็นเจ้าของ เนื่องจากชนิดของยาแก้ปวดที่หนังสือพิมพ์ออนไลน์บางฉบับนำภาพยา (ที่ญาติผู้ตายวางให้ดูบนเสื่อพลาสติก) มาเสนอประกอบข่าวนั้นปรากฏว่า มีความซ้ำซ้อนในชนิดของยากลุ่มเดียวกันที่เป็น NSAIDs ซึ่งยาเหล่านั้นต่างมีผลข้างเคียงคล้าย ๆ กัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ทำให้หัวใจวาย (ข่าวกล่าวว่า หมอที่ดูแลผู้ป่วยรายนี้ได้สันนิษฐานไว้ เพียงแต่ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิในการปฏิเสธการผ่าศพพิสูจน์) ดังนั้นการกินยากลุ่มเดียวกันมากกว่าหนึ่งชนิดในครั้งเดียวกันจึงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่เภสัชกรควรถามคนไข้ทุกครั้ง (นอกจากเรื่องการแพ้ยา) ว่า กินยาอะไรอยู่หรือไม่ ภาพจาก: http://www.phyathai-sriracha.com สำหรับผู้เขียนซึ่ง (น่าจะเรียกได้ว่า) […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

กลูตาไธโอนดีต่อสาวผิวคล้ำ…จริงหรือ

เซลล์ในหลายอวัยวะของมนุษย์สร้างกลูตาไธโอนซึ่งเป็นไตรเป็บไตด์ (tripeptide) ซึ่งมีกรดอะมิโนสามชนิดคือ ซิสเทอีน (cysteine) กลูตาเมต (glutamate) และ กลัยซีน (glycine) เป็นองค์ประกอบขึ้นได้เอง ดังนั้นในทางโภชนาการจึงไม่ถือว่า กลูตาไธโอนเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์ เราสามารถพบกลูตาไธโอนได้ในผลไม้ (เช่น แตงโม จนครั้งหนึ่งคิดกันว่า การกินแตงโมหลาย ๆ ผลแล้วจะขาวขึ้น) ผักที่มีกลิ่นแรงหลายชนิด และเนื้อสัตว์ เหตุผลว่าทำไมกลูตาไธโอนถึงมีทั้งในพืชและสัตว์นั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วกลูตาไธโอนถูกใช้ในกระบวนการยับยั้งการก่อพิษ หรือใช้ในการขับสารพิษออกจากสิ่งมีชีวิต และถ้าคิดว่านี่คือ การล้างพิษ ก็คงเชื่อได้ว่า นี่คือตัวจริงเสียงจริง ความรู้ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนยังไม่เคยพบว่า มีการอภิปรายทั้งในบทความของไทยและเทศคือ ในการตอบคำถามว่า กลูตาไธโอนนั้นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายหรือไม่นั้นคือ การศึกษาทาง pharmacokinetics หรือที่คนไทยบัญญัติคำ ๆ นี้ว่า เภสัชจลนศาสตร์ (ซึ่งคงต้องอธิบายความง่าย ๆ ว่า มันคือ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของยาในเลือดเมื่อเวลาผ่านไป ผลที่ได้นั้นทำให้สามารถคำนวณอัตราการดูดซึม (absorption rate) ขับออก (elimination rate) และค่าครึ่งชีวิต (half life) ของยา) เมื่อผู้เขียนเข้าใช้บริการของ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ก่อน-หลังออกกำลังกาย กินอะไรดี

ผู้เขียนเข้าใจว่า ประเด็นการกินอะไรก่อนหรือหลังออกกำลังกายนี้มักไม่อยู่ในความคิดของคนทั่วไปที่สนใจการออกกำลังกาย เพราะแค่พาตัวไปออกกำลังกายด้วยวิธีอะไรก็ได้นั้น มันก็ยากแสนยากเย็นแล้ว “เรื่องกินอะไรดี” มักเป็นเรื่องที่คิดกันทีหลัง ส่วนคนที่หวังออกกำลังกายเพื่อคุมน้ำหนักตัว โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่เป็นเกมส์นั้น ประเด็นนี้ค่อนข้างสำคัญมาก เนื่องจากการเล่นกีฬาที่เป็นเกมส์จำต้องเล่นต่อเนื่องไม่สามารถหยุดได้จนกว่าจบเกมส์หรือมีจังหวะที่ต้องหยุดตามกติกา การที่จะเล่นอะไรต่อเนื่องได้จึงจำเป็นต้องมีพลังงานที่เค้นออกมาจากเซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปตามเกมส์ตามต้องการ คำว่าการออกกำลังกายถ้าเป็นภาษาอังกฤษร้อยทั้งร้อยคนไทยมักบอกว่า คือ exercise ทั้งที่ความจริงแล้ว คำว่า excercise นี้มีความหมายหลายประการตั้งแต่ แบบฝึกหัด การออกกำลังกาย การทำงาน การใช้แรงกายทำกิจกรรม แต่ในเว็บของฝรั่งที่บรรยายเรื่องเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีนั้นมักใช้คำว่า workout น่าจะหมายถึงการทำอะไรก็ได้ที่มีการออกแรงได้เหงื่อซึ่งส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงและควรมีสุขภาพดี   ผู้เขียนเริ่มเล่นกีฬาโดยหวังมีสุขภาพที่ดีอย่างจริงจัง เมื่อย่างเข้าสู่ตอนปลายของวัยกลางคนคือ อายุ 40 กว่าปีแล้ว ทั้งนี้เพราะในช่วงต้นของการทำงานสอนหนังสือนั้นมีความรู้สึกว่า การออกกำลังกายนั้นเสียเวลาและเปลืองเงิน เพราะอุปกรณ์กีฬาที่ใช้ในการเล่นตลอดจนเครื่องแต่งกายที่ช่วยทำให้ปลอดภัยระหว่างออกกำลังกายนั้นเช่น รองเท้า สนับเข่า และอื่น ๆ มีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นจึงเลือกทำงานบ้านที่ทำให้ได้เหงื่อเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็สรุปได้เองว่า คิดผิด เพราะทำงานบ้านนั้นมันเป็นความจำเป็นที่บางครั้งก็เบื่อบ้าง ในขณะที่การเล่นกีฬานั้นเป็นความสมัครใจที่มักได้ผลตอบแทนคือ ความสนุกและได้เหงื่อเร็ว ดังนั้นในเริ่มแรกจึงขาดความรู้ในเรื่องว่า ควรกินอะไรก่อนและหลังการไปเล่นเกมส์ แต่ประสบการณ์หลังการออกกำลังกายไปสักช่วงหนึ่งทำให้พอเริ่มจับได้ว่า ควรกินอะไร อย่างไร ที่ทำให้เล่นกีฬาได้ด้วยความทนในระดับที่เราพอใจ ผู้รักการออกกำลังกายทุกคนต้องมีพลังงานที่ได้จากอาหารที่เหมาะสมครบห้าหมู่ โดยหลักการแล้วสารอาหารที่สำคัญในประเด็นนี้คือ แป้งและไขมัน […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เด็กของเรากินอะไรหน้าโรงเรียน

บทความนี้ผู้เขียนจะให้ข้อมูลเพื่อขอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาว่า อะไรคือสิ่งที่เหมาะสมกับสังคมไทยในประเด็นเกี่ยวกับการที่นักเรียนเล็ก ๆ ได้ซื้อไส้กรอกฝรั่งที่ขายหน้าโรงเรียนกินแล้ว เสี่ยงอันตรายในการได้รับสารประกอบไนไตรท์หรือการได้รับสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนนั้น สมควรที่จะทำอย่างไรดี ก่อนอื่นนั้นผู้เขียนขอให้ข้อมูลพื้นฐานแก่ผู้ที่ไม่ค่อยคุ้นชินกับเรื่องของไส้กรอกฝรั่ง ซึ่งต่อไปขอเรียกว่าไส้กรอก (ซึ่งไม่รวมไส้กรอกอีสานหรือผลิตภัณฑ์อาหารอื่นใดที่อาจมีหน้าตาคล้ายไส้กรอกฝรั่ง) ว่า ไส้กรอกทั้งหมูและไก่นั้นไม่ใช่อาหารไทยมาแต่เดิม วิกิพีเดียไทยให้ความรู้ว่า “ไส้กรอก มีความเป็นมานานถึง 3,500 ปีแล้ว ในยุคบาบิโลเนีย ลักษณะเป็นเนื้อหมักเครื่องเทศ ยัดไว้ในไส้สัตว์ ในยุคกลางเมืองต่าง ๆ ในยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างของไส้กรอกของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมืองที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น” ผู้เขียนจึงขอเข้าใจเอาเองว่า ไส้กรอกนั้นคงเข้ามาพร้อมกับชาวยุโรปตั้งแต่สมัยพี่หมื่นและแม่การะเกดได้พบกันตามบุพเพสันนิวาสที่มีมา เพราะช่วงเวลานั้นฝรั่งหลายชาติเหลือเกินเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา คงต้องมีบ้างละที่อยากกินไส้กรอกเหมือนตอนอยู่บ้านเขา แต่ไส้กรอกนั้นคงยังไม่แพร่หลายเท่าใดเพราะดูไม่ต้องกับวัฒนธรรมการกินแบบไทยโบราณนัก และที่สำคัญคือ ราคามันแพง   สมัยผู้เขียนยังเด็ก ครั้งแรกที่ได้กินไส้กรอกนั้นเป็นชนิดแท่งเล็ก ๆ เท่านิ้วมือผู้ใหญ่ซึ่งป้าพาไปซื้อที่ตลาดนัดสนามหลวง (ซึ่งภายหลังถูกย้ายไปเจริญรุ่งเรืองที่สวนจตุจักร) คำแรกที่ได้เคี้ยวในปากมีความรู้สึกว่า ทำไมกลิ่นถึงเหมือนน้ำยาดองอาจารย์ใหญ่ที่เพิ่งข้ามเรือไปดูที่คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลก็ไม่รู้ ดังนั้นไส้กรอกจึงไม่ใช่อาหารที่ผู้เขียนต้องในอารมณ์สักเท่าไร (ทำเหมือนกับรู้มาแต่ชาติปางก่อนว่า มันคงมีไนไตรท์และไนโตรซามีนปนอย่างไรก็ไม่รู้) เมื่อผู้เขียนได้เข้าเรียนในหลักสูตรพิษวิทยาของ Utah State University (USU) ที่เมือง Logan รัฐ Utah […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

สำหรับมังสวิรัติมือใหม่

ผู้เขียนไม่ได้กินอาหารแบบมังสวิรัติ เนื่องจากความไม่พร้อมในการปรุงอาหารประเภทนี้ให้อร่อยเท่าที่ควร แต่ก็พยายามเปลี่ยนตนเองไปกินอาหารแบบที่มีพืชเป็นหลัก (plant based diet) ทั้งนี้เพื่อการรักษาน้ำหนักตัวและปรับองค์ประกอบของเลือดให้ดูดีเวลาไปตรวจสุขภาพประจำปี อย่างไรก็ดีการหาความรู้เกี่ยวกับอาหารมังสวิรัตินั้นเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะเก็บไว้ เผื่อเมื่อต้องการเปลี่ยนไปกินมังสวิรัติหรือมีเพื่อนต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นใน กินดีอยู่ดี ฉบับนี้จึงขอนำข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เผยแพร่ให้ผู้สนใจทราบว่า การกินมังสวิรัตินั้นถึงมีข้อมูลว่าก่อประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย แต่โอกาสเกิดปัญหาบางประการนั้นมีได้ถ้ามีความรู้ไม่ครบ   ทำไมถึงเป็นมังสวิรัติ ผู้ที่ผันตนเองไปกินอาหารแบบมังสวิรัตินั้นต่างมีเหตุผลที่หลากหลาย เช่น คิดถึงสุขภาพที่ (น่าจะ) ดีขึ้น มีศรัทธาตามความเชื่อมั่นในบางศาสนา มีความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ต้องการเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่มักมีการใช้ยาปฏิชีวนะและฮอร์โมน เจตนากินอาหารในลักษณะที่หลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมากเกินไป บางคนรู้ตัวว่าไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้เพราะเคยพบภาพการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น อย่างไรก็ดีการเป็นมังสวิรัติในสมัยนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เนื่องจากความพร้อมของพืชผัก ผลไม้ ถั่วและอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหารมังสวิรัตินั้นมีขายตามสถานที่ขายอาหารสดต่าง ๆ ในอดีตที่ผ่านไปนั้น งานวิจัยที่เกี่ยวกับการกินมังสวิรัติได้มุ่งเน้นในการยืนยันประโยชน์ต่อสุขภาพเนื่องจากการไม่กินเนื้อสัตว์ ตามที่สมาคมนักกำหนดอาหารอเมริกันกล่าวว่า การกินอาหารมังสวิรัตินั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านโภชนาการและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อบางชนิดได้ แต่การศึกษาถึงโอกาสขาดสารอาหารที่อาจเกิดขึ้นนั้นก็มิได้ถูกมองข้ามไปแต่อย่างใด ดังจะกล่าวถึงในบทความนี้ ข้อควรคำนึงในการเป็นมังสวิรัติ ผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติจำต้องรู้วิธีปฏิบัติตนตามคำแนะนำด้านโภชนาการ ซึ่งรวมถึงการกินไขมันให้พอเหมาะและการควบคุมน้ำหนักตัว สิ่งที่ควรคำนึงคือ แม้ว่าน้ำอัดลม พิซซ่าหน้าเนยแข็ง และขนมหวานต่าง ๆ ดูมีลักษณะเข้าอยู่ในเกณฑ์ “มังสวิรัติ” ก็ตาม แต่อาหารเหล่านี้ก็ยังเข้าเกณฑ์ต้องหลีกเลี่ยงเพราะทำให้อ้วนง่าย จึงควรหันไปกินผัก […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ความเชื่อโบราณ VS วิทยาศาสตร์

อยู่ ๆ ก็มีผู้ติดตามบทความของผู้เขียนมาตลอดตั้งคำถามว่า ข้อมูลจากบทความหนึ่งชื่อ “เกือบเอาชีวิตไม่รอด ห้ามกินคู่กันเด็ดขาด มีพิษร้ายแรงเทียบเท่าสารหนู” ซึ่งลงไว้ในเว็บไทยเว็บหนึ่งในอินเตอร์เน็ทเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2018 (โดยมีคำบรรยายต่อว่า “ยังดีที่มา รพ. ทัน ไม่งั้นอาจถึงแก่ชีวิตได้? แพทย์เผยสาเหตุ..ของหญิงวัย 30 ที่ป่วยอยู่..แล้วกินกล้วยกับของเหล่านี้เข้าไปคู่กันโดยคาดไม่ถึงว่ามันจะอันตรายขนาดนี้?”) เป็นบทความที่น่าเชื่อหรือไม่ เพราะดูค่อนข้างแปลก รายละเอียดต่อจากหัวข้อข่าวกล่าวว่า “….หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากล้วยหอมห้ามกินกับอะไรบ้าง เหมือนกับผู้ป่วยรายนี้ที่รับประทานกล้วยกับโยเกิร์ตเข้าไปพร้อมกัน พอเวลาผ่านไปสักพัก เขาเริ่มเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงจนทนไม่ไหว ทางบ้านจึงรีบพาส่ง รพ. แพทย์รีบเช็คดูอาการแล้วจึงรีบล้างท้องโดยด่วน พร้อมเผยว่าหญิงวัย 30 รายนี้ได้รับประทานอะไรเข้าไปหรือป่าว หญิงรายนี้เลยบอกแค่ว่าเขา รับประทานแค่กล้วยกับโยเกิร์ตเข้าไป แต่ไม่คิดว่าจะปวดท้องมากขนาดนี้…”   ท่านผู้อ่านบางคนอาจเคยพบบทความในลักษณะข้างต้นนี้มาบ้างพอควร ซึ่งเมื่ออ่านแล้วหลายคนก็คงผ่านไป แต่บางคนอาจคิดต่อว่า ทำไมมันถึงเป็นเช่นที่กล่าวในบทความ โดยเฉพาะเมื่อมีข้อความเหมือนหวังดีเพิ่มเติมว่า “….กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับโยเกิร์ตเพราะการรับประทานพร้อมกันจะผลิตสารก่อมะเร็งได้ง่าย กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับมันฝรั่งเพราะถ้ากินด้วยกันจะเกิดกระและผื่นแดงที่ข้างจมูก (ผื่นปีกผีเสื้อ) กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับเผือกเพราะกินด้วยกันจะทำให้ท้องอืด กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับเนื้อวัวเพราะกินด้วยกันจะทำให้ปวดท้อง กล้วยหอมนั้นห้ามกินกับมันเทศเพราะกินด้วยกันจะเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ไม่พึงประสงค์ทำให้ร่างกายไม่สบาย เป็นต้น…..” ลักษณะข้อมูลดังกล่าวนั้นดูน่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของของกล้วยหอมและเรื่องของโยเกิร์ต ซึ่งบางคนกินแยกกันและบางคนกินผสมกัน (โดยเฉพาะฝรั่งหลายชาติอาจปั่นเป็น smoothie ดังปรากฏเป็นสูตรอาหารเช้าในเน็ทเมื่อใช้คำว่า banana […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

คิดหน้าคิดหลังก่อนกินโคคิวเท็น

ผู้เขียนมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่น่องค่อนข้างบ่อย จึงได้พยายามหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ถึงสาเหตุของความน่ารำคาญนี้ แต่ก็หาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะผู้ที่น่าจะรู้ส่วนใหญ่มักอธิบายกว้างครอบจักรวาฬ ตรงกับอาการบ้างไม่ตรงบ้าง จึงเข้าใจเอาเองในขั้นต้นว่า คงเป็นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ชิ้นส่วนของร่างกายย่อมเสื่อมสภาพไปบ้าง แต่ปรากฏว่ามีเด็กหนุ่มสาวอายุราว 20 ปี บ่นว่ามีอาการเช่นกันในเว็บ pantip ดังนั้นจึงพอคลายกังวลได้บ้างว่า ไม่ใช่เฉพาะ สว. อย่างผู้เขียนเท่านั้นที่เป็น ที่น่าสนใจคือ อาการปวดนี้มักหายไประหว่างการออกกำลังกาย แล้วกลับมาใหม่หนักเบาไม่เท่ากันไร้ความแน่นอน อาการปวดกล้ามเนื้อนี้ผู้เขียนสังเกตว่า เกิดขึ้นหลังเริ่มกินยาเพื่อปรับความดันโลหิต ดังนั้นจึงเข้าใจและยอมรับว่า อาการดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาปรับความดันชนิดที่มีผลต่อการทำงานของแคลเซียมที่กล้ามเนื้อ จึงเพิ่มการกินอาหารที่มีแร่ธาตุมากขึ้น อีกทั้งระยะหลังนี้ได้ลองกินแร่ธาตุเสริมคือ แคลเซียมและแมกนีเซียมในลักษณะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ที่ได้รับแจกฟรีในการประชุมวิชาการ) ซึ่งก็ดีขึ้นบ้างเป็นพัก ๆ ยังสรุปไม่ได้นัก   นอกจากแร่ธาตุแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้แนะนำและหยิบยื่นให้ลองกินฟรีดู โดยใช้พื้นความรู้ว่า ตะคริวนั้นอาจเกิดเนื่องจากการออกกำลังกายของผู้เขียนที่อาจมากเกินวัย จนกล้ามเนื้อขาดพลังงานได้ สินค้านั้นคือ โคคิวเท็น (coenzyme Q10) โคคิวเท็นเป็นสารชีวเคมีที่ผู้เขียนไม่ค่อยศรัทธาว่ากินแล้วจะก่อผลอะไรต่อร่างกาย เพราะเมื่อลองค้นข้อมูลงานวิจัยและจากตำราที่เคยเรียนได้ก่อให้เกิดความสงสัยมากว่า โคคิวเท็นที่กินเข้าไปนั้นสามารถเข้าไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำงานได้จริงหรือไม่ โคคิวเท็นนั้นเป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาใช้ได้เองจากองค์ประกอบต่าง ๆ ในอาหารที่ร่างกายดูดซึมเข้าไป จึงไม่น่าเรียกว่า วิตามิน (แต่ถ้าอ้างว่าวิตามินดีนั้นร่างกายมนุษย์ก็สร้างได้เอง หลายคนจึงพยายามจัดให้โคคิวเท็นเป็นวิตามิน ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ขัดใจ ว่ากันไปตามสะดวกก็แล้วกัน) […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

สู้โว้ย..เมื่อคอเรสเตอรอลในเลือดสูง

สารพฤกษเคมีกลุ่มหนึ่ง คนไทยเรียกว่า ไฟโตสเตอรอล (phytosterol ออกเสียงว่า ไฟ-โต-สะ-เตีย-รอล) ได้เริ่มเข้ามาสู่วิถีชีวิตของผู้บริโภคบางท่าน ซึ่งปรับตัวให้เป็นไปตามสภาพของคนไทยยุค ไทยแลนด์ 4.0 เเละใช้ชีวิตล่องลอยไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้แต่ละคนลดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จนเกิดโรคเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายเร็วกว่าที่ควรเป็น เช่น คอเลสเตอรอลในเลือดสูง นำไปสู่ความเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบและภาวะสมองขาดเลือด ภาพจาก : http://www.actigenomics.com/2012/06/what-are-phytosterols/ มีข้อมูลบอกกล่าวในเว็บที่โฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งมีไฟโตสเตอรอลเป็นองค์ประกอบว่า ชาวฟินแลนด์นั้นเคยมีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมาก่อน จนทำให้คนวัยทำงานเสียชีวิตด้วยโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดสูงที่สุดในโลก รัฐบาลฟินแลนด์และเอกชนจึงร่วมมือหามาตรการแก้ปัญหานี้ โดยระดมผู้เชี่ยวชาญมาคิดค้นวิจัยหาสิ่งที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ถึงปี 1972 นักวิจัยชาวฟินแลนด์ได้ประสบความสำเร็จค้นพบว่า ไฟโตสเตอรอลมีผลในการลดคอเลสเตอรอลในเลือดของชาวฟินแลนด์ ส่งผลให้ภายใน 5 ปีหลังจากนั้น อัตราการตายของชาวฟินแลนด์ในวัยทำงานเนื่องจากโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดลดลงถึงร้อยละ 70 ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้สรรเสริญโดยจัดอันดับคุณภาพชีวิตของชาวฟินแลนด์อยู่อันดับที่ 11 ของโลก กล่าวกันว่าในการศึกษาแบบทดลองสุ่มตัวอย่างที่เรียกว่า Double Blind (มีผู้แปลว่า การทดลองแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย ซึ่งหมายความว่า ผู้ทำการทดลองและอาสาสมัครไม่รู้ว่าสิ่งที่ถูกทดสอบเช่น ยา นั้นอาสาสมัครคนใดได้บ้าง โดยมีคนที่รู้คือ ผู้ควบคุมการทดลองเพียงไม่กี่คนที่ไม่ได้สัมผัสกับอาสาสมัครโดยตรง) เพื่อช่วยลดความแปรผันของตัวแปรต่าง ๆ เช่น งานวิจัยชื่อ Cholesterol lowering efficacy of […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

นมสดจากเต้า

ปัจจุบันมีคนไทยหลายคนนิยมกินอาหารในลักษณะที่เรียกว่า Green* คือ อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ หรือแม้ผ่านการแปรรูปก็ผ่านแต่น้อย อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่สดสะอาดไม่ผ่านกระบวนการหมักดองหรือปรุงรสใด ๆ มากจนเกินไป ซึ่งผู้เขียนไม่ได้สนใจสักเท่าไร เนื่องจากนิยมกินอะไรก็ได้เท่าที่มีอยู่ เพียงขอให้เป็นอาหารครบห้าหมู่โดยมีผักผลไม้ครึ่งหนึ่งก็เป็นพอ นอกจากนี้ผู้บริโภคหลายคน นอกจากต้องการกิน Green แล้ว ยังต้องการให้สิ่งที่กินเป็น Organic หรือ อาหารอินทรีย์* คือ อาหารที่ผลิตตามกระบวนการที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ให้มีแนวทางที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยที่เป็นสารธรรมชาติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค..บลา ๆๆๆ   หนักไปกว่านั้นผู้บริโภคบางท่านเพิ่มความต้องการในการกิน Raw* คือ ลักษณะการกินอาหารพวกผักและผลไม้สด ต้นอ่อนของพืช เมล็ดพืช เนื้อสัตว์ ปลา ฯลฯ ที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง ไม่มีการเติมแป้งและน้ำตาล ไม่ใช้ความร้อนเกิน 49 องศาเซลเซียสในการปรุง โดยคิดเอาเองว่า ความร้อนสูงกว่านั้นเป็นปัจจัยทำให้คุณค่าทางโภชนาการและอะไรต่อมิอะไรที่อาหารดิบมีลดลงเมื่อสุก กรณีอาหาร Raw ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้น่าจะต่างจากพวกชอบเสี่ยงกินปลาดิบ เพราะผู้กล้า (กินของดิบ) เหล่านี้คงไม่ได้สนใจเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนการของอาหารเท่าใด แต่เป็นวัฒนธรรมหรือความชอบส่วนตัวเกี่ยวกับความสดคาวของปลาดิบ เฉกเช่นเดียวกับคนไทยและลาวบางคนที่ชอบหยิบปลาร้าจากไหแล้วฉีกส่งเข้าปากทันที ทั้งที่รู้ว่าตนเสี่ยงต่อพยาธิ์ใบไม้ตับ เกี่ยวกับการกินอาหารสด ๆ ไม่ผ่านการปรุงนั้น มีบทความเรื่อง “Raw-milk […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ทำใจเมื่อต้องกินสารพิษ (ตอนที่ 2)

เมื่อเดือนที่เเล้วผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสารพิษตกค้างที่เราบริโภคกันเข้าไปในเเง่จุดเริ่มต้นของสารเคมีเเละผลกระทบที่เกิดกับระบบต่างๆ ในร่างกายของเรา ครั้งนี้เป็นเรื่องราวของผลที่เกิดกับด้านอื่นๆ ของผู้ที่มีการสัมผัสสารเคมีโดยตรง-อ้อม พร้อมบทสรุปของต้นตอของการเกิดปัญหาของสารพิษ ผลต่อสุขภาพในด้านอื่นเนื่องจากสารกำจัดสัตว์รังควาน  ผลร้ายแบบเฉียบพลันมักเกิดกับเกษตรกรผู้ใช้สารพิษโดยตรงเมื่อได้รับสารพิษในปริมาณสูง คือ ความผิดปรกติอย่างรุนแรงต่อระบบประสาท เช่น ปวดและเวียนหัว ตาลาย เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง จมูก ตา และหนักกว่าก็หมดบุญพ้นกรรมไปจากดาวดวงนี้ ส่วนความเป็นพิษเพิ่มเติมต่อเกษตรกรสตรี คือ อาจออกมาในรูปของการมีลูกที่เกิดความผิดปรกติทางร่างกายและฮอร์โมน (ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเกิดลูกวิรูป หรือ Teratogenicity) ความอวดรู้ ความไม่รู้จริง ความมักง่าย นั้นเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มักไม่มีการกล่าวในรายงานเกี่ยวปัญหาของสารพิษที่ใช้กำจัดสัตว์รังควาน ตัวอย่างเมื่อนานมาแล้วผู้เขียนเคยจ้างผู้ที่ทำงานดูแลเกี่ยวกับป่าไม้ให้มาช่วยจัดการกับปลวกที่ขึ้นบ้านหลังเก่าในซอยเสนานิคม สิ่งที่พบ คือ ทั้งผู้คุมงานและคนงานต่างไม่กลัวการสัมผัสกับสารฆ่าปลวก (ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นกลุ่มเดียวกับดีดีที) ด้วยมือเปล่า บางจังหวะของการผสมสารเข้มข้นกับน้ำมีการใช้มือเปล่าในการคนสารให้เข้ากันด้วยซ้ำ เมื่อผู้เขียนถามว่าไม่กลัวอันตรายของสารเคมีหรือ วลีที่เป็นคำตอบประจำของคนไทยคือ “มันชินแล้ว” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรในภูมิภาคใด ถ้าขาดการศึกษาที่ดีพอ คำตอบนี้ก็ยังเป็นอมตะนิรันกาล เหมือนเมื่อพี่วินมอเตอร์ไซต์ให้เหตุผลในการขับรถย้อนศรหรือขับรถขึ้นบนทางเดินเท้านั่นเอง ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 2007 มีรายงานการศึกษาของสถาบันสาธารณสุข (Public Health Institute) ของรัฐแคลิฟอร์เนียร่วมกับคณะสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเมืองเบอร์คเลย์ว่า เด็กที่เป็นลูกของสตรีที่สัมผัสกับสารกำจัดสัตว์รังควานชนิดออร์กาโนคลอรีน มีความเสี่ยงต่ออาการออติซึมสูงกว่าเด็กที่เป็นลูกของสตรีที่ไม่สัมผัสสารพิษถึง 6 เท่า (autism คือ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ทำใจเมื่อต้องกินสารพิษ (ตอนที่ 1)

ข่าวของการตรวจพบสารพิษ (กลุ่มที่เรียกว่า pesticides) ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีอยู่เป็นประจำบนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกประเทศซึ่งประกาศว่า มีการพัฒนากระบวนการผลิตทางการเกษตรทันสมัยแล้ว

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เหล้าเบียร์ละเหี่ยใจ (ต่อ)

มีเกล็ดความรู้หนึ่ง จากการศึกษาครั้งนั้นซึ่งผู้เขียนจำได้คือ การหาระดับเเอลกอฮอล์ในเลือดที่ทำให้คนไทยเมานั้นพบว่า กรรมกรที่ใช้แรงงานมักคอแข็งกว่าไก่อ่อนเช่นนักศึกษามหาวิทยาลัย ทั้งนี้ก็เป็นไปตามหลักการชีวเคมีประมาณว่า เเอลกอฮอล์นั้นถูกจัดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังงานที่ตับ คนที่มีตับซึ่งมีประสบการณ์สัมผัสกับอัลกอฮอลบ่อยย่อมจัดการเเอลกอฮอล์ได้ดีกว่า เพราะมีการการผลิตเอ็นซัมเพื่อใช้เปลี่ยนแปลงเเอลกอฮอล์ให้เป็นพลังงานอย่างรวดเร็วกว่า จึงมีสภาพที่คนทั่วไปเรียกว่า “คอแข็งเมายาก”

Read More
กินดีอยู่ดี
read

เหล้าเบียร์ละเหี่ยใจ

ความจริงหนึ่งเรื่องที่ผู้เขียนพยายามไม่นึกถึงคือ คนไทยดื่มเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์แล้วตายกันจัง ที่น่าประหลาดใจคือ คนไทยทุกคนเมื่อยังเด็กได้เรียนหนังสือ ครู (ส่วนใหญ่) มักสอนและอบรมว่า ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ทุกชนิด แล้วเหตุใดเมื่อนักเรียนเหล่านั้นโตขึ้น หลายส่วนกลับตั้งใจดื่มทุกครั้งที่มีโอกาส

Read More
กินดีอยู่ดี
read

น้ำตาลตัวแสบ

ในความเป็นจริง… น้ำตาลทรายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วไปมักนึกไม่ถึง เพราะเราถูกสอนให้คิดว่า “ไขมันและคอเลสเตอรอลเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ” ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงมักมองข้ามน้ำตาลในอาหารและขนมไป โดยเน้นเฉพาะไขมันและคอเลสเตอรอล

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ฉลากฉ้อฉล

ผู้เขียนเคยซื้อเสื้อเชิ้ตยี่ห้อหนึ่งที่มีฉลากติดบนปกเสื้อเป็นภาษาอังกฤษแปลง่าย ๆ ว่า ไม่ยับแน่ ซึ่งน่าจะหมายความว่า ไม่ยับ (นัก) ถ้าซักอย่างระมัดระวัง แต่สิ่งที่ประสบในความเป็นจริงคือ เสื้อนั้นมันยับอย่างถาวรตลอดชีวิตการถูกใช้งานของเสื้อตัวนั้น

Read More
กินดีอยู่ดี
read

หนทางเลี่ยงมะเร็ง ตอน 3

ในสองตอนที่ผ่านไป ผู้เขียนได้บรรยายถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมะเร็งพร้อมทั้งให้สมมุติฐานที่น่าจะเป็นกระบวนการของการก่อปัญหา ปัจจัยดังกล่าวนั้นได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกิน อาหารหมักเกลือ สารหนู เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ และเบต้าแคโรทีนที่ขายในรูปของอาหารเสริม เครื่องดื่มมาเต ปลาเค็มหมักแบบกวางตุ้ง อาหารเนื้อหมัก อาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอะฟลาทอกซิน ส่วนในตอนที่ 3 นี้จะเป็นการกล่าวถึงปัจจัยอีก 2 ปัจจัยซึ่งได้แก่ ความสูงและน้ำหนักแรกเกิดมากเกินไป เเละจะกล่าวถึงปัจจัยที่ World Cancer Research Fund เชื่อว่าช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งได้แก่ ผักมีแป้งต่ำ ผลไม้ต่างๆ การขยับเขยื้อนร่างกาย และใยอาหาร พร้อมทั้งสมมุติฐานที่น่าจะเป็นของปัจจัยต่างๆ โดยในรายละเอียดนั้นเป็นดังนี้ ความสูง (Height) ข้อมูลทางระบาดวิทยาระบุว่าคนที่สูงมากกว่าคนอื่นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทางเดินอาหารส่วนล่างเต้านมไตรังไข่ตับอ่อนและต่อมลูกหมากมากกว่าคนที่เตี้ยกว่า ปัจจัยเรื่องความสูงนี้ยังต้องการงานวิจัยเพิ่มเติมอีกมาก เพื่อใช้อธิบายกระบวนการและหนทางลดความเสี่ยงต่อมะเร็งที่อาจเกี่ยวข้อง ดังนั้นคนไทยจึงไม่ควรกังวลในเรื่องนี้จนไปบั่นทอนการที่สมาคมกีฬาต่าง ๆ พยายามค้นหานักกีฬาไทยที่มีความสูงเกิน 190 เซนติเมตรเพื่อสนับสนุนให้เล่นวอลเลย์บอล บาสเก็ตบอล ฟุตบอล ฯลฯ เนื่องจากการแข่งขันกีฬาระดับสากลนั้น ถ้าสูงใหญ่และสุขภาพดีโอกาสชนะย่อมสูงขึ้นด้วย ดีกว่านักกีฬาเตี้ย ผอมบาง แรงปะทะต่ำ เล่นอย่างไรก็มีแนวโน้มจะแพ้วันยังค่ำ น้ำหนักแรกเกิดมากเกินไป (Greater birth weight) เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมเมื่อเด็กหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

หนทางเลี่ยงมะเร็ง ตอน 2

ในตอนเเรกของหนทางเลี่ยงมะเร็งนั้น ผู้เขียนได้กล่าวถึง 5 ปัจจัยแรกที่ World Cancer Research Fund กล่าวถึงอาหารที่ทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งซึ่งได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกิน อาหารหมักเกลือ (ซึ่งไม่รวมถึงปลาเค็มที่ถูกแยกออกเป็นอีกปัจจัย) สารหนู เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ และเบต้าแคโรทีนที่ขายในรูปของอาหารเสริม สำหรับในเดือนนี้ผู้เขียนจะกล่าวต่อถึงปัจจัยเสี่ยงอีก 5 ชนิดซึ่งมนุษย์ได้จากการกินเป็นอาหาร

Read More
กินดีอยู่ดี
read

หนทางเลี่ยงมะเร็ง ตอน 1

สิ่งที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภคระหว่างการเปลี่ยนแป้งส่วนเกินความจำเป็นของร่างกายไปเป็นไขมันนั้น สามารถอธิบายได้ว่า ในร่างกายเรานั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแป้งไปเป็นไขมันโดยตรงแต่มีความซับซ้อนดังนี้

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ดรามาปลาดิบ

เพื่อให้ชีวิตมันอยู่ง่ายขึ้นบ้าง เดือนนี้จึงขอเล่าข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อสงสัยในความไม่ปลอดภัยของอาหารสักประเด็นหนึ่ง ซึ่งหวังว่าบางท่านอาจได้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อช่วยตัดสินใจในการดำรงชีวิตด้วยอาหารนอกบ้าน ด้วยเรื่องที่เขียนนี้ค่อนข้างดรามาบนโลกออนไลน์ของเดือนพฤษภาคม 2559 คือปลาดิบที่กินเป็นอาหารนั้นอาจมีสีฉาบไว้หรือไม่

Read More
กินดีอยู่ดี
read

โฟเลตเพื่อลูก ตอน2

โฟเลตสำคัญต่อการสร้างประชากรของชาติที่มีร่างกายครบสามสิบสอง ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสำคัญอย่างสูง สำหรับประเทศไทยนั้นความจริงเรื่องนี้ก็เป็นที่ทราบกันมานานพอควรแล้ว จนสุดท้ายเมื่อต้นปีนี้จึงได้มีการกล่าวถึงโฟเลตในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ

Read More
กินดีอยู่ดี
read

โฟเลตเพื่อลูก

ประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องของไวตามินดีคือ มีข่าวปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยขึ้นว่า คนไทยซึ่งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่ไม่ขาดแดดนี้กำลังเริ่มมีการขาดไวตามินดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะหลายคนพยายามเลี่ยงการโดนแดดในตอนเช้าและเย็น ด้วยเหตุที่ต้องการให้ผิวกายมีความขาวซีด

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ไขมันสุขภาพ ตอน 2

คลอเรสเตอรอลเป็นไขมันที่ถูกสาปให้หลายคนกลัว โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในในรูป LDL ซึ่งมาจากคำว่า low density lipoprotein ไขมันนี้ถูกประนามว่าเป็น ไขมันเลว (หรือคอเลสเตอรอลเลว) ในขณะที่ HDL ซึ่งมาจากคำว่า high density lipoprotein ถูกยกย่องว่าเป็น ไขมันดี (หรือคอเลสเตอรอลดี) โดยในทางชีวเคมีแล้วความแตกต่างของไขมันชนิด lipoprotein

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ไขมันกับสุขภาพ ตอนที่ 1

สิ่งหนึ่งที่นักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการมักมองข้ามความสำคัญของไขมันคือ ไขมันนั้นเป็นองค์ประกอบหลักของผนังเซลล์ (cell membrane) ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนดาวดวงนี้ ซึ่งถ้าการปรากฏตัวในผนังเซลล์ของไขมันเป็นชนิดที่เหมาะสม ผนังเซลล์นั้นจะช่วยให้เซลล์ทำหน้าที่ได้เหมาะสมตามที่มันควรเป็น

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อาหารแบบมนุษย์ยุคหิน

การกินอาหารแบบมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปนานแล้วนี้ เน้นการกินที่เป็นธรรมชาติตามสัญชาตญาณของคนยุคหินเช่น กินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ถั่ว และผลไม้ เหมือนที่หาได้ในป่าสมัยโบราณ อาหารนั้นไม่ต้องปรุงแต่ง (แต่ควรทำสุก) แบบว่าหาได้แบบไหนก็แทนจะกินแบบนั้น เพราะในยุคหินนั้นแค่วิ่งหนีไดโนเสาร์ก็เหนื่อยแล้วจะหาเวลาที่ไหนมานั่งปลูกข้าวแล้วนำมาสีเพื่อนำไปหุงกิน

Read More
กินดีอยู่ดี
read

แสงสว่าง…..ของผู้ป่วยมะเร็ง ????

วันหนึ่งไม่นานมานี้เองผู้เขียนก็ได้อ่านบทความในวารสารออนไลน์ Nature เกี่ยวกับวิวัฒนาการในการบำบัดมะเร็งด้วยไวรัส ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เขียนไม่เคยทราบมาก่อน และคิดว่ามันเป็นประเด็นที่เข้ามาใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นทุกที น่าจะนำมาคุยให้ท่านผู้อ่านที่ไม่คุ้นชินต่อการหาข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพรู้ไว้พอสังเขป เผื่อจำเป็นต้องตัดสินใจในประเด็นดังกล่าว

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ระแวง ระวัง แต่อย่ากังวลนัก ตอน 2

ดังที่ได้กล่าวในเดือนที่แล้วว่า สาเหตุการตายที่สำคัญประการหนึ่งของมนุษย์คือ มะเร็ง ซึ่งเกิดเนื่องจากปัจจัยที่พอทราบบ้างแล้ว ดังนั้นประเด็นในบทความมูลนิธิโลกสีเขียวเดือนนี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงปัจจัยเรื่องอาหารซึ่งอาจจะหรือไม่เกี่ยวกับการเกิดมะเร็งแต่มักมีการพูดถึงในโลกอินเทอร์เน็ต ต่ออีกหนึ่งตอนดังนี้ ปลาเเซลมอนเลี้ยง (Farmed Salmon) เเซลมอนเป็นปลาที่มีคนกินกันมาก ถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิศาสตร์ประเทศแถบหนาวเช่น แคนาดา เรื่อยไปถึงยุโรปตอนเหนือ แต่เนื่องจากการที่ความต้องการกินปลาชนิดนี้มากขึ้น แต่แหล่งของปลาธรรมชาติกลับลดน้อยลงบวกกับอิทธิพลของกระบวนการทางธุรกิจ จึงส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มคิดผลิตปลาเเซลมอนเลี้ยงขึ้นมา เรื่องนี้ไม่ต่างจากการเลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ ที่มีทั้งเลี้ยงในกระชังในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือในระบบปิดแยกออกจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ นักธรรมชาติวิทยาส่วนใหญ่มักนิยมสิ่งที่เป็นธรรมชาติ กรณีของแซลมอนเลี้ยงนั้นเป็นตัวอย่างที่สามารถถอดบทเรียนไปสู่สัตว์น้ำเลี้ยงอื่น ๆ ซึ่งความจริงคนไทยก็รู้เรื่องนี้ดีไม่แพ้ฝรั่ง ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยคุยกับอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลซึ่งไม่ได้ศึกษาแต่ปลาทะเล เพราะสิ่งที่อาจารย์ท่านนั้นคุยให้ฟัง เป็นเรื่องของปลาบู่เลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก (ชนิดเดียวกับที่เรานำมาใส่เสื้อผ้า สิ่งของ และอื่น ๆ) ซึ่งโดยสรุปแล้วอาจารย์ท่านนั้นเล่าว่า มันเป็นวิธีเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถควบคุมได้ทั้งต้นทุน ความสะอาดและจังหวะการผลิตเพื่อความเหมาะสมทางการตลาด โดยต้องเลิกคำนึงถึงจิตวิญญานในการดำรงชีวิตของสัตว์นั้น สำหรับนักธรรมชาติวิทยากลับมองการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มโดยเฉพาะสัตว์น้ำไปในมุมอื่น ท่านที่สนใจรายละเอียดของประเด็นนี้สามารถลองเข้าไปดูใน YouTube โดยใช้คำว่า farmed salmon ในการค้นหาคลิปก็จะได้ดูคลิปที่น่าสนใจหลายคลิป ประเด็นที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจคือ การกล่าวถึงเรื่องของความแข็งแรงของสัตว์ที่เลี้ยงในบริเวณปิดจะต่างจากสัตว์ที่หากินเองตามธรรมชาติ เรื่องของเชื้อโรคต่าง ๆ สารพิษต่าง ๆ (ซึ่งมีระดับความเสี่ยงต่างกันไปเช่น ในการเลี้ยงสัตว์น้ำเลี้ยงในกระชังนั้น ถ้ามีโรงงานบริเวณเหนือแหล่งน้ำสร้างปัญหาทิ้งน้ำเสียออกมา สัตว์น้ำในกระชังจะมีปัญหาทั้งหมดเพราะว่ายหนีไม่ได้ อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าสัตว์น้ำธรรมชาติจะปลอดจากสารพิษถ้ามันเป็นสัตว์ที่มีถิ่นหากินใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารพิษเป็นขยะตัวอย่างที่น่าสนใจคือกรณีสัตว์น้ำมีการปนเปื้อนจากน้ำมันดิบที่รั่วไหลจากบ่อน้ำมันสู่สิ่งแวดล้อมในอ่าวเม็กซิโกเมื่อหลายปีมาแล้วซึ่งปัจจุบันยังตามหลอกหลอนผู้บริโภคแถบนั้นอยู่ อีกประเด็นหนึ่งที่ควรสนใจคือสัตว์น้ำธรรมชาตินั้นมีความหลากหลายในโอกาสคัดเลือกพันธุ์เองโดยไม่ต้องถูกบังคับให้มีการสืบสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดแบบสัตว์เลี้ยงและมีอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจกล่าวถึงปัญหาทางโภชนาการของอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม เช่นเป็นที่รู้กันว่าแซลมอนนั้นกินปลาที่เล็กกว่าในธรรมชาติเป็นอาหารหลักแต่เมื่อมาอยู่ในกระชังหรือบ่อเลี้ยงอาหารจะถูกเปลี่ยนไปเช่นกรณีการใช้น้ำมันพืชผสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตและอาจรวมถึงการใช้สารเคมีสังเคราะห์อื่นๆที่ช่วยทำให้ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์แบบไม่ธรรมชาตินี้สร้างกำไรให้เจ้าของกิจการมากขึ้นทำให้เนื้อเเซลมอนเลี้ยงมีคุณค่าทางโภชนาการต่างจากเเซลมอนธรรมชาติความด้อยเด่นนั้นผู้เขียนขอไม่กล่าวถึงในที่นี้ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ระแวง ระวัง แต่อย่ากังวลนัก ตอน 1

ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งมักมีการพูดถึงในโลกอินเตอร์เน็ท (ซึ่งถูกบ้าง มั่วบ้าง หลุดโลกไปเลยก็มี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงจะใช้ตัวอย่างตัวอย่างข้อมูลที่ sv160.lolwot.com ได้ลงบทความเกี่ยวกับชนิดของอาหารที่ผู้บริโภคควรเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเรื่อง 16 Cancer Causing Foods You Probably Eat Every Day เป็นแนวทางเพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกโลกสีเขียวเท่านั้น

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ไขมันตัวร้ายในอาหาร

ไม่นานมานี้ หน้าข่าวสุขภาพของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยหลายฉบับได้รายงานข่าวล่ามาช้าว่า เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2013 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ประกาศห้ามใช้ “ไขมันทรานส์” ในอาหารที่มีขายโดยทั่วไปทั้งประเทศ ประกาศนี้ได้ทำให้ไขมันทรานส์ได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งบริษัทอาหารจานด่วนยักษ์ใหญ่ก็ได้เริ่มทำการเปลี่ยนสูตรอาหารให้ไร้ไขมันทรานส์กันแล้ว   จากนั้นเมื่อวันที่ 16 มิถุยายน 2015 นี้ ทาง USFDA ก็ได้ประกาศว่า ไขมันทรานส์นั้น หมดสภาพการเป็นสารอาหารที่เรียกว่า GRAS (generally recognized as safe ซึ่งมีความหมายว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัยในการถูกบริโภคโดยไม่ต้องทำการประเมินความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง เพราะเป็นสารที่พบในอาหารที่คนอเมริกันกินกันมานานก่อน 1 มกราคม 1958 ซึ่งเป็นวันเริ่มประกาศการใช้ Food Act) และตั้งช่วงเวลา 3 ปีในการเลิกใช้ไขมันนี้ในสินค้าอาหารที่คนอเมริกันกิน ในบรรดาไขมันที่เราบริโภคทั้งหลายซึ่งมีทั้งดีและไม่ดีนั้น ไขมันทรานส์ (trans fat) เป็นไขมันตัวร้ายที่สุด เนื่องจากเมื่อกินเข้าไปแล้วส่งผลให้เกิดการเพิ่ม low density lipoprotein (LDL ซึ่งมีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงแต่โปรตีนต่ำ ทำให้มีความหนาแน่นต่ำ จึงเป็นตัวปล่อยคอเลสเตอรอลออกสู่เลือด) แต่ลด high […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

คุยสบายๆ เรื่องน้ำประปา

ด้วยความสงสัยใคร่รู้ผู้เขียน ก็พบความมหัศจรรย์ที่น่าสนใจจากการประปานครหลวงว่า มีข้อมูลการวิเคราะห์เผยแพร่สู่ประชาชนแสดงไว้ใน www.mwa.co.th/download/prd01/tws/plant.xls ให้ข้อมูลการวิเคราะห์น้ำประปาจากโรงงานผลิตน้ำบางเขน มหาสวัสดิ์ สามเสน และ ธนบุรี ประจำเดือนเมษายน 2558 ย้อนไปถึงเดือนตุลาคม 2557 ซึ่งผู้เขียนได้ทำเป็นตารางเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า มีสารใดบ้างที่กำหนดไว้แล้วทำการวิเคราะห์ สารใดบ้างที่กำหนดไว้แล้วไม่แจ้งว่าวิเคราะห์และที่ประหลาดใจคือ มีการวิเคราะห์สารที่ไม่ได้กำหนดตามมาตรฐาน

Read More
กินดีอยู่ดี
read

รวย-จน เสี่ยงตายต่างกัน

การลดความเสี่ยงของมะเร็งตับก็คือ การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมคือ มีดัชนีมวลกายระหว่าง 18-25 สำหรับแอลกอฮอล์ ท่านที่เป็นชายไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ดริ๊งค์ และไม่เกิน 1 ดริ๊งค์สำหรับท่านหญิง แต่ถ้าไม่ดื่มเสียเลยก็จะดีกว่า

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อาหารฟังก์ชั่น (2)

สมัยเด็ก (กว่า 40 ปีมาแล้ว) มีนักมวยปล้ำจากต่างชาติมาแสดงในเมืองไทย แล้วโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมทำการถ่ายทอดสด ซึ่งผู้บรรยายได้ให้ความรู้ว่า การที่นักมวยปล้ำสามารถแสดงการต่อสูงได้ถึงเลือดตกยางออกนั้น เป็นเพราะมันเป็นศิลปะการแสดงและนักมวยเหล่านี้เมื่อเป็นแผล (ซึ่งไม่ลึก) สามารถฟื้นตัวและแผลหายเร็วเพราะกินอาหารสำหรับนักมวยปล้ำซึ่งมีโปรตีนสูงเป็นพิเศษ ดังนั้นจะเห็นว่า ปัจจุบันมีอาหารที่อ้างว่าเหมาะกับนักกีฬาบางชนิดมีการเติม whey protein ลงไปเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของโปรตีนให้สูงขึ้นแล้วอ้างว่าช่วยทำให้นักกีฬามีกล้ามเนื้อกลับมาดีเหมือนเดิมหลังการแข่งขัน

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อาหารฟังก์ชั่น (1)

ปัจจุบันมีคำถามอีกคำถามหนึ่งซึ่งมาแรงเนื่องจากมีผู้บริโภคบางคนสงสัยว่า แต่ละวันเรากินอาหารครบตามที่ควรกินหรือเปล่า ซึ่งอาจเพราะต้องการมีอายุยืนถึง 120 ปี จึงสงสัยว่าเราสามารถกินอะไรที่ส่งเสริมการทำงานของระบบภายในร่างกายให้ทำงานอย่างสมบูรณ์แบบได้หรือไม่

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ความมหัศจรรย์ทางชีววิทยา

วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทำให้คนมีข้อมูลทางพันธุกรรมมาจากมนุษย์ได้ถึงสามคนนั้นเรียกว่า Three Parent In Vitro Fertilization (TPIVF) วิธีการนี้ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อของไทยว่า มีการลงคะแนนเสียงในรัฐสภาของสหราชอาณาจักรในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ยอมรับว่า เป็นการแก้ปัญหาทางพันธุกรรมซึ่งกลายพันธุ์แล้วส่งต่อจากแม่ไปสู่ลูก หลักการสำคัญคือ การเปลี่ยนไมโตคอนเดรียที่มีหน่วยพันธุกรรมปรกติจากไข่ที่ได้รับการบริจาค มาแทนที่หน่วยพันธุกรรมที่กลายพันธุ์ในไข่ของผู้เป็นแม่จริง

Read More
กินดีอยู่ดี
read

แก่ลงแล้ว หน้าย่อมเหี่ยวไปสิ้น โฉมยุพิน จะเอาความรวยซื้อได้อย่างไร

อะไรคือสิ่งที่ผู้หญิงหลายคน (รวมทั้งชายบางประเภท) กลัวที่สุด แต่ต้องพบเพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำตอบก็คือ ความเหี่ยวและความแก่ ดังนั้นถ้ามีใครเอาอะไรก็ไม่รู้มาขายแล้วบอกว่า สิ่งนี้ช่วยพิชิตความเหี่ยวและความแก่ได้ สินค้านั้นย่อมต้องขายดีแน่ ขอยกตัวอย่างที่เห็นชัดในสังคมไทยวันนี้คือ การโฆษณาขาย คอลลาเจน ดังเช่นที่ปรากฏเห็นได้ในเว็บขายของทั้งไทยและเทศ   สำหรับผู้เขียนแล้ว เวลาเห็นโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เรียกว่าคอลลาเจนทีไร ผู้เขียนจะนึกถึงขาหมูพะโล้ที่เก็บในตู้เย็นทุกที ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ส่วนที่เห็นนั้นก็คือ คอลลาเจนจากขาหมูที่ถูกสกัดออกมาระหว่างการต้ม ในทางชีวเคมีแล้วคอลลาเจนคือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 75-85 ของผิวหนัง โดยทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบให้ผิวหนังแข็งแรง ในภาพรวมแล้วโปรตีนทั้งหมดของร่างกายจึงเป็นคอลลาเจนถึงร้อยละ 33 โปรตีนที่เรากินนั้นต้องมีกรดอะมิโนอย่างน้อย 10 ชนิดที่ร่างกายเราสร้างไม่ได้ซึ่งจะไปผสมกับกรดอะมิโนอีก 10 ชนิดที่ร่างกายสร้างได้เอง จากนั้นจะมีกระบวนการที่เซลล์ของร่างกายนำกรดอะมิโนเหล่านี้มาต่อกันให้เป็นโปรตีนที่เซลล์ต้องการหรือต้องสร้าง ตามแต่ชนิดเซลล์ของแต่ละอวัยวะ ดังนั้นโปรตีนในร่างกายจึงมีมากมายหลากหลายลักษณะต่างกันขึ้นกับลำดับของกรดอะมิโนต่างๆ ที่เรียงต่อกัน ความพิเศษของคอลลาเจนนั้นอยู่โปรตีนนี้มีองค์ประกอบต่างไปจากโปรตีนอื่นๆ คือ มีกรดอะมิโนที่ถูกปรับให้มีคุณสมบัติทางเคมีเปลี่ยนไป 2 ชนิด ได้แก่ โพลีนถูกปรับเป็นไฮดรอกซีโพลีน และไลซีนถูกปรับเป็นไฮดรอกซีไลซีน ส่วนกรดอะมิโนชนิดอื่นที่เป็นองค์ประกอบอื่นของคอลลาเจนก็คือ กลัยซีน โพลีน และ ไลซีนนั้นเป็นกรดอะมิโนธรรมดาที่มีอยู่ในทุกสายของโปรตีน ดังนั้นสายของกรดอะมิโนที่ต่อกันเป็นโปรตีนคอลลาเจนนั้นจึงมีกรดอะมิโนหลักเพียง 5 ชนิด ทำให้มันเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพไม่สมบูรณ์และมีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเป็น เบต้าพลีตเต็ดชีท (beta […]

Read More