อยู่กับไมเกรน โดยไม่ต้องกินยาอันตราย
ช่วงวันที่ 7-8 สิงหาคม 2562 ปรากฏมีข่าวที่เป็นอุทาหรณ์แก่คนทั่วไป ถึงอันตรายในการใช้ยาเกินจำเป็น เนื้อข่าวมีประมาณว่า สตรีนางหนึ่งมีอาการปวดหัว (ซึ่งเดาเองว่าเป็นไมเกรน) แล้วไม่ไปหาหมอแต่เลือกซื้อยากินเองนานเป็นปี ระหว่างนั้นก็บ่นปวดหัวและปวดตามร่างกายเป็นระยะ ๆ พร้อมเป็นผื่นในลักษณะของการแพ้ สุดท้ายทนไม่ไหวจำต้องไปหาหมอเมื่ออาการทรุดหนัก ซึ่งหมอก็พยายามยื้อชีวิตได้นานถึง 12 ชั่วโมง แล้วเธอก็เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายโดยหมอระบุว่า เธออาจได้รับยาแก้ปวดในปริมาณสูงมากจนหัวใจรับไม่ไหว ประเด็นที่น่าสนใจในข่าวนี้คือ หนึ่งอาการปวดหัวของเธอเป็นไมเกรนหรือไม่ เพราะการปวดหัวนั้นมีหลายลักษณะ (ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลจากเว็บด้านการแพทย์ได้ไม่ยากนัก) และสองอาการที่เธอแพ้เกิดผื่นนั้นเป็นลักษณะผลข้างเคียงของยาที่ผู้ป่วยไมเกรนมักกินเพื่อแก้อาการปวดคือ NSAIDs (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) หรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้สังเกตเห็นจากคำสัมภาษณ์ของญาติผู้เสียชีวิตคือ ผู้เสียชีวิตนั้นเมื่อไม่ไปพบแพทย์เมื่อปวดหัวแล้ว ก็ได้ทำในสิ่งที่คนไทยทั่วไปทำกันคือ ซื้อยากินเองจากร้านขายยาซึ่งผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า เป็นร้านที่มีเภสัชกรมาช่วยคุมร้านตามช่วงเวลาที่ตกลงกัน คงไม่ใช่ร้านที่มีเภสัชกรเป็นเจ้าของ เนื่องจากชนิดของยาแก้ปวดที่หนังสือพิมพ์ออนไลน์บางฉบับนำภาพยา (ที่ญาติผู้ตายวางให้ดูบนเสื่อพลาสติก) มาเสนอประกอบข่าวนั้นปรากฏว่า มีความซ้ำซ้อนในชนิดของยากลุ่มเดียวกันที่เป็น NSAIDs ซึ่งยาเหล่านั้นต่างมีผลข้างเคียงคล้าย ๆ กัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ทำให้หัวใจวาย (ข่าวกล่าวว่า หมอที่ดูแลผู้ป่วยรายนี้ได้สันนิษฐานไว้ เพียงแต่ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิในการปฏิเสธการผ่าศพพิสูจน์) ดังนั้นการกินยากลุ่มเดียวกันมากกว่าหนึ่งชนิดในครั้งเดียวกันจึงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่เภสัชกรควรถามคนไข้ทุกครั้ง (นอกจากเรื่องการแพ้ยา) ว่า กินยาอะไรอยู่หรือไม่ ภาพจาก: http://www.phyathai-sriracha.com สำหรับผู้เขียนซึ่ง (น่าจะเรียกได้ว่า) […]