ทำใจเมื่อต้องกินสารพิษ (ตอนที่ 1)
ข่าวของการตรวจพบสารพิษ (กลุ่มที่เรียกว่า pesticides) ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีอยู่เป็นประจำบนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกประเทศซึ่งประกาศว่า มีการพัฒนากระบวนการผลิตทางการเกษตรทันสมัยแล้ว
ข่าวของการตรวจพบสารพิษ (กลุ่มที่เรียกว่า pesticides) ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีอยู่เป็นประจำบนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกประเทศซึ่งประกาศว่า มีการพัฒนากระบวนการผลิตทางการเกษตรทันสมัยแล้ว
ใครๆ ก็รู้ว่ากรุงเทพต้องการทางเลือกในการสัญจรเพิ่มขึ้น ทั้งระบบราง ระบบรถเมล์ และระบบเรือ มีโครงข่ายเส้นทางเดินและปั่นจักรยานเสริมเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชน และโครงข่ายเส้นทางจักรยานที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าเวิร์คสุด ได้แก่ เส้นทางเลียบโครงข่ายระบบคลอง
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อปีแล้วระบุว่าทุกปีมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นราว 275 ล้านตันและไหลลงสู่ทะเลมากถึง 8 ล้านตัน ขยะเหล่านี้ย่อยสลายยากและหมุนเวียนอยู่ในทะเลหลายร้อยปี นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีนกทะเลกว่าร้อยชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลกว่า 30 ชนิดกินพลาสติกจนเป็นอันตรายถึงชีวิต โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) ประเมินว่าแต่ละปี ขยะพลาสติกสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกถึงปีละ 2.8 แสนล้านบาท การแก้ปัญหาขยะพลาสติกจึงกลายเป็นวาระระดับโลก UNEP เองก็เพิ่งเปิดตัวการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติก #CleanSeas ที่งาน World Ocean Summit ซึ่งจัดขึ้นที่บาหลีเมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าไปที่การกำจัดถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวและไมโครพลาสติกในเครื่องสำอางค์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของขยะพลาสติกในทะเลภายในปี 2022 วิธีลดปริมาณถุงพลาสติกที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลที่สุดคือการบังคับเก็บเงินค่าถุงพลาสติก ซึ่งสามารถนำเงินมาตั้งเป็นกองทุนสนับสนุนงานอนุรักษ์ได้อีกด้วย อังกฤษเป็นประเทศล่าสุดที่นำเอาระบบเก็บภาษีถุงพลาสติกมาใช้ โดยกำหนดให้มีการเก็บเงิน 5 เพนนีหรือประมาณ 2 บาทต่อถุง เพียง 6 เดือนหลังจากที่นำระบบนี้มาบังคับใช้ในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ผลปรากฎว่าจำนวนการใช้ถุงพลาสติกลดลงถึง 83% โดยสถิติระบุว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ 7 แห่งมีการใช้ถุงพลาสติกไปทั้งสิ้น 640 ล้านถุงในระยะเวลา6เดือน เมื่อเทียบกับสถิติเดิมที่มีการใช้มากถึง 7.64 พันล้านถุงตลอดทั้งปี แนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักรที่ออกกฎหมายบังคับให้มีการเก็บภาษีถุงพลาสติกก่อนหน้านี้แล้ว โดยเวลส์เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 […]
ข่าวเต่าออมสินกินเหรียญเสี่ยงทายนับพันเหรียญจนต้องเข้ารับการผ่าตัดและตายในที่สุดเป็นข่าวช็อกโลกที่มนุษย์กระทำต่อสัตว์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทว่ามีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่นนี้อีกมากมาย
อากาศของมาเลเซียตอนนี้ถือว่าอยู่ในช่วงของความเปลี่ยนแปลงก่อนที่หน้าร้อน (ตับแล่บ) จะมาเยือน ตอนเช้ามีลมเอื่อยๆ พัดมาให้ชื่นใจ พอตอนกลางวันก็จะมีแดดออกเปรี้ยงปร้าง และฝนตกกระหน่ำในตอนเย็นซึ่งทำให้นอนหลับสบาย จนอยากหยุดวันเวลาเหล่านี้เอาไว้ .. เอ่อไม่ได้จะโรแมนติกอะไรหรอกนะแต่หวั่นใจว่าความร้อนตลอดวันตลอดคืนที่กำลังจะมาเยือนมากกว่า เมื่อครั้งที่ย้ายมาอยู่ที่มาเลเซียรอบแรกเมื่อสิบห้าปีที่แล้วผู้เขียนจำได้ว่าช่วงที่ต้องเดินสายแนะนำตัวไปตามบ้านญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงของสามีภาพของพัดลมเพดานที่ใบพัดหมุนสะบัดเอื่อยๆเป็นภาพที่สะดุดตามากที่สุดเพราะตอนเด็กๆเป็นคนที่กลัวพัดลมเพดานด้วยความที่เคยมีข่าวจนลือกันว่ามีพัดลมติดเพดานหล่นลงมาขณะใบพัดยังหมุนอยู่ขอข้ามรายละเอียดของผู้ที่นั่งอยู่ข้างล่างก็แล้วกันพอมาถึงที่นี่ก็เห็นตะขอสำหรับเกี่ยวพัดลมที่ติดตั้งอย่างแน่นหนาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงสร้างบ้านจึงได้เริ่มไว้ใจพัดลมเพดานที่นี่ กว่า 80 เปอร์เซนต์ของบ้านและอพาร์ทเมนท์ของญาติมิตรที่ไปหาเมื่อสิบห้าปีที่แล้วก็ไม่ค่อยมีใครติดเครื่องปรับอากาศกันเท่าไหร่ประตูหน้าต่างเปิดกว้างแบบไม่กลัวยุงพัดลมเพดานหมุนให้ความเย็นสบายให้ความรู้สึกเหมือนบ้านเเถวต่างจังหวัดเมื่อหลายสิบปีก่อนเวลาเดินออกมาจากบ้านก็ไม่รู้สึกต่างอะไรกับอากาศนอกบ้านไม่มีลมร้อนที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศทั้งของบ้านตัวเองและบ้านข้างๆมาเป่าใส่ให้ร้อนวูบวาบ มาตอนนี้ หลายบ้านลุกขึ้นมา “ปิด” บ้านให้มิดชิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยเพราะการโจรกรรมตามบ้านเรือนมีจำนวนพุ่งสูงขึ้น แข่งกันกับจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและระดับการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงขึ้น กลายเป็นว่าปัญหาทางสังคม (การโจรกรรม) และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีมากขึ้น ผู้ป่วยมีมากขึ้น) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนผ่านกระเป๋าสตางค์ของคนเมืองที่ต้องเสียเงินติดแอร์และจ่ายค่าไฟที่สูงขึ้นตามจำนวนการใช้เครื่องปรับอากาศ บรรยากาศที่เคยพบเมื่อตอนนั้น จึงกลายเป็นของหายากขึ้นไปทุกวัน เกือบทุกหลัง ต่อเติมและขยายพื้นที่ครัวออกมาเต็มพื้นที่ว่าง อากาศภายในจึงอบอ้าวเพราะทางลมไม่สะดวกโล่งเหมือนที่เขาออกแบบมาให้ พื้นที่หลังบ้านจึงได้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สำหรับตั้งเครื่องเป่าลมร้อนจากเครื่องปรับอากาศออกจากบ้าน แต่บ้านที่ผู้เขียนอยู่ ยังคงเป็นบ้านแบบมาตราฐาน ไม่ได้ก่ออิฐเป็นกำแพงด้านหลังเพื่อให้ “ครัวไทย” หายใจได้สะดวก ควันที่โชยขึ้นมาจากกระทะหรือพวยพุ่งออกมาจากหม้อต้มแกงต่างๆ มีทางออกได้ง่าย ไม่กลับมาคละคลุ้งอยู่ในบ้าน แต่วันไหนที่อากาศร้อนๆ และมีลมร้อนเป่าจากเครื่องปรับอากาศของเพื่อนบ้านมาช่วยเสริมกำลังก็ทำให้ยิ่งร้อนเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้เข้าซาวน่าฟรีที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง แค่ออกมาทำกับข้าวตอนเพื่อนบ้านเปิดแอร์เท่านั้นเอง เมื่อปิดหลังบ้านทึบ ก็เป็นเหตุให้ต้องเปิดไฟตลอดเวลาที่ใช้ห้องครัว รวมทั้งมีอุปกรณ์ทำครัวที่ลดควันไฟเหล่านั้นด้วย ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้า อย่าให้ต้องนับเลย ว่ามีเครื่องใช้กินไฟเพิ่มขึ้นอีกกี่ชิ้นจากครัวพื้นบ้านปกติ บางทีจึงรู้สึกว่า ชีวิตคนเมืองนี่คล้ายๆ แมงเม่า วนเวียนอยู่ตรงที่มีไฟเพื่อความจำเป็นและความสะดวกในกิจกรรมประจำวัน หากจะเลือกใช้ไฟน้อยๆ อย่างบ้านผู้เขียน […]
ในยุคนี้ที่คนเกือบ 3 พันล้านคน (ก็เกือบจะครึ่งโลกแหละ) มีความลำบากลำบนเข้าถึงน้ำสะอาดได้ยาก แถมน้ำเท่าที่มียังปนเปื้อนอีกไม่น้อย การใช้น้ำแบบไม่คิดหน้าคิดหลังเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้อีกต่อไปแล้ว จะเป็นการดีหากชาวเราได้ทบทวนการใช้น้ำของเราเอาไว้บ้าง ในวันหนึ่งตั้งแต่ตื่นลุกจากที่นอนถึงเข้านอนกอีกครั้ง เราใช้น้ำไปกี่มากน้อย ลองหยิบกระดาษดินสอมาทดๆ ดูสักหน่อย
อาทิตย์ที่แล้วเป็นอาทิตย์ของการปกป้องต้นไม้ในซอย วันเดียวกับที่มีข่าวลุงอู๊ดปีนขึ้นไปนั่งบนยอดต้นไม้ใหญ่ในซอย ประท้วงไม่ให้กทม.ตัด หลังจากตัดไปแล้วสองต้นในวันที่ลุงอู๊ดไม่อยู่บ้าน เพื่อ “ปรับปรุง” ซอย ซอยเราก็เจอศึกเดียวกัน จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นศึกคุกคามต้นไม้ในซอยเราภาค 2 ภาคแรกเกิดขึ้นเมื่อสิบปีก่อน ตอนนั้น กทม.มีแผนจะเข้ามาตัดต้นไม้ทั้งหมดในซอย เพื่อ “วางท่อระบายน้ำใหม่และปรับปรุงซอยให้สวยงาม” ตามที่ได้จัดการกับซอยอื่นๆ ในละแวกนั้น หลายซอยที่เคยมีคูน้ำและจามจุรีขนาดใหญ่เรียงรายร่มรื่น ก็แปรเปลี่ยนไปเป็น ถนนปูนร้อนๆ ขยายกว้างขึ้นติดแนวรั้วบ้าน โดยปลูกแนวไม้พุ่มเตี้ยๆ เป็นระเบียบเรียบร้อย ทดแทนพอให้สีเขียว แต่ไร้ร่มเงา แต่ซอยเราน้ำไม่ท่วม และหากจะปรับปรุงระบบท่อระบายน้ำใหม่ ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องทำตรงแนวต้นไม้ ท่อระบายใต้ดินออกแบบให้อยู่ตรงกลางถนนก็ได้ บังเอิญบ้านในซอยรู้จักกันหมด หลายบ้านเป็นญาติกัน เมื่อกทม.จะเข้ามาตัดต้นไม้ที่ทุกบ้านต่างปลูกกันไว้คนละต้นสองต้นมาเนิ่นนานหน้าบ้านตัวเอง ชาวซอยก็โทรศัพท์แจ้งข่าวกัน และพากันเดินออกมาล้อมคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ ขอไม่ให้ตัด แต่กทม.อ้างว่าได้เซ็นสัญญาจัดจ้างโครงการไปแล้ว ต้องดำเนินการ เราจึงลุกขึ้นบวชต้นไม้ทั้งซอย และบังเอิญเป็นจังหวะที่ผู้ว่าอภิรักษ์กำลังจะออกนโยบายต้านภาวะโลกร้อน เมื่อเรื่องถึงผู้ว่าอภิรักษ์ ก็มีคำสั่งให้ยกเลิกโครงการไปได้ เมื่อกลายเป็นซอยเงียบซอยเดียวในละแวกที่ยังร่มรื่นอยู่ ซอยเราจึงกลายเป็นที่ที่ผู้คนแถวนั้นเข็นรถเด็กจูงหมามาเดินเล่น นกมากมายหลายชนิดใช้เป็นแหล่งอาศัยหลบภัย เราไม่ได้มีแค่นกตีทอง นกขมิ้น นกอีวาบตั๊กแตน แต่ยังเคยมีนกแซวสวรรค์หางยาวแวะเวียนมาด้วย แต่มันก็เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อคนเริ่มขายที่ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นธรรมดาชีวิต ตลอดสิบปีที่ผ่านมาบ้านที่ยังคงอยู่ต้องเจอกับการก่อสร้างคอนโดรอบทิศ ทั้งในซอยติดกันและในซอยเราเอง ที่น่าสังเกตคือคอนโดทั้งหมดใช้พื้นที่เต็มพิกัด ถ้าไม่ยัดอาคารใช้สอยจนแน่นเต็ม […]
มีเกล็ดความรู้หนึ่ง จากการศึกษาครั้งนั้นซึ่งผู้เขียนจำได้คือ การหาระดับเเอลกอฮอล์ในเลือดที่ทำให้คนไทยเมานั้นพบว่า กรรมกรที่ใช้แรงงานมักคอแข็งกว่าไก่อ่อนเช่นนักศึกษามหาวิทยาลัย ทั้งนี้ก็เป็นไปตามหลักการชีวเคมีประมาณว่า เเอลกอฮอล์นั้นถูกจัดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังงานที่ตับ คนที่มีตับซึ่งมีประสบการณ์สัมผัสกับอัลกอฮอลบ่อยย่อมจัดการเเอลกอฮอล์ได้ดีกว่า เพราะมีการการผลิตเอ็นซัมเพื่อใช้เปลี่ยนแปลงเเอลกอฮอล์ให้เป็นพลังงานอย่างรวดเร็วกว่า จึงมีสภาพที่คนทั่วไปเรียกว่า “คอแข็งเมายาก”
ถ้าจู่ๆ มีคนชวนคุณไปปั่นจักรยานค้างแรมในป่าที่ห่างไกลผู้คน ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ไม่มีทั้งไฟฟ้า และน้ำประปา เส้นทางปั่นก็ไม่ได้สวยแบบแหล่งท่องเที่ยว ไม่มีวิวชมพระอาทิตย์ ไม่มีทะเลหมอก และเอาจริงๆ ทางที่ไปๆ มาแต่ละครั้งมักใช้เวลาเข็นพอๆ กับเวลาปั่นเสมอ ฟังดูแล้วน่าสนใจไหมครับ ผมมีพี่ที่รู้จักคนหนึ่ง (แกคงไม่อยากให้เอ่ยนาม) คลั่งไคล้การออกทริปแบบนี้มาก เมื่อหลายปีก่อนพี่ท่านนี้เคยชวนผมขึ้นเหนือไปเปิดโลกของแกมาแล้วหนหนึ่ง ผมก็บังเอิญมีจังหวะว่างพอดี จึงตกปากรับคำลองไปร่วมปั่นดูด้วยอยากจะรู้นักว่า แกติดใจอะไรนักหนากับการปั่นจักรยานไปนอนในป่าลึก ก่อนเดินทางราว 1 เดือน แกส่งรายการสิ่งที่ต้องมีสำหรับออกทริปมาให้ รายการไม่มากมายเท่าไหร่ แต่อ่านจบก็รู้สึกคล้ายกับว่า เหมือนเรากำลังจะต้องไปเข้าค่าย รด.(ค่ายรักษาดินแดน) แต่ครั้งนี้เป็นภารกิจที่ต้องเอาจักรยานไปด้วย หม้อสนาม เปลมุ้ง มีดพก เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการไปเที่ยวสไตล์นี้ วิชาลูกเสือ ผูกเปลนอน ก่อไฟ หุงข้าวด้วยฟืน ก็ต้องรื้อฟื้นขึ้นมาอีกหน ผมซึ่งพอจะชอบอะไรแบบนี้เป็นทุนเดิม ก็พลอยนึกสนุกซักซ้อมอยู่หลายสัปดาห์ ย้อนกลับมาฝึกทักษะการพึ่งตนเอง ผมรู้สึกว่ามันเป็นศาสตร์และศิลป์มากๆ เราต้องละเอียดอ่อนใช้ผัสสะในการเรียนรู้หลายอย่าง อย่างการหุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า เราแค่ใส่ข้าวใส่น้ำตามขีดเสียบปลั๊กและกดหนึ่งที รอไปจนหม้อเด้งก็ได้ข้าวสวยร้อนๆ กิน แต่การหุงแบบดั้งเดิมด้วยฟืน แค่จะเริ่มต้นก่อไฟก็ต้องรู้หลักการ ใช้ทักษะการสำรวจหาวัสดุรอบตัวที่จะมาเป็นเชื้อไฟให้ฟืนติด กิ่งไม้เล็กๆ หน้าตาคล้ายกัน อันหนึ่งหยิบจากพื้นดิน อีกอันหักจากกิ่งแห้งคาต้น ก็มีความแตกต่างกันแล้ว […]
แม้จะไม่ใช่ลูกแม่น้ำโขง แต่ชีวิตการงานและการเดินทางท่องเที่ยวทำให้ผู้เขียนได้สัมผัสความงามและความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขงตามจุดต่างๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม
ผู้เขียนรู้สึกดีใจเล็กน้อย ที่ขยับจากสัปดาห์ละหนึ่งวัน มาเป็นทุกวัน ด้วยหวังว่าคนที่นี่จะฉุกคิดได้ว่าควรจะเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าตั้งนานแล้ว แต่ความดีใจยังไม่ทันถึงขีดสุด ความสงสัยก็วิ่งเข้าแทรก ด้วยปริมาณของส้มแมนดารินที่พะเนินเทินทึกในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าส่วนมากจะเป็นการขายยกลัง
เราเคลื่อนไหวบนสองขาของตัวเองและสี่ขาของสัตว์พาหนะมาช้านาน กว่าจะหันมาเพิ่มสปีดเดินทางด้วยรถไฟและรถยนต์เมื่อ 100-200 ปีก่อน
ท่านสามารถร่วมบริจาคทุนสนับสนุนการดำเนินงานมูลนิธิฯ โดยการ
ชื่อบัญชี มูลนิธิโลกสีเขียว
(กรุณาแนบหลักฐานการ ฝาก/โอนเงิน ชื่อสกุล และที่อยู่ ส่งมาที่ gwf@greenworld.or.th หรือส่งกลับมาที่ "มูลโลกสีเขียว” เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท43 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 หรือส่งโทรสาร: 02-662-5767 หรือ ID Line: gwfthailnd)