นิเวศในเมือง

นิเวศในเมือง
read

อ่านไม่ออกก็รู้ความได้

ไม่กี่วันมานี้มีคนรุ่นใหม่ขอให้ฉันอธิบายความหมายของ “การรู้ภาษาสิ่งแวดล้อม” ในมุมมองของตัวเอง หลายคนคงจำได้ว่า eco-literacy หรือ environmental literacy เคยเป็นคำยอดฮิตในวงการสิ่งแวดล้อมเมื่อ 20-25 ปีก่อน และก็เหมือนกับคำหลายๆ คำที่ใช้จนเฝือ เบื่อ และเฟดหายไป ทั้งๆ ที่การปฎิบัติจริงยังไปกันไม่ถึงไหน ถ้ากูเกิ้ลดูก็จะได้นิยามประมาณว่า คือความเข้าใจในหลักการทำงานและความเชื่อมโยงของระบบนิเวศ และการกระทำที่ส่งผลกระทบ เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจได้เหมาะสม แต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อนฉันจำได้ว่าฉันสนุกกับคำศัพท์ ‘literacy’ และเมื่อถูกถาม ฉันก็จะขยายความมันตามประสาคนที่เติบโตมากับเทพนิยายและนิทานผจญภัยก่อนนอน ตอนนั้นฉันเพิ่งจะเริ่มพัฒนากระบวนการสำรวจธรรมชาติภาคประชาชน เรียกว่า “นักสืบสายน้ำ” ให้เด็กๆ และคนทั่วไปสามารถตรวจสอบสถานภาพและความเป็นไปของแม่น้ำลำธารได้เอง ดังนั้น ฉันก็จะบอกว่างานที่ทำคือการฝึกให้คนอ่านสภาพแวดล้อมได้เหมือนอ่านหนังสือ การทำความรู้จักสัตว์ชนิดต่างๆ ก็เปรียบเสมือนรู้จักตัวอักษรพยัญชนะ และพอรู้จักชีวิตมัน รู้จักนิสัย รู้ว่ามันชอบอยู่บ้านแบบไหน ชอบกินอะไร มีความสามารถอย่างไร ชอบคบกับใคร ทนอะไรได้แค่ไหน ก็เปรียบเสมือนเรารู้ไวยกรณ์ ผสมคำกันแล้วก็เริ่มอ่านออก รู้ความหมาย รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้น เบื้องต้นก็อาจแค่รู้ว่าน้ำสะอาดสกปรกแค่ไหน โดยตัดสินจากชนิดสัตว์น้ำที่พบ เทียบเท่ากับอ่านนิทานเต่ากับกระต่ายง่ายๆ แต่ยิ่งฝึกสังเกต คลังคำและไวยกรณ์ก็ยิ่งแตกฉาน ยิ่งอ่านได้มาก […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป่าของคนเมือง

การใช้ชีวิตอยู่ที่มาเลเซียในช่วงสิบสามปีที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกว่าคงจะคิดถึงมากที่สุดเมื่อย้ายกลับเมืองไทย คือการที่มีพื้นที่ป่าของคนเมืองให้ได้ใช้เป็นที่ออกกำลังกาย เข้าถึงธรรมชาติได้อย่างไม่ยากเย็น ทั้งคนที่พักอาศัยอยู่ในเมืองอย่างกัวลาลัมเปอร์และรัฐสลังงอร์ และคนที่อยู่ในรัฐต่างๆ ในรัศมี 50 กิโลเมตรของกรุงกัวลาลัมเปอร์และรัฐสลังงอร์ มีผืนป่าและภูเขาลูกย่อมๆ สำหรับให้คนไปเดินออกกำลังกายหรือปีนเขาไม่ต่ำกว่าสิบแห่ง โดยเป็นพื้นที่ป่าแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนสาธารณะ สวนป่า ซึ่งได้เปลี่ยนสถานภาพจากการใช้ประโยชน์มาเป็น “ป่าของคนเมือง” ไปโดยปริยาย เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของเมือง ก็สามารถเดินทางไปยังผืนป่าเหล่านี้ได้ภายใน 1 ชั่วโมง ในวันหยุดหรือวันที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ผู้เขียนเองก็ชอบที่จะไปเดินออกกำลังกายในป่าเหล่านี้ เปลี่ยนบรรยากาศจากลู่วิ่งมาเป็นเส้นทางลาดชันของเนินเขา เรียกเหงื่อได้ดี แถมมีเสียงนกให้ได้ยินเป็นระยะๆ แม้ว่าจะมีหลายคนรู้สึกตะขิดตะขวงใจว่า ทำไมเอาผืนป่ามาให้คนเดินออกกำลังกายกันอย่างพลุกพล่าน กิจกรรมต่างๆ อาจจะทำให้สัตว์ป่ากลัวหรือหายไป ความจริงแล้ว ป่าคนเมืองเหล่านี้มีลักษณะเป็นเหมือนเกาะกลางทะเลที่ถูกตัดขาดจากป่าผืนอื่นๆ ด้วยถนนหลายสายและบ้านเรือนหลายแห่ง สัตว์ใหญ่ๆ ที่เคยอยู่ในป่า ก็คงล้มหายตายจากไปด้วยเหตุผลนานัปการในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ที่เหลืออยู่ก็มีแต่ลิง กระรอก กระแต งู แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กตัวน้อยที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ ส่วนนกที่สามารถบินไปไหนมาไหนได้ ก็คงไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ ตราบใดที่ยังมีต้นไม้ให้ทำรัง และอาหารให้กิน ที่น่าสนใจกว่าการเก็บป่าไว้เฉยๆ คือการทำให้คนเข้าถึงป่าและธรรมชาติได้ ลำพังการสอนตามหน้าหนังสือหรือหน้าจอเครื่องมือสื่อสารที่บอกให้รักธรรมชาติและป่าไม้อยู่ปาวๆ นั้น คงจะเป็นเรื่องยากหากว่าคนเหล่านั้นไม่เคยได้เดินในป่า หรือเคยได้รับประโยชน์โดยตรงจากป่า ไม่เหมือนกับคนที่มาออกกำลังกาย […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ช่างตัดผมและความหลากหลายทางชีวภาพ

สมัยสาวๆ ฉันไว้ผมยาวมาเกือบตลอด จึงไม่ค่อยจะได้นึกถึงช่างตัดผม ยิ่งช่วงเป็นนักศึกษาเรียนมหาลัยที่อังกฤษ อยู่กินอย่างประหยัดสุดๆ ไม่เคยเหยียบเข้าร้านตัดผมเลย ถ้าผมแตกปลายต้องการเล็มก็แค่ส่งกรรไกรให้เพื่อน ตัดไม่ตรงนักก็ไม่เป็นปัญหา เพราะรวบผมถักเปียเป็นประจำ แต่พอถึงวัยทองผมร่วงง่ายก็เข้าสูตรนางเฒ่าตัดผมสั้น ตัดไปตัดมาก็ติดใจสบายหัว ไม่คิดถึงผมยาวอีกเลย ทรงที่ตัดคือสั้นเต่อไม่ต้องหวี ประมาณทรงเจมี ลี เคอร์ติส หรือจูดี้ เดนช์ ดังนั้น ในช่วงปิดล็อคดาวน์ใหม่ๆ ได้ 1-2 อาทิตย์เมื่อเพื่อนผู้ชายเริ่มบ่นอยากตัดผม ฉันก็ยังไม่รู้สึกอะไร คิดว่ายังไงเสียช่วงนี้ปล่อยยาวเป็นบ๊อบก็ได้ ส่วนทางสามีขอให้ตัดผมให้ฉันก็ตัด ฉันอาจจะโอเคกับการเป็นฝ่ายเปิดยูทูปเรียนวิธีตัดผมคุณสามี แต่ไม่มีวันให้คุณสามีทดลองตัดผมตัวเองแน่นอน แก่เยินแค่ไหนก็ยังรักสวยรักงามเท่าที่พอทำได้ ผ่านไปสองเดือนผมที่งอกออกมาก็ยังอีกไกลกว่าจะยาวเป็นบ๊อบ แต่กำลังกะรุงกะรังได้ที่ ระต้นคอและข่มขู่จะแยงตา เริ่มจะรำคาญแต่ก็กะว่าเดี๋ยวใช้ผ้าคาดผมก็ได้ แต่แล้วเพื่อนก็ไลน์มาบอกว่ามีช่างตัดผมตัดให้ได้ รับนัดลูกค้าทีละคนเพื่อรักษาระยะห่างในสังคม เช้าวันรุ่งขึ้นฉันก็เลยไปตัดผม สายตาของพนักงานหน้าร้านที่เปิดประตูออกมาขานชื่อที่นัดไว้แสดงความดีใจล้นปรี่อย่างเห็นได้ชัดแม้เธอจะใส่มาส์ค เธอเชิญให้นั่งและให้ยื่นเท้าออกมาเพื่อให้เธอฉีดแอลกอฮอลบนพื้นรองเท้าและฝ่ามือ ก่อนจะพาขึ้นไปที่ห้องตัดผมข้างบน มีช่างนั่งรออยู่ ยิ้มหลังมาส์คล้นตาออกมาเช่นกัน มันดีใจเหมือนพบญาติมิตรที่ไม่ได้เจอกันมาแสนนาน ทั้งๆ ที่เพิ่งจะรู้จักกันเป็นครั้งแรก เราไม่ใช่แค่ลูกค้ามาจ่ายเงินประคองธุรกิจที่ชะงักงันไป แต่เราต่างเป็นมนุษย์ที่ได้ปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกัน เธอได้ใช้ทักษะพิเศษบริการตัดผมให้เรา ทำให้เรารู้สึกสบาย กลับบ้านมาทำงานอะไรอย่างอื่นของเราได้ดีขึ้น ในนาทีนั้น ฉันรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นดอกเข็มหลอดกลีบยาว และเธอเป็นมอธมีงวงดูดน้ำหวานยาว สามารถยืดงวงมาดูดน้ำหวานและผสมเกสรฉันได้ ในขณะที่สามีฉันทำไม่ได้ เพราะเขาเป็นด้วง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ต้นไม้พูดได้

ตอนเราเป็นเด็ก นิทานต่างๆ ในทุกวัฒนธรรมจะเต็มไปด้วยสัตว์และต้นไม้พูดได้ พวกมันเป็นชีวิตริมทางทั่วไป ไม่ใช่สัตว์วิเศษแห่งดินแดนมหัศจรรย์ในโพรงกระต่ายที่อลิศตกลงไป บางเรื่องถึงกับเริ่มต้นด้วย “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในยุคสมัยที่คนยังคุยกับสัตว์ได้..” พวกเราที่เติบโตมาในสังคมสมัยใหม่เห็นมันเป็นเพียงนิทานเรื่องแต่งสนุกๆ ให้เด็ก แต่แล้วเราก็พบว่า ณ วันนี้ ยังคงมีชนเผ่าล่าสัตว์หาของป่าดั้งเดิมบางแห่งที่พูดคุยกับสัตว์และต้นไม้ได้จริงๆ ชนเผ่าเอสกิโมหรืออินูอิทในอลาสก้ามีวัฒนธรรมที่ผูกพันแน่นแฟ้นกับวาฬ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวาฬลึกซึ้งกว่าการเป็นผู้ล่าและเหยื่อ พวกเขาสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เมื่อปี ค.ศ.1986 แฮรี่ บราว์เวอร์ เอสกิโมวัย 61 ได้รับสารจากลูกวาฬหัวคันศรที่อยู่แถวบ้านของเขาห่างออกไป 1,000 ไมล์ บอกเรื่องราวของแม่มันที่ถูกกลุ่มผู้ชายบนเรือแคนูฆ่าตายด้วยฉมวก เขาเห็นหน้าคนฆ่าทั้งหมด ซึ่งรวมถึงลูกชายของเขาเอง เมื่อตรวจสอบข้อมูลก็พบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง นักวิทยาศาสตร์จึงเข้าไปหาความรู้เกี่ยวกับชีวิตวาฬจากคนเผ่านี้เพื่อพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์วาฬให้ดีขึ้น ต้นไม้ก็เช่นกัน จากการสอบถามหมอยาในชนเผ่าโบราณทั่วโลก นักมนุษย์วิทยาพบว่าความรู้เรื่องคุณสมบัติของสมุนไพรต่างๆ ไม่ได้มาจากการลองถูกลองผิดอย่างที่พวกเราคนสมัยใหม่โมเมเข้าใจกัน แต่เป็นสารที่ได้รับมาจากตัวต้นไม้เอง พจนา จันทรสันติ เขียนไว้ในหนังสือ แด่ชายหนุ่มและหญิงสาว (2554) ว่า “ผมมีความเชื่อว่าการสื่อสารของมนุษย์โบราณก่อนที่จะเกิดภาษาขึ้นนั้น ใช้การส่งและรับคลื่นความรู้สึกนึกคิดโดยตรง ซึ่งปัจจุบันเราเรียกกันว่า ‘โทรจิต’ อันเป็นวิชาที่สาบสูญ การสื่อสารของมนุษย์ในครั้งกระนั้นจึงตรงเต็มและปราศจากการบิดเบือนเฉไฉ และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นไปได้ว่า การสื่อสารนี้มิได้จำกัดอยู่ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงการสื่อสารกับสัตว์ พืช ก้อนหิน และธาตุมูลต่างๆ ในโลกธรรมชาติด้วย ด้วยเหตุที่การสื่อสารนั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยเสียง ถ้อยคำ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ระยะแห่งการให้เกียรติ

เมื่อการคืนดีกับธรรมชาติเป็นวาระสำคัญของสังคมโลก ฉันจึงเริ่มจัดคอร์ส Nature Connection 101 เป็นคอร์สพื้นฐานสั้นๆ สองวันครึ่งของมูลนิธิโลกสีเขียวให้ผู้คนได้พัฒนาแนวทางที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับธรรมชาติและสรรพชีวิตร่วมโลกรอบตัว ครั้งล่าสุดที่จัดไปคือเมื่อสองอาทิตย์ก่อนช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่เชียงดาว ไม่ได้จะเล่าเรื่องคอร์สทั้งหมดเพราะมันมีรายละเอียดมากมาย แต่อยากจะเล่าเรื่องน้องเพชร (นามสมมุติ) เธอเป็นเด็กสาวหน้าใสอายุ 15 ที่บอกว่าตลอดชีวิตของเธอ เธอเห็นแต่สัตว์หนีเรา พวกมันตีห่างจากมนุษย์เสมอ เด็กรุ่นเธอเติบโตมาในภาวะที่มนุษย์เป็นตัวน่ากลัวน่ารังเกียจแก่ปวงสัตว์มันเป็นภาวะที่ทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยวโดยไม่รู้ตัว เพชรไม่ได้บอกว่าเธอเหงาหรือเศร้า แต่มันน่าสนใจว่าเธอสังเกตและพูดถึงปรากฎการณ์นี้ขึ้นมาเอง อย่างไรก็ตาม ฉันออกจะดีใจที่เพชรพูดเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะกิจกรรมสุดท้ายในคอร์สเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอดี สัตว์ไม่เหมือนกับต้นไม้ที่เราปฏิสัมพันธ์กันในวันแรกของคอร์ส มันวิ่ง มันบินหนีเราได้ ถ้าเราอยากจะเข้าใกล้สัตว์ เราต้องทำให้มันรู้สึกสบายใจกับเรา ถ้าถามช่างภาพสัตว์ป่าอย่างคุณเต สมิทธิ์ สุติบุตร์ เขาจะบอกว่าเราต้องทำตัว “ต่ำช้า”คือย่อตัวเรี่ยเตี้ยติดดินและเคลื่อนไหวให้ช้าที่สุด ค่อยๆ คืบค่อยๆ เถิบ บางทีช่างภาพสัตว์ป่าเหล่านี้ใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อคืบเพียง 10 เมตร แต่ไม่ว่าเราจะขยับช้าอย่างไร เมื่อสัตว์เห็นเราแล้ว เราจะต้องสังเกตว่ามันสบายใจกับเราในระยะไหน และเราต้องเคารพมัน ไม่พยายามล้ำเกินเส้นนั้น อินเดียนแดงเรียกว่า“ระยะที่ให้เกียรติกัน” พี่เชน ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ เรียกว่า “ระยะที่ได้รับอนุญาต”เป็นคำเรียกที่กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ตรงสุดๆ เมื่อพี่เชนประจันหน้ากับเสือ มันครางคำราญเตือน แต่พี่เชนก็ค่อยๆ ก้าวเข้าไปอีกหนึ่งก้าวพร้อมกล้องในมือ มันเป็นก้าวที่ยังไม่ได้รับอนุญาต เสือจึงกระโจนเข้าใส่ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ชมวิว หรือเช็คอิน

ตั้งแต่ย้ายมาทำงานด้านการท่องเที่ยว ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจวิถีการเที่ยวและวิธีการจัดสถานที่เพื่อต้อนรับผู้มาเยือนทั้งไทยและต่างชาติของพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น อย่างเช่นพื้นที่ทำงานของผู้เขียน นับเป็นจุดเล็กๆ ที่กว่า 99% เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาพักและเที่ยวกึ่งผจญภัยกับป่าเขาลำเนาไพรรอบๆ พื้นที่ ภาพจาก: http://www.liekr.com/post_136022.html ทำให้นึกถึงตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย เป็นช่วงที่ได้เดินทางแบบลุยๆ บ่อยที่สุด ที่จำได้มากที่สุดก็คือการไปเที่ยวเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย ที่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อนและรุ่นพี่ราวๆ สิบคน ไปเที่ยวตามที่ “เขาเล่าให้ฟัง” พวกเราไปซื้อตั๋วที่สถานีรถไฟล่วงหน้าสองสามวัน นั่งรถไฟชั้นสามที่คลับคล้ายคลับคลาว่าเป็นการนอนมากกว่า โดยเอากระดาษหนังสือพิมพ์ปูลงไปที่พื้นคู่กันกับเพื่อนอีกคน เปิดพื้นที่บนเก้าอี้ให้อีกสองคนได้นอนบนเก้าอี้ฝั่งละคน รถไฟไปถึงพิษณุโลกตอนก่อนรุ่งสาง ลงจากรถไฟแล้วก็ถามทางไปตลาดเพื่อหาซื้อเสบียงสำหรับหุงหากินตอนอยู่บนเขา จนได้เรียนรู้ว่าคนที่นั่นเขาบอกทางกันเป็นทิศ เช่น ไปทางทิศใต้ 300 เมตร แล้วเลี้ยวไปทางทิศตะวันออก พวกเราที่มาจากที่อื่น ยังไม่มีหลักว่าอะไรอยู่ทิศไหน แถมพระอาทิตย์ก็ยังไม่ขึ้น จึงต้องถามทางไปตลอดจนถึงตลาดนั่นเลย พอซื้อของเสร็จ ก็ถามหารถที่จะไปส่งที่เขาหลวง และได้รถสองแถวแบบที่มีหลังคาสูง นั่งปุเลงๆ กันไปถึงเขาหลวงตอนสายๆ ทริปนั้น ผู้เขียนจำเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงไม่ได้มากนัก เพราะรายละเอียดของการตั้งเต๊นท์นอนอาจถูกทับด้วยการไปตั้งเต๊นท์ที่อื่นๆ จำได้แค่ว่า พวกเราต้องตื่นแต่เช้ามืด เพราะนัดกันไว้ว่าจะต้องเดินไปดูพระอาทิตย์ขึ้นตามที่เขาบอกกันมาว่ามันสุดยอด แบบไม่รู้รายละเอียดเส้นทางการเดินมากนัก แต่จำตอนหนึ่งได้แม่นยำว่า คนนำทางบอกว่าให้เก็บมะขามป้อมที่หล่นอยู่ใต้ต้นที่พบระหว่างทางไว้เป็นเสบียง ช่วยให้สดชื่นและดับกระหายได้ดี และคงเป็นเพราะว่าหน้าตาของพวกเราดูสะโหลสะเหลและเหม็นขี้ฟันเอาการ มาตรฐานในการถ่ายรูปกลุ่มสมัยก่อน มักจะขาดใครคนใดคนหนึ่งในกลุ่มที่เสียสละไปยืนอยู่หลังกล้อง ก็อาจเก็บรูปได้ครบ ถ้ามีก๊วนอื่นอยู่ที่นั่นด้วย […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

กลัวฝังใจ แต่ต้องเข้าใจ

เมื่อตอนเด็กๆ ผู้เขียนคิดว่าตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่ทั้งน่ากลัวและน่าเกลียด ความน่ากลัวบ่มเพาะมาจากตอนเด็กๆ ที่เชื่อว่าถ้าไม่นอนตอนกลางวันแล้วตุ๊กแกจะออกมากินตับ ซึ่งถ้าจริงอย่างที่ขู่ ก็น่าจะโดนกินตับตั้งแต่ตอนนอนนิ่งๆ นั่นมากกว่า บวกกับความหลอกหลอนของละครไทยที่เกี่ยวข้องกับผีๆ เรื่องไหนเรื่องนั้น ถ้ามีฉากตุ๊กแกเกาะกำแพงหรือส่งเสียง เป็นอันรู้กันว่าเดี๋ยวผีจะมา ส่วนความน่าเกลียดของตุ๊กแก ก็น่าจะมาจากกการที่ไม่กล้ามองมันอย่างจริงจังเพราะความกลัว เลยยิ่งมโนไปได้อีกว่ามันน่าเกลียดมากกว่าตัวจริง สีฟ้าเรื่อๆ ผสมลายจุดน้ำตาล ถ้าเอาไปพิมพ์ลงบนผ้า คงเป็นลายสวยไม่น้อยเลยทีเดียว   ความกลัวมาทุเลาลงก็เมื่อตอนโตมาแล้ว มาคิดได้ว่าเราตัวใหญ่กว่าตุ๊กแกตั้งเยอะ คงไม่มีทางจะปล่อยให้มากินตับกันได้ง่ายๆ และความเกลียดก็ทุเลาลงเมื่อมาเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับตุ๊กแกเมื่อครั้งไปเที่ยวเวียดนามยี่สิบที่แล้ว เพราะไปเห็นว่า ที่เกาะแคตบาในอ่าวฮาลอง เขาเอาตุ๊กแกมาตากแห้งมัดขายเป็นกองๆ พอมันแห้งๆ แล้วก็ดูไม่ต่างอะไรกับกองม้าน้ำตากแห้งข้างๆ กัน ซึ่งพอเห็นปุ๊บก็เลือดขึ้นหน้าปั๊บ มาฉุกใจคิดว่าทำไมจึงรู้สึกเสียใจและเป็นเดือดเป็นแค้นที่เห็นเขาจับม้าน้ำมาทำยาบำรุงกำลังได้ขนาดนั้น แล้วตุ๊กแกล่ะ ชะตากรรมก็ช่างไม่ต่างกันเลย จากนั้นมา ก็เลยเลิกเกลียดหรือกลัว ตอนนี้อยู่เมืองไทย มีบ้านกลางป่ากลางดงที่มีตุ๊กแกเป็นสัตว์ประจำบ้านชนิดหนึ่ง ไม่ต่างอะไรไปกับที่มีแมวและอึ่งอ่าง เพียงแต่สามชนิดนี้ไม่ปรองดองกันมากนัก ดูไปแล้วก็คล้ายๆ กับการ์ตูนทอมแอนด์เจอรรี่และเจ้าหมาบุช เพียงแต่สลับบทบาทนิดหน่อย ตุ๊กแกตัวใหญ่ จึงต้องกินอาหารชิ้นใหญ่ๆ เช่น แมงมันที่กรูกันออกมาตอนต้นฤดูฝนของเดือนพฤษภาคม เพราะน้ำฝนไหลลงไปท่วมรังในดิน ทำให้ลูกแมงมันบินออกมาเล่นกับแสงไฟและกลายเป็นอาหารให้แก่ตุ๊กแกหลายสิบตัว ที่รอจังหวะดักกินอาหารโอชะนี้ปีละหน จัดว่าเป็นบุฟเฟต์ธรรมชาติที่เอิกเกริกมาก ส่วนฤดูกาลอื่นๆ อาหารของตุ๊กแกก็มีทั้งแมลงอื่นๆตามแต่จะหาได้ จิ้งจก รวมทั้งกบและอึ่งอ่างที่หลงเข้ามาใกล้ๆ รัศมี […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ผังใหม่เมืองกรุง รู้จักกันยัง?

มีเรื่องใกล้ตัวที่เราคนกรุงต้องรู้กัน ขณะนี้ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับใหม่กำลังอยู่ในมือคณะกรรมการพิจารณาร่างผังเมือง หลังจากผ่านกระบวนการ “ประชาพิจารณ์” ตามพิธีกรรมแล้ว แต่ประชาชนคนเมืองรับรู้กันน้อยมาก ดิฉันและสมาชิกเครือข่ายชุมชนคนกรุงหลายชุมชนที่เข้ามารวมตัวกันจากปัญหาเป็นผู้รับผลกระทบการก่อสร้างอาคารคอนโดผิดกฎหมาย ได้พยายามติดตามและศึกษาผังเมืองฉบับใหม่นี้ แม้ยังไม่ทะลุปรุโปร่งแต่มีข้อสังเกตบางประการที่อยากจะแบ่งปันเพื่อชวนสังคมอภิปราย หลักคิดใหญ่ของผังเมืองรวมคือเพื่อแก้ปัญหาเมืองขยายสะเปะสะปะแนวราบ (urban sprawl) โดยส่งเสริมให้พัฒนาเป็น “เมืองกระชับ” (compact city) อย่างฮ่องกง หนึ่งในปัญหาก็คือวิธีการที่ผู้ร่างผังเมืองตั้งใจนำพาไปสู่จุดหมายนั้น แนวทางหลักที่หยิบมาใช้คือการสร้างกติกาให้กลุ่มทุนพัฒนาอหังสาริมทรัพย์สามารถสร้างอาคารได้ใหญ่ขึ้นสูงขึ้น พร้อมๆ กับสร้างแรงกดดันให้ผู้อยู่อาศัยเดิมในบ้านเดี่ยวต้องขายที่อพยพไปที่อื่น มีการให้โบนัสพิเศษแก่ทุนพัฒนา สามารถสร้างได้ใหญ่ขึ้นกว่ากำหนดเดิมถ้าหากเจียดพื้นที่เล็กน้อยให้สาธารณะร่วมใช้ประโยชน์ ส่วนพวกบ้านเดี่ยวที่อยู่อาศัยเดิมมาหลายชั่วโคตรก็ถูกจัดสรรระบายสีให้เป็นโซนสีต่างๆ อย่างบ้านดิฉันในซอยสุขุมวิท 28 ที่ครอบครัวอยู่กันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยอยู่ในโซนสีน้ำตาล (เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น) ก็โดนเปลี่ยนโดยไม่บอกกล่าวเป็นสีแดง (เขตพาณิชยการ) สามารถสร้างห้างสรรพสินค้า โรงแรม ฯลฯ ได้ ทั้งๆ ที่ซอยบ้านเราเป็นซอยตันเล็กๆ ปลูกต้นไม้ครึ้ม อยู่ในโซนบ้านเรือนอาศัยชัดเจน ไม่พลุกพล่านคึกคักเหมือนทองหล่อ ซึ่งกลับกลายว่ายังเป็นโซนสีน้ำตาลอยู่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือราคาที่ดินประเมินในซอยเราที่ถูกระบายสีใหม่เอื้อการลงทุนอย่างหลากหลายเต็มพิกัดจะพุ่งพรวดๆ ถ้าเราไม่ยอมขายเราก็จะต้องจ่ายภาษีที่ดินในระบบภาษีที่ดินใหม่แพงขึ้นเป็นหลายเท่า จากที่ดินสุขุมวิทซอยตันตารางวาละ 200,000 อาจขึ้นเป็น 500,000 อย่างซอยศาลาแดง หรือ 900,000 อย่างราชดำริ ที่สุดแล้วเราก็จะต้องทิ้งที่ดินบรรพบุรุษขึ้นไปอยู่คอนโดตามแผนเขา หรือหอบหมาซึ่งอยู่คอนโดไม่ได้ไปหาบ้านอยู่นอกเมือง ห่างไกลจากหมู่ญาติและเพื่อนฝูง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

สัพเพ สัตตา

ปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้เขียน ที่ได้ย้ายกลับเข้ามาอยู่เมืองไทยหลังจากไปอยู่มาเลเซียมา 13 ปี แม้ว่าจะกลับเข้ามาปักหลักทางภาคใต้ ทำงานในเขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในขณะที่บ้านกับโรงเรียนของลูกๆ อยู่จังหวัดกระบี่ ซึ่งทั้งสองจังหวัดนี้ มีความเหมือนกันอยู่คือเป็นสถานที่ที่มีภูเขาหินปูนเป็นภูมิทัศน์ที่โดดเด่น แห่งหนึ่งมีน้ำในเขื่อนเป็นฉากหน้า  อีกแห่งมีน้ำทะเลหนุนความสวยงามอยู่ด้านหลัง ความที่ชอบดูความตระหง่านของเขาหินปูนอยู่แล้ว การขับรถไปมาระหว่างที่ทำงานและบ้านสัปดาห์ละครั้งจึงถูกจริตพอสมควร ระยะทางสองในสามของเส้นทางที่ต้องขับรถผ่าน ถือว่าเป็นเส้นทางสายเปลี่ยว(คน) เพราะโค้งเยอะ รถใหญ่จึงน้อย สองฝั่งถนนมีบ้านเรือนกระจายกันอยู่ประปราย ที่เหลือคือสวนผลไม้ สวนยาง สวนปาล์ม และพื้นที่ป่าที่เป็นอาณาเขตของเขาพนมและเขาสก ใครที่ชอบขับรถทางไกล หรือขี่มอเตอร์ไซค์แบบบิ๊กไบค์ คงจะถูกใจเส้นทางแบบนี้ ในความสวยงามที่เล่ามานั้น มีความน่าตื่นเต้นแฝงอยู่ด้วยตอนที่พบว่า ถนนเหล่านั้น เราต้องใช้ร่วมกับสัตว์อื่นๆ ด้วย ซึ่งก็มีตั้งแต่สัตว์เลี้ยงอย่างหมา แมว และแพะ ที่มักจะครองถนนแบบไม่เกรงใจใคร ผู้ขับขี่ต้องขับช้าๆ และหลบทางให้เจ้าถิ่น ไปจนถึงสัตว์ไม่ได้เลี้ยงอย่างงู ที่แม้ว่าจะนั่งอยู่ในรถยนต์มีประตูกับกระจกปิดมิดชิด ก็อดตกใจไม่ได้ทุกทีเวลาที่มีงูโผล่ออกมาจากพงหญ้าในระยะกระชั้นชิด  โชคดีของผู้เขียนที่งูสองสามตัวที่เห็นนั่นหลบกลับเข้าไปในพงไปได้ทัน แต่คงเป็นโชคไม่ดีของงูหลายตัวที่คาดว่าโผล่ออกมาตอนโพล้เพล้หรือตอนกลางคืน กลายเป็นเหยื่อตายกลางถนน ซึ่งผู้เขียนได้เห็นไม่ต่ำกว่าเที่ยวละ 3-5 ตัว เมื่อครั้งที่อยู่มาเลเซีย สัตว์ที่พบตายบนท้องถนนในเมืองอันดับหนึ่งคือแมว (ไม่ใช่หมาแบบในเมืองไทย) มีเพื่อนผู้ชำนาญการเลี้ยงแมวเคยเล่าให้ฟังว่า แมวชอบเข้าไปใต้ท้องรถเพื่อไปนอนแอบไออุ่นอยู่ในห้องเครื่อง เวลาที่เจ้าของรถขับออกไปทำงานตอนเช้าๆ จึงพาแมวเหล่านี้ติดไปในห้องเครื่องด้วย จนกระทั่งเกาะเครื่องไม่ไหวหรือร้อนเกิน แมวก็จะหลุดลงมาจากห้องเครื่อง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

แด่แม่ป้าเจน

เมื่อวันปิยะ 23 ตุลาที่ผ่านมา ถ้าใครมีเพื่อนสายสัตว์ป่าหลายคน ก็อาจจะพบว่าวันนั้นจอเฟซบุ๊คเต็มไปด้วยภาพเพื่อนๆ ถ่ายรูปคู่กับ “ป้าเจน” ฉันหมายถึง เจน กู้ดดัล (Jane Goodall) ใครจะไม่ตื่นเต้นที่ได้เจอ ดร.เจน กู้ดดัลตัวจริง เธอเป็นไอคอนระดับโลกที่แม้แต่คนเดินถนนนอกวงการอนุรักษ์สัตว์ป่าก็รู้จัก โดยเฉพาะในเมืองฝรั่ง เธอบุกเบิกงานวิจัยพฤติกรรมลิงชิมแพนซีป่าในอาฟริกาในยุค 60 ซึ่งปฏิวัติมุมมองและแนวทางการศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า ทำลายนิยามเดิมของมนุษย์ที่เคยถือว่าต่างจากสัตว์อื่นเพราะเป็น “ผู้ประดิษฐ์เครื่องมือ” เมื่อพบว่าลิงชิมก็ทำเช่นกันแม้ว่าจะเป็นเครื่องมือที่พื้นฐานกว่า และยังพบความสลับซับซ้อนของสังคมชิมแพนซีอีกมากมาย ทั้งในปางร้ายและปางธรรม ถึงกลางยุค 80 เมื่อการทำลายป่าและธรรมชาติอื่นๆ กลายเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก เธอผันตัวเองออกจากงานวิจัยสู่งานอนุรักษ์และงานพัฒนายั่งยืนที่สร้างเครือข่ายไปทั่วโลก แล้วยังเขียนหนังสืออีกมากมายหลายเล่ม ปัจจุบันเธออายุ 84 ปีแล้ว เดินทางทั่วโลก 300 วันต่อปี เพื่อบรรยายและช่วยเหลือโครงการอนุรักษ์ต่างๆ ครั้งนี้เธอมาเมืองไทยเพื่อปาฐกถาในงานประชุมประจำปีของสมาคมสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำโลก (WAZA) โดยมีองค์การสวนสัตว์ไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อสาวๆ เจน กู้ดดัลเป็นคนสวยมาก ยามแก่เธอก็งาม มีราศีสว่างและอบอุ่น เธออ่อนโยน แต่หนักแน่นและมุ่งมั่น ตาเธอยังเป็นประกายเมื่อพูดถึงสัตว์และเรื่องสนุกๆ และมีพลังชีวิตอย่างเหลือเชื่อ คิดดู อายุ 84 บินถึงไทยตอนกลางคืน รุ่งขึ้นคุยกับสื่อมวลชน […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป้ายดีปหมดอายุ

“ดีปปี้” คือสรรพนามสั้นๆ ที่บางครั้งใช้เรียกสายนิเวศวิทยาเชิงลึกหรือแนว deep ecology ในยุคฮิปปี้เบ่งบาน พวกเขามีคู่ต่างที่ถูกให้ชื่อเป็นขั้วตรงข้ามว่า shallow ecology หรือนิเวศวิทยาสายตื้นเขิน อ๊ะ มีว่าคนอื่นตื้น หมั่นไส้ขึ้นมาล่ะสิ — ก็มาชวนให้สำรวจความหมั่นไส้นี่แหละ ดีปปี้มีความหมายและความเข้มข้นแตกออกไปในกลุ่มต่างๆ แต่หลักๆ คือมุมมองว่าทุกชีวิตทุกสายพันธุ์มีคุณค่าในตัวมันเอง ไม่ใช่ทรัพยากรที่มีค่าตามประโยชน์ที่มอบแก่มนุษย์ และมนุษย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสัมพันธ์โยงใยในโลกทั้งใบ ไม่ใช่ศูนย์กลางจักรวาล ดีปปี้จึงมองว่าหากจะแก้ปัญหาการทำลายล้างธรรมชาติ เราต้องแก้ที่ต้นตอ คือทัศนคติและจริยธรรมในสังคมมนุษย์ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมบริโภคนิยมและการลดประชากรมนุษย์ แต่เดิม ในยุค 60 เมื่อนิยามกันใหม่ๆ ดีปปี้จึงมาในแนวปฏิเสธเทคโนโลยี และมองว่ากลุ่มคนที่มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางเทคนิค จะด้วยเทคโนโลยีหรือการจัดการที่มุ่งบรรเทาผลกระทบจากกิจกรรมและการบริโภคทรัพยากรของมนุษย์เป็นพวกตื้นเขิน แก้ปัญหาเพียงผิวๆ ไม่ถึงรากถึงโคน เหมือนเอาพลาสเตอร์แปะแผลไปวันๆ ถ้าใช้สายตาของคนยุคราว ค.ศ. 2020 ของเราตัดสินฮิปปี้ดีปปี้ มันก็ง่ายที่จะส่ายหน้ากลอกลูกตากับการปฏิเสธเทคโนโลยีของพวกดีปปี้ อะไรมันจะใจแคบขนาดน้าน ปัญหาไม่ได้ขาวดำ ถนนไม่ได้มีเพียงสองทางให้เดิน แต่เทคโนโลยีที่เบ่งบูมในยุคนั้นมักเป็นแนวทำลายล้าง เอาชนะต้านธรรมชาติ ระเบิดภูเขาขุดเจาะชั้นธรณีสกัดวัตถุดิบ สร้างมลภาวะ มหาปลัยนิวเคลียร์ กั้นแม่น้ำจนระบบนิเวศยับเยิน ได้อย่างเสียอย่าง ฝ่ายหนึ่งได้เงินและความสะดวกสบาย ฝ่ายหนึ่งเสียสุขภาพ ถิ่นฐาน และวิถีชีวิต แม้ว่าการติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสียที่ปลายท่อจะสำคัญ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อดอกไม้รักเรา

อุทยานแห่งชาติหุบเขาแห่งดอกไม้ (Valley of Flowers) ซุกตัวอยู่ในร่องซอกหลืบหิมาลัยตะวันตกบริเวณต้นน้ำคงคา รัฐอุตตราขัณฑ์ของอินเดีย ไม่ใช่ที่ที่จะไปถึงได้ง่ายนัก แต่ผู้คนก็บากบั่นเดินทางมาเยือนกันมากมาย แม้ต้องนั่งรถสองวัน แล้วเดินต่ออีกหนึ่งวันเพื่อปักหลักวางกระเป๋าพักแรมในหมู่บ้านแกงกาเรียที่อยู่ใกล้อุทยานที่สุด ยึดตรงนี้ไว้เป็นฐานที่มั่น เพราะเขาห้ามค้างในอุทยาน ดังนั้นหากจะเข้าถึงตัวหุบเขาดอกไม้ เรายังจะต้องเดินขึ้นเขาต่อไปถึงด่านทางเข้าอุทยาน ลงชื่อไว้ แล้วเดินข้ามน้ำและเขาอีกลูกหนึ่งกว่าจะถึงหุบเขาอันเลื่องลือแห่งนี้ ถ้าโชคไม่ดีฝนตกหนักเมฆหมอกหนาก็อาจไม่เห็นอะไรมากนัก หรือดูดอกไม้ยังไม่ถึงไหน ถึงเวลาบ่ายก็ต้องรีบเดินข้ามเขากลับ จะแอบไม่กลับก็ไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่อุทยานจะไล่เดินตามเทรล ต้อนให้ออกมา เดินกลับไปนอนที่หมู่บ้านเพื่อตื่นแต่เช้ากลับมาปีนเขาลูกเดิมเข้าไปใหม่ในวันรุ่งขึ้น หวังว่าเมฆหมอกจะเคลียร์ ฟ้าจะเปิดให้เห็นเขาหิมะรอบหุบได้บ้าง ถ้าโชคดี (เหมือนพวกเรา) จะเห็นถึงยอดนันทาเทวี จริงๆ ก็มีหุบเขาที่เต็มไปด้วยดอกไม้อีกหลายแห่งในหิมาลัยแถบนั้น แต่คนก็มาที่นี่กันมากที่สุด เพราะมันดังที่สุด มันดังเพราะสมญานาม “หุบเขาแห่งดอกไม้” ที่กลุ่มนักสำรวจปีนเขาชาวอังกฤษนำโดยแฟรงค์ สมิธ ผู้บังเอิญค้นพบหุบเขานี้ในปี ค.ศ.1931 ได้ตั้งให้ นอกจากนี้มันยังมีการจัดการที่ทำให้ชีวิตค่อนข้างสะดวกแม้ไม่อู้ฟู่ ทั้งที่พัก อาหาร การเดินทาง เมื่อเทียบกับความพยายามไปรอนแรมชมหุบเขาอื่นๆ นักท่องเที่ยวจึงเยอะพอๆ กับดอยอินทนนท์ โดยเฉพาะในช่วงต้นทาง แต่ความรู้สึกไม่ยักเหมือนกัน คนส่วนใหญ่ 90% ที่ดั้นด้นมาที่นี่เป็นชาวอินเดียจากทั่วทุกสารทิศ หลายคนมาจากพื้นราบกลางประเทศ ไม่เคยเห็นภูเขามาทั้งชีวิต ทุกคนล้วนมีจุดประสงค์เดียวกัน คือเพื่อดูดอกไม้ […]

Read More