นิเวศในเมือง

นิเวศในเมือง
read

พลังคำเพื่อโลก

ถามจริงๆ เมื่อได้ยินคำว่า “สิ่งแวดล้อม” คุณนึกถึงอะไร? ถามนักเรียนจะได้คำตอบว่าคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตรอบตัวเรา ถามคนทั่วไป แว็บแรกก็นึกถึงอากาศ น้ำ อุณหภูมิ การจัดการของเสียและขยะ ทั้งสองคำตอบไม่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น กระตุ้นจินตนาการ มันน่าเบื่อ เช่นเดียวกับคำว่าความยั่งยืน ในหนังสือ How to Raise a Wild Child สก็อต แซมสันตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเราตกหลุมรักกับคนคนหนึ่ง ขอแต่งงานด้วย เราไม่คิดว่าเราจะมีชีวิตที่แค่ยั่งยืนไปด้วยกัน ไม่ได้จะแค่ประคองกันไป จืดๆ ชืดๆ รอดตายด้วยความรอบคอบเก็บเงินออม ปลอดภัยอย่างซังกะตาย แต่เราเต็มไปด้วยปิติและความหวัง หนึ่งบวกหนึ่งไม่ใช่แค่สอง เราจะงอกงามเบิกบานไปด้วยกัน แล้วทำไมเมื่อเรารักธรรมชาติเต็มหัวใจ ไม่ได้เห็นมันเป็นแค่ “สิ่ง” และ “ของ” แต่เรากลับบอกคนอื่นว่า “เราต้องจัดการสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน” ไร้ซึ่งแรงบันดาลใจใดๆ เราต้องหาคำที่ให้ความหวัง เร้าใจกับความเป็นไปได้ในอนาคต งานวิจัยเล็กๆ หลายชิ้นกำลังชี้ให้เห็นว่า เด็กรุ่นใหม่มีอาการจิตตกกับภาพอนาคตโลกเสื่อม จนไม่อยากจะทำอะไร นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการถูกฝึกให้ใช้ภาษาในมุมมองภววิสัย (objective) มีความหมายใช้งานตามวัตถุประสงค์ ไม่เจือปนอารมณ์หรือมุมมองส่วนตัว เพื่อลดอคติ แต่เมื่อนำมาใช้ในการสื่อสารทั่วไปนอกแวดวงวิชาการ มันขาดหัวใจ แต่มันไม่ได้แปลว่านักวิทยาศาสตร์ไม่มีหัวใจ นักธรรมชาติวิทยาที่ทำงานจริงจังล้วนรักและพิศวงในธรรมชาติและชีวิตที่เขาศึกษา […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ทำไมมนุษย์เป็นสัตว์แก่วัยทอง?

ความแปลกอย่างหนึ่งของมนุษย์ คือเราเป็นสัตว์ไม่กี่ชนิดที่มีอายุยืนยาวตามธรรมชาติได้นานหลังวัยเจริญพันธุ์ ไข่ของมนุษย์ผู้หญิงจะถูกปล่อยทิ้งหมดไปเมื่ออายุราว 40-50 ปี ประจำเดือน (menstruation) หมดก็เข้าสู่วัยทอง แต่พวกนางก็ยังมีเรี่ยวแรงไม่แก่ตายโดยเร็ว แม้ในยุคที่การแพทย์ยังไม่ล้ำจนสามารถยืดอายุมนุษย์ได้ยาวนาน ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยก็ยังอายุยืนหลังวัยทองไปได้อีกหลายสิบปี เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแม้ในหมู่ชนเผ่าล่าสัตว์เก็บของป่า จึงต้องสรุปว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ต่างจากสัตว์ส่วนใหญ่ หลายชนิดมีชีวิตเพียงเพื่อผสมพันธุ์วางไข่ออกลูกครั้งเดียวแล้วตาย อีกหลายชนิดออกลูกได้หลายครั้งหลายปี แต่เมื่อหมดความสามารถในการสืบพันธุ์แล้วก็ตาย ถ้าไม่นับสัตว์ที่คนเอามาเลี้ยงดูแลในสถานเพาะเลี้ยงต่างๆ สัตว์ป่าในธรรมชาติที่มีวัยทองเท่าที่เรารู้มีไม่มากนัก อาทิวาฬเพชฌฆาตประเภทไม่อพยพ วาฬนำร่องครีบสั้นหรือโลมาหัวกลม เพลี้ยอ่อนสังคมที่สร้างหูดบนพืช (gall-forming social aphid) เป็นต้น มันเป็นปรากฎการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ยังงุนงง มีทฤษฎีถกเถียงกันมากมายถึงเหตุผลการวิวัฒนาการคุณลักษณะนี้ หลายทฤษฎีฟังดูเข้าท่า แต่พอตรวจสอบข้อมูลก็ล้มพับไป จึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่มีข้อสังเกตน่าพิจารณา สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์สังคมซึ่งตัวอ่อนต้องได้รับการดูแลเป็นเวลานานเพื่ออยู่รอด วาฬเพชฌฆาตเด็กต้องการแม่ดูแลยาวนานยิ่งกว่ามนุษย์อีก มันมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายกว่าจะหากิน หลีกเลี่ยงภัยเสี่ยงในชีวิตได้ แม่และยายที่มีประสบการณ์มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะในช่วงยากแร้น เพราะต้องอาศัยความรู้ทางนิเวศท้องถิ่นเป็นอย่างดีที่จะอยู่รอดผ่านพ้นภาวะลำบากไปได้  ไหนยังต้องเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมทะเลอีก มนุษย์ก็เช่นกัน ในสังคมโบราณจวบจนไม่นานมานี้ หญิงวัยทองยันนางเฒ่ามีบทบาทสำคัญในครอบครัวและชุมชน เป็นผู้ช่วยเลี้ยงดูเด็กรุ่นใหม่ แบ่งเบาภาระให้แม่สาวๆ ออกไปทำมาหากิน นางเฒ่าหลายคนยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้และปัญญาจากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี คนในสังคมได้อาศัยปรึกษาหารือ แต่ความต้องการผู้มีประสบการณ์ช่วยเลี้ยงดูเด็กและแก้ปัญหาให้ชุมชนก็ไม่ใช่เหตุผลเด็ดที่จะฟันธงสำหรับอธิบายปรากฎการณ์วัยทอง สัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิดก็อยู่กันเป็นสังคมและช่วยกันเลี้ยงเด็ก ยกตัวอย่างช้าง ช้างเป็นสัตว์อายุยืนยาวเครือๆ มนุษย์ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เสื้อผ้ามือสอง

สงสัยจริงๆ ว่า โดยปกติแล้วผู้อ่านมีวิธีจัดการกับเสื้อผ้าที่ใส่ไม่ได้แล้วอย่างไรบ้างทั้งของตัวเองและของคนในครอบครัวเอาเสื้อผ้าเก่าไปแลกไข่จับใส่ถุงทิ้งขยะบริจาคผ่านองค์กรต่างๆ หรือส่งต่อให้คนอื่นด้วยตัวเอง เท่าที่ผ่านมาผู้เขียนถือว่าตัวเองโชคดีที่มีโอกาสได้มอบเสื้อผ้าเหล่านั้นให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยตรง อย่างลูกหลานของแม่บ้านชาวฟิลิปปินส์ที่มาทำความสะอาดบ้านส่งให้เพื่อนที่ทำงานกับชุมชนผู้อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือส่งผ่านคุณพ่อบ้านที่ได้ทำงานกับมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่เป็นคนจากกลุ่มชนพื้นเมืองออรังอัสลี (Orang Asli) ที่ยังอาศัยอยู่ในป่า บางชิ้นที่จำต้องเป็นต้องซื้อให้เด็กๆ ใส่เวลามีงานที่โรงเรียนซึ่งได้ใส่เพียงแค่ครั้งสองครั้งเท่านั้น พอหยิบมาปัดฝุ่นจะใส่ในปีถัดไป ขนาดเอวของผู้ใส่ก็ล้นขอบกางเกงไปแล้ว เป็นอันว่าต้องส่งต่อให้ญาติผู้น้องของสองหนุ่มต่อไป เรื่องเสื้อผ้ามือสองไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้เขียนเลยสมัยเรียนมหาวิทยาลัยก็มักจะไปดุ่มๆ เดินที่จตุจักรอย่างมีลุคแบบเท่ห์ๆ ลุยๆ และด้วยความที่ไซส์ไม่อยู่ในสาระบบไซส์ไทย (มันหดหู่น่ะ เพราะไซส์ไทยจะอยู่ที่ XXL) การไปซื้อเสื้อลายสก็อตกับกางเกงยีนส์ซึ่งมีที่มาจากเมืองนอกนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายและสร้างเสริมกำลังใจได้เยอะกว่า เพราะไซส์ M ก็ใหญ่พอแล้ว แม้ว่าจะมีตำนานเล่าต่อกันมาเยอะแยะว่าเสื้อผ้าเหล่านั้นมีที่มาอย่างไร นับตั้งแต่บริจาคด้วยใจเมตตา ไปจนถึงไปถอดมาจากศพ  เอาเหอะ ขู่ยังไงก็ไม่กลัว ซื้อกลับมาแล้วต้มก่อนซักเป็นอันเท่ห์ได้ในราคาถูก พอโตเป็นผู้ใหญ่ได้มาทำงานใกล้ๆ กับซอยละลายทรัพย์ ก็จะมีเสื้อผ้ามือสองมาขายทั้งแบบกองและแบบแขวนราว แต่คราวนี้พอจะรู้เพิ่มขึ้นมาอีกหน่อย คือบางชิ้นเป็นเสื้อผ้าที่ตกค้างสต็อคอยู่ในโกดังเก็บสินค้าด้วย เป็นอันว่าแค่ซักอย่างเดียว ไม่ต้องต้ม ผู้เขียนมีโอกาสได้มารู้ว่าในมาเลเซียมีโรงงานขนาดใหญ่ที่รับรีไซเคิลเสื้อผ้าและวัสดุผ้าประเภทต่างๆ จากครัวเรือนโดยรับเสื้อผ้ามาจากองค์กรการกุศลในออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนที่มาจากญี่ปุ่นอเมริกาและภายในประเทศ ซึ่งเมื่อของเหล่านั้นเดินทางถึงโรงงาน คนงานกว่าร้อยคนก็จะทำหน้าที่เลือกของที่ยังอยู่ในสภาพดีใส่ได้แยกไปตามเกรดสินค้าและประเภทต่างๆ นับตั้งแต่เสื้อกางเกงกระโปรงกระเป๋ารองเท้าตุ๊กตาและอื่นๆ อีกมากมาย  สินค้าที่อยู่ในสภาพดีเหล่านั้นจะถูกส่งไปขายในประเทศที่ประชากรส่วนมากไม่สามารถซื้อเสื้อผ้าราคาปกติได้ เช่น ประเทศในแอฟริกา อินเดีย และปากีสถาน (ภาพจาก: FT Photo Diary) ส่วนของที่อยู่ในสภาพเสียหาย […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

สัมผัสและความทรงจำ สวน 100 ปี

เมื่อปลายเดือนที่เเล้วกลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ Big Trees จัดฉายหนังญี่ปุ่นเรื่อง Parks ที่สกาล่า เป็นหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีสวนสาธารณะอิโนะคาชิระแห่งกรุงโตเกียว สวนนี้กินพื้นที่กว้างขวางเกือบสี่แสนตารางเมตร คิดเป็น 240 ไร่ ถ้าเทียบกับสวนลุมฯ (360 ไร่) ก็เล็กกว่าบ้าง เดิมเป็นที่ดินของจักรพรรดิ มอบให้เป็นสมบัติส่วนรวมแก่โตเกียวเมื่อปี ค.ศ.1913 และเปิดออกสู่สาธารณะในปี 1917 ใจกลางสวนเป็นสระน้ำใหญ่รียาว ไหลลงสู่แม่น้ำคันดะ มีสะพานไม้ข้ามน้ำอยู่ตรงกลาง รอบริมน้ำปลูกซากุระไว้มากมายจนเมื่อมันออกดอกในต้นฤดูใบไม้ผลิ กลีบซากุระจะร่วงหล่นลอยเต็มผิวน้ำ ระบายสระเป็นสีชมพู แล้วยังไม้ใหญ่อื่นๆ อีกกว่าหมื่นต้นให้ความเขียวชอุ่มสดชื่นในหน้าร้อนผลัดใบเป็นสีต่างๆ ในฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวสวนกลายเป็นสีขาวและนกน้ำมากมายอพยพมาว่ายหากินกันเต็มสระ แต่หนังไม่ได้โฟกัสที่ธรรมชาติความงามของสวน หรือการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล หรือแม้แต่ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างคนเมืองกับสวน แม้ว่ามันจะเปิดปิดฉากด้วยการขี่จักรยานผ่านดงซากุระบานก็ตาม ภาพยนตร์เรื่อง Parks ฉลองสวนอิโนะคาชิระได้แยบยลกว่านั้น และน่าจะสะท้อนใจคนรุ่นใหม่กลุ่มใหญ่ได้ดี มันเป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ของมนุษย์สองยุคสมัยที่อาศัยในละแวกนี้และผ่านเข้ามาในสวนนี้ ในอดีตทศวรรษ 60 และในปัจจุบัน 2017 เพื่อคลายปมที่ติดขัดในชีวิตและคลี่พลังสร้างสรรค์ โดยที่ผู้คนทั้งสองรุ่นไม่ได้รู้จักกันตัวเป็นๆ กระนั้น สวนก็ไม่ได้เป็นเพียงฉากหลังให้ตัวละคร แต่ทุกชีวิตถักทอโยงใยกันเป็นเนื้อผ้าผืนเดียว เป็นลวดลายในชีวิตที่ร่ายรำและทิ้งความทรงจำไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ ด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อถีบเรือหงส์ในสระ เมื่อเดินข้ามสะพาน เมื่อได้ยินคนนั่งร้องเพลง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมื่อช.ช้างไม่วิ่งหนี

ก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน ข่าวการตายของลูกช้างที่ถูกรถชนตอนเช้ามืดบนทางหลวงสาย Gerik-Jeli ห่างจากเมืองอิโปห์ไปราวๆ 130 กิโลเมตร ถือเป็นข่าวแสนเศร้า โดยเฉพาะต่อกลุ่มคนที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ช้าง ที่พยายามติดตามและทำความเข้าใจกับการเคลื่อนที่ของกลุ่มช้างป่าในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะผืนป่าเบอลุม (Royal Belum National Park) ทางตอนเหนือของรัฐเปรัค ซึ่งเป็นผืนป่าที่มีรอยเชื่อมต่อกับเทือกเขาสันกาลาคีรี และอุทยานแห่งชาติบางลางในจังหวัดยะลาของประเทศไทย สาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ไม่อาจจะโทษคนขับรถที่วิ่งเข้าชนลูกช้างอย่างเดียว แต่เบื้องลึกเบื้องหลังที่เป็นสาเหตุจริงๆ มีองค์ประกอบมากกว่านั้น  ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 2 พันตัว ที่ถูกฆ่าโดยยานพาหนะบนถนน มีทั้ง สมเสร็จ ลิง แมวดาว อีเห็น หมูป่า และที่เป็นข่าวสุดเศร้าเมื่อปีที่แล้ว ก็คือข่าวที่แม่เสือที่กำลังตั้งท้องลูกสองตัว ถูกรถชนตายข้างป่าสงวนราเซา (Rasau Forest Reserve) ในรัฐตรังกานู เหตุที่มีสัตว์ป่าจำนวนมากตายด้วยอุบัติเหตุจากรถชน ก็เนื่องมาจากการขยายเส้นทางคมนาคมในประเทศมาเลเซียที่มีเส้นทางหลักๆ มากกว่า 60 สายที่เป็นทางหลวง ส่วนพื้นที่ที่ถือว่าเป็น hotspots ก็คือทางหลวงหลัก 5 สาย (เส้นสีฟ้าๆ) ที่วิ่งข้ามผืนป่าต่างๆ ภายใต้วงกลมสีแดงนั่น ถ้านำแผนที่แสดงผืนป่าของมาเลเซียมาเทียบ จะเห็นว่าถนนเหล่านั้นตัดผ่านผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป่าทรงพลังของเทพชิชิ

หลายคนชอบเดินทางไปทำบุญตามวัดต่างๆ ไปแล้วอิ่มเอิบใจ ฉันก็เช่นเดียวกัน แต่วัดของฉันมักเป็นสถานที่ธรรมชาติ เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ฉันโชคดีได้ไปสักการะและอาบป่าโบราณแห่งเกาะยากูชิมา ทางตอนใต้ประเทศญี่ปุ่น ใครเป็นแฟนคลับการ์ตูนสตูดิโอจิบลี คงทราบดีว่าป่ายากูชิมาเป็นแหล่งบันดาลใจของอนิเมชั่นธีมอนุรักษ์ธรรมชาติ “เจ้าหญิงโมโนโนเกะ” ของมายาซากิ หนังมันเก่ามากแล้วจึงขอสปอยล์ มันเป็นเรื่องการเดินทางของเจ้าชายอาชิทากะ แห่งชนเผ่าอีมิชิในญี่ปุ่นยุคกลาง เพื่อล้างคำสาปจากเทพอสูรหมูป่าทาทาริ ซึ่งออกจากป่ามาอาละวาด และอาชิทากะต้องฆ่ามันเพื่อปกป้องหมู่บ้าน แต่โดนคำสาปที่แขนขวาระหว่างการต่อสู้ นางเฒ่าในหมู่บ้านหยั่งญานทำนายบอกเขาว่าคำสาปจะค่อยๆ ลุกลามไปทั่วตัวจนเขาตายอย่างทรมาน ทางแก้เดียวคือเขาจะต้องเดินทางไปหาเทพชิชิในทิศตะวันตกเพื่อขอให้ล้างคำสาป โดยเขาจะต้องมองทุกสิ่งด้วยตาที่เป็นธรรม อาชิทากะเดินทางไปถึงเมืองโลหะ เป็นนิคมหลอมตีเหล็กผลิตปืน มีนางเอโบชิเป็นผู้ดูแลคุ้มครองหมู่คนที่สังคมรังเกียจ ทั้งหญิงงามเมืองและคนไข้โรคเรื้อน เอโบชิมุ่งตัดป่าเพื่อขุดดินเอาแร่ และเป็นคนยิงหมูป่านาโกะ พลังความโกรธเกลียดทำให้มันกลายร่างเป็นอสูรทาทาริมุ่งทำร้ายมนุษย์ ป่าแห่งนั้นเป็นแหล่งสถิตของเทพชิชิ ผู้ให้ทั้งชีวิตและความตาย เมื่อจุติลงมาบนโลก ณ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์กลางป่า จะกลายร่างเป็นกวางตีนไดโนเสาร์หน้าลิงแมนดารินหางหมาจิ้งจอก มีครอบครัวหมาป่าที่เลี้ยงดูเด็กหญิงกำพร้าชื่อซัน คอยปกป้องพิทักษ์ป่าวิเศษที่เต็มไปด้วยพรายน้อยโคดามะตัวเล็กๆ สีขาว ซันต้องการฆ่าเอโบชิ ฝูงหมูป่าต้องการขจัดเผ่าพันธุ์มนุษย์ ฝูงลิงต้องการกินเนื้อมนุษย์เพื่อได้พลังอำนาจเช่นคน  เอโบชิต้องการเด็ดหัวเทพชิชิเเล้วส่งมอบให้จักรพรรดิ์ ส่วนอาชิทากะพยายามหยุดยั้งความโกรธเกลียดของทุกฝ่าย ให้หาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เขาต้องต่อสู้กับความโกรธแม้แต่จากแขนขวาต้องคำสาปของเขาเอง เมื่อเอโบชิเด็ดหัวเทพชิชิได้สำเร็จ พลังความเสื่อมก็ระเบิดออก ไหลบ่าออกทำลายทุกชีวิตรวมทั้งพรายน้อยโคดามะ ในขณะที่เทพชิชิพยายามหาหัวของตัวเอง อาชิทากะกับซันและหมาป่าก็ช่วยกันตามเอาหัวเทพชิชิมาคืนได้สำเร็จในเวลารุ่งสาง เทพชิชิสลายตัวไปแต่พืชพันธุ์ฟื้นตัวขึ้นมาทุกหนแห่ง มิยาซากิเริ่มมีไอเดียพล็อตเรื่องแนวการต่อกรระหว่างโลกธรรมชาติกับโลกอุตสาหกรรมมนุษย์มาตั้งแต่ยุค 70 แต่มาได้แรงบันดาลใจพัฒนาอนิเมชั่นจากป่ายากูชิมา เมื่อเขาเดินทางมาที่เกาะนี้ในปี […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

มือปราบลูกผสม

เช้าวันก่อน ขณะกำลังยืนตากผ้าอยู่ตรงสนามหน้าบ้าน ก็มีนกกางเขนบ้านบินโฉบฉิวผ่านศีรษะพุ่งตรงไปที่ผนังบ้าน จิกเอาจิ้งจกตัวน้อยไปเป็นอาหารเช้า อ้าว…นกกินจิ้งจกด้วยเรอะ นึกว่าจะกินแต่แมลงหรือไส้เดือน แต่เอ.. จะว่าไปดูผาดๆ แล้วจิ้งจกก็ดูเหมือนลูกครึ่งไส้เดือนกับแมลงที่มีขาแค่สองคู่  แบบนี้มันน่าจับนกกางเขนมาเลี้ยงในบ้าน ให้ช่วยกินจิ้งจกในครัวซักหน่อย เพราะชอบออกมากินอาหารที่วางไว้ตรงโต๊ะในครัว จนเป็นคู่อริกับน้องเล็กของบ้านมาตั้งแต่ตอนเด็กน้อยตัวยังเล็กๆ ที่เคยร้องไห้บ้านแตกด้วยความตกใจและโมโหพร้อมฟ้องว่า “จิ้งจก stole my fruits!” (คือแม่เรียก ‘จิ้งจก’ ลูกๆ ก็เลยเรียกเป็นภาษาไทยตามไปด้วย) เท่าที่ผ่านมา มดและแมลงที่เข้ามาอยู่มาร่วมชายคาเดียวกัน มักจะถูกกำจัดด้วยทักษะและวิธีการการปราบแบบผสมผสานตามแต่ความถนัดของสมาชิกในครอบครัว เพราะด้วยความที่ไม่ชอบใช้ยาฆ่าแมลงทั้งฉีดทั้งพ่น เนื่องจากกลัวว่าจะไม่ใช่แต่มดแต่แมลงเท่านั้นที่จะลงไปนอนดาวดิ้น ลูกชายสองคนที่ชอบนอนดิ้นไปมากับพื้นจะกลายเป็นเหยื่อระยะยาวไปด้วย คุณพ่อบ้านจึงได้ตำแหน่ง “นักแม่นยิงแมลงสาบ” เพราะสามารถยิงแมลงสาบด้วยหนังยางแม่นเหมือนจับวาง เส้นเดียวอยู่…  ส่วนคุณย่า เมื่อครั้งยังมีชีวติอยู่ ก็ได้รับตำแหน่ง “มือปราบมวนข้าว” คอยสกัดตัวมวนที่แพร่พันธุ์ในถังข้าวสาร ด้วยการนำถังข้าวไปตากแดดพร้อมโยนผ้าขนหนูสีขาวผืนเล็กๆ ลงไป ตัวมวนก็จะไต่มาเกาะติดกับผ้า แต่ว่าดึงขาตัวเองออกจากผ้าขนหนูไม่ได้ คุณย่าก็จะเก็บผ้ามาซักล้าง กำจัดมวนไปกับสายน้ำ   มดดำตัวทำรำคาญเป็นหน้าที่ของแม่ที่ต้องคอยเก็บกวาดเศษขนมที่หล่นตามพื้นทันทีที่ลูกกิน เจ้ามดเหล่านั้นจะเกิดสภาวะอดอยากไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ยังมีนักวิทยาศาสตร์น้อยที่คอยหลบแม่ ทำการทดสอบว่ามดจะมีวิธีหนีอย่างไร หากว่ามีนิ้วเล็กๆ แปะลงไปบนตัว… เหตุการณ์มดแมลงในบ้าน ดูจะสงบศึกราวกับพักรบชั่วคราว จนกระทั่งเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ค้นพบแขกไม่ได้รับเชิญก๊วนหนึ่ง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เอกลักษณ์ความเป็นมนุษย์

ได้ดูเรื่อง Ghost in the Shell ที่เอามังงะญี่ปุ่นมาทำเป็นหนัง นางเอกเป็นมนุษย์ถูกผ่าตัดทดลอง มีร่างเป็นหุ่นยนต์ไฮเทค แต่จิตวิญญานเธอยังอยู่ในนั้น เธอ–เมเจอร์มิรา–ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ก็อึดอัดสับสนกับอัตลักษณ์ของตัวเอง หมอที่ผ่าตัดเธอจึงบอกเธอด้วยความเมตตาว่า “เมื่อเรายอมรับความเป็นเอกลักษณ์ของเราได้ เราจะพบความสงบในจิตใจ” เอกลักษณ์ไม่ได้แปลว่าดีกว่า พิเศษกว่าผู้อื่น หรือห่วยกว่า ด้อยกว่าผู้อื่น มันหมายถึงลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร ที่เรารับรู้ ยอมรับ โอเคกับมัน และรู้จักใช้มัน ในหน่วยของปัจเจกเราแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ถอยออกมาในหน่วยใหญ่ขึ้น ชีวิตแต่ละสายพันธุ์ก็มีเอกลักษณ์ร่วมของมัน แตกต่างจากสายพันธุ์ร่วมโลกอื่นๆ แล้วอะไรที่ทำให้มนุษย์ต่างไปจากสัตว์อื่นๆ สมัยที่เป็นนักศึกษาโบราณคดีนานนมเนในยุค 80 เราต้องว่ายวนอยู่กับคำถามนี้ ในทางกายภาพสรีระ ตอบไม่ยากนัก เห็นกันอยู่ชัดๆ ว่าเราเป็นลิงขนอ่อนบางจนแลเหมือนไม่มีขน เคลื่อนที่ด้วยสองขา ปลดปล่อยแขนและมือให้เป็นอิสระ มีนิ้วโป้งที่ประกบกับนิ้วอื่นๆ ได้ทุกนิ้ว ทำให้เราจับโน่นนี่ได้ถนัด ประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ ได้ดี สุดแท้แต่สมองใหญ่แสนฉลาดจะคิดค้น เราภูมิใจกับสมองและมือของเรามาก จนเกิดการตีความเอกลักษณ์ของมนุษย์ในแง่มุมว่าเหนือกว่าสัตว์อื่นๆ เช่น ตั้งสมญานามมนุษย์ว่า “มนุษย์ผู้สร้างเครื่องมือ” “มนุษย์ผู้พูดภาษา” หรือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดอะไรทำนองนี้ และมีทฤษฎีถกเถียงกันมากมายถึงเหตุที่มาของวิวัฒนาการสมองใหญ่เดินสองขา ซึ่งมักจะได้รับอิทธิพลจากกระแสความคิดทางสังคมการเมืองในแต่ละยุค จากยุคชายเป็นใหญ่ เชื่อว่าเป็นแรงขับเคลื่อนจากการล่าสัตว์ของผู้ชาย ถึงยุคสิทธิสตรีเถียงว่าเป็นการเก็บของป่าของผู้หญิงต่างหาก […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เด็กเมืองขี้เบื่อ

เด็กกับวัยรุ่นที่บ้านสองคนเติบโตในเมืองเเละมีห้วงเวลาที่แตกต่างจากผู้เขียนเหลือเกิน จนต้องมีการปรับจังหวะปรับความเข้าใจกันเป็นระยะๆ เพราะบางทีความคิดจากมุมของแม่ก็ไม่ได้ บรรยากาศไม่เอื้อ สถานการณ์ไม่ให้ หากปล่อยให้คิดจากมุมของลูกเพียงอย่างเดียวก็ไม่ไหว เลยต้องมีกติกาในบ้านมาช่วยดึงช่วยรั้งกันพอสมควร ถึงแม้ว่าลูกชายทั้งสองคนยังถือว่าอยู่ในโอวาทตามมาตรฐานของเพื่อนๆ ที่เคยมาที่บ้าน เพราะกติกาที่มีมาตั้งแต่ตอนยังตัวเล็กๆ ที่ว่าต้องขออนุญาตก่อนจะดูโทรทัศน์เเละตกลงช่วงเวลาที่สามารถอยู่หน้าจอ ซึ่งยังเป็นไปตามนั้นจนทุกวันนี้บางครั้งผู้เขียนก็ตั้งใจเป็นแม่ใจร้ายไม่ยอมให้อยู่หน้าจอเลยไล่ให้ออกไปเล่นนอกบ้านแทน นึกไปถึงตอนเป็นเด็กแม่ของผู้เขียนไม่เคยต้องมาคิดแทนว่าเวลานั้นเวลานี้ลูกทั้งสี่คนต้องทำอะไรบ้าง  การ “หาอะไรทำ” ขณะอยู่บ้านจึงถือว่าเป็นหน้าที่ของแต่ละคน เลือกเอาเองว่าจะทำการบ้าน (หากไม่ทำก็ไปโดนดุที่โรงเรียน) ช่วยงานบ้าน (หากไม่ช่วยก็ได้กินข้าวเย็นช้า) หรือจะเล่นจะดูทีวี (ถ้าเป็นวันหยุด) ก็เลือกทำแล้วแต่จังหวะ แล้วแต่โอกาส จำไม่ได้ว่าเคยพูดคำว่าเบื่อกับแม่ในบริบทเหล่านี้หรือเปล่า อาจจะมีก็ตอนที่ติดตามไปซื้อของใช้ตามตลาดแล้วเจอแบบคุยกับแม่ค้า 1 ชั่วโมง แต่ซื้อของจริงๆ 5 นาที  ส่วนเวลาที่ดื้อหรือซนเกินปกติ (ประเภทที่ขึ้นไปแอบบนหลังคาบ้านเวลาที่เล่นซ่อนหากับเด็กๆ แถวบ้าน) ก็จะถูกกักบริเวณไม่ให้ออกไปเล่นนอกบ้านอยู่หลายวัน แต่ก็นั่งทำตาละห้อยเวลาที่เห็นเพื่อนๆ เล่นอยู่นอกบ้านได้ไม่นานนัก เพราะในบ้านเองก็มีอะไรให้ทำอยู่หลายอย่าง (ใครที่คุ้นเคยกับกิจกรรมต่อไปนี้ ก็ให้รู้ว่าเรารุ่นเดียวกัน) นับตั้งแต่วาดเสื้อผ้าเพิ่มเติมให้ตุ๊กตากระดาษ สร้างบ้านจากผ้าห่มและหมอน หัดเล่นไพ่แบบต่างๆ เพื่อฝึกทักษะการคิดเลข เล่นขายของ ทำขนมครกไข่นกกระทาขาย (คุณตาผู้ให้ทุนตั้งร้าน) อ่านการ์ตูนเบบี้หนูจ๋า และอื่นๆ อีกมากมาย จนนึกไม่ออกว่ามีเวลาไหนตรงไหนให้เบื่อ แต่มาในวันนี้ เท่าที่เคยได้คุยกับบรรดาแม่ๆ ของเพื่อนลูก สิ่งหนึ่งที่พวกเราพบว่าเป็นเหมือนกันทุกบ้านก็คือการที่ลูกเดินเข้ามาหาแล้วบอกว่า […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

สะพานที่ซ่อมไม่ได้

ใครๆ ก็รู้ว่ากรุงเทพต้องการทางเลือกในการสัญจรเพิ่มขึ้น ทั้งระบบราง ระบบรถเมล์ และระบบเรือ มีโครงข่ายเส้นทางเดินและปั่นจักรยานเสริมเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชน และโครงข่ายเส้นทางจักรยานที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าเวิร์คสุด ได้แก่ เส้นทางเลียบโครงข่ายระบบคลอง

Read More
นิเวศในเมือง
read

ชีวิตแมงเม่า

อากาศของมาเลเซียตอนนี้ถือว่าอยู่ในช่วงของความเปลี่ยนแปลงก่อนที่หน้าร้อน (ตับแล่บ) จะมาเยือน ตอนเช้ามีลมเอื่อยๆ พัดมาให้ชื่นใจ พอตอนกลางวันก็จะมีแดดออกเปรี้ยงปร้าง และฝนตกกระหน่ำในตอนเย็นซึ่งทำให้นอนหลับสบาย จนอยากหยุดวันเวลาเหล่านี้เอาไว้ .. เอ่อไม่ได้จะโรแมนติกอะไรหรอกนะแต่หวั่นใจว่าความร้อนตลอดวันตลอดคืนที่กำลังจะมาเยือนมากกว่า เมื่อครั้งที่ย้ายมาอยู่ที่มาเลเซียรอบแรกเมื่อสิบห้าปีที่แล้วผู้เขียนจำได้ว่าช่วงที่ต้องเดินสายแนะนำตัวไปตามบ้านญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงของสามีภาพของพัดลมเพดานที่ใบพัดหมุนสะบัดเอื่อยๆเป็นภาพที่สะดุดตามากที่สุดเพราะตอนเด็กๆเป็นคนที่กลัวพัดลมเพดานด้วยความที่เคยมีข่าวจนลือกันว่ามีพัดลมติดเพดานหล่นลงมาขณะใบพัดยังหมุนอยู่ขอข้ามรายละเอียดของผู้ที่นั่งอยู่ข้างล่างก็แล้วกันพอมาถึงที่นี่ก็เห็นตะขอสำหรับเกี่ยวพัดลมที่ติดตั้งอย่างแน่นหนาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงสร้างบ้านจึงได้เริ่มไว้ใจพัดลมเพดานที่นี่ กว่า 80 เปอร์เซนต์ของบ้านและอพาร์ทเมนท์ของญาติมิตรที่ไปหาเมื่อสิบห้าปีที่แล้วก็ไม่ค่อยมีใครติดเครื่องปรับอากาศกันเท่าไหร่ประตูหน้าต่างเปิดกว้างแบบไม่กลัวยุงพัดลมเพดานหมุนให้ความเย็นสบายให้ความรู้สึกเหมือนบ้านเเถวต่างจังหวัดเมื่อหลายสิบปีก่อนเวลาเดินออกมาจากบ้านก็ไม่รู้สึกต่างอะไรกับอากาศนอกบ้านไม่มีลมร้อนที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศทั้งของบ้านตัวเองและบ้านข้างๆมาเป่าใส่ให้ร้อนวูบวาบ มาตอนนี้ หลายบ้านลุกขึ้นมา “ปิด” บ้านให้มิดชิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยเพราะการโจรกรรมตามบ้านเรือนมีจำนวนพุ่งสูงขึ้น แข่งกันกับจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและระดับการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงขึ้น กลายเป็นว่าปัญหาทางสังคม (การโจรกรรม) และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีมากขึ้น ผู้ป่วยมีมากขึ้น) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนผ่านกระเป๋าสตางค์ของคนเมืองที่ต้องเสียเงินติดแอร์และจ่ายค่าไฟที่สูงขึ้นตามจำนวนการใช้เครื่องปรับอากาศ บรรยากาศที่เคยพบเมื่อตอนนั้น จึงกลายเป็นของหายากขึ้นไปทุกวัน เกือบทุกหลัง ต่อเติมและขยายพื้นที่ครัวออกมาเต็มพื้นที่ว่าง อากาศภายในจึงอบอ้าวเพราะทางลมไม่สะดวกโล่งเหมือนที่เขาออกแบบมาให้ พื้นที่หลังบ้านจึงได้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สำหรับตั้งเครื่องเป่าลมร้อนจากเครื่องปรับอากาศออกจากบ้าน  แต่บ้านที่ผู้เขียนอยู่ ยังคงเป็นบ้านแบบมาตราฐาน ไม่ได้ก่ออิฐเป็นกำแพงด้านหลังเพื่อให้ “ครัวไทย” หายใจได้สะดวก ควันที่โชยขึ้นมาจากกระทะหรือพวยพุ่งออกมาจากหม้อต้มแกงต่างๆ มีทางออกได้ง่าย ไม่กลับมาคละคลุ้งอยู่ในบ้าน แต่วันไหนที่อากาศร้อนๆ และมีลมร้อนเป่าจากเครื่องปรับอากาศของเพื่อนบ้านมาช่วยเสริมกำลังก็ทำให้ยิ่งร้อนเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้เข้าซาวน่าฟรีที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง แค่ออกมาทำกับข้าวตอนเพื่อนบ้านเปิดแอร์เท่านั้นเอง เมื่อปิดหลังบ้านทึบ ก็เป็นเหตุให้ต้องเปิดไฟตลอดเวลาที่ใช้ห้องครัว รวมทั้งมีอุปกรณ์ทำครัวที่ลดควันไฟเหล่านั้นด้วย ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้า อย่าให้ต้องนับเลย ว่ามีเครื่องใช้กินไฟเพิ่มขึ้นอีกกี่ชิ้นจากครัวพื้นบ้านปกติ บางทีจึงรู้สึกว่า ชีวิตคนเมืองนี่คล้ายๆ แมงเม่า วนเวียนอยู่ตรงที่มีไฟเพื่อความจำเป็นและความสะดวกในกิจกรรมประจำวัน หากจะเลือกใช้ไฟน้อยๆ อย่างบ้านผู้เขียน […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ต้นไม้ในซอยเป็นของชุมชน

อาทิตย์ที่แล้วเป็นอาทิตย์ของการปกป้องต้นไม้ในซอย วันเดียวกับที่มีข่าวลุงอู๊ดปีนขึ้นไปนั่งบนยอดต้นไม้ใหญ่ในซอย ประท้วงไม่ให้กทม.ตัด หลังจากตัดไปแล้วสองต้นในวันที่ลุงอู๊ดไม่อยู่บ้าน เพื่อ “ปรับปรุง” ซอย ซอยเราก็เจอศึกเดียวกัน จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นศึกคุกคามต้นไม้ในซอยเราภาค 2 ภาคแรกเกิดขึ้นเมื่อสิบปีก่อน ตอนนั้น กทม.มีแผนจะเข้ามาตัดต้นไม้ทั้งหมดในซอย เพื่อ “วางท่อระบายน้ำใหม่และปรับปรุงซอยให้สวยงาม” ตามที่ได้จัดการกับซอยอื่นๆ ในละแวกนั้น หลายซอยที่เคยมีคูน้ำและจามจุรีขนาดใหญ่เรียงรายร่มรื่น ก็แปรเปลี่ยนไปเป็น ถนนปูนร้อนๆ ขยายกว้างขึ้นติดแนวรั้วบ้าน โดยปลูกแนวไม้พุ่มเตี้ยๆ เป็นระเบียบเรียบร้อย ทดแทนพอให้สีเขียว แต่ไร้ร่มเงา แต่ซอยเราน้ำไม่ท่วม และหากจะปรับปรุงระบบท่อระบายน้ำใหม่ ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องทำตรงแนวต้นไม้ ท่อระบายใต้ดินออกแบบให้อยู่ตรงกลางถนนก็ได้ บังเอิญบ้านในซอยรู้จักกันหมด หลายบ้านเป็นญาติกัน เมื่อกทม.จะเข้ามาตัดต้นไม้ที่ทุกบ้านต่างปลูกกันไว้คนละต้นสองต้นมาเนิ่นนานหน้าบ้านตัวเอง ชาวซอยก็โทรศัพท์แจ้งข่าวกัน และพากันเดินออกมาล้อมคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ ขอไม่ให้ตัด แต่กทม.อ้างว่าได้เซ็นสัญญาจัดจ้างโครงการไปแล้ว ต้องดำเนินการ เราจึงลุกขึ้นบวชต้นไม้ทั้งซอย และบังเอิญเป็นจังหวะที่ผู้ว่าอภิรักษ์กำลังจะออกนโยบายต้านภาวะโลกร้อน เมื่อเรื่องถึงผู้ว่าอภิรักษ์ ก็มีคำสั่งให้ยกเลิกโครงการไปได้ เมื่อกลายเป็นซอยเงียบซอยเดียวในละแวกที่ยังร่มรื่นอยู่ ซอยเราจึงกลายเป็นที่ที่ผู้คนแถวนั้นเข็นรถเด็กจูงหมามาเดินเล่น นกมากมายหลายชนิดใช้เป็นแหล่งอาศัยหลบภัย เราไม่ได้มีแค่นกตีทอง นกขมิ้น นกอีวาบตั๊กแตน แต่ยังเคยมีนกแซวสวรรค์หางยาวแวะเวียนมาด้วย แต่มันก็เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อคนเริ่มขายที่ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นธรรมดาชีวิต ตลอดสิบปีที่ผ่านมาบ้านที่ยังคงอยู่ต้องเจอกับการก่อสร้างคอนโดรอบทิศ ทั้งในซอยติดกันและในซอยเราเอง ที่น่าสังเกตคือคอนโดทั้งหมดใช้พื้นที่เต็มพิกัด ถ้าไม่ยัดอาคารใช้สอยจนแน่นเต็ม […]

Read More