Green Issues

Search Result for :

read

Bangkok Wild Watch 2019 @ Rot Fai Park

ถึงเวลาตรวจสุขภาพเมืองประจำปีในงาน “Bangkok Wild Watch 2019 @ Rot Fai Park” สำรวจชีวิตป่าเมืองกรุง ตรวจสุขภาพกรุงเทพฯ กับมูลนิธิโลกสีเขียว ร่วมสำรวจสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ครั้งนี้แบ่งกลุ่มสำรวจสิ่งมีชีวิตดังนี้ กลุ่มสำรวจนกเเละพรรณไม้ กลุ่มสำรวจสัตว์หมวด ก. (กิ้งก่า, กระรอก, กบ) กลุ่มสำรวจผีเสื้อ เเมง เเมลงอื่นๆ กลุ่มสำรวจไลเคน กลุ่มสำรวจสัตว์น้ำเเละแพลงก์ตอน เเละกลุ่มสำรวจเหี้ย สัตว์เลื้อยคลานเเละสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เเละกลุ่มสำรวจสัตว์หน้าดิน (ไส้เดือน, กิ้งกือ, หอย)  “เราอยู่ได้ เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ได้” เป็นเหตุผลที่เราสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพกันครั้งนี้ เพราะสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหลายเผ่าพันธุ์ ย่อมหมายถึงมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ มีห่วงโซ่อาหาร มีความสมดุลที่เกิดขึ้นในสิ่งเเวดล้อม ในวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 เวลา 07.00 น. – 12.00 น.  ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) เขตจตุจักร *** จุดลงทะเบียน : รอเเจ้งให้ทราบอีกครั้ง ขอเชิญผู้สนใจทั้งมือใหม่มือเก่า […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

อยู่กับไมเกรน โดยไม่ต้องกินยาอันตราย

ช่วงวันที่ 7-8 สิงหาคม 2562 ปรากฏมีข่าวที่เป็นอุทาหรณ์แก่คนทั่วไป ถึงอันตรายในการใช้ยาเกินจำเป็น เนื้อข่าวมีประมาณว่า สตรีนางหนึ่งมีอาการปวดหัว (ซึ่งเดาเองว่าเป็นไมเกรน) แล้วไม่ไปหาหมอแต่เลือกซื้อยากินเองนานเป็นปี ระหว่างนั้นก็บ่นปวดหัวและปวดตามร่างกายเป็นระยะ ๆ พร้อมเป็นผื่นในลักษณะของการแพ้ สุดท้ายทนไม่ไหวจำต้องไปหาหมอเมื่ออาการทรุดหนัก ซึ่งหมอก็พยายามยื้อชีวิตได้นานถึง 12 ชั่วโมง แล้วเธอก็เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายโดยหมอระบุว่า เธออาจได้รับยาแก้ปวดในปริมาณสูงมากจนหัวใจรับไม่ไหว ประเด็นที่น่าสนใจในข่าวนี้คือ หนึ่งอาการปวดหัวของเธอเป็นไมเกรนหรือไม่ เพราะการปวดหัวนั้นมีหลายลักษณะ (ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลจากเว็บด้านการแพทย์ได้ไม่ยากนัก) และสองอาการที่เธอแพ้เกิดผื่นนั้นเป็นลักษณะผลข้างเคียงของยาที่ผู้ป่วยไมเกรนมักกินเพื่อแก้อาการปวดคือ NSAIDs (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) หรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้สังเกตเห็นจากคำสัมภาษณ์ของญาติผู้เสียชีวิตคือ ผู้เสียชีวิตนั้นเมื่อไม่ไปพบแพทย์เมื่อปวดหัวแล้ว ก็ได้ทำในสิ่งที่คนไทยทั่วไปทำกันคือ ซื้อยากินเองจากร้านขายยาซึ่งผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า เป็นร้านที่มีเภสัชกรมาช่วยคุมร้านตามช่วงเวลาที่ตกลงกัน คงไม่ใช่ร้านที่มีเภสัชกรเป็นเจ้าของ เนื่องจากชนิดของยาแก้ปวดที่หนังสือพิมพ์ออนไลน์บางฉบับนำภาพยา (ที่ญาติผู้ตายวางให้ดูบนเสื่อพลาสติก) มาเสนอประกอบข่าวนั้นปรากฏว่า มีความซ้ำซ้อนในชนิดของยากลุ่มเดียวกันที่เป็น NSAIDs ซึ่งยาเหล่านั้นต่างมีผลข้างเคียงคล้าย ๆ กัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ทำให้หัวใจวาย (ข่าวกล่าวว่า หมอที่ดูแลผู้ป่วยรายนี้ได้สันนิษฐานไว้ เพียงแต่ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิในการปฏิเสธการผ่าศพพิสูจน์) ดังนั้นการกินยากลุ่มเดียวกันมากกว่าหนึ่งชนิดในครั้งเดียวกันจึงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่เภสัชกรควรถามคนไข้ทุกครั้ง (นอกจากเรื่องการแพ้ยา) ว่า กินยาอะไรอยู่หรือไม่ ภาพจาก: http://www.phyathai-sriracha.com สำหรับผู้เขียนซึ่ง (น่าจะเรียกได้ว่า) […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

กลูตาไธโอนดีต่อสาวผิวคล้ำ…จริงหรือ

เซลล์ในหลายอวัยวะของมนุษย์สร้างกลูตาไธโอนซึ่งเป็นไตรเป็บไตด์ (tripeptide) ซึ่งมีกรดอะมิโนสามชนิดคือ ซิสเทอีน (cysteine) กลูตาเมต (glutamate) และ กลัยซีน (glycine) เป็นองค์ประกอบขึ้นได้เอง ดังนั้นในทางโภชนาการจึงไม่ถือว่า กลูตาไธโอนเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์ เราสามารถพบกลูตาไธโอนได้ในผลไม้ (เช่น แตงโม จนครั้งหนึ่งคิดกันว่า การกินแตงโมหลาย ๆ ผลแล้วจะขาวขึ้น) ผักที่มีกลิ่นแรงหลายชนิด และเนื้อสัตว์ เหตุผลว่าทำไมกลูตาไธโอนถึงมีทั้งในพืชและสัตว์นั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วกลูตาไธโอนถูกใช้ในกระบวนการยับยั้งการก่อพิษ หรือใช้ในการขับสารพิษออกจากสิ่งมีชีวิต และถ้าคิดว่านี่คือ การล้างพิษ ก็คงเชื่อได้ว่า นี่คือตัวจริงเสียงจริง ความรู้ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนยังไม่เคยพบว่า มีการอภิปรายทั้งในบทความของไทยและเทศคือ ในการตอบคำถามว่า กลูตาไธโอนนั้นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายหรือไม่นั้นคือ การศึกษาทาง pharmacokinetics หรือที่คนไทยบัญญัติคำ ๆ นี้ว่า เภสัชจลนศาสตร์ (ซึ่งคงต้องอธิบายความง่าย ๆ ว่า มันคือ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของยาในเลือดเมื่อเวลาผ่านไป ผลที่ได้นั้นทำให้สามารถคำนวณอัตราการดูดซึม (absorption rate) ขับออก (elimination rate) และค่าครึ่งชีวิต (half life) ของยา) เมื่อผู้เขียนเข้าใช้บริการของ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ผังใหม่เมืองกรุง รู้จักกันยัง?

มีเรื่องใกล้ตัวที่เราคนกรุงต้องรู้กัน ขณะนี้ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับใหม่กำลังอยู่ในมือคณะกรรมการพิจารณาร่างผังเมือง หลังจากผ่านกระบวนการ “ประชาพิจารณ์” ตามพิธีกรรมแล้ว แต่ประชาชนคนเมืองรับรู้กันน้อยมาก ดิฉันและสมาชิกเครือข่ายชุมชนคนกรุงหลายชุมชนที่เข้ามารวมตัวกันจากปัญหาเป็นผู้รับผลกระทบการก่อสร้างอาคารคอนโดผิดกฎหมาย ได้พยายามติดตามและศึกษาผังเมืองฉบับใหม่นี้ แม้ยังไม่ทะลุปรุโปร่งแต่มีข้อสังเกตบางประการที่อยากจะแบ่งปันเพื่อชวนสังคมอภิปราย หลักคิดใหญ่ของผังเมืองรวมคือเพื่อแก้ปัญหาเมืองขยายสะเปะสะปะแนวราบ (urban sprawl) โดยส่งเสริมให้พัฒนาเป็น “เมืองกระชับ” (compact city) อย่างฮ่องกง หนึ่งในปัญหาก็คือวิธีการที่ผู้ร่างผังเมืองตั้งใจนำพาไปสู่จุดหมายนั้น แนวทางหลักที่หยิบมาใช้คือการสร้างกติกาให้กลุ่มทุนพัฒนาอหังสาริมทรัพย์สามารถสร้างอาคารได้ใหญ่ขึ้นสูงขึ้น พร้อมๆ กับสร้างแรงกดดันให้ผู้อยู่อาศัยเดิมในบ้านเดี่ยวต้องขายที่อพยพไปที่อื่น มีการให้โบนัสพิเศษแก่ทุนพัฒนา สามารถสร้างได้ใหญ่ขึ้นกว่ากำหนดเดิมถ้าหากเจียดพื้นที่เล็กน้อยให้สาธารณะร่วมใช้ประโยชน์ ส่วนพวกบ้านเดี่ยวที่อยู่อาศัยเดิมมาหลายชั่วโคตรก็ถูกจัดสรรระบายสีให้เป็นโซนสีต่างๆ อย่างบ้านดิฉันในซอยสุขุมวิท 28 ที่ครอบครัวอยู่กันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยอยู่ในโซนสีน้ำตาล (เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น) ก็โดนเปลี่ยนโดยไม่บอกกล่าวเป็นสีแดง (เขตพาณิชยการ) สามารถสร้างห้างสรรพสินค้า โรงแรม ฯลฯ ได้ ทั้งๆ ที่ซอยบ้านเราเป็นซอยตันเล็กๆ ปลูกต้นไม้ครึ้ม อยู่ในโซนบ้านเรือนอาศัยชัดเจน ไม่พลุกพล่านคึกคักเหมือนทองหล่อ ซึ่งกลับกลายว่ายังเป็นโซนสีน้ำตาลอยู่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือราคาที่ดินประเมินในซอยเราที่ถูกระบายสีใหม่เอื้อการลงทุนอย่างหลากหลายเต็มพิกัดจะพุ่งพรวดๆ ถ้าเราไม่ยอมขายเราก็จะต้องจ่ายภาษีที่ดินในระบบภาษีที่ดินใหม่แพงขึ้นเป็นหลายเท่า จากที่ดินสุขุมวิทซอยตันตารางวาละ 200,000 อาจขึ้นเป็น 500,000 อย่างซอยศาลาแดง หรือ 900,000 อย่างราชดำริ ที่สุดแล้วเราก็จะต้องทิ้งที่ดินบรรพบุรุษขึ้นไปอยู่คอนโดตามแผนเขา หรือหอบหมาซึ่งอยู่คอนโดไม่ได้ไปหาบ้านอยู่นอกเมือง ห่างไกลจากหมู่ญาติและเพื่อนฝูง […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

สินค้าชะลอความแก่…มีไหม

ความแก่นั้นไม่เข้าใครออกใคร เพียงแต่อัตราแก่มันเร็วไม่เท่ากัน แบบว่าตัวใครตัวมัน เพราะปรากฏการณ์นี้ขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมและปัจจัยภายในร่างกายของแต่ละคนเอง ท่านผู้อ่านคงเคยพบคนที่อายุไม่ถึงหกสิบปีแต่มีผมขาวทั้งหัว ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากพันธุกรรมภายในร่างกายโดยแท้ที่ระบบสร้างเม็ดสีในเส้นผมหยุดการทำงานก่อนคนอื่น ทั้งที่จริง ๆ แล้วยังทำอะไร ๆ ได้เหมือนหนุ่มสาว ส่วนปัจจัยภายนอกที่ทำให้แก่ได้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของการครองชีวิต เช่น การทำงานนั้นต้องสัมผัสแสงแดดที่แรงกล้าซึ่งมีแสงอัลตราไวโอเล็ทหรือ UV ชนิดที่เป็นอันตรายต่อผิวคือ UVC และอีกประการซึ่งสำคัญมากคือ อาหารและโภชนาการ ทั้งนี้เพราะจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพนั้นกล่าวว่า เทโลเมียร์ ของโครโมโซมนั้นไวต่อการถูกทำร้ายโดยอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ดังนั้นคนที่กินอาหารมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ก็ควรแก่ช้าเพราะเทโลเมียร์ได้รับการปกป้อง ผู้เขียนขอยกตัวอย่างสินค้าหนึ่งที่มีการขายกันใน อินเตอร์เน็ทคือ เอ็นซัม SOD (superoxide dismutase) ซึ่งอ้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าช่วยชะลอความแก่ได้ในการโฆษณา แต่ความจริงนั้นใครจะตอบได้ว่าสินค้านั้นได้ผลจริงหรือไม่ ชื่อ SOD นั้นคนที่อยู่ในแวดวงพิษวิทยา ชีวเคมี และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่ศึกษาระดับโมเลกุลนั้นมักรู้จักดี เพราะ SOD เป็นปัจจัยหนึ่งที่ปกป้องให้เซลล์ของร่างกายอยู่รอดจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในเซลล์ ดังนั้นพอมีการนำมาใส่ขวดขายผู้บริโภคจึงควรหาความรู้ก่อนว่า เอ็นซัมนี้เมื่อถูกสกัดมาใส่ขวดแล้วยังมีฤทธิ์ทำงานได้เหมือนเดิมหรือไม่ ส่วนประเด็นที่สองที่สำคัญมากคือ เอ็นซัมนี้สามารถหลุดผ่านระบบการย่อยโปรตีนในกระเพาะและลำไส้เล็กไปออกฤทธิ์ในร่างกายผู้บริโภคได้หรือไม่ เพราะเอ็นซัมนั้นมีธรรมชาติเป็นโปรตีนกลุ่มหนึ่งซึ่งควรถูกย่อยเพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้งานทั่วไปในร่างกาย กล่าวกันว่า SOD ระดับอุตสาหกรรมนั้นสามารถสกัดได้จากแพลงตอนในกลุ่มไฟโตแพลงตอน (phytoplankton) ตับวัว หัวฮอร์สแรดิช (Horseradish) ผลแคนตาลูป และแบคทีเรียบางชนิด […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

สัพเพ สัตตา

ปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้เขียน ที่ได้ย้ายกลับเข้ามาอยู่เมืองไทยหลังจากไปอยู่มาเลเซียมา 13 ปี แม้ว่าจะกลับเข้ามาปักหลักทางภาคใต้ ทำงานในเขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในขณะที่บ้านกับโรงเรียนของลูกๆ อยู่จังหวัดกระบี่ ซึ่งทั้งสองจังหวัดนี้ มีความเหมือนกันอยู่คือเป็นสถานที่ที่มีภูเขาหินปูนเป็นภูมิทัศน์ที่โดดเด่น แห่งหนึ่งมีน้ำในเขื่อนเป็นฉากหน้า  อีกแห่งมีน้ำทะเลหนุนความสวยงามอยู่ด้านหลัง ความที่ชอบดูความตระหง่านของเขาหินปูนอยู่แล้ว การขับรถไปมาระหว่างที่ทำงานและบ้านสัปดาห์ละครั้งจึงถูกจริตพอสมควร ระยะทางสองในสามของเส้นทางที่ต้องขับรถผ่าน ถือว่าเป็นเส้นทางสายเปลี่ยว(คน) เพราะโค้งเยอะ รถใหญ่จึงน้อย สองฝั่งถนนมีบ้านเรือนกระจายกันอยู่ประปราย ที่เหลือคือสวนผลไม้ สวนยาง สวนปาล์ม และพื้นที่ป่าที่เป็นอาณาเขตของเขาพนมและเขาสก ใครที่ชอบขับรถทางไกล หรือขี่มอเตอร์ไซค์แบบบิ๊กไบค์ คงจะถูกใจเส้นทางแบบนี้ ในความสวยงามที่เล่ามานั้น มีความน่าตื่นเต้นแฝงอยู่ด้วยตอนที่พบว่า ถนนเหล่านั้น เราต้องใช้ร่วมกับสัตว์อื่นๆ ด้วย ซึ่งก็มีตั้งแต่สัตว์เลี้ยงอย่างหมา แมว และแพะ ที่มักจะครองถนนแบบไม่เกรงใจใคร ผู้ขับขี่ต้องขับช้าๆ และหลบทางให้เจ้าถิ่น ไปจนถึงสัตว์ไม่ได้เลี้ยงอย่างงู ที่แม้ว่าจะนั่งอยู่ในรถยนต์มีประตูกับกระจกปิดมิดชิด ก็อดตกใจไม่ได้ทุกทีเวลาที่มีงูโผล่ออกมาจากพงหญ้าในระยะกระชั้นชิด  โชคดีของผู้เขียนที่งูสองสามตัวที่เห็นนั่นหลบกลับเข้าไปในพงไปได้ทัน แต่คงเป็นโชคไม่ดีของงูหลายตัวที่คาดว่าโผล่ออกมาตอนโพล้เพล้หรือตอนกลางคืน กลายเป็นเหยื่อตายกลางถนน ซึ่งผู้เขียนได้เห็นไม่ต่ำกว่าเที่ยวละ 3-5 ตัว เมื่อครั้งที่อยู่มาเลเซีย สัตว์ที่พบตายบนท้องถนนในเมืองอันดับหนึ่งคือแมว (ไม่ใช่หมาแบบในเมืองไทย) มีเพื่อนผู้ชำนาญการเลี้ยงแมวเคยเล่าให้ฟังว่า แมวชอบเข้าไปใต้ท้องรถเพื่อไปนอนแอบไออุ่นอยู่ในห้องเครื่อง เวลาที่เจ้าของรถขับออกไปทำงานตอนเช้าๆ จึงพาแมวเหล่านี้ติดไปในห้องเครื่องด้วย จนกระทั่งเกาะเครื่องไม่ไหวหรือร้อนเกิน แมวก็จะหลุดลงมาจากห้องเครื่อง […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

“ไฟกำลังไหม้บ้านเรา”…เด็กๆร่ำไห้ เมื่อผู้ใหญ่ดูดาย

“ไฟกำลังไหม้บ้านเรา ฉันไม่อยากให้คุณรู้สึกมีความหวัง ฉันอยากให้คุณตื่นตระหนก ฉันอยากให้คุณรู้สึกถึงความกลัวที่ฉันรู้สึกทุกๆ วัน และดังนั้นฉันจึงขอให้คุณลงมือทำเสียที” เกรธา ทุนเบิร์ก (Greta Thunberg) เยาวชนวัย 16 ปีพูดในการประชุมเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอสเมื่อต้นมกราคม 2562 เกรธาเป็นที่เป็นที่รู้จักของชาวโลกมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เมื่อเธอตัดสินใจหยุดโรงเรียนทุกวันศุกร์เพื่อไปประท้วงเรื่องโลกร้อนที่หน้ารัฐสภาสวีเดนติดต่อกันหลายสัปดาห์เพื่อเรียกร้องให้พวกผู้ใหญ่หันมาแก้ปัญหาแทนการพูดคำสวยๆ และโยนความรับผิดชอบไปอยู่ในมือเด็กๆ อย่างพวกเธอ ภายใต้คำพูดดูดีว่า “เมื่อเด็กๆ โตขึ้น พวกเขาจะช่วยกู้โลก” ซึ่งเธอบอกว่า กว่าเด็กๆ อย่างพวกเธอจะเติบโตมาเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือคนวางนโยบายแก้ปัญหาโลกร้อน โลกก็ถึงจุดที่ย้อนกลับคืนไม่ได้แล้ว (Coppyright 2019 from – https://www.theguardian.com/) “การพูดสิ่งที่ฟังดูดี แต่ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย คุณไม่สามารถนั่งรอให้ความหวังมาหา ดังนั้นคุณก็ทำเหมือนเด็กถูกตามใจที่ไร้ความรับผิดชอบ ถ้าจะบอกว่าเราเสียเวลาเรียน ก็ขอบอกว่าผู้นำทางการเมืองของเราเสียมาหลายทศวรรษที่จะยอมรับเรื่องโลกร้อนและลงมือทำอะไรสักอย่าง และเมื่อเวลากำลังจะหมดลงเรื่อยๆ เราจึงลงมือทำกิจกรรม เราเก็บกวาดขยะที่พวกคุณสร้างไว้ และเราจะไม่หยุดจนกว่าเราจะทำสำเร็จ” เธอกล่าวในงานสังคมพลเมืองเพื่อฟื้นฟูยุโรป (Civil Society for Eunaissance)  เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมา หลังจากหยุดเรียนมาประท้วงหน้ารัฐสภาสวีเดนติดต่อกันหลายสัปดาห์ เธอลุกขึ้นมาเรียกร้องให้เยาวชนทั้วโลกหันมากดดันพวกผู้ใหญ่ที่ดูดายให้หันมาลงมือแก้ปัญหาโลกร้อน โดยเขียนจดหมายผ่านสื่อเดอะการ์เดี้ยน ส่งถึงเยาวชนทั่วโลกเรียกร้องให้พวกเขาออกมาแสดงเจตนารมณ์ปกป้องโลก ด้วยการประท้วงครั้งใหญ่พร้อมกันเพื่อแสดงให้พวกผู้ใหญ่เห็นว่าเด็กๆ […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

ฝุ่นจิ๋วกับการป้องกันที่ปลายจมูก

ฉันนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ในวันที่สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในกรุงเทพเริ่มคลี่คลาย ผู้ว่ากรุงเทพมหานครแถลงข่าวว่า “ผมเชื่อว่าธรรมชาติเข้าข้างผม” เพราะมีลมช่วยพัดพาฝุ่นจิ๋วไป ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ขอนแก่นและโคราชมีปริมาณฝุ่นจิ๋วติดอันดับสูงสุดของประเทศ และถูกแทนที่โดยจังหวัดแพร่ ลำปาง และเชียงใหม่ในวันต่อๆ มา ระหว่างนั้นเพื่อนๆ ของฉันต่างประกาศหาซื้อหน้ากากกันฝุ่นจิ๋วและเครื่องฟอกอากาศกันจ้าละหวั่น บรรยากาศตื่นตระหนกมิต่างกับที่คนกรุงเทพประสบตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เพื่อนชาวกรุงของฉันลงทุนซื้อเครื่องฟอกอากาศมูลค่ากว่าหมื่นบาทและเครื่องวัดฝุ่นจิ๋วแบบพกพาราคาประมาณสองพันบาท  ซึ่งท่ามกลางความตื่นตระหนกและตื่นตัว เงินไม่สามารถซื้อได้ทุกสิ่งเพราะสินค้าขาดตลาด ในห้วงเวลาเดียวกัน องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาหรือนาซ่าเผยแพร่แบบจำลองการเคลื่อนไหวของฝุ่นจิ๋วจากจุดกำเนิดมุมหนึ่งของโลกเคลื่อนไปยังจุดต่างๆ ทั่วโลก เป็นการตอกย้ำว่าฝุ่นจิ๋วเคลื่อนที่แบบไร้พรมแดนและเป็นปัญหาสากล ดูแล้วตื่นเต้นและน่ากลัวไปพร้อมกัน ภาพจาก: https://board.postjung.com/934650 วิกฤติฝุ่นจิ๋วที่ปกคลุมกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ในปีนี้ทำให้คนไทยทั้งตระหนกและตระหนักถึงภัยอันตรายกันถ้วนหน้า และเนื่องจากเป็นปีแรกที่ประเทศไทยถูกจู่โจมจากฝุ่นจิ๋วเป็นวงกว้าง จากปกติวิกฤติฝุ่นจิ๋วครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ จึงเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองที่มาตรการรับมือส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการเฉพาะหน้าแบบนักผจญเพลิง อะไรที่ฉวยได้ก็หยิบมาใช้ เข้าทำนองดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นการทำฝนเทียมหรือการฉีดน้ำ หากวงจรธรรมชาติและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง ดูเหมือนปีหน้าเราจะเผชิญหน้ากับวิกฤติฝุ่นจิ๋วอีกครั้ง และหากภาครัฐไทยรู้จักใช้โอกาสในวิกฤติแทนการเชื่อโชคลางหรือรอธรรมชาติเข้าข้าง  เราควรมีมาตรการเชิงรุกที่วัดผลได้เพื่อป้องกันการก่อมลพิษฝุ่นจิ๋วที่จุดกำเนิดแทนการป้องกันที่ปลายจมูกซึ่งทำให้คนไทยเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการซื้อเครื่องป้องกันที่ปลายจมูกและการรักษาความเจ็บป่วยจากฝุ่น เช่นเดียวกับที่ประเทศแห่งมลพิษอย่างจีนเคยทำให้เห็นมาแล้ว ย้อนกลับไปเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ช่วงฤดูหนาวของทุกปี โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ชาวจีนนับพันล้านคนควรมีโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ในที่โล่งแจ้ง เด็กเล็กและคนชราในเมืองหลวงปักกิ่งกลับต้องเก็บตัวอยู่ในบ้านเรือน เพราะปริมาณฝุ่นจิ๋วเกินมาตรฐานความปลอดภัยทางสุขภาพ ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสุขภาพของทุกผู้ทุกคน หากไม่มีการจัดการอาจบานปลายกลายเป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศได้ นายกรัฐมนตรีหลี่ เคอเฉียง จึงประกาศทำสงครามกับมลพิษต่อหน้าสมาชิกพรรคสภาประชาชนแห่งชาติจำนวนสามพันคน โดยบอกว่า “หมอกควันเป็นเหมือนสัญญาณไฟแดงของธรรมชาติที่เตือนให้เห็นถึงการพัฒนาที่มืดบอดและไร้ประสิทธิภาพ” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. […]

Read More
คุยข่าวสีเขียว
read

คู่มือนักสืบสายน้ำ

มาเเล้วจ้า !!! “คู่มือนักสืบสายน้ำ” … ฉบับปรับปรุงใหม่ พร้อมข้อมูลทันสมัย… คู่มือที่จะบอกว่าสายน้ำของเราสดใสหรือเจ็บป่วยอย่างไร? มาเปิดโลกกว้างกับสรรพชีวิตในลำธารเเละบ้านของมัน ให้มันบอกเราว่าสุขสบายดีไหม ถ้ามีปัญหาจะได้เเก้ไขได้ทันที ถ้าดีอยู่เเล้วจะได้ดูเเลให้ดีต่อไป คู่มือนักสืบชุดนี้จะช่วยติดอาวุธให้เราเป็นนักสืบสายน้ำ ผู้ตรวจสุขภาพเเละดูเเลสายน้ำ ด้วยความรู้คู่กับความรัก คู่มือนักสืบสายน้ำ ประกอบด้วย – คู่มือสำรวจเเละดูเเล ราคา 250 บาท – คู่มือสัตว์ลำธาร ราคา 300 บาท – เเว่นขยาย ราคา 200 บาท วิธีการสั่งซื้อ สอบถามรายละเอียดเเละสั่งซื้อ Line ID : gwfthailand Page Facebook : มูลนิธิโลกสีเขียว โทร : 02 662 5766 หรือ 080 596 3535

Read More
นิเวศในเมือง
read

แด่แม่ป้าเจน

เมื่อวันปิยะ 23 ตุลาที่ผ่านมา ถ้าใครมีเพื่อนสายสัตว์ป่าหลายคน ก็อาจจะพบว่าวันนั้นจอเฟซบุ๊คเต็มไปด้วยภาพเพื่อนๆ ถ่ายรูปคู่กับ “ป้าเจน” ฉันหมายถึง เจน กู้ดดัล (Jane Goodall) ใครจะไม่ตื่นเต้นที่ได้เจอ ดร.เจน กู้ดดัลตัวจริง เธอเป็นไอคอนระดับโลกที่แม้แต่คนเดินถนนนอกวงการอนุรักษ์สัตว์ป่าก็รู้จัก โดยเฉพาะในเมืองฝรั่ง เธอบุกเบิกงานวิจัยพฤติกรรมลิงชิมแพนซีป่าในอาฟริกาในยุค 60 ซึ่งปฏิวัติมุมมองและแนวทางการศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า ทำลายนิยามเดิมของมนุษย์ที่เคยถือว่าต่างจากสัตว์อื่นเพราะเป็น “ผู้ประดิษฐ์เครื่องมือ” เมื่อพบว่าลิงชิมก็ทำเช่นกันแม้ว่าจะเป็นเครื่องมือที่พื้นฐานกว่า และยังพบความสลับซับซ้อนของสังคมชิมแพนซีอีกมากมาย ทั้งในปางร้ายและปางธรรม ถึงกลางยุค 80 เมื่อการทำลายป่าและธรรมชาติอื่นๆ กลายเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก เธอผันตัวเองออกจากงานวิจัยสู่งานอนุรักษ์และงานพัฒนายั่งยืนที่สร้างเครือข่ายไปทั่วโลก แล้วยังเขียนหนังสืออีกมากมายหลายเล่ม ปัจจุบันเธออายุ 84 ปีแล้ว เดินทางทั่วโลก 300 วันต่อปี เพื่อบรรยายและช่วยเหลือโครงการอนุรักษ์ต่างๆ ครั้งนี้เธอมาเมืองไทยเพื่อปาฐกถาในงานประชุมประจำปีของสมาคมสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำโลก (WAZA) โดยมีองค์การสวนสัตว์ไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อสาวๆ เจน กู้ดดัลเป็นคนสวยมาก ยามแก่เธอก็งาม มีราศีสว่างและอบอุ่น เธออ่อนโยน แต่หนักแน่นและมุ่งมั่น ตาเธอยังเป็นประกายเมื่อพูดถึงสัตว์และเรื่องสนุกๆ และมีพลังชีวิตอย่างเหลือเชื่อ คิดดู อายุ 84 บินถึงไทยตอนกลางคืน รุ่งขึ้นคุยกับสื่อมวลชน […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป้ายดีปหมดอายุ

“ดีปปี้” คือสรรพนามสั้นๆ ที่บางครั้งใช้เรียกสายนิเวศวิทยาเชิงลึกหรือแนว deep ecology ในยุคฮิปปี้เบ่งบาน พวกเขามีคู่ต่างที่ถูกให้ชื่อเป็นขั้วตรงข้ามว่า shallow ecology หรือนิเวศวิทยาสายตื้นเขิน อ๊ะ มีว่าคนอื่นตื้น หมั่นไส้ขึ้นมาล่ะสิ — ก็มาชวนให้สำรวจความหมั่นไส้นี่แหละ ดีปปี้มีความหมายและความเข้มข้นแตกออกไปในกลุ่มต่างๆ แต่หลักๆ คือมุมมองว่าทุกชีวิตทุกสายพันธุ์มีคุณค่าในตัวมันเอง ไม่ใช่ทรัพยากรที่มีค่าตามประโยชน์ที่มอบแก่มนุษย์ และมนุษย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสัมพันธ์โยงใยในโลกทั้งใบ ไม่ใช่ศูนย์กลางจักรวาล ดีปปี้จึงมองว่าหากจะแก้ปัญหาการทำลายล้างธรรมชาติ เราต้องแก้ที่ต้นตอ คือทัศนคติและจริยธรรมในสังคมมนุษย์ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมบริโภคนิยมและการลดประชากรมนุษย์ แต่เดิม ในยุค 60 เมื่อนิยามกันใหม่ๆ ดีปปี้จึงมาในแนวปฏิเสธเทคโนโลยี และมองว่ากลุ่มคนที่มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางเทคนิค จะด้วยเทคโนโลยีหรือการจัดการที่มุ่งบรรเทาผลกระทบจากกิจกรรมและการบริโภคทรัพยากรของมนุษย์เป็นพวกตื้นเขิน แก้ปัญหาเพียงผิวๆ ไม่ถึงรากถึงโคน เหมือนเอาพลาสเตอร์แปะแผลไปวันๆ ถ้าใช้สายตาของคนยุคราว ค.ศ. 2020 ของเราตัดสินฮิปปี้ดีปปี้ มันก็ง่ายที่จะส่ายหน้ากลอกลูกตากับการปฏิเสธเทคโนโลยีของพวกดีปปี้ อะไรมันจะใจแคบขนาดน้าน ปัญหาไม่ได้ขาวดำ ถนนไม่ได้มีเพียงสองทางให้เดิน แต่เทคโนโลยีที่เบ่งบูมในยุคนั้นมักเป็นแนวทำลายล้าง เอาชนะต้านธรรมชาติ ระเบิดภูเขาขุดเจาะชั้นธรณีสกัดวัตถุดิบ สร้างมลภาวะ มหาปลัยนิวเคลียร์ กั้นแม่น้ำจนระบบนิเวศยับเยิน ได้อย่างเสียอย่าง ฝ่ายหนึ่งได้เงินและความสะดวกสบาย ฝ่ายหนึ่งเสียสุขภาพ ถิ่นฐาน และวิถีชีวิต แม้ว่าการติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสียที่ปลายท่อจะสำคัญ […]

Read More
กินดีอยู่ดี
read

ก่อน-หลังออกกำลังกาย กินอะไรดี

ผู้เขียนเข้าใจว่า ประเด็นการกินอะไรก่อนหรือหลังออกกำลังกายนี้มักไม่อยู่ในความคิดของคนทั่วไปที่สนใจการออกกำลังกาย เพราะแค่พาตัวไปออกกำลังกายด้วยวิธีอะไรก็ได้นั้น มันก็ยากแสนยากเย็นแล้ว “เรื่องกินอะไรดี” มักเป็นเรื่องที่คิดกันทีหลัง ส่วนคนที่หวังออกกำลังกายเพื่อคุมน้ำหนักตัว โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่เป็นเกมส์นั้น ประเด็นนี้ค่อนข้างสำคัญมาก เนื่องจากการเล่นกีฬาที่เป็นเกมส์จำต้องเล่นต่อเนื่องไม่สามารถหยุดได้จนกว่าจบเกมส์หรือมีจังหวะที่ต้องหยุดตามกติกา การที่จะเล่นอะไรต่อเนื่องได้จึงจำเป็นต้องมีพลังงานที่เค้นออกมาจากเซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปตามเกมส์ตามต้องการ คำว่าการออกกำลังกายถ้าเป็นภาษาอังกฤษร้อยทั้งร้อยคนไทยมักบอกว่า คือ exercise ทั้งที่ความจริงแล้ว คำว่า excercise นี้มีความหมายหลายประการตั้งแต่ แบบฝึกหัด การออกกำลังกาย การทำงาน การใช้แรงกายทำกิจกรรม แต่ในเว็บของฝรั่งที่บรรยายเรื่องเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีนั้นมักใช้คำว่า workout น่าจะหมายถึงการทำอะไรก็ได้ที่มีการออกแรงได้เหงื่อซึ่งส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงและควรมีสุขภาพดี   ผู้เขียนเริ่มเล่นกีฬาโดยหวังมีสุขภาพที่ดีอย่างจริงจัง เมื่อย่างเข้าสู่ตอนปลายของวัยกลางคนคือ อายุ 40 กว่าปีแล้ว ทั้งนี้เพราะในช่วงต้นของการทำงานสอนหนังสือนั้นมีความรู้สึกว่า การออกกำลังกายนั้นเสียเวลาและเปลืองเงิน เพราะอุปกรณ์กีฬาที่ใช้ในการเล่นตลอดจนเครื่องแต่งกายที่ช่วยทำให้ปลอดภัยระหว่างออกกำลังกายนั้นเช่น รองเท้า สนับเข่า และอื่น ๆ มีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นจึงเลือกทำงานบ้านที่ทำให้ได้เหงื่อเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็สรุปได้เองว่า คิดผิด เพราะทำงานบ้านนั้นมันเป็นความจำเป็นที่บางครั้งก็เบื่อบ้าง ในขณะที่การเล่นกีฬานั้นเป็นความสมัครใจที่มักได้ผลตอบแทนคือ ความสนุกและได้เหงื่อเร็ว ดังนั้นในเริ่มแรกจึงขาดความรู้ในเรื่องว่า ควรกินอะไรก่อนและหลังการไปเล่นเกมส์ แต่ประสบการณ์หลังการออกกำลังกายไปสักช่วงหนึ่งทำให้พอเริ่มจับได้ว่า ควรกินอะไร อย่างไร ที่ทำให้เล่นกีฬาได้ด้วยความทนในระดับที่เราพอใจ ผู้รักการออกกำลังกายทุกคนต้องมีพลังงานที่ได้จากอาหารที่เหมาะสมครบห้าหมู่ โดยหลักการแล้วสารอาหารที่สำคัญในประเด็นนี้คือ แป้งและไขมัน […]

Read More